ชีวิตที่มีมากกว่ายิ่งกว่าความสุข
-
0:01 - 0:02ฉันเคยคิดว่า
-
0:02 - 0:06เราเกิดมา
เพื่อที่จะหาความสุขในชีวิตเป็นหลัก -
0:07 - 0:10ทุกคนบอกว่า
ความสำเร็จนำมาซึ่งความสุข -
0:10 - 0:13ฉันจึงพยายามหางานดี ๆ ทำ
-
0:13 - 0:16หาแฟนที่แสนน่ารัก
หาอพาร์ทเมนต์ที่สวยหรู -
0:17 - 0:20แต่ถึงมีสิ่งเหล่านี้แล้ว
ฉันก็ไม่ได้รู้สึกพึงพอใจเลย -
0:20 - 0:23ฉันกลับรู้สึกกังวล เคว้งคว้าง
-
0:23 - 0:27และฉันไม่ได้รู้สึกแบบนี้คนเดียวด้วย
เพื่อนหลายคนก็รู้สึกแย่พอกัน -
0:29 - 0:33ในที่สุด ฉันจึงตัดสินใจไปเรียนต่อโท
ด้านจิตวิทยาเชิงบวก -
0:33 - 0:36เพื่อจะได้รู้ว่า อะไรทำให้คนเรา
มีความสุขจริง ๆ -
0:37 - 0:40แต่ฉันได้พบ
เป็นสิ่งที่เปลี่ยนชีวิตของฉันเอง -
0:40 - 0:45มีข้อมูลชี้ว่า การวิ่งไล่หาความสุข
อาจทำให้เราเป็นทุกข์ -
0:46 - 0:48เรื่องที่ทำฉันอึ้งมากก็คือ
-
0:49 - 0:52อัตราการฆ่าตัวตายเพิ่มสูงขึ้นทั่วโลก
-
0:52 - 0:55ในอเมริกา ไม่นานมานี้
ตัวเลขขึ้นสูงสุดในรอบ 30 ปี -
0:56 - 0:59แม้ว่าความเป็นอยู่ของคนเราจะดีขึ้นจริง ๆ
-
0:59 - 1:01ถ้าดูจากตัวชี้วัดต่าง ๆ
-
1:01 - 1:03แต่กลับมีคนที่รู้สึกสิ้นหวังมากขึ้น
-
1:03 - 1:06ทั้งซึมเศร้าและอ้างว้าง
-
1:06 - 1:09ความเปล่าเปลี่ยวกำลังกัดกินจิตใจผู้คน
-
1:09 - 1:12คุณก็รู้สึกได้ โดยไม่ต้องเป็นโรคซึมเศร้า
-
1:12 - 1:15ถึงจุดหนึ่ง เราทุกคนจะสงสัยว่า
-
1:16 - 1:18ชีวิตมีแค่นี้เองหรือ
-
1:19 - 1:22งานวิจัยบอกว่า
สิ่งที่ทำนายความรู้สึกสิ้นหวัง -
1:22 - 1:24ไม่ใช่การขาดความสุข
-
1:24 - 1:26แต่เป็นการขาดเรื่องอื่น
-
1:27 - 1:30นั่นคือ ขาดความหมายในชีวิต
-
1:31 - 1:33ฉันเลยถามตัวเองว่า
-
1:34 - 1:36มีอะไรที่สำคัญต่อชีวิต
มากกว่าความสุขหรือ -
1:37 - 1:40อะไรคือความแตกต่างระหว่างความสุข
-
1:40 - 1:42กับการมีความหมายในชีวิต
-
1:43 - 1:47นักจิตวิทยาบอกว่า ความสุขคือ
ความรู้สึกที่สบายผ่อนคลาย -
1:48 - 1:49เมื่อมีความสุข เราจะรู้สึกดี
-
1:50 - 1:52แต่ความหมายเป็นอะไรที่ลึกซึ้งกว่านั้น
-
1:52 - 1:55มาร์ติน เซลิกแมน
นักจิตวิทยาชื่อดังบอกว่า -
1:55 - 2:00ความหมายมาจากการเป็นส่วนหนึ่งของสิ่ง
ที่ยิ่งใหญ่กว่าตัวเรา และรับใช้สิ่งนั้น -
2:00 - 2:02และยังมาจากการพัฒนาตัวเองให้เก่ง
-
2:04 - 2:06เราอยู่ในวัฒนธรรมที่หมกมุ่น
กับการหาความสุข -
2:06 - 2:10แต่ฉันรู้แล้วว่า การหาความหมาย
เป็นหนทางที่น่าพึงพอใจมากกว่า -
2:10 - 2:13และผลจากการศึกษาพบว่า
