ซีอิ๊วขาวทำไมถึงสีดำ สวัสดีค่ะวิวจากแชนเนล Point of View ค่ะ เคยอยากรู้กันไหมคะว่า ทำไมซีอิ๊วขาวถึงเป็นสีดำ เฮ้ยดูสีดูอะไร กินมาตั้งแต่เด็กเนี่ยมันก็ดูออกจะเป็นสีแบบ ดำ ๆ น้ำตาล ๆ ใช่ไหมคะ ทำไมถึงเรียกว่าซีอิ๊วขาว จะบอกว่าวันนี้ค่ะ คนอื่นอยากรู้ไหมไม่รู้ แต่วิวเนี่ยอยากรู้ วิวก็เลยไปค้นหาข้อมูลอะไรต่าง ๆ มา แล้วก็ เจอคำตอบค่ะ ดังนั้นก็เลยคิดว่า อยากจะมาแชร์ให้ทุกคนฟังนะคะ สำหรับตอนนี้ ก่อนอื่น ก่อนที่เราจะไปฟังกันว่า ทำไมซีอิ๊วของถึงเป็นสีดำเนี่ย อย่าลืมกดติดตามวิวให้ครบทุกช่องทางนะคะ ติดตามแล้วก็อย่าลืมกดกระดิ่ง กดปุ่ม See first กดอะไรต่าง ๆ ด้วย จะไม่พลาดข่าวสารดี ๆ จากช่อง Point of View นะคะ โดยเฉพาะทาง Instagram รูปวิวทั้งนั้นเลยค่ะ ไม่มีข่าวสารอะไร สาระอะไรทั้งสิ้นเลยนะ แต่ว่าก็ อยากให้ติดตามกันนะคะ โอเค พร้อมจะไปฟังเรื่องราวที่ทั้ง สนุก แล้วก็มีสาระกันหรือยังคะ พร้อมกันแล้วก็ ไปฟังกันเลยค่ะ พูดถึงซีอิ๊วนะคะ กินกันมาตั้งแต่เด็กแล้วใช่ไหมคะ น่าจะเคยกินกันมาทุกคนนั่นแหละ ยกเว้นคนที่แพ้ถั่วเหลืองค่ะ แต่รู้ไหมคะว่าซีอิ๊วนี่ถือเป็นเครื่องปรุงที่ค่อนข้างสำคัญมาก ๆ เลยนะคะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ประเทศจีนค่ะ เพราะว่าที่ประเทศจีนเนี่ยนะคะ ตรงไหนก็ตามที่จะเป็นครัวแบบจีนเนี่ย เขาถือว่าสิ่งของทั้งหมด 7 อย่างนะคะ ที่ ถ้ามีไม่ครบเนี่ย จะเรียกตรงนี้ว่าครัวจีนไม่ได้เลยนะคะ ประกอบไปด้วยของต่าง ๆ ดังนี้นะคะ หนึ่ง ข้าวค่ะ แน่นอนว่าคนจีนบริโภคข้าวเป็นอาหารหลักนะคะ เช่นเดียวกับชาวไทย ดังนั้นถ้าขาดข้าวไปนี่ไม่ใช่ครัวจีนค่ะ สองได้แก่ น้ำมันนั่นเอง เราก็รู้กันอยู่แล้วว่าอาหารจีนมันขนาดไหน เทน้ำมันกันเข้าไป ถ้าไม่มีน้ำมันสิ่งนี้ไม่ใช่ครัวจีนนะคะ สาม สำคัญพอกันเลย ได้แก่ เกลือนั่นเองค่ะ ใครเคยอ่านจอมโหดกระทะเหล็ก น่าจะเคยรู้นะ ที่มันเป็นแบบ ตัวที่มันเป็นสุดยอดกุ๊กอะ ที่แบบว่า สืบทอดกันมา 3000 ปี สิ่งแรกที่เขาเข้าปากก่อนนมแม่คือเกลือ เพราะเกลือคือพื้นฐานของอาหารจีน อะไรทำนองนั้นนะคะ ดังนั้น ในครัวจีนจะต้องมีเกลือค่ะ สิ่งต่อไปนี่บอกเลยนะคะ ว่าในครัวไทยอาจจะขาดได้ค่ะ แต่ในครัวจีนนี่ขาดไม่ได้เลย ได้แก่ น้ำส้มสายชูนั่นเองค่ะ ส่วนข้อห้าเนี่ยนะคะ ก็ขาดไม่ได้เลยค่ะ ขึ้นชื่อว่าคนจีนมาคู่กับสิ่งนี้เลย ได้แก่ ชานั่นเองค่ะ ชานี่ก็นอกจากจะใช้ต้นกินแล้วก็ ยังใช้ในการทำอาหารต่าง ๆ ได้ด้วยน่ะนะ และข้อหกนะคะ ก็คือ ฟืนนั่นเอง เพราะว่าคนจีนในสมัยโบราณเนี่ย เขาใช้ฟืนในการหุงต้มต่าง ๆ ใช่ไหม ไม่ได้ใช้เตาแก๊สแบบในสมัยปัจจุบันค่ะ และข้อสุดท้ายนะคะ ขาดไม่ได้ก็คือ ซีอิ๊วนั่นเองค่ะ เรียกได้ว่าเป็นเครื่องปรุงที่สำคัญจริง ๆ นะคะ ขนาดน้ำตาลยังไม่อยู่ในหนึ่งในเจ็ดนี้เลย คิดดูสิ ว่าซีอิ๊วสำคัญขนาดไหนค่ะ ซีอิ๊วเป็นเครื่องปรุงที่คนไทยรับมาจากจีนค่ะ ชื่อซีอิ๊วนี่มาจากภาษาจีนแต้จิ๋วนะคะ ออกเสียงว่า สี่อิ๊ว ซึ่งเอาจริง ๆ นะคะส่วนตัวก็แอบสับสน ซีอิ๊วกับสี่อิ๊วเหมือนกันนะ เพราะว่าตั้งแต่เกิดมาก็ออกสี่อิ๊วมาตลอด พอดีที่บ้านเป็นคนจีนแต้จิ๋วไง ดังนั้น เพื่อนๆ ลองโหวตกันดูได้ไหมคะ ตรงมุมขวาบนเนี่ยว่า ที่ผ่านมาทั้งชีวิต เรียกซอสชนิดนี้ว่า ซีอิ๊ว หรือว่า สี่อิ๊วค่ะ อยากไรก็ตามค่ะ ภาษาจีนกลางเนี่ย เรียกซีอิ๊วว่า เจี้ยงโหย่วนะคะ ส่วนภาษาจีนกวางตุ้งเรียกว่า ซิโหย่วค่ะ ซึ่งคำว่าซิโหย่วเนี่ย เป็นรากศัพท์ของคำว่า โชยุนั่นเอง เพราะว่าจะโชยุหรือว่าซีอิ๊ว ก็เป็นซอสถั่วเหลืองเหมือนๆ กันใช่ไหมคะ อะ พอจะรู้เรื่องซีอิ๊วคร่าว ๆ แล้ว เราไปดูเรื่องซีอิ๊วกันต่อดีกว่าค่ะ ทีนี้ถามว่าซีอิ๊วเกิดขึ้นมาได้ยังไง เริ่มต้นมาอยู่ในครัวจีนได้ยังไง ก็ต้องมองย้อนกลับไปไกลมากเลยค่ะ ประมาณถึงสมัย 1000-600 ปีก่อนคริสตศักราชนะคะ ก่อนสมัยราชวงศ์โจวเนี่ยนะคะ แน่นอนว่าเครื่องปรุงที่เป็นพื้นฐานเนี่ยก็คือเกลือนั่นเอง เพราะว่าเป็นเครื่องปรุงที่หาง่ายที่สุดเนอะ แค่เอาน้ำทะเลมาทำให้แห้งก็เป็นเกลือได้แล้ว หรือว่าเป็นไปขุดเอาเกลือจากใต้ดินขึ้นมาก็ได้เกลือแล้วใช่ไหมคะ แต่ทีนี้เนี่ยในสมัยราชวงศ์โจว มันมีเครื่องปรุงเกิดขึ้นมาชนิดนึงค่ะ เรียกว่า เจียง นั่นเอง เจียง นี่เป็นเครื่องปรุงที่ลักษณะเป็นคล้ายๆ แป้งเปียกนะคะ เกิดจากการนำเนื้อสัตว์ เนื้อปลา หรือว่าข้าวเนี่ยมาหมักกับเกลือนะคะ มันก็จะได้เป็นอะไรเปียกๆ ชนิดนึงเนี่ย เอาไว้ใช้ปรุงรสค่ะ ซึ่งชาวราชวงศ์โจวเนี่ยก็ใช้เครื่องปรุงนี้มาเรื่อยๆ นะคะ จนกระทั่งถึงยุคของราชวงศ์ฮั่นค่ะ ในยุคของราชวงศ์ฮั่น ชาวฮั่นเนี่ยเริ่มเอาวัตถุดิบใหม่มาหมักเป็นเจียงนะคะ ได้แก่ ถั่วเหลือง นั่นเองค่ะ พอหมักกันออกมาเนี่ยนะ ก็ปรากฏว่า เฮ้ย ได้รสชาติที่กลมกล่อมแล้วก็หาได้ง่ายค่ะ เพราะว่าถั่วเหลืองเป็นพืชที่ปลูกง่าย ปลูกได้เยอะ และชาวจีนก็ใช้ถั่วเหลืองในการแปรรูปเป็นสิ่งต่างๆ อยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็น เต้าหู้ น้ำเต้าหู้ เต้าเจี้ยวอะไรต่างๆ ใช่ไหมคะ ดังนั้น เครื่องปรุงที่ผลิตจากถั่วเหลืองก็เลยฮิตขึ้นมาในสมัยราชวงศ์ฮั่นค่ะ แต่ตอนนั้นยังไม่ได้เป็นซีอิ๊วนะ เพราะว่าตอนนั้นเนี่ยมันยังเป็นก้อนข้นๆ อยู่นะคะ ลักษณะคล้ายๆ เจียงค่ะ เขาเรียกสิ่งนี้นะคะว่า โตฉือ อันนี้เดาเอานะ มันสะกดแบบนี้แหละ คือ จากแหล่งอ้างอิงที่วิวไปหามาได้ มันเป็นภาษาอังกฤษนะ ดังนั้นมันไม่ได้เป็นพินอิน ไม่ได้มีวรรณยุกต์ด้านบน ก็เลยไม่รู้ว่าออกเสียงยังไงนะคะ เอาเป็นว่าสารชนิดเนี้ย ก็เป็นเครื่องปรุงที่ลักษณะคล้ายๆ แป้งเปียกแล้วก็ทำจากถั่วเหลืองค่ะ ชาวฮั่นก็ใช้เครื่องปรุงชนิดนี้มาเรื่อยๆ นะคะ แล้วก็ฮิตขึ้นเรื่อยๆ ค่ะ จนกระทั่งมาถึงสมัยราชวงศ์ซ้องนะคะ มันถึงเกิดการพัฒนาไอ้เครื่องปรุงชนิดเนี้ย จนกระทั่งหน้าตาออกมาคล้ายๆ กับซีอิ๊วในสมัยปัจจุบันค่ะ แล้วหลังจากนั้นนะคะ ปรากฏว่าซีอิ๊ว ได้เป็นเครื่องปรุงที่ชาวจีนนิยมมากๆ ค่ะ อิทธิพลของซีอิ๊วจากจีนก็แพร่กระจายไปในที่ต่างๆ ค่ะ ไม่ว่าจะเป็นที่ญี่ปุ่น ก็กลายเป็นโชยุ ไปที่เวียดนาม ไปที่อะไรต่าง ๆ ส่วนในไทยเนี่ยนะคะ ก็จะเข้ามากับชาวกวางตุ้งที่เดินทางมาที่ประเทศไทยนี่แหละค่ะ ในยุคสมัยแรกๆ นะ บอกเลยว่า พวกชาวจีนเนี่ย เขาก็จะหมักซีอิ๊วไว้ใช้กันในครัวเรือน ทำกันเอง หรือบางคนก็หาบไปขายตามร้านขายของชำอะไรต่าง ๆ ก็จะมีซีอิ๊วหลากหลายยี่ห้อเลยนะคะ ตามสูตรบ้านนู้นบ้านนี้ แต่ว่าหลายๆ ยี่ห้อก็พัฒนาต่อมา จนกระทั่งโด่งดังถึงปัจจุบันนี้แหละ ซึ่งเนื่องจากเขาไม่จ่าย คลิปนี้ไม่มีสปอนเซอร์นะคะ ดังนั้น เราจะข้ามชื่อยี่ห้อเหล่านั้นไป หลายๆ คนน่าจะรู้กันอยู่แล้วล่ะค่ะ ว่ามียี่ห้ออะไรบ้างนะ อะ พูดมาตั้งนานเนี่ยยังไม่เข้าเรื่องเลย ว่าแล้วทำไมซีอิ๊วขาวถึงเป็นสีดำ แล้วทำไมเราถึงเรียกซีอิ๊วสีดำ ว่าซีอิ๊วขาวใช่มะ เราต้องไปดูที่วิธีการผลิตซีอิ๊วค่ะ เออ อยากรู้กันหรือเปล่าว่า ซีอิ๊วทำขึ้นมายังไง อยู่ดีๆ จากถั่วเหลืองกลายมาเป็นซอสสีดำๆ ได้ยังไงนะคะ มันก็เกิดจากกระบวนการผลิตนี่แหละค่ะ ที่เขาจะใช้วิธีการ นำถั่วเหลืองเนี่ยนะคะ มาต้มๆ ลอกปล่งลอกเปลือกอะไรออกมา เอาสิ่งแปลกปลอมอะไรต่างๆ ออกไปให้หมดนะคะ เสร็จแล้วนำมาคลุกกับแป้งสาลีค่ะ คลุกๆ แล้วก็นำไปหมักกับหัวเชื้อนะคะ ซึ่งเป็นเชื้อราสำหรับอาหารน่ะเนอะ ใช่ค่ะ เชื้อรากินได้นะคะทุกคน อาหารหลายชนิดมาก ๆ ที่เรากินกันหมักจากเชื้อรานะจ๊ะ ราไม่ใช่ทุกชนิดที่จะน่ากลัว ที่แบบ เห็นราขึ้นแล้วจะอี๋แล้วโยนทิ้งนะ ประมาณนั้นค่ะ หลังจากที่ผสมอะไรเสร็จเรียบร้อยนะคะ เขาจะเอาสิ่งนี้ไปใส่ไว้ในโอ่ง ในไห ในหม้ออะไรอย่างนี้ แล้วก็หมักกับน้ำเกลือจนได้ที่ ทิ้งไว้เป็นเวลาครึ่งปีถึงหนึ่งปีนะคะ ปฏิกิริยาต่างๆ ก็จะสลายโปรตีนกับแป้งของถั่วเหลือง ให้กลายเป็นน้ำตาลกับกรดอมิโนนั่นเอง ซึ่งทำให้ถ้าเราไปชิมซีอิ๊วดีๆ แล้วเรามองข้ามความเค็มไปเนี่ยนะ เราก็จะเห็นว่ามันมีรสชาติหวานอ่อนๆ ด้วย เพราะว่ามันมีน้ำตาลนั่นเองค่ะ หลังจากที่เราหมักซีอิ๊วได้ที่นะคะ ไม่ว่าจะเป็นเวลาครึ่งปีหรือหนึ่งปี แล้วแต่ความชอบของแต่ละบ้านแต่ละสูตรเนี่ยนะคะ เราก็จะได้ตัวน้ำซีอิ๊วออกมาค่ะ แต่ว่ายังไม่เสร็จนะ เขาจะต้องเอาสิ่งนี้ออกมา กรองกากออกนะคะ พวกถั่วหลงถั่วเหลืองเนี่ย