< Return to Video

ทำไม1 มกรา ถึงเป็นวันปีใหม่ ? | Point of View

  • 0:00 - 0:02
  • 0:02 - 0:03
    ตกใจกันไหมทุกคน
  • 0:03 - 0:04
    สวัสดีค่ะวิวจากแชนเนล Point of View ค่ะ
  • 0:04 - 0:08
    สวัสดีปีใหม่ล่วงหน้าสำหรับใครหลายๆ คนที่ทันดูรอบสดด้วยนะคะ
  • 0:08 - 0:12
    แล้วก็สวัสดีปีใหมม่ย้อนหลังสำหรับใครที่มาดูย้อนหลังในปี 2563 ค่ะ
  • 0:12 - 0:15
    แหมะ พูดถึงสวัสดีปีใหม่ ตอนนั้น ตอนนี้ ตอนนู้น
  • 0:15 - 0:17
    เดี๋ยวก็สวัสดีล่วงหน้า เดี๋ยวก็สวัสดีย้อนหลัง
  • 0:17 - 0:24
    ว่าแต่ อยากรู้กันไหมคะว่าทำไมอยู่ดีๆ เราถึงมาฉลองปีใหม่กันในวันที่ 1 มกราคม แบบที่เราฉลองอยู่ทุกปี
  • 0:24 - 0:26
    มันมีที่มาที่ไปจากอะไร?
  • 0:26 - 0:27
    ใครเป็นคนคิดคนแรก?
  • 0:27 - 0:30
    เนื่องจากนี่ก็เป็นอีก 1 เรื่องนะคะที่วิวอยากรู้มาตั้งนานแล้ว
  • 0:30 - 0:32
    วิวก็เลยไปหาข้อมูลมาให้ทุกคนมาเรียบร้อยแล้วค่ะ
  • 0:32 - 0:37
    ซึ่งอ้างอิงของวิวเนี่ยก็อยู่ด้านล่างสามารถไปตามอ่านกันได้ถ้าสมมติว่าใครอยากอ่านละเอียดค่ะ
  • 0:37 - 0:40
    แต่สำหรับตอนนี้อย่าลืมกดติดตามวิวให้ครบทุกช่องทางนะคะ
  • 0:40 - 0:43
    จะได้ไม่พลาดคลิปวิดีโอสนุกๆ แล้วก็ข่าวสารดีๆ จากช่อง Point of View ค่ะ
  • 0:43 - 0:47
    สำหรับตอนนี้พร้อมจะไปฟังเรื่องราวที่ทั้ง สนุก แล้วก็มีสาระกันหรือยังคะ?
  • 0:47 - 0:49
    ถ้าพร้อมกันแล้วก็ ไปฟังกันเลยค่ะ
  • 0:55 - 0:59
    ถ้าเราจะพูดถึงว่าทำไมเราถึงฉลองปีใหม่ในวันที่ 1 มกราคมนะคะ
  • 0:59 - 1:02
    ก็ต้องบอกว่าเราต้องไปพูดถึงการสร้างปฏิทินค่ะ
  • 1:02 - 1:03
    เพราะว่าอะไร?
  • 1:03 - 1:05
    เพราะว่าเอาจริงๆ เราฉลองปีใหม่ไม่ตรงกันหรอกค่ะ
  • 1:05 - 1:07
    นึกสภาพไม่ต้องเป็นสมัยโบราณนะคะ
  • 1:07 - 1:11
    แค่สมัยปัจจุบันนี้ เอาไม่ต้องประเทศไหนเลยแค่ในประเทศไทยเนี่ย
  • 1:11 - 1:13
    เรายังมีวันปีใหม่เต็มไปหมดเลยใช่ไหมคะ?
  • 1:13 - 1:17
    ไม่ว่าจะเป็นวันที่ 1 มกราคมที่เราฉลองกันทุกปีตามหลักสากล
  • 1:17 - 1:21
    หรือว่าถ้าใครเป็นคนไทยเชื้อสายจีนก็จะรู้ว่าหลังจากที่เราฉลองตรุษจีนแล้วเนี่ย
  • 1:21 - 1:23
    เราก็จะบอกว่ามันคือวัน ชิวอิก ชิวหยีชิวอะไร
  • 1:23 - 1:25
    ก็คือปีใหม่ของจีนใช่ไหมคะ?
  • 1:25 - 1:28
    หรือถ้าใครไปนึกถึงเพลงเสียงแหลมๆ ที่เราเปิดกันตอนสงกรานต์เนี่ย
  • 1:28 - 1:29
    เราก็เปิดเพลง
  • 1:29 - 1:35
    วันนี้วันดีปีใหม่ ท้องฟ้าแจ่มใสพาใจสุขสันต์ #@&^%$*%&$(^
  • 1:35 - 1:37
    นั่นแหละค่ะดำน้ำต่อไปไม่ถูกแล้วนะคะ
  • 1:37 - 1:39
    เห็นไหมคะว่าแค่ในประเทศไทยเนี่ย
  • 1:39 - 1:41
    เรายังฉลองปีใหม่ไม่ตรงกันเลยค่ะ
  • 1:41 - 1:43
    ทีนี้เรามาลองดูกันที่สเกลใหญ่กว่านี้ดีกว่าค่ะ
  • 1:43 - 1:45
    เราไปดูกันที่ปีใหม่ทั่วโลก
  • 1:45 - 1:47
    นึกสภาพกลับไปในสมัยโบราณนะคะ
  • 1:47 - 1:49
    ย้อนไปตอนอารยธรรมมนุษย์เริ่มต้นขึ้น
  • 1:49 - 1:52
    นึกสภาพเราเป็นมนุษย์หินมนุษย์ถ้ำอะไรต่างๆ
  • 1:52 - 1:56
    อ้าวอยู่ดีๆ เราจะมารู้กันได้ยังไงว่าเราต้องฉลองปีใหม่ในวันนี้วันที่ 1 มกราคม
  • 1:56 - 1:59
    มันไม่ได้มีอะไรเป็นวันพิเศษอะไรเลยนี่คะ
  • 1:59 - 2:00
    ไม่ได้เป็นวันพระจันทร์เต็มดวง
  • 2:00 - 2:04
    ไม่ได้เป็นวันที่พระอาทิตย์ขึ้นทางนั้น พระอาทิตย์ขึ้นทางนี้
  • 2:04 - 2:06
    ไม่ได้มีดาวดวงนั้นดวงนี้มาเรียงกัน
  • 2:06 - 2:10
    แล้วทำไมคนสมัยโบราณเค้าถึงเลือกวันนี้ให้เป็นวันปีใหม่ของเรา
  • 2:10 - 2:12
    จะบอกว่ามันมีคำตอบเบื้องหลังอยู่ค่ะ
  • 2:12 - 2:15
    ถ้าเราจะไปดูว่าทำไมเราถึงฉลองวันที่ 1 มกราคมนะคะ
  • 2:15 - 2:19
    เราจะต้องย้อนกลับไปในอารยธรรมเมโสโปเตเมียค่ะ
  • 2:19 - 2:21
    อารยธรรมลุ่มแม่น้ำไทกริส-ยูเฟรติสนะคะ
  • 2:21 - 2:25
    ถ้าใครแม่นประวัติศาสตร์โลกหน่อยก็จะรู้ว่าเป็น 1 ในอารยธรรมแรกๆ ของโลกใช่ไหมคะ
  • 2:25 - 2:30
    วันนี้เราไม่ได้จะไปดูถึงชาวสุเมเรียนที่เป็นคนประดิษฐ์อักษรลิ่มคูนิฟอร์มที่เป็นอักษรแรกของโลกนะคะ
  • 2:30 - 2:32
    แต่เราจะไปดูที่ชาวบาบิโลเนียนค่ะ
  • 2:32 - 2:38
    ชาวบาบิโลเนียนถือเป็นชนชาติแรกๆ ที่มีการบันทึกไว้ค่ะว่ามีการเฉลิมฉลองปีใหม่กัน
  • 2:38 - 2:40
    แล้วถามว่าชาวบาบิโลเนียนเขาเฉลิมฉลองกันตอนไหน?
  • 2:40 - 2:43
    เขาเฉลิมฉลองกันในวันที่ 1 มการาคม
  • 2:43 - 2:45
    แบบที่เราฉลองกันอยู่ทุกวันนี้รึเปล่า
  • 2:45 - 2:46
    ก็ต้องบอกว่าไม่ใช่เลยค่ะ
  • 2:46 - 2:50
    ชาวบาบิโลเนียเนี่ยฉลองปีใหม่กันในช่วงเดือนมีนาคมค่ะ
  • 2:50 - 2:52
    อ้าว! แล้วเดือนมีนาคมมีอะไรพิเศษนะคะ?
