ภาษาและศาสตร์แห่งการจับเท็จ — โนอาห์ แซนแดน (Noah Zandan)
-
0:09 - 0:11"ขอโทษที มือถือแบตหมดน่ะ"
-
0:11 - 0:13"ไม่มีอะไรจริงๆ ฉันสบายดี"
-
0:13 - 0:17ข้ออ้างเหล่านี้
ไม่ได้ตั้งอยู่บนหลักความจริงแต่อย่างใด -
0:17 - 0:20"ทางบริษัทไม่มีส่วนรู้เห็นใดๆ ทั้งสิ้น
กับการกระทำผิด" -
0:21 - 0:24"ฉันรักคุณ"
-
0:24 - 0:26โดยทั่วไป เราอาจได้ยินคำโกหก
ราว 10 ครั้งถึง 200 ครั้งต่อวัน -
0:26 - 0:30และเราก็พยายามคิดหาวิธีการจับเท็จ
มาเป็นเวลานาน -
0:30 - 0:33จากเครื่องทรมานในสมัยกลาง
มาจนถึงเครื่องจับเท็จ -
0:33 - 0:36เครื่องตรวจความดันและการหายใจ
เครื่องวิเคราะห์เสียง -
0:36 - 0:39เครื่องวัดระดับการเคลื่อนไหวของดวงตา
เครื่องสแกนสมอง -
0:39 - 0:42ไปจนถึงเครื่องแสดงภาพคลื่น
กระแสไฟฟ้าของสมองขนาด 400 ปอนด์ -
0:42 - 0:45ถึงแม้ว่าเครื่องมือเหล่านี้ถูกนำมาใช้
ตรวจสอบในสถานการณ์เฉพาะ -
0:45 - 0:48แต่เครื่องมือก็ยังถูกหลอกได้
ถ้าหากผู้ต้องหาเตรียมตัวมาดี -
0:48 - 0:52และสุดท้ายก็ไม่มีอะไรน่าเชื่อถือ
พอที่จะเป็นที่ยอมรับได้ในศาล -
0:52 - 0:55ถ้าหากลองคิดดูอีกที
ปัญหาอาจไม่ได้อยู่ที่เทคนิคก็ได้ -
0:55 - 0:59แต่อาจเป็นการคาดการณ์ที่ว่า
การโกหกไปกระตุ้นการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย -
0:59 - 1:01แล้วถ้าหากเราลองใช้วิธีการตรงๆ กว่า
-
1:01 - 1:04โดยการนำวิทยาศาสตร์แห่งการสื่อสาร
มาช่วยวิเคราะห์ความเท็จด้วยล่ะ -
1:05 - 1:10ในเชิงจิตวิทยา คนเราเลือกที่จะโกหกส่วนหนึ่ง
ก็เพื่อที่จะสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับตนเอง -
1:10 - 1:13โดยการเชื่อมโยงจินตนาการกับชีวิตในอุดมคติ
-
1:13 - 1:15แทนที่จะเปิดเผยตัวตนที่แท้จริง
-
1:15 - 1:20ทว่าขณะที่สมองของเรามัวแต่วุ่นกับการวาดฝัน
หารู้ไม่ว่าเราได้พลาดสัญญาณไปหลายอย่าง -
1:20 - 1:24สติของเราสามารถควบคุม
กระบวนการคิดและรับรู้ได้เพียง 5% -
1:24 - 1:25รวมถึงการสื่อสาร
-
1:25 - 1:29ในขณะที่อีก 95%
เกิดขึ้นในขณะที่เราไม่ได้ตระหนัก -
1:29 - 1:32และจากข้อมูลเกี่ยวกับการตรวจสอบข้อเท็จจริง
-
1:32 - 1:34เรื่องราวที่อ้างอิงจินตนาการ
-
1:34 - 1:38มักจะมีน้ำหนักแตกต่างจาก
ความเป็นจริงอย่างสิ้นเชิง -
1:38 - 1:42สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่าการสร้างเรื่องส่วนตัวที่เป็นเท็จ
ต้องใช้ความพยายามไม่น้อย -
1:42 - 1:45และมักแสดงความแตกต่าง
เชิงแบบแผนการใช้ภาษา -
