< Return to Video

ซีอิ๊วขาว ทำไมสีดำ? | Point of View

  • 0:00 - 0:02
    ซีอิ๊วขาวทำไมถึงสีดำ
  • 0:02 - 0:03
    สวัสดีค่ะวิวจากแชนเนล Point of View ค่ะ
  • 0:03 - 0:07
    เคยอยากรู้กันไหมคะว่า ทำไมซีอิ๊วขาวถึงเป็นสีดำ
  • 0:07 - 0:08
    เฮ้ยดูสีดูอะไร
  • 0:08 - 0:11
    กินมาตั้งแต่เด็กเนี่ยมันก็ดูออกจะเป็นสีแบบ
  • 0:11 - 0:13
    ดำ ๆ น้ำตาล ๆ ใช่ไหมคะ
  • 0:13 - 0:14
    ทำไมถึงเรียกว่าซีอิ๊วขาว
  • 0:14 - 0:16
    จะบอกว่าวันนี้ค่ะ คนอื่นอยากรู้ไหมไม่รู้
  • 0:16 - 0:17
    แต่วิวเนี่ยอยากรู้
  • 0:17 - 0:20
    วิวก็เลยไปค้นหาข้อมูลอะไรต่าง ๆ มา
  • 0:20 - 0:22
    แล้วก็ เจอคำตอบค่ะ
  • 0:22 - 0:23
    ดังนั้นก็เลยคิดว่า
  • 0:23 - 0:25
    อยากจะมาแชร์ให้ทุกคนฟังนะคะ
  • 0:25 - 0:25
    สำหรับตอนนี้
  • 0:25 - 0:27
    ก่อนอื่น ก่อนที่เราจะไปฟังกันว่า
  • 0:27 - 0:29
    ทำไมซีอิ๊วของถึงเป็นสีดำเนี่ย
  • 0:29 - 0:31
    อย่าลืมกดติดตามวิวให้ครบทุกช่องทางนะคะ
  • 0:31 - 0:34
    ติดตามแล้วก็อย่าลืมกดกระดิ่ง กดปุ่ม See first กดอะไรต่าง ๆ ด้วย
  • 0:34 - 0:37
    จะไม่พลาดข่าวสารดี ๆ จากช่อง Point of View นะคะ
  • 0:37 - 0:38
    โดยเฉพาะทาง Instagram
  • 0:38 - 0:39
    รูปวิวทั้งนั้นเลยค่ะ
  • 0:39 - 0:41
    ไม่มีข่าวสารอะไร สาระอะไรทั้งสิ้นเลยนะ
  • 0:41 - 0:43
    แต่ว่าก็ อยากให้ติดตามกันนะคะ
  • 0:43 - 0:46
    โอเค พร้อมจะไปฟังเรื่องราวที่ทั้ง สนุก แล้วก็มีสาระกันหรือยังคะ
  • 0:46 - 0:49
    พร้อมกันแล้วก็ ไปฟังกันเลยค่ะ
  • 0:52 - 0:55
    พูดถึงซีอิ๊วนะคะ กินกันมาตั้งแต่เด็กแล้วใช่ไหมคะ
  • 0:55 - 0:57
    น่าจะเคยกินกันมาทุกคนนั่นแหละ
  • 0:57 - 0:58
    ยกเว้นคนที่แพ้ถั่วเหลืองค่ะ
  • 0:58 - 1:02
    แต่รู้ไหมคะว่าซีอิ๊วนี่ถือเป็นเครื่องปรุงที่ค่อนข้างสำคัญมาก ๆ เลยนะคะ
  • 1:02 - 1:05
    โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ประเทศจีนค่ะ
  • 1:05 - 1:06
    เพราะว่าที่ประเทศจีนเนี่ยนะคะ
  • 1:06 - 1:09
    ตรงไหนก็ตามที่จะเป็นครัวแบบจีนเนี่ย
  • 1:09 - 1:11
    เขาถือว่าสิ่งของทั้งหมด 7 อย่างนะคะ
  • 1:11 - 1:15
    ที่ ถ้ามีไม่ครบเนี่ย จะเรียกตรงนี้ว่าครัวจีนไม่ได้เลยนะคะ
