< Return to Video

ที่นี่ไม่ใช่สถานีรถไฟหัวลำโพง! ft. ทีมนั่งรถไฟกับนายแฮมมึน | Point of View On Tour EP.39

  • 0:01 - 0:02
    สวัสดีค่า วิวจากแชแนล Point of View ค่า
  • 0:03 - 0:05
    วันนี้อยู่ในรายการ View On Tour
  • 0:05 - 0:06
    พามานอกสถานที่อีกแล้วนะคะ
  • 0:06 - 0:08
    คิดว่าตอนนี้วิวอยู่ที่ไหนคะ?
  • 0:08 - 0:11
    ดูจากบรรยากาศข้างหลัง
    เชื่อว่าทุกคนจะคิดคำเดียวกันก็คือ
  • 0:11 - 0:13
    สถานีรถไฟหัวลำโพง ใช่มะ?
  • 0:13 - 0:15
    แต่ว่าจริงๆ แล้วไม่ใช่นะคะ
  • 0:15 - 0:17
    ที่นี่ไม่ใช่สถานีรถไฟหัวลำโพงค่ะ
  • 0:17 - 0:19
    ที่นี่คือสถานีรถไฟกรุงเทพ!
  • 0:19 - 0:20
    เห็นป้ายมั้ย? อึ้งมั้ย? ช็อกมั้ย?
  • 0:20 - 0:22
    เฮ้ย คือแบบ My whole life is a lie!
  • 0:22 - 0:23
    ดังนั้นถ้าใครอยากรู้นะคะ
  • 0:23 - 0:25
    ว่าทำไมที่นี่ไม่ใช่สถานีรถไฟหัวลำโพง
  • 0:25 - 0:27
    แต่เป็นสถานีรถไฟกรุงเทพ
  • 0:27 - 0:29
    อยากลองเที่ยวสถานีรถไฟกรุงเทพ
  • 0:29 - 0:30
    แบบที่มาเองแล้วจะงงๆ ว่าแบบ
  • 0:30 - 0:32
    เฮ้ย มีสิ่งนี้อยู่จริงรึเปล่า?
  • 0:32 - 0:34
    อยากเที่ยวแบบสนุกแล้วก็มีสาระนะคะ
  • 0:34 - 0:35
    ก็อย่าลืมกดติดตามช่อง Point of View ค่ะ
  • 0:35 - 0:37
    แล้วก็กด See First กดกระดิ่ง
  • 0:37 - 0:38
    กดทุกสิ่งอย่างเลยนะคะ
  • 0:38 - 0:40
    จะได้ไม่พลาดคลิปวิดิโอสนุกๆ
  • 0:40 - 0:42
    แล้วก็ข่าวสารดีๆ จากช่อง Point of View ค่ะ
  • 0:42 - 0:44
    สำหรับตอนนี้พร้อมที่จะเที่ยว
    แบบสนุกแล้วก็มีสาระรึยังคะ?
  • 0:44 - 0:46
    ถ้าพร้อมกันแล้วก็ไปกันเลย!
  • 0:50 - 0:52
    ให้วิวมาพูดเรื่องรถไฟนะคะ
  • 0:52 - 0:54
    หลายคนอาจจะไม่เชื่อถือว่าแบบ เฮ้ย คุณวิว
  • 0:54 - 0:56
    คุณรู้เรื่องอะไรเกี่ยวกับเรื่องรถไฟจริงรึเปล่า?
  • 0:56 - 0:57
    วันนี้วิวไม่ได้มาคนเดียวค่ะ
  • 0:57 - 0:59
    วิวมากับอีกคนนึงนะคะ ก็คือ
  • 0:59 - 1:01
    ผ่ามมม!
  • 1:01 - 1:02
    พี่แฮมนะคะ!
  • 1:02 - 1:04
    พี่แฮมเป็นสุดยอดแฟนพันธุ์แท้คนรักรถไฟ
  • 1:04 - 1:06
    แล้วก็เป็นเจ้าของเพจนั่งรถไฟกับนายแฮมมึนนะคะ
  • 1:06 - 1:11
    ดังนั้นวันนี้พี่แฮมจะเป็นคน
    มาให้ข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับที่นี่ให้เรานะคะ
  • 1:11 - 1:14
    และขอบอกเลยว่าคลิปนี้
    น่าจะเป็นคลิปในช่องที่วิวพูดน้อยที่สุด
  • 1:14 - 1:15
    เพราะว่าพี่แฮมเล่าสนุกมาก
  • 1:15 - 1:17
    วิวจะยืนฟังอย่างมีความสุขค่ะ
  • 1:17 - 1:18
    แกหาว่าพี่พูดมากเหรอ?
  • 1:18 - 1:20
    เมื่อกี้ตอนเริ่มเนี่ย วิวพูดไปแล้วใช่มั้ยคะ
  • 1:20 - 1:23
    ว่าที่นี่คือสถานีรถไฟกรุงเทพ
    ไม่ใช่สถานีรถไฟหัวลำโพง
  • 1:23 - 1:25
    ทีนี้งงกันมั้ยว่า อ้าว? แล้วไงอะ?
  • 1:25 - 1:27
    ทำไมที่นี่ถึงเป็นสถานีรถไฟกรุงเทพ?
  • 1:27 - 1:28
    แล้วสถานีรถไฟหัวลำโพงอยู่ที่ไหน?
  • 1:28 - 1:30
    ทั้งชีวิตฉันเข้าใจว่าหัวลำโพงคือที่นี่มาตลอด
  • 1:30 - 1:32
    ฉันโดนหลอกเหรอ!? อะไรบลาๆๆ นะคะ
  • 1:32 - 1:35
    ดังนั้นเรามาถามพี่แฮมกันดีกว่าว่าจริงๆ แล้ว
  • 1:35 - 1:37
    สถานีรถไฟที่นี่ทำไมถึงชื่อกรุงเทพ?
  • 1:37 - 1:38
    แล้วสถานีรถไฟหัวลำโพงอยู่ที่ไหน?
  • 1:38 - 1:42
    จริงๆ แล้วการเรียกที่นี่ว่าสถานีหัวลำโพงก็ไม่ผิดนัก
  • 1:42 - 1:44
    เพราะพื้นที่นี้คือทุ่งหัวลำโพง
  • 1:44 - 1:47
    แต่มันมีสถานีรถไฟสถานีหนึ่ง มันเกิดก่อนสถานีนี้!
  • 1:47 - 1:49
    นั่นคือสถานีหัวลำโพงนั่นเอง!
  • 1:49 - 1:50
    เอ๊ะ งง มันคืออะไร?
  • 1:50 - 1:52
    คือรถไฟเนี่ย เมื่อก่อนมีสองสาย
  • 1:52 - 1:56
    รถไฟสายแรกในประเทศไทยนะครับ คือรถไฟสายปากน้ำ
  • 1:56 - 1:59
    จากสถานีรถไฟหัวลำโพงไปสถานีรถไฟปากน้ำ
  • 1:59 - 2:03
    เป็นบริษัทรถไฟเอกชนที่สัมปทานโดยชาวเดนมาร์กนะครับ
  • 2:03 - 2:07
    วิ่งจากหน้าหัวลำโพง ริมคลองหัวลำโพงไปทางสีลม
  • 2:07 - 2:10
    ศาลาแดง คลองเตย บางนางเกร็ง
  • 2:10 - 2:12
    สมุทรปราการ แล้วก็ปากน้ำนะครับ
  • 2:12 - 2:14
    แต่ใกล้ๆ กัน มีรถไฟอีกเส้นหนึ่ง
  • 2:15 - 2:17
    เป็นรถไฟของสยาม เป็นรถไฟหลวง
  • 2:17 - 2:23
    เริ่มต้นจากสถานีกรุงเทพ ปลายทางที่สถานีนครราชสีมา
  • 2:23 - 2:26
    เดี๋ยวพี่ ทำไมถึงต้องใช้อินเนอร์แบบมิสแกรนด์เบอร์นี้ด้วย
  • 2:26 - 2:27
    ก็จะได้จำกันได้ไง!
  • 2:28 - 2:29
    ปลายทางนครราชสีมานะครับ
  • 2:29 - 2:33
    ซึ่งสองสถานีนี้ตั้งอยู่ในละแวกใกล้เคียงกัน
  • 2:33 - 2:37
    แต่จริงๆ แล้วต้องบอกก่อนว่า รถไฟเกิดมา 122-123 ปีละ
  • 2:37 - 2:38
    สำหรับรถไฟหลวง
  • 2:38 - 2:40
    แต่สถานีรถไฟกรุงเทพเพิ่งจะครบรอบ 103 ปี
  • 2:40 - 2:42
    คือจริงๆ มีสถานีนึง ที่เป็นสถานีออริจินอล
  • 2:42 - 2:44
    เดี๋ยวพี่พาวิวไปดู
  • 2:44 - 2:46
    แต่เราจะทำความรู้จักกับสถานีนี้ก่อนนะครับ
  • 2:46 - 2:48
    ว่าไปไงมาไง ทำไมคนถึงเรียกว่าหัวลำโพง?
  • 2:48 - 2:50
    ด้วยสถานีเดิมที่มันอยู่ตรงนี้มานานละ
  • 2:50 - 2:52
    มันคือสถานีหัวลำโพงสายปากน้ำ
  • 2:52 - 2:53
    คนเขาก็เรียกไปเลยว่า
  • 2:53 - 2:56
    เออ ตรงนี้มันคือสถานีหัวลำโพงๆ
  • 2:56 - 2:57
    แล้วสถานีกรุงเทพพอมันตั้งขึ้นมา
  • 2:57 - 3:02
    คนก็เรียกว่า station กรุงเทพ หรือ station ที่หัวลำโพง
  • 3:02 - 3:02
    ประมาณนี้
  • 3:02 - 3:05
    คนเขาก็เลยชินกันว่า อ๋อ ที่นี่มันก็คือหัวลำโพงมาแต่ไหนแต่ไร
  • 3:05 - 3:07
    ด้วยชื่อของพื้นที่นั่นเองครับ
  • 3:07 - 3:11
    อารมณ์คล้ายๆ เวลาเราไปรถใต้ดินสีสมกับรถไฟฟ้าศาลาแดง
  • 3:11 - 3:14
    แล้วเรียกรวมกันอะว่า อ๋อไปสีลม ประมาณนั้น
  • 3:14 - 3:17
    อารมณ์ประมาณว่าเรียกบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปว่ามาม่า
  • 3:17 - 3:19
    อ่า นั่นไง แล้วเราจะลากไปถึงสปอนเซอร์เลยมั้ย?
  • 3:20 - 3:21
    เยอะแยะมากมาย
  • 3:21 - 3:22
    ไม่มี! คลิปนี้ไม่ได้ขายของ!
  • 3:22 - 3:25
    ทีนี้อยากรู้มั้ยว่าสถานีรถไฟหัวลำโพงจริงๆ อยู่ตรงไหน?
  • 3:25 - 3:27
    ถ้าอยากรู้นะ หันไปด้านนู้น หันไปค่ะ
  • 3:27 - 3:28
    เห็นโดมทองๆ นั่นมั้ยฮะ?
  • 3:28 - 3:31
    โดมทองๆ นั้นเมื่อก่อนก็คือ เป็นสถานีรถไฟหัวลำโพง
  • 3:32 - 3:34
    ก็คือ สถานีรถไฟหัวลำโพงเนี่ย ตามประวัติแล้วเนี่ย
  • 3:34 - 3:36
    ทางรถไฟสายปากน้ำเดิมเป็นของบริษัทเดนมาร์ก
  • 3:36 - 3:37
    อย่างที่ได้บอกเอาไว้
  • 3:37 - 3:41
    แล้วพอเดนมาร์กหมดสัมปาทานเนี่ย
    กรมรถไฟเนี่ยก็รับช่วงต่อไปครับ
  • 3:41 - 3:44
    แต่พอถนนสุขุมวิทมันเริ่มมีความสะดวกมากขึ้น
  • 3:44 - 3:46
    คนใช้รถไฟสายปากน้ำน้อยลง
  • 3:46 - 3:48
    กิจการรถไฟสายปากน้ำก็เลยยกเลิกครับ
  • 3:48 - 3:51
    เมื่อวันที่ 1 ม.ค. 2503
  • 3:51 - 3:54
    สถานีหัวลำโพงและสถานีทุกสถานีเลยในสายปากน้ำ
  • 3:54 - 3:56
    ก็ล้มหายตายจากไป
  • 3:56 - 4:00
    แล้วพอสร้างรถไฟใต้ดินปั๊บ
    สถานีหัวลำโพงก็กลับชาติมาเกิดใหม่
  • 4:00 - 4:03
    จากที่อยู่บนดินก็มุดไปอยู่ใต้ดินแทนนะฮะ
  • 4:03 - 4:04
    พื้นที่เดียวกันเลยครับ
  • 4:04 - 4:07
    แล้วทางรถไฟเดิมก็ถูกขยายเป็นถนนพระราม 4 นั่นเอง
  • 4:07 - 4:10
    ในที่สุดเราก็รู้แล้วนะคะว่า
    สถานีรถไฟหัวลำโพงจริงๆ อยู่ตรงไหน
  • 4:10 - 4:14
    และสถานีรถไฟนี้คือสถานีรถไฟกรุงเทพ ไม่ใช่หัวลำโพงนะคะ
  • 4:14 - 4:17
    ดังนั้นวันนี้เราเข้าไปดูกันดีกว่า ว่ามีจุดไหนน่าสนใจบ้าง
  • 4:17 - 4:20
    ที่เราจะเดินเข้ามาแล้วแบบ อู้วว!! มีสิ่งนี้อยู่ด้วยเหรอ!?
  • 4:20 - 4:21
    ปะ ไปดูกัน
  • 4:21 - 4:22
    ยังไม่ต้องเดินเข้าไปข้างในเลย
  • 4:22 - 4:25
    แค่อยู่หน้าสถานีเนี่ยนะคะ หันไปด้านข้างนิดเดียว
  • 4:25 - 4:28
    อ่า เราเอาตัวเองมาอยู่ตรงนี้ ก็มีสิ่งที่น่าสนใจแล้ว
  • 4:28 - 4:30
    ก็คือช้างสามเศียรนั่นเอง
  • 4:30 - 4:33
    ถามว่าตรงนี้คืออะไร? มีความสำคัญยังไงกับชีวิตของเรา?
  • 4:33 - 4:35
    สำหรับช้างสามเศียรนะครับ
  • 4:35 - 4:37
    ที่เราเห็นนี้ถือเป็นสิ่งที่น่าสนใจสิ่งแรกครับ
  • 4:37 - 4:40
    ที่เห็นเป็นแบบนี้มันคือน้ำพุ ถูกต้องมะ?
  • 4:40 - 4:41
    แต่สมัยก่อนที่มันจะเป็นน้ำพุเนี่ย
  • 4:41 - 4:45
    มันเป็นหลุมหลบภัยทางอากาศ
    สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 นะครับ
  • 4:45 - 4:48
    สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เนี่ย ถ้าใครเคยดูคลิปสงครามโลก
  • 4:48 - 4:51
    จะรู้นะคะว่ามันจะมีการสู้รบกันที่ค่อนข้างโหดร้ายกว่าสงครามโลกครั้งที่ 1 นะคะ
  • 4:51 - 4:53
    โดยเฉพาะการวางระเบิดใช่มะ
  • 4:53 - 4:55
    ดังนั้นมันจะมีเครื่องบินมากมายบินผ่านกรุงเทพมหานคร
  • 4:55 - 4:57
    แล้วก็ทิ้งระเบิดลงมา ตู้มๆๆ
  • 4:57 - 5:01
    ดังนั้นถ้าเราเคยดูหนังหรือดูละครอะไร
    ที่เกี่ยวกับสงคราโลกครั้งที่ 2 ในกรุงเทพ
  • 5:01 - 5:06
    ก็จะได้ยินว่า มันมีหวอเตือนว่า
    เครื่องบินจะมาทิ้งระเบิดแล้วจ้า วี้ดๆๆ ต่างๆ
  • 5:06 - 5:08
    งู้ววววว งื้มมมม (เลียนเสียงหวอ)
  • 5:09 - 5:10
    ทำทำไมเนี่ย?
  • 5:10 - 5:11
    นั่นไง ทำทำไมนะคะ
  • 5:11 - 5:13
    เวลาคนรู้ว่าระเบิดจะลงเนี่ย
  • 5:13 - 5:14
    เขาก็จะวิ่งไปหาหลุมหลบภัยใกล้บ้าน
  • 5:15 - 5:18
    ซึ่งตรงนี้ก็เป็นหนึ่งในจุดนั้น ก็จะลงไปหลบข้างใต้กัน
  • 5:18 - 5:20
    เหมือนที่ใครเคยดูเรื่องโหมโรง
    ก็จะเป็นประมาณนั้นเลยค่ะ
  • 5:20 - 5:24
    พอหลังจากสงครามสิ้นสุดแล้วเนี่ย
    หลุมหลับภัยก็ไม่มีความจำเป็นอะไรละ
  • 5:24 - 5:27
    เขาก็เลยเปลี่ยนใหม่ให้กลายเป็นสถานที่สาธารณะอย่างหนึ่ง
  • 5:27 - 5:29
    ที่ทุกคนได้ใช้เป็นสาธารณูปโภคด้วย
  • 5:29 - 5:31
    เขาเรียกว่าอุทกธาร
  • 5:31 - 5:33
    หรือถ้าแปลเป็นภาษาปัจจุบันง่ายๆ ก็คือ
  • 5:33 - 5:34
    ท่อน้ำค่ะ
  • 5:35 - 5:37
    อุทกกเนี่ยนะคะ ก็คำเดียวกับอุทกกภัยเลย
  • 5:37 - 5:39
    คือแปลว่าน้ำนั่นเอง
  • 5:39 - 5:42
    ส่วนธารเนี่ย หมายถึงสายน้ำลำธาร
    ห้วย หยาดน้ำ ท่อน้ำนะคะ
  • 5:42 - 5:46
    ดังนั้นรวมกันออกมา อุทกกธารหมายถึงท่อน้ำค่ะ
  • 5:46 - 5:48
    ก็คือประมาณว่า เป็นสถานที่มากินน้ำ
  • 5:48 - 5:50
    มีแบบว่า น้ำสะอาดให้คนได้กิน
  • 5:50 - 5:53
    เพราะว่าสมัยโบราณ แบบโบร่ำโบราณเลย
    คนก็กินจากห้วย หนอง คลอง บึง
  • 5:53 - 5:56
    แต่ว่าในเวลาที่ประเทศพัฒนามากขึ้น
  • 5:56 - 5:59
    เราก็ไม่สามารถกินน้ำในห้วย หนอง
    คลอง บึง เส้นคลองแสนแสบได้
  • 5:59 - 6:01
    เราก็จะต้องมากิน
    - กินน้ำสะอาด
  • 6:01 - 6:02
    กินน้ำสะอาด
  • 6:02 - 6:05
    เขาก็แบบว่า ไม่ใช่ทุกบ้านในสมัยมีน้ำประปา
  • 6:05 - 6:07
    เขาก็เลยทำแบบนี้ไว้
  • 6:07 - 6:10
    ซึ่งที่นี่ไม่ได้มีแค่จุดเดียวในกรุงเทพนะคะ มีอีกหลายจุด
  • 6:10 - 6:11
    เดี๋ยวไว้วันหลังจะพาไปดูค่ะ
  • 6:11 - 6:13
    อีกอันนึงที่สำคัญ ให้มองขึ้นไปนะครับ
  • 6:13 - 6:17
    บริเวณช้างสามเศียรเนี่ย ด้านบนที่มีผ้าสามสีผูกเอาไว้
  • 6:17 - 6:19
    ตรงนั้นนะครับ มีอยู่ฝั่งหนึ่ง
  • 6:19 - 6:21
    สลักเป็นภาพนูนต่ำของในหลวงรัชกาลที่ 5 ด้วย
  • 6:21 - 6:23
    เจ้าแท่นนี้ อุทกธารเนี่ย
  • 6:23 - 6:25
    ปัจจุบันซึ่งมันเป็นน้ำพุเนอะ
  • 6:25 - 6:27
    มันคือกิโลเมตรที่ 0 ของทางรถไฟในประเทศไทยด้วยครับ
  • 6:28 - 6:29
    โอเค เราดูนอกสถานีกันครบแล้ว
  • 6:29 - 6:31
    เดี๋ยวเราเข้าไปดูด้านในสถานีกันดีกว่า
  • 6:31 - 6:34
    ว่าด้านในสถานีมีอะไรน่าสนใจค่ะ ไป~!
  • 6:46 - 6:47
    จุดแรกนะคะที่เรามาอยู่กันตอนนี้
  • 6:47 - 6:50
    เป็นสถานที่ที่น่าสนใจมากในสถานีรถไฟกรุงเทพ
  • 6:50 - 6:52
    และหลายๆ คนไม่รู้ว่ามี
  • 6:52 - 6:54
    ก็คือบริเวณนี้เลย
  • 6:54 - 6:55
    มูลนิธิรถไฟไทยนะคะ
  • 6:55 - 6:56
    ที่นี่มีอะไรน่าสนใจคะพี่แฮม?