1:45 - 1:48เทคโนโลยีวิเคราะห์ข้อความทางภาษาศาสตร์
(linguistic text analysis) -
1:48 - 1:51ช่วยจำแนกแบบแผนการใช้ภาษาออกเป็น 4 แบบ
-
1:51 - 1:53ภายใต้ศาสตร์แห่งการหลอกลวง
-
1:54 - 1:58อันดับแรก คนที่โกหกมักหลีกเลี่ยง
การอ้างถึงตัวเองเวลาโกหก -
1:58 - 2:02คนเหล่านี้มักเขียนหรืออ้างถึงคนอื่น
โดยใช้สรรพนามบุรุษที่สามบ่อยครั้ง -
2:02 - 2:05เพื่อเลี่ยงการนำตัวเองเข้ามา
เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ตนสร้างขึ้น -
2:05 - 2:07ซึ่งกลับเพิ่มจุดด่างพร้อยให้มากขึ้นเช่น
-
2:07 - 2:10"ไม่มีทางมีปาร์ตี้ที่บ้านนี้แน่ๆ"
-
2:10 - 2:12หรือ "ฉันไม่ได้จัดปาร์ตี้ที่นี่นะ"
-
2:13 - 2:16สอง คนโกหกมักจะพูดอะไรที่เป็นแง่ลบ
-
2:16 - 2:19เพราะจิตใต้สำนึกของคนเหล่านั้น
ก็รู้สึกผิดที่ต้องโกหก -
2:19 - 2:21ยกตัวอย่างเช่น คนที่โกหกมักพูดว่า
-
2:21 - 2:26"ขอโทษนะ โทรศัพท์เฮงซวยของฉัน
แบตหมดอีกละ เกลียดมันจริงๆ" -
2:26 - 2:29สาม โดยทั่วไปคนโกหกมักอธิบาย
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างง่ายๆ ไม่ซับซ้อน -
2:29 - 2:32เพราะสมองของเราจะต้องทำงานหนักมาก
เพื่อสร้างเรื่องเท็จ -
2:32 - 2:33การตัดสินใจและการประเมิน
-
2:33 - 2:36เป็นกระบวนการที่ซับซ้อน
สำหรับสมองที่จะสั่งการ -
2:36 - 2:39ดังเช่นครั้งที่ประธานาธิบดีท่านหนึ่งของอเมริกา
ได้กล่าวยืนยันว่า -
2:39 - 2:42"ผมไม่ได้มีความสัมพันธ์ทางเพศกับหญิงสาวผู้นั้น"
-
2:42 - 2:45และสุดท้าย ถึงแม้ว่าคนโกหกมักจะใช้
คำบรรยายที่ไม่ซับซ้อน -
2:45 - 2:48แต่พวกเขามีแนวโน้มที่จะใช้
รูปประโยคที่ยาวและวกวน -
2:48 - 2:50โดยการใช้คำที่ฟุ่มเฟือย
-
2:50 - 2:53พร้อมกับรายละเอียดที่ไม่จำเป็น
แต่ฟังดูเหมือนจริงมาเสริมแต่งเรื่อง -
2:54 - 2:56ประธานาธิบดีอีกท่าน
เคยออกมาโต้ตอบประเด็นฉาวไว้ว่า -
2:56 - 3:00"ผมขอพูดตามตรงว่า
การสืบสวนครั้งนี้ชี้ชัดว่า -
3:00 - 3:01ไม่มีพนักงานคนใดในทำเนียบขาว
-
3:01 - 3:04รวมไปถึงคณะบริหารคณะนี้
-
3:04 - 3:07มีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ประหลาดที่เกิดขึ้น"
-
3:07 - 3:10ลองนำหลักวิเคราะห์ภาษา
มาใช้กับตัวอย่างดังต่อไปนี้ดูบ้าง -
3:10 - 3:13เช่น เจ้าของแชมป์ตูร์เดอฟร็องส์ 7 ปีซ้อน
อย่างแลนซ์ อาร์มสตรอง -
3:13 - 3:15เมื่อนำบทสัมภาษณ์ของเขา
ในปี ค.ศ. 2005 -
3:15 - 3:18ขณะที่เขาพยายามปฏิเสธข้อกล่าวหา
เรื่องการใช้ยากระตุ้น -
3:18 - 3:21มาเปรียบเทียบกับปี ค.ศ. 2013
ซึ่งเขาออกมายอมรับ -
