ผู้แจ้งเบาะแสพลิกโฉมประวัติศาสตร์ได้อย่างไร
-
0:02 - 0:04มีใครบ้างที่เคยพบเห็นอะไรบางอย่าง
-
0:04 - 0:07แล้วรู้สึกว่าเราควรจะพูดมันออกไป
แต่ก็ไม่ได้ทำ -
0:09 - 0:11ถึงฉันจะไม่เห็นใครยกมือเลย
-
0:11 - 0:14แต่ฉันแน่ใจว่า
มันเคยเกิดขึ้นกับบางคนในที่นี้มาก่อน -
0:14 - 0:17จริง ๆ แล้ว ถ้าเราถามคำถามนี้
กับพนักงานในองค์กร -
0:17 - 0:2146% ของพวกเขาจะตอบว่า
เคยเห็นอะไรบางอย่าง -
0:21 - 0:23แต่ก็เลือกที่จะไม่พูดอะไร
-
0:23 - 0:26ดังนั้น หากคุณยกมือ
หรือแอบ ๆ ยกมือ -
0:26 - 0:28ไม่ต้องกังวลไป
คุณไม่ได้เป็นแบบนั้นคนเดียว -
0:28 - 0:31คำพูดทำนองว่า "ถ้าคุณพบอะไร..."
ไปจนถึง "...พูดอะไรบ้างสิ" -
0:31 - 0:33มีให้เราได้ยินอยู่เสมอ
-
0:33 - 0:37แม้กระทั่งเวลาที่คุณขับรถอยู่บนถนน
คุณก็ยังเห็นป้ายโฆษณาแบบนี้ -
0:37 - 0:40ที่ขอให้คุณช่วยแจ้งเบาะแสอาชญากรรม
โดยไม่ต้องเปิดเผยตัวตน -
0:40 - 0:43แต่ฉันก็ยังเห็นหลาย ๆ คนไม่สบายใจ
-
0:43 - 0:45ที่จะออกมาพูดความจริง
-
0:45 - 0:48ฉันเป็นอาจารย์สอนบัญชี
และทำวิจัยเรื่องการทุจริต -
0:48 - 0:52ในชั้นเรียนของฉัน
ฉันสนับสนุนให้นักเรียนแจ้งข้อมูล -
0:52 - 0:53หากพวกเขาพบเห็นอะไร
-
0:53 - 0:57พูดง่ายๆก็คือ ฉันสนับสนุนให้นักเรียน
เป็น "ผู้แจ้งเบาะแส" นั่นเอง -
0:57 - 1:00แต่ถ้าฉันจะไม่หลอกตัวเองแล้วหล่ะก็
-
1:00 - 1:04สิ่งที่ฉันบอกนักศึกษาไปนั้น
ที่จริงแล้วขัดความรู้สึกของฉันเองมาก -
1:04 - 1:05และนี่คือเหตุผลว่าทำไม
-
1:06 - 1:09"ผู้แจ้งเบาะแส" กำลังถูกคุกคาม
-
1:10 - 1:13พาดหัวข่าวแบบนี้มีอยู่ตลอดเวลา
-
1:14 - 1:16ทำให้หลาย ๆ คน
ไม่อยากเป็น "ผู้แจ้งเบาะแส" -
1:16 - 1:19เพราะกลัวจะถูกเอาคืน
-
1:19 - 1:22เช่น ถูกลดตำแหน่งหน้าที่
ถูกขู่จะเอาชีวิต -
1:22 - 1:24ถูกโยกย้าย
-
1:24 - 1:26หรือตกงานแบบถาวร
-
1:26 - 1:30การเลือกเป็นผู้แจ้งเบาะแส
เป็นการตัดสินใจที่ลำบาก -
1:30 - 1:32เพราะคนอื่น ๆ
จะสงสัยในความภักดีของพวกเขา -
1:32 - 1:35รวมทั้งตั้งคำถามเกี่ยวกับแรงจูงใจ
หรือความน่าเชื่อถือของพวกเขาด้วย -
1:35 - 1:39ดังนั้น ในฐานะอาจารย์ที่ห่วงใยลูกศิษย์
-
1:39 - 1:41ทำไมฉันถึงสนับสนุนให้เขาเป็น