  • 6:56 - 7:01
    มูลนิธิรถไฟไทยเนี่ยก็จะเป็น
    จุดเริ่มต้นของการเป็นมิวเซียมเล็กๆ นะฮะ
  • 7:01 - 7:02
    ที่อยู่ในสถานีรถไฟกรุงเทพ
  • 7:02 - 7:06
    ข้างในก็จะมีของใช้เก่าๆ ที่เคยใช้ในกิจการรถไฟ
  • 7:06 - 7:08
    แล้วก็โรงแรมรถไฟเนี่ย มาจัดโชว์เอาไว้นะครับ
  • 7:08 - 7:11
    รวมถึงเครื่องทางสะดวก กิ๊งๆๆ
  • 7:11 - 7:12
    แล้วก็มีห่วงทางสะดวกด้วย
  • 7:12 - 7:14
    และของที่ระลึกนะครับที่ขายที่นี่
  • 7:14 - 7:16
    ก็รายได้ก็นำเข้ามูลนิธิรถไฟไทย
  • 7:16 - 7:19
    สิ่งที่เรียกได้ว่ามาแล้วไม่ซื้อกลับไปไม่ได้
  • 7:19 - 7:21
    นั่นคือตั๋วรถไฟครับ
  • 7:21 - 7:24
    เป็นตั๋วรถไฟขนาดเล็กๆ ที่เคยใช้กันสมัยเรายังเด็ก
  • 7:24 - 7:26
    ซึ่งปัจจุบันหาไม่ได้แล้ว ที่นี่มีจำหน่ายครับ
  • 7:26 - 7:28
    เอาไว้เก็บสะสมกันได้
  • 7:28 - 7:30
    แล้วที่สำคัญ บนชั้น 2 ครับ ก็มีภาพเตือน
  • 7:30 - 7:33
    ที่แบบ เป็นภาพเตือนสมัยโบราณเลย ที่ใช้ในกินการรถไฟ
  • 7:33 - 7:34
    แล้วแบบ ฮาร์ดคอร์มาก
  • 7:34 - 7:37
    แล้วก็มีอุปกรณ์ ของใช้ต่างๆ ที่น่าสนใจนะครับ
  • 7:37 - 7:39
    ไม่ว่าจะเป็น เครื่องคิดเลขรุ่นโบราณนะฮะ
  • 7:39 - 7:43
    เครื่องตอกตั๋วรถไฟ เครื่องแสตมป์ตั๋วรถไฟ ระฆังนะครับ
  • 7:43 - 7:44
    มาดูกันได้ครับ
  • 7:44 - 7:46
    และเกร็ดความรู้ที่น่าสนใจที่สุด
  • 7:46 - 7:48
    ของพิพิธภัณฑ์รถไฟของมูลนิธิรถไฟนะคะ
  • 7:48 - 7:52
    ก็คือ ใครอยากมานะ มันเปิดตั้งแต่ 10 โมงเช้า ถึง 6 โมงเย็น
  • 7:52 - 7:55
    ของวันอังคารถึงวันเสาร์ค่ะ
  • 7:55 - 7:56
    และวันนี้ที่เรามา
  • 7:56 - 7:59
    เนื่องจากเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาในปี 2562
  • 7:59 - 8:00
    - คือวัน
    - อาทิตย์
  • 8:00 - 8:03
    ดังนั้นมัน ปิดจ้าา~~
  • 8:10 - 8:13
    ฮือออ นั่นแหละค่ะ เอาเป็นว่าวันหลังมาดูกันเองนะ
  • 8:13 - 8:15
    เพราะว่าข้างในมันมีเขียนอธิบายอยู่แล้ว
  • 8:15 - 8:18
    เราไปดูอะไรที่มาดูกันเองไม่ได้ดีกว่า ปะ! ต่อ!
  • 8:22 - 8:25
    จุดที่สองที่น่าสนใจนะคะ ที่เราพามาดูกันในวันนี้ก็คือ
  • 8:25 - 8:29
    สิ่งที่ทุกคนจะนึกถึงเมื่อนึกถึงสถานีรถไฟ “หัวลำโพง”
  • 8:29 - 8:30
    ในความคิดของหลายๆ คน
  • 8:30 - 8:33
    อ่า! ก็คือนาฬิกาเรือนด้านหลังนั่นเอง
  • 8:33 - 8:35
    นี่~ เรือนใหญ่เบ้อเริ่มเทิ่มเลยนะคะ
  • 8:35 - 8:37
    เดี๋ยวเราให้พี่แฮมอธิบายดีกว่าว่า
  • 8:37 - 8:39
    นาฬิกานี้มีความสำคัญยังไงค่ะ
  • 8:39 - 8:43
    คือเมื่อก่อนอะ นาฬิกาที่จะต้องใช้
    เป็นมาตรฐานเพื่อให้รถไฟเข้าออกเนี่ย
  • 8:43 - 8:44
    มันก็จะอยู่ในสถานีใช่มะ
  • 8:44 - 8:46
    แต่อันนี้คือมันจะเห็นจากทั้งข้างในและข้างนอก
  • 8:46 - 8:49
    ข้างนอกก็จะรู้ว่า เอ้อ เวลานี้รถไฟใกล้จะออกแล้ว
  • 8:49 - 8:51
    ก็จะรีบวิ่งหูตูบเข้ามาในสถานี
  • 8:51 - 8:53
    แต่ถ้าข้างใน เมื่อก่อนนะครับ ทางรถไฟอะ
  • 8:53 - 8:56
    มันจะยาวเข้ามาถึงตรงที่เรากำลังนั่งกันอยู่ตรงนี้นี่แหละ
  • 8:56 - 8:58
    แล้วพอการโดยสารเริ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ใช่มะ
  • 8:58 - 9:02
    เขาก็รื้อทางรถไฟตรงนี้ออก แล้วก็ทำให้เป็นพื้น
  • 9:02 - 9:03
    เป็นโถงสถานีแทน
  • 9:03 - 9:06
    แล้วเขาก็ใช้นาฬิกาเรือนนี้แหละ ที่เอาไว้เป็นตัวบอกว่า
  • 9:06 - 9:08
    รถไฟกำลังจะออกแล้วนะครับ
  • 9:08 - 9:11
    เพราะว่านาฬิกาข้อมือ สมัยก่อนก็ไม่ได้มีกันทุกคนเนอะ
  • 9:11 - 9:14
    แล้วก็ถือว่าเป็นนาฬิกาเรือนหลักเลย ของสถานีรถไฟก็ว่าได้
  • 9:14 - 9:17
    เป็นนาฬิการะบบไฟฟ้าด้วยที่สำคัญ
  • 9:17 - 9:19
    ซึ่งมันจะแตกต่างกับนาฬิกาเรือนอื่นๆ คือ
  • 9:19 - 9:20
    ถ้าเป็นนาฬิกาในยุคนี้
  • 9:20 - 9:23
    เราก็จะเห็นชื่อผู้ผลิตติดประทับอยู่ในตัวเรือนเนอะ
  • 9:23 - 9:25
    แต่ในอันนี้ไม่มีชื่อผู้ผลิต
  • 9:25 - 9:28
    ซึ่งสันนิษฐานว่าน่าจะผลิตมาจากซีเมนส์
  • 9:28 - 9:30
    อันนี้แอบบอกนิดนึงว่ามันก็จะคล้ายๆ กับที่อังกฤษคือ
  • 9:30 - 9:33
    เวลาที่มีรถไฟเนี่ย สิ่งหนึ่งที่จะมีคู่กันเสมอก็คือนาฬิกา
  • 9:33 - 9:35
    คือเหมือนกับว่าประเทศไหนที่มีรถไฟ มันก็ต้องมีนาฬิกาด้วย
  • 9:35 - 9:38
    เพราะว่ามันเป็นการเริ่มเดินทางอันแรก
  • 9:38 - 9:40
    ที่มันต้องจำกัดว่าเวลามันจะเริ่มตอนนี้จ้า
  • 9:40 - 9:42
    ก่อนหน้านี้เราพายเรือ เราไม่จำเป็นต้องบอกนี่
  • 9:42 - 9:44
    ว่าเรือจะต้องออกตอนนี้ตอนนั้น อะไรเงี้ย
  • 9:44 - 9:47
    พอมีรถไฟปุ๊บก็ อะ ต้องเริ่มรู้จักการดูนาฬิกาแล้ว
  • 9:47 - 9:50
    รถไฟจะออกตอน 8 โมง 10 นาที
    มันก็ออกตอน 8 โมง 10 นาที
  • 9:50 - 9:51
    ประมาณนี้ค่ะ
  • 9:51 - 9:54
    แล้วที่สำคัญคือการใช้หน่วยเวลา 24 ช.ม.
  • 9:54 - 9:55
    ก็เริ่มมาจากรถไฟด้วย
  • 9:55 - 9:58
    เพราะว่ามันจะต้องบอกเวลาให้ถูกต้อง ว่ารถไฟออกกี่โมง
  • 9:58 - 10:01
    ถ้าเรามัวไปจำแบบ สองโมง สองยาม อะไรอย่างงี้
  • 10:01 - 10:02
    มันก็อาจจะเกิดความคลาดเคลื่อนได้
  • 10:02 - 10:04
    เราก็รับสิ่งนี้เข้ามา
  • 10:04 - 10:07
    แล้วเราก็ใช้นาฬิกาหน่วยเป็น 24 ช.ม.
    ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาครับ
  • 10:07 - 10:10
    ส่วนใครอยากรู้วิธีการนับเวลาแบบโบราณนะคะ
  • 10:10 - 10:13
    ก็กดไปดูได้ตรงนี้ค่ะ วิวเคยทำไว้แล้ว เย่! ขายของ
  • 10:13 - 10:16
    ขายเก่งอะ! ขายเก่งมากๆ เลยเนี่ยคนนี้
  • 10:16 - 10:18
    ไม่ใช่~ เขาจะได้ดูแบบละเอียดไง
  • 10:18 - 10:21
    เดี๋ยวเขาก็จะมาคอมเมนต์ถามว่าแบบ นับยังไงอะไรอย่างงี้
  • 10:21 - 10:22
    ก็กดไปดูได้ตรงนี้ ทำไว้แล้วจ้า
  • 10:22 - 10:23
    ครับผม
  • 10:23 - 10:25
    หยุดขายของ กลับเข้าเรื่องค่ะ
  • 10:25 - 10:28
    จะบอกว่า พี่แฮมอะ บอกอีกอย่างที่น่าสนใจก็คือ
  • 10:28 - 10:30
    เกี่ยวกับกระจกสีที่อยู่รอบๆ นาฬิกาเรือนนี้
  • 10:30 - 10:32
    ว่าเป็นกระจกนำเข้าด้วย
  • 10:32 - 10:34
    รู้มั้ยว่าทำไมถึงเป็นกระจกนำเข้า? ไปฟังพี่แฮมกันดีกว่า
  • 10:34 - 10:36
    ที่เป็นกระจกนำเข้าเพราะว่า
  • 10:36 - 10:38
    คนที่ออกแบบสถานีนี้ไม่ใช่คนไทยนะครับ
  • 10:38 - 10:41
    เป็นสถาปนิกที่ทำงานในสยาม
  • 10:41 - 10:44
    แต่เป็นคนอิตาลี ชื่อว่ามารีโอ ตามัญโญ
  • 10:44 - 10:46
    ไม่ใช่มาริโอ เมาเร่อนะครับ
  • 10:46 - 10:47
    และมารีโอ ตามัญโญเนี่ย
  • 10:47 - 10:51
    ถ้าเกิดใครเคยติดตามช่องวิว View On Tour ตั้งแต่อีพีแรกๆ
  • 10:51 - 10:53
    จะรู้ว่ามนุษย์ผู้นี้ออกแบบทุกสิ่งอย่างในยุคสมัยนั้น
  • 10:53 - 10:55
    ในยุคสมัยประมาณรัชกาลที่ 5
  • 10:55 - 10:59
    ก็จะเห็นที่ตอนวิวไปพูดเรื่องวังนู้น วังนี้ วังนั้นนั่นแหละ
  • 10:59 - 11:02
    ออกแบบเยอะมากค่ะ เพราะว่าเป็นคนที่เชี่ยวชาญด้านงานปูน
  • 11:02 - 11:05
    เมื่อเข้ามาในสถานีรถไฟกรุงเทพเนี่ย
    ก็จะเห็นงานปูนปั้นต่างๆ อยู่
  • 11:05 - 11:07
    ก็เพราะว่าเป็น signature ของมารีโอ ตามัญโญนี่แหละค่ะ
  • 11:07 - 11:10
    ครับผม แล้วก็สันนิษฐานกันว่าตัวสถานีเนี่ย
  • 11:10 - 11:13
    ได้รับแรงบันดาลใจมาจาก Frankfurt Hauptbahnhof
  • 11:13 - 11:15
    ที่เยอรมันนะครับ เพราะมีความคล้ายคลึงที่สุด
  • 11:15 - 11:17
    แต่จริงๆ แล้วมารีโอ ตามัญโญเนี่ย
  • 11:17 - 11:21
    นำแบบจากหลายๆ สถานีเข้ามาประกอบร่างเป็นอันเดียวกัน
  • 11:21 - 11:25
    รู้มั้ยมั้ยวิว ว่าแบบนี้เป็นแบบที่มาใช้ภายหลังนะ
  • 11:25 - 11:27
    มีแบบหนึ่งเป็นแบบแรก แล้วโดนปัดตกไป
  • 11:27 - 11:28
    คือขอบคุณมากที่โดนปัดตก
  • 11:28 - 11:31
    เพราะว่าตรงกลางเนี่ย มันจะมีเหมือนเป็นยอดปราสาท
  • 11:31 - 11:32
    เป็นปรางค์ขึ้นมาด้วย
  • 11:32 - 11:34
    ก็เลยมาเป็นแบบนี้แทนนะครับ
  • 11:34 - 11:37
    สถานีรถไฟกรุงเทพเนี่ย มันก็จะมีความคล้ายๆ
  • 11:37 - 11:38
    ถ้าใครเคยไปทางยุโรปเนี่ย
  • 11:38 - 11:41
    มันก็จะมี King’s Cross Waterloo อะไรงี้นะ
  • 11:41 - 11:42
    ที่มันเหมือนๆ กันด้วย
  • 11:42 - 11:44
    นั่นก็คือเป็นลักษณะรูปแบบของสถานีรถไฟ
  • 11:44 - 11:46
    ที่มีความนิยมสร้างในสมัยนั้น
  • 11:46 - 11:50
    แล้วสถานีรถไฟกรุงเทพเป็นสถานีรถไฟแบบปลายชานชาลาตัน
  • 11:50 - 11:52
    คือรถไฟวิ่งเข้ามาปั๊บ ชานชาลาขวางหน้าเลย
  • 11:52 - 11:58
    ในประเทศนี้มีแค่สองสถานีเท่านั้น
    คือสถานีกรุงเทพกับสถานีเชียงใหม่ครับ
  • 11:58 - 11:59
    ไปที่จุดถัดไปกันดีกว่าค่ะ
  • 12:12 - 12:14
    ตอนนี้นะคะเราก็มาอยู่อีกจุดหนึ่งที่น่าสนใจ
  • 12:14 - 12:16
    ภายในสถานีรถไฟกรุงเทพแล้วนะ
  • 12:16 - 12:20
    ซึ่งมันเป็นสิ่งที่ปัจจุบันเนี่ยไม่มีแล้ว
    แต่ว่าในอดีตมันเคยรุ่งโรจน์มากๆ เลย
  • 12:20 - 12:23
    ก็คือด้านหลังนี้ อาคารสถานีรถไฟกรุงเทพ
  • 12:23 - 12:24
    งงมั้ย? คืออะไร?