  • 1:15 - 1:16
    ประกอบไปด้วยของต่าง ๆ ดังนี้นะคะ
  • 1:16 - 1:18
    หนึ่ง ข้าวค่ะ
  • 1:18 - 1:20
    แน่นอนว่าคนจีนบริโภคข้าวเป็นอาหารหลักนะคะ
  • 1:20 - 1:21
    เช่นเดียวกับชาวไทย
  • 1:21 - 1:24
    ดังนั้นถ้าขาดข้าวไปนี่ไม่ใช่ครัวจีนค่ะ
  • 1:24 - 1:26
    สองได้แก่ น้ำมันนั่นเอง
  • 1:26 - 1:29
    เราก็รู้กันอยู่แล้วว่าอาหารจีนมันขนาดไหน
  • 1:29 - 1:30
    เทน้ำมันกันเข้าไป
  • 1:30 - 1:32
    ถ้าไม่มีน้ำมันสิ่งนี้ไม่ใช่ครัวจีนนะคะ
  • 1:32 - 1:35
    สาม สำคัญพอกันเลย ได้แก่ เกลือนั่นเองค่ะ
  • 1:35 - 1:36
    ใครเคยอ่านจอมโหดกระทะเหล็ก
  • 1:36 - 1:39
    น่าจะเคยรู้นะ ที่มันเป็นแบบ ตัวที่มันเป็นสุดยอดกุ๊กอะ
  • 1:39 - 1:41
    ที่แบบว่า สืบทอดกันมา 3000 ปี
  • 1:41 - 1:43
    สิ่งแรกที่เขาเข้าปากก่อนนมแม่คือเกลือ
  • 1:43 - 1:45
    เพราะเกลือคือพื้นฐานของอาหารจีน
  • 1:45 - 1:46
    อะไรทำนองนั้นนะคะ
  • 1:46 - 1:48
    ดังนั้น ในครัวจีนจะต้องมีเกลือค่ะ
  • 1:48 - 1:50
    สิ่งต่อไปนี่บอกเลยนะคะ
  • 1:50 - 1:53
    ว่าในครัวไทยอาจจะขาดได้ค่ะ แต่ในครัวจีนนี่ขาดไม่ได้เลย
  • 1:53 - 1:55
    ได้แก่ น้ำส้มสายชูนั่นเองค่ะ
  • 1:55 - 1:57
    ส่วนข้อห้าเนี่ยนะคะ ก็ขาดไม่ได้เลยค่ะ
  • 1:57 - 1:59
    ขึ้นชื่อว่าคนจีนมาคู่กับสิ่งนี้เลย
  • 1:59 - 2:01
    ได้แก่ ชานั่นเองค่ะ
  • 2:01 - 2:05
    ชานี่ก็นอกจากจะใช้ต้นกินแล้วก็
    ยังใช้ในการทำอาหารต่าง ๆ ได้ด้วยน่ะนะ
  • 2:05 - 2:08
    และข้อหกนะคะ ก็คือ ฟืนนั่นเอง
  • 2:08 - 2:09
    เพราะว่าคนจีนในสมัยโบราณเนี่ย
  • 2:09 - 2:11
    เขาใช้ฟืนในการหุงต้มต่าง ๆ ใช่ไหม
  • 2:11 - 2:13
    ไม่ได้ใช้เตาแก๊สแบบในสมัยปัจจุบันค่ะ
  • 2:13 - 2:14
    และข้อสุดท้ายนะคะ
  • 2:14 - 2:15
    ขาดไม่ได้ก็คือ
  • 2:15 - 2:16
    ซีอิ๊วนั่นเองค่ะ
  • 2:16 - 2:19
    เรียกได้ว่าเป็นเครื่องปรุงที่สำคัญจริง ๆ นะคะ
  • 2:19 - 2:21
    ขนาดน้ำตาลยังไม่อยู่ในหนึ่งในเจ็ดนี้เลย
  • 2:21 - 2:23
    คิดดูสิ ว่าซีอิ๊วสำคัญขนาดไหนค่ะ
  • 2:23 - 2:26
    ซีอิ๊วเป็นเครื่องปรุงที่คนไทยรับมาจากจีนค่ะ
  • 2:26 - 2:29
    ชื่อซีอิ๊วนี่มาจากภาษาจีนแต้จิ๋วนะคะ
  • 2:29 - 2:30
    ออกเสียงว่า สี่อิ๊ว