"ผู้แจ้งเบาะแส" -
1:41 - 1:44ในเมื่อฉันรู้ว่า
คนทั้งโลกจะคิดอย่างไรกับพวกเขา -
1:45 - 1:48วันหนึ่ง ฉันกำลังเตรียมตัวสอนนักเรียน
-
1:48 - 1:49ในหัวข้อ "ผู้แจ้งเบาะแส"
-
1:49 - 1:51และฉันกำลังเขียนบทความลงนิตยสาร ฟอร์บส์
-
1:51 - 1:54ในชื่อ "เวลส์ฟาร์โก
กับการแจ้งเบาะแสของชาวมิลเลนเนียม -
1:54 - 1:55เราจะสอนพวกเขาอย่างไร"
-
1:55 - 1:58ขณะที่ฉันกำลังเขียนบทความ
และก็อ่านข้อมูลต่าง ๆ -
1:58 - 2:00ฉันรู้สึกโกรธ
-
2:00 - 2:04สิ่งที่ทำให้ฉันโกรธ
-
2:04 - 2:06คือความจริงที่ว่า
พนักงานที่แจ้งเบาะแสนั้น -
2:06 - 2:08สุดท้ายถูกไล่ออก
-
2:08 - 2:09ซึ่งมันทำให้ฉันนึกถึง
-
2:10 - 2:12สิ่งที่ฉันสอนนักเรียนไป
-
2:12 - 2:17ถ้านักเรียนของฉัน
เป็นพนักงานของเวลส์ฟาร์โกหล่ะ ? -
2:17 - 2:21ถ้าพวกเขาแจ้งเบาะแส ก็จะถูกไล่ออก
-
2:21 - 2:23แต่ถ้าพวกเขาไม่ทำ
-
2:23 - 2:25นั่งทับความจริง
ทั้ง ๆ ที่ตัวเองก็รู้เรื่อง -
2:25 - 2:28พวกเขาก็ต้องมีความผิดตามกฎหมาย
-
2:28 - 2:30ในฐานะที่รู้อยู่แก่ใจ
-
2:30 - 2:33แต่ไม่ทำอะไร
-
2:33 - 2:36ซึ่งมันเป็นความผิดอาญาด้วย
-
2:36 - 2:39แล้วเราจะทำอย่างไรกันดี
-
2:39 - 2:43ฉันก็เหมือนกับทุกคน
ที่เข้าใจว่า ผู้แจ้งเบาะแส -
2:43 - 2:44ได้ให้อะไรกับสังคมบ้าง
-
2:44 - 2:48การทุจริตส่วนใหญ่ ก็เจอได้เพราะเบาะแส
-
2:48 - 2:51การทุจริต ถูกพบผ่านการแจ้งเบาะแส
สูงถึง 42% -
2:51 - 2:53เมื่อเทียบกับวิธีอื่น ๆ
-
2:53 - 2:55สูงกว่าการตรวจสอบโดยผู้บริหาร
และโดยผู้ตรวจสอบจากภายนอก -
2:55 - 2:58ถ้าเราลองนึกถึงกรณีทุจริตสำคัญ ๆ
-
2:58 - 2:59หรือกรณีที่โด่งดังในอดีต
-
2:59 - 3:02ก็มักจะเกี่ยวข้องกับผู้แจ้งเบาะแสเสมอ
-
3:02 - 3:05คดีวอเตอร์เกต
พบโดยผู้แจ้งเบาะแส -
3:05 - 3:08เอนรอน ก็พบโดยผู้แจ้งเบาะแส
-
3:08 - 3:12แล้วใครจะลืมได้ว่าคดี เบอร์นาร์ด แมดดอฟ
ก็เจอโดยผู้แจ้งเบาะแส -
3:12 - 3:17มันต้องอาศัยความกล้าหาญเป็นอย่างมาก
ในการออกมาพูดความความจริง -
3:17 - 3:20แต่พอคนเรานึกถึงผู้แจ้งเบาะแส
-
3:20 - 3:23เราก็มักจะนึกถึงคำอื่น ๆ อีก
-
3:23 - 3:24"หนอนบ่อนไส้"
-
3:25 - 3:27"งูเห่า"
-
3:27 - 3:29"คนทรยศ"
-
3:29 - 3:31"คนขี้ฟ้อง" "ตลบตะแลง"
