การออกแบบที่ใส่ใจคนพิการทางสายตา
-
0:03 - 0:06เมื่อผมก้าวลงจากรถประจำทาง
-
0:06 - 0:08ผมมุ่งตรงไปที่มุมตึก
-
0:08 - 0:11เพื่อมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันตก
จะไปฝึกอบรมอักษรเบรลล์ -
0:11 - 0:13มันเป็นวันหนึ่งในฤดูหนาวปี 2009
-
0:13 - 0:16และ ผมตาบอด มาประมาณ 1 ปีแล้ว
-
0:16 - 0:18ผมก็ทุกอย่างดำเนินไปด้วยดี
-
0:18 - 0:20ผมกำลังจะข้ามถนนไปอีกฝั่ง
-
0:20 - 0:21ผม เลี้ยวซ้าย
-
0:21 - 0:24กดปุ่มอัตโนมัติ ที่มีไว้ให้สัญญาณเสียง
แก่คนข้ามถนน -
0:24 - 0:26และ กำลังรอข้าม
-
0:26 - 0:28เมื่อได้สัญญาณ ผมก็เริ่มเดินออกไป
-
0:28 - 0:30และข้ามไปอีกฝั่งได้อย่างปลอดภัย
-
0:30 - 0:32เมื่อกำลังก้าวย่างไปตามทางเดิน
-
0:32 - 0:34ผมก็ได้ยินเสียงของเก้าอี้เหล็กตัวหนึ่ง
-
0:34 - 0:39กำลังโดนลากผ่านพื้นคอนกรีต ผ่านหน้าผมไป
-
0:39 - 0:40ผมรู้ว่า มันมีร้านกาแฟตรงหัวมุม
-
0:40 - 0:42และก็มีเก้าอี้เรียงไว้หน้าร้าน
-
0:42 - 0:44ดังนั้น ผมจึงเดินหลบไปทางซ้าย
-
0:44 - 0:45เดินชิดริมถนนขึ้นอีกหน่อย
-
0:45 - 0:49พอผมหลบ เสียงลากเก้าอี้ก็ไปทางซ้าย
-
0:49 - 0:51ผมจึงรู้สึกว่า ผมหลบผิดทิศ
-
0:51 - 0:53จึงเปลี่ยนไปทางด้านขวา
-
0:53 - 0:56เสียงเก้าอี้ก็ไปทางขวาตามผมอีก
-
0:56 - 0:59ทีนี้ ผมเริ่มจะกระวนกระวายใจ
-
0:59 - 1:00ผมจึงหันกลับมาทางซ้าย
-
1:00 - 1:02เสียงเก้าอี้ก็ตามมาทางซ้าย
-
1:02 - 1:04ขวางทางเดินผม
-
1:04 - 1:07ตอนนี้ ผมแทบบ้า
-
1:07 - 1:09เลยตะโกนออกไป
-
1:09 - 1:12"ใครอยู่ตรงนั้น เกิดอะไรขึ้น"
-
1:12 - 1:14และหลังจากผมตะโกนไป
-
1:14 - 1:17ผมได้ยินอีกเสียง เป็นคล้ายโซ่สั่นๆ
-
1:17 - 1:19ฟังดูคุ้นๆ
-
1:19 - 1:21ผมเลยคิดว่ามีอีกกรณีหนึ่งที่เป็นไปได้
-
1:21 - 1:23ผมเอื้อมมือซ้ายออกไป
-
1:23 - 1:26ไปสัมผัสบางอย่างปุยๆ
-
1:26 - 1:29ผมคิดว่ามันเป็นหู
-
1:29 - 1:33เป็นหูสุนัข บางทีคงเป็นโกลเด้นรีทรีฟเวอร์
-
1:33 - 1:35เชือกจูงถูกพันอยู่กับเก้าอี้
-
1:35 - 1:37เจ้าของคงไปซื้อกาแฟอยู่
-
1:37 - 1:38และน้องหมาก็กำลังพยายาม
-
1:38 - 1:42ที่จะทักทายผม หรืออยากให้ผมเกาหูให้
-
1:42 - 1:44ใครจะรู้ บางทีเธออาจอยากเป็นอาสาสมัครอยู่
-
1:44 - 1:47(เสียงหัวเราะ)
-
1:47 - 1:49เรื่องที่ผมเล่านี้เป็นเพียงส่วนหนึ่ง
-
1:49 - 1:52ที่นำพามาจาก ความกลัวและเข้าใจผิดไปเอง
-
1:52 - 1:55ในการเดินทางในเมือง
-
1:55 - 1:57โดยที่มองไม่เห็น
-
1:57 - 2:00ทำตัวกลมกลืนไปกับสิ่งแวดล้อมรอบตัว
-
2:00 - 2:02และผู้คนรอบข้าง
-
2:02 - 2:06ขอผมเล่าย้อนไปซักนิด
-
2:06 - 2:09ในวันฉลองนักบุญแพทริค
(St. Patrick's Day) ปี 2008 -
2:09 - 2:12ผมไปโรงพยาบาลเพื่อรับการผ่าตัด
-
2:12 - 2:14ตัดเนื้องอกในสมองออก
-
2:14 - 2:16การผ่าตัด สำเร็จ
-
2:16 - 2:19สองวันต่อมา สายตาผมเริ่มแย่
-
2:19 - 2:22วันที่สาม ผมมองไม่เห็น
-
2:22 - 2:25ทันใดนั้น ผมถูกครอบงำ
-
2:25 - 2:28ด้วยความกลัว สับสน อ่อนแอ
-
2:28 - 2:31เช่นเดียวกับคนอื่นๆ ที่เจอแบบเดียวกัน
-
2:31 - 2:33ผมมีเวลาหยุดคิด
-
2:33 - 2:35ผมเริ่มตระหนักว่า
-
2:35 - 2:38มีหลายสิ่งอย่างที่ผมควรจะขอบคุณ
-
2:38 - 2:41โดยเฉพาะ ผมนึกถึงเรื่องของพ่อผม
-
2:41 - 2:43ผู้จากไปเพราะภาวะแทรกซ้อน
-
2:43 - 2:45จากการผ่าตัดสมอง
-
2:45 - 2:50พ่ออายุ 36 ผม 7 ขวบ
-
2:50 - 2:53ถึงแม้เหตุการณ์ต่างๆ
-
2:53 - 2:55จะทำให้ผมกลัวสิ่งที่จะเกิดขึ้น
-
2:55 - 2:58ผมก็ไม่อาจคาดเดาอนาคต
-
2:58 - 3:00ผมยังมีชีวิต
-
3:00 - 3:03ลูกชายก็ยังมีผม
-
3:03 - 3:04และ ผมไม่ใช่คนแรก
-
3:04 - 3:06ที่สูญเสียการมองเห็นไป
-
3:06 - 3:08ผมรู้ว่ามันจะต้องมีระบบ
-
3:08 - 3:10เทคนิค และ การเรียนรู้
-
3:10 - 3:13มาช่วยให้ชีวิตผมมีความหมาย และเติมเต็ม
-
3:13 - 3:15แม้จะมองไม่เห็นก็ตาม
-
3:15 - 3:17เมื่อผมได้ออกจากโรงพยาบาล
-
3:17 - 3:19หลังจากนั้นไม่กี่วัน ผมก็มีเป้าหมาย
-
3:19 - 3:22ที่จะออกไปฝึกฝน
-
3:22 - 3:27เรียนรู้ให้เร็วที่สุด
-
3:27 - 3:31ผมกลับมาทำงานอีกครั้งภายในหกเดือน
-
3:31 - 3:32การฝึกฝนเริ่มต้นขึ้น
-
3:32 - 3:34หัดแม้แต่การขี่จักรยานคู่
-
3:34 - 3:36กับเพื่อนเก่าของผม
-
3:36 - 3:38ผมเดินทางไปทำงานเองได้
-
3:38 - 3:41เดินตามถนน ขึ้นรถประจำทาง
-
3:41 - 3:44งานไม่ง่ายเลย
-
3:44 - 3:46แต่สิ่งที่ผมไม่ได้คาดหวัง
-
3:46 - 3:49จากการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้
-
3:49 - 3:53คือประสบการณ์ที่น่าทึ่งของการเทียบสองภาวะ
-
3:53 - 3:57ระหว่างตอนที่ผมมองเห็นและมองไม่เห็น
-
3:57 - 3:59กับสถานที่เดิมๆ คนเดิมๆ
-
3:59 - 4:03ในเวลาอันสั้นแค่นี้
-
4:03 - 4:05สิ่งเหล่านี้ ทำให้ผมเข้าใจปรุโปร่ง
-
4:05 - 4:06หรือที่ผมชอบเรียกว่า เข้าใจแบบมืดสนิท
-
4:06 - 4:10ว่าสิ่งที่ผมเรียนรู้จากการสูญเสียการมองเห็น