คนที่มีชีวิตที่มีความหมาย -
2:13 - 2:15เมื่อล้มแล้วจะลุกได้ง่ายกว่า
-
2:15 - 2:17พวกเขาประสบความสำเร็จในการเรียน
และการทำงานมากกว่า -
2:17 - 2:19และยังมีอายุยืนยาวกว่าด้วย
-
2:20 - 2:22ฉันจึงสงสัยว่า
-
2:22 - 2:25แล้วเราจะมีชีวิต
อย่างมีความหมายมากขึ้นได้อย่างไร -
2:26 - 2:30ฉันใช้เวลา 5 ปี
เพื่อสัมภาษณ์ผู้คนหลายร้อยคน -
2:30 - 2:33อ่านหนังสือหลายพันหน้า
ทั้งจิตวิทยา -
2:33 - 2:35ประสาทวิทยา และปรัชญา
-
2:35 - 2:37พอรวบรวมสิ่งเหล่านี้เพื่อหาข้อสรุป
-
2:37 - 2:43ฉันพบว่า มีสิ่งที่ฉันเรียกว่า
4 เสาหลักของชีวิตที่มีความหมาย -
2:43 - 2:45และเราทุกคนก็สามารถ
สร้างชีวิตที่มีความหมายได้ -
2:45 - 2:48โดยการสร้างเสาพวกนี้ขึ้นมาในชีวิต
จะแค่บางเสา หรือทุกเสาก็ได้ -
2:49 - 2:52เสาต้นแรกคือ การเป็นส่วนหนึ่งของบางอย่าง
-
2:52 - 2:55การเป็นส่วนหนึ่งมาจาก
สร้างความสัมพันธ์ระหว่างกัน -
2:55 - 2:57ในแบบที่ทำให้เรารู้สึกมีค่า
จากสิ่งที่เรามีอยู่ข้างในตัว -
2:57 - 3:00และเห็นค่าของคนอื่นในแบบที่เขาเป็น
-
3:00 - 3:05แต่บางกลุ่มบางความสัมพันธ์ก็ให้
ความเป็นส่วนหนึ่งแบบด้วยคุณภาพกับเรา -
3:05 - 3:07คือ คุณจะมีค่ากับเขาเพราะคุณเชื่อตามเขา
-
3:07 - 3:08เกลียดอะไรเหมือนเขา
-
3:08 - 3:10ไม่ใช่จากสิ่งที่คุณเป็น
-
3:10 - 3:13การเป็นส่วนหนึ่งที่แท้จริง
ต้องมาจากความรัก -
3:13 - 3:16มันเป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้น
ระหว่างคนกับคนด้วยกัน -
3:16 - 3:20และเป็นสิ่งที่เราเลือกเองว่า
จะเป็นส่วนหนึ่งกับอะไร -
3:21 - 3:22ตัวอย่างอันหนึ่งคือ
-
3:22 - 3:26ฉันมีเพื่อนชื่อโจนาธาน
ทุกเช้าเขาจะซื้อหนังสือพิมพ์ -
3:26 - 3:28จากร้านเจ้าประจำริมถนนในนิวยอร์ค
-
3:29 - 3:31ระหว่างเขากับเจ้าของร้าน
ไม่ใช่แค่ซื้อของขายของให้กัน -
3:31 - 3:33แต่พวกเขาทักทาย พูดคุยกัน
-
3:34 - 3:35เหมือนเป็นเพื่อนกัน
-
3:36 - 3:39เช้าวันหนึ่ง
โจนาธานไม่มีแบงค์ย่อย -
3:39 - 3:41เจ้าของร้านบอกว่า
-
3:41 - 3:42“ไม่เป็นไร เงินเล็กน้อย”
-
3:42 - 3:45แต่โจนาธานยืนยันที่จะจ่าย
-
3:45 - 3:48เขาจึงเดินไปที่ร้านขายของ
ซื้ออะไรบางอย่างที่ไม่จำเป้น -
3:48 - 3:49เพื่อให้ได้เศษเหรียญมาจ่าย
-
3:50 - 3:53แต่พอเขายื่นเงินให้กับเจ้าของร้าน
-
3:53 - 3:54เจ้าของร้านผงะถอยหลัง
-
3:55 - 3:56เพราะเขารู้สึกเสียใจ
-
3:57 - 3:59เขาพยายามแสดงน้ำใจ
-
3:59 - 4:01แต่โจนาธานกลับปฏิเสธน้ำใจเขา
-
4:02 - 4:06ฉันคิดว่า เราทุกคนปฏิเสธคนอื่น
ในเรื่องเล็กน้อยอย่างนี้โดยไม่รู้ตัว -
4:06 - 4:07ฉันเองก็ทำ
-
4:08 - 4:11บางครั้งเดินผ่านคนที่รู้จัก
แต่แกล้งทำเป็นไม่เห็น -
4:11 - 4:13หรือเล่นโทรศัพท์
ขณะที่ใครกำลังคุยกับฉันอยู่ -
4:14 - 4:16การทำแบบนี้เท่ากับไม่เห็นค่าของคนอื่น
-
4:16 - 4:18ทำให้พวกเขารู้สึกไร้ตัวตน ไร้ค่า
-
4:19 - 4:22แต่ถ้าคุณทำอะไรด้วยความรัก
ก็จะสร้างความสัมพันธ์ -
4:22 - 4:24ที่ทำให้ทั้งสองคนรู้สึกดีขึ้น
-
4:25 - 4:29สำหรับใครหลายคน การเป็นส่วนหนึ่ง
เป็นที่มาของความหมายในชีวิต -
4:29 - 4:31เช่น กับครอบครัว กับเพื่อนฝูง
-
4:31 - 4:35แต่สำหรับบางคน ความหมายที่สำคัญของชีวิต
อยู่ที่เสาต้นที่สอง นั่นคือ จุดมุ่งหมาย -
4:36 - 4:39การค้นหาจุดมุ่งหมายนี้ไม่เหมือนกับ
-
4:39 - 4:41การหางานที่จะทำให้คุณมีความสุข
-
4:42 - 4:45จุดประสงค์เป็นเรื่องที่คุณเป็นฝ่ายให้
มากกว่าเป็นฝ่ายรับ -
4:45 - 4:49เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลคนหนึ่งบอกฉันว่า
จุดประสงค์ของเธอคือ เยียวยาคนป่วย -
4:50 - 4:51พ่อแม่หลายคนบอกว่า
-
4:51 - 4:53“จุดประสงค์ของฉันคือ เลี้ยงดูลูก ๆ จนโต“
-
4:54 - 4:58หัวใจสำคัญของจุดมุ่งหมายคือ
ใช้จุดแข็งของคุณเพื่อช่วยเหลือผู้อื่น -
4:58 - 5:02สำหรับพวกเราหลายคน
นั่นย่อมหมายถึงการทำงาน -
5:02 - 5:05มันเป็นวิธีทำตัวให้เป็นประโยชน์
และรู้สึกมีคนต้องการเรา -
5:05 - 5:09แต่นั่นก็ยังแปลได้ว่า ปัญหาต่าง ๆ
อย่างเช่นการไม่สนใจทำงาน -
5:09 - 5:10ตกงาน
-
5:10 - 5:12ขาดการมีส่วนร่วมในงาน
-
5:12 - 5:16สิ่งเหล่านี้ไม่ได้เป็นเพียงปัญหาทางเศรษฐกิจ
แต่เป็นปัญหาของการดำรงชีวิตด้วย -
5:17 - 5:19ถ้าไม่ได้ทำสิ่งที่มีคุณค่า
-
5:19 - 5:20เราจะรู้สึกลำบากใจ
-
5:21 - 5:24จริงอยู่ ที่คุณไม่ต้องหาจุดประสงค์
จากการทำงานก็ได้ -
5:24 - 5:27แต่ถ้าคุณมีจุดประสงค์
คุณก็จะรู้ว่าจะอยู่เพื่ออะไร -
5:27 - 5:29คุณจะมีพลังที่จะก้าวไปข้างหน้า
-
5:31 - 5:34เสาต้นที่สามของความหมาย
ยังเป็นเรื่องการก้าวข้ามความเป็นตัวเองด้วย -
5:34 - 5:36แต่ในแง่มุมที่ต่างออกไปอย่างสิ้นเชิง
-
5:36 - 5:38เรียกว่า การสลายตัวตน
-
5:38 - 5:40มันคือสภาวะที่เกิดขึ้นไม่บ่อยนัก
-
5:40 - 5:44เมื่อคุณรู้สึกตัวลอย
อยู่เหนือภาระความวุ่นวายจากชีวิตประจำวัน -
5:44 - 5:45ความรู้สึกที่มีต่ออัตตาหายไป
-
5:46 - 5:48และคุณสัมผัสได้ถึง
ความจริงที่ยิ่งใหญ่ที่สูงกว่า -