  • 12:24 - 12:27
    จริงๆ แล้วมันคืออดีตโรงแรมรถไฟนะคะ
  • 12:27 - 12:31
    เป็นโรงแรมที่อยู่ภายในสถานี
    แล้วก็ดำเนินการโดยกรมรถไฟเองเลย
  • 12:31 - 12:34
    แต่ว่าวิวจะไม่ลงรายละเอียด
    เพราะว่าเรามีผู้เชี่ยวชาญอยู่ข้างๆ ไง
  • 12:34 - 12:36
    เราใช้พี่แฮมดีกว่า เชิญค่ะ
  • 12:36 - 12:38
    อ่า สำหรับโรงแรมรถไฟนะครับ มีไว้ทำไม?
  • 12:38 - 12:41
    เมื่อก่อนเลย รถไฟไม่วิ่งตอนกลางคืน
  • 12:41 - 12:43
    จะวิ่งตอนกลางวันเป็นส่วนใหญ่นะครับ
  • 12:43 - 12:46
    เนื่องจากว่าสะพานรถไฟเมื่อก่อนส่วนใหญ่เป็นสะพานไม้
  • 12:46 - 12:47
    มีความสุ่มเสี่ยงในการเกิดวินาศกรรม
  • 12:47 - 12:51
    แล้วก็ที่สำคัญคือมีสัตว์ป่าเดินกันระเหเร่ร่อนเลยนะฮะ
  • 12:51 - 12:54
    ไม่ว่าจะเป็นช้าง ม้า วัว ควายนะฮะ
  • 12:54 - 12:55
    ห้ามพูดคำว่าแรดแล้วหันมา
  • 12:55 - 12:57
    ไม่มี บ้านเราไม่มีแรดนะครับ
  • 12:57 - 13:01
    ก็จริงๆ แล้วสัตว์พวกนี้เนี่ย ผิวหนังของเขาจะไม่สะท้อนแสงไฟ
  • 13:01 - 13:02
    มันเลยค่อนข้างอันอันตรายมาก
  • 13:02 - 13:04
    พอผ่านมาประมาณช่วงรัชกาลที่ 6 เนี่ย
  • 13:04 - 13:07
    ก็ได้มีความริเริ่มที่จะวิ่งรถกลางคืน
  • 13:07 - 13:10
    ซึ่งเป็นการมาถึงของรถไฟตู้นอนเป็นครั้งแรก
  • 13:10 - 13:13
    แต่รถไฟตู้นอนไม่ได้มีทุกขบวนครับ มีเป็นบางขบวนเท่านั้น
  • 13:13 - 13:15
    โรงแรมรถไฟมีไว้ทำไม?
  • 13:15 - 13:17
    มันก็เริ่มมาตั้งแต่สมัยที่ยังไม่ได้มีรถไฟวิ่งกลางคืนนั่นแหละ
  • 13:17 - 13:20
    ผู้โดยสารกว่าจะไปถึงเชียงใหม่ได้ ใช้เวลาประมาณ 2 วัน
  • 13:20 - 13:22
    ต้องไปนอนกลางทางที่พิษณุโลกก่อน
  • 13:22 - 13:25
    เพราะเมื่อก่อนเนี่ยใช้รถจักรไอน้ำ จอดแวะเติมน้ำ เติมฟืน
  • 13:25 - 13:27
    ความเร็วต่ำ กรุงเทพ-พิษณุโลกก็ 1 วันแล้วนะครับ
  • 13:27 - 13:29
    ก็ลงที่พิษณุโลก แล้วก็นอนค้าง
  • 13:29 - 13:33
    วันรุ่งขึ้นก็เดินทางต่อจากพิษณุโลก-เชียงใหม่
    ด้วยรถไฟอีกขบวนหนึ่ง
  • 13:33 - 13:36
    จึงมีโรงแรมรถไฟต่างๆ มากมาย
    กระจายตัวกันอยู่ทั่วประเทศครับ
  • 13:36 - 13:40
    พิษณุโลก ทุ่งสรง ชุมพร หัวหิน หาดใหญ่ กรุงเทพ มีหมดเลย
  • 13:40 - 13:42
    โดยเฉพาะสถานีกรุงเทพเนี่ย มันจำเป็นมาก
  • 13:42 - 13:46
    เพราะคนเดินทางจากต่อจากเหนือลงไปใต้นะครับ
  • 13:46 - 13:48
    ก็มาพักที่นี่ก่อนแล้วค่อยเดินทางต่อได้ครับ
  • 13:48 - 13:52
    เพราะว่าการเดินทางด้วยรถไฟนั่น
    สะดวกที่สุดแล้วในสมัยนั้นครับผม
  • 13:52 - 13:56
    และสถานีนี้นะครับ มีโรงแรมที่มีชื่อว่า
  • 13:56 - 13:58
    โรงแรมราชธานีครับผม
  • 13:58 - 14:02
    นี่คือสาเหตุให้ตามสถานีรถไฟเนี่ย
    ต้องมีอาหารขายด้วยใช่มั้ยคะ
  • 14:02 - 14:04
    เพราะว่าต้องไปพักกินข้าวต่างๆ
  • 14:04 - 14:05
    อ่า ส่วนหนึ่งครับ ใช่เลย
  • 14:05 - 14:08
    แต่ว่าโดยส่วนใหญ่แล้วเนี่ย ถ้าอยู่ตามภูมิภาคจะเป็นบังกะโล
  • 14:08 - 14:11
    แต่ถ้าเป็นสถานีหลักๆ เนี่ย ก็จะเป็นลักษณะของโรงแรม
  • 14:11 - 14:14
    อย่างกรุงเทพ เชียงใหม่ หัวหินเนี่ย
  • 14:14 - 14:15
    แล้วหัวหินพิเศษกว่าคือ
  • 14:15 - 14:21
    มันมีเรื่องของความนิยมในการพักผ่อนตากอากาศด้วย
  • 14:21 - 14:24
    ซึ่งปัจจุบันโรงแรมรถไฟที่หัวหินก็คือโรงแรมเซ็นทารานั่นเอง
  • 14:24 - 14:28
    ดังนั้นนะคะ ถ้าใครอยากฟังเรื่องเกี่ยวกับรถไฟอีพีอื่น
  • 14:28 - 14:31
    ที่แบบไปตรงอื่นนะคะ ก็กดดันพี่แฮมมาด้านล่างนะคะ
  • 14:31 - 14:34
    เราจะทำการกดดันให้พี่แฮมพาเราไปเที่ยวนะคะ
  • 14:34 - 14:34
    เอางี้เลยอ่อ?
  • 14:34 - 14:36
    ใช่ค่ะ เราใช้ฝูงชนกดดัน
  • 14:36 - 14:39
    จะบอกเลยนะเรื่องรถไฟอะ
    คุณพอจะมีเวลาว่างสักประมาณ 3-4 วันมั้ยครับ?
  • 14:39 - 14:41
    3-4 วันเองเหรอคะ? ว่างทั้งปีเลย
  • 14:41 - 14:42
    โอ้โห
  • 14:42 - 14:43
    ไปๆ ไปดูข้างในกันก่อน
  • 14:50 - 14:53
    เดินเข้ามาด้านในของโรงแรมรถไฟเก่านะคะ
  • 14:53 - 14:56
    ตรงนี้ก็จะเป็นบริเวณที่เป็นห้องโถงเดิมเนอะ
  • 14:56 - 14:59
    ตรงนี้ก็สันนิษฐานว่าแต่ก่อนเป็นล็อบบี้นะคะ
  • 14:59 - 15:02
    แล้วก็ตัวเสาเนี่ยจะเป็นเสาหินอ่อนเลยนะ ขนาดใหญ่
  • 15:02 - 15:04
    นั่นละค่ะ คนรักรถไฟมากๆ เขาก็จะเป็นอย่างงี้นะคะ
  • 15:04 - 15:06
    รักทุกอย่างในสถานีจริงๆ
  • 15:06 - 15:08
    และด้านนี้นะคะ ก็คือห้องอาหารโรงแรมรถไฟเดิม
  • 15:08 - 15:10
    ก็คือร้านอาหารหรูสมัยนั้น
  • 15:10 - 15:12
    ปัจจุบันเป็นสุขาหญิงจ้า
  • 15:12 - 15:15
    อีกจุดหนึ่งที่น่าสนใจที่พี่แฮมบอกไว้ก็คือตรงนี้
  • 15:15 - 15:18
    ให้เดินมาดู มาๆ เดินตามมา พาเองแล้วเนี่ย นี่
  • 15:18 - 15:20
    จุดที่น่าสนใจนะครับ ก็คือก็คือบันไดนี้
  • 15:20 - 15:22
    เป็นบันไดหินอ่อนด้วยนะฮะ
  • 15:22 - 15:24
    แต่ก่อนที่จะไปดูบันไดหินอ่อนนั้น ให้ไปดูที่พื้นก่อนนะครับ
  • 15:24 - 15:28
    พื้นเนี่ยมีเอกลักษณ์มาก
    เพราะว่าเป็นลักษณะลวดลายที่ถูกวางเอาไว้
  • 15:28 - 15:31
    แล้วเราก็จะเห็นลวดลายลักษณะแบบนี้เช่นเดียวกันกับ
  • 15:31 - 15:34
    ที่ตึกเรลเวย์วิงของโรงแรมเซ็นทารา หัวหิน
  • 15:34 - 15:36
    ซึ่งเคยเป็นอดีตโรงแรมรถไฟครับ
  • 15:36 - 15:39
    กลับมาที่บันไดอีกครั้งหนึ่งนะครับ ไม่ต้องสนใจคำขวัญเหล่านี้
  • 15:39 - 15:41
    บันไดนะฮะ ขึ้นไปชั้น 2 ก็คือเป็นทางขึ้นห้องพัก
  • 15:41 - 15:45
    ห้องพักได้มาตรฐานมาก มีน้ำร้อน น้ำเย็นนะครับ
  • 15:45 - 15:48
    มีห้อง Suite ด้วย ถือว่าทันสมัยที่สุดในขณะนั้น
  • 15:48 - 15:50
    แต่ที่ต้องยกเลิกกิจการไปเพราะว่าเรื่องการแข่งขัน
  • 15:50 - 15:53
    โรงแรมในยุคใหม่ๆ นั้นจะมีความสะดวกสบายมากกว่า
  • 15:53 - 15:58
    แต่ของเราเนี่ยมันเป็นโรงแรมที่เอาไว้
    ใช้พักระหว่างทางก่อนที่จะเดินทางต่อ
  • 15:58 - 16:01
    แอบถามค่ะว่าโรงแรมนี้สมัยรัชกาลที่ 5 ถูกมั้ย?
  • 16:01 - 16:02
    ประมาณ 6 เพราะว่าตัวอาคารสถานีกรุงเทพ
  • 16:02 - 16:06
    ที่เราใช้อยู่ในปัจจุบันเนี่ย เปิดใช้ในปี 2459
  • 16:06 - 16:08
    หลังจากเปิดใช้รถไฟไปแล้ว 20 ปี
  • 16:08 - 16:10
    ซึ่งข้ามมาช่วงรัชกาลที่ 6 แล้วครับ
  • 16:10 - 16:14
    การสร้างอาคารหลังนี้เพราะว่าอาคารหลังเก่ามีความคับแคบ
  • 16:14 - 16:16
    เดี๋ยวเราจะพาไปดูอาคารหลังเก่ากันนะ
  • 16:16 - 16:21
    แล้วโรงแรมเนี่ย ก็คาดว่าสร้างมา
    ในเวลาเดียวกับตัวอาคารสถานีเลยครับ
  • 16:21 - 16:24
    เพราะตอนนี้กำลังพยายามลองเทียบเคียงขำๆ ดูว่า
  • 16:24 - 16:27
    ในยุครัชกาลที่ 6 เนี่ยเริ่มมีความนิยมสร้างโรงแรมขึ้น
  • 16:27 - 16:30
    อย่างตอนเราไปพระราชวังพญาไทก็เห็นว่ามันเป็นโรงแรม
  • 16:30 - 16:32
    เป็นโรงแรมรถไฟเก่าด้วย
  • 16:32 - 16:34
    อ๋อ คือพระราชวังพญาไทนี่เป็นโรงแรมรถไฟด้วย
  • 16:34 - 16:36
    ใช่ พระราชวังพญาไทนะครับ จะเป็นโรงแรมรถไฟเก่าด้วย
  • 16:36 - 16:39
    แต่ว่าจะเริ่มมาใช้ตอนประมาณรัชกาลที่ 7
  • 16:39 - 16:42
    หลังจากที่รัชกาลที่ 6 สวรรคตไปแล้ว วังก็ปล่อยทิ้งเอาไว้
  • 16:42 - 16:46
    ก็ไม่รู้จะทำอะไร ก็เลยมาพัฒนาให้มาเป็นโรงแรมรถไฟ
  • 16:46 - 16:49
    ซึ่งตอนนั้นเป็นโรงแรมที่น่าจะ
    ราคาสูงที่สุดในประเทศตอนนั้นเลย
  • 16:49 - 16:52
    คือเหนือกว่าโอเรียนเต็ลอีกจ้า
  • 16:52 - 16:54
    เป็นหนึ่งในโรงแรมที่เท่มาก ถ้ามีโอกาส เดี๋ยวไว้พาไปเที่ยวค่ะ
  • 16:54 - 16:56
    เพราะว่ามีอ่างแบบว่า ลงไปอาบน้ำ
  • 16:56 - 16:58
    แบบว่ายน้ำได้ในห้องส่วนตัวเลยนะ
  • 16:58 - 16:59
    จริงปะเนี่ย?
  • 16:59 - 17:01
    จริงๆ ลงไปแล้วแบบ ถึงคออย่างนี้เลย เท่มาก
  • 17:01 - 17:03
    ที่ถึงคอเพราะว่าเธอไม่สูงปะ?
  • 17:04 - 17:05
    เราเปลี่ยนแขกรับเชิญมั้ยคะ?
  • 17:05 - 17:07
    มีสิ่งหนึ่งที่น่าสนใจตรงนี้
  • 17:07 - 17:11
    พอมองขึ้นไปจากบันไดนะคะ สิ่งที่พี่แฮมบอกก็คือตรงนี้เลย
  • 17:11 - 17:12
    มันคือฝ้าครับ ฝ้าเพดานนะฮะ
  • 17:12 - 17:16
    ที่เป็นฝ้าไม้ฉลุลายนะครับ เป็นการทำลายเอาไว้
  • 17:16 - 17:18
    ก็คือลักษณะจะมีความดูจีนๆ นิดนึง
  • 17:18 - 17:22
    สันนิษฐานเอาว่าที่มันมีความจีนๆ ผสมมา
    เพราะว่าตรงนี้มันใกล้เยาวราชนะครับ
  • 17:22 - 17:24
    และที่สำคัญฝ้าเพดานข้างบนเคย
  • 17:24 - 17:27
    ห้อยแชนเดอเรียมาก่อนด้วย มีคนว่าเอาไว้
  • 17:27 - 17:31
    แต่เราก็ยังไม่เคยเห็นรูปที่มันชัดเจนจริงๆ สักทีนึง
  • 17:31 - 17:34
    แต่มันจะมีแน่ๆ รูปนึงเลยที่เราเคยเห็นนะครับ
  • 17:34 - 17:37
    ตรงนี้จะมีเก้าอี้หวายเอาไว้เต็มเลย สำหรับนั่งรอ
  • 17:37 - 17:39
    เป็นล็อบบี้โรงแรมนั่นเอง ตรงนี้นะครับ
  • 17:39 - 17:42
    ซึ่งปัจจุบันล็อบบี้โรงแรมนั้นได้กลายสภาพมาเป็น
  • 17:42 - 17:44
    สุขาชายและสุขาหญิงครับ
  • 17:50 - 17:53
    ตอนนี้นะคะเราก็เข้ามาอยู่กลางโถงสถานีแล้วค่ะ
  • 17:53 - 17:56
    ซึ่งด้านหลังเราเนี่ยเป็นรางรถไฟแบบออริจินอล
  • 17:56 - 17:59
    ทั้งหมด 4 รางนะคะ ตั้งแต่สมัยแรกเริ่มเดิมทีเลย
  • 17:59 - 18:03
    ดังนั้นเราให้พี่แฮมเล่าค่ะว่าตรงนี้มีอะไรน่าสนใจอีกนะ
  • 18:03 - 18:05
    ก็คือตอนสมัยที่สร้างสถานีรถไฟกรุงเทพแรกๆ อะ
  • 18:05 - 18:09
    รางรถไฟที่เป็นออริจินอลเลยก็จะมีแค่ 1 2 3 4 นะครับ
  • 18:09 - 18:12
    แล้วก็จริงๆ ตรงนี้เนี่ยจะเป็นมุมที่คนมาถ่ายรูปกันมากที่สุด
  • 18:12 - 18:16
    เราจะสังเกตเวลาใครที่เข้ามาที่สถานีแล้วจะนั่งรถไฟ
  • 18:16 - 18:17
    เขาจะต้องมายืนถ่ายรูปแบบ
  • 18:18 - 18:20
    แล้วก็มีตั๋วรถไฟถือไว้ แล้วก็มีแคปชั่น
  • 18:20 - 18:22
    “อยากนั่งรถไฟไปทะเลโง่ๆ” อะไรอย่างงี้ นะ
  • 18:23 - 18:24
    เอาเป็นว่าถ้าใครมาที่สถานีนะครับ
  • 18:24 - 18:27
    ตรงนี้จะเป็นจุดที่เราแนะนำให้ทุกคนถ่ายรูป
  • 18:27 - 18:30
    แล้วยิ่งถ้ามีรถไฟเข้ามาพร้อมกัน 4 ขบวนแบบนี้
  • 18:30 - 18:33
    ก็จะได้รูปรถจักรครบทั้ง 4 ทางครับ
  • 18:33 - 18:36
    เดี๋ยวต่อไปเราจะไปดูอะไรกันบางอย่าง
  • 18:36 - 18:38
    ซึ่งเราน่าจะเคยเห็นกันมาตั้งแต่เด็กๆ แล้วแหละ
  • 18:38 - 18:41
    แต่มันถูกเอามาใช้ใหม่อีกครั้งนึง ปะ ไปดูกัน
  • 18:48 - 18:51
    และแล้วตอนนี้นะคะ เราก็พามาดูแกลเลอรี่เล็กๆ
  • 18:51 - 18:53
    ด้านในสถานีรถไฟนะคะ
  • 18:53 - 18:56
    ซึ่งเป็นแกลเลอรี่ภาพที่ดูแล้วรื่นรมย์อย่างรุนแรง
  • 18:56 - 18:57
    ก็คือภาพเตือนนั่นเอง
  • 18:57 - 19:00
    ที่เราชอบเห็นเขาแชร์กันในอินเตอร์เน็ตนั่นแหละ
  • 19:00 - 19:02
    เรามาดูของจริงกันตรงนี้
  • 19:02 - 19:04
    ภาพเตือนพวกนี้จริงๆ แล้วมันวาดมานานแล้ว
  • 19:04 - 19:07
    มีคนวาด 2 คน คือคุณศุภารัตน์กับคุณศักดิ์ดาครับ
  • 19:07 - 19:09
    ภาพก็รื่นรมย์มาก ตามมาดูกันเลยฮะ
  • 19:09 - 19:12
    รื่นรมย์ในระดับไหน? ระดับเลือดสาดอะครับ
  • 19:12 - 19:13
    แบบเนี้ย!
