มีใครบ้างที่เคยพบเห็นอะไรบางอย่าง
แล้วรู้สึกว่าเราควรจะพูดมันออกไป
แต่ก็ไม่ได้ทำ
ถึงฉันจะไม่เห็นใครยกมือเลย
แต่ฉันแน่ใจว่า
มันเคยเกิดขึ้นกับบางคนในที่นี้มาก่อน
จริง ๆ แล้ว ถ้าเราถามคำถามนี้
กับพนักงานในองค์กร
46% ของพวกเขาจะตอบว่า
เคยเห็นอะไรบางอย่าง
แต่ก็เลือกที่จะไม่พูดอะไร
ดังนั้น หากคุณยกมือ
หรือแอบ ๆ ยกมือ
ไม่ต้องกังวลไป
คุณไม่ได้เป็นแบบนั้นคนเดียว
คำพูดทำนองว่า "ถ้าคุณพบอะไร..."
ไปจนถึง "...พูดอะไรบ้างสิ"
มีให้เราได้ยินอยู่เสมอ
แม้กระทั่งเวลาที่คุณขับรถอยู่บนถนน
คุณก็ยังเห็นป้ายโฆษณาแบบนี้
ที่ขอให้คุณช่วยแจ้งเบาะแสอาชญากรรม
โดยไม่ต้องเปิดเผยตัวตน
แต่ฉันก็ยังเห็นหลาย ๆ คนไม่สบายใจ
ที่จะออกมาพูดความจริง
ฉันเป็นอาจารย์สอนบัญชี
และทำวิจัยเรื่องการทุจริต
ในชั้นเรียนของฉัน
ฉันสนับสนุนให้นักเรียนแจ้งข้อมูล
หากพวกเขาพบเห็นอะไร
พูดง่ายๆก็คือ ฉันสนับสนุนให้นักเรียน
เป็น "ผู้แจ้งเบาะแส" นั่นเอง
แต่ถ้าฉันจะไม่หลอกตัวเองแล้วหล่ะก็
สิ่งที่ฉันบอกนักศึกษาไปนั้น
ที่จริงแล้วขัดความรู้สึกของฉันเองมาก
และนี่คือเหตุผลว่าทำไม
"ผู้แจ้งเบาะแส" กำลังถูกคุกคาม
พาดหัวข่าวแบบนี้มีอยู่ตลอดเวลา
ทำให้หลาย ๆ คน
ไม่อยากเป็น "ผู้แจ้งเบาะแส"
เพราะกลัวจะถูกเอาคืน
เช่น ถูกลดตำแหน่งหน้าที่
ถูกขู่จะเอาชีวิต
ถูกโยกย้าย
หรือตกงานแบบถาวร
การเลือกเป็นผู้แจ้งเบาะแส
เป็นการตัดสินใจที่ลำบาก
เพราะคนอื่น ๆ
จะสงสัยในความภักดีของพวกเขา
รวมทั้งตั้งคำถามเกี่ยวกับแรงจูงใจ
หรือความน่าเชื่อถือของพวกเขาด้วย
ดังนั้น ในฐานะอาจารย์ที่ห่วงใยลูกศิษย์
ทำไมฉันถึงสนับสนุนให้เขาเป็น
"ผู้แจ้งเบาะแส"
ในเมื่อฉันรู้ว่า
คนทั้งโลกจะคิดอย่างไรกับพวกเขา
วันหนึ่ง ฉันกำลังเตรียมตัวสอนนักเรียน
ในหัวข้อ "ผู้แจ้งเบาะแส"
และฉันกำลังเขียนบทความลงนิตยสาร ฟอร์บส์
ในชื่อ "เวลส์ฟาร์โก
กับการแจ้งเบาะแสของชาวมิลเลนเนียม
เราจะสอนพวกเขาอย่างไร"
ขณะที่ฉันกำลังเขียนบทความ
และก็อ่านข้อมูลต่าง ๆ
ฉันรู้สึกโกรธ
สิ่งที่ทำให้ฉันโกรธ
คือความจริงที่ว่า
พนักงานที่แจ้งเบาะแสนั้น
สุดท้ายถูกไล่ออก
ซึ่งมันทำให้ฉันนึกถึง
สิ่งที่ฉันสอนนักเรียนไป
ถ้านักเรียนของฉัน
เป็นพนักงานของเวลส์ฟาร์โกหล่ะ ?