  • 2:52 - 2:55
    ก็ต้องบอกว่า ในเดือนมีนาคมค่ะ มีสิ่งนึงเกิดขึ้น
  • 2:55 - 3:00
    ก็คือเป็นช่วงเริ่มต้นของฤดูใบไม้ผลิ หรือว่า Spring นั่นเองค่ะ
  • 3:00 - 3:01
    ก็ฟังดู Make Sense นะ
  • 3:01 - 3:03
    เป็นตอนที่ฤดูหนาวเพิ่งจะผ่านพ้นไป
  • 3:03 - 3:07
    พวกใบไม้ที่ตายๆ ไปเนี่ย ก็กำลังเริ่มผลิดอก ออกผลใหม่อีกรอบนึง
  • 3:07 - 3:10
    เหมือนการเฉลิมฉลองชีวิตใหม่ใช่ไหมคะ?
  • 3:10 - 3:14
    และชาวบาลิโลเนียนนี่เขา mark วันปีใหม่ของเขาไม่ใช่แค่ช่วง Spring เท่านั้นหรอกค่ะ
  • 3:14 - 3:17
    แต่เขา Mark ไว้ในวันวันนึงค่ะ ที่เราเรียกว่า
  • 3:17 - 3:18
    Vernal Equinox นะคะ
  • 3:18 - 3:20
    หรือว่าในภาษาไทยเรียกว่า
  • 3:20 - 3:22
    วสันตวิษุวัตนั่นเอง
  • 3:22 - 3:25
    ก็คือวันที่กลางวันกับกลางคืนเนี่ยนะคะ ยาวเท่ากันค่ะ
  • 3:26 - 3:30
    คือปกติแล้วพระอาทิตย์ของเราเนี่ยมันจะขึ้นแล้วก็ตกในทิศตะวันออกกับทิศตะวันตกใช่ไหม?
  • 3:30 - 3:32
    แต่บอกเลยว่าจริงๆ ไม่ใช่นะคะ
  • 3:32 - 3:36
    พระอาทิตย์ทุกวันเนี่ยไม่ได้ขึ้นทางทิศตะวันออกเป๊ะ และตกทางทิศตะวันตกเป๊ะค่ะ
  • 3:36 - 3:38
    มันจะเบี่ยงบ้างแบบบางองศาอะไรงี้
  • 3:38 - 3:42
    แต่ในวันวสันตวิษุวัตมันจะขึ้นทางทิศตะวันออกเป๊ะ และตกทางทิศตะวันตกเป๊ะค่ะ
  • 3:43 - 3:45
    ส่งผลให้กลางวันกับกลางคืนเนี่ยยาวเท่ากันนะคะ
  • 3:45 - 3:50
    นี่ก็คือวันปีใหม่ที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่วิวหาเจอแล้วก็น่าจะเก่าแก่ที่สุดในโลกด้วยนะคะ
  • 3:50 - 3:54
    อย่างไรก็ดีชาวบาบิโลเนียนนี่ไม่ใช่คำตอบที่เราค้นหานะคะ
  • 3:54 - 3:58
    นั่นก็คือดังนั้นเรา Move ไปที่ชาวตะวันตกอารยธรรมถัดไปที่เราค้นหาดีกว่า
  • 3:58 - 3:59
    นั่นก็คือชาวกรีกค่ะ
  • 3:59 - 4:03
    ถามว่าชาวกรีกมีการเฉลิมฉลองปีใหม่ไหมก็ต้องบอกว่า มีค่ะ
  • 4:03 - 4:05
    แล้วถามว่าเขาเฉลิงฉลองวันเดียวกับชาวบาบิโลเนียนไหม?
  • 4:05 - 4:07
    ก็ต้องบอกว่าไม่ใช่ค่ะ
  • 4:07 - 4:10
    แต่วันที่เขาเฉลิมฉลองเนี่ยก็ต้องบอกว่ามีความคล้ายกับชาวบาบิโลเนียนนิดนึง
  • 4:10 - 4:13
    คือมันเกี่ยวข้องกับพระอาทิตย์ขึ้นพระอาทิตย์ตกนี่แหละ
  • 4:13 - 4:16
    เพราะว่าวันที่เขาเฉลิงฉลองกันเนี่ยนะคะมันคือวัน Winter Solstice
  • 4:16 - 4:18
    หรือว่าในภาษาไทยเรียกว่า
  • 4:18 - 4:20
    วันเหมายันนั่นเองค่ะ
  • 4:20 - 4:26
    มันก็คือวันที่อยู่ช่วงปลายๆ ปีที่เราน่าจะเคยได้ยินกันบ้างในช่วงวันที่ 21 ธันวาคมนะคะ
  • 4:26 - 4:29
    วันนั้นคือวันที่กลางคืนยาวที่สุดของปีค่ะ
  • 4:29 - 4:30
    แล้วก็กลางวันสั้นที่สุดนะคะ
  • 4:31 - 4:34
    ซึ่งชาวกรีกนี่เขาก็จะเฉลิมฉลองกันในช่วงนั้นนี่แหละค่ะ
  • 4:34 - 4:37
    อย่างไรก็ดีอารยธรรมกรีกไม่ใช่อารยธรรมสำคัญของเราในวันนี้ค่ะ
  • 4:37 - 4:40
    อารยธรรมสำคัญที่สุดของเราในวันนี้ก็คือ
  • 4:40 - 4:41
    อารยธรรมโรมันนั่นเอง
  • 4:41 - 4:45
    ซึ่งอารยธรรมโรมันเนี่ยนะคะต้องขอบอกว่ามีระยะเวลาค่อนข้างยาวนานค่ะ
  • 4:45 - 4:48
    และเขาก็มีปฏิทินของเขามาตั้งนานแล้วนะคะ
  • 4:48 - 4:53
    อย่างไรก็ตามปฏิทินโรมันในยุคเริ่มแรกเนี่ยนะคะมีความสับสนงุนงงค่อนข้างมากค่ะ
  • 4:53 - 4:56
    คือในยุคแรกๆ เนี่ยเหมือนใช้ปฏิทินแบบจันทรคตินะคะ
  • 4:56 - 4:58
    ก็คือปฏิทินที่ดูตามดวงจันทร์นั่นเอง
  • 4:58 - 5:00
    ก็คล้ายๆ กับปฏิทินไทยปัจจุบันนี้นี่แหละ
  • 5:00 - 5:03
    ก็คือดูข้างขึ้นดูข้างแรมดูเดือนเพ็ญอะไรแบบนี้นะคะ
  • 5:03 - 5:05
    อย่างไรก็ตามมันก็มีความสับสนนิดนึง
  • 5:05 - 5:08
    เพราะว่ามันก็มีคนบางกลุ่มในอารยธรรมโรมันเนี่ย
  • 5:08 - 5:10
    ที่ใช้ปฏิทินแบบสุริยคติ
  • 5:10 - 5:12
    หรือว่าปฏิทินที่ดูตามพระอาทิตย์ค่ะ
  • 5:12 - 5:15
    ว่าแบบพระอาทิตย์โคจรอะไรแบบนี้ อะไรแบบนั้น
  • 5:15 - 5:16
    แล้วก็เอามาทำเป็นปฏิทินนะคะ
  • 5:16 - 5:19
    ดังนั้นเมื่อมีระบบ 2 ปฏิทินเกิดขึ้นในเวลาเดียวกันเนี่ย
  • 5:19 - 5:21
    คนก็เกิดการสับสนงุนงงอะไรต่างๆ ค่ะ
  • 5:22 - 5:24
    จนกระทั่งมีคนสำคัญเกิดขึ้นคนนึง
  • 5:24 - 5:27
    คนคนนั้นเป็นกษัตริย์องค์แรกของโรมันตามความเชื่อค่ะ
  • 5:27 - 5:28
    คนคนนั้นก็คือ
  • 5:28 - 5:29
    คิงโรมิวรัสนะคะ
  • 5:29 - 5:32
    ซึ่งถ้าสมมติว่าใครแม่นประวัติศาสตร์โรมันนิดนึงก็จะรู้ว่า
  • 5:32 - 5:35
    รูปของคิงโรมิวลัสเนี่ยถ้าสมมติว่าอยู่ที่ยุโรปเนี่ย
  • 5:35 - 5:39
    จะเป็นรูปของหมาป่าตัวนึงที่มีนมแล้วเป็นเด็กสองคนที่กินนมอยู่
  • 5:39 - 5:41
    เด็กสองคนนั้นคือรีมัสกับโรมิวลัสนะคะ
  • 5:41 - 5:42
    เป็นฝาแฝดกันค่ะ
  • 5:42 - 5:45
    และนี่คือที่มาของรีมัส ลูปินส์จากแฮร์รี พอตเตอร์นะคะ
  • 5:45 - 5:47
    ก็คือหมาป่า มันเกี่ยวข้องกับหมาป่าประมาณนี้แหละ
  • 5:47 - 5:50
    ก็คือเขาเชื่อว่าคิงโรมิวลัสนี่คือคนที่หมาป่าเลี้ยงมาประมาณนั้นค่ะ
  • 5:50 - 5:52
    เห็นไหมคะว่ามันเกี่ยวพันกันทุกเรื่องเลย
  • 5:52 - 5:54
    แต่ไม่เกี่ยวกับเรื่องเดียวก็คือ
  • 5:54 - 5:56
    ไม่เกี่ยวกับเรื่อง 1 มกราคมที่วิวกำลังจะเล่านี่แหละ
  • 5:56 - 5:58
    นอกเรื่องอีกแล้ว กลับมานะคะทุกคน
  • 5:58 - 5:59
  • 5:59 - 6:02
    อะ กลับมาที่คิงโรมิวลัส กับวันที่ 1 มกราคมของเราค่ะ
  • 6:02 - 6:06
    ในยุคของคิงโรมิวลัสค่ะ มีปฏิทินโรมันโบราณแบบนึงเกิดขึ้นมานะคะ
  • 6:07 - 6:12
    ซึ่งมันเป็นปฏิทินที่ได้รับรากฐานมาจากปฏิทินแบบเดิมคือปฏิทินจันทรคติแหละ
  • 6:12 - 6:16
    เหมือนกับเอาทุกอย่างมา Mix กันเรียบร้อยแล้ว แล้วเขาก็คำนวณออกมาแล้วให้เป็นปฏิทินนะคะ
  • 6:16 - 6:18
    ซึ่งปฏิทินแบบนี้มีความพิเศษยังไงคะ
  • 6:18 - 6:22
    บอกเลยว่าพิเศษค่ะ เพราะมันมีแค่ 10 เดือนด้วยกันค่ะ
  • 6:22 - 6:24
    และแน่นอนว่าใน 10 เดือนนี้ก็จะต้องมีเดือนที่ 1 นะคะ
  • 6:24 - 6:27
    ดังนั้นเขาเริ่มฉลองปีใหม่กันในเดือนนั้นค่ะ
  • 6:27 - 6:29
    ถามว่าเดือนที่ 1 คือเดือนมกราคมใช่ไหม?