  • 2:30 - 2:32
    ซึ่งเอาจริง ๆ นะคะส่วนตัวก็แอบสับสน
  • 2:32 - 2:34
    ซีอิ๊วกับสี่อิ๊วเหมือนกันนะ
  • 2:34 - 2:36
    เพราะว่าตั้งแต่เกิดมาก็ออกสี่อิ๊วมาตลอด
  • 2:36 - 2:38
    พอดีที่บ้านเป็นคนจีนแต้จิ๋วไง
  • 2:38 - 2:40
    ดังนั้น เพื่อนๆ ลองโหวตกันดูได้ไหมคะ
  • 2:40 - 2:44
    ตรงมุมขวาบนเนี่ยว่า ที่ผ่านมาทั้งชีวิต เรียกซอสชนิดนี้ว่า
  • 2:44 - 2:46
    ซีอิ๊ว หรือว่า สี่อิ๊วค่ะ
  • 2:46 - 2:50
    อยากไรก็ตามค่ะ ภาษาจีนกลางเนี่ย
    เรียกซีอิ๊วว่า เจี้ยงโหย่วนะคะ
  • 2:50 - 2:53
    ส่วนภาษาจีนกวางตุ้งเรียกว่า ซิโหย่วค่ะ
  • 2:53 - 2:57
    ซึ่งคำว่าซิโหย่วเนี่ย เป็นรากศัพท์ของคำว่า โชยุนั่นเอง
  • 2:57 - 3:01
    เพราะว่าจะโชยุหรือว่าซีอิ๊ว
    ก็เป็นซอสถั่วเหลืองเหมือนๆ กันใช่ไหมคะ
  • 3:01 - 3:03
    อะ พอจะรู้เรื่องซีอิ๊วคร่าว ๆ แล้ว
  • 3:03 - 3:06
    เราไปดูเรื่องซีอิ๊วกันต่อดีกว่าค่ะ
  • 3:06 - 3:08
    ทีนี้ถามว่าซีอิ๊วเกิดขึ้นมาได้ยังไง
  • 3:08 - 3:09
    เริ่มต้นมาอยู่ในครัวจีนได้ยังไง
  • 3:09 - 3:15
    ก็ต้องมองย้อนกลับไปไกลมากเลยค่ะ
    ประมาณถึงสมัย 1000-600 ปีก่อนคริสตศักราชนะคะ
  • 3:15 - 3:17
    ก่อนสมัยราชวงศ์โจวเนี่ยนะคะ
  • 3:17 - 3:20
    แน่นอนว่าเครื่องปรุงที่เป็นพื้นฐานเนี่ยก็คือเกลือนั่นเอง
  • 3:20 - 3:21
    เพราะว่าเป็นเครื่องปรุงที่หาง่ายที่สุดเนอะ
  • 3:21 - 3:24
    แค่เอาน้ำทะเลมาทำให้แห้งก็เป็นเกลือได้แล้ว
  • 3:24 - 3:27
    หรือว่าเป็นไปขุดเอาเกลือจากใต้ดินขึ้นมาก็ได้เกลือแล้วใช่ไหมคะ
  • 3:27 - 3:31
    แต่ทีนี้เนี่ยในสมัยราชวงศ์โจว
    มันมีเครื่องปรุงเกิดขึ้นมาชนิดนึงค่ะ
  • 3:31 - 3:33
    เรียกว่า เจียง นั่นเอง
  • 3:33 - 3:36
    เจียง นี่เป็นเครื่องปรุงที่ลักษณะเป็นคล้ายๆ แป้งเปียกนะคะ
  • 3:36 - 3:40
    เกิดจากการนำเนื้อสัตว์ เนื้อปลา
    หรือว่าข้าวเนี่ยมาหมักกับเกลือนะคะ
  • 3:40 - 3:43
    มันก็จะได้เป็นอะไรเปียกๆ ชนิดนึงเนี่ย
    เอาไว้ใช้ปรุงรสค่ะ
  • 3:43 - 3:47
    ซึ่งชาวราชวงศ์โจวเนี่ยก็ใช้เครื่องปรุงนี้มาเรื่อยๆ นะคะ
  • 3:47 - 3:49
    จนกระทั่งถึงยุคของราชวงศ์ฮั่นค่ะ
  • 3:49 - 3:50
    ในยุคของราชวงศ์ฮั่น
  • 3:50 - 3:53
