อ่านภาษาดนตรี - ทิม แฮนเซน (Tim Hansen)
-
0:06 - 0:08เมื่อเราชมหรือเล่นบทภาพยนตร์
-
0:08 - 0:09เรารู้ว่านักแสดง
-
0:09 - 0:11อาจท่องบทกันมาก่อนแล้ว
-
0:11 - 0:14ซึ่งมันจะบอกพวกเขาให้รู้ว่า
จะพูดอะไรและเมื่อไร -
0:15 - 0:18ผลงานดนตรีที่ถูกประพันธ์ไว้
ทำหน้าที่ด้วยหลักการอย่างเดียวกัน -
0:19 - 0:20ในสาระสำคัญ
-
0:20 - 0:23มันบอกผู้บรรเลงว่า
ต้องเล่นอะไรและเล่นตอนไหน -
0:24 - 0:26หรือพูดให้มีสุนทรีย์หน่อย
มันมีความแตกต่างอย่างมาก -
0:26 - 0:29ระหว่างเบโธเฟน และจัสติน บีเบอร์
-
0:29 - 0:31แต่ศิลปินทั้งสองนั้น
-
0:31 - 0:33ใช้พื้นฐานเดียวกัน
ในการสร้างสรรค์ผลงานดนตรี -
0:33 - 0:34โน้ต
-
0:34 - 0:37และแม้ว่าผลลัพธ์อาจฟังดูค่อนข้างซับซ้อน
-
0:37 - 0:40ตรรกะที่อยู่เบื้องหลังโน้ตดนตรี
ค่อนข้างที่จะตรงไปตรงมา -
0:40 - 0:41มาลองดูกัน
-
0:41 - 0:44ถึงสัญลักษณ์พื้นฐานทางดนตรี
-
0:44 - 0:47และปฏิสัมพันธ์ของมันเพื่อสร้างผลงานศิลป์
-
0:48 - 0:51ดนตรีถูกประพันธ์ขึ้นบนบรรทัดห้าเส้น
ที่ทอดตัวขวางหน้ากระดาษ -
0:52 - 0:54เส้นทั้งห้านี้เรียกว่า บรรทัดห้าเส้น
-
0:54 - 0:56และบรรทัดห้าเส้นก็ทำหน้าที่ในสองแกน
-
0:56 - 0:57บนและล่าง
-
0:58 - 0:59กับ ซ้ายและขวา
-
0:59 - 1:01แกนบนล่างบอกผู้บรรเลง
-
1:01 - 1:04ถึงระดับเสียงของโน้ต
หรือว่าต้องเล่นโน้ตอะไร -
1:04 - 1:05และแกนซ้ายขวา
-
1:05 - 1:08บอกผู้บรรเลงถึงจังหวะของโน้ต
-
1:08 - 1:09หรือว่าจะเล่นมันเมื่อไร
-
1:09 - 1:11ลองมาเริ่มกันที่ระดับเสียง
-
1:11 - 1:13เพื่อช่วยให้เราเข้าใจ
เรามาใช้เปียโนกัน -
1:13 - 1:16แต่ระบบนี้ใช้งานได้กับเครื่องดนตรี
เกือบทุกชนิดที่คุณรู้จัก -
1:17 - 1:19ในวัฒนธรรมดนตรีตะวันตก
-
1:19 - 1:22ระดับเสียงมีชื่อตามตัวอักษรเจ็ดตัวแรก
-
1:22 - 1:24เอ บี ซี
-
1:24 - 1:26ดี อี เอฟ และจี
-
1:26 - 1:29หลังจากนั้น มันก็จะเริ่มต้นใหม่เป็นวงจร
-
1:29 - 1:31เอ บี ซี ดี อี เอฟ จี
-
1:31 - 1:32เอ บี ซี ดี อี เอฟ จี
-
1:32 - 1:33และอื่น ๆ
-
1:34 - 1:36แต่ระดับเสียงได้ชื่อเหล่านี้มาจากไหน
-
1:36 - 1:38ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณเล่นระดับเสียง เอฟ
-
1:38 - 1:39และจากนั้นก็เล่นเสียงเอฟอีกตัวหนึ่ง
-
1:40 - 1:41ที่สูงกว่าหรือต่ำกว่าบนเปียโน
-
1:41 - 1:43คุณจะสังเกตว่า
เสียงของพวกมันค่อนข้างคล้ายกัน -
1:43 - 1:45เมื่อเปรียบเทียบกับ ยกตัวอย่างเช่น เสียง บี
-
1:46 - 1:47ลองกลับไปที่เส้นขวางกัน
-
1:47 - 1:50ทุกเส้นและทุกช่องว่างระหว่างเส้น
-
1:50 - 1:51แสดงเสียงที่แตกต่างกัน
-
1:52 - 1:55ถ้าหากเรานำตัวโน้ตไปวางไว้บนเส้น
หรือในช่องว่างเหล่านี้ -
1:55 - 1:58พวกมันจะบอกผู้บรรเลงให้เล่นที่ระดับเสียงนั้น
-
1:58 - 2:00ยิ่งตัวโน้ตถูกวางไว้บนเส้นที่สูงขึ้นไปเท่าไร
-
2:00 - 2:01ระดับเสียงของมันก็ยิ่งสูงขึ้นไปเท่านั้น