ถ้าพวกเขาแจ้งเบาะแส ก็จะถูกไล่ออก
แต่ถ้าพวกเขาไม่ทำ
นั่งทับความจริง
ทั้ง ๆ ที่ตัวเองก็รู้เรื่อง
พวกเขาก็ต้องมีความผิดตามกฎหมาย
ในฐานะที่รู้อยู่แก่ใจ
แต่ไม่ทำอะไร
ซึ่งมันเป็นความผิดอาญาด้วย
แล้วเราจะทำอย่างไรกันดี
ฉันก็เหมือนกับทุกคน
ที่เข้าใจว่า ผู้แจ้งเบาะแส
ได้ให้อะไรกับสังคมบ้าง
การทุจริตส่วนใหญ่ ก็เจอได้เพราะเบาะแส
การทุจริต ถูกพบผ่านการแจ้งเบาะแส
สูงถึง 42%
เมื่อเทียบกับวิธีอื่น ๆ
สูงกว่าการตรวจสอบโดยผู้บริหาร
และโดยผู้ตรวจสอบจากภายนอก
ถ้าเราลองนึกถึงกรณีทุจริตสำคัญ ๆ
หรือกรณีที่โด่งดังในอดีต
ก็มักจะเกี่ยวข้องกับผู้แจ้งเบาะแสเสมอ
คดีวอเตอร์เกต
พบโดยผู้แจ้งเบาะแส
เอนรอน ก็พบโดยผู้แจ้งเบาะแส
แล้วใครจะลืมได้ว่าคดี เบอร์นาร์ด แมดดอฟ
ก็เจอโดยผู้แจ้งเบาะแส
มันต้องอาศัยความกล้าหาญเป็นอย่างมาก
ในการออกมาพูดความความจริง
แต่พอคนเรานึกถึงผู้แจ้งเบาะแส
เราก็มักจะนึกถึงคำอื่น ๆ อีก
"หนอนบ่อนไส้"
"งูเห่า"
"คนทรยศ"
"คนขี้ฟ้อง" "ตลบตะแลง"
นี่เอาเฉพาะคำที่ฉันพอจะพูดได้บนเวทีนี้
เวลาฉันไม่มีสอน
ฉันจะเดินทางไปทั่วประเทศ
เพื่อสัมภาษณ์ผู้กระทำผิด
ผู้แจ้งเบาะแส และเหยื่อของการทุจริต
เพราะฉันต้องการทำความเข้าใจ
ว่าอะไรผลักดันพวกเขา
และเอาประสบการณ์เหล่านั้นมาสอนในชั้นเรียน
การสัมภาษณ์ผู้แจ้งเบาะแส
คือสิ่งที่คาใจฉันมาก
สาเหตุที่ฉันรู้สึกคาใจ
เพราะพวกเขาทำให้ฉัน
สงสัยในความกล้าหาญของตัวเอง
ถ้าฉันมีโอกาส
ฉันจะแจ้งเบาะแสจริง ๆ เหรอ
และนี่เป็นตัวอย่างสองสามเรื่อง
ที่ฉันอยากจะเล่า
นี่คือ แมรี
แมรี วิลลิงแฮม เป็นผู้แจ้งเบาะแส
จาก มหาวิทยาลัยแห่งรัฐนอร์ท แคโรไลนา
ที่เมืองแชเปิลฮิลล์
นี่เป็นกรณีการทุจริตในสถานศึกษา
แมรี เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการเรียนรู้
ที่มหาวิทยาลัยแห่งนี้
เธอทำงานกับนักศึกษา
ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นโควตานักกีฬา
ในระหว่างที่ทำงานกับนักศึกษา
เธอสังเกตเห็นอะไรบางอย่าง
นั่นคือรายงานที่นักศึกษาทำส่งนั้น
มีคุณภาพสูง
ซึ่งสูงกว่าทักษะในการอ่านของพวกเขาอยู่มาก
เธอก็เริ่มที่จะหาข้อมูล
และเธอพบว่า
มันมีฐานข้อมูล
ที่มีรายงานเตรียมไว้ให้
นักศึกษาโควต้านักกีฬาเอาไปส่ง
เธอยังพบอีกว่า
เพื่อนร่วมงานของเธอบางคน
ได้จัดชั้นเรียนปลอม ๆ ให้นักศึกษากลุ่มนี้
ผ่านเกณฑ์และสามารถลงแข่งขันได้
เมื่อ แมรี พบเรื่องพวกนี้
เธอรู้สึกตกตะลึง
สิ่งที่เธอทำก็คือเข้าไปพบหัวหน้าของเธอ
แต่พวกเขาไม่ทำอะไร
เธอลองแจ้งไปที่ฝ่ายบริหารของมหาวิทยาลัย
พวกเขาก็ยังไม่ทำอะไร
คุณจะทำอย่างไรถ้าไม่มีใครฟังคุณเลย
คุณก็เขียน บล็อก
แมรีตัดสินใจเขียนเรื่องนี้ลง บล็อก
บล็อก ของเธอกลายเป็น ไวรัล ภายใน 24 ชม.