5:49 - 5:53คนหนึ่งที่ฉันคุยด้วยบอกว่า
เขารู้สึกถึงการสลายตัวตนเมื่อมองงานศิลปะ -
5:53 - 5:55อีกคนบอกว่า เป็นตอนที่อยู่ในโบสถ์
-
5:55 - 5:59ส่วนฉัน ซึ่งเป็นนักเขียน
จะเกิดขึ้นเวลาเขียนหนังสือ -
5:59 - 6:04บางครั้ง ฉันลืมตัวไปเลย
ว่ากี่โมงแล้ว หรืออยู่ที่ไหน -
6:05 - 6:08ประสบการณ์สลายตัวตนเหล่านี้
อาจเปลี่ยนแปลงคุณได้ -
6:08 - 6:12การศึกษาหนึ่งมอบหมายให้นักศึกษา
มองขึ้นไปบนยอดต้นยูคาลิปตัสที่สูงถึง 200 ฟุต -
6:12 - 6:14นานหนึ่งนาที
-
6:14 - 6:16หลังจากนั้น
พวกเขารู้สึกว่าพวกเขาถือตัวน้อยลง -
6:16 - 6:18และมีน้ำใจกับคนอื่นมากขึ้น
-
6:18 - 6:20เมื่อมีโอกาสที่จะได้ช่วยเหลือผู้อื่น
-
6:22 - 6:25เราได้พูดถึงการเป็นส่วนหนึ่ง
จุดประสงค์ และการสลายตัวตนแล้ว -
6:26 - 6:29มาถึงเสาที่ให้ความหมายต้นที่สี่
-
6:29 - 6:31ฉันพบว่า มันมักทำให้คนแปลกใจ
-
6:31 - 6:34เสาต้นที่สี่คือ การเล่าเรื่อง
-
6:34 - 6:37คือเล่าเรื่องเกี่ยวกับตัวเราเอง
ที่เราเล่าให้ตัวเองฟัง -
6:38 - 6:42การร้อยเรียงเรื่องเล่าจากเหตุการณ์ต่าง ๆ
ในชีวิตทำให้เกิดความชัดเจน -
6:42 - 6:45มันช่วยให้คุณเข้าใจว่า
คุณเป็นคุณแบบนี้ได้อย่างไร -
6:46 - 6:49แต่เราไม่ค่อยได้ตระหนักว่า
เราเป็นผู้เขียนเรื่องของตัวเอง -
6:49 - 6:51และเราสามารถเปลี่ยนวิธีการเล่าเรื่องได้
-
6:51 - 6:53ชีวิตของคุณไม่ใช่แค่เหตุการณ์
ที่เรียงต่อกันเท่านั้น -
6:53 - 6:57แต่คุณสามารถปรับเปลี่ยนแก้ไข
แปลความหมาย แล้วเล่าเรื่องใหม่ได้ -
6:57 - 6:59ถึงแม้ว่าความจริงจะไม่ได้เปลี่ยนไปก็ตาม
-
7:00 - 7:04ฉันเจอชายหนุ่มที่ชื่อ เอมิก้า
ที่เป็นอัมพาตจากการเล่นฟุตบอล -
7:05 - 7:07หลังจากบาดเจ็บ เอมิกาบอกตัวเองว่า
-
7:07 - 7:10“ฉันเคยเป็นนักฟุตบอลที่เก่ง
-
7:10 - 7:12แต่ดูสภาพฉันตอนนี้สิ”
-
7:14 - 7:16คนที่เล่าเรื่องทำนองนี้ว่า
-
7:16 - 7:19“ฉันเคยมีชีวิตที่ดี แต่เดี๋ยวนี้แย่มาก”
-
7:19 - 7:22มักจะหดหู่และซึมเศร้ามากขึ้น
-
7:22 - 7:24เอมิก้าเคยเป็นแบบนั้นอยู่ช่วงหนึ่ง
-
7:25 - 7:28แต่เมื่อเวลาผ่านไป เขาค่อย ๆ
เปลี่ยนวิธีการเล่าเรื่องของตนเอง -
7:28 - 7:30เรื่องราวใหม่ของเขาก็คือ
-
7:30 - 7:33"ก่อนที่จะเป็นอัมพาต
ฉันไม่มีจุดมุ่งหมายอะไรในชีวิต -
7:33 - 7:37มีแต่เรื่องสังสรรค์บันเทิง
นึกถึงแต่เรื่องของตัวเอง -
7:37 - 7:40แต่การเป็นอัมพาตทำให้ฉันรู้ว่า
ฉันเป็นคนที่ดีกว่าเดิมได้" -
7:41 - 7:45การปรับเรื่องเล่าใหม่นี้
ได้เปลี่ยนชีวิตของเอมิก้า -