  • 6:29 - 6:31
    บอกเลยว่าไม่ใช่ค่ะ
  • 6:31 - 6:32
    เพราะว่าเดือนที่ 1 ของเขาคือเดือน
  • 6:32 - 6:34
    มีนาคมหรือว่าเดือน March นั่นเองนะคะ
  • 6:35 - 6:37
    อันนี้เป็นการออกเสียงแบบในสมัยปัจจุบันเนอะ
  • 6:37 - 6:39
    ในสมัยนั้นเขาจะเรียกว่าเดือน Martius อะไรประมาณนี้นะคะ
  • 6:39 - 6:42
    อันนี้เริ่มใช้ภาษาอังกฤษแล้วเนอะจะได้เข้าใจอะไรง่ายขึ้นนะคะ
  • 6:42 - 6:45
    จะไม่ใช้ทั้งภาษาไทยและภาษาสมัยนู้นด้วยนะ
  • 6:45 - 6:47
    ก็คือ March ถือเป็นเดือน 1
  • 6:47 - 6:49
    พอ March เป็นเดือน 1 นะคะ April ก็จะเป็นเดือน 2
  • 6:49 - 6:51
    May ก็เป็นเดือน 3
  • 6:51 - 6:52
    ไล่ไปเรื่อยๆ ใช่ไหมคะ
  • 6:52 - 6:54
    และนี่คือสาเหตุที่ทำให้หลายๆ คนเนี่ย
  • 6:54 - 6:56
    ที่พอจะรู้รากศัพท์บ้างเนี่ย
  • 6:56 - 6:57
    งุนงงกันมานาน
  • 6:57 - 6:58
    เช่นชื่อเดือน September
  • 6:58 - 7:01
    ถ้าใครเคยเรียนเคมี hepta- แปลว่า 7 ใช่ไหมคะ
  • 7:01 - 7:03
    อ้าวแล้วทำไม September ถึงเป็นเดือน 9
  • 7:03 - 7:05
    ทำไม octa- October เนี่ย
  • 7:05 - 7:07
    octa- แปลว่า 8 ทำไมถึงเป็นเดือน 10
  • 7:07 - 7:09
    อะ นี่แหละค่ะ ที่มานะคะ
  • 7:10 - 7:12
    อย่างไรก็ตามเรามาดูที่การแบ่งเดือนของเขาดีกว่า
  • 7:12 - 7:13
    คิดว่าเขาแบ่งเดือนกันยังไงคะ
  • 7:13 - 7:15
    คือเขาแบ่งเดือนจาก
  • 7:15 - 7:16
    ปฏิทินจันทรคติค่ะ
  • 7:16 - 7:18
    คือไปดูที่การขึ้นการลงของพระจันทร์นะคะ
  • 7:18 - 7:20
    ดังนั้น 1 เดือนเนี่ยก็คือ
  • 7:20 - 7:21
    เริ่มจากตอนที่ New Moon
  • 7:21 - 7:26
    New Moon คือเสี้ยวของพระจันทร์เสี้ยวแรกที่เพิ่งจะโผล่มาหลังจากพระจันทร์ดับนะคะ
  • 7:26 - 7:27
    นึกสภาพในคืนจันทร์แรมอะค่ะ
  • 7:27 - 7:30
    ที่แบบไม่มีพระจันทร์เลยอะนะแล้วพระจันทร์เริ่มโผล่มา ฟึบ
  • 7:30 - 7:31
    อันแรกเนี่ยแหละค่ะ
  • 7:31 - 7:34
    เขาเรียกว่า New Moon หลังจากที่พระจันทร์หายไปประมาณนั้น
  • 7:34 - 7:36
    นี่ก็จะเป็นต้นเดือนใช่ไหมคะ
  • 7:36 - 7:40
    หลังจากนั้นก็จะนับเดือนไปเรื่อยๆ จนกระทั่งพระจันทร์เต็มดวง แล้วก็พระจันทร์หายไปอีกรอบ
  • 7:40 - 7:41
    นี่ก็คือ 1 เดือนนะคะ
  • 7:41 - 7:44
    และเป็นที่มาของการเรียกเดือนว่า Month นั่นเอง
  • 7:44 - 7:46
    จะเห็นว่า month กับ moon เนี่ยคล้ายกันมากเลย
  • 7:46 - 7:48
    เพราะว่ามันมีที่มาแบบนี้นี่แหละค่ะ
  • 7:48 - 7:51
    หรือแม้แต่ในประเทศไทยเนี่ย เดือน เดือนก็แปลว่าพระจันทร์ด้วยใช่ไหม?
  • 7:51 - 7:54
    นี่แหละค่ะการนับเดือนทั่วโลกค่อนข้างจะเกี่ยวกับพระจันทร์นะคะ
  • 7:54 - 7:55
    ซึ่งเหล่านี้แปลว่าอะไรคะ?
  • 7:55 - 7:58
    แปลว่าวันปีใหม่ของชาวโรมันโบราณเนี่ย
  • 7:58 - 8:01
    ก็คือวันที่เกิด New Moon ของเดือนมีนาคมนั่นเองค่ะ
  • 8:01 - 8:04
    ก็จะนับว่าอะ ขึ้นปีใหม่แล้ว ฉลองกันได้จ้า
  • 8:04 - 8:06
    แล้วถามว่าปฏิทินแบบนี้มีปัญหาอะไรคะ?