-
4:10 - 4:13มีตั้งแต่สิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ
-
4:13 - 4:14ไปจนถึงสิ่งที่ลึกซึ้ง
-
4:14 - 4:17จากเรื่องปกติไปจนถึงน่าขัน
-
4:17 - 4:20ในฐานะที่ผมเป็นสถาปนิก
-
4:20 - 4:22ประสบการณ์ของการมองเห็นและไม่เห็น
-
4:22 - 4:25ในสถานที่เดิมๆ เมืองเดิมๆ
-
4:25 - 4:27ในเวลาอันสั้นแค่นี้
-
4:27 - 4:29ทำให้ผมรู้ลึกถึง
-
4:29 - 4:32ตัวเมือง
-
4:32 - 4:34สิ่งที่สุดยอดที่สุด
-
4:34 - 4:36คือการได้เรียนรู้ว่า
-
4:36 - 4:40เมืองกรุงเป็นที่ที่เลิศเลอสำหรับคนตาบอด
-
4:40 - 4:42และผมก็รู้สึกประหลาดใจ
-
4:42 - 4:45กับแนวโน้มของเมืองกรุง
ที่อ่อนโยนและเอาใจใส่กับผม -
4:45 - 4:49แทนที่จะไม่แยแส หรือ ปฏิบัติกับผมแย่กว่านั้น
-
4:49 - 4:51และผมก็ได้พบว่า
-
4:51 - 4:53คนตาบอดดูเหมือนจะมี
-
4:53 - 4:57อิทธิพลด้านบวกกับเมืองกรุง
-
4:57 - 5:00มันทำให้ผมสงสัยนิดหน่อย
-
5:00 - 5:03ผมกลับมามองดูว่า
-
5:03 - 5:08ทำไมเมืองกรุงถึงเป็นเมืองดีสำหรับคนตาบอด
-
5:08 - 5:12สิ่งที่มาพร้อมกับการอบรมฟื้นฟูให้กับคนตาบอด
-
5:12 - 5:15คือการเรียนรู้ที่จะพึ่งพาสัมผัสอื่นๆ
-
5:15 - 5:19สิ่งที่ทุกคนอาจจะมองข้ามไป
-
5:19 - 5:21เหมือนโลกใหม่สำหรับการรับข้อมูล
-
5:21 - 5:23ได้เปิดออกแล้ว
-
5:23 - 5:24ผมตื่นตะลึงไปกับเสียงซิมโฟนี
-
5:24 - 5:27และเสียงเล็กเสียงน้อยรอบตัวในเมือง
-
5:27 - 5:28ที่ผมจะต้องฟังและเรียนรู้
-
5:28 - 5:30และเข้าใจว่าผมอยู่ที่ไหน
-
5:30 - 5:33จะขยับไปอย่างไร และ ต้องไปทางไหน
-
5:33 - 5:36เช่นเดียวกับการจับด้ามไม้เท้า
-
5:36 - 5:40คุณสามารถรับรู้แตกต่างของผิวสัมผัสที่พื้นได้
-
5:40 - 5:42และค่อยๆ จับแนวทางได้ว่าคุณอยู่ที่ไหน
-
5:42 - 5:44และกำลังจะไปไหน
-
5:44 - 5:47เช่นเดียวกับ แดดที่ทำให้หน้าร้อนฝั่งเดียว
-
5:47 - 5:49หรือ สายลมที่กระทบคอ
-
5:49 - 5:52บอกใบ้ทิศทาง
-
5:52 - 5:53และการเดินผ่านแต่ละช่วงตึก
-
5:53 - 5:57และเวลากับสถานที่ที่คุณเดินผ่าน
-
5:57 - 5:59รวมไปถึง การรับรู้กลิ่น
-
5:59 - 6:02บางท้องที่ก็มีกลิ่นเฉพาะตัว
-
6:02 - 6:05เช่นเดียวกับสถานที่และสิ่งรอบตัว
-
6:05 - 6:07คุณอาจตามจมูกคุณไป
-
6:07 - 6:10ถึงร้านเบเกอรีใหม่ที่คุณตามหาอยู่
-
6:10 - 6:12ทั้งหมดนี้ ทำให้ผมประหลาดใจ
-
6:12 - 6:15เพราะผมเพิ่งเรียนรู้ว่า
-
6:15 - 6:18การมองไม่เห็นของผม
-