7:45 - 7:47หลังจากเขาเรียบเรียงเรื่องของตัวเองใหม่
-
7:48 - 7:49เขาก็เริ่มให้คำแนะนำกับเด็ก ๆ
-
7:49 - 7:52และเขาก็ได้ค้นพบว่าจุดมุ่งหมายใหม่ก็คือ
-
7:52 - 7:53การช่วยเหลือผู้อื่น
-
7:54 - 7:57นักจิตวิทยา แดน อดัมส์ เรียกสิ่งนี้ว่า
“เรื่องเล่าฟื้นฟูจิตใจ” -
7:58 - 8:00คือ การเปลี่ยนเรื่องแย่ให้เป็นเรื่องดี
-
8:01 - 8:03เขาพบว่า คนที่ใช้ชีวิตที่มีความหมาย
-
8:03 - 8:05มักเล่าเรื่องราวในชีวิตตัวเอง
-
8:05 - 8:08ที่เต็มไปด้วยการฟื้นฟูจิตใจ
การเติบโต และความรัก -
8:09 - 8:11แต่อะไรล่ะ ที่ทำให้คนเรา
เปลี่ยนเรื่องเล่าของตัวเองได้ -
8:12 - 8:14บางคนมีนักจิตบำบัดคอยให้คำแนะนำ
-
8:14 - 8:15แต่คุณสามารถทำได้ด้วยตัวคุณเอง
-
8:16 - 8:18เพียงแค่ทบทวนชีวิตของคุณอย่างถี่ถ้วน
-
8:18 - 8:20มีประสบการณ์สำคัญอะไรบ้างหล่อหลอมตัวคุณ
-
8:20 - 8:22คุณสูญเสียอะไรไป คุณได้อะไรมา
-
8:23 - 8:24เอมิก้าทำเช่นนั้น
-
8:25 - 8:27คุณเปลี่ยนเรื่องเล่าคุณไม่ได้แค่เพียงชั่วคืน
-
8:27 - 8:29มันอาจใช้เวลาหลายปีและอาจจะเจ็บปวด
-
8:29 - 8:32ถ้าจะว่าไป เราทุกคนก็มีทุกข์
มีเรื่องให้ต้องกลุ้มใจ -
8:33 - 8:37แต่การโอบรับความทรงจำที่เจ็บปวดเหล่านี้
จะทำให้เราเกิดความรู้ใหม่และเกิดปัญญา -
8:37 - 8:40ได้เจอสิ่งดี ๆ ที่คอยค้ำจุนตัวคุณ
-
8:43 - 8:47การเป็นส่วนหนึ่ง การมีจุดมุ่งหมาย
การสลายตัวตน และการเล่าเรื่อง -
8:48 - 8:51เป็นสี่เสาที่สร้างความหมาย
-
8:52 - 8:53ตอนที่ฉันยังเด็ก
-
8:53 - 8:57ฉันโชคดี ที่ชีวิตแวดล้อมไปด้วย
เสาเหล่านี้ทั้งหมด -
8:57 - 9:02พ่อแม่ของฉันใช้บ้านในเมืองมอนทรีล
เป็นที่พบปะของชาวซูฟี -
9:03 - 9:07นิกายซูฟีคือ คือแนวทางการปฏิบัติตามความเชื่อ
ที่มีความเกี่ยวข้องกับนักบวชลัทธิลมวน -
9:07 - 9:09และกวีที่ชื่อรูมี
-
9:09 - 9:12ชาวซูฟีจะมาที่บ้านเราสัปดาห์ละสองครั้ง
-
9:12 - 9:16นั่งสมาธิ ดื่มชาเปอร์เซีย
และพูดคุยเล่าเรื่องกัน -
9:16 - 9:19ชาวซูฟียังสอนให้เรารับใช้ทุกสรรพสิ่ง
-
9:19 - 9:21ด้วยการกระทำด้วยความรัก
-
9:21 - 9:24ซึ่งหมายถึง การมีเมตตา
แม้แต่กันคนที่ทำผิดกับเรา -
9:24 - 9:28จุดประสงค์ก็คือเพื่อให้เราเป็นผู้ครองใจตน
-
9:29 - 9:32ต่อมา ฉันย้ายออกจากบ้าน
เพื่อไปเรียนที่มหาวิทยาลัย -
9:32 - 9:35ชีวิตประจำวันที่ห่างหายจากการวิถีแบบซูฟี
-
9:35 - 9:37ทำให้ฉันรู้สึกเคว้งคว้าง
-
9:37 - 9:40ฉันจึงเริ่มค้นหาสิ่งต่าง ๆ
ที่จะทำให้การใช้ชีวิตมีคุณค่า -