  • 8:06 - 8:08
    ก็ต้องบอกว่าปฏิทินแบบนี้มีปัญหาก็คือ
  • 8:08 - 8:12
    ในช่วงฤดูหนาวค่ะ ช่วงที่เป็นช่วงมืดมนแห่งปีเนี่ย
  • 8:12 - 8:13
    เขาไม่นับอยู่ในปฏิทินนะคะ
  • 8:13 - 8:15
    ถือว่าเป็นช่วงเดือนว่างไปเลย
  • 8:15 - 8:17
    ประมาณว่าไม่มีชื่อเดือน นี่ไม่ได้อยู่ในปฏิทินของฉัน
  • 8:17 - 8:21
    ช่างฤดูหนาวไป เหมือนกับว่าทุกคนไม่ใส่ฤดูหนาวนะคะ
  • 8:21 - 8:23
    ดังนั้นปฏิทินของโรมันโบราณนะคะ
  • 8:23 - 8:26
    ปีนึงก็เลยมีแค่ 304 วันเท่านั้นค่ะ
  • 8:26 - 8:28
    ซึ่งทำให้คนสมัยนั้นเนี่ยสับสนงุนงงกันนิดนึงนะคะ
  • 8:28 - 8:33
    ประมาณว่าฉันจะนับวันนับเดือนในช่วงฤดูหนาวยังไง อยู่ดีๆ ปฏิทินก็หายไป 61 วันในช่วงฤดูหนาวแบบนี้อะ
  • 8:33 - 8:37
    ดังนั้นเมื่อมีคนสับสนงุนงงค่ะก็จะต้องมีการแก้ไขใช่ไหมคะ
  • 8:37 - 8:39
    เราต้องมีพูดถึงกษัตริย์โรมันอีกคนนึงค่ะ
  • 8:39 - 8:41
    คนคนนั้นก็คือกษัตริย์ Numa Pompilius นั่นเองนะคะ
  • 8:42 - 8:47
    ซึ่งกษัตริย์องค์นี้เนี่ย เขาทำคุณประโยชน์ให้กับเราอย่างใหญ่หลวงเลยค่ะ สำหรับโลกใบนี้
  • 8:47 - 8:51
    เพราะว่าเขาบอกว่า อ้าว ทำไมเราถึงทิ้งให้เดือนนึงมันหายไปตั้ง 61 วัน
  • 8:51 - 8:52
    หายไปเราก็เติมสิ
  • 8:52 - 8:56
    ดังนั้นเขาก็เลยยัดเดือน 2 เดือนเข้าไปในปฏิทินของโรมันโบราณค่ะ
  • 8:57 - 8:59
    ก็คือเดือน January กับ Febuary
  • 8:59 - 9:00
    หรือที่สมัยก่อนเขาเรียกว่า
  • 9:00 - 9:01
  • 9:01 - 9:03
    ประมาณนี้นะคะ วิวออกเสียงไม่้ได้นั่นเองค่ะ
  • 9:03 - 9:08
    ซึ่งปฏิทินนี้นะคะ เราก็เริ่มใช้กันราวๆ 509 ปีก่อนคริสตศักราช
  • 9:08 - 9:10
    เราเรียกปฏิทินนี้ว่า Republic Calendar นะคะ
  • 9:10 - 9:13
    มีใครสังเกตอะไรจากปฏิทินนี้ไหมคะ?
  • 9:13 - 9:16
    จะเห็นว่ามันยังไม่มีเดือนที่ชื่อว่า July กับ August ค่ะ
  • 9:16 - 9:20
    แต่จะเป็นเดือนที่ชื่อว่า Quintulis กับ Sextilis แทนค่ะ
  • 9:20 - 9:21
    ซึ่งเป็นคำแปลว่า
  • 9:22 - 9:24
    5 แล้วก็ 6 ในภาษาละตินนะคะ
  • 9:24 - 9:27
    ว่าแต่แล้วเดือน July กับ August เนี่ยมาได้ยังไง?
  • 9:27 - 9:29
    ก็ต้องบอกว่าเป็นการตั้งชื่อตาม
  • 9:29 - 9:31
    บุคคลสำคัญ 2 คนของโรมันนะคะ ก็คือ
  • 9:31 - 9:34
    Julius Caesar แล้วก็ Augustus Caesar นั่นเองค่ะ
  • 9:34 - 9:39
    โดย Julius Caesar ก็คือเดือน July แล้ว Augustus ก็คือเดือน August นั่นเองค่ะ
  • 9:39 - 9:41
  • 9:41 - 9:46
    โดยปฏิทินของ Republic เนี่ยตลอดปีก็จะมีทั้งหมด 355 วันค่ะ
  • 9:46 - 9:48
    โดยแต่ละเดือนเนี่ยก็จะมีเดือนที่เป็น Full Month
  • 9:48 - 9:50
    ก็จะมีทั้งหมด 31 วัน
  • 9:50 - 9:53
    ส่วนเดือนที่มีวันน้อยลงมาก็คือHallow Month
  • 9:53 - 9:55
    จะมีทั้งหมด 29 วันนะคะ
  • 9:55 - 9:57
    และเดือนพิเศษเดือนนึงก็คือ
  • 9:57 - 10:01
    Febuary กรือเดือนที่ 2 เนี่ยก็จะมีแค่ทั้งหมด 28 วันเท่านั้นเองค่ะ
  • 10:01 - 10:04
    ถามว่าการเติม 2 เดือนนี้เข้ามาส่งผลกระทบยังไงกับเราคะ?
  • 10:04 - 10:06
    ผลกระทบของการเติม 2 เดือนนั้นเข้ามาก็คือ
  • 10:07 - 10:12
    ทำให้วันปีใหม่เนี่ยนะคะ เลื่อนจากวันที่ 1 มีนาคม ไปที่วันที่ 1 มกราคมแทนค่ะ
  • 10:12 - 10:16
    และนี่ก็คือจุดเริ่มต้นของการเฉลิมฉลองปีใหม่ในเดือนมกราคมนะคะ
  • 10:16 - 10:17
    อย่างไรก็ตาม
  • 10:17 - 10:21
    นี่ไม่ใช่มกราคมแบบที่เราคุ้นเคยกันในทุกวันนี้ค่ะ เพราะว่า
  • 10:21 - 10:24
    ต่อให้มันเฉลิมฉลองวันที่ 1 มกราคมแล้ว แต่วันที่1 มกราคมเนี่ย
  • 10:24 - 10:27
    มันไม่ใช่วันที่ 1 มกราคมแบบเดียวกับเราค่ะ เพราะว่า
  • 10:27 - 10:30
    มันยังเลื่อนไปเลื่อนมาอยู่ มันยังไม่ได้ Fix วันนะคะ
  • 10:30 - 10:34
    ถ้าเราจะ Fix วันเนี่ยเราต้องพูดถึงว่าปัญหาของปฏิทินนี้คืออะไรค่ะ
  • 10:34 - 10:38
    ปัญหาก็คือทุกวันนี้เรารู้กันแล้วใช่ไหมว่าปีนึงมันมี 365 - 366 วัน
  • 10:38 - 10:43
    ดังนั้นการที่ปีของชาวโรมันโบราณมีแค่ 355 วันเกิดอะไรคะ?
  • 10:43 - 10:44
    ผลกระทบก็คือ
  • 10:44 - 10:46
    ในทุกปีเนี่ยวันมันก็จะ เลื่อน เลื่อน เลื่อน เลื่อน
  • 10:46 - 10:49
    คือมันเหมือนมีวันจำนวนนึงอะ ขาดไปใช่ไหมคะ?
  • 10:49 - 10:52
    สุดท้ายฤดูกาลกับปฏิทินมันก็เลยไม่สัมพันธ์กันค่ะ
  • 10:52 - 10:53
    ถามว่าเขามีวิธีแก้ไหม?
  • 10:53 - 10:55
    คนสมัยโบราณไม่ได้คำนวณไม่ได้นะคะทุกคน
  • 10:55 - 10:57
    เขาค่อนข้างจะแม่นเรื่องการคำนวณค่ะ
  • 10:57 - 11:01
    ดังนั้นนะคะเขาเลยมีการเติมเดือนพิเศษเข้าไปในทุกๆ 2-3 ปีค่ะ
  • 11:01 - 11:05
    เพื่อที่เหมือนกับว่าเราสะสมๆ วันที่ขาดไปแล้วประมาณ 3 ปี
  • 11:05 - 11:06
    อะปีนี้เติมเข้าไป 1 เดือน ปึ้ง
  • 11:06 - 11:10
    ปฏิทินมันก็จะเด้งกลับมาในระยะเวลาปกติใช่ไหมคะ?
  • 11:10 - 11:13
    ซึ่งเดือนนั้นเนี่ยนะคะ เราจะเรียกว่าเดือน Mercedonius นั่นเองค่ะ
  • 11:13 - 11:17
    ทีนี้แล้วจะถามว่าจะเพิ่มตอนไหน เพิ่มเมื่อไหร่ กฎเกณฑ์คือยังไง?
  • 11:17 - 11:17
    ก็ต้องบอกว่า
  • 11:17 - 11:18
    ไม่มี!
  • 11:18 - 11:21
    ไม่มีกฎนะคะ คือเพิ่มที่ประมาณ ทุกๆ 2-3 ปีค่ะ
  • 11:21 - 11:24
    โดยที่ให้ผู้ที่มีอำนาจในยุคนั้นนะคะ
  • 11:24 - 11:26
    เรียกว่า Pontifex Maximus เนี่ย
  • 11:26 - 11:31
    เป็นคนมีอำนาจสั่งว่า เอาล่ะ ปีนี้ข้าขอสั่งให้มีเดือนพิเศษเกิดขึ้น!