-
2:01 - 2:04แต่มันยังมีระดับเสียงอีกมากมาย
-
2:04 - 2:07กว่าเก้าเส้นและช่องที่เรามี
-
2:07 - 2:08ยกตัวอย่างเช่น ในแกรนด์เปียโน
-
2:08 - 2:10คุณสามารถเล่นโน้ตได้แตกต่างกัน
ถึง 88 เสียง -
2:10 - 2:13แล้วเราจับเอาโน้ตทั้ง 88 ตัวนั้น
มาวางลงในบรรทัดห้าเส้นนี้ได้อย่างไร -
2:14 - 2:16เราใช้บางอย่างที่เรียกว่า กุญแจ
-
2:16 - 2:19เครื่องหมายหน้าตาประหลาด
ที่ถูกวางไว้ที่ตอนต้นของทุกบรรทัดห้าเส้น -
2:19 - 2:21ซึ่งทำหน้าที่เหมือนจุดอ้างอิง
-
2:21 - 2:23ที่บอกคุณถึงเส้นหรือช่องจำเพาะ
-
2:23 - 2:26ที่สอดคล้องกับโน้ตใดโน้ตหนึ่ง
บนเครื่องดนตรีของคุณ -
2:26 - 2:28ถ้าคุณอยากเล่นโน้ตที่ไม่ได้อยู่บนบรรทัดห้าเส้น
-
2:28 - 2:30คุณจะต้องสร้างและลากเส้นเล็ก ๆ ขึ้นมาเพิ่ม
-
2:30 - 2:31มันเรียกว่า เส้นน้อย
-
2:31 - 2:33และวางโน้ตเอาไว้บนนั้น
-
2:33 - 2:36ถ้าคุณต้องลากเส้นน้อยมากมาย
จนมันชวนสับสน -
2:36 - 2:39คุณต้องเปลี่ยนมาใช้กุญแจอีกตัว
-
2:40 - 2:42เพื่อที่จะบอกผู้บรรเลงว่า
ต้องเล่นโน้ตตัวนั้นเมื่อไร -
2:42 - 2:44สองส่วนสำคัญที่ทำหน้าที่ดังกล่าว
-
2:44 - 2:46คือเคาะและจังหวะ
-
2:46 - 2:48เคาะในเพลงคือ
-
2:48 - 2:50ด้วยตัวของมันเองแล้ว
เป็นอะไรที่ค่อนข้างน่าเบื่อ -
2:50 - 2:52มันมีเสียงประมาณนี้
-
2:52 - 2:54(เสียงติ๊ก)
-
2:54 - 2:56สังเกตว่ามันไม่ได้เปลี่ยนแปลง
-
2:56 - 2:58มันแค่เล่นต่อ ๆ กันไปไม่มีปัญหา
-
2:58 - 2:59มันอาจช้า
-
3:01 - 3:02หรือเร็ว
-
3:02 - 3:04หรือ เอาเข้าจริง ๆ มันจะเป็นอย่างไรก็
ได้ตามที่คุณต้องการ -
3:04 - 3:07ประเด็นก็คือ คล้ายกับเข็มวินาทีของนาฬิกา
-
3:07 - 3:09ที่แบ่งหนึ่งนาทีออกเป็นหกสิบวินาที
-
3:09 - 3:12โดยที่แต่ละวินาทีมีความยาว
เท่า ๆ กับวินาทีอื่น ๆ -
3:12 - 3:14เคาะก็แบ่งเพลง
-
3:14 - 3:17ออกเป็นส่วนเล็ก ๆ ด้วยส่วนเวลา
ที่มีความยาวเท่า ๆ กัน -
3:17 - 3:18เคาะ
-
3:19 - 3:21ด้วยเคาะที่คงที่เป็นพื้นฐาน
-
3:21 - 3:22เราสามารถเติมจังหวะ
เข้าไปให้ระดับเสียงของเราได้ -
3:22 - 3:24และนั่นก็เป็นตอนที่ดนตรีได้เกิดขึ้น
-
3:25 - 3:27นี่เป็นโน้ตหนึ่งในสี่
-
3:27 - 3:29มันเป็นหนึ่งพื้นฐานทีสุดของจังหวะ
-
3:29 - 3:30และมันมีค่าหนึ่งเคาะ
-
3:31 - 3:33นี่คือโน้ตหนึ่งในสอง
และมันมีค่าสองเคาะ -
3:33 - 3:35โน้ตตัวเต็มนี้มีค่าสี่เคาะ
-
3:35 - 3:37และเจ้าพวกตัวเล็กนี่คือโน้ตหนึ่งในแปด
-
3:37 - 3:39ที่แต่ละตัวมีค่าครึ่งเคาะ
-
3:39 - 3:42"ยอดเลย" คุณพูด "นั่นหมายความว่าอย่างไรกัน"
-
3:42 - 3:45คุณอาจสังเกตแล้วว่า
ตลอดความยาวของบรรทัดห้าเส้น -
3:45 - 3:47มีเส้นเล็ก ๆ ที่แบ่งมันเป็นส่วนย่อย
-
3:47 - 3:49นั่นคือเส้นกั้นห้อง
-
3:49 - 3:51และเราเรียกแต่ละส่วนว่า ห้อง
-
3:52 - 3:54ตอนเริ่มต้นเพลง
-
3:54 - 3:55หลังจากกุญแจ
-