-
3:31 - 3:35นี่เอาเฉพาะคำที่ฉันพอจะพูดได้บนเวทีนี้
-
3:35 - 3:36เวลาฉันไม่มีสอน
-
3:36 - 3:39ฉันจะเดินทางไปทั่วประเทศ
เพื่อสัมภาษณ์ผู้กระทำผิด -
3:39 - 3:41ผู้แจ้งเบาะแส และเหยื่อของการทุจริต
-
3:41 - 3:44เพราะฉันต้องการทำความเข้าใจ
ว่าอะไรผลักดันพวกเขา -
3:44 - 3:47และเอาประสบการณ์เหล่านั้นมาสอนในชั้นเรียน
-
3:48 - 3:52การสัมภาษณ์ผู้แจ้งเบาะแส
คือสิ่งที่คาใจฉันมาก -
3:52 - 3:53สาเหตุที่ฉันรู้สึกคาใจ
-
3:53 - 3:55เพราะพวกเขาทำให้ฉัน
สงสัยในความกล้าหาญของตัวเอง -
3:55 - 3:59ถ้าฉันมีโอกาส
ฉันจะแจ้งเบาะแสจริง ๆ เหรอ -
3:59 - 4:02และนี่เป็นตัวอย่างสองสามเรื่อง
ที่ฉันอยากจะเล่า -
4:02 - 4:03นี่คือ แมรี
-
4:03 - 4:07แมรี วิลลิงแฮม เป็นผู้แจ้งเบาะแส
จาก มหาวิทยาลัยแห่งรัฐนอร์ท แคโรไลนา -
4:07 - 4:10ที่เมืองแชเปิลฮิลล์
นี่เป็นกรณีการทุจริตในสถานศึกษา -
4:10 - 4:14แมรี เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการเรียนรู้
ที่มหาวิทยาลัยแห่งนี้ -
4:14 - 4:17เธอทำงานกับนักศึกษา
ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นโควตานักกีฬา -
4:17 - 4:19ในระหว่างที่ทำงานกับนักศึกษา
เธอสังเกตเห็นอะไรบางอย่าง -
4:19 - 4:22นั่นคือรายงานที่นักศึกษาทำส่งนั้น
มีคุณภาพสูง -
4:22 - 4:25ซึ่งสูงกว่าทักษะในการอ่านของพวกเขาอยู่มาก
-
4:25 - 4:27เธอก็เริ่มที่จะหาข้อมูล
-
4:27 - 4:29และเธอพบว่า
มันมีฐานข้อมูล -
4:29 - 4:33ที่มีรายงานเตรียมไว้ให้
นักศึกษาโควต้านักกีฬาเอาไปส่ง -
4:33 - 4:35เธอยังพบอีกว่า
เพื่อนร่วมงานของเธอบางคน -
4:35 - 4:41ได้จัดชั้นเรียนปลอม ๆ ให้นักศึกษากลุ่มนี้
ผ่านเกณฑ์และสามารถลงแข่งขันได้ -
4:41 - 4:44เมื่อ แมรี พบเรื่องพวกนี้
เธอรู้สึกตกตะลึง -
4:44 - 4:47สิ่งที่เธอทำก็คือเข้าไปพบหัวหน้าของเธอ
-
4:47 - 4:49แต่พวกเขาไม่ทำอะไร
-
4:49 - 4:53เธอลองแจ้งไปที่ฝ่ายบริหารของมหาวิทยาลัย
-
4:53 - 4:54พวกเขาก็ยังไม่ทำอะไร
-
4:54 - 4:57คุณจะทำอย่างไรถ้าไม่มีใครฟังคุณเลย
-
4:57 - 4:58คุณก็เขียน บล็อก
-
4:58 - 5:00แมรีตัดสินใจเขียนเรื่องนี้ลง บล็อก
-
5:00 - 5:03บล็อก ของเธอกลายเป็น ไวรัล ภายใน 24 ชม.