  • 11:31 - 11:31
    ผ่าม!
  • 11:31 - 11:34
    แล้วทุกคนในอาณาจักรนะคะ ก็จะใส่เดือนพิเศษเข้าไปในปฏิทิน พึ่บ!
  • 11:34 - 11:35
    เข้าไปอย่างงี้เลย
  • 11:35 - 11:39
    ถามว่าการที่ไม่มีกฎเกณฑ์แน่นอนแล้วให้ผู้มีอำนาจเป็นคนสั่ง
  • 11:39 - 11:40
    ทำให้เกิดอะไรขึ้นคะ?
  • 11:40 - 11:43
    สิ่งนั้นก็คือทำให้เกิดการโกงกันขึ้นค่ะ
  • 11:43 - 11:46
    แล้วคิดว่าเขาเอาวันที่เกินมาไปโกงอะไรคะ?
  • 11:46 - 11:49
    ก็คือโกงเรื่องการปกครองนั่นเองนะคะ
  • 11:49 - 11:52
    เพราะว่าสมมติว่าคนที่มีอำนาจสั่งเนี่ยรู้สึกว่า
  • 11:52 - 11:55
    เห้ย ตอนนี้ฉันกำลังปกครองอยู่แล้วมันกำลังจะหมดวาระของฉันแล้ว
  • 11:55 - 11:58
    ฉันอยากมีวาระการปกครองเพิ่มขึ้นอีก 1 เดือนทำยังไงดีนะ
  • 11:58 - 12:01
    อะ สั่งเพิ่มเดือนพิเศษดีกว่า อะทุกคนปีนี้มีเดือนพิเศษ
  • 12:01 - 12:02
    ผ่าม!
  • 12:02 - 12:06
    ก็ได้ระยะเวลาการปกครองขึ้นมาอีก 1 เฮือกซะอย่างนั้นเลยนะคะ
  • 12:06 - 12:09
    หรือว่าถ้าสมมติว่าแบบ เห้ย ปีนี้ฐานเสียงฉันดี
  • 12:09 - 12:11
    เดี๋ยวปีหน้าเดี๋ยวฉันก็ได้รับเลือกกลับเข้ามาใหม่
  • 12:11 - 12:13
    อะ อะ ปีนี้ไม่มีเดือนพิเศษดีกว่า
  • 12:13 - 12:14
    ก็ทำได้นะคะ
  • 12:14 - 12:17
    ดังนั้นมันก็เลยเกิดการสับสนงุนงงกันอย่างยิ่งยวดเลยค่ะ
  • 12:17 - 12:21
    สุดท้ายนะคะ ก็มีคนคนนึงทนไม่ได้เลยค่ะ คนคนนั้นก็คือ
  • 12:21 - 12:22
    Julius Caeser นั่นเอง
  • 12:22 - 12:25
    คือ Julius Caeser เนี่ยนะคะ ตอนนั้นขึ้นมาปกครองโรมันค่ะ
  • 12:25 - 12:27
    แล้วก็รู้สึกว่าระบบนี้มันไม่ Okay เลย มันไม่ Make Sense
  • 12:27 - 12:30
    เราควรจะมีวันที่สามารถคำนวณได้สิ
  • 12:30 - 12:33
    ดังนั้น Julius Caeser ก็เลยไปปรึกษานักดาราศาสตร์คนนึงค่ะ
  • 12:33 - 12:37
    ซึ่งเขาชื่อว่าคุณ So ci... So cigi....อะไรประมาณนี้นะคะ
  • 12:37 - 12:38
    ชื่อประมาณนี้แหละ
  • 12:38 - 12:42
    เขาก็ไปปรึกษากันนะคะแล้วก็บอกว่า เอ๊ย ไปคำนวณมาซิปีนึงมันควรจะมีกี่วันกันแน่
  • 12:42 - 12:45
    เพื่อที่เราจะได้ไม่ต้องมาใส่ไอ้เดือนพิเศษนี้กันค่ะ
  • 12:45 - 12:49
    ซึ่งคุณนักดาราศาสตร์คนนี้เขาก็ไปคำนวณอะไรต่างๆ มาเรียบร้อยนะคะ
  • 12:49 - 12:51
    แล้วเขาก็คำนวณขึ้นมาได้ค่ะว่า
  • 12:51 - 12:54
    เอ๊ย จริงๆ แล้วปีนึงของเราเนี่ยมันไม่ได้มี 355 วัน
  • 12:54 - 12:57
    จริงๆ มันมี 365.25 วันต่างหาก
  • 12:57 - 13:00
    ดังนั้นทุกคน เรามาสร้างปฏิทินใหม่กันดีกว่า
  • 13:00 - 13:05
    ช่างหัวพระจันทร์ ช่างหัวอะไรทั้งสิ้น คือแต่เดิมเดือนเนี่ยมันมัวแต่ไปตามพระจันทร์ ตามนู่นตามนี่
  • 13:05 - 13:06
    อะ เรามาตามพระอาทิตย์กันดีกว่านะ
  • 13:06 - 13:09
    แล้วก็ตั้งเลยว่าปีนึงเนี่ยมี 365 วัน
  • 13:09 - 13:11
    แล้วก็ทุกๆ 4 ปีเนี่ยเราก็จะมี
  • 13:11 - 13:16
    วันพิเศษ 1 วันเพื่อที่วันนั้นเนี่ยนะจะได้ชดเชยของวันอื่นๆ ใน 3 ปีที่ผ่านมา
  • 13:16 - 13:20
    แล้วปีนึงมันจะได้มี 365.25 วันพอดีเป๊ะเลยตกลงไหมนะคะ
  • 13:20 - 13:23
    สุดท้ายถามว่า Julius Caesar ชอบไหมไอเดียนี้
  • 13:23 - 13:24
    Julius Caesar ชอบนะคะ
  • 13:24 - 13:27
    ดังนั้นนะคะ Julius Caesar ก็เลยสั่งให้ประดิษฐ์ปฏิทินแบบนี้ขึ้นค่ะ
  • 13:28 - 13:30
    และสั่งให้ทุกคนเนี่ยใช้ปฏิทินนี้นะคะ
  • 13:30 - 13:33
    ซึ่งเราเรียกปฏิทินชนิดนี้ว่า Julian Calendar นั่นเองค่ะ
  • 13:34 - 13:38
    แล้วถามว่าวันพิเศษของ Julius Caesar ที่เติมเข้ามาเพื่อให้เต็มวันเนี่ยมันคือวันที่เท่าไหร่
  • 13:38 - 13:42
    มันคือวันที่ 29 กุมภาพันธ์แบบที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้รึเปล่านะ
  • 13:42 - 13:44
    ก็ต้องบอกว่าไม่ใช่ค่ะ
  • 13:44 - 13:48
    แม้ว่าจะเติมเข้ามาในเดือนกุมภาพันธ์เหมือนกันเนี่ยนะคะ แต่วันที่เติมเข้ามาของสมัย Julius Caesar เนี่ย
  • 13:48 - 13:50
    คือวันที่ 23 กุมภาพันธ์ค่ะ
  • 13:50 - 13:53
    คือปีไหนก็ตามที่เขาถือว่าเป็น Leap Year นะคะ
  • 13:53 - 13:54
    ก็คือปีที่แบบ
  • 13:54 - 13:55
    จะเอามา Adjust ให้ทุกอย่างเข้าที่เนี่ย
  • 13:55 - 13:57
    เขาจะมีวันที่ 23 กุมภาพันธ์
  • 13:57 - 13:58
    2 วันค่ะ
  • 13:58 - 14:03
    คือเช้าวันนี้เป็นวันที่ 23 อะนอนไปตื่นขึ้นมาเป็นวันที่ 23 อีกรอบนึงค่ะ
  • 14:03 - 14:06
    และแน่นอนว่าตอนนี้วันที่ของเราเนี่ย Fix แล้วใช่ไหมคะ
  • 14:06 - 14:08
    ก็จะต้องมีการเลือกกันค่ะว่า
  • 14:08 - 14:12
    เอ...แล้วเราจะเริ่มต้น ใช้ปฏิทินนี้วันไหน ปีไหน อะไรยังไงนะคะ
  • 14:12 - 14:17
    แล้วถามว่าคุณ Julius Caesar ของเราเนี่ยเขาเริ่มปักว่าจะใช้ปฏิทินนี้วันแรกในวันไหน
  • 14:17 - 14:22
    เพราะนั่นคือวันที่ 1 มกราแบบที่คล้ายๆ กับที่เราคุ้นเคยกันในปัจจุบันใช่ไหมคะ
  • 14:22 - 14:26
    หลังจากที่ 1 มกราเนี่ยมันเลื่อนไปเลื่อนมามานานจากการตามพระจันทร์
  • 14:27 - 14:29
  • 14:29 - 14:30
    เอาจริงๆ นะคะ
  • 14:30 - 14:31
    บางคนเนี่ยเขาก็บอกกันว่า
  • 14:31 - 14:33
    วันที่ 3 มกราคมในทุกวันนี้
  • 14:33 - 14:37
    จริงๆ ควรจะเป็นวันปีใหม่มากกว่าวันที่ 1 มกราคมในทุกวันนี้มากกว่าอีกค่ะ
  • 14:37 - 14:42
    เพราะว่าวันนั้นคือวันที่โลกโคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดของปีนะคะ
  • 14:42 - 14:43
    อย่างไรก็ตาม
  • 14:43 - 14:48
    Julius Caesar ของเราก็ดันเลือก 1 มกราคมแบบปัจจุบันเป็นวันแรกของปีค่ะ
  • 14:48 - 14:49
    อยากรู้กันไหมคะว่าทำไม
  • 14:49 - 14:51
    เอาจริงๆ มันก็มีหลายทฤษฎีค่ะ
  • 14:51 - 14:52
    ทฤษฎีนึงเนี่ยบอกไว้ว่า
  • 14:52 - 14:55
    เพราะว่าวันที่ 1 มกราคมแบบทุกวันนี้เนี่ยนะคะ
  • 14:55 - 14:58
    เป็นวันที่เวลากลางวันของซีกโลกเหนือ
  • 14:58 - 15:02
    จะค่อยๆ ยาวขึ้นๆๆตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปค่ะ
  • 15:02 - 15:06
    อย่างไรก็ตามนะคะเราก็ยังไม่ชัวร์ค่ะว่านี่คือเหตุผลที่เขาเลือกวันนี้
  • 15:06 - 15:09
    เพราะถ้าพูดถึงวันสำคัญเกี่ยวกับพระอาทิตย์ที่ใกล้กว่านั้นเนี่ย
  • 15:09 - 15:12
    มันก็คือวันเหมายันช่วงวันที่ 21 ธันวาคมต่างหาก
  • 15:12 - 15:13
    ชัดกว่าตั้งเยอะนะ
  • 15:13 - 15:14
    คุณ Julius Caesar นะคะ
  • 15:14 - 15:19
    แทนที่เขาจะเลือกว่าเอาล่ะวันที่กลางคืนยาวที่สุดกลางวันสั้นที่สุด
  • 15:19 - 15:21
    เพราะว่ามันเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ
  • 15:21 - 15:23
    อยู่ดีๆ ค่ะแม้ว่าเขาจะบอกว่าเขาเลิกใช้พระจันทร์แล้ว
  • 15:23 - 15:26
    แต่เจาก็ดันไปปัก วันที่ 1 มกราคมนะคะ
  • 15:26 - 15:27
    ตามพระจันทร์ซะอย่างนั้นค่ะ
  • 15:28 - 15:31
    ก็คือเขาไปยึดหลักการเริ่มเดือนแบบโบราณของโรมันนู่นเลย
  • 15:32 - 15:33
    ก็คือเริ่มที่ New Moon นะคะ
  • 15:33 - 15:35
    และในปีที่เขาเริ่มใช้ปฏิทินนี้ค่ะก็คือ
  • 15:36 - 15:38
    46 ปีก่อนคริสตศักราชนะคะ
  • 15:38 - 15:41
    ดังนั้นนะคะวันที่เกิด New Moon ของ46 ปีก่อนคริสตศักราช
  • 15:41 - 15:45
    ก็เลยเป็นวันที่ Mark วันทีที่ 1 มกราคมตั้งแต่นั้นมาค่ะ
  • 15:45 - 15:46
    อย่างไรก็ตามค่ะ
  • 15:46 - 15:47
    คิดว่าคลิปนี้จบแล้วใช่ไหม
  • 15:47 - 15:49
    ยังๆ ดูข้างล่างเวลายังเหลืออีกเพียบเลย
  • 15:49 - 15:50
    เพราะว่าอะไร?
  • 15:50 - 15:52
    ถามว่าคุณนักดาราศาสตร์สมัยโรมันเนี่ย
  • 15:52 - 15:54
    คำนวณแม่นไหมก็ต้องบอกว่า
  • 15:54 - 15:56
    แม่นมากแล้วเมื่อเทียบกับสมัยโบราณ
  • 15:56 - 15:59
    ทุกคนก็จะแบบ อ้าว! แต่นี่มันปฏิทินแบบที่เราใช้ทุกวันนี้แล้วหนิ
  • 15:59 - 15:59
    ขอบอกว่า
  • 15:59 - 16:00
    ไม่ใช่ค่ะ
  • 16:00 - 16:01
    ทุกคนจำผิดนะคะ
  • 16:01 - 16:06
    แม้ว่าทุกวันนี้เราจะสอนกันเข้าใจง่ายๆ ว่าทุก 4 ปีเนี่ยเราจะมีวันพิเศษขึ้นมาวันนึง
  • 16:06 - 16:07
    แต่
  • 16:07 - 16:08
    จริงๆ แล้วไม่ใช่นะคะ
  • 16:08 - 16:10
    ปฏิทินที่เราใช้ในทุกวันนี้
  • 16:10 - 16:13
    ไม่ได้มีวันที่ 29 กุมภาพันธ์ในทุก 4 ปีค่ะ
  • 16:13 - 16:13
    เพราะว่าอะไร?
  • 16:13 - 16:17
    เพราะว่าแม้ว่าคุณนักดาราศาสตร์สมับโรมันจะคำยวณแม่นขนาดไหนก็ตาม
  • 16:17 - 16:19
    แต่มันไม่ได้แม่นขนาดนั้นค่ะ
  • 16:19 - 16:19
    คือ
  • 16:20 - 16:23
    ที่เขาคำยงณไว้ว่า 1 ปีมี 365.25 วันเนี่ย
  • 16:23 - 16:26
    จริงๆ เขาตำนวณเกินไปนิดนึงค่ะ
  • 16:26 - 16:29
    คือปีนึงอะไม่ได้มี 365.25 วันเป๊ะๆหรอก
  • 16:29 - 16:33
    จริงๆ มันเป็น 365.24 แล้วก็ตัวเลขยาวๆ อีกเต็มไปหมดนะคะ
  • 16:33 - 16:34
    คือเขาคำนวณเกินไปเนี่ยนะคะ
  • 16:34 - 16:37
    ปีนึงประมาณ 11 นาทีแล้วก็ 14 วินาทีค่ะ
  • 16:37 - 16:40
    ทุกคนก็จะแบบคำนวณเกินไป 11 นาทีเองไม่มีปัญหาอะไรหรอก
  • 16:40 - 16:42
    แต่จริงๆ แล้วมันก่อให้เกิดปัญหาค่ะ
  • 16:42 - 16:47
    เพราะว่าปฏิทินของจูเลียนเนี่ยนึกสภาพว่าถ้าใช้มาถึงปัจจุบันนี้มันก็เป็นพันปีแล้วใช่ไหมคะ
  • 16:47 - 16:50
    พันปีคูณ 11 นาทีอู้หู หายไปหลายวันพอสมควรเลยนะ
  • 16:50 - 16:56
    ดังนั้นปัญหาของปฏิทินจูเลียนค่ะ ก็เลยเริ่มแสดงออกมาในช่วงประมาณยุคกลางของยุโรปค่ะ
  • 16:56 - 16:57
    ในช่วงนั้นเนี่ยนะคะ
  • 16:57 - 16:58
    คนเริ่มรู้สึกว่าแบบ
  • 16:58 - 17:01
    เอ...ปฏิทินที่ฉันใช้อยู่เนี่ยมันไม่ตรงกับฤดูกาลปัจจุบันเลยนะ
  • 17:01 - 17:05
    เพราะว่าวันที่เนี่ยนะคะมันเลื่อนไปประมาณ 10 วันด้วยกันแล้วค่ะ
  • 17:05 - 17:07
    ดังนั้นคนก็เริ่มรู้สึกว่า เห้ยปฏิทินมันมั่วรึเปล่า
  • 17:08 - 17:10
    ทำไมวันที่กลางวันกลางคืนมันควรจะเท่ากัน
  • 17:10 - 17:10
    มันก็ไม่เท่า
  • 17:10 - 17:11
    ทำไมอะไรยังไง?นะคะ
  • 17:11 - 17:12
    งงกันไปหมดค่ะ
  • 17:12 - 17:14
    ประกอบกับว่าช่วงนั้นเนี่ย
  • 17:14 - 17:16
    มันมีการฉลองปีใหม่กันมั่วขึ้นมาอีกรอบนึง
  • 17:16 - 17:18
    ไม่ได้ฉลองที่วันที่ 1 มกราคมแล้ว
  • 17:18 - 17:19
    ถามว่าเพราะอะไร?