3:21 - 3:25ผลวิเคราะห์เผยว่าเขาได้เพิ่มจำนวนการใช้
บุรุษสรรพนามมากขึ้นเกือบ 3 ใน 4 ส่วน -
3:25 - 3:28ความแตกต่างของบทสัมภาษณ์
ทั้งสองครั้งมีดังต่อไปนี้ -
3:28 - 3:32ครั้งแรก: "โอเค อย่างที่รู้ๆ กันอยู่ว่า
ชายฝรั่งเศสผู้หนึ่งในห้องแลปที่ปารีส -
3:32 - 3:36ได้เปิดตัวอย่างของคุณ
ฌ็อง ฟรานซิส อะไรซักอย่าง แล้วก็ตรวจดู -
3:36 - 3:39และแล้วอยู่ๆ หนังสือพิมพ์ก็ติดต่อคุณมาว่า
-
3:39 - 3:42"เราทราบมาว่ามีการตรวจพบ
EPO ในร่างกายของคุณ" -
3:43 - 3:45ครั้งที่สอง: ผมไม่มีอะไรจะแก้ตัว
-
3:45 - 3:48ผมเชื่อว่าหลายคนคงรับไม่ได้กับเรื่องแบบนี้
-
3:48 - 3:50ผมเองก็รับไม่ได้เหมือนกัน
-
3:50 - 3:53และเคยที่จะควบคุมทุกอย่างในชีวิตเสมอมา
-
3:53 - 3:55ผมควบคุมทุกผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตผม"
-
3:55 - 3:58ตอนที่อาร์มสตรอง
ออกมาปฏิเสธสถานการณ์ที่เกิดขึ้น -
3:58 - 4:00เขาเบี่ยงเบนประเด็นไปที่คนอื่น
-
4:00 - 4:03ทั้งยังเลือกที่จะไม่พูดถึงตัวเองเลย
-
4:03 - 4:05แต่เมื่อเขาออกมายอมรับ
เขากลับเลือกใช้คำพูดของตัวเอง -
4:05 - 4:09ซึ่งเต็มเปี่ยมไปด้วยอารมณ์
ความรู้สึกและแรงบันดาลใจ -
4:09 - 4:13แต่การใช้บุรุษสรรพนาม
ก็เป็นอีกหนึ่งตัวบ่งชี้ของการหลอกลวง -
4:13 - 4:15ลองมาดูอีกหนึ่งตัวอย่างจากอดีตวุฒิสมาชิก
-
4:15 - 4:18และผู้สมัครเลือกตั้งประธานาธิบดีอเมริกา
จอห์น เอ็ดเวิร์ด กล่าวว่า -
4:18 - 4:21"ผมรู้แค่ว่าผู้ที่อ้างว่าเป็นพ่อเด็ก
ได้ออกมายอมรับอย่างเปิดเผยแล้ว -
4:21 - 4:23ว่าเขาเป็นพ่อที่แท้จริงของเด็ก
-
4:23 - 4:26ผมเองก็ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ
กับการกระทำใดๆ ที่ระบุไว้ -
4:26 - 4:29ว่ามีการร้องขอ ตกลง
หรือสนับสนุนค่าใช้จ่ายต่างๆ -
4:29 - 4:32ให้กับฝ่ายหญิงหรือฝ่ายที่อ้างว่าเป็นพ่อเด็ก"
-
4:32 - 4:36นี่ไม่เพียงแต่จะเป็นคำพูดที่ยืดเยื้อวกวน
ของประโยคสั้นๆ ที่ว่า "เด็กคนนี้ไม่ใช่ลูกของผม" -
4:36 - 4:39แต่เอ็ดเวิร์ดไม่เคยระบุชื่อจริง
ของบุคคลอื่นที่เขากล่าวถึงเลย -
4:39 - 4:43เขากลับใช้คำว่า"เด็กคนนั้น"
"หญิงสาวผู้นั้น" และ"ผู้ที่อ้างว่าเป็นพ่อเด็ก" -
4:43 - 4:46ต่อไปเรามาดูกันว่าเขาจะพูดอย่างไร
ตอนยอมรับว่าเป็นพ่อที่แท้จริง -
4:46 - 4:48"ผมเป็นพ่อของควินน์
-
4:48 - 4:50และผมจะทุ่มเททุกอย่างเพื่อเธอ
-
4:50 - 4:52ด้วยความรักและความเอาใจใส่
ที่เธอสมควรจะได้รับ" -
4:53 - 4:55ช่างเป็นคำแถลงที่สั้น
และตรงไปตรงมา -