  • 19:13 - 19:16
    แต่มันก็เป็นพฤติกรรมที่มันยังมีอยู่ ณ ปัจจุบันนะ เขาก็เตือน
  • 19:16 - 19:19
    แล้วภาพเนี่ยมันทำให้น่ากลัวเพื่อที่ว่าเราจะได้รู้สึกว่า
  • 19:19 - 19:23
    กลัว แล้วก็ตระหนักรู้ว่า อย่าทำแบบนี้นะ!
  • 19:23 - 19:25
    เช่น “นั่งรถอย่าชะโงกหน้าต่าง”
  • 19:25 - 19:27
    นักท่องเที่ยวชอบมาก กับการยื่นกงยื่นกล้องอะไรไป
  • 19:27 - 19:30
    พลาดมา คุณอาจจะเจอสะพานฟาดก็ได้
  • 19:30 - 19:32
    หรืออันนี้ครับ ปัจจุบันก็ยังมีอยู่นะฮะ
  • 19:32 - 19:35
    นั่นคือ “อย่าขีดเขียนข้างรถ”
  • 19:35 - 19:38
    สมัยก่อนขีดเขียนครับ สมัยนี้กราฟิตี้มาเลยฮะ
  • 19:38 - 19:40
    นี่กำลังเป็นข่าวใหญ่โตกันเลยนะครับ
  • 19:40 - 19:42
    อย่าทำนะครับ ไม่ดี ถือว่าทำลายทรัพย์สินราชการ
  • 19:42 - 19:46
    และเจอกันประจำเลยครับ
    “อย่าข้ามทางรถไฟก่อนหยุดดูซ้ายขวา”
  • 19:46 - 19:49
    ภาษาอาจจะกำกวมนิดนึง ถ้าให้พูดกันตรงๆ เลยก็คือ
  • 19:49 - 19:51
    ก่อนจะข้ามทางรถไฟ หยุดก่อนนะจ้ะ
  • 19:51 - 19:53
    เพราะว่าถ้าหากว่าไม่หยุดก็อาจโดนชนได้
  • 19:53 - 19:57
    จำไว้นะครับ เสียเวลาดีกว่าเสียชีวิต
  • 19:57 - 19:59
    นี่โฆษณาสสส.หรืออะไรเนี่ย?
  • 19:59 - 19:59
    ไปต่อ
  • 19:59 - 20:01
    อันนี้แอบให้ดูนิดนึงนะคะ
  • 20:01 - 20:05
    ก็คือเข้ามาที่สถานีเนี่ย ก็จะเห็นสิ่งที่เราเล่าไปเมื่อกี้นี้แหละ
  • 20:05 - 20:09
    ด้านบนทั้งหมดก็คือเป็นระเบียงของ
    ห้องพักโรงแรมรถไฟแต่ก่อนค่ะ
  • 20:09 - 20:11
    ซึ่งปัจจุบันกลายเป็นออฟฟิศการรถไฟไปแล้วเนอะ
  • 20:11 - 20:15
    ส่วนด้านล่างเนี่ยนะคะ แต่ก่อนเคยเป็นศุลกากรมาก่อน
  • 20:15 - 20:17
    เพราะว่าเรามีรถไฟที่วิ่งไปต่างประเทศด้วย
  • 20:17 - 20:18
    วิ่งไปปีนังอะไรอย่างนี้น่ะค่ะ
  • 20:18 - 20:20
    ก็คล้ายๆ กับสนามบินในปัจจุบันเลยนะ
  • 20:20 - 20:24
    นอกจากนี้ก็ยังเป็นที่ที่ไปรษณีย์เอาจดหมายอะไรต่างๆ มาลง
  • 20:24 - 20:26
    เพราะว่าแต่ก่อนเวลาส่งจดหมายข้ามเขต
  • 20:26 - 20:28
    เขาก็ส่งกันด้วยรถไฟเนี่ยละค่ะ ปะ!
  • 20:31 - 20:33
    อาคารนี้ก็เป็นอีกจุดหนึ่งที่น่าสนใจนะคะ
  • 20:33 - 20:37
    ก็คืออาคารไปรษณีย์หัวลำโพงเก่านั่นเองค่ะ
  • 20:37 - 20:41
    ซึ่งเราจะเห็นว่ามีทางเชื่อมต่อลงมายังบริเวณรางรถไฟนะคะ
  • 20:41 - 20:45
    สาเหตุก็เพราะว่าสมัยก่อนเนี่ย เราส่งไปรษณีย์กันทางรถไฟค่ะ
  • 20:45 - 20:49
    เพราะว่าเป็นการเดินทางที่รวดเร็วที่สุดในสมัยนั้นนะคะ
  • 20:49 - 20:54
    นี่ก็จะเป็นจุดที่เขาจะลำเลียงจดหมายต่างๆ
    จากไปรษณีย์มาที่รางรถไฟค่ะ
  • 21:06 - 21:09
    นี่ ตอนนี้หลังจากที่เราดูสถานีรถไฟกรุงเทพนะคะ
  • 21:09 - 21:11
    ย้ำอีกครั้ง กรุงเทพ! ไม่ใช่หัวลำโพงแล้ว
  • 21:11 - 21:13
    วันนี้เรามีอะไรพิเศษนิดนึงที่นี่ก็คือ
  • 21:13 - 21:15
    นี่เลย ด้านหลัง
  • 21:15 - 21:16
    คนนั่นเองนะคะ
  • 21:16 - 21:18
    ไม่ใช่! ไปดูภาพเอา
  • 21:18 - 21:19
    เป็นรถจักรไอน้ำครับ
  • 21:19 - 21:22
    รถจักรไอน้ำที่ยังเหลือใช้งานได้จริงอยู่ในประเทศไทยนะครับ
  • 21:22 - 21:24
    ซึ่งจริงๆ เมื่อก่อน รถจักรไอน้ำเนี่ย
  • 21:24 - 21:27
    เขาก็เหมือนเป็นรถจักรกำลังหลักเลย ที่วิ่งกันไปทั่วประเทศ
  • 21:27 - 21:31
    แต่พอหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เนี่ย เราเสียหายเยอะมาก
  • 21:31 - 21:34
    แล้วก็มีนโยบายของประเทศด้วยที่จะลดการใช้ไม้
  • 21:34 - 21:36
    ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงของรถจักรไอน้ำลง
  • 21:36 - 21:39
    เพราะว่าทรัพยากรป่าไม้เนี่ยเริ่มถดถอยลงนะครับ
  • 21:39 - 21:43
    ปีสุดท้ายที่รถจักรไอน้ำสั่งเข้ามาคือปี 2492
  • 21:43 - 21:44
    ครบ 70 ปีพอดี
  • 21:44 - 21:47
    แล้วก็เริ่มถยอยตัดบัญชีรถจักรไอน้ำเนี่ยตอนปี 2517
  • 21:47 - 21:51
    จนแบบไม่เหลือรถที่วิ่งตามปกติเลยในปี 2522
  • 21:51 - 21:54
    แต่ก็ยังมีรถจักรไอน้ำบางส่วน ยังเก็บเป็น spare เอาไว้
  • 21:54 - 21:56
    รถจักรสำรอง รถจักรสับเปลี่ยนอะไรแบบนี้ครับ
  • 21:56 - 22:00
    จนกระทั่งรถจักรไอน้ำที่ใช้งานเนี่ยก็ถูกเอามาตั้งเป็นอนุสรณ์
  • 22:00 - 22:02
    คือดีกว่าเป็นเศษเหล็กไง เอามาตั้งหน้าสถานี
  • 22:02 - 22:04
    ก็คือเหมือนกับว่า เอาไว้เป็นพิพิธภัณฑ์
  • 22:04 - 22:06
    ใครมาเที่ยว ถ่ายรูปจ้า แอ๊ะ~
  • 22:06 - 22:09
    แต่ถ้าเอามาตั้งเฉยๆ เดี๋ยวมันจะค่อยๆ
    เป็นเศษเหล็กไป เพราะมันจะพัง
  • 22:09 - 22:09
    ใช่ ถูกต้อง
  • 22:09 - 22:11
    เพราะฉะนั้นมันต้องกลายเป็น Living Meseum ครับ
  • 22:11 - 22:13
    ผู้บริหารท่านหนึ่งของการรถไฟเนี่ย
  • 22:13 - 22:15
    ก็เลยมองว่ารถจักรไอน้ำสำคัญ
  • 22:15 - 22:17
    เพราะว่าเขาเป็นรากเหง้าถูกต้องมะ?
  • 22:17 - 22:21
    เขาก็เลยคิดว่าจะทำยังไงดีให้เขากลับมามีคุณค่าอีกครั้งหนึ่ง
  • 22:21 - 22:24
    ก็เลยปิ๊งไอเดียเป็นรถไฟนำเที่ยวโดยใช้รถจักรไอน้ำลากจูง
  • 22:24 - 22:26
    เหมือนในต่างประเทศนั่นเองครับ
  • 22:26 - 22:30
    ซึ่งในปีหนึ่ง เราจะเจอกับรถจักรไอน้ำสองคันนี้นะครับ คุณฮวด
  • 22:30 - 22:31
    6 ครั้งต่อปี
  • 22:31 - 22:34
    ก็คือ 26 มีนาคม วันเกิดรถไฟ
  • 22:34 - 22:37
    3 มิถุนายน วันเฉลิมฯ สมเด็จพระราชินีนะครับ
  • 22:37 - 22:41
    แล้วก็เป็นวันที่ 28 กรกฎาคม
    วันเฉลิมฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวครับ
  • 22:41 - 22:45
    วันที่ 12 สิงหาคม วันแม่ 23 ตุลาคม ปิยมหาราช
  • 22:45 - 22:48
    และสุดท้ายก็คือ 5 ธันวาคม วันพ่อครับ
  • 22:48 - 22:49
    เป็นรถไฟขบวนพิเศษจริงๆ
  • 22:49 - 22:51
    พี่แฮมแอบบอกนะคะ ว่าสำหรับคนรักรถไฟเนี่ย
  • 22:51 - 22:54
    วันนี้เหมือนเป็นวันมาฆบูชาของคนรักรถไฟเลย
  • 22:54 - 22:56
    เพราะว่าทุกคนจะมารวมตัวกันโดยไม่ได้นัดหมาย
  • 22:56 - 22:58
    เห็นด้านหลังเนี่ย ดู ประมาณนั้น
  • 22:58 - 22:59
    คือไม่มีใครนัดกันเลย
  • 22:59 - 23:01
    ทุกคนก็แค่อยากมาถ่ายรูปกับรถจักรไอน้ำ
  • 23:01 - 23:02
    เพราะว่ามันหาโอกาสยาก
  • 23:02 - 23:06
    สำหรับใครที่อยากถ่ายรูปกับรถจักรไอน้ำ และที่สำคัญนะ
  • 23:06 - 23:10
    ที่สถานีหัวลำโพง ไม่ใช่ ที่สถานีรถไฟกรุงเทพเนี่ยนะคะ
  • 23:10 - 23:13
    ก็จะต้องรีบมา เพราะว่าเดี๋ยวมันจะมีการเปลี่ยนแปลง
  • 23:13 - 23:16
    คือเราจะย้ายสถานีหลักเนี่ย สถานีกลาง ไปอยู่ที่บางซื่อแล้ว
  • 23:16 - 23:17
    เมื่อไปตรงนั้นแล้ว เราไม่รู้ว่า
  • 23:17 - 23:20
    เขายังจะเอารถจักรไอน้ำมาวิ่งที่นี่อยู่รึเปล่า
  • 23:20 - 23:21
    ดังนั้นถ้าอยากได้ภาพแบบนี้
  • 23:21 - 23:23
    แบบนี้เป๊ะๆ ด้านหลังเป็นโค้งๆ อย่างนี้
  • 23:23 - 23:25
    ก็รีบมานะจ้ะ ระวังอด
  • 23:25 - 23:28
    บอกอะไรนิดนึง ขบวนนี้จองตั๋วยากด้วยนะครับ
  • 23:28 - 23:32
    ขายตั๋วเป็นตั๋วไป-กลับ 250 บาท นี่คือราคาเริ่มต้น
  • 23:32 - 23:34
    ไปและกลับ 250 บาท แล้วมีบริการ Snack ด้วย
  • 23:34 - 23:37
    ถ้าใครที่อยากนั่งรถไฟที่ลากจูงด้วยรถจักรไอน้ำ
  • 23:37 - 23:39
    และไม่ต้องไปไกลถึงญี่ปุ่นนะครับ เรียนเชิญครับผม
  • 23:39 - 23:41
    6 วันที่ได้กล่าวเอาไว้นั้น
  • 23:41 - 23:42
    วิวอยากนั่งมั้ยครับ?