    ชาวฮั่นเนี่ยเริ่มเอาวัตถุดิบใหม่มาหมักเป็นเจียงนะคะ
  • 3:53 - 3:55
    ได้แก่ ถั่วเหลือง นั่นเองค่ะ
  • 3:55 - 3:57
    พอหมักกันออกมาเนี่ยนะ
  • 3:57 - 3:57
    ก็ปรากฏว่า
  • 3:57 - 4:00
    เฮ้ย ได้รสชาติที่กลมกล่อมแล้วก็หาได้ง่ายค่ะ
  • 4:00 - 4:03
    เพราะว่าถั่วเหลืองเป็นพืชที่ปลูกง่าย ปลูกได้เยอะ
  • 4:03 - 4:06
    และชาวจีนก็ใช้ถั่วเหลืองในการแปรรูปเป็นสิ่งต่างๆ อยู่แล้ว
  • 4:06 - 4:09
    ไม่ว่าจะเป็น เต้าหู้ น้ำเต้าหู้ เต้าเจี้ยวอะไรต่างๆ ใช่ไหมคะ
  • 4:09 - 4:14
    ดังนั้น เครื่องปรุงที่ผลิตจากถั่วเหลืองก็เลยฮิตขึ้นมาในสมัยราชวงศ์ฮั่นค่ะ
  • 4:14 - 4:15
    แต่ตอนนั้นยังไม่ได้เป็นซีอิ๊วนะ
  • 4:15 - 4:18
    เพราะว่าตอนนั้นเนี่ยมันยังเป็นก้อนข้นๆ อยู่นะคะ
  • 4:18 - 4:19
    ลักษณะคล้ายๆ เจียงค่ะ
  • 4:19 - 4:21
    เขาเรียกสิ่งนี้นะคะว่า โตฉือ
  • 4:21 - 4:23
    อันนี้เดาเอานะ มันสะกดแบบนี้แหละ คือ
  • 4:23 - 4:24
    จากแหล่งอ้างอิงที่วิวไปหามาได้
  • 4:24 - 4:26
    มันเป็นภาษาอังกฤษนะ
  • 4:26 - 4:28
    ดังนั้นมันไม่ได้เป็นพินอิน ไม่ได้มีวรรณยุกต์ด้านบน
  • 4:28 - 4:29
    ก็เลยไม่รู้ว่าออกเสียงยังไงนะคะ
  • 4:29 - 4:35
    เอาเป็นว่าสารชนิดเนี้ย ก็เป็นเครื่องปรุงที่ลักษณะคล้ายๆ แป้งเปียกแล้วก็ทำจากถั่วเหลืองค่ะ
  • 4:35 - 4:37
    ชาวฮั่นก็ใช้เครื่องปรุงชนิดนี้มาเรื่อยๆ นะคะ
  • 4:37 - 4:38
    แล้วก็ฮิตขึ้นเรื่อยๆ ค่ะ
  • 4:38 - 4:41
    จนกระทั่งมาถึงสมัยราชวงศ์ซ้องนะคะ
  • 4:41 - 4:43
    มันถึงเกิดการพัฒนาไอ้เครื่องปรุงชนิดเนี้ย
  • 4:43 - 4:47
    จนกระทั่งหน้าตาออกมาคล้ายๆ กับซีอิ๊วในสมัยปัจจุบันค่ะ
  • 4:47 - 4:51
    แล้วหลังจากนั้นนะคะ ปรากฏว่าซีอิ๊ว
    ได้เป็นเครื่องปรุงที่ชาวจีนนิยมมากๆ ค่ะ
  • 4:51 - 4:54
    อิทธิพลของซีอิ๊วจากจีนก็แพร่กระจายไปในที่ต่างๆ ค่ะ
  • 4:54 - 4:56
    ไม่ว่าจะเป็นที่ญี่ปุ่น ก็กลายเป็นโชยุ
  • 4:56 - 4:58
    ไปที่เวียดนาม ไปที่อะไรต่าง ๆ
  • 4:58 - 4:59
    ส่วนในไทยเนี่ยนะคะ
  • 4:59 - 5:02
    ก็จะเข้ามากับชาวกวางตุ้งที่เดินทางมาที่ประเทศไทยนี่แหละค่ะ
  • 5:02 - 5:03
    ในยุคสมัยแรกๆ นะ
  • 5:03 - 5:05
    บอกเลยว่า พวกชาวจีนเนี่ย
  • 5:05 - 5:06