  • 17:19 - 17:21
    เพราะว่าคนที่กำหนดให้ฉลอง 1 มกราคม
  • 17:21 - 17:22
    คือ
  • 17:22 - 17:23
    ชาวโรมัน
  • 17:23 - 17:25
    และ ชาวยุโรปยุคกลางเนี่ยเป็นยุคที่แบบว่า
  • 17:25 - 17:28
    ค่อนข้างจะนับถือศาสนาคริสต์คากอลืกค่อนข้างโหดใช่ไหม
  • 17:28 - 17:30
    แล้วก็เป็นช่วงที่แบบว่า
  • 17:30 - 17:31
    ถ้าใครไม่เชื่อตามที่บาปหลวงกล่าว
  • 17:31 - 17:36
    มันจะต้องเป็นพ่อมดเป็นพวกนอกรีตเป็นพวกศาสนาเพแกนทำนองนี้ใช่ไหมคะ?
  • 17:36 - 17:39
    ดังนั้นค่ะ การเฉลิมฉลองวันปีใหม่ในช่วงวันที่ 1 มกราคมเนี่ย
  • 17:39 - 17:41
    มันดูจะเป็นของศาสนาของชาวโรมัน
  • 17:41 - 17:43
    ชาวยุโรปยุคกลางก็เลย
  • 17:43 - 17:44
    มั่วกันไปหมดเลยค่ะ
  • 17:44 - 17:45
    แบบฉันจะฉลองวันนี้ละกัน
  • 17:45 - 17:46
    อะฉันจะฉลองวันนั้นละกัน
  • 17:46 - 17:47
    ฉันกลับไปฉลองตอน X'mas แล้วกัน
  • 17:48 - 17:50
    ฉันไปฉลองเดือนมีนาคมแล้วกันค่ะ
  • 17:50 - 17:52
    เรื่องราวของปฏิทินนะคะก็มั่วกันแบบนี้มาเรื่อยๆ ค่ะ
  • 17:52 - 17:55
    จนกระทั่งมาถึงปี 1582 นะคะ
  • 17:55 - 17:59
    ก็เกิดคนคนนึงนะคะที่เกิดการทนไม่ได้อีกแล้วกับการที่ปฏิทินมันมั่วขนาดนี้
  • 17:59 - 18:01
    แล้ววันกับฤดูกาลเนี่ยมันไม่ตรงกันนะคะ
  • 18:01 - 18:02
    คนคนนั้นเป็น Pope ค่ะ
  • 18:02 - 18:05
    นั่นก็คือสมเด็จพระสันตะปาปาGregory XIIIนะคะ
  • 18:05 - 18:06
    คือท่านเนี่ยรู้สึกว่าแบบ
  • 18:06 - 18:09
    เอ๊ย มันไม่โอเคแล้วที่ปฏิทินเราจะมั่วแบบนี้
  • 18:09 - 18:11
    ดังนั้นท่านก็เลยไปปรึกษานักดาราศาสตร์ค่ะ
  • 18:11 - 18:14
    ซึ่งนักดาราศาสตร์ที่ท่านไปปรึกษานะคะ ก็ชื่อว่า...
  • 18:14 - 18:14
    ...
  • 18:14 - 18:15
    นี่แหละค่ะ ชื่อนี้แหละ
  • 18:16 - 18:17
    คือวิวอ่านไม่ออกอีกแล้วนะคะทุกคน
  • 18:18 - 18:20
    ซึ่งหลังจากที่ท่านไปปรึกษานักดาราศาสตร์คนนี้นะคะ
  • 18:20 - 18:21
    นักดาราศาสตร์คนนี้ก็บอกว่า
  • 18:21 - 18:25
    เออ มันไม่ Work แล้วแหละ เราจะต้องคำนวณกันใหม่แล้วว่าปีนึงมันมีกี่วัน
  • 18:25 - 18:28
    ดังนั้นนักดาราศาสตร์คนนี้นะคะก็เลยไปคำนวณอะไรต่างๆ มาค่ะ
  • 18:28 - 18:30
    แล้วก็ได้คำตอบเหมือนที่วิวบอกทุกคนไปนี่แหละ
  • 18:30 - 18:33
    ว่าจริงๆ แล้วปีนึงมันไม่ได้มี 365.25 วัน
  • 18:33 - 18:37
    แต่มันเป็น365.24บลาๆๆๆๆยาวเหยียดเลยนะคะ
  • 18:37 - 18:42
    ดังนั้นสมเด็จพระสันตะปาปาGregory นะคะ ก็เลยรู้สึกว่าเราจำเป็นจะต้องออกปฏิทินใหม่อีกอันนึงแล้ว
  • 18:43 - 18:45
    เพื่อที่จะปรับเวลาเนี่ย ให้ตรงกับฤดูกาลนะคะ
  • 18:45 - 18:47
    ก็เลยออกเป็นปฏิทินอันใหม่มาค่ะ
  • 18:47 - 18:49
    ชื่อว่าปฏิทิน Gregorian นั่นเอง
  • 18:49 - 18:50
    ซึ่งปฏิทิน Gregorianเนี่นะคะ
  • 18:50 - 18:52
    ก็เป็นปฏิทินที่เราใช้กันอยู่จนถึงปัจจุบัน
  • 18:52 - 18:56
    ถ้าใครเคยปรับปฏิทินในมือถือของตัวเองจะเห็นว่ามันจะมีให้เลือกว่าแบบ
  • 18:56 - 18:58
    จะมีให้เลือกว่าจะใช้ปฏิทินแบบจีน ปฏิทินแบบGregorian
  • 18:58 - 19:00
    นี่แหละค่ะที่มานะคะ
  • 19:00 - 19:02
    ปัญหาก็คือตอนที่จะเริ่มใช้ปฏิทินแบบ Gregorian เนี่ยนะคะ
  • 19:02 - 19:05
    วันในปีเนี่ยมันเกินมาแล้วทั้งหมด 10 วันใช่ไหม
  • 19:05 - 19:06
    ที่มันไม่ตรงกับฤดูกาล
  • 19:06 - 19:09
    ดังนั้นมันก็ต้องมีการปรับปฏิทินกันอีกรอบนะคะ
  • 19:09 - 19:11
    สมเด็จพระสันตะปาปา Gregory นะคะก็เลย
  • 19:11 - 19:13
    มีการประกาศออกมาในปี 1582 ค่ะว่า
  • 19:13 - 19:17
    เอาล่ะ เราจะลบวันที่ออกจากปฏิทินทั้งหมด 10 วันนะจ๊ะทุกคน
  • 19:17 - 19:20
    เพื่อที่ว่าปฏิทินมันจะได้อยู่ในวันที่ที่ถูกต้องอีกครั้งนึง
  • 19:20 - 19:24
    ในปี 2582 ก็เลยไม่มีวันที่ 5-14 ตุลาคมนะคะ
  • 19:24 - 19:27
    คือพอเวลาเรานอนไปในคืนวันที่ 4 ตุลาคม
  • 19:27 - 19:30
    ตื่นเช้ามาปุ๊บมันจะกลายเป้นวันที่15 ตุลาคมทันทีเลยค่ะ
  • 19:30 - 19:33
    อะ ตอนนี้เราปรับปฏิทินและฤดูกาลให้ตรงกันแล้วเรียบร้อยใช่ไหมคะ?
  • 19:33 - 19:36
    แล้วทำยังไงให้ในอนาคตเนี่ยวันที่มันไม่คลาดเคลื่อนอีก
  • 19:36 - 19:40
    ก็ 365.24...อะไรสักอย่างวันเนี่ยมันจะไปคำนวณยังไง
  • 19:40 - 19:40
    ก็ต้องบอกว่า
  • 19:40 - 19:42
    หลังจากใช้สูตรคณิตศาสตร์อะไรต่างๆ ค่ะ
  • 19:42 - 19:44
    เขาก็เลยคำนวณออกมาได้ว่า
  • 19:44 - 19:47
    อะ เราจะต้องมีปีที่มีวันที่ 29 กุมภาพันธ์นี่แหละ
  • 19:47 - 19:48
    เพื่อที่จะเป็น Leap Year นะคะ
  • 19:48 - 19:51
    คือเป็นปีที่เอาไว้ปรับให้ปฏิทินมันกลับมาตรงอีกครั้งนึง
  • 19:51 - 19:53
    แต่ถามว่ามันจะมีทุกกี่ปี
  • 19:53 - 19:55
    ในเมื่อสูตาทุก 4 ปีเนี่ยมันไม่ Valid แล้วนะคะ
  • 19:55 - 19:57
    เขาก็บอกว่าสูตรคำนวณง่ายมากค่ะ
  • 19:57 - 19:58
    ให้ไปดูที่ 2 กรณีด้วยกัน
  • 19:58 - 20:00
    คือไปดูที่ปี ค.ศ.
