สวัสดีค่า วิวจากแชแนล Point of View ค่า วันนี้อยู่ในรายการ View On Tour พามานอกสถานที่อีกแล้วนะคะ คิดว่าตอนนี้วิวอยู่ที่ไหนคะ? ดูจากบรรยากาศข้างหลัง เชื่อว่าทุกคนจะคิดคำเดียวกันก็คือ สถานีรถไฟหัวลำโพง ใช่มะ? แต่ว่าจริงๆ แล้วไม่ใช่นะคะ ที่นี่ไม่ใช่สถานีรถไฟหัวลำโพงค่ะ ที่นี่คือสถานีรถไฟกรุงเทพ! เห็นป้ายมั้ย? อึ้งมั้ย? ช็อกมั้ย? เฮ้ย คือแบบ My whole life is a lie! ดังนั้นถ้าใครอยากรู้นะคะ ว่าทำไมที่นี่ไม่ใช่สถานีรถไฟหัวลำโพง แต่เป็นสถานีรถไฟกรุงเทพ อยากลองเที่ยวสถานีรถไฟกรุงเทพ แบบที่มาเองแล้วจะงงๆ ว่าแบบ เฮ้ย มีสิ่งนี้อยู่จริงรึเปล่า? อยากเที่ยวแบบสนุกแล้วก็มีสาระนะคะ ก็อย่าลืมกดติดตามช่อง Point of View ค่ะ แล้วก็กด See First กดกระดิ่ง กดทุกสิ่งอย่างเลยนะคะ จะได้ไม่พลาดคลิปวิดิโอสนุกๆ แล้วก็ข่าวสารดีๆ จากช่อง Point of View ค่ะ สำหรับตอนนี้พร้อมที่จะเที่ยว แบบสนุกแล้วก็มีสาระรึยังคะ? ถ้าพร้อมกันแล้วก็ไปกันเลย! ให้วิวมาพูดเรื่องรถไฟนะคะ หลายคนอาจจะไม่เชื่อถือว่าแบบ เฮ้ย คุณวิว คุณรู้เรื่องอะไรเกี่ยวกับเรื่องรถไฟจริงรึเปล่า? วันนี้วิวไม่ได้มาคนเดียวค่ะ วิวมากับอีกคนนึงนะคะ ก็คือ ผ่ามมม! พี่แฮมนะคะ! พี่แฮมเป็นสุดยอดแฟนพันธุ์แท้คนรักรถไฟ แล้วก็เป็นเจ้าของเพจนั่งรถไฟกับนายแฮมมึนนะคะ ดังนั้นวันนี้พี่แฮมจะเป็นคน มาให้ข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับที่นี่ให้เรานะคะ และขอบอกเลยว่าคลิปนี้ น่าจะเป็นคลิปในช่องที่วิวพูดน้อยที่สุด เพราะว่าพี่แฮมเล่าสนุกมาก วิวจะยืนฟังอย่างมีความสุขค่ะ แกหาว่าพี่พูดมากเหรอ? เมื่อกี้ตอนเริ่มเนี่ย วิวพูดไปแล้วใช่มั้ยคะ ว่าที่นี่คือสถานีรถไฟกรุงเทพ ไม่ใช่สถานีรถไฟหัวลำโพง ทีนี้งงกันมั้ยว่า อ้าว? แล้วไงอะ? ทำไมที่นี่ถึงเป็นสถานีรถไฟกรุงเทพ? แล้วสถานีรถไฟหัวลำโพงอยู่ที่ไหน? ทั้งชีวิตฉันเข้าใจว่าหัวลำโพงคือที่นี่มาตลอด ฉันโดนหลอกเหรอ!? อะไรบลาๆๆ นะคะ ดังนั้นเรามาถามพี่แฮมกันดีกว่าว่าจริงๆ แล้ว สถานีรถไฟที่นี่ทำไมถึงชื่อกรุงเทพ? แล้วสถานีรถไฟหัวลำโพงอยู่ที่ไหน? จริงๆ แล้วการเรียกที่นี่ว่าสถานีหัวลำโพงก็ไม่ผิดนัก เพราะพื้นที่นี้คือทุ่งหัวลำโพง แต่มันมีสถานีรถไฟสถานีหนึ่ง มันเกิดก่อนสถานีนี้! นั่นคือสถานีหัวลำโพงนั่นเอง! เอ๊ะ งง มันคืออะไร? คือรถไฟเนี่ย เมื่อก่อนมีสองสาย รถไฟสายแรกในประเทศไทยนะครับ คือรถไฟสายปากน้ำ จากสถานีรถไฟหัวลำโพงไปสถานีรถไฟปากน้ำ เป็นบริษัทรถไฟเอกชนที่สัมปทานโดยชาวเดนมาร์กนะครับ วิ่งจากหน้าหัวลำโพง ริมคลองหัวลำโพงไปทางสีลม ศาลาแดง คลองเตย บางนางเกร็ง สมุทรปราการ แล้วก็ปากน้ำนะครับ แต่ใกล้ๆ กัน มีรถไฟอีกเส้นหนึ่ง เป็นรถไฟของสยาม เป็นรถไฟหลวง เริ่มต้นจากสถานีกรุงเทพ ปลายทางที่สถานีนครราชสีมา เดี๋ยวพี่ ทำไมถึงต้องใช้อินเนอร์แบบมิสแกรนด์เบอร์นี้ด้วย ก็จะได้จำกันได้ไง! ปลายทางนครราชสีมานะครับ ซึ่งสองสถานีนี้ตั้งอยู่ในละแวกใกล้เคียงกัน แต่จริงๆ แล้วต้องบอกก่อนว่า รถไฟเกิดมา 122-123 ปีละ สำหรับรถไฟหลวง แต่สถานีรถไฟกรุงเทพเพิ่งจะครบรอบ 103 ปี คือจริงๆ มีสถานีนึง ที่เป็นสถานีออริจินอล เดี๋ยวพี่พาวิวไปดู แต่เราจะทำความรู้จักกับสถานีนี้ก่อนนะครับ ว่าไปไงมาไง ทำไมคนถึงเรียกว่าหัวลำโพง? ด้วยสถานีเดิมที่มันอยู่ตรงนี้มานานละ มันคือสถานีหัวลำโพงสายปากน้ำ คนเขาก็เรียกไปเลยว่า เออ ตรงนี้มันคือสถานีหัวลำโพงๆ แล้วสถานีกรุงเทพพอมันตั้งขึ้นมา คนก็เรียกว่า station กรุงเทพ หรือ station ที่หัวลำโพง ประมาณนี้ คนเขาก็เลยชินกันว่า อ๋อ ที่นี่มันก็คือหัวลำโพงมาแต่ไหนแต่ไร ด้วยชื่อของพื้นที่นั่นเองครับ อารมณ์คล้ายๆ เวลาเราไปรถใต้ดินสีสมกับรถไฟฟ้าศาลาแดง แล้วเรียกรวมกันอะว่า อ๋อไปสีลม ประมาณนั้น อารมณ์ประมาณว่าเรียกบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปว่ามาม่า อ่า นั่นไง แล้วเราจะลากไปถึงสปอนเซอร์เลยมั้ย? เยอะแยะมากมาย ไม่มี! คลิปนี้ไม่ได้ขายของ! ทีนี้อยากรู้มั้ยว่าสถานีรถไฟหัวลำโพงจริงๆ อยู่ตรงไหน? ถ้าอยากรู้นะ หันไปด้านนู้น หันไปค่ะ เห็นโดมทองๆ นั่นมั้ยฮะ? โดมทองๆ นั้นเมื่อก่อนก็คือ เป็นสถานีรถไฟหัวลำโพง ก็คือ สถานีรถไฟหัวลำโพงเนี่ย ตามประวัติแล้วเนี่ย ทางรถไฟสายปากน้ำเดิมเป็นของบริษัทเดนมาร์ก อย่างที่ได้บอกเอาไว้ แล้วพอเดนมาร์กหมดสัมปาทานเนี่ย กรมรถไฟเนี่ยก็รับช่วงต่อไปครับ แต่พอถนนสุขุมวิทมันเริ่มมีความสะดวกมากขึ้น คนใช้รถไฟสายปากน้ำน้อยลง กิจการรถไฟสายปากน้ำก็เลยยกเลิกครับ เมื่อวันที่ 1 ม.ค. 2503 สถานีหัวลำโพงและสถานีทุกสถานีเลยในสายปากน้ำ ก็ล้มหายตายจากไป แล้วพอสร้างรถไฟใต้ดินปั๊บ สถานีหัวลำโพงก็กลับชาติมาเกิดใหม่ จากที่อยู่บนดินก็มุดไปอยู่ใต้ดินแทนนะฮะ พื้นที่เดียวกันเลยครับ แล้วทางรถไฟเดิมก็ถูกขยายเป็นถนนพระราม 4 นั่นเอง ในที่สุดเราก็รู้แล้วนะคะว่า สถานีรถไฟหัวลำโพงจริงๆ อยู่ตรงไหน และสถานีรถไฟนี้คือสถานีรถไฟกรุงเทพ ไม่ใช่หัวลำโพงนะคะ ดังนั้นวันนี้เราเข้าไปดูกันดีกว่า ว่ามีจุดไหนน่าสนใจบ้าง ที่เราจะเดินเข้ามาแล้วแบบ อู้วว!! มีสิ่งนี้อยู่ด้วยเหรอ!? ปะ ไปดูกัน ยังไม่ต้องเดินเข้าไปข้างในเลย แค่อยู่หน้าสถานีเนี่ยนะคะ หันไปด้านข้างนิดเดียว อ่า เราเอาตัวเองมาอยู่ตรงนี้ ก็มีสิ่งที่น่าสนใจแล้ว ก็คือช้างสามเศียรนั่นเอง ถามว่าตรงนี้คืออะไร? มีความสำคัญยังไงกับชีวิตของเรา? สำหรับช้างสามเศียรนะครับ ที่เราเห็นนี้ถือเป็นสิ่งที่น่าสนใจสิ่งแรกครับ ที่เห็นเป็นแบบนี้มันคือน้ำพุ ถูกต้องมะ? แต่สมัยก่อนที่มันจะเป็นน้ำพุเนี่ย มันเป็นหลุมหลบภัยทางอากาศ สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 นะครับ สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เนี่ย ถ้าใครเคยดูคลิปสงครามโลก จะรู้นะคะว่ามันจะมีการสู้รบกันที่ค่อนข้างโหดร้ายกว่าสงครามโลกครั้งที่ 1 นะคะ โดยเฉพาะการวางระเบิดใช่มะ ดังนั้นมันจะมีเครื่องบินมากมายบินผ่านกรุงเทพมหานคร แล้วก็ทิ้งระเบิดลงมา ตู้มๆๆ ดังนั้นถ้าเราเคยดูหนังหรือดูละครอะไร ที่เกี่ยวกับสงคราโลกครั้งที่ 2 ในกรุงเทพ ก็จะได้ยินว่า มันมีหวอเตือนว่า เครื่องบินจะมาทิ้งระเบิดแล้วจ้า วี้ดๆๆ ต่างๆ งู้ววววว งื้มมมม (เลียนเสียงหวอ) ทำทำไมเนี่ย? นั่นไง ทำทำไมนะคะ เวลาคนรู้ว่าระเบิดจะลงเนี่ย เขาก็จะวิ่งไปหาหลุมหลบภัยใกล้บ้าน ซึ่งตรงนี้ก็เป็นหนึ่งในจุดนั้น ก็จะลงไปหลบข้างใต้กัน เหมือนที่ใครเคยดูเรื่องโหมโรง ก็จะเป็นประมาณนั้นเลยค่ะ พอหลังจากสงครามสิ้นสุดแล้วเนี่ย หลุมหลับภัยก็ไม่มีความจำเป็นอะไรละ เขาก็เลยเปลี่ยนใหม่ให้กลายเป็นสถานที่สาธารณะอย่างหนึ่ง ที่ทุกคนได้ใช้เป็นสาธารณูปโภคด้วย เขาเรียกว่าอุทกธาร หรือถ้าแปลเป็นภาษาปัจจุบันง่ายๆ ก็คือ ท่อน้ำค่ะ อุทกกเนี่ยนะคะ ก็คำเดียวกับอุทกกภัยเลย คือแปลว่าน้ำนั่นเอง ส่วนธารเนี่ย หมายถึงสายน้ำลำธาร ห้วย หยาดน้ำ ท่อน้ำนะคะ ดังนั้นรวมกันออกมา อุทกกธารหมายถึงท่อน้ำค่ะ ก็คือประมาณว่า เป็นสถานที่มากินน้ำ มีแบบว่า น้ำสะอาดให้คนได้กิน เพราะว่าสมัยโบราณ แบบโบร่ำโบราณเลย คนก็กินจากห้วย หนอง คลอง บึง แต่ว่าในเวลาที่ประเทศพัฒนามากขึ้น เราก็ไม่สามารถกินน้ำในห้วย หนอง คลอง บึง เส้นคลองแสนแสบได้ เราก็จะต้องมากิน - กินน้ำสะอาด กินน้ำสะอาด เขาก็แบบว่า ไม่ใช่ทุกบ้านในสมัยมีน้ำประปา เขาก็เลยทำแบบนี้ไว้ ซึ่งที่นี่ไม่ได้มีแค่จุดเดียวในกรุงเทพนะคะ มีอีกหลายจุด เดี๋ยวไว้วันหลังจะพาไปดูค่ะ อีกอันนึงที่สำคัญ ให้มองขึ้นไปนะครับ บริเวณช้างสามเศียรเนี่ย ด้านบนที่มีผ้าสามสีผูกเอาไว้ ตรงนั้นนะครับ มีอยู่ฝั่งหนึ่ง สลักเป็นภาพนูนต่ำของในหลวงรัชกาลที่ 5 ด้วย เจ้าแท่นนี้ อุทกธารเนี่ย ปัจจุบันซึ่งมันเป็นน้ำพุเนอะ มันคือกิโลเมตรที่ 0 ของทางรถไฟในประเทศไทยด้วยครับ โอเค เราดูนอกสถานีกันครบแล้ว เดี๋ยวเราเข้าไปดูด้านในสถานีกันดีกว่า ว่าด้านในสถานีมีอะไรน่าสนใจค่ะ ไป~! จุดแรกนะคะที่เรามาอยู่กันตอนนี้ เป็นสถานที่ที่น่าสนใจมากในสถานีรถไฟกรุงเทพ และหลายๆ คนไม่รู้ว่ามี ก็คือบริเวณนี้เลย มูลนิธิรถไฟไทยนะคะ ที่นี่มีอะไรน่าสนใจคะพี่แฮม? มูลนิธิรถไฟไทยเนี่ยก็จะเป็น จุดเริ่มต้นของการเป็นมิวเซียมเล็กๆ นะฮะ ที่อยู่ในสถานีรถไฟกรุงเทพ ข้างในก็จะมีของใช้เก่าๆ ที่เคยใช้ในกิจการรถไฟ แล้วก็โรงแรมรถไฟเนี่ย มาจัดโชว์เอาไว้นะครับ รวมถึงเครื่องทางสะดวก กิ๊งๆๆ แล้วก็มีห่วงทางสะดวกด้วย และของที่ระลึกนะครับที่ขายที่นี่ ก็รายได้ก็นำเข้ามูลนิธิรถไฟไทย สิ่งที่เรียกได้ว่ามาแล้วไม่ซื้อกลับไปไม่ได้ นั่นคือตั๋วรถไฟครับ เป็นตั๋วรถไฟขนาดเล็กๆ ที่เคยใช้กันสมัยเรายังเด็ก ซึ่งปัจจุบันหาไม่ได้แล้ว ที่นี่มีจำหน่ายครับ เอาไว้เก็บสะสมกันได้ แล้วที่สำคัญ บนชั้น 2 ครับ ก็มีภาพเตือน ที่แบบ เป็นภาพเตือนสมัยโบราณเลย ที่ใช้ในกินการรถไฟ แล้วแบบ ฮาร์ดคอร์มาก แล้วก็มีอุปกรณ์ ของใช้ต่างๆ ที่น่าสนใจนะครับ ไม่ว่าจะเป็น เครื่องคิดเลขรุ่นโบราณนะฮะ เครื่องตอกตั๋วรถไฟ เครื่องแสตมป์ตั๋วรถไฟ ระฆังนะครับ มาดูกันได้ครับ และเกร็ดความรู้ที่น่าสนใจที่สุด ของพิพิธภัณฑ์รถไฟของมูลนิธิรถไฟนะคะ ก็คือ ใครอยากมานะ มันเปิดตั้งแต่ 10 โมงเช้า ถึง 6 โมงเย็น ของวันอังคารถึงวันเสาร์ค่ะ และวันนี้ที่เรามา เนื่องจากเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาในปี 2562 - คือวัน - อาทิตย์ ดังนั้นมัน ปิดจ้าา~~ ฮือออ นั่นแหละค่ะ เอาเป็นว่าวันหลังมาดูกันเองนะ เพราะว่าข้างในมันมีเขียนอธิบายอยู่แล้ว เราไปดูอะไรที่มาดูกันเองไม่ได้ดีกว่า ปะ! ต่อ! จุดที่สองที่น่าสนใจนะคะ ที่เราพามาดูกันในวันนี้ก็คือ สิ่งที่ทุกคนจะนึกถึงเมื่อนึกถึงสถานีรถไฟ “หัวลำโพง” ในความคิดของหลายๆ คน อ่า! ก็คือนาฬิกาเรือนด้านหลังนั่นเอง นี่~ เรือนใหญ่เบ้อเริ่มเทิ่มเลยนะคะ เดี๋ยวเราให้พี่แฮมอธิบายดีกว่าว่า นาฬิกานี้มีความสำคัญยังไงค่ะ คือเมื่อก่อนอะ นาฬิกาที่จะต้องใช้ เป็นมาตรฐานเพื่อให้รถไฟเข้าออกเนี่ย มันก็จะอยู่ในสถานีใช่มะ แต่อันนี้คือมันจะเห็นจากทั้งข้างในและข้างนอก ข้างนอกก็จะรู้ว่า เอ้อ เวลานี้รถไฟใกล้จะออกแล้ว ก็จะรีบวิ่งหูตูบเข้ามาในสถานี แต่ถ้าข้างใน เมื่อก่อนนะครับ ทางรถไฟอะ มันจะยาวเข้ามาถึงตรงที่เรากำลังนั่งกันอยู่ตรงนี้นี่แหละ แล้วพอการโดยสารเริ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ใช่มะ เขาก็รื้อทางรถไฟตรงนี้ออก แล้วก็ทำให้เป็นพื้น เป็นโถงสถานีแทน แล้วเขาก็ใช้นาฬิกาเรือนนี้แหละ ที่เอาไว้เป็นตัวบอกว่า รถไฟกำลังจะออกแล้วนะครับ เพราะว่านาฬิกาข้อมือ สมัยก่อนก็ไม่ได้มีกันทุกคนเนอะ แล้วก็ถือว่าเป็นนาฬิกาเรือนหลักเลย ของสถานีรถไฟก็ว่าได้ เป็นนาฬิการะบบไฟฟ้าด้วยที่สำคัญ ซึ่งมันจะแตกต่างกับนาฬิกาเรือนอื่นๆ คือ ถ้าเป็นนาฬิกาในยุคนี้ เราก็จะเห็นชื่อผู้ผลิตติดประทับอยู่ในตัวเรือนเนอะ แต่ในอันนี้ไม่มีชื่อผู้ผลิต ซึ่งสันนิษฐานว่าน่าจะผลิตมาจากซีเมนส์ อันนี้แอบบอกนิดนึงว่ามันก็จะคล้ายๆ กับที่อังกฤษคือ เวลาที่มีรถไฟเนี่ย สิ่งหนึ่งที่จะมีคู่กันเสมอก็คือนาฬิกา คือเหมือนกับว่าประเทศไหนที่มีรถไฟ มันก็ต้องมีนาฬิกาด้วย เพราะว่ามันเป็นการเริ่มเดินทางอันแรก ที่มันต้องจำกัดว่าเวลามันจะเริ่มตอนนี้จ้า ก่อนหน้านี้เราพายเรือ เราไม่จำเป็นต้องบอกนี่ ว่าเรือจะต้องออกตอนนี้ตอนนั้น อะไรเงี้ย พอมีรถไฟปุ๊บก็ อะ ต้องเริ่มรู้จักการดูนาฬิกาแล้ว รถไฟจะออกตอน 8 โมง 10 นาที มันก็ออกตอน 8 โมง 10 นาที ประมาณนี้ค่ะ แล้วที่สำคัญคือการใช้หน่วยเวลา 24 ช.ม. ก็เริ่มมาจากรถไฟด้วย เพราะว่ามันจะต้องบอกเวลาให้ถูกต้อง ว่ารถไฟออกกี่โมง ถ้าเรามัวไปจำแบบ สองโมง สองยาม อะไรอย่างงี้ มันก็อาจจะเกิดความคลาดเคลื่อนได้ เราก็รับสิ่งนี้เข้ามา แล้วเราก็ใช้นาฬิกาหน่วยเป็น 24 ช.ม. ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาครับ ส่วนใครอยากรู้วิธีการนับเวลาแบบโบราณนะคะ ก็กดไปดูได้ตรงนี้ค่ะ วิวเคยทำไว้แล้ว เย่! ขายของ ขายเก่งอะ! ขายเก่งมากๆ เลยเนี่ยคนนี้ ไม่ใช่~ เขาจะได้ดูแบบละเอียดไง เดี๋ยวเขาก็จะมาคอมเมนต์ถามว่าแบบ นับยังไงอะไรอย่างงี้ ก็กดไปดูได้ตรงนี้ ทำไว้แล้วจ้า ครับผม หยุดขายของ กลับเข้าเรื่องค่ะ จะบอกว่า พี่แฮมอะ บอกอีกอย่างที่น่าสนใจก็คือ เกี่ยวกับกระจกสีที่อยู่รอบๆ นาฬิกาเรือนนี้ ว่าเป็นกระจกนำเข้าด้วย รู้มั้ยว่าทำไมถึงเป็นกระจกนำเข้า? ไปฟังพี่แฮมกันดีกว่า ที่เป็นกระจกนำเข้าเพราะว่า คนที่ออกแบบสถานีนี้ไม่ใช่คนไทยนะครับ เป็นสถาปนิกที่ทำงานในสยาม แต่เป็นคนอิตาลี ชื่อว่ามารีโอ ตามัญโญ ไม่ใช่มาริโอ เมาเร่อนะครับ และมารีโอ ตามัญโญเนี่ย ถ้าเกิดใครเคยติดตามช่องวิว View On Tour ตั้งแต่อีพีแรกๆ จะรู้ว่ามนุษย์ผู้นี้ออกแบบทุกสิ่งอย่างในยุคสมัยนั้น ในยุคสมัยประมาณรัชกาลที่ 5 ก็จะเห็นที่ตอนวิวไปพูดเรื่องวังนู้น วังนี้ วังนั้นนั่นแหละ ออกแบบเยอะมากค่ะ เพราะว่าเป็นคนที่เชี่ยวชาญด้านงานปูน เมื่อเข้ามาในสถานีรถไฟกรุงเทพเนี่ย ก็จะเห็นงานปูนปั้นต่างๆ อยู่ ก็เพราะว่าเป็น signature ของมารีโอ ตามัญโญนี่แหละค่ะ ครับผม