4:55 - 4:58ไม่ว่าจะเป็นการเรียกชื่อจริงของเด็ก
และการกล่าวถึงบทบาทของเขาในฐานะพ่อ -
4:58 - 5:02สรุปแล้ว คุณจะนำเทคนิคการจับเท็จเหล่านี้
ไปใช้ได้อย่างไร -
5:02 - 5:05อันดับแรกจงอย่าลืมว่าในแต่ละวัน
เรามีโอกาสเผชิญหน้ากับการโกหกได้เสมอ -
5:05 - 5:10ตั้งแต่รูปแบบที่ร้ายแรงน้อยกว่าตัวอย่างเหล่านี้
และแบบที่ไร้ซึ่งพิษภัยใดๆ -
5:10 - 5:13แต่มันก็ยังเป็นการสมควร
ที่เราจะตระหนักถึงพฤติกรรมที่น่าสงสัย -
5:13 - 5:16เช่นการหลีกเลี่ยงที่จะพูดถึงตัวเอง
การใช้ภาษาที่สื่อความในแง่ลบ -
5:16 - 5:19คำอธิบายง่ายๆ และการพูดจาวกวน
-
5:20 - 5:23มันอาจช่วยให้เราเลี่ยง
การประเมินราคาที่สูงจนเกินไป -
5:23 - 5:26ระวังสินค้าที่ไร้ประสิทธิภาพ
หรือแม้แต่ความสัมพันธ์ที่แสนแย่
- Title:
- ภาษาและศาสตร์แห่งการจับเท็จ — โนอาห์ แซนแดน (Noah Zandan)
- Speaker:
- Noah Zandan
- Description:
-
เชิญชมบทเรียนฉบับเต็มได้ที่: http://ed.ted.com/lessons/the-language-of-lying-noah-zandan
โดยทั่วไปเราอาจได้ยินคนพูดโกหกราว 10 ถึง 200 ครั้งต่อวัน และถึงเราจะพยายามคิดหาวิธีการจับเท็จเหล่านี้มาเป็นเวลานาน เช่น การจับพิรุธจากการเปลี่ยนแปลงของร่างกายขณะพูด แต่วิธีการเหล่านี้กลับถูกแย้งว่าไม่มีความน่าเชื่อถือเพียงพอ ถ้าเช่นนั้นแล้ว จะมีวิธีการใดอีกที่จะนำมาช่วยพิสูจน์ข้อเท็จจริงให้กับเราได้ โนอาห์ แซนแดน (Noah Zandan) จะพาเราไปพบกับศาสตร์แห่งการจับเท็จผ่านวิทยาศาสตร์แห่งการสื่อสารซึ่งสามารถนำมาช่วยวิเคราะห์ความเท็จได้โดยตรง
บทเรียนโดย โนอาห์ แซนแดน (Noah Zandan) แอนิเมชันโดย The Moving Company Animation Studio.
- Video Language:
- English
- Team:
- closed TED
- Project:
- TED-Ed
- Duration:
- 05:42
Kelwalin Dhanasarnsombut approved Thai subtitles for The language of lying | ||
Kelwalin Dhanasarnsombut accepted Thai subtitles for The language of lying | ||
Faii Athiprayoon edited Thai subtitles for The language of lying | ||
Faii Athiprayoon edited Thai subtitles for The language of lying | ||
Faii Athiprayoon edited Thai subtitles for The language of lying | ||
Kelwalin Dhanasarnsombut declined Thai subtitles for The language of lying | ||
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for The language of lying | ||
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for The language of lying |