3:55 - 3:57จะมีบางสิ่งที่เรียกว่า เครื่องหมายกำหนดจังหวะ
-
3:57 - 4:00ซึ่งบอกผู้บรรเลงว่า
จะมีกี่เคาะต่อหนึ่งห้อง -
4:00 - 4:02นี่บอกว่า มีสองเคาะในแต่ละห้อง
-
4:02 - 4:04นี่บอกว่า มีสามเคาะ
-
4:04 - 4:06นี่บอกว่า มีสี่ และอื่น ๆ
-
4:06 - 4:08ตัวเลขที่อยู่ด้านล่าง
บอกเราว่าโน้ตชนิดใด -
4:08 - 4:10ที่จะถูกใช้เป็นหน่วยพื้นฐานของเคาะ
-
4:11 - 4:12หนึ่งหมายถึงโน้ตตัวเต็ม
-
4:13 - 4:14สองหมายถึงโน้ตหนึ่งในสอง
-
4:14 - 4:16สี่หมายถึงโน้ตหนึ่งในสี่
-
4:16 - 4:18และแปดหมายถึงโน้ตหนึ่งในแปด
และอื่น ๆ -
4:18 - 4:19ฉะนั้น ตัวกำกับเวลานี้
-
4:19 - 4:22บอกเราว่ามีโน้ตหนึ่งในสี่อยู่สี่ตัวในแต่ละห้อง
-
4:22 - 4:24หนึ่ง สอง สาม สี่
-
4:24 - 4:26หนึ่ง สอง สาม สี่
-
4:26 - 4:27และอื่น ๆ
-
4:27 - 4:28แต่อย่างที่พูดถึงก่อนหน้านี้
-
4:28 - 4:30ถ้าหากเราคงความเร็วของเคาะเอาไว้
-
4:30 - 4:31มันก็คงน่าเบื่อ
-
4:31 - 4:34ฉะนั้นเราก็จะแทนที่โน้ตหนึ่งในสี่
ด้วยจังหวะที่แตกต่างออกไป -
4:35 - 4:37ลองสังเกตว่า แม้ว่าจำนวนของโน้ต
-
4:37 - 4:38ในแต่ละห้องจะเปลี่ยนไป
-
4:38 - 4:41จำนวนทั้งหมดของเคาะในแต่ละห้อง
ก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลง -
4:42 - 4:45ฉะนั้น เพลงที่เราแต่งขึ้นมา
จะมีทำนองเป็นอย่างไรนะ -
4:45 - 4:48(เสียงดนตรี)
-
4:48 - 4:51อ้า ฟังดูไม่เลว แต่บางทีมันบางไปหน่อย
ใช่ไหม -
4:51 - 4:54ลองมาเติมเครื่องดนตรีอื่น
ที่มีระดับเสียงและจังหวะของมันดู -
4:54 - 4:57ตอนนี้มันก็ฟังดูเป็นเพลงมากขึ้นแล้ว
-
4:58 - 5:01แน่นอน มันต้องใช้การฝึกฝน
เพื่อที่จะอ่านภาษาดนตรีนี้ได้อย่างรวดเร็ว -
5:01 - 5:03และเล่นมันด้วยเครื่องดนตรีได้อย่างที่เราอ่าน
-
5:03 - 5:05แต่ด้วยเวลาและความอดทน
-
5:05 - 5:06คุณอาจเป็น เบโธเฟน คนต่อไป
-
5:06 - 5:08หรือจัสติน บีเบอร์
- Title:
- อ่านภาษาดนตรี - ทิม แฮนเซน (Tim Hansen)
- Speaker:
- Tim Hansen
- Description:
-
คล้ายกันกับบทของนักแสดง โน้ตดนตรีบอกนักดนตรีว่าจะเล่นอะไร (ระดับเสียง) และตอนไหน (จังหวะ) โน้ตดนตีอาจดูซับซ้อน แต่เมื่อคุณเข้าใจสัญลักษณ์อย่าง โน้ต ห้อง และกุญแจ คุณก็พร้อมแล้วที่จะบรรเลง ทิม แฮมเซน สอนพื้นฐานดนตรีที่จำเป็นต่อการอ่านโน้ตดนตรี
- Video Language:
- English
- Team:
closed TED
- Project:
- TED-Ed
- Duration:
- 05:24
![]() |
Kelwalin Dhanasarnsombut approved Thai subtitles for How to read music | |
![]() |
Pitipa Chongwatpol accepted Thai subtitles for How to read music | |
![]() |
Pitipa Chongwatpol declined Thai subtitles for How to read music | |
![]() |
Pitipa Chongwatpol edited Thai subtitles for How to read music | |
![]() |
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for How to read music |