-
5:03 - 5:05และเธอก็ได้รับการติดต่อโดยนักข่าว
-
5:05 - 5:07ซึ่งเมื่อเธอคุยกับนักข่าว
-
5:08 - 5:09ตัวตนของเธอก็ถูกเปิดเผย
-
5:09 - 5:11ทุกคนรู้ว่าเป็นเธอ
-
5:11 - 5:14เมื่อทุกคนรู้ว่าเป็นเธอ
เธอก็ถูกลดตำแหน่ง -
5:15 - 5:18ถูกขู่ฆ่า
เพียงพราะเรื่องกีฬาในระดับอุดมศึกษานี่แหละ -
5:18 - 5:22แมรีไม่ได้ทำอะไรผิด
เธอไม่ได้สมรู้ร่วมคิดในการทุจริต -
5:22 - 5:24เธอคิดแค่ว่าเธอพูดแทนนักศึกษา
-
5:24 - 5:27ที่ไม่มีปากมีเสียง
-
5:27 - 5:29แต่ความภักดีของเธอกลับถูกตั้งคำถาม
-
5:29 - 5:32ความน่าเชื่อถือ และแรงจูงใจของเธอก็เช่นกัน
-
5:33 - 5:37ผู้แจ้งเบาะแส
ไม่ควรที่จะประสบชะดากรรม -
5:37 - 5:39โดยถูกลดตำแหน่ง
หรือถูกขู่เอาชีวิต -
5:39 - 5:43ในปี 2002 ผู้แจ้งเบาะแสที่กล้าหาญสามท่าน
-
5:43 - 5:46ได้ขึ้นหน้าปกนิตยสาร ไทม์
-
5:46 - 5:49เพราะพวกเค้ากล้าที่จะพูดความจริง
-
5:49 - 5:51งานวิจัยชิ้นหนึ่งแสดงให้เห็นว่า
-
5:51 - 5:54เพียง 22% ของผู้แจ้งเบาะแส
จะเผชิญกับการแก้แค้น -
5:54 - 6:00แปลว่าส่วนใหญ่ผู้แจ้งเบาะแส
จะไม่ถูกเอาคืน -
6:00 - 6:01ซึ่งนั่นทำให้ฉันพอจะมีความหวัง
-
6:02 - 6:04นี่คือ เคท สวอนสัน
-
6:04 - 6:08เธอเป็นเจ้าหน้าที่ของเมืองดิกซัน
และปัจจุบันเกษียณแล้ว -
6:08 - 6:12วันหนึ่งเธอทำงานตามปกติ
-
6:12 - 6:16แต่บังเอิญไปพบเหตุการณ์ต้องสงสัยเข้า
-
6:16 - 6:18ตอนนั้นเป็นข่วงปลายเดือน
-
6:18 - 6:20เคท กำลังทำรายงานเงินคงคลังของเมืองอยู่
-
6:21 - 6:25โดยปกติ หัวหน้าของเธอ ริตา ครันด์เวลล์
จะให้รายการบัญชี และบอกเธอว่า -
6:25 - 6:28"เคท โทรหาธนาคารนะ
และขอเฉพาะรายการบัญชีพวกนี้" -
6:28 - 6:29ซึ่ง เคท ก็จะทำตามนั้น
-
6:29 - 6:31แต่วันนี้พิเศษหน่อย
-
6:31 - 6:33ริตา ไม่อยู่ที่ทำงาน เคท ก็ค่อนข้างยุ่ง
-
6:33 - 6:38เธอก็เลยโทรศัพท์หาธนาคาร และบอกว่า
"ช่วยแฟกซ์ทุกบัญชีมาให้ฉันเลยนะ" -
6:38 - 6:42เมื่อเธอได้รับแฟกซ์จากธนาคาร เธอก็พบว่า
-
6:42 - 6:44มีบัญชีหนึ่งที่มีเงินหมุนเวียน
-
6:44 - 6:45ซึ่งเธอไม่เคยรู้จักมาก่อน
-
6:45 - 6:49มันเป็นบัญชีที่ ริตา เป็นคนดูแล
-
6:49 - 6:53เคท ดูข้อมูลที่ได้มา
แล้วก็แจ้งให้หัวหน้าทราบ -
6:53 - 6:55ซึ่งในตอนนั้นก็คือ นายกเทศมนตรี เบอร์ค
-
6:55 - 6:59และนั่น ก็นำไปสู่การสืบสวนขนานใหญ่
ที่ยาวนานกว่า 6 เดือน -
6:59 - 7:04ผลสรุปคือ ริตา ครันด์เวลล์ ได้ยักยอกทรัพย์
-
7:04 - 7:09ไปเป็นมูลค่ากว่า 53 ล้านเหรียญ