กรองออกให้หมด แล้วก็นำไปต้มค่ะ พอต้มเสร็จก็จะได้เป็นน้ำซีอิ๊วมานั่นเอง ซึ่งเราจะเรียกสิ่งนี้ว่าซีอิ๊วสูตร 1 นั่นเอง ก็คือซีอิ๊วหม้อแรกที่ทำได้นั่นเอง ก็เป็นซีอิ๊วที่เข้มข้น หอมหวาน อะไรต่างๆ สารอาหารมีครบ ว่ายังงั้นเถอะค่ะ ส่วนกากซีอิ๊วที่เหลืออยู่ ที่กรองออกไปเนี่ย ก็สามารถนำไปหมักต่อได้อีกหลายคร้ังเหมือนกันนะคะ ไม่ใช่ว่าต้องทิ้งเลยนะ เขาก็จะเรียกว่า ซีอิ๊วสูตร 2 ก็คือหม้อที่สอง ซีอิ๊วสูตร 3 ซีอิ๊วสูตร 4 หมักซ้ำกันไปเรื่อยๆ จนกระทั่งถึงซีอิ๊วสูตร 5 แทบจะเรียกว่าเหลือแต่หางซีอิ๊วแล้วค่ะ แล้วก็นำมาผสมกับกากน้ำตาล ก็จะได้ซีอิ๊วที่คุณภาพต่ำที่สุดนั่นเองค่ะ ก็ราคาก็เรียงกันลงมา ตั้งแต่สูตร 1 แพงสุด สูตร 2 สูตร 3 สูตร 4 สูตร 5 นั่นเองนะคะ นี่ก็น่าจะเป็นความรู้คร่าวๆ เกี่ยวกับสูตรของซีอิ๊วนะคะ ทีนี้ ตรงนี้เนี่ยแหละค่ะ ที่จะมาตอบคำถามของเราว่า ทำไมเราถึงเรียกซีอิ๊วอันไหนว่าซีอิ๊วขาว อันไหนซีอิ๊วดำอะไรนะคะ คือซีอิ๊วในประเทศไทยเนี่ย มันไม่ได้มีแค่ชนิดเดียว ที่เราผลิตขึ้นในประเทศไทยเนี่ยนะคะ มีทั้งหมดสี่ชนิดด้วยกันค่ะ ชนิดที่วิวเล่าไปเมื่อกี้ทั้งหมดเลยเนี่ย คือชนิดที่ 1 ที่เรียกว่าซีอิ๊วขาว หรือถ้าเราไปดูชื่อที่ชาวเบตงเรียกซีอิ๊วชนิดเนี้ย เราจะเข้าใจชัดเลยว่าทำไมถึงเรียกว่าซีอิ๊วขาวค่ะ เพราะชาวเบตงเรียกซีอิ๊วชนิดนี้ว่า ซีอิ๊วใส แปลว่าหน้าตาของซีอิ๊วชนิดนี้จะเป็นน้ำใสๆ มีรสชาติเค็มที่สุด และเป็นซีอิ๊วที่ไม่ได้มีสิ่งอื่นเจือปน คือเกิดจากการหมักถั่วเหลืองขึ้นมาปุ๊บ หมักๆ ออกมานะคะ ได้น้ำมายังไง เอาไปต้มแบบนั้น แล้วก็นี่แหละ ได้ซีอิ๊วเลย ซีอิ๊วขาว แปลว่าซีอิ๊วที่ไม่มีสิ่งต่างๆ เจือปน ไม่ได้ผสมอะไรเพิ่มเติมค่ะ ส่วนซีอิ๊วอีกสามประเภทที่เหลือนะคะ ประเภทที่สองเนี่ย เกิดจากการเอาไอ้ซีอิ๊วชนิดแรกเนี่ย หรือซีอิ๊วขาวเนี่ยนะคะ เอาไปหมักต่ออีกประมาณ 3-5 เดือนค่ะ หมักไปหมักมาเนี่ย ซีอิ๊วอันนี้ก็จะข้นขึ้นนะคะ ข้นๆ แล้วก็มีรสชาติเค็มน้อยลงค่ะ ก็จะแบบหวานๆ เค็มๆ ประมาณนั้น