และเธอก็ได้รับการติดต่อโดยนักข่าว
ซึ่งเมื่อเธอคุยกับนักข่าว
ตัวตนของเธอก็ถูกเปิดเผย
ทุกคนรู้ว่าเป็นเธอ
เมื่อทุกคนรู้ว่าเป็นเธอ
เธอก็ถูกลดตำแหน่ง
ถูกขู่ฆ่า
เพียงพราะเรื่องกีฬาในระดับอุดมศึกษานี่แหละ
แมรีไม่ได้ทำอะไรผิด
เธอไม่ได้สมรู้ร่วมคิดในการทุจริต
เธอคิดแค่ว่าเธอพูดแทนนักศึกษา
ที่ไม่มีปากมีเสียง
แต่ความภักดีของเธอกลับถูกตั้งคำถาม
ความน่าเชื่อถือ และแรงจูงใจของเธอก็เช่นกัน
ผู้แจ้งเบาะแส
ไม่ควรที่จะประสบชะดากรรม
โดยถูกลดตำแหน่ง
หรือถูกขู่เอาชีวิต
ในปี 2002 ผู้แจ้งเบาะแสที่กล้าหาญสามท่าน
ได้ขึ้นหน้าปกนิตยสาร ไทม์
เพราะพวกเค้ากล้าที่จะพูดความจริง
งานวิจัยชิ้นหนึ่งแสดงให้เห็นว่า
เพียง 22% ของผู้แจ้งเบาะแส
จะเผชิญกับการแก้แค้น
แปลว่าส่วนใหญ่ผู้แจ้งเบาะแส
จะไม่ถูกเอาคืน
ซึ่งนั่นทำให้ฉันพอจะมีความหวัง
นี่คือ เคท สวอนสัน
เธอเป็นเจ้าหน้าที่ของเมืองดิกซัน
และปัจจุบันเกษียณแล้ว
วันหนึ่งเธอทำงานตามปกติ
แต่บังเอิญไปพบเหตุการณ์ต้องสงสัยเข้า
ตอนนั้นเป็นข่วงปลายเดือน
เคท กำลังทำรายงานเงินคงคลังของเมืองอยู่
โดยปกติ หัวหน้าของเธอ ริตา ครันด์เวลล์
จะให้รายการบัญชี และบอกเธอว่า
"เคท โทรหาธนาคารนะ
และขอเฉพาะรายการบัญชีพวกนี้"
ซึ่ง เคท ก็จะทำตามนั้น
แต่วันนี้พิเศษหน่อย
ริตา ไม่อยู่ที่ทำงาน เคท ก็ค่อนข้างยุ่ง
เธอก็เลยโทรศัพท์หาธนาคาร และบอกว่า
"ช่วยแฟกซ์ทุกบัญชีมาให้ฉันเลยนะ"
เมื่อเธอได้รับแฟกซ์จากธนาคาร เธอก็พบว่า
มีบัญชีหนึ่งที่มีเงินหมุนเวียน
ซึ่งเธอไม่เคยรู้จักมาก่อน
มันเป็นบัญชีที่ ริตา เป็นคนดูแล
เคท ดูข้อมูลที่ได้มา
แล้วก็แจ้งให้หัวหน้าทราบ
ซึ่งในตอนนั้นก็คือ นายกเทศมนตรี เบอร์ค
และนั่น ก็นำไปสู่การสืบสวนขนานใหญ่
ที่ยาวนานกว่า 6 เดือน
ผลสรุปคือ ริตา ครันด์เวลล์ ได้ยักยอกทรัพย์
ไปเป็นมูลค่ากว่า 53 ล้านเหรียญ
มาตลอด 20 ปีที่ผ่านมา
และ เคท ก็แค่บังเอิญไปเจอมันเข้า
เคท เป็นวีรสตรี
ที่จริง ฉันมีโอกาสได้สัมภาษณ์ เคท
ในสารคดีของฉันที่ชื่อว่า
"ม้าทุกตัวของราชินี"
เคท ไม่ได้หวังว่าจะเป็นที่รู้จัก
จริง ๆ แล้วเธอไม่ยอมให้ฉันสัมภาษณ์
อยู่นานทีเดียว
แต่สุดท้ายก็ทนการต้ามตื๊อ
เชิงกลยุทธ์ของฉันไม่ได้
(หัวเราะ)
เธอต้องการแค่ความยุติธรรม
ไม่ใช่ชื่อเสียง
ถ้าไม่มี เคท
เราจะมีโอกาสได้รู้ว่ามีการทุจริตนี้
เกิดขึ้นเหรอ?