มาตลอด 20 ปีที่ผ่านมา -
7:09 - 7:12และ เคท ก็แค่บังเอิญไปเจอมันเข้า
-
7:13 - 7:16เคท เป็นวีรสตรี
-
7:16 - 7:18ที่จริง ฉันมีโอกาสได้สัมภาษณ์ เคท
-
7:18 - 7:21ในสารคดีของฉันที่ชื่อว่า
"ม้าทุกตัวของราชินี" -
7:21 - 7:23เคท ไม่ได้หวังว่าจะเป็นที่รู้จัก
-
7:24 - 7:27จริง ๆ แล้วเธอไม่ยอมให้ฉันสัมภาษณ์
อยู่นานทีเดียว -
7:27 - 7:30แต่สุดท้ายก็ทนการต้ามตื๊อ
เชิงกลยุทธ์ของฉันไม่ได้ -
7:30 - 7:31(หัวเราะ)
-
7:31 - 7:33เธอต้องการแค่ความยุติธรรม
ไม่ใช่ชื่อเสียง -
7:34 - 7:35ถ้าไม่มี เคท
-
7:35 - 7:38เราจะมีโอกาสได้รู้ว่ามีการทุจริตนี้
เกิดขึ้นเหรอ? -
7:39 - 7:42ยังจำบทความในนิตยสาร ฟอร์บส์ ได้ใช่มั๊ยคะ
-
7:42 - 7:44บทความที่ฉันกำลังเขียนในระหว่างเตรียมสอน
-
7:44 - 7:47พอบทความนั้น ได้ตีพิมพ์ออกไป
สิ่งที่น่าทึ่งก็เกิดขึ้น -
7:47 - 7:52ฉันเริ่มได้รับ อีเมล์
จากผู้แจ้งเบาะแสทั่วโลก -
7:52 - 7:56ซึ่งในระหว่างที่ฉันอ่าน
และตอบอีเมล์เหล่านี้ -
7:56 - 7:58ฉันก็พบลักษณะบางอย่างที่คล้ายคลึงกัน
-
7:58 - 7:59ซึ่งก็คือทุกคน ๆ จะบอกว่า
-
8:00 - 8:04"ฉันเป็นคนแจ้งเบาะแส
และทุกคนก็เกลียดหน้าฉันกันหมด" -
8:04 - 8:06บ้างก็บอกว่า
"ฉันโดนไล่ออกนะแต่รู้มั๊ยว่า -
8:06 - 8:09ฉันก็จะทำแบบเดิมอีก ถ้ามีโอกาส"
-
8:10 - 8:13และในระหว่างที่ฉันอ่านอีเมล์ทั้งหมดนี้
-
8:13 - 8:16ฉันก็คิดว่า "แล้วเราจะสอนอะไรนักเรียนดี"
-
8:16 - 8:19เมื่อฉันรวมรวมข้อมูลที่ได้มา
ฉันก็ได้เรียนรู้ว่า -
8:19 - 8:22เราต้องรู้จักมีความหวัง
-
8:22 - 8:24ผู้แจ้งเบาะแสะเป็นคนที่มีความหวัง
-
8:24 - 8:26แม้ว่าคนส่วนใหญ่จะคิดอีกแบบ
-
8:26 - 8:30คนพวกนี้ ไม่ใช่พนักงานที่เกลียด
หรือมีความขัดแย้งกับองค์กร -
8:30 - 8:34แต่พวกเขามีความหวัง
ที่ผลักดันให้เขาทำในสิ่งที่ควรทำ -
8:34 - 8:37เราต้องรู้จักรับผิดชอบ
-
8:37 - 8:39ผู้แจ้งเบาะแส เป็นคนที่มีความรับผิดชอบ
-
8:39 - 8:41ซึ่งนั่นคือความหวังดี
ที่พวกเขามีต่อองค์กร -
8:41 - 8:43และทำให้พวกเขากล้าพูดออกมา
-
8:44 - 8:45ผู้แจ้งเบาะแส เป็นคนถ่อมตัว
-
8:45 - 8:49พวกเค้าไม่ได้อยากจะมีชื่อเสียง
แต่อยากได้ความยุติธรรม -
8:49 - 8:52และสุดท้าย
เราต้องปลูกฝังความกล้าหาญ -
8:52 - 8:54ผู้แจ้งเบาะแส มีความกล้าหาญ
-
8:54 - 8:57บ่อยครั้ง ที่พวกเขา
-
8:57 - 9:00ประเมินผลกระทบที่เกิด
กับครอบครัวของเขาต่ำไป -
9:00 - 9:05แต่สิ่งที่พวกเขามักจะบอกก็คือ
มันยากลำบากกว่าที่จะเก็บงำความจริงไว้ -