6:18 - 6:20ได้ใช้สัมผัสอีกหลายอย่าง
-
6:20 - 6:23มากกว่าตอนที่ผมมองเห็นเสียอีก
-
6:23 - 6:26และสิ่งที่ทำให้ผมประหลาดใจอีกอย่าง
คือการที่เมืองของผม -
6:26 - 6:27เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก
-
6:27 - 6:29เมื่อตอนมองเห็น
-
6:29 - 6:31ทุกคนเหมือนจะสนใจตัวเอง
-
6:31 - 6:33สนใจแต่ธุระตัว
-
6:33 - 6:34เมื่อมองไม่เห็นแล้ว
-
6:34 - 6:37กลับกลายเป็นอีกเรื่องเลย
-
6:37 - 6:39จะไม่มีทางรู้เลยว่าใครมองใครอยู่
-
6:39 - 6:42แต่ผมมักสงสัยว่าหลายคนมองผมอยู่
-
6:42 - 6:44ผมไม่หวาดระแวง แต่ทุกที่ที่ไป
-
6:44 - 6:47ผมจะได้รับคำแนะนำต่างๆ
-
6:47 - 6:50ไปทางนี้ ทางนั้น ระวังตรงนั้นนะ
-
6:50 - 6:52ข้อมูลมากๆ ก็ดี
-
6:52 - 6:54บ้างก็มีประโยชน์ แต่หลายทีก็ตรงกันข้าม
-
6:54 - 6:58ต้องเรียนรู้ว่าเขาต้องการสื่ออะไร
-
6:58 - 7:01บ้างก็เป็นข้อมูลผิดๆ และไม่ช่วยอะไรเลย
-
7:01 - 7:04แต่มันก็เป็นสิ่งที่ดี เมื่อมองในภาพรวมนะ
-
7:04 - 7:06ครั้งหนึ่งในโอคแลนด์
-
7:06 - 7:09ขนะเดินไปถึงหัวมุมของถนน
-
7:09 - 7:12ผมรอสัญญาณเสียงให้คนข้ามถนนอยู่
-
7:12 - 7:14เมื่อผมกำลังจะก้าวลงถนน
-
7:14 - 7:16ทันใดนั้น มือขวาผม
-
7:16 - 7:18ก็ถูกมีผู้ชายคนหนึ่งคว้าไว้
-
7:18 - 7:20เขากระชากแขนผม
แล้วก็ดึงผมเดินข้ามทางม้าลายไป -
7:20 - 7:22มันเป็นการถูกลากข้ามถนน
-
7:22 - 7:24พร้อมเสียงพูดเป็นภาษาจีนกลาง
-
7:24 - 7:26(เสียงหัวเราะ)
-
7:26 - 7:30ผมรู้สึกว่าไม่มีทางที่จะหลุด
จากกำมือของชายคนนี้ได้ -
7:30 - 7:31แต่เขาก็พาข้ามสำเร็จนะ
-
7:31 - 7:34ผมควรทำอย่างไรดี
-
7:34 - 7:36แต่เชื่อผมนะ มันมีวิธีสุภาพกว่านี้
-
7:36 - 7:38ในการยื่นมือช่วยเหลือ
-
7:38 - 7:39เพราะผมไม่รู้ว่ามีใครอยู่ตรงนั้น
-
7:39 - 7:41คงจะดีถ้าทักทายกันก่อน
-
7:41 - 7:43แล้วถามว่า "ต้องการความช่วยเหลือไหม"
-
7:43 - 7:46ตอนอยู่ในเมืองโอคแลนด์ ผมงงงัน
-
7:46 - 7:49ว่าเมืองโอ๊คแลนด์เปลี่ยนไปแค่ไหน
-
7:49 - 7:52เมื่อผมมองไม่เห็น
-
7:52 - 7:54ผมชอบเมืองนี้ตอนผมมองเห็น
-
7:54 - 7:56เป็นเมืองที่ดีมาก
-
7:56 - 7:58แต่พอผมมองไม่เห็น
-
7:58 - 8:00และต้องเดินไปตามถนน
-
8:00 - 8:03มีคนให้พรผมตลอดทาง
-
8:03 - 8:05"โชคดีนะ พี่"
-
8:05 - 8:07"ไปโลด พี่ชาย"
-
8:07 - 8:09"พระเจ้าคุ้มครองนะ"
-
8:09 - 8:10ตอนผมมองเห็น ไม่เจอแบบนี้เลย
-
8:10 - 8:12(เสียงหัวเราะ)
-