  • 20:00 - 20:02
    ว่าปี ค.ศ. นั้นเนี่ยลงท้ายด้วย 00 รึเปล่า
  • 20:03 - 20:05
    สำหรับปีไหนที่ไม่ได้ลงท้ายด้วย 00 เนี่ยนะคะ
  • 20:05 - 20:06
    ให้เอา 4 หารปี ค.ศ. ค่ะ
  • 20:06 - 20:08
    ถ้าสมมติว่า 4 หารลงตัว
  • 20:08 - 20:10
    อะ ปีนั้นจะเรียกว่า Leap Year นะคะ
  • 20:10 - 20:12
    คือปีที่เดือนกุมภาพันธ์เนี่ยมี 29 วันค่ะ
  • 20:12 - 20:14
    ส่วนถ้าปีไหนมันลงท้ายด้วย 00 พอดีเป๊ะเนี่ยนะคะ
  • 20:14 - 20:16
    อย่าหารด้วย 4 ค่ะ ให้หารด้วย 400
  • 20:16 - 20:19
    ถ้าหารด้วย 400 ลวตัว ปีนั้นคือ LEap Year
  • 20:19 - 20:20
    แต่ถ้าหารด้วย 400 ไม่ลงตัว
  • 20:20 - 20:22
    ปีนั้นก็จะไม่ใช่ Leap Year นะคะ
  • 20:22 - 20:26
    นี่ก็เป็นจุดแต่งต่างระหว่างปฏิทิน Julian กับปฏิทิน Gregorian ค่ะ
  • 20:26 - 20:29
    และทั้งหมดนี้ก็คือปฏิทินที่เราใช้อยู่ในปัจจุบันแบบเป็นสากลนะคะ
  • 20:29 - 20:31
    และก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เรา
  • 20:31 - 20:33
    ฉลองปีใหม่ในวันที่ 1 มกราคม
  • 20:33 - 20:35
    แบบที่เป็น 1 มกราคมในปัจจุบัน
  • 20:35 - 20:37
    ไม่ใช่ 1 มกราคมที่ลอยไปลอยมา
  • 20:37 - 20:39
    ไปอยู่ที่วันนั้นวันนี้วันนู้น
  • 20:39 - 20:40
    นั่นเองค่ะ
  • 20:40 - 20:40
    โอ๊ะ
  • 20:40 - 20:43
    เป็นไงคลิปนี้ยากมาก มึนมาก งงมากนะคะ
  • 20:43 - 20:46
    ตอนแรกคิดว่าจะทำคลิปปีใหม่ขำๆ สนุกๆ
  • 20:46 - 20:48
    แบบ เออ ตอบคำถามง่ายๆ แค่ปฏิทิน Julian นู่นนี่นั่น
  • 20:48 - 20:49
    พอไปค้นข้อมูลเข้าไปแบบ
  • 20:49 - 20:50
    โอ้โห! ทุกคน
  • 20:50 - 20:52
    ความคณิตศาสตร์นี้มึนไหมคะ
  • 20:52 - 20:55
    อย่างไรก็ตามเพื่อเพิ่มความมึนให้กับทุกคนเพิ่มไปอีกนะคะ
  • 20:55 - 20:59
    ก็ต้องบอกว่าถามว่าเราเริ่มใช้ปฏิทิน Gregorian เมื่อไหร่ ก็ต้องบอกว่า
  • 20:59 - 21:00
    เมื่อ Pope ประกาศมาแล้วเนี่ยนะคะ
  • 21:00 - 21:03
    แต่ละประเทศก็ค่อนๆ เปลี่ยนตามไปเรื่อยๆ
  • 21:03 - 21:04
    ก็เปลี่ยนไม่พร้อมกันนะคะ
  • 21:04 - 21:09
    และในคนบางกลุ่มเนี่ยก็ยังมีคนที่ใช้ปฏิทิน Julian อยู่จนถึงปัจจุบันนี้เหมือนกันนะคะ
  • 21:09 - 21:11
    ก็คือศาสนาคริสต์นิกายกรีกออร์ทอดอกซ์นะคะ
  • 21:11 - 21:16
    ทางนั้นเนี่ยเขาจะใช้ปฏิทิน Julian ในการคำนวณพวกวันพิเศษที่เขาจะต้องเฉลิมฉลองต่างๆ
  • 21:16 - 21:18
    เช่น วันอีสเตอร์อะไรแบบนี้
  • 21:18 - 21:22
    ซึ่งในปัจจุบันนี้วันของเขาก็จะห่างกับเราทั้งหมด 11วันด้วยกันค่ะ
  • 21:22 - 21:25
    แตกต่างจากสมัยยุคกลางที่ห่างกัน 10 วันเนอะ
  • 21:25 - 21:27
    อะเพื่อไม่เพิ่มความงงให้ทุกคนไปมากกว่านี้
  • 21:27 - 21:30
    วิวคิดว่าคลิปสุดท้ายของปี 2562ของเราเนี่ย
  • 21:30 - 21:31
    ยาวพอสมควรแล้วค่ะ
  • 21:31 - 21:34
    ก็ วิวขอขอบคุณทุกคนนะคะที่ติดตามวิวมาตลอดปีนี้
  • 21:34 - 21:36
    แล้วก็ขอ
  • 21:36 - 21:37
    สวัสดีปีใหม่ค่ะทุกคน
  • 21:37 - 21:41
    ขอให้ทุกคนมีความสุขในปี 2563 ที่กำลังจะมาถึงนี้ค่ะ
  • 21:41 - 21:42
    สำหรับใครที่ชื่นชอบคลิปนี้นะคะ
  • 21:42 - 21:44
    อย่าลืมกด Like เพื่อเป็นกำลังใจให้วิว
  • 21:44 - 21:46
    แล้วก็กด Share เพื่อชวนเพื่อนๆ มาดูด้วยกันค่ะ
  • 21:46 - 21:47
    ก่อนจะจากกันไปขออนุญาต
  • 21:47 - 21:53
    สวัสดีปีใหม่ 2563 ทุกคน แล้วก็ขอให้ปี 2563 เป็นปีที่มีความสุขสำหรับทุกคนค่ะ
  • 21:53 - 21:54
    โอยยยย ทุกคน
  • 21:54 - 21:56
    เอาจริงๆ คลิปนี้เป็นคลิปที่เหนื่อยมากเลยนะคะทุกคน
  • 21:56 - 21:58
    วิวไม่รู้ว่าทุกคนเข้าใจแบบนัน้รึเปล่า
  • 21:58 - 21:59
    แต่สำหรับตัววิวเนี่ย
  • 21:59 - 22:00
    ก่อนที่จะทำคลิปนี้นะ
  • 22:00 - 22:01
    ส่วนตัวยังเข้าใจอยู่เลยว่า
  • 22:01 - 22:04
    เอ๊ย เรามีวันที่ 29 กุมภา ทุกๆ 4 ปี
  • 22:04 - 22:05
    ซึ่งจริงๆ แล้วไม่ใช่
  • 22:05 - 22:07
    ถ้าสมมติว่าเราไปใช้สูตรใหม่เนี่ย
  • 22:07 - 22:10
    บางปีผ่านไป 4 ปีแล้วก็ไม่มี 29 กุมภาฯ เหมือนกันนะคะ
  • 22:10 - 22:10
    ดังนั้น
  • 22:11 - 22:13
    นี่แหละ ใครเพิ่งจะรู้แบบนี้เหมือนวิวบ้าง
  • 22:13 - 22:16
    ใครที่ไม่เคยรู้เรื่องปฏิทิน Gregorian กับปฏิทิน Julian มาก่อนเลย
  • 22:16 - 22:18
    ก็ Comment มาคุยกันด้านล่างได้นะคะ
  • 22:18 - 22:21
    ส่วนใครมีคำถามอะไรน่าสนใจอยากให้วิวทำคลิปอะไรในปีหน้า
  • 22:21 - 22:24
    อยากเห็นคลิปในช่องเราเป็นรูปแบบไหนในปีหน้า
  • 22:24 - 22:25
    Comment มาคุยกันด้านล่างได้ค่ะ
  • 22:25 - 22:27
    วันนี้ลาไปก่อนนะคะทุกคน
  • 22:27 - 22:28
    สวัสดีปีใหม่ค่ะ
Title:
ทำไม1 มกรา ถึงเป็นวันปีใหม่ ? | Point of View
Description:

more » « less
Duration:
22:29

Thai subtitles

Revisions