< Return to Video

เมลิซซ่า มาร์แชล (Melissa Marshall): พูดเรื่องเนิร์ด ๆ กับฉันสิ

  • 0:01 - 0:04
    5 ปีที่แล้ว ฉันได้มีประสบการณ์
  • 0:04 - 0:07
    ที่น่าจะไม่ต่างกับสิ่งที่ "อลิซ" เจอใน "อลิซในดินแดนมหัสจรรย์"
  • 0:07 - 0:10
    มหาลัย Penn State ได้ทาบทามให้ดิฉัน
  • 0:10 - 0:13
    ไปสอนเรื่องการสื่อสาร ให้กับนักเรียนวิศวะฯ
  • 0:13 - 0:16
    และฉันก็กลัวมาก (หัวเราะ)
  • 0:16 - 0:19
    กลัวมาก ๆ ซะด้วย ฉันกลัวเด็กนักเรียนฉลาด ๆ พวกนี้
  • 0:19 - 0:23
    กับหนังสือเล่มเบอเริ่ม และก็ภาษาเฉพาะทางที่พวกเขาใช้
  • 0:23 - 0:26
    แต่เมื่อฉันได้เริ่มพูดคุยกับพวกเขา
  • 0:26 - 0:29
    ฉันก็รู้สึกได้เลยว่าอลิซรู้สึกอย่างไร ตอนที่เธอ
  • 0:29 - 0:33
    มองเข้าไปในรูกระต่ายและเห็นโลกมหัศจรรย์ข้างใน
  • 0:33 - 0:36
    นั่นล่ะเป็นความรู้สึกที่ฉันมี ตอนได้พูดคุย
  • 0:36 - 0:39
    กับนักเรียนกลุ่มนั้น ฉันตื่นเต้นกับไอเดีย
  • 0:39 - 0:44
    ที่พวกเขามี และอยากให้คนอื่น ๆ ได้มีประสบการณ์ลักษณะที่ฉันเจอกับตัวเองนี้เช่นกัน
  • 0:44 - 0:46
    และฉันเชื่อว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดที่เข้าถึงประสบการณ์นี้ได้
  • 0:46 - 0:48
    คือการสื่อสารที่ดี
  • 0:48 - 0:51
    มันจำเป็นอย่างมาก ที่เราต้องมีการสื่อสารที่ดีกับ
  • 0:51 - 0:54
    นักวิทยาศาสตร์และวิศวกรเพื่อที่จะเปลี่ยนโลกของเรา
  • 0:54 - 0:56
    นักวิทยาศาสตร์และวิศวกรคือกลุ่มคน
  • 0:56 - 1:00
    ที่ทำให้เราก้าวข้ามอุปสรรคต่าง ๆ ตั้งแต่เรื่องพลังงาน
  • 1:00 - 1:03
    ไปจนถึงสิ่งแวดล้อม, การแพทย์, และอื่น ๆ
  • 1:03 - 1:06
    แต่ถ้าเราไม่รู้และไม่เข้าใจอะไรเลยเกี่ยวกับเรื่องพวกนี้
  • 1:06 - 1:09
    งานทั้งหมดนี้ก็คงไม่อาจสำเร็จได้ และฉันเชื่อว่ามันเป็นความรับผิดชอบของเรา
  • 1:09 - 1:12
    ในฐานะคนที่ไม่ใช่นักวิทยาศาสตร์ที่จะต้องมีการสื่อสารโต้ตอบกัน
  • 1:12 - 1:15
    แต่เช่นกัน การสนทนาดี ๆ เหล่านี้ก็ไม่อาจเกิดขึ้นหากนักวิทยาศาสตร์
  • 1:15 - 1:18
    และวิศวกรเหล่านี้ไม่เชิญให้เราเข้าไปเห็นดินแดนมหัศจรรย์ของพวกเขา
  • 1:18 - 1:24
    เพราะฉะนั้นนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรทุกท่าน ได้โปรด พูดเนิร์ด ๆ กับเราเถอะ
  • 1:24 - 1:26
    ฉันอยากจะแชร์เคล็ดนิด ๆ ให้พวกคุณสามารถ
  • 1:26 - 1:30