8:12 - 8:18แต่ผมไม่เจอแบบนี้ในซานฟรานซิสโก
แม้ผมจะมองไม่เห็นเหมือนกัน -
8:18 - 8:21เพื่อนตาบอดของผมบางคนรำคาญนะ
-
8:21 - 8:23ไม่เฉพาะแต่ผม
-
8:23 - 8:25มันทำให้ผมรู้สึก
-
8:25 - 8:28ว่าพวกเขาสงสารผม
-
8:28 - 8:31ผมพยายามเข้าใจว่ามันมาจากมนุษยธรรม
-
8:31 - 8:34โดยรวม มันก็เจ๋งดีแหละ
-
8:34 - 8:36เวลาผมรู้สึกจิตตก
-
8:36 - 8:38ผมเพียงไปเดินในตัวเมืองโอคแลนด์
-
8:38 - 8:41ผมก็รู้สึกดีขึ้นแล้ว
-
8:41 - 8:44ไม่ต้องใช้เวลาเลย
-
8:44 - 8:46นี่คือสิ่งที่แสดงให้เห็นว่า
-
8:46 - 8:48คนพิการ ตาบอด
-
8:48 - 8:50สามารถก้าวข้ามผ่านสังคม
-
8:50 - 8:53เชื้อชาติ เศรษฐกิจ ได้อย่างไร
-
8:53 - 8:57ความพิการกลับนำมาซึ่งโอกาสที่เท่าเทียม
-
8:57 - 8:59ทุกคนได้รับการต้อนรับ
-
8:59 - 9:02ผมเคยได้ยินว่าชุมชนคนพิการ
-
9:02 - 9:04แบ่งคนเป็นสองประเภท
-
9:04 - 9:06คนที่มีความพิการ
-
9:06 - 9:11และคนที่ยังไม่เจอความพิการของตัวเอง
-
9:11 - 9:13มันเป็นความคิดต่าง
-
9:13 - 9:15ผมว่ามันสวยงามนะ
-
9:15 - 9:17เพราะมันดูเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
-
9:17 - 9:20มากกว่าการแบ่งแยก พวกเรากับพวกเขา
-
9:20 - 9:22หรือ พวกมีความสามารถกับพวกไม่มีความสามารถ
-
9:22 - 9:25มันมีความเที่ยงธรรม เคารพกันและกัน
-
9:25 - 9:28ให้กับชีวิตที่เปราะบาง
-
9:28 - 9:30สิ่งสุดท้ายที่อยากฝากไว้
-
9:30 - 9:34คือไม่เฉพาะเมืองกรุงที่เป็นมิตรกับคนตาบอด
-
9:34 - 9:37เมืองกรุงต้องการเรา
-
9:37 - 9:39ผมมั่นใจ
-
9:39 - 9:41สิ่งที่อยากเสนอในวันนี้
-
9:41 - 9:44คือการนำคนตาบอดมาเป็นต้นแบบของผู้อาศัยในเมืองนั้น
-
9:44 - 9:48เมื่อคุณคิดจะออกแบบเมืองใหม่ที่วิเศษ
-
9:48 - 9:50ไม่ใช่ให้คนตาบอด ถูกนึกถึง
-
9:50 - 9:52เมื่อพิมพ์เขียวของเมืองถูกร่างขึ้นแล้ว
-
9:52 - 9:55ถึงตอนนั้นมันคงสายเกินไป
-
9:55 - 9:58ถ้าออกแบบเมืองโดยคำนึงถึงคนพิการตาบอด
-
9:58 - 10:03ก็จะเป็นเมืองที่มีทางเดินถนนที่สมบูรณ์
-
10:03 - 10:05เต็มไปด้วยตัวเลือกต่างๆ
-
10:05 - 10:08ให้เลือกเต็มถนนไปหมด
-
10:08 - 10:10ถ้าออกแบบเมืองโดยคำนึงถึงคนพิการตาบอด
-
10:10 - 10:14ทางเดินเท้าจะเดินง่าย คาดเดาง่าย
-
10:14 - 10:16ระยะห่างระหว่างตึกจะสมดุล
-
10:16 - 10:19ระหว่างคนกับรถยนต์
-
10:19 - 10:23แต่จริงแล้ว ใครต้องการรถยนต์
-
10:23 - 10:27ถ้าคุณตาบอด คุณไม่ขับรถนะ (เสียงหัวเราะ)