    เขาก็จะหมักซีอิ๊วไว้ใช้กันในครัวเรือน
  • 5:06 - 5:10
    ทำกันเอง หรือบางคนก็หาบไปขายตามร้านขายของชำอะไรต่าง ๆ
  • 5:10 - 5:12
    ก็จะมีซีอิ๊วหลากหลายยี่ห้อเลยนะคะ
  • 5:12 - 5:13
    ตามสูตรบ้านนู้นบ้านนี้
  • 5:13 - 5:18
    แต่ว่าหลายๆ ยี่ห้อก็พัฒนาต่อมา
    จนกระทั่งโด่งดังถึงปัจจุบันนี้แหละ
  • 5:18 - 5:20
    ซึ่งเนื่องจากเขาไม่จ่าย คลิปนี้ไม่มีสปอนเซอร์นะคะ
  • 5:20 - 5:22
    ดังนั้น เราจะข้ามชื่อยี่ห้อเหล่านั้นไป
  • 5:22 - 5:23
    หลายๆ คนน่าจะรู้กันอยู่แล้วล่ะค่ะ
  • 5:23 - 5:25
    ว่ามียี่ห้ออะไรบ้างนะ
  • 5:25 - 5:26
    อะ พูดมาตั้งนานเนี่ยยังไม่เข้าเรื่องเลย
  • 5:26 - 5:29
    ว่าแล้วทำไมซีอิ๊วขาวถึงเป็นสีดำ
  • 5:29 - 5:31
    แล้วทำไมเราถึงเรียกซีอิ๊วสีดำ ว่าซีอิ๊วขาวใช่มะ
  • 5:31 - 5:34
    เราต้องไปดูที่วิธีการผลิตซีอิ๊วค่ะ
  • 5:34 - 5:36
    เออ อยากรู้กันหรือเปล่าว่า ซีอิ๊วทำขึ้นมายังไง
  • 5:36 - 5:39
    อยู่ดีๆ จากถั่วเหลืองกลายมาเป็นซอสสีดำๆ ได้ยังไงนะคะ
  • 5:39 - 5:41
    มันก็เกิดจากกระบวนการผลิตนี่แหละค่ะ
  • 5:41 - 5:42
    ที่เขาจะใช้วิธีการ
  • 5:42 - 5:46
    นำถั่วเหลืองเนี่ยนะคะ มาต้มๆ ลอกปล่งลอกเปลือกอะไรออกมา
  • 5:46 - 5:49
    เอาสิ่งแปลกปลอมอะไรต่างๆ ออกไปให้หมดนะคะ
  • 5:49 - 5:51
    เสร็จแล้วนำมาคลุกกับแป้งสาลีค่ะ
  • 5:51 - 5:52
    คลุกๆ
  • 5:52 - 5:54
    แล้วก็นำไปหมักกับหัวเชื้อนะคะ
  • 5:54 - 5:55
    ซึ่งเป็นเชื้อราสำหรับอาหารน่ะเนอะ
  • 5:55 - 5:57
    ใช่ค่ะ เชื้อรากินได้นะคะทุกคน
  • 5:57 - 6:00
    อาหารหลายชนิดมาก ๆ ที่เรากินกันหมักจากเชื้อรานะจ๊ะ
  • 6:00 - 6:02
    ราไม่ใช่ทุกชนิดที่จะน่ากลัว ที่แบบ
  • 6:02 - 6:04
    เห็นราขึ้นแล้วจะอี๋แล้วโยนทิ้งนะ
  • 6:04 - 6:05
    ประมาณนั้นค่ะ
  • 6:05 - 6:07
    หลังจากที่ผสมอะไรเสร็จเรียบร้อยนะคะ
  • 6:07 - 6:10
    เขาจะเอาสิ่งนี้ไปใส่ไว้ในโอ่ง ในไห ในหม้ออะไรอย่างนี้
  • 6:10 - 6:12
    แล้วก็หมักกับน้ำเกลือจนได้ที่
  • 6:12 - 6:14
    ทิ้งไว้เป็นเวลาครึ่งปีถึงหนึ่งปีนะคะ
  • 6:14 - 6:21
    ปฏิกิริยาต่างๆ ก็จะสลายโปรตีนกับแป้งของถั่วเหลือง
    ให้กลายเป็นน้ำตาลกับกรดอมิโนนั่นเอง
  • 6:21 - 6:23
    ซึ่งทำให้ถ้าเราไปชิมซีอิ๊วดีๆ