    ทำให้พวกเราเห็นได้ว่าศาสตร์ของพวกคุณ
  • 1:30 - 1:33
    มันเซ็กซี่และน่าติดตามแค่ไหน
  • 1:33 - 1:37
    คำถามแรกที่คุณต้องตอบเรา: มันทำไมล่ะ?
  • 1:37 - 1:40
    คุณต้องบอกว่าศาสตร์ของคุณมันเกี่ยวข้องกับเราอย่างไร
  • 1:40 - 1:43
    อย่าบอกเราแค่ว่าคุณกำลังเรียนเรื่อง กระดูกเนื้อโปร่ง
  • 1:43 - 1:47
    แต่ให้เล่าว่ากำลังเรียนเรื่องกระดูกเนื้อโปร่ง ซึ่งก็คือส่วนที่เหมือนโครงสร้างตะข่ายในกระดูกของเรา
  • 1:47 - 1:52
    เพราะมันเป็นสิ่งสำคัญในการเข้าใจและรักษาโรคกระดูกพรุน
  • 1:52 - 1:56
    และเวลาที่คุณอธิบาย ควรระวังการใช้ศัพท์เฉพาะ
  • 1:56 - 2:00
    ศัพท์เฉพาะเป็นสิ่งที่ขวางกั้นไม่ให้เข้าใจไอเดียของคุณ
  • 2:00 - 2:03
    แน่อยู่แล้วว่าคุณสามารถพูดว่า "ข้อมูลเชิงพื้นที่และเวลา" แต่ทำไมไม่พูดว่า
  • 2:03 - 2:07
    "ระยะห่างและเวลา" ซึ่งเป็นสิ่งที่พวกเราเข้าถึงได้ง่ายกว่ามาก
  • 2:07 - 2:12
    และการทำให้ไอเดียเข้าถึงได้ง่าย ไม่เหมือนกับการตัดทอนข้อมูลออก
  • 2:12 - 2:14
    ไอสไตน์เคยกล่าวไว้ว่า "ทำให้ทุกอย่าง...
  • 2:14 - 2:18
    ให้เรียบง่ายที่สุดเท่าที่ทำได้ แต่อย่าง่ายเกิน"
  • 2:18 - 2:21
    คุณสามารถสื่อสารศาสตร์ของคุณได้ชัดเจน
  • 2:21 - 2:23
    โดยไม่ต้องแลกกับใจความของไอเดียที่น้อยลง
  • 2:23 - 2:27
    อีกอย่างที่คุณควรพิจารณา ก็คือการเอาตัวอย่างกับเรื่อง
  • 2:27 - 2:29
    และสิ่งเปรียบเทียบมาใช้ เพราะวิธีเหล่านี้ทำให้เรามีส่วนร่วม
  • 2:29 - 2:31
    และทำให้เราตื่นเต้นในเรื่องของคุณได้
  • 2:31 - 2:37
    และเวลาคุณนำเสนองาน โปรดเอาลิสต์หัวข้อออกเถอะ
  • 2:37 - 2:41
    เคยสงสัยไหมคะว่าทำไมภาษาอังกฤษเขาเรียกมันว่า "บูเล็ต พอยท์" (หัวเราะ)
  • 2:41 - 2:44
    เพราะว่าบูเล็ต แปลว่ากระสุน และกระสุนมีว่าฆ่า
  • 2:44 - 2:46
    มันจะฆ่าการนำเสนองานของคุณ
  • 2:46 - 2:50
    สไลด์แบบนี้นอกจากจะน่าเบื่อแล้ว มันยังต้องพึ่งพา
  • 2:50 - 2:54
    การใช้ภาษาในสมองของเราอีกด้วย มันทำให้เรารู้สึกว่ามัน "เยอะ" เกินไป
  • 2:54 - 2:58
    เราลองทำแบบสไลด์นี้แทน นี่คือสไลด์โดย Genevieve Brown
  • 2:58 - 3:01
    มันได้ผลมากกว่าเยอะ มันแสดงให้เห็นถึงโครงสร้างพิเศษ
  • 3:01 - 3:04
    ของกระดูกเนื้อโปร่ง ที่แข็งแรง และเป็น
  • 3:04 - 3:07
    แรงบันดาลใจในดีไซน์และก่อสร้างหอไอเฟล
  • 3:07 - 3:11