ยังจำบทความในนิตยสาร ฟอร์บส์ ได้ใช่มั๊ยคะ
บทความที่ฉันกำลังเขียนในระหว่างเตรียมสอน
พอบทความนั้น ได้ตีพิมพ์ออกไป
สิ่งที่น่าทึ่งก็เกิดขึ้น
ฉันเริ่มได้รับ อีเมล์
จากผู้แจ้งเบาะแสทั่วโลก
ซึ่งในระหว่างที่ฉันอ่าน
และตอบอีเมล์เหล่านี้
ฉันก็พบลักษณะบางอย่างที่คล้ายคลึงกัน
ซึ่งก็คือทุกคน ๆ จะบอกว่า
"ฉันเป็นคนแจ้งเบาะแส
และทุกคนก็เกลียดหน้าฉันกันหมด"
บ้างก็บอกว่า
"ฉันโดนไล่ออกนะแต่รู้มั๊ยว่า
ฉันก็จะทำแบบเดิมอีก ถ้ามีโอกาส"
และในระหว่างที่ฉันอ่านอีเมล์ทั้งหมดนี้
ฉันก็คิดว่า "แล้วเราจะสอนอะไรนักเรียนดี"
เมื่อฉันรวมรวมข้อมูลที่ได้มา
ฉันก็ได้เรียนรู้ว่า
เราต้องรู้จักมีความหวัง
ผู้แจ้งเบาะแสะเป็นคนที่มีความหวัง
แม้ว่าคนส่วนใหญ่จะคิดอีกแบบ
คนพวกนี้ ไม่ใช่พนักงานที่เกลียด
หรือมีความขัดแย้งกับองค์กร
แต่พวกเขามีความหวัง
ที่ผลักดันให้เขาทำในสิ่งที่ควรทำ
เราต้องรู้จักรับผิดชอบ
ผู้แจ้งเบาะแส เป็นคนที่มีความรับผิดชอบ
ซึ่งนั่นคือความหวังดี
ที่พวกเขามีต่อองค์กร
และทำให้พวกเขากล้าพูดออกมา
ผู้แจ้งเบาะแส เป็นคนถ่อมตัว
พวกเค้าไม่ได้อยากจะมีชื่อเสียง
แต่อยากได้ความยุติธรรม
และสุดท้าย
เราต้องปลูกฝังความกล้าหาญ
ผู้แจ้งเบาะแส มีความกล้าหาญ
บ่อยครั้ง ที่พวกเขา
ประเมินผลกระทบที่เกิด
กับครอบครัวของเขาต่ำไป
แต่สิ่งที่พวกเขามักจะบอกก็คือ
มันยากลำบากกว่าที่จะเก็บงำความจริงไว้
และจากที่พูดมาทั้งหมด
ฉันอยากจะแนะนำให้คุณรู้จักคน ๆ หนึ่ง
ปีเตอร์ บักซ์ตัน
เขาอายุ 27 ปี เป็นพนักงานของ
หน่วยงานสาธารณสุขแห่งสหรัฐอเมริกา
เขาถูกจ้างให้ทำหน้าที่สัมภาษณ์ผู้ป่วย
ที่เป็นโรคติดต่อทางเพศ
ซึ่งในระหว่างการทำงาน
เขาได้พบการศึกษาทางคลินิกฉบับหนึ่ง
ซึ่งเป็นการวิจัยเกี่ยวกับการลุกลาม
ของโรคซิฟิลสที่ยังไม่ได้รับการรักษา
โดยทำการศึกษา
ชายชาว แอฟริกัน-อเมริกัน
จำนวน 600 คน
ที่ถูกชักชวนให้เข้าร่วมงานวิจัย
เพื่อแลกกับการได้รับการวินิจฉัยโรคฟรี