ชาวเบตงซึ่งอธิบายชื่อซีอิ๊วได้ชัดเจนที่สุดเนี่ยนะคะ เรียกซีอิ๊วชนิดนี้ว่า ซีอิ๊วข้นค่ะ ชาวกรุงเทพฯ อย่างพวกเราเนี่ย เรียกสิ่งนี้ว่า ซีอิ๊วดำนั่นเองค่ะ ถึงว่า ถ้าเรียกชื่อเต็มๆ ก็คือซีอิ๊วดำเค็มนั่นเองค่ะ เพราะเป็นซีอิ๊วดำที่มีรสชาติเค็มเป็นหลักนะคะ ส่วนอีกสองประเภทที่เหลือเนี่ยนะคะ ก็คือซีอิ๊วดำหวานกับซีอิ๊วดำธรรมดานั่นเอง ความแตกต่างของสองชนิดนี้นะคะ ก็คือซีอิ๊วที่เกิดจากการ เอาซีอิ๊วขาวเนี่ยไปผสมกับสารแต่งกล่งแต่งกลิ่น เจือนู่นเจือนี่ เติมนั่นเติมนี่ต่อนั่นเองค่ะ ซึ่งซีอิ๊วดำธรรมดาเนี่ยก็คือ เกิดจากการเอาซีอิ๊วขาวเนี่ย มาเติมสารให้ความหวาน โดยที่มีเนื้อซีอิ๊วมากกว่าสารให้ความหวาน ก็จะเรียกว่าซีอิ๊วดำเฉย ๆ ส่วนประเภทสุดท้ายหรือซีอิ๊วหวาน มันก็คือเกิดจากการเอาซีอิ๊วแค่นิดเดียว มาใส่สารให้ความหวานเยอะ ๆ มันก็เลยกลายเป็นซีอิ๊วที่หวานมากกว่าเค็ม ประมาณนั้นค่ะ ดังนั้นถ้าใครดูคลิปนี้แล้ว ก็น่าจะพอตอบได้นะคะว่า สาเหตุที่เราเรียกซีอิ๊วน้ำสีน้ำตาลใสๆ เนี่ย ว่าซีอิ๊วขาว ก็เพราะว่า คำว่า ขาว ในที่นี้ ไม่ได้แปลว่าเป็นสีขาวค่ะ แต่แปลว่า เป็นซีอิ๊วที่ไม่ได้มีสารอื่นๆ เจือปน หรือว่าไม่ได้มีกรรมวิธียังไงต่อนั่นเองค่ะ เป็นไงบ้างคะ คลิปนี้ได้คำตอบที่ตัวเองอยากได้หรือเปล่าคะ ถ้าใครอยากได้ชื่นชอบคลิปแบบนี้นะคะ อย่าลืมกดไลก์เป็นกำลังใจให้วิว แล้วก็กดแชร์เพื่อชวนเพื่อนๆ มาดูด้วยกันค่ะ แล้วพบกันใหม๋โอกาสหน้านะคะ บ๊ายบาย สวัสดีค่ะ เอาจริงๆ มันมีอีกหลายเรื่องเลยนะที่วิวอยากรู้ คือส่วนตัวเนี่ยเป็นคนที่ค่อนข้างแบบ คืออยากรู้อะไรต้องรู้ ประมาณนั้น ดังนั้นทุกวันก็จะไปเจอคำถามอะไรต่างๆ มากมายนะคะ แล้วก็จะพยายามค้นหาคำตอบด้วยตัวเองมาตลอด แต่ว่า เออ อาจจะไม่ได้เอามาเล่าออกคลิป ดังนั้นหลังจากนี้นะคะ จะพยายามมาเล่าอะไรแบบนี้มากขึ้น ถ้าใครชอบใครอะไรยังไง หรือว่าใครอยากรู้อะไรเนี่ยก็คอมเมนต์มาด้านล่างได้ค่ะ เดี๋ยวไว้เรามาคุยกันเป็นประเด็นอื่นนะคะ สำหรับวันนี้เราลาไปก่อนค่ะ บ๊ายบาย สวัสดีค่ะ