  • 23:42 - 23:44
    คือสิ่งที่วิวทำได้ตอนนี้คือนั่งแล้วก็ลงใช่มั้ยคะ?
  • 23:44 - 23:46
    ใช่ เพราะเราไม่มีตั๋ว มันเต็ม
  • 23:46 - 23:49
    น่ะ นั่นแหละ เอาเป็นว่าเดี๋ยวเราไปดูกันค่ะ ไป~
  • 23:49 - 23:51
    สิ่งนึงที่หลายคนงงนะคะ ก็คือ
  • 23:51 - 23:55
    ทำไมถึงมีคนขับ 2 คนนะคะ งงมะ?
  • 23:55 - 23:56
    คนขับคนที่ 1 คนขับคนที่ 2
  • 23:56 - 24:00
    สาเหตุเพราะว่านี่คือหัวรถจักรไอน้ำ 2 หัวนะคะ
  • 24:00 - 24:02
    นั่น สองหัวไม่ใช่หัวเดียวนะจ้ะ
  • 24:02 - 24:04
    ที่มันต่อกัน โดยเอาก้นต่อกันไว้
  • 24:04 - 24:07
    เพราะว่าสมัยก่อนจะมีสิ่งที่เรียกว่า Turntable ค่ะ
  • 24:07 - 24:10
    เวลารถจักรวิ่งไปถึงไหนปุ๊บมันก็จะสามารถกลับรถกลับมาได้
  • 24:10 - 24:13
    เวลาวิ่งไปถึงอยุธยาแล้วมันจะได้วิ่งกลับได้นะคะ
  • 24:13 - 24:16
    ในทางตรงข้ามเลย ก็เปลี่ยนเอาหัวนี้มาวิ่งแทน
  • 24:16 - 24:17
    และอีกอย่างนึงนะที่ช่วยได้นะ
  • 24:17 - 24:19
    ก็คือพอมันมี 2 หัวรถจักรเนี่ย
  • 24:19 - 24:21
    มันก็จะมี 2 หัวแบบช่วยเพิ่มแรงดัน อะไรประมาณนั้นค่ะ
  • 24:26 - 24:28
    แอบให้ความรู้ที่น่าสนใจอีกข้อหนึ่งนะคะ
  • 24:28 - 24:32
    ก็คือ หลายคนเรียกเสียงของรถไฟที่ดังปู๊นๆ
  • 24:32 - 24:33
    ว่าเสียงหวูดนะคะ
  • 24:33 - 24:36
    แต่จริงๆ แล้วเขาบอกว่าเป็นคำที่ผิดค่ะ
  • 24:36 - 24:39
    เสียงของรถไฟเนี่ยเขาเรียกว่าเสียงหวีด
  • 24:39 - 24:43
    เพราะว่ามาจากคำว่า Whistle ที่แปลว่านกหวีดนั่นเองค่ะ
  • 24:43 - 24:45
    ในขณะที่ถ้าเราพูดถึงเสียงหวูดนะคะ
  • 24:45 - 24:49
    เสียงนั้นจริงๆ จะต้องเป็นเสียงของเรือเดินสมุทรค่ะ
  • 24:56 - 24:58
    ตอนนี้นะคะ เราก็มาอยู่ในอีกจุดหนึ่งที่สำคัญ
  • 24:58 - 25:00
    ในสถานีรถไฟกรุงเทพนะคะ
  • 25:00 - 25:03
    เพราะว่ามันเป็นต้นกำเนิดของทุกสิ่งอย่างบริเวณนี้เลย
  • 25:03 - 25:06
    ซึ่งเราก็จะโยนภาระให้พี่แฮมอีกแล้วค่ะ
  • 25:06 - 25:08
    คลิปนี้วิวสบายจริงๆ มีความสุข
  • 25:08 - 25:10
    เนี่ย เขาบอกแล้วว่าคลิปนี้เขายกให้เรา นะ!
  • 25:10 - 25:12
    ตรงนี้นะครับ มันเป็นจุดสุดท้าย
  • 25:12 - 25:14
    ที่เราจะเข้ามาดูในสถานีกรุงเทพ
  • 25:14 - 25:16
    แต่มันคือจุดเริ่มต้นของทั้งหมด นี่เลยครับ
  • 25:16 - 25:18
    อนุสรณ์ที่คุณเห็นอยู่ข้างหลังนี้นะครับ
  • 25:18 - 25:21
    คือจุดที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
  • 25:21 - 25:24
    และสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถนะครับ
  • 25:24 - 25:25
    หรือสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี
  • 25:25 - 25:29
    ได้ทรงกระทำพิธีตอกหมุดปฐมฤกษ์เดินรถไฟหลวงครับ
  • 25:29 - 25:33
    เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2439
  • 25:33 - 25:37
    หรือถ้าหากว่านับตามปีปฏิทินปัจจุบันนั้นคือปี 2440 ครับ
  • 25:37 - 25:39
    จะมีความงงนิดนึงนะคะ
  • 25:39 - 25:41
    เพราะสมัยก่อนกับสมัยปัจจุบันนับวันปีใหม่ไม่เหมือนกัน
  • 25:41 - 25:45
    ในสมัยนั้นเขายังนับวันปีใหม่อยู่ตรงที่ 1 เมษายนนะคะ
  • 25:45 - 25:46
    ดังนั้นปีมันก็เลยจะงงๆ นิดนึง
  • 25:46 - 25:50
    เวลาดูปีในประวัติศาสตร์ไทย ต้องระวังตรงนี้ดีๆ นะคะ
  • 25:50 - 25:51
    ให้ดูเดือนดีๆ ครับ
  • 25:51 - 25:53
    เพราะว่าประวัติศาสตร์ของรถไฟ
    ก็เพี้ยนมาหลายจุดแล้วเหมือนกัน
  • 25:54 - 25:56
    เพราะว่ามันไม่ได้มีการระบุเดือนอย่างชัดเจนนะครับ
  • 25:56 - 25:58
    และที่สำคัญนะครับ
  • 25:58 - 26:01
    ตรงนี้ไม่ใช่เป็นแค่เพียงจุดปฐมฤกษ์เท่านั้นนะครับวิว
  • 26:01 - 26:04
    ยังเป็นสถานีรถไฟกรุงเทพหลังแรกด้วย
  • 26:04 - 26:08
    สถานีรถไฟกรุงเทพหลังแรกนะครับ ใช้งานในปี 2439
  • 26:08 - 26:11
    หรือถ้านับตามปีปัจจุบันอย่างที่ว่าก็คือ 2440 นั่นแหละ
  • 26:11 - 26:15
    ในประวัติเนี่ย ไม่ได้ระบุสถานที่และตำแหน่งที่ตั้งชัดเจนครับ
  • 26:15 - 26:17
    เราเพิ่งจะมาค้นพบที่หลังครับว่า
  • 26:17 - 26:21
    จุดที่เป็นสถานีรถไฟกรุงเทพ เริ่มต้นเป็นอาคารไม้ 2 ชั้นนะครับ
  • 26:21 - 26:23
    อยู่ตรงข้ามกับวังสายปัญญา
  • 26:23 - 26:26
    ซึ่งมันพอดีประจวบเหมาะกับตรงนี้เลยครับ
  • 26:26 - 26:28
    ที่เราก็สันนิษฐานกันว่าเป็นจุดตอดหมุดครั้งแรก
  • 26:28 - 26:31
    เพราะเมื่อเดินออกจากด้านหลังตรงนี้ไปนะครับ
  • 26:31 - 26:33
    จะตรงกับโรงเรียนสายปัญญาพอดีเป๊ะเลยครับ
  • 26:33 - 26:36
    รวมถึงภาพเก่าๆ นะครับ ที่ถ่ายมาเนี่ย
  • 26:36 - 26:41
    เราก็จะมองเห็นบริเวณพื้นที่
    ของสถานีกรุงเทพที่สร้างใหม่ในปี 2459
  • 26:41 - 26:43
    และเราก็จะเห็นชานชาลาเล็กๆ อยู่นิดนึงครับ
  • 26:43 - 26:46
    นั่นก็ทำให้เรายิ่งมั่นใจได้เลยครับว่าบริเวณนี้นะครับ
  • 26:46 - 26:50
    มันเคยเป็นสถานีรถไฟกรุงเทพออริจินอลมาก่อนครับผม
  • 26:50 - 26:52
    เนื่องจากตอนนี้วิวดูไร้ประโยชน์มากนะคะ
  • 26:52 - 26:55
    ดังนั้นวิวขอมอบช่องนี้ให้กับพี่แฮม เอาไปเลยค่ะตอนนี้
  • 26:55 - 26:57
    เดี๋ยวค่อยกลับมาเจอกันปลายๆ คลิปแล้วกันนะ
  • 26:57 - 26:59
    เพราะว่ารู้สึกว่ายืนเป็นวอลเปเปอร์หนักมากนะจ้ะ
  • 26:59 - 27:02
    เดี๋ยวมาดูอันนี้กันต่อครับ หลังปฐมฤกษ์
  • 27:02 - 27:03
    ตรงนี้จะเป็นรถจักรไอน้ำนะครับ
  • 27:03 - 27:05
    เป็นรถจักรไอน้ำหมายเลข 714 ครับ
  • 27:05 - 27:11
    ก็คือเป็นหนึ่งในกลุ่มสามสหาย
    รถจักรไอน้ำของรุ่น C56 ที่เหลืออยู่
  • 27:11 - 27:13
    ก็คือ เมื่อเช้าเราเห็นรถจักรไอน้ำ 824 กับ 850 แล้วใช่มะ?