หรือได้รับประกันฌาปนกิจศพ
ซึ่งในระหว่างที่การศึกษาวิจัยนี้ดำเนินไป
ยาเพนนิซิลิน ก็ได้ถูกค้นพบขึ้น
ซึ่งยานี้สามารถใช้รักษาโรคซิฟิลิสได้
สิ่งที่ ปีเตอร์ พบคือ
ผู้ป่วยที่เข้ารับการวิจัยนี้
กลับไม่ได้เคยรับยาเพนนิซิลิน
เพื่อนำไปรักษาโรคที่พวกเขาเป็น
โดยที่พวกเขาเองก็ไม่ทราบเรื่องเลย
คล้าย ๆ กับกรณีของ แมรี
คือ ปีเตอร์ พยายามจะรายงานให้หัวหน้าทราบ
แต่ก็ไม่มีใครสนใจ
ปีเตอร์ รู้สึกว่าเรื่องนี้ไม่ยุติธรรมเลย
เขาจึงพยายามรายงานอีกครั้ง
จนท้ายที่สุด เขาไปเล่าให้ผู้สื่อข่าวฟัง
คล้าย ๆ กับเรื่องของ แมรี
และในปี 1972 บนหน้าหนึ่งของ
หนังสือพิมพ์ นิวยอร์คไทมส์
"เหยื่อของโรคซิฟิลิสในการวิจัยของ สหรัฐฯ
ไม่ได้รับการรักษามานานกว่า 40 ปี"
ปัจจุบันเรื่องนี้พวกเรารู้จักกันดีในนาม
การทดลองเรื่องซิฟิลิสที่สถาบันทัสคีจี
ที่มี ปีเตอร์ เป็นผู้แจ้งเบาะแส
แล้วเกิดอะไรขึ้นกับชาย 600 คน
ที่เข้าร่วมวิจัยนี้ในตอนแรก ?
28 คนเสียชีวิตจากโรคซิฟิลิส
100 คนเสียชีวิตจากอาการแทรกซ้อนของโรค
ภรรยาของชายเหล่านี้จำนวน 40 คนติดเชื้อ
ลูก ๆ ของพวกเขาอีก 10 คน
เป็นโรคนี้โดยกำเนิด
ตัวเลขเหล่านี้จะเป็นเช่นไร
หากไม่มีความกล้าหาญของ ปีเตอร์
พวกเราทุกคนต่างเป็นหนี้บุญคุณ ปีเตอร์
ถ้าเรารู้จักใครซักคนในการศึกษาวิจัยนี้
ที่วันนี้เรามีกฎหมายคุ้มครองทางการแพทย์
ก็เพราะการกระทำที่กล้าหาญ
ของ ปีเตอร์ นั่นเอง
ขอฉันถามอีกหนึ่งคำถาม
ซึ่งก็เคยถามไปก่อนหน้านี้ว่า
มีใครบ้างที่เคยใช้คำนี้ ?
"คนขี้ฟ้อง", "หนอนบ่อนไส้"
"คนปากโป้ง"
"งูเห่า"
"ตลบตะแลง"
"คนปากโป้ง"
มีใครมั๊ย ?
ก่อนที่คุณจะใช้คำพูดนี้อีกครั้ง
ฉันอยากให้คุณคิดเสียหน่อยว่า
นั่นอาจจะเป็น แมรี, ปีเตอร์ หรือ เคท อีกคน
คุณอาจจะเป็นคนที่เปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์
หรือพวกเค้า
อาจจะเปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์ของคุณ
ขอบคุณค่ะ
(เสียงปรบมือ)