    และเคล็ดลับของมันอยู่ที่ใช้ประโยคที่อ่านง่ายอันเดียว
  • 3:11 - 3:14
    ไว้เป็นหลัก เมื่อผู้ชมเริ่มหลงเนื้อหา
  • 3:14 - 3:17
    และใส่รูปภาพที่ทำให้พวกเราสัมผัส...
  • 3:17 - 3:20
    และสร้างความเข้าใจที่ลึกซึ้งขึ้น
  • 3:20 - 3:21
    กับสิ่งที่เรากำลังพยายามอธิบาย
  • 3:21 - 3:24
    ฉันคิดว่าสิ่งเหล่านี้คือเคล็ดลับที่ช่วยให้
  • 3:24 - 3:28
    เราทุกคนสามารถเปิดประตูไปเห็นดินแดนมหัศจรรย์
  • 3:28 - 3:30
    ที่เต็มไปด้วยวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม
  • 3:30 - 3:32
    และวิศวกรเหล่านี้ที่ฉันได้ร่วมงานด้วย ได้สอนให้ฉัน
  • 3:32 - 3:36
    สามารถเข้าถึงเนิร์ดที่อยู่ลึก ๆ ในตัวของฉัน
  • 3:36 - 3:39
    ฉันอยากสรุปเรื่องนี้ในรูปของสมการเหลือเกิน (หัวเราะ)
  • 3:39 - 3:43
    เอาศาสตร์ของคุณ ลบด้วยลิสต์หัวข้อ
  • 3:43 - 3:46
    และลบด้วยศัพท์เฉพาะ หารด้วยความเกี่ยวข้อง
  • 3:46 - 3:49
    ซึ่งหมายความว่าแชร์สิ่งที่เกี่ยวข้องกับผู้ฟัง
  • 3:49 - 3:51
    และคูณด้วยความหลงใหลที่คุณมีต่อ
  • 3:51 - 3:54
    งานที่คุณทุ่มเททำ
  • 3:54 - 3:56
    ทั้งหมดนี้เท่ากับผลตอบรับที่ยอดเยี่ยม
  • 3:56 - 3:59
    ที่เต็มไปด้วยความเข้าใจ
  • 3:59 - 4:02
    เพราะฉะนั้นแล้ว ท่านนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรทั้งหลาย คุณได้คำตอบ
  • 4:02 - 4:07
    ของสมการข้อนี้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และแน่นอน พูดเนิร์ด ๆ กัน! (หัวเราะ)
  • 4:07 - 4:13
    ขอบคุณค่ะ (ตบมือ)
Title:
เมลิซซ่า มาร์แชล (Melissa Marshall): พูดเรื่องเนิร์ด ๆ กับฉันสิ
Speaker:
Melissa Marshall
Description:

เมลิซซ่า มาร์แชลมีคำแนะนำให้แก่นักวิทยาศาสตร์ทุกท่าน (จากคนที่ไม่ได้เป็นนักวิทยาศาสตร์): เราตื่นเต้นกับสิ่งที่คุณกำลังทำอยู่ เพราะฉะนั้นมาเล่าให้เราฟังสิ -- แต่ในวิธีที่เราเข้าใจมันได้ ภายใน 4 นาทีนี้ เมลิซซ่าได้แชร์เคล็ดลับสำคัญเกี่ยวกับการนำเสนอไอเดียทางวิทยาศาสตร์ที่ซับซ้อนให้กับผู้ฟังทั่วไป

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
04:34
Dimitra Papageorgiou approved Thai subtitles for Talk nerdy to me
Panon Leelamanit accepted Thai subtitles for Talk nerdy to me
Panon Leelamanit edited Thai subtitles for Talk nerdy to me
Sritala Dhanasarnsombut added a translation

Thai subtitles

Revisions