แล้วก็สันนิษฐานกันว่าตัวสถานีเนี่ย ได้รับแรงบันดาลใจมาจาก Frankfurt Hauptbahnhof ที่เยอรมันนะครับ เพราะมีความคล้ายคลึงที่สุด แต่จริงๆ แล้วมารีโอ ตามัญโญเนี่ย นำแบบจากหลายๆ สถานีเข้ามาประกอบร่างเป็นอันเดียวกัน รู้มั้ยมั้ยวิว ว่าแบบนี้เป็นแบบที่มาใช้ภายหลังนะ มีแบบหนึ่งเป็นแบบแรก แล้วโดนปัดตกไป คือขอบคุณมากที่โดนปัดตก เพราะว่าตรงกลางเนี่ย มันจะมีเหมือนเป็นยอดปราสาท เป็นปรางค์ขึ้นมาด้วย ก็เลยมาเป็นแบบนี้แทนนะครับ สถานีรถไฟกรุงเทพเนี่ย มันก็จะมีความคล้ายๆ ถ้าใครเคยไปทางยุโรปเนี่ย มันก็จะมี King’s Cross Waterloo อะไรงี้นะ ที่มันเหมือนๆ กันด้วย นั่นก็คือเป็นลักษณะรูปแบบของสถานีรถไฟ ที่มีความนิยมสร้างในสมัยนั้น แล้วสถานีรถไฟกรุงเทพเป็นสถานีรถไฟแบบปลายชานชาลาตัน คือรถไฟวิ่งเข้ามาปั๊บ ชานชาลาขวางหน้าเลย ในประเทศนี้มีแค่สองสถานีเท่านั้น คือสถานีกรุงเทพกับสถานีเชียงใหม่ครับ ไปที่จุดถัดไปกันดีกว่าค่ะ ตอนนี้นะคะเราก็มาอยู่อีกจุดหนึ่งที่น่าสนใจ ภายในสถานีรถไฟกรุงเทพแล้วนะ ซึ่งมันเป็นสิ่งที่ปัจจุบันเนี่ยไม่มีแล้ว แต่ว่าในอดีตมันเคยรุ่งโรจน์มากๆ เลย ก็คือด้านหลังนี้ อาคารสถานีรถไฟกรุงเทพ งงมั้ย? คืออะไร? จริงๆ แล้วมันคืออดีตโรงแรมรถไฟนะคะ เป็นโรงแรมที่อยู่ภายในสถานี แล้วก็ดำเนินการโดยกรมรถไฟเองเลย แต่ว่าวิวจะไม่ลงรายละเอียด เพราะว่าเรามีผู้เชี่ยวชาญอยู่ข้างๆ ไง เราใช้พี่แฮมดีกว่า เชิญค่ะ อ่า สำหรับโรงแรมรถไฟนะครับ มีไว้ทำไม? เมื่อก่อนเลย รถไฟไม่วิ่งตอนกลางคืน จะวิ่งตอนกลางวันเป็นส่วนใหญ่นะครับ เนื่องจากว่าสะพานรถไฟเมื่อก่อนส่วนใหญ่เป็นสะพานไม้ มีความสุ่มเสี่ยงในการเกิดวินาศกรรม แล้วก็ที่สำคัญคือมีสัตว์ป่าเดินกันระเหเร่ร่อนเลยนะฮะ ไม่ว่าจะเป็นช้าง ม้า วัว ควายนะฮะ ห้ามพูดคำว่าแรดแล้วหันมา ไม่มี บ้านเราไม่มีแรดนะครับ ก็จริงๆ แล้วสัตว์พวกนี้เนี่ย ผิวหนังของเขาจะไม่สะท้อนแสงไฟ มันเลยค่อนข้างอันอันตรายมาก พอผ่านมาประมาณช่วงรัชกาลที่ 6 เนี่ย ก็ได้มีความริเริ่มที่จะวิ่งรถกลางคืน ซึ่งเป็นการมาถึงของรถไฟตู้นอนเป็นครั้งแรก แต่รถไฟตู้นอนไม่ได้มีทุกขบวนครับ มีเป็นบางขบวนเท่านั้น โรงแรมรถไฟมีไว้ทำไม? มันก็เริ่มมาตั้งแต่สมัยที่ยังไม่ได้มีรถไฟวิ่งกลางคืนนั่นแหละ ผู้โดยสารกว่าจะไปถึงเชียงใหม่ได้ ใช้เวลาประมาณ 2 วัน ต้องไปนอนกลางทางที่พิษณุโลกก่อน เพราะเมื่อก่อนเนี่ยใช้รถจักรไอน้ำ จอดแวะเติมน้ำ เติมฟืน ความเร็วต่ำ กรุงเทพ-พิษณุโลกก็ 1 วันแล้วนะครับ ก็ลงที่พิษณุโลก แล้วก็นอนค้าง วันรุ่งขึ้นก็เดินทางต่อจากพิษณุโลก-เชียงใหม่ ด้วยรถไฟอีกขบวนหนึ่ง จึงมีโรงแรมรถไฟต่างๆ มากมาย กระจายตัวกันอยู่ทั่วประเทศครับ พิษณุโลก ทุ่งสรง ชุมพร หัวหิน หาดใหญ่ กรุงเทพ มีหมดเลย โดยเฉพาะสถานีกรุงเทพเนี่ย มันจำเป็นมาก เพราะคนเดินทางจากต่อจากเหนือลงไปใต้นะครับ ก็มาพักที่นี่ก่อนแล้วค่อยเดินทางต่อได้ครับ เพราะว่าการเดินทางด้วยรถไฟนั่น สะดวกที่สุดแล้วในสมัยนั้นครับผม และสถานีนี้นะครับ มีโรงแรมที่มีชื่อว่า โรงแรมราชธานีครับผม นี่คือสาเหตุให้ตามสถานีรถไฟเนี่ย ต้องมีอาหารขายด้วยใช่มั้ยคะ เพราะว่าต้องไปพักกินข้าวต่างๆ อ่า ส่วนหนึ่งครับ ใช่เลย แต่ว่าโดยส่วนใหญ่แล้วเนี่ย ถ้าอยู่ตามภูมิภาคจะเป็นบังกะโล แต่ถ้าเป็นสถานีหลักๆ เนี่ย ก็จะเป็นลักษณะของโรงแรม อย่างกรุงเทพ เชียงใหม่ หัวหินเนี่ย แล้วหัวหินพิเศษกว่าคือ มันมีเรื่องของความนิยมในการพักผ่อนตากอากาศด้วย ซึ่งปัจจุบันโรงแรมรถไฟที่หัวหินก็คือโรงแรมเซ็นทารานั่นเอง ดังนั้นนะคะ ถ้าใครอยากฟังเรื่องเกี่ยวกับรถไฟอีพีอื่น ที่แบบไปตรงอื่นนะคะ ก็กดดันพี่แฮมมาด้านล่างนะคะ เราจะทำการกดดันให้พี่แฮมพาเราไปเที่ยวนะคะ เอางี้เลยอ่อ? ใช่ค่ะ เราใช้ฝูงชนกดดัน จะบอกเลยนะเรื่องรถไฟอะ คุณพอจะมีเวลาว่างสักประมาณ 3-4 วันมั้ยครับ? 3-4 วันเองเหรอคะ? ว่างทั้งปีเลย โอ้โห ไปๆ ไปดูข้างในกันก่อน เดินเข้ามาด้านในของโรงแรมรถไฟเก่านะคะ ตรงนี้ก็จะเป็นบริเวณที่เป็นห้องโถงเดิมเนอะ ตรงนี้ก็สันนิษฐานว่าแต่ก่อนเป็นล็อบบี้นะคะ แล้วก็ตัวเสาเนี่ยจะเป็นเสาหินอ่อนเลยนะ ขนาดใหญ่ นั่นละค่ะ คนรักรถไฟมากๆ เขาก็จะเป็นอย่างงี้นะคะ รักทุกอย่างในสถานีจริงๆ และด้านนี้นะคะ ก็คือห้องอาหารโรงแรมรถไฟเดิม ก็คือร้านอาหารหรูสมัยนั้น ปัจจุบันเป็นสุขาหญิงจ้า