  • 6:23 - 6:24
    แล้วเรามองข้ามความเค็มไปเนี่ยนะ
  • 6:24 - 6:27
    เราก็จะเห็นว่ามันมีรสชาติหวานอ่อนๆ ด้วย
  • 6:27 - 6:28
    เพราะว่ามันมีน้ำตาลนั่นเองค่ะ
  • 6:28 - 6:32
    หลังจากที่เราหมักซีอิ๊วได้ที่นะคะ
    ไม่ว่าจะเป็นเวลาครึ่งปีหรือหนึ่งปี
  • 6:32 - 6:34
    แล้วแต่ความชอบของแต่ละบ้านแต่ละสูตรเนี่ยนะคะ
  • 6:34 - 6:37
    เราก็จะได้ตัวน้ำซีอิ๊วออกมาค่ะ
  • 6:37 - 6:38
    แต่ว่ายังไม่เสร็จนะ
  • 6:38 - 6:39
    เขาจะต้องเอาสิ่งนี้ออกมา
  • 6:39 - 6:40
    กรองกากออกนะคะ
  • 6:40 - 6:41
    พวกถั่วหลงถั่วเหลืองเนี่ย
  • 6:41 - 6:43
    กรองออกให้หมด แล้วก็นำไปต้มค่ะ
  • 6:43 - 6:46
    พอต้มเสร็จก็จะได้เป็นน้ำซีอิ๊วมานั่นเอง
  • 6:46 - 6:48
    ซึ่งเราจะเรียกสิ่งนี้ว่าซีอิ๊วสูตร 1 นั่นเอง
  • 6:48 - 6:50
    ก็คือซีอิ๊วหม้อแรกที่ทำได้นั่นเอง
  • 6:50 - 6:55
    ก็เป็นซีอิ๊วที่เข้มข้น หอมหวาน อะไรต่างๆ
    สารอาหารมีครบ ว่ายังงั้นเถอะค่ะ
  • 6:55 - 6:56
    ส่วนกากซีอิ๊วที่เหลืออยู่ ที่กรองออกไปเนี่ย
  • 6:56 - 6:59
    ก็สามารถนำไปหมักต่อได้อีกหลายคร้ังเหมือนกันนะคะ
  • 6:59 - 7:00
    ไม่ใช่ว่าต้องทิ้งเลยนะ
  • 7:00 - 7:03
    เขาก็จะเรียกว่า ซีอิ๊วสูตร 2 ก็คือหม้อที่สอง
  • 7:03 - 7:06
    ซีอิ๊วสูตร 3 ซีอิ๊วสูตร 4 หมักซ้ำกันไปเรื่อยๆ
  • 7:06 - 7:07
    จนกระทั่งถึงซีอิ๊วสูตร 5
  • 7:07 - 7:09
    แทบจะเรียกว่าเหลือแต่หางซีอิ๊วแล้วค่ะ
  • 7:09 - 7:11
    แล้วก็นำมาผสมกับกากน้ำตาล
  • 7:11 - 7:14
    ก็จะได้ซีอิ๊วที่คุณภาพต่ำที่สุดนั่นเองค่ะ
  • 7:14 - 7:15
    ก็ราคาก็เรียงกันลงมา
  • 7:15 - 7:18
    ตั้งแต่สูตร 1 แพงสุด สูตร 2 สูตร 3 สูตร 4 สูตร 5 นั่นเองนะคะ
  • 7:18 - 7:22
    นี่ก็น่าจะเป็นความรู้คร่าวๆ เกี่ยวกับสูตรของซีอิ๊วนะคะ
  • 7:22 - 7:23
    ทีนี้ ตรงนี้เนี่ยแหละค่ะ
  • 7:23 - 7:24
    ที่จะมาตอบคำถามของเราว่า
  • 7:24 - 7:28
    ทำไมเราถึงเรียกซีอิ๊วอันไหนว่าซีอิ๊วขาว
    อันไหนซีอิ๊วดำอะไรนะคะ
  • 7:28 - 7:31
    คือซีอิ๊วในประเทศไทยเนี่ย มันไม่ได้มีแค่ชนิดเดียว
  • 7:31 - 7:35
    ที่เราผลิตขึ้นในประเทศไทยเนี่ยนะคะ มีทั้งหมดสี่ชนิดด้วยกันค่ะ
  • 7:35 - 7:37
    ชนิดที่วิวเล่าไปเมื่อกี้ทั้งหมดเลยเนี่ย