9:41 - 9:43นั่นคือจุดเริ่มต้นของการเดินทางนี้
-
9:43 - 9:45นึกย้อนกลับไป ฉันตระหนักได้ว่า
-
9:45 - 9:48บ้านที่เป็นที่พบปะของนิกายซูฟีนั้น
เป็นแหล่งวัฒนธรรมแห่งความหมาย -
9:48 - 9:51เสาต่าง ๆ นั้นเป็นส่วนสำคัญของโครงสร้างบ้าน
-
9:51 - 9:54และการมีเสาอยู่นี้
ช่วยให้เราใช้ชีวิตได้ลึกซึ้งมากขึ้น -
9:54 - 9:57แน่นอนค่ะว่า หลักการเดียวกันนี้
-
9:57 - 9:59ใช้ได้กับคนกลุ่มสังคมอื่น
ที่มีความเหนียวแน่นได้เช่นเดียวกัน -
9:59 - 10:01ไม่ว่าจะดีหรือไม่ดี
-
10:02 - 10:04กลุ่มอันธพาล หรือลัทธิต่าง ๆ
-
10:04 - 10:07กลุ่มเหล่านี้มีวัฒนธรรมแห่งความหมาย
ที่ใช้เสาเหล่านี้ -
10:07 - 10:10และสิ่งยึดเหนี่ยวที่คนในกลุ่มรู้สึกว่า
จะอยู่และหรือตายเพื่อสิ่งใด -
10:10 - 10:13นั่นเป็นสาเหตุที่แท้จริงว่าในฐานะสังคม
-
10:13 - 10:15เราต้องให้ทางเลือกที่ดีกว่านี้
-
10:15 - 10:19เราต้องสร้างเสาเหล่านี้
ภายในครอบครัวและสถาบันต่าง ๆ -
10:19 - 10:21เพื่อช่วยให้คนเป็นคนเต็มศักยภาพของตน
-
10:23 - 10:25แต่การใช้ชีวิตอย่างมีความหมาย
ต้องใช้ความพยายาม -
10:25 - 10:27และมันเป็นกระบวนการต่อเรื่อง
-
10:27 - 10:31เราสร้างสรรค์ชีวิตของเรา
ในแต่ละวันที่ล่วงเลยผ่านไป -
10:31 - 10:32เติมแต่งเรื่องราวของเรา
-
10:33 - 10:36และบางครั้ง เราก็อาจออกนอกลู่นอกทางได้
-
10:36 - 10:38เมื่อใดก็ตามที่ฉันเริ่มเป็นแบบนั้น
-
10:38 - 10:42ฉันจะนึกถึงประสบการณ์ที่ทรงค่าครั้งหนึ่ง
ที่ฉันมีร่วมกับพ่อ -
10:44 - 10:46หลังจากที่ฉันรับปริญญาสองสามเดือน
-
10:46 - 10:50คุณพ่อของฉันหัวใจวายรุนแรง
จนเกือบเอาชีวิตไม่รอด -
10:51 - 10:54เมื่อฉันถามพ่อว่า
ณ วินาทีชีวิตนั้น พ่อคิดอะไร -
10:54 - 10:56เมื่อพ่อกำลังเผชิญกับพญามจุราช
-
10:56 - 10:59พ่อตอบว่า
พ่อคิดอยู่อย่างเดียวว่าต้องไม่ตาย -
10:59 - 11:01เพื่อที่จะได้อยู่กับฉันและน้องชาย
-
11:01 - 11:03และนี่เอง ที่ทำให้เขามีพลังใจที่จะสู้
-
11:04 - 11:07ตอนที่พ่อได้รับยาสลบเพื่อการผ่าตัดฉุกเฉิน
-
11:07 - 11:10แทนที่จะนับถอยหลังก่อนจะหลับไปนั้น
-
11:10 - 11:13พ่อเอ่ยชื่อพวกเราซ้ำ ๆ แทนการสวดมนต์
-
11:14 - 11:18พ่ออยากให้ชื่อของพวกเรา
เป็นคำสุดท้ายที่ออกจากปาก -
11:18 - 11:19หากเขาต้องจากโลกนี้ไป
-
11:21 - 11:25พ่อของฉันเป็นช่างไม้และเป็นชาวซูฟี
-
11:25 - 11:27ท่านใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย
-
11:27 - 11:28แต่เป็นชีวิตที่ดี
-