อีกจุดหนึ่งที่น่าสนใจที่พี่แฮมบอกไว้ก็คือตรงนี้ ให้เดินมาดู มาๆ เดินตามมา พาเองแล้วเนี่ย นี่ จุดที่น่าสนใจนะครับ ก็คือก็คือบันไดนี้ เป็นบันไดหินอ่อนด้วยนะฮะ แต่ก่อนที่จะไปดูบันไดหินอ่อนนั้น ให้ไปดูที่พื้นก่อนนะครับ พื้นเนี่ยมีเอกลักษณ์มาก เพราะว่าเป็นลักษณะลวดลายที่ถูกวางเอาไว้ แล้วเราก็จะเห็นลวดลายลักษณะแบบนี้เช่นเดียวกันกับ ที่ตึกเรลเวย์วิงของโรงแรมเซ็นทารา หัวหิน ซึ่งเคยเป็นอดีตโรงแรมรถไฟครับ กลับมาที่บันไดอีกครั้งหนึ่งนะครับ ไม่ต้องสนใจคำขวัญเหล่านี้ บันไดนะฮะ ขึ้นไปชั้น 2 ก็คือเป็นทางขึ้นห้องพัก ห้องพักได้มาตรฐานมาก มีน้ำร้อน น้ำเย็นนะครับ มีห้อง Suite ด้วย ถือว่าทันสมัยที่สุดในขณะนั้น แต่ที่ต้องยกเลิกกิจการไปเพราะว่าเรื่องการแข่งขัน โรงแรมในยุคใหม่ๆ นั้นจะมีความสะดวกสบายมากกว่า แต่ของเราเนี่ยมันเป็นโรงแรมที่เอาไว้ ใช้พักระหว่างทางก่อนที่จะเดินทางต่อ แอบถามค่ะว่าโรงแรมนี้สมัยรัชกาลที่ 5 ถูกมั้ย? ประมาณ 6 เพราะว่าตัวอาคารสถานีกรุงเทพ ที่เราใช้อยู่ในปัจจุบันเนี่ย เปิดใช้ในปี 2459 หลังจากเปิดใช้รถไฟไปแล้ว 20 ปี ซึ่งข้ามมาช่วงรัชกาลที่ 6 แล้วครับ การสร้างอาคารหลังนี้เพราะว่าอาคารหลังเก่ามีความคับแคบ เดี๋ยวเราจะพาไปดูอาคารหลังเก่ากันนะ แล้วโรงแรมเนี่ย ก็คาดว่าสร้างมา ในเวลาเดียวกับตัวอาคารสถานีเลยครับ เพราะตอนนี้กำลังพยายามลองเทียบเคียงขำๆ ดูว่า ในยุครัชกาลที่ 6 เนี่ยเริ่มมีความนิยมสร้างโรงแรมขึ้น อย่างตอนเราไปพระราชวังพญาไทก็เห็นว่ามันเป็นโรงแรม เป็นโรงแรมรถไฟเก่าด้วย อ๋อ คือพระราชวังพญาไทนี่เป็นโรงแรมรถไฟด้วย ใช่ พระราชวังพญาไทนะครับ จะเป็นโรงแรมรถไฟเก่าด้วย แต่ว่าจะเริ่มมาใช้ตอนประมาณรัชกาลที่ 7 หลังจากที่รัชกาลที่ 6 สวรรคตไปแล้ว วังก็ปล่อยทิ้งเอาไว้ ก็ไม่รู้จะทำอะไร ก็เลยมาพัฒนาให้มาเป็นโรงแรมรถไฟ ซึ่งตอนนั้นเป็นโรงแรมที่น่าจะ ราคาสูงที่สุดในประเทศตอนนั้นเลย คือเหนือกว่าโอเรียนเต็ลอีกจ้า เป็นหนึ่งในโรงแรมที่เท่มาก ถ้ามีโอกาส เดี๋ยวไว้พาไปเที่ยวค่ะ เพราะว่ามีอ่างแบบว่า ลงไปอาบน้ำ แบบว่ายน้ำได้ในห้องส่วนตัวเลยนะ จริงปะเนี่ย? จริงๆ ลงไปแล้วแบบ ถึงคออย่างนี้เลย เท่มาก ที่ถึงคอเพราะว่าเธอไม่สูงปะ? เราเปลี่ยนแขกรับเชิญมั้ยคะ? มีสิ่งหนึ่งที่น่าสนใจตรงนี้ พอมองขึ้นไปจากบันไดนะคะ สิ่งที่พี่แฮมบอกก็คือตรงนี้เลย มันคือฝ้าครับ ฝ้าเพดานนะฮะ ที่เป็นฝ้าไม้ฉลุลายนะครับ เป็นการทำลายเอาไว้ ก็คือลักษณะจะมีความดูจีนๆ นิดนึง สันนิษฐานเอาว่าที่มันมีความจีนๆ ผสมมา เพราะว่าตรงนี้มันใกล้เยาวราชนะครับ และที่สำคัญฝ้าเพดานข้างบนเคย ห้อยแชนเดอเรียมาก่อนด้วย มีคนว่าเอาไว้ แต่เราก็ยังไม่เคยเห็นรูปที่มันชัดเจนจริงๆ สักทีนึง แต่มันจะมีแน่ๆ รูปนึงเลยที่เราเคยเห็นนะครับ ตรงนี้จะมีเก้าอี้หวายเอาไว้เต็มเลย สำหรับนั่งรอ เป็นล็อบบี้โรงแรมนั่นเอง ตรงนี้นะครับ ซึ่งปัจจุบันล็อบบี้โรงแรมนั้นได้กลายสภาพมาเป็น สุขาชายและสุขาหญิงครับ ตอนนี้นะคะเราก็เข้ามาอยู่กลางโถงสถานีแล้วค่ะ ซึ่งด้านหลังเราเนี่ยเป็นรางรถไฟแบบออริจินอล ทั้งหมด 4 รางนะคะ ตั้งแต่สมัยแรกเริ่มเดิมทีเลย ดังนั้นเราให้พี่แฮมเล่าค่ะว่าตรงนี้มีอะไรน่าสนใจอีกนะ ก็คือตอนสมัยที่สร้างสถานีรถไฟกรุงเทพแรกๆ อะ รางรถไฟที่เป็นออริจินอลเลยก็จะมีแค่ 1 2 3 4 นะครับ แล้วก็จริงๆ ตรงนี้เนี่ยจะเป็นมุมที่คนมาถ่ายรูปกันมากที่สุด เราจะสังเกตเวลาใครที่เข้ามาที่สถานีแล้วจะนั่งรถไฟ เขาจะต้องมายืนถ่ายรูปแบบ แล้วก็มีตั๋วรถไฟถือไว้ แล้วก็มีแคปชั่น “อยากนั่งรถไฟไปทะเลโง่ๆ” อะไรอย่างงี้ นะ เอาเป็นว่าถ้าใครมาที่สถานีนะครับ ตรงนี้จะเป็นจุดที่เราแนะนำให้ทุกคนถ่ายรูป แล้วยิ่งถ้ามีรถไฟเข้ามาพร้อมกัน 4 ขบวนแบบนี้ ก็จะได้รูปรถจักรครบทั้ง 4 ทางครับ เดี๋ยวต่อไปเราจะไปดูอะไรกันบางอย่าง ซึ่งเราน่าจะเคยเห็นกันมาตั้งแต่เด็กๆ แล้วแหละ แต่มันถูกเอามาใช้ใหม่อีกครั้งนึง ปะ ไปดูกัน และแล้วตอนนี้นะคะ เราก็พามาดูแกลเลอรี่เล็กๆ ด้านในสถานีรถไฟนะคะ ซึ่งเป็นแกลเลอรี่ภาพที่ดูแล้วรื่นรมย์อย่างรุนแรง ก็คือภาพเตือนนั่นเอง ที่เราชอบเห็นเขาแชร์กันในอินเตอร์เน็ตนั่นแหละ เรามาดูของจริงกันตรงนี้ ภาพเตือนพวกนี้จริงๆ แล้วมันวาดมานานแล้ว มีคนวาด 2 คน คือคุณศุภารัตน์กับคุณศักดิ์ดาครับ ภาพก็รื่นรมย์มาก ตามมาดูกันเลยฮะ รื่นรมย์ในระดับไหน? ระดับเลือดสาดอะครับ แบบเนี้ย! แต่มันก็เป็นพฤติกรรมที่มันยังมีอยู่ ณ ปัจจุบันนะ เขาก็เตือน แล้วภาพเนี่ยมันทำให้น่ากลัวเพื่อที่ว่าเราจะได้รู้สึกว่า กลัว แล้วก็ตระหนักรู้ว่า อย่าทำแบบนี้นะ! เช่น “นั่งรถอย่าชะโงกหน้าต่าง” นักท่องเที่ยวชอบมาก กับการยื่นกงยื่นกล้องอะไรไป พลาดมา คุณอาจจะเจอสะพานฟาดก็ได้ หรืออันนี้ครับ ปัจจุบันก็ยังมีอยู่นะฮะ นั่นคือ “อย่าขีดเขียนข้างรถ” สมัยก่อนขีดเขียนครับ สมัยนี้กราฟิตี้มาเลยฮะ นี่กำลังเป็นข่าวใหญ่โตกันเลยนะครับ อย่าทำนะครับ ไม่ดี ถือว่าทำลายทรัพย์สินราชการ และเจอกันประจำเลยครับ “อย่าข้ามทางรถไฟก่อนหยุดดูซ้ายขวา” ภาษาอาจจะกำกวมนิดนึง ถ้าให้พูดกันตรงๆ เลยก็คือ ก่อนจะข้ามทางรถไฟ หยุดก่อนนะจ้ะ เพราะว่าถ้าหากว่าไม่หยุดก็อาจโดนชนได้ จำไว้นะครับ เสียเวลาดีกว่าเสียชีวิต นี่โฆษณาสสส.หรืออะไรเนี่ย? ไปต่อ อันนี้แอบให้ดูนิดนึงนะคะ ก็คือเข้ามาที่สถานีเนี่ย ก็จะเห็นสิ่งที่เราเล่าไปเมื่อกี้นี้แหละ ด้านบนทั้งหมดก็คือเป็นระเบียงของ ห้องพักโรงแรมรถไฟแต่ก่อนค่ะ ซึ่งปัจจุบันกลายเป็นออฟฟิศการรถไฟไปแล้วเนอะ ส่วนด้านล่างเนี่ยนะคะ แต่ก่อนเคยเป็นศุลกากรมาก่อน เพราะว่าเรามีรถไฟที่วิ่งไปต่างประเทศด้วย วิ่งไปปีนังอะไรอย่างนี้น่ะค่ะ ก็คล้ายๆ กับสนามบินในปัจจุบันเลยนะ นอกจากนี้ก็ยังเป็นที่ที่ไปรษณีย์เอาจดหมายอะไรต่างๆ มาลง เพราะว่าแต่ก่อนเวลาส่งจดหมายข้ามเขต เขาก็ส่งกันด้วยรถไฟเนี่ยละค่ะ ปะ! อาคารนี้ก็เป็นอีกจุดหนึ่งที่น่าสนใจนะคะ ก็คืออาคารไปรษณีย์หัวลำโพงเก่านั่นเองค่ะ ซึ่งเราจะเห็นว่ามีทางเชื่อมต่อลงมายังบริเวณรางรถไฟนะคะ สาเหตุก็เพราะว่าสมัยก่อนเนี่ย เราส่งไปรษณีย์กันทางรถไฟค่ะ เพราะว่าเป็นการเดินทางที่รวดเร็วที่สุดในสมัยนั้นนะคะ นี่ก็จะเป็นจุดที่เขาจะลำเลียงจดหมายต่างๆ จากไปรษณีย์มาที่รางรถไฟค่ะ นี่ ตอนนี้หลังจากที่เราดูสถานีรถไฟกรุงเทพนะคะ ย้ำอีกครั้ง กรุงเทพ! ไม่ใช่หัวลำโพงแล้ว วันนี้เรามีอะไรพิเศษนิดนึงที่นี่ก็คือ นี่เลย ด้านหลัง คนนั่นเองนะคะ ไม่ใช่! ไปดูภาพเอา เป็นรถจักรไอน้ำครับ รถจักรไอน้ำที่ยังเหลือใช้งานได้จริงอยู่ในประเทศไทยนะครับ ซึ่งจริงๆ เมื่อก่อน รถจักรไอน้ำเนี่ย เขาก็เหมือนเป็นรถจักรกำลังหลักเลย ที่วิ่งกันไปทั่วประเทศ แต่พอหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เนี่ย เราเสียหายเยอะมาก แล้วก็มีนโยบายของประเทศด้วยที่จะลดการใช้ไม้ ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงของรถจักรไอน้ำลง เพราะว่าทรัพยากรป่าไม้เนี่ยเริ่มถดถอยลงนะครับ ปีสุดท้ายที่รถจักรไอน้ำสั่งเข้ามาคือปี 2492 ครบ 70 ปีพอดี แล้วก็เริ่มถยอยตัดบัญชีรถจักรไอน้ำเนี่ยตอนปี 2517 จนแบบไม่เหลือรถที่วิ่งตามปกติเลยในปี 2522 แต่ก็ยังมีรถจักรไอน้ำบางส่วน ยังเก็บเป็น spare เอาไว้ รถจักรสำรอง รถจักรสับเปลี่ยนอะไรแบบนี้ครับ จนกระทั่งรถจักรไอน้ำที่ใช้งานเนี่ยก็ถูกเอามาตั้งเป็นอนุสรณ์ คือดีกว่าเป็นเศษเหล็กไง เอามาตั้งหน้าสถานี ก็คือเหมือนกับว่า เอาไว้เป็นพิพิธภัณฑ์ ใครมาเที่ยว ถ่ายรูปจ้า แอ๊ะ~ แต่ถ้าเอามาตั้งเฉยๆ เดี๋ยวมันจะค่อยๆ เป็นเศษเหล็กไป เพราะมันจะพัง ใช่ ถูกต้อง เพราะฉะนั้นมันต้องกลายเป็น Living Meseum ครับ ผู้บริหารท่านหนึ่งของการรถไฟเนี่ย ก็เลยมองว่ารถจักรไอน้ำสำคัญ เพราะว่าเขาเป็นรากเหง้าถูกต้องมะ? เขาก็เลยคิดว่าจะทำยังไงดีให้เขากลับมามีคุณค่าอีกครั้งหนึ่ง ก็เลยปิ๊งไอเดียเป็นรถไฟนำเที่ยวโดยใช้รถจักรไอน้ำลากจูง เหมือนในต่างประเทศนั่นเองครับ ซึ่งในปีหนึ่ง เราจะเจอกับรถจักรไอน้ำสองคันนี้นะครับ คุณฮวด 6 ครั้งต่อปี ก็คือ 26 มีนาคม วันเกิดรถไฟ 3 มิถุนายน วันเฉลิมฯ สมเด็จพระราชินีนะครับ แล้วก็เป็นวันที่ 28 กรกฎาคม วันเฉลิมฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวครับ วันที่ 12 สิงหาคม วันแม่ 23 ตุลาคม ปิยมหาราช และสุดท้ายก็คือ 5 ธันวาคม วันพ่อครับ เป็นรถไฟขบวนพิเศษจริงๆ พี่แฮมแอบบอกนะคะ ว่าสำหรับคนรักรถไฟเนี่ย วันนี้เหมือนเป็นวันมาฆบูชาของคนรักรถไฟเลย เพราะว่าทุกคนจะมารวมตัวกันโดยไม่ได้นัดหมาย เห็นด้านหลังเนี่ย ดู ประมาณนั้น คือไม่มีใครนัดกันเลย ทุกคนก็แค่อยากมาถ่ายรูปกับรถจักรไอน้ำ เพราะว่ามันหาโอกาสยาก สำหรับใครที่อยากถ่ายรูปกับรถจักรไอน้ำ และที่สำคัญนะ ที่สถานีหัวลำโพง