  • 7:37 - 7:39
    คือชนิดที่ 1 ที่เรียกว่าซีอิ๊วขาว
  • 7:39 - 7:42
    หรือถ้าเราไปดูชื่อที่ชาวเบตงเรียกซีอิ๊วชนิดเนี้ย
  • 7:42 - 7:45
    เราจะเข้าใจชัดเลยว่าทำไมถึงเรียกว่าซีอิ๊วขาวค่ะ
  • 7:45 - 7:48
    เพราะชาวเบตงเรียกซีอิ๊วชนิดนี้ว่า ซีอิ๊วใส
  • 7:48 - 7:52
    แปลว่าหน้าตาของซีอิ๊วชนิดนี้จะเป็นน้ำใสๆ มีรสชาติเค็มที่สุด
  • 7:52 - 7:54
    และเป็นซีอิ๊วที่ไม่ได้มีสิ่งอื่นเจือปน
  • 7:54 - 7:56
    คือเกิดจากการหมักถั่วเหลืองขึ้นมาปุ๊บ
  • 7:56 - 7:58
    หมักๆ ออกมานะคะ
  • 7:58 - 8:00
    ได้น้ำมายังไง เอาไปต้มแบบนั้น
  • 8:00 - 8:02
    แล้วก็นี่แหละ ได้ซีอิ๊วเลย ซีอิ๊วขาว
  • 8:02 - 8:05
    แปลว่าซีอิ๊วที่ไม่มีสิ่งต่างๆ เจือปน
  • 8:05 - 8:07
    ไม่ได้ผสมอะไรเพิ่มเติมค่ะ
  • 8:07 - 8:09
    ส่วนซีอิ๊วอีกสามประเภทที่เหลือนะคะ
  • 8:09 - 8:09
    ประเภทที่สองเนี่ย
  • 8:09 - 8:12
    เกิดจากการเอาไอ้ซีอิ๊วชนิดแรกเนี่ย
  • 8:12 - 8:13
    หรือซีอิ๊วขาวเนี่ยนะคะ
  • 8:13 - 8:15
    เอาไปหมักต่ออีกประมาณ 3-5 เดือนค่ะ
  • 8:15 - 8:16
    หมักไปหมักมาเนี่ย
  • 8:16 - 8:18
    ซีอิ๊วอันนี้ก็จะข้นขึ้นนะคะ ข้นๆ
  • 8:18 - 8:20
    แล้วก็มีรสชาติเค็มน้อยลงค่ะ
  • 8:20 - 8:22
    ก็จะแบบหวานๆ เค็มๆ ประมาณนั้น
  • 8:22 - 8:26
    ชาวเบตงซึ่งอธิบายชื่อซีอิ๊วได้ชัดเจนที่สุดเนี่ยนะคะ
  • 8:26 - 8:28
    เรียกซีอิ๊วชนิดนี้ว่า ซีอิ๊วข้นค่ะ
  • 8:28 - 8:30
    ชาวกรุงเทพฯ อย่างพวกเราเนี่ย เรียกสิ่งนี้ว่า
  • 8:30 - 8:31
    ซีอิ๊วดำนั่นเองค่ะ
  • 8:31 - 8:34
    ถึงว่า ถ้าเรียกชื่อเต็มๆ ก็คือซีอิ๊วดำเค็มนั่นเองค่ะ
  • 8:34 - 8:36
    เพราะเป็นซีอิ๊วดำที่มีรสชาติเค็มเป็นหลักนะคะ
  • 8:36 - 8:38
    ส่วนอีกสองประเภทที่เหลือเนี่ยนะคะ
  • 8:38 - 8:41
    ก็คือซีอิ๊วดำหวานกับซีอิ๊วดำธรรมดานั่นเอง
  • 8:41 - 8:42
    ความแตกต่างของสองชนิดนี้นะคะ
  • 8:42 - 8:44
    ก็คือซีอิ๊วที่เกิดจากการ
  • 8:44 - 8:47
    เอาซีอิ๊วขาวเนี่ยไปผสมกับสารแต่งกล่งแต่งกลิ่น
  • 8:47 - 8:49
    เจือนู่นเจือนี่ เติมนั่นเติมนี่ต่อนั่นเองค่ะ
  • 8:49 - 8:51
    ซึ่งซีอิ๊วดำธรรมดาเนี่ยก็คือ
  • 8:51 - 8:53
    เกิดจากการเอาซีอิ๊วขาวเนี่ย