9:06 - 9:09และจากที่พูดมาทั้งหมด
ฉันอยากจะแนะนำให้คุณรู้จักคน ๆ หนึ่ง -
9:09 - 9:10ปีเตอร์ บักซ์ตัน
-
9:11 - 9:17เขาอายุ 27 ปี เป็นพนักงานของ
หน่วยงานสาธารณสุขแห่งสหรัฐอเมริกา -
9:17 - 9:21เขาถูกจ้างให้ทำหน้าที่สัมภาษณ์ผู้ป่วย
-
9:21 - 9:24ที่เป็นโรคติดต่อทางเพศ
-
9:24 - 9:26ซึ่งในระหว่างการทำงาน
-
9:26 - 9:30เขาได้พบการศึกษาทางคลินิกฉบับหนึ่ง
-
9:30 - 9:34ซึ่งเป็นการวิจัยเกี่ยวกับการลุกลาม
ของโรคซิฟิลสที่ยังไม่ได้รับการรักษา -
9:34 - 9:37โดยทำการศึกษา
ชายชาว แอฟริกัน-อเมริกัน -
9:37 - 9:38จำนวน 600 คน
-
9:38 - 9:39ที่ถูกชักชวนให้เข้าร่วมงานวิจัย
-
9:40 - 9:43เพื่อแลกกับการได้รับการวินิจฉัยโรคฟรี
หรือได้รับประกันฌาปนกิจศพ -
9:43 - 9:47ซึ่งในระหว่างที่การศึกษาวิจัยนี้ดำเนินไป
-
9:47 - 9:52ยาเพนนิซิลิน ก็ได้ถูกค้นพบขึ้น
ซึ่งยานี้สามารถใช้รักษาโรคซิฟิลิสได้ -
9:52 - 9:54สิ่งที่ ปีเตอร์ พบคือ
-
9:54 - 9:58ผู้ป่วยที่เข้ารับการวิจัยนี้
กลับไม่ได้เคยรับยาเพนนิซิลิน -
9:58 - 10:00เพื่อนำไปรักษาโรคที่พวกเขาเป็น
-
10:00 - 10:01โดยที่พวกเขาเองก็ไม่ทราบเรื่องเลย
-
10:01 - 10:07คล้าย ๆ กับกรณีของ แมรี
คือ ปีเตอร์ พยายามจะรายงานให้หัวหน้าทราบ -
10:07 - 10:08แต่ก็ไม่มีใครสนใจ
-
10:08 - 10:11ปีเตอร์ รู้สึกว่าเรื่องนี้ไม่ยุติธรรมเลย
-
10:11 - 10:12เขาจึงพยายามรายงานอีกครั้ง
-
10:12 - 10:16จนท้ายที่สุด เขาไปเล่าให้ผู้สื่อข่าวฟัง
คล้าย ๆ กับเรื่องของ แมรี -
10:16 - 10:20และในปี 1972 บนหน้าหนึ่งของ
หนังสือพิมพ์ นิวยอร์คไทมส์ -
10:20 - 10:24"เหยื่อของโรคซิฟิลิสในการวิจัยของ สหรัฐฯ
ไม่ได้รับการรักษามานานกว่า 40 ปี" -
10:26 - 10:30ปัจจุบันเรื่องนี้พวกเรารู้จักกันดีในนาม
การทดลองเรื่องซิฟิลิสที่สถาบันทัสคีจี -
10:30 - 10:32ที่มี ปีเตอร์ เป็นผู้แจ้งเบาะแส
-
10:32 - 10:36แล้วเกิดอะไรขึ้นกับชาย 600 คน
ที่เข้าร่วมวิจัยนี้ในตอนแรก ? -
10:36 - 10:3928 คนเสียชีวิตจากโรคซิฟิลิส
-
10:39 - 10:43100 คนเสียชีวิตจากอาการแทรกซ้อนของโรค
-
10:43 - 10:44ภรรยาของชายเหล่านี้จำนวน 40 คนติดเชื้อ
-
10:44 - 10:47ลูก ๆ ของพวกเขาอีก 10 คน
เป็นโรคนี้โดยกำเนิด -
10:47 - 10:50ตัวเลขเหล่านี้จะเป็นเช่นไร
-
10:50 - 10:54หากไม่มีความกล้าหาญของ ปีเตอร์
-
10:54 - 10:56พวกเราทุกคนต่างเป็นหนี้บุญคุณ ปีเตอร์
-
10:56 - 10:59ถ้าเรารู้จักใครซักคนในการศึกษาวิจัยนี้
-