ไม่ใช่ ที่สถานีรถไฟกรุงเทพเนี่ยนะคะ ก็จะต้องรีบมา เพราะว่าเดี๋ยวมันจะมีการเปลี่ยนแปลง คือเราจะย้ายสถานีหลักเนี่ย สถานีกลาง ไปอยู่ที่บางซื่อแล้ว เมื่อไปตรงนั้นแล้ว เราไม่รู้ว่า เขายังจะเอารถจักรไอน้ำมาวิ่งที่นี่อยู่รึเปล่า ดังนั้นถ้าอยากได้ภาพแบบนี้ แบบนี้เป๊ะๆ ด้านหลังเป็นโค้งๆ อย่างนี้ ก็รีบมานะจ้ะ ระวังอด บอกอะไรนิดนึง ขบวนนี้จองตั๋วยากด้วยนะครับ ขายตั๋วเป็นตั๋วไป-กลับ 250 บาท นี่คือราคาเริ่มต้น ไปและกลับ 250 บาท แล้วมีบริการ Snack ด้วย ถ้าใครที่อยากนั่งรถไฟที่ลากจูงด้วยรถจักรไอน้ำ และไม่ต้องไปไกลถึงญี่ปุ่นนะครับ เรียนเชิญครับผม 6 วันที่ได้กล่าวเอาไว้นั้น วิวอยากนั่งมั้ยครับ? คือสิ่งที่วิวทำได้ตอนนี้คือนั่งแล้วก็ลงใช่มั้ยคะ? ใช่ เพราะเราไม่มีตั๋ว มันเต็ม น่ะ นั่นแหละ เอาเป็นว่าเดี๋ยวเราไปดูกันค่ะ ไป~ สิ่งนึงที่หลายคนงงนะคะ ก็คือ ทำไมถึงมีคนขับ 2 คนนะคะ งงมะ? คนขับคนที่ 1 คนขับคนที่ 2 สาเหตุเพราะว่านี่คือหัวรถจักรไอน้ำ 2 หัวนะคะ นั่น สองหัวไม่ใช่หัวเดียวนะจ้ะ ที่มันต่อกัน โดยเอาก้นต่อกันไว้ เพราะว่าสมัยก่อนจะมีสิ่งที่เรียกว่า Turntable ค่ะ เวลารถจักรวิ่งไปถึงไหนปุ๊บมันก็จะสามารถกลับรถกลับมาได้ เวลาวิ่งไปถึงอยุธยาแล้วมันจะได้วิ่งกลับได้นะคะ ในทางตรงข้ามเลย ก็เปลี่ยนเอาหัวนี้มาวิ่งแทน และอีกอย่างนึงนะที่ช่วยได้นะ ก็คือพอมันมี 2 หัวรถจักรเนี่ย มันก็จะมี 2 หัวแบบช่วยเพิ่มแรงดัน อะไรประมาณนั้นค่ะ แอบให้ความรู้ที่น่าสนใจอีกข้อหนึ่งนะคะ ก็คือ หลายคนเรียกเสียงของรถไฟที่ดังปู๊นๆ ว่าเสียงหวูดนะคะ แต่จริงๆ แล้วเขาบอกว่าเป็นคำที่ผิดค่ะ เสียงของรถไฟเนี่ยเขาเรียกว่าเสียงหวีด เพราะว่ามาจากคำว่า Whistle ที่แปลว่านกหวีดนั่นเองค่ะ ในขณะที่ถ้าเราพูดถึงเสียงหวูดนะคะ เสียงนั้นจริงๆ จะต้องเป็นเสียงของเรือเดินสมุทรค่ะ ตอนนี้นะคะ เราก็มาอยู่ในอีกจุดหนึ่งที่สำคัญ ในสถานีรถไฟกรุงเทพนะคะ เพราะว่ามันเป็นต้นกำเนิดของทุกสิ่งอย่างบริเวณนี้เลย ซึ่งเราก็จะโยนภาระให้พี่แฮมอีกแล้วค่ะ คลิปนี้วิวสบายจริงๆ มีความสุข เนี่ย เขาบอกแล้วว่าคลิปนี้เขายกให้เรา นะ! ตรงนี้นะครับ มันเป็นจุดสุดท้าย ที่เราจะเข้ามาดูในสถานีกรุงเทพ แต่มันคือจุดเริ่มต้นของทั้งหมด นี่เลยครับ อนุสรณ์ที่คุณเห็นอยู่ข้างหลังนี้นะครับ คือจุดที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถนะครับ หรือสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี ได้ทรงกระทำพิธีตอกหมุดปฐมฤกษ์เดินรถไฟหลวงครับ เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2439 หรือถ้าหากว่านับตามปีปฏิทินปัจจุบันนั้นคือปี 2440 ครับ จะมีความงงนิดนึงนะคะ เพราะสมัยก่อนกับสมัยปัจจุบันนับวันปีใหม่ไม่เหมือนกัน ในสมัยนั้นเขายังนับวันปีใหม่อยู่ตรงที่ 1 เมษายนนะคะ ดังนั้นปีมันก็เลยจะงงๆ นิดนึง เวลาดูปีในประวัติศาสตร์ไทย ต้องระวังตรงนี้ดีๆ นะคะ ให้ดูเดือนดีๆ ครับ เพราะว่าประวัติศาสตร์ของรถไฟ ก็เพี้ยนมาหลายจุดแล้วเหมือนกัน เพราะว่ามันไม่ได้มีการระบุเดือนอย่างชัดเจนนะครับ และที่สำคัญนะครับ ตรงนี้ไม่ใช่เป็นแค่เพียงจุดปฐมฤกษ์เท่านั้นนะครับวิว ยังเป็นสถานีรถไฟกรุงเทพหลังแรกด้วย สถานีรถไฟกรุงเทพหลังแรกนะครับ ใช้งานในปี 2439 หรือถ้านับตามปีปัจจุบันอย่างที่ว่าก็คือ 2440 นั่นแหละ ในประวัติเนี่ย ไม่ได้ระบุสถานที่และตำแหน่งที่ตั้งชัดเจนครับ เราเพิ่งจะมาค้นพบที่หลังครับว่า จุดที่เป็นสถานีรถไฟกรุงเทพ เริ่มต้นเป็นอาคารไม้ 2 ชั้นนะครับ อยู่ตรงข้ามกับวังสายปัญญา ซึ่งมันพอดีประจวบเหมาะกับตรงนี้เลยครับ ที่เราก็สันนิษฐานกันว่าเป็นจุดตอดหมุดครั้งแรก เพราะเมื่อเดินออกจากด้านหลังตรงนี้ไปนะครับ จะตรงกับโรงเรียนสายปัญญาพอดีเป๊ะเลยครับ รวมถึงภาพเก่าๆ นะครับ ที่ถ่ายมาเนี่ย เราก็จะมองเห็นบริเวณพื้นที่ ของสถานีกรุงเทพที่สร้างใหม่ในปี 2459 และเราก็จะเห็นชานชาลาเล็กๆ อยู่นิดนึงครับ นั่นก็ทำให้เรายิ่งมั่นใจได้เลยครับว่าบริเวณนี้นะครับ มันเคยเป็นสถานีรถไฟกรุงเทพออริจินอลมาก่อนครับผม เนื่องจากตอนนี้วิวดูไร้ประโยชน์มากนะคะ ดังนั้นวิวขอมอบช่องนี้ให้กับพี่แฮม เอาไปเลยค่ะตอนนี้ เดี๋ยวค่อยกลับมาเจอกันปลายๆ คลิปแล้วกันนะ เพราะว่ารู้สึกว่ายืนเป็นวอลเปเปอร์หนักมากนะจ้ะ เดี๋ยวมาดูอันนี้กันต่อครับ หลังปฐมฤกษ์ ตรงนี้จะเป็นรถจักรไอน้ำนะครับ เป็นรถจักรไอน้ำหมายเลข 714 ครับ ก็คือเป็นหนึ่งในกลุ่มสามสหาย รถจักรไอน้ำของรุ่น C56 ที่เหลืออยู่ ก็คือ เมื่อเช้าเราเห็นรถจักรไอน้ำ 824 กับ 850 แล้วใช่มะ? อันนั้นคือ 2 คัน มีอีก 2 คันที่ยังใช้ได้อยู่ ก็คือ 713 กับ 715 ส่วนตรงกลางระหว่างนั้น 714 มาอยู่ที่นี่ครับ เป็นอนุสรณ์ปฐมฤกษ์เช่นเดียวกัน และที่สำคัญ คุณรู้มั้ยว่ารถจักรไอน้ำคันนี้ รุ่นนี้นะครับ ไม่ได้ซื้อนะฮะ ได้มาฟรีครับ ตอนที่ญี่ปุ่นมาสร้างทางรถไฟสายมรณะ ตอนสงครามโลกครั้งที่ 2 ครับ ก็ไปรู้ประวัติมาครับว่ารถจักรไอน้ำแบบ C เนี่ย ก็คือรหัสเขา C56 มันถูกออกแบบมาเพื่อให้ใช้กับเส้นทางที่ ไม่มีวงเวียนกลับรถจักรหรือ Turntable ครับ เพราะว่าดูนู่นเลยฮะ ตัวรถลำเลียงของเขาจะมีลักษณะด้านหลังลาดลงนะครับ เวลาขับถอยหลังจะทำให้ทัศนวิสัยมันดีขึ้น และเราก็จะเจอรถจักรไอน้ำแบบ C56 นี้แบบดาษดื่นมาก ในทางรถไฟสายกาญจนบุรีในยุคนั้นนะครับ แล้วปัจจุบัน ญี่ปุ่นเขาก็ทิ้งไว้ให้เราฮะ ให้เราใช้ แล้วก็เอากลับไป 2 คัน บ้านเขา มีคำว่า ร.ฟ.ท. ติดไปด้วย แต่ตอนนี้ไปอยู่ที่ศาลเจ้ากับพิพิธภัณฑ์แล้วนะครับ ถ้าใครอยากจะมาเยี่ยมรถจักรไอน้ำหมายเลข 714 ก็มาหาเขาได้ที่อนุสรณ์ปฐมฤกษ์รถไฟหลวงได้เลยนะครับ เขาอยู่ที่นี่ตลอดเวลาครับ แต่! เตือนไว้อย่างหนึ่ง การเดินข้ามไปข้ามมาบริเวณชานชาลาต้องระวังครับ เพราะว่าจะมีรถไฟที่เขาสับเปลี่ยนเนี่ย วิ่งเข้าวิ่งออกตลอดเวลา ต้องระวังด้วย อย่างนี้อะครับ เขาจะมาตลอดเวลาแบบนี้เลยนะครับ ต้องระวังเลยนะครับ เรื่องนี้สำคัญเป็นอย่างมากเลยครับ บอกให้ยึดก็เอาไปเลยจริงๆ ด้วยนะ คือเอาไปเลยแบบ เอาไปเลย แบบเอาไปเลย ตั้งใจจะเล่นมุกว่า “ให้พี่ยึดแล้วกันนะคะ” ถือไมค์ คว้า พูดเลย อย่างเมามัน อ้าว ก็วิวให้พี่เองอะ โอเคจ้ะ นั่นแหละจ้ะ ปะ ไปที่ต่อไปกันเถอะ ที่สุดท้าย อันนี้สุดท้ายจริงๆ ละ แต่ว่าไม่ได้มีนัยยะอะไรสำคัญเกี่ยวกับพื้นที่สำคัญ แต่เป็นพื้นที่ๆ ใครมีกล้องก็ไม่ควรพลาด อ๋าา ดังนั้นเราจำเป็นมาก ต้องไปตรงนั้นนะคะ ปะ ไปดูกัน และตอนนี้นะคะ วิวก็ชวนพี่แฮมมา จุดที่น่าจะมีความสำคัญที่สุดของสถานีรถไฟกรุงเทพเลยนะคะ เพราะว่าเป็นจุดที่มีสิ่งที่แบบว่าสำคัญจริงๆ เลยนะ พี่แฮมรู้มั้ยว่าอันนี้คืออะไร? เฮ้ย เดี๋ยววิว ตรงนี้มันไม่ได้มีอะไรสำคัญมากไม่ใช่เหรอ? ทำไมอะ? ก็พี่พาไปดูหมดแล้วอะ ไม่ ตรงนี้อะ คือจุดที่วิวสวยที่สุด ในสถานีรถไฟกรุงเทพเลยค่ะทุกคน วิวสวยที่สุดในสถานีรถไฟกรุงเทพเลยค่ะทุกคน สามารถมาถ่ายรูปกันได้เพราะว่าวิวสวยจริงๆ นะฮะ วิวสวย? ไม่ใช่วิวนั้นสิ? มันหมายถึงวิวข้างหลัง เห็นมั้ย? อ่า ตรงนี้นะครับ จะเป็นจุดที่ถ่ายรูปสวยที่สุดครับ ใครที่อยากจะถ่ายรูปตัวเองเอาไปลงโปร์ไฟล์เฟสบุ๊ก ให้มาตรงนี้ได้เลยนะครับ เพราะว่าข้างหลังนั้น นอกจากคุณจะได้เห็น โดมของสถานีกรุงเทพแล้ว ยังเห็นโรงแรมบัว แอท สเตท ทาวเวอร์ เห็น ICON SIAM เห็นตึก CAT เห็นเชอราตัน ก็คือเห็นตึกในย่านธุรกิจทั้งหมดนั่นแหละครับ ถือว่าเป็นจุดที่วิวสวยที่สุดนะครับ ซึ่งวิวนั้น หมายถึงวิวจริงๆ ครับ ยังจะคืนไมค์มาอีก และนี่นะคะก็คือทั้งหมดของสถานีรถไฟกรุงเทพ ที่เราพามาเที่ยวกันแบบคร่าวๆ แต่ว่าได้ข้อมูลอันแน่นมาก ต้องขอบคุณพี่แฮมมากๆ เลยนะคะ ยินดีครับ เอาเป็นว่าถ้าใครอยากติดตามพี่แฮม อยากอ่านเรื่องรถไฟอะไรเพิ่มเติมก็ เพจทีมนั่งรถไฟกับนายแฮมมึน หรือว่าติดตามบทความได้ที่ The Cloud เนอะ ใช่ครับผม นั่นแหละน่ะ สำหรับตอนนี้ถ้าใครชื่นชอบคลิปนี้ อยากให้วิวพาไปเที่ยวที่ไหนอีก อยากไปมีความรู้ที่ไหนสนุกๆ โดยเฉพาะเรื่องรถไฟนะคะ ก็กดไลก์เป็นกำลังใจให้วิว กดแชร์เพื่อชวนเพื่อนๆ มาดูด้วยกัน แล้วก็คอมเมนต์กดดันมาด้านล่างได้เลยนะคะ โดยเฉพาะพี่แฮม กดดันมาให้หนักๆ ให้พี่แฮมมาอีกค่ะ สำหรับวันนี้ลาไปก่อนนะคะทุกคน บ๊ายบายย~ สวัสดีค่า จบคลิปแล้ว~ เย่~ จริงๆ แล้วอะ ที่มาสถานีรถไฟเนี่ยนะคะ วิวไม่อยากจะบอกเลยว่า ตั้งใจจะมาอันนี้เนี่ยแหละ คือจะไปเรียนค่ะ ตอนนี้ได้เวลาไปเรียนแล้วนะคะ ตอนนี้วิวอยู่ที่ชานชาลาที่ 9 นะคะ ต่อกับชานชาลาที่ 10 แปลว่าวิวต้องพุ่งชนเสาสักเสานึงในนี้ เพื่อเข้าไปที่ชานชาลาที่ 9 ¾ ใช่มั้ยคะ? แหมะ ทำไมหลังกล้องยืนขำงั้นอะ? ไม่ใช่! พามาดูเฉยๆ นี่ ตรงนี้ ตอนนี้เขาไปสุไหงโกลกเนอะ ไม่ได้ไปสก็อตแลนด์ บาย