-
10:27 - 10:30ไม่มีใครชอบคนตาบอดขับรถ (เสียงหัวเราะ)
-
10:30 - 10:33ถ้าออกแบบเมืองโดยคำนึงถึงคนตาบอด
-
10:33 - 10:35ออกแบบเมืองที่มีความยั่งยืน
-
10:35 - 10:39เดินทางสะดวก เชื่อมต่อระบบขนส่งมวลชนดี
-
10:39 - 10:41สามารถเดินทางไปไหนต่อไหนได้สะดวก
-
10:41 - 10:44ในทั้งเมืองและข้างเคียง
-
10:44 - 10:46ถ้าออกแบบเมืองโดยคำนึงถึงคนตาบอด
-
10:46 - 10:48จะสร้างงานได้มากมาย
-
10:48 - 10:50คนตาบอดก็อยากทำงานนะ
-
10:50 - 10:52อยากมีรายได้เลี้ยงชีพ
-
10:52 - 10:55ดังนั้น การออกแบบเมืองให้คนพิการทางสายตา
-
10:55 - 10:57ควรจะตระหนักถึง
-
10:57 - 11:00การมีส่วนร่วมมากชึ้น
-
11:00 - 11:04เท่าเทียมมากขึ้น เป็นของทุก ๆ คนมากขึ้น
-
11:04 - 11:06จากประสบการณ์ที่ผมเคยมองเห็น
-
11:06 - 11:08มันฟังดูเป็นเมืองที่น่าจะเจ๋งมาก
-
11:08 - 11:11สำหรับคนพิการทางสายตา หรือพิการทางอื่น
-
11:11 - 11:14หรือ ความพิการที่คุณยังไม่รู้ตัว
-
11:14 - 11:16ขอบคุณครับ
-
11:16 - 11:20(เสียงปรบมือ)
- Title:
- การออกแบบที่ใส่ใจคนพิการทางสายตา
- Speaker:
- คริส ดาวนีย์ (Chris Downey)
- Description:
-
เมืองที่ถูกออกแบบเพื่อคนพิการทางสายตาจะเป็นอย่างไร ? คริส ดาวนีย์ คือสถาปนิกที่สูญเสียการมองเห็นอย่างกะทันหันในปี 2008 เขาเปรียบเทียบชีวิตในซานฟรานซิสโกที่เขารัก ก่อนและหลังที่จะตาบอด และแสดงให้เห็นว่าการออกแบบที่คำนึงถึงคนพิการทางสายการจะช่วยเปิดโอกาสให้ชีวิตของเขาและจะช่วยให้ชีวิตคนทั่วไปดีขึ้นได้อย่างไร
- Video Language:
- English
- Team:
- closed TED
- Project:
- TEDTalks
- Duration:
- 11:40
Kanawat Senanan approved Thai subtitles for Design with the blind in mind | ||
Kanawat Senanan edited Thai subtitles for Design with the blind in mind | ||
Kanawat Senanan edited Thai subtitles for Design with the blind in mind | ||
Kanawat Senanan edited Thai subtitles for Design with the blind in mind | ||
Kanawat Senanan edited Thai subtitles for Design with the blind in mind | ||
Kanawat Senanan edited Thai subtitles for Design with the blind in mind | ||
Sakunphat Jirawuthitanant accepted Thai subtitles for Design with the blind in mind | ||
Sakunphat Jirawuthitanant edited Thai subtitles for Design with the blind in mind |