10:59 - 11:02ที่วันนี้เรามีกฎหมายคุ้มครองทางการแพทย์
-
11:02 - 11:04ก็เพราะการกระทำที่กล้าหาญ
ของ ปีเตอร์ นั่นเอง -
11:05 - 11:07ขอฉันถามอีกหนึ่งคำถาม
-
11:07 - 11:10ซึ่งก็เคยถามไปก่อนหน้านี้ว่า
-
11:10 - 11:13มีใครบ้างที่เคยใช้คำนี้ ?
-
11:13 - 11:16"คนขี้ฟ้อง", "หนอนบ่อนไส้"
-
11:16 - 11:17"คนปากโป้ง"
-
11:17 - 11:19"งูเห่า"
-
11:19 - 11:21"ตลบตะแลง"
-
11:21 - 11:22"คนปากโป้ง"
-
11:23 - 11:24มีใครมั๊ย ?
-
11:28 - 11:31ก่อนที่คุณจะใช้คำพูดนี้อีกครั้ง
-
11:31 - 11:33ฉันอยากให้คุณคิดเสียหน่อยว่า
-
11:33 - 11:36นั่นอาจจะเป็น แมรี, ปีเตอร์ หรือ เคท อีกคน
-
11:37 - 11:40คุณอาจจะเป็นคนที่เปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์
-
11:40 - 11:43หรือพวกเค้า
อาจจะเปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์ของคุณ -
11:43 - 11:44ขอบคุณค่ะ
-
11:44 - 11:48(เสียงปรบมือ)
- Title:
- ผู้แจ้งเบาะแสพลิกโฉมประวัติศาสตร์ได้อย่างไร
- Speaker:
- Kelly Richmond Pope
- Description:
-
เคลลี ริชมอนด์ โปป เป็นนักวิจัยเรื่องการทุจริต และเป็นผู้สร้างภาพยนตร์สารคดี เธอได้แบ่งปันเรื่องราวเกี่ยวกับผู้แจ้งเบาะแสการทุจริตคนสำคัญ ๆ ในประวัติศาสตร์ และอธิบายว่าคนเหล่านี้ได้เปิดโปงข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงสังคมได้อย่างไร รวมทั้งอธิบายว่าเหตุใดคนเหล่านี้สมควรจะได้รับการปกป้อง และความน่าเชื่อถือจากคนในสังคมด้วย
- Video Language:
- English
- Team:
closed TED
- Project:
- TEDTalks
- Duration:
- 12:01
![]() |
Unnawut Leepaisalsuwanna approved Thai subtitles for How whistle-blowers shape history | |
![]() |
Unnawut Leepaisalsuwanna edited Thai subtitles for How whistle-blowers shape history | |
![]() |
Thanwa Wathahong accepted Thai subtitles for How whistle-blowers shape history | |
![]() |
Thanwa Wathahong edited Thai subtitles for How whistle-blowers shape history | |
![]() |
Thanwa Wathahong edited Thai subtitles for How whistle-blowers shape history | |
![]() |
Thanwa Wathahong edited Thai subtitles for How whistle-blowers shape history | |
![]() |
Thanwa Wathahong edited Thai subtitles for How whistle-blowers shape history | |
![]() |
Thanwa Wathahong edited Thai subtitles for How whistle-blowers shape history |