  • 8:53 - 8:54
    มาเติมสารให้ความหวาน
  • 8:54 - 8:57
    โดยที่มีเนื้อซีอิ๊วมากกว่าสารให้ความหวาน
  • 8:57 - 8:58
    ก็จะเรียกว่าซีอิ๊วดำเฉย ๆ
  • 8:58 - 9:00
    ส่วนประเภทสุดท้ายหรือซีอิ๊วหวาน
  • 9:00 - 9:04
    มันก็คือเกิดจากการเอาซีอิ๊วแค่นิดเดียว
    มาใส่สารให้ความหวานเยอะ ๆ
  • 9:04 - 9:08
    มันก็เลยกลายเป็นซีอิ๊วที่หวานมากกว่าเค็ม
    ประมาณนั้นค่ะ
  • 9:08 - 9:09
    ดังนั้นถ้าใครดูคลิปนี้แล้ว
  • 9:09 - 9:11
    ก็น่าจะพอตอบได้นะคะว่า
  • 9:11 - 9:13
    สาเหตุที่เราเรียกซีอิ๊วน้ำสีน้ำตาลใสๆ เนี่ย
  • 9:13 - 9:14
    ว่าซีอิ๊วขาว
  • 9:14 - 9:18
    ก็เพราะว่า คำว่า ขาว ในที่นี้
    ไม่ได้แปลว่าเป็นสีขาวค่ะ
  • 9:18 - 9:21
    แต่แปลว่า เป็นซีอิ๊วที่ไม่ได้มีสารอื่นๆ เจือปน
  • 9:21 - 9:24
    หรือว่าไม่ได้มีกรรมวิธียังไงต่อนั่นเองค่ะ
  • 9:24 - 9:27
    เป็นไงบ้างคะ คลิปนี้ได้คำตอบที่ตัวเองอยากได้หรือเปล่าคะ
  • 9:27 - 9:28
    ถ้าใครอยากได้ชื่นชอบคลิปแบบนี้นะคะ
  • 9:28 - 9:30
    อย่าลืมกดไลก์เป็นกำลังใจให้วิว
  • 9:30 - 9:32
    แล้วก็กดแชร์เพื่อชวนเพื่อนๆ มาดูด้วยกันค่ะ
  • 9:32 - 9:34
    แล้วพบกันใหม๋โอกาสหน้านะคะ
  • 9:34 - 9:35
    บ๊ายบาย สวัสดีค่ะ
  • 9:35 - 9:38
    เอาจริงๆ มันมีอีกหลายเรื่องเลยนะที่วิวอยากรู้
  • 9:38 - 9:39
    คือส่วนตัวเนี่ยเป็นคนที่ค่อนข้างแบบ
  • 9:39 - 9:40
    คืออยากรู้อะไรต้องรู้
  • 9:40 - 9:41
    ประมาณนั้น
  • 9:41 - 9:44
    ดังนั้นทุกวันก็จะไปเจอคำถามอะไรต่างๆ มากมายนะคะ
  • 9:44 - 9:46
    แล้วก็จะพยายามค้นหาคำตอบด้วยตัวเองมาตลอด
  • 9:46 - 9:48
    แต่ว่า เออ อาจจะไม่ได้เอามาเล่าออกคลิป
  • 9:48 - 9:49
    ดังนั้นหลังจากนี้นะคะ
  • 9:49 - 9:51
    จะพยายามมาเล่าอะไรแบบนี้มากขึ้น
  • 9:51 - 9:53
    ถ้าใครชอบใครอะไรยังไง
  • 9:53 - 9:56
    หรือว่าใครอยากรู้อะไรเนี่ยก็คอมเมนต์มาด้านล่างได้ค่ะ
  • 9:56 - 9:58
    เดี๋ยวไว้เรามาคุยกันเป็นประเด็นอื่นนะคะ
  • 9:58 - 9:59
    สำหรับวันนี้เราลาไปก่อนค่ะ
  • 9:59 - 10:01
    บ๊ายบาย สวัสดีค่ะ
Title:
ซีอิ๊วขาว ทำไมสีดำ? | Point of View
Description:

more » « less
Duration:
10:02

Thai subtitles

Revisions