  • 27:13 - 27:16
    อันนั้นคือ 2 คัน มีอีก 2 คันที่ยังใช้ได้อยู่
  • 27:16 - 27:18
    ก็คือ 713 กับ 715 ส่วนตรงกลางระหว่างนั้น
  • 27:18 - 27:21
    714 มาอยู่ที่นี่ครับ เป็นอนุสรณ์ปฐมฤกษ์เช่นเดียวกัน
  • 27:21 - 27:25
    และที่สำคัญ คุณรู้มั้ยว่ารถจักรไอน้ำคันนี้ รุ่นนี้นะครับ
  • 27:25 - 27:27
    ไม่ได้ซื้อนะฮะ ได้มาฟรีครับ
  • 27:27 - 27:31
    ตอนที่ญี่ปุ่นมาสร้างทางรถไฟสายมรณะ
    ตอนสงครามโลกครั้งที่ 2 ครับ
  • 27:31 - 27:35
    ก็ไปรู้ประวัติมาครับว่ารถจักรไอน้ำแบบ C เนี่ย
    ก็คือรหัสเขา C56
  • 27:35 - 27:39
    มันถูกออกแบบมาเพื่อให้ใช้กับเส้นทางที่
    ไม่มีวงเวียนกลับรถจักรหรือ Turntable ครับ
  • 27:39 - 27:41
    เพราะว่าดูนู่นเลยฮะ
  • 27:41 - 27:44
    ตัวรถลำเลียงของเขาจะมีลักษณะด้านหลังลาดลงนะครับ
  • 27:44 - 27:47
    เวลาขับถอยหลังจะทำให้ทัศนวิสัยมันดีขึ้น
  • 27:47 - 27:50
    และเราก็จะเจอรถจักรไอน้ำแบบ C56 นี้แบบดาษดื่นมาก
  • 27:50 - 27:53
    ในทางรถไฟสายกาญจนบุรีในยุคนั้นนะครับ
  • 27:53 - 27:55
    แล้วปัจจุบัน ญี่ปุ่นเขาก็ทิ้งไว้ให้เราฮะ ให้เราใช้
  • 27:55 - 27:57
    แล้วก็เอากลับไป 2 คัน บ้านเขา
  • 27:57 - 27:59
    มีคำว่า ร.ฟ.ท. ติดไปด้วย
  • 27:59 - 28:01
    แต่ตอนนี้ไปอยู่ที่ศาลเจ้ากับพิพิธภัณฑ์แล้วนะครับ
  • 28:01 - 28:04
    ถ้าใครอยากจะมาเยี่ยมรถจักรไอน้ำหมายเลข 714
  • 28:04 - 28:07
    ก็มาหาเขาได้ที่อนุสรณ์ปฐมฤกษ์รถไฟหลวงได้เลยนะครับ
  • 28:07 - 28:09
    เขาอยู่ที่นี่ตลอดเวลาครับ
  • 28:09 - 28:10
    แต่! เตือนไว้อย่างหนึ่ง
  • 28:10 - 28:13
    การเดินข้ามไปข้ามมาบริเวณชานชาลาต้องระวังครับ
  • 28:13 - 28:18
    เพราะว่าจะมีรถไฟที่เขาสับเปลี่ยนเนี่ย วิ่งเข้าวิ่งออกตลอดเวลา
  • 28:18 - 28:19
    ต้องระวังด้วย
  • 28:19 - 28:22
    อย่างนี้อะครับ เขาจะมาตลอดเวลาแบบนี้เลยนะครับ
  • 28:22 - 28:24
    ต้องระวังเลยนะครับ เรื่องนี้สำคัญเป็นอย่างมากเลยครับ
  • 28:25 - 28:26
    บอกให้ยึดก็เอาไปเลยจริงๆ ด้วยนะ
  • 28:26 - 28:28
    คือเอาไปเลยแบบ เอาไปเลย แบบเอาไปเลย
  • 28:28 - 28:30
    ตั้งใจจะเล่นมุกว่า “ให้พี่ยึดแล้วกันนะคะ”
  • 28:30 - 28:32
    ถือไมค์ คว้า พูดเลย อย่างเมามัน
  • 28:32 - 28:34
    อ้าว ก็วิวให้พี่เองอะ
  • 28:34 - 28:35
    โอเคจ้ะ นั่นแหละจ้ะ
  • 28:35 - 28:36
    ปะ ไปที่ต่อไปกันเถอะ
  • 28:36 - 28:38
    ที่สุดท้าย อันนี้สุดท้ายจริงๆ ละ
  • 28:38 - 28:40
    แต่ว่าไม่ได้มีนัยยะอะไรสำคัญเกี่ยวกับพื้นที่สำคัญ
  • 28:40 - 28:43
    แต่เป็นพื้นที่ๆ ใครมีกล้องก็ไม่ควรพลาด
  • 28:43 - 28:46
    อ๋าา ดังนั้นเราจำเป็นมาก ต้องไปตรงนั้นนะคะ
  • 28:46 - 28:48
    ปะ ไปดูกัน
  • 28:51 - 28:54
    และตอนนี้นะคะ วิวก็ชวนพี่แฮมมา
  • 28:54 - 28:58
    จุดที่น่าจะมีความสำคัญที่สุดของสถานีรถไฟกรุงเทพเลยนะคะ
  • 28:58 - 29:01
    เพราะว่าเป็นจุดที่มีสิ่งที่แบบว่าสำคัญจริงๆ เลยนะ
  • 29:01 - 29:02
    พี่แฮมรู้มั้ยว่าอันนี้คืออะไร?
  • 29:02 - 29:05
    เฮ้ย เดี๋ยววิว ตรงนี้มันไม่ได้มีอะไรสำคัญมากไม่ใช่เหรอ?
  • 29:05 - 29:06
    ทำไมอะ?
  • 29:06 - 29:07
    ก็พี่พาไปดูหมดแล้วอะ
  • 29:07 - 29:11
    ไม่ ตรงนี้อะ คือจุดที่วิวสวยที่สุด
    ในสถานีรถไฟกรุงเทพเลยค่ะทุกคน
  • 29:14 - 29:17
    วิวสวยที่สุดในสถานีรถไฟกรุงเทพเลยค่ะทุกคน
  • 29:20 - 29:23
    สามารถมาถ่ายรูปกันได้เพราะว่าวิวสวยจริงๆ นะฮะ
  • 29:24 - 29:25
    วิวสวย?
  • 29:25 - 29:27
    ไม่ใช่วิวนั้นสิ?
  • 29:27 - 29:28
    มันหมายถึงวิวข้างหลัง เห็นมั้ย?
  • 29:28 - 29:31
    อ่า ตรงนี้นะครับ จะเป็นจุดที่ถ่ายรูปสวยที่สุดครับ
  • 29:31 - 29:33
    ใครที่อยากจะถ่ายรูปตัวเองเอาไปลงโปร์ไฟล์เฟสบุ๊ก
  • 29:33 - 29:35
    ให้มาตรงนี้ได้เลยนะครับ
  • 29:35 - 29:38
    เพราะว่าข้างหลังนั้น นอกจากคุณจะได้เห็น
    โดมของสถานีกรุงเทพแล้ว
  • 29:38 - 29:40
    ยังเห็นโรงแรมบัว แอท สเตท ทาวเวอร์
  • 29:40 - 29:41
    เห็น ICON SIAM เห็นตึก CAT
  • 29:41 - 29:42
    เห็นเชอราตัน
  • 29:42 - 29:44
    ก็คือเห็นตึกในย่านธุรกิจทั้งหมดนั่นแหละครับ
  • 29:44 - 29:47
    ถือว่าเป็นจุดที่วิวสวยที่สุดนะครับ
  • 29:47 - 29:49
    ซึ่งวิวนั้น หมายถึงวิวจริงๆ ครับ
  • 29:51 - 29:52
    ยังจะคืนไมค์มาอีก
  • 29:53 - 29:55
    และนี่นะคะก็คือทั้งหมดของสถานีรถไฟกรุงเทพ
  • 29:55 - 29:57
    ที่เราพามาเที่ยวกันแบบคร่าวๆ
  • 29:57 - 29:58
    แต่ว่าได้ข้อมูลอันแน่นมาก
  • 29:58 - 30:01
    ต้องขอบคุณพี่แฮมมากๆ เลยนะคะ
  • 30:01 - 30:02
    ยินดีครับ
  • 30:02 - 30:03
    เอาเป็นว่าถ้าใครอยากติดตามพี่แฮม
  • 30:03 - 30:05
    อยากอ่านเรื่องรถไฟอะไรเพิ่มเติมก็
  • 30:05 - 30:07
    เพจทีมนั่งรถไฟกับนายแฮมมึน
  • 30:07 - 30:09
    หรือว่าติดตามบทความได้ที่ The Cloud เนอะ
  • 30:09 - 30:10
    ใช่ครับผม
  • 30:10 - 30:12
    นั่นแหละน่ะ สำหรับตอนนี้ถ้าใครชื่นชอบคลิปนี้
  • 30:12 - 30:16
    อยากให้วิวพาไปเที่ยวที่ไหนอีก อยากไปมีความรู้ที่ไหนสนุกๆ
  • 30:16 - 30:17
    โดยเฉพาะเรื่องรถไฟนะคะ
  • 30:17 - 30:18
    ก็กดไลก์เป็นกำลังใจให้วิว
  • 30:18 - 30:20
    กดแชร์เพื่อชวนเพื่อนๆ มาดูด้วยกัน
  • 30:20 - 30:22
    แล้วก็คอมเมนต์กดดันมาด้านล่างได้เลยนะคะ
  • 30:22 - 30:25
    โดยเฉพาะพี่แฮม กดดันมาให้หนักๆ ให้พี่แฮมมาอีกค่ะ
  • 30:25 - 30:26
    สำหรับวันนี้ลาไปก่อนนะคะทุกคน
  • 30:27 - 30:28
    บ๊ายบายย~
  • 30:28 - 30:30
    สวัสดีค่า
  • 30:30 - 30:32
    จบคลิปแล้ว~ เย่~
  • 30:32 - 30:34
    จริงๆ แล้วอะ ที่มาสถานีรถไฟเนี่ยนะคะ
  • 30:34 - 30:37
    วิวไม่อยากจะบอกเลยว่า ตั้งใจจะมาอันนี้เนี่ยแหละ
  • 30:37 - 30:40
    คือจะไปเรียนค่ะ ตอนนี้ได้เวลาไปเรียนแล้วนะคะ
  • 30:40 - 30:42
    ตอนนี้วิวอยู่ที่ชานชาลาที่ 9 นะคะ
  • 30:42 - 30:43
    ต่อกับชานชาลาที่ 10
  • 30:43 - 30:45
    แปลว่าวิวต้องพุ่งชนเสาสักเสานึงในนี้
  • 30:45 - 30:47
    เพื่อเข้าไปที่ชานชาลาที่ 9 ¾ ใช่มั้ยคะ?
  • 30:47 - 30:49
    แหมะ ทำไมหลังกล้องยืนขำงั้นอะ?
  • 30:50 - 30:51
    ไม่ใช่! พามาดูเฉยๆ
  • 30:51 - 30:54
    นี่ ตรงนี้ ตอนนี้เขาไปสุไหงโกลกเนอะ
    ไม่ได้ไปสก็อตแลนด์
  • 30:54 - 30:54
    บาย
Title:
ที่นี่ไม่ใช่สถานีรถไฟหัวลำโพง! ft. ทีมนั่งรถไฟกับนายแฮมมึน | Point of View On Tour EP.39
Description:

more » « less
Duration:
30:55

Thai subtitles

Revisions