11:29 - 11:32ขณะที่ล้มป่วยและเผชิญหน้ากับความตายนั้น
เขามีเหตุผลที่จะมีชีวิตอยู่ -
11:32 - 11:34นั่นคือ ความรัก
-
11:34 - 11:36เขารู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัว
-
11:36 - 11:38จุดประสงค์ของความเป็นพ่อ
-
11:38 - 11:41เขาทำทำสมาธิเพื่อสลายตัวตน
ด้วยการเอ่ยชื่อของพวกเราซ้ำ ๆ -
11:41 - 11:44พ่อบอกว่า สิ่งเหล่านี้แหละ
ที่ทำให้ท่านรอดชีวิต -
11:44 - 11:46นั่นเป็นเรื่องเล่าที่พ่อบอกกับตัวเอง
-
11:48 - 11:51นั่นคือพลังแห่งความหมาย
-
11:51 - 11:53ความสุขนั้นไม่ได้ยั่งยืนจีรัง
-
11:53 - 11:55แต่ไม่ว่าจะชีวิตของคุณจะสุดแสนดี
-
11:55 - 11:57หรือแสนจะเลวร้าย
-
11:57 - 12:00การมีความหมายในชีวิต
จะช่วยให้คุณยืนหยัดอยู่ได้ -
12:00 - 12:02ขอบคุณคะ
-
12:02 - 12:05(เสียงปรบมือ)
- Title:
- ชีวิตที่มีมากกว่ายิ่งกว่าความสุข
- Speaker:
- เอมิลี เอสฟาฮานี สมิธ (Emily Esfahani Smith)
- Description:
-
วัฒนธรรมของเราหมกมุ่นกับเรื่องหาความสุข แต่ถ้าฒันมีอะไรที่น่าพึงพอใจยิ่งกว่าความสุขละ
เอมิลี เอสฟาฮานี สมิธ บอกว่าความสุขเป็นสิ่งที่ไม่จีรังยั่งยืน แต่การมีความหมายในชีวิตจะช่วยให้คุณยืนหยัดอยู่ได้ ซึ่งก็คือการรับใช้อะไรบางอย่างที่เป็นยิ่งกว่าตัวคุณและพัฒนาตนเองให้เต็มศักยภาพ เสาแห่งคามหมายสี่้ต้นของเอมิลี สมิธ จะช่วยให้คุณได้เรียนรู้ความแตกต่างระหว่างการมีความสุขกับการมีความหมายในชีวิต - Video Language:
- English
- Team:
- closed TED
- Project:
- TEDTalks
- Duration:
- 12:18
Kelwalin Dhanasarnsombut approved Thai subtitles for There's more to life than being happy | ||
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for There's more to life than being happy | ||
Sritala Dhanasarnsombut accepted Thai subtitles for There's more to life than being happy | ||
Sritala Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for There's more to life than being happy | ||
Kelwalin Dhanasarnsombut rejected Thai subtitles for There's more to life than being happy | ||
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for There's more to life than being happy | ||
Sritala Dhanasarnsombut accepted Thai subtitles for There's more to life than being happy | ||
Sritala Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for There's more to life than being happy |