ตกใจกันไหมทุกคน สวัสดีค่ะวิวจากแชนเนล Point of View ค่ะ สวัสดีปีใหม่ล่วงหน้าสำหรับใครหลายๆ คนที่ทันดูรอบสดด้วยนะคะ แล้วก็สวัสดีปีใหมม่ย้อนหลังสำหรับใครที่มาดูย้อนหลังในปี 2563 ค่ะ แหมะ พูดถึงสวัสดีปีใหม่ ตอนนั้น ตอนนี้ ตอนนู้น เดี๋ยวก็สวัสดีล่วงหน้า เดี๋ยวก็สวัสดีย้อนหลัง ว่าแต่ อยากรู้กันไหมคะว่าทำไมอยู่ดีๆ เราถึงมาฉลองปีใหม่กันในวันที่ 1 มกราคม แบบที่เราฉลองอยู่ทุกปี มันมีที่มาที่ไปจากอะไร? ใครเป็นคนคิดคนแรก? เนื่องจากนี่ก็เป็นอีก 1 เรื่องนะคะที่วิวอยากรู้มาตั้งนานแล้ว วิวก็เลยไปหาข้อมูลมาให้ทุกคนมาเรียบร้อยแล้วค่ะ ซึ่งอ้างอิงของวิวเนี่ยก็อยู่ด้านล่างสามารถไปตามอ่านกันได้ถ้าสมมติว่าใครอยากอ่านละเอียดค่ะ แต่สำหรับตอนนี้อย่าลืมกดติดตามวิวให้ครบทุกช่องทางนะคะ จะได้ไม่พลาดคลิปวิดีโอสนุกๆ แล้วก็ข่าวสารดีๆ จากช่อง Point of View ค่ะ สำหรับตอนนี้พร้อมจะไปฟังเรื่องราวที่ทั้ง สนุก แล้วก็มีสาระกันหรือยังคะ? ถ้าพร้อมกันแล้วก็ ไปฟังกันเลยค่ะ ถ้าเราจะพูดถึงว่าทำไมเราถึงฉลองปีใหม่ในวันที่ 1 มกราคมนะคะ ก็ต้องบอกว่าเราต้องไปพูดถึงการสร้างปฏิทินค่ะ เพราะว่าอะไร? เพราะว่าเอาจริงๆ เราฉลองปีใหม่ไม่ตรงกันหรอกค่ะ นึกสภาพไม่ต้องเป็นสมัยโบราณนะคะ แค่สมัยปัจจุบันนี้ เอาไม่ต้องประเทศไหนเลยแค่ในประเทศไทยเนี่ย เรายังมีวันปีใหม่เต็มไปหมดเลยใช่ไหมคะ? ไม่ว่าจะเป็นวันที่ 1 มกราคมที่เราฉลองกันทุกปีตามหลักสากล หรือว่าถ้าใครเป็นคนไทยเชื้อสายจีนก็จะรู้ว่าหลังจากที่เราฉลองตรุษจีนแล้วเนี่ย เราก็จะบอกว่ามันคือวัน ชิวอิก ชิวหยีชิวอะไร ก็คือปีใหม่ของจีนใช่ไหมคะ? หรือถ้าใครไปนึกถึงเพลงเสียงแหลมๆ ที่เราเปิดกันตอนสงกรานต์เนี่ย เราก็เปิดเพลง วันนี้วันดีปีใหม่ ท้องฟ้าแจ่มใสพาใจสุขสันต์ #@&^%$*%&$(^ นั่นแหละค่ะดำน้ำต่อไปไม่ถูกแล้วนะคะ เห็นไหมคะว่าแค่ในประเทศไทยเนี่ย เรายังฉลองปีใหม่ไม่ตรงกันเลยค่ะ ทีนี้เรามาลองดูกันที่สเกลใหญ่กว่านี้ดีกว่าค่ะ เราไปดูกันที่ปีใหม่ทั่วโลก นึกสภาพกลับไปในสมัยโบราณนะคะ ย้อนไปตอนอารยธรรมมนุษย์เริ่มต้นขึ้น นึกสภาพเราเป็นมนุษย์หินมนุษย์ถ้ำอะไรต่างๆ อ้าวอยู่ดีๆ เราจะมารู้กันได้ยังไงว่าเราต้องฉลองปีใหม่ในวันนี้วันที่ 1 มกราคม มันไม่ได้มีอะไรเป็นวันพิเศษอะไรเลยนี่คะ ไม่ได้เป็นวันพระจันทร์เต็มดวง ไม่ได้เป็นวันที่พระอาทิตย์ขึ้นทางนั้น พระอาทิตย์ขึ้นทางนี้ ไม่ได้มีดาวดวงนั้นดวงนี้มาเรียงกัน แล้วทำไมคนสมัยโบราณเค้าถึงเลือกวันนี้ให้เป็นวันปีใหม่ของเรา จะบอกว่ามันมีคำตอบเบื้องหลังอยู่ค่ะ ถ้าเราจะไปดูว่าทำไมเราถึงฉลองวันที่ 1 มกราคมนะคะ เราจะต้องย้อนกลับไปในอารยธรรมเมโสโปเตเมียค่ะ อารยธรรมลุ่มแม่น้ำไทกริส-ยูเฟรติสนะคะ ถ้าใครแม่นประวัติศาสตร์โลกหน่อยก็จะรู้ว่าเป็น 1 ในอารยธรรมแรกๆ ของโลกใช่ไหมคะ วันนี้เราไม่ได้จะไปดูถึงชาวสุเมเรียนที่เป็นคนประดิษฐ์อักษรลิ่มคูนิฟอร์มที่เป็นอักษรแรกของโลกนะคะ แต่เราจะไปดูที่ชาวบาบิโลเนียนค่ะ ชาวบาบิโลเนียนถือเป็นชนชาติแรกๆ ที่มีการบันทึกไว้ค่ะว่ามีการเฉลิมฉลองปีใหม่กัน แล้วถามว่าชาวบาบิโลเนียนเขาเฉลิมฉลองกันตอนไหน? เขาเฉลิมฉลองกันในวันที่ 1 มการาคม แบบที่เราฉลองกันอยู่ทุกวันนี้รึเปล่า ก็ต้องบอกว่าไม่ใช่เลยค่ะ ชาวบาบิโลเนียเนี่ยฉลองปีใหม่กันในช่วงเดือนมีนาคมค่ะ อ้าว! แล้วเดือนมีนาคมมีอะไรพิเศษนะคะ? ก็ต้องบอกว่า ในเดือนมีนาคมค่ะ มีสิ่งนึงเกิดขึ้น ก็คือเป็นช่วงเริ่มต้นของฤดูใบไม้ผลิ หรือว่า Spring นั่นเองค่ะ ก็ฟังดู Make Sense นะ เป็นตอนที่ฤดูหนาวเพิ่งจะผ่านพ้นไป พวกใบไม้ที่ตายๆ ไปเนี่ย ก็กำลังเริ่มผลิดอก ออกผลใหม่อีกรอบนึง เหมือนการเฉลิมฉลองชีวิตใหม่ใช่ไหมคะ? และชาวบาลิโลเนียนนี่เขา mark วันปีใหม่ของเขาไม่ใช่แค่ช่วง Spring เท่านั้นหรอกค่ะ แต่เขา Mark ไว้ในวันวันนึงค่ะ ที่เราเรียกว่า Vernal Equinox นะคะ หรือว่าในภาษาไทยเรียกว่า วสันตวิษุวัตนั่นเอง ก็คือวันที่กลางวันกับกลางคืนเนี่ยนะคะ ยาวเท่ากันค่ะ คือปกติแล้วพระอาทิตย์ของเราเนี่ยมันจะขึ้นแล้วก็ตกในทิศตะวันออกกับทิศตะวันตกใช่ไหม? แต่บอกเลยว่าจริงๆ ไม่ใช่นะคะ พระอาทิตย์ทุกวันเนี่ยไม่ได้ขึ้นทางทิศตะวันออกเป๊ะ และตกทางทิศตะวันตกเป๊ะค่ะ มันจะเบี่ยงบ้างแบบบางองศาอะไรงี้ แต่ในวันวสันตวิษุวัตมันจะขึ้นทางทิศตะวันออกเป๊ะ และตกทางทิศตะวันตกเป๊ะค่ะ ส่งผลให้กลางวันกับกลางคืนเนี่ยยาวเท่ากันนะคะ นี่ก็คือวันปีใหม่ที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่วิวหาเจอแล้วก็น่าจะเก่าแก่ที่สุดในโลกด้วยนะคะ อย่างไรก็ดีชาวบาบิโลเนียนนี่ไม่ใช่คำตอบที่เราค้นหานะคะ นั่นก็คือดังนั้นเรา Move ไปที่ชาวตะวันตกอารยธรรมถัดไปที่เราค้นหาดีกว่า นั่นก็คือชาวกรีกค่ะ ถามว่าชาวกรีกมีการเฉลิมฉลองปีใหม่ไหมก็ต้องบอกว่า มีค่ะ แล้วถามว่าเขาเฉลิงฉลองวันเดียวกับชาวบาบิโลเนียนไหม? ก็ต้องบอกว่าไม่ใช่ค่ะ แต่วันที่เขาเฉลิมฉลองเนี่ยก็ต้องบอกว่ามีความคล้ายกับชาวบาบิโลเนียนนิดนึง คือมันเกี่ยวข้องกับพระอาทิตย์ขึ้นพระอาทิตย์ตกนี่แหละ เพราะว่าวันที่เขาเฉลิงฉลองกันเนี่ยนะคะมันคือวัน Winter Solstice หรือว่าในภาษาไทยเรียกว่า วันเหมายันนั่นเองค่ะ มันก็คือวันที่อยู่ช่วงปลายๆ ปีที่เราน่าจะเคยได้ยินกันบ้างในช่วงวันที่ 21 ธันวาคมนะคะ วันนั้นคือวันที่กลางคืนยาวที่สุดของปีค่ะ แล้วก็กลางวันสั้นที่สุดนะคะ ซึ่งชาวกรีกนี่เขาก็จะเฉลิมฉลองกันในช่วงนั้นนี่แหละค่ะ อย่างไรก็ดีอารยธรรมกรีกไม่ใช่อารยธรรมสำคัญของเราในวันนี้ค่ะ อารยธรรมสำคัญที่สุดของเราในวันนี้ก็คือ อารยธรรมโรมันนั่นเอง ซึ่งอารยธรรมโรมันเนี่ยนะคะต้องขอบอกว่ามีระยะเวลาค่อนข้างยาวนานค่ะ และเขาก็มีปฏิทินของเขามาตั้งนานแล้วนะคะ อย่างไรก็ตามปฏิทินโรมันในยุคเริ่มแรกเนี่ยนะคะมีความสับสนงุนงงค่อนข้างมากค่ะ คือในยุคแรกๆ เนี่ยเหมือนใช้ปฏิทินแบบจันทรคตินะคะ ก็คือปฏิทินที่ดูตามดวงจันทร์นั่นเอง ก็คล้ายๆ กับปฏิทินไทยปัจจุบันนี้นี่แหละ ก็คือดูข้างขึ้นดูข้างแรมดูเดือนเพ็ญอะไรแบบนี้นะคะ อย่างไรก็ตามมันก็มีความสับสนนิดนึง เพราะว่ามันก็มีคนบางกลุ่มในอารยธรรมโรมันเนี่ย ที่ใช้ปฏิทินแบบสุริยคติ หรือว่าปฏิทินที่ดูตามพระอาทิตย์ค่ะ ว่าแบบพระอาทิตย์โคจรอะไรแบบนี้ อะไรแบบนั้น แล้วก็เอามาทำเป็นปฏิทินนะคะ ดังนั้นเมื่อมีระบบ 2 ปฏิทินเกิดขึ้นในเวลาเดียวกันเนี่ย คนก็เกิดการสับสนงุนงงอะไรต่างๆ ค่ะ จนกระทั่งมีคนสำคัญเกิดขึ้นคนนึง คนคนนั้นเป็นกษัตริย์องค์แรกของโรมันตามความเชื่อค่ะ คนคนนั้นก็คือ คิงโรมิวรัสนะคะ ซึ่งถ้าสมมติว่าใครแม่นประวัติศาสตร์โรมันนิดนึงก็จะรู้ว่า รูปของคิงโรมิวลัสเนี่ยถ้าสมมติว่าอยู่ที่ยุโรปเนี่ย จะเป็นรูปของหมาป่าตัวนึงที่มีนมแล้วเป็นเด็กสองคนที่กินนมอยู่ เด็กสองคนนั้นคือรีมัสกับโรมิวลัสนะคะ เป็นฝาแฝดกันค่ะ และนี่คือที่มาของรีมัส ลูปินส์จากแฮร์รี พอตเตอร์นะคะ ก็คือหมาป่า มันเกี่ยวข้องกับหมาป่าประมาณนี้แหละ ก็คือเขาเชื่อว่าคิงโรมิวลัสนี่คือคนที่หมาป่าเลี้ยงมาประมาณนั้นค่ะ เห็นไหมคะว่ามันเกี่ยวพันกันทุกเรื่องเลย แต่ไม่เกี่ยวกับเรื่องเดียวก็คือ ไม่เกี่ยวกับเรื่อง 1 มกราคมที่วิวกำลังจะเล่านี่แหละ นอกเรื่องอีกแล้ว กลับมานะคะทุกคน อะ กลับมาที่คิงโรมิวลัส กับวันที่ 1 มกราคมของเราค่ะ ในยุคของคิงโรมิวลัสค่ะ มีปฏิทินโรมันโบราณแบบนึงเกิดขึ้นมานะคะ ซึ่งมันเป็นปฏิทินที่ได้รับรากฐานมาจากปฏิทินแบบเดิมคือปฏิทินจันทรคติแหละ เหมือนกับเอาทุกอย่างมา Mix กันเรียบร้อยแล้ว แล้วเขาก็คำนวณออกมาแล้วให้เป็นปฏิทินนะคะ ซึ่งปฏิทินแบบนี้มีความพิเศษยังไงคะ บอกเลยว่าพิเศษค่ะ เพราะมันมีแค่ 10 เดือนด้วยกันค่ะ และแน่นอนว่าใน 10 เดือนนี้ก็จะต้องมีเดือนที่ 1 นะคะ ดังนั้นเขาเริ่มฉลองปีใหม่กันในเดือนนั้นค่ะ ถามว่าเดือนที่ 1 คือเดือนมกราคมใช่ไหม? บอกเลยว่าไม่ใช่ค่ะ เพราะว่าเดือนที่ 1 ของเขาคือเดือน มีนาคมหรือว่าเดือน March นั่นเองนะคะ อันนี้เป็นการออกเสียงแบบในสมัยปัจจุบันเนอะ ในสมัยนั้นเขาจะเรียกว่าเดือน Martius อะไรประมาณนี้นะคะ อันนี้เริ่มใช้ภาษาอังกฤษแล้วเนอะจะได้เข้าใจอะไรง่ายขึ้นนะคะ จะไม่ใช้ทั้งภาษาไทยและภาษาสมัยนู้นด้วยนะ ก็คือ March ถือเป็นเดือน 1 พอ March เป็นเดือน 1 นะคะ April ก็จะเป็นเดือน 2 May ก็เป็นเดือน 3 ไล่ไปเรื่อยๆ ใช่ไหมคะ และนี่คือสาเหตุที่ทำให้หลายๆ คนเนี่ย ที่พอจะรู้รากศัพท์บ้างเนี่ย งุนงงกันมานาน เช่นชื่อเดือน September ถ้าใครเคยเรียนเคมี hepta- แปลว่า 7 ใช่ไหมคะ อ้าวแล้วทำไม September ถึงเป็นเดือน 9 ทำไม octa- October เนี่ย octa- แปลว่า 8 ทำไมถึงเป็นเดือน 10 อะ นี่แหละค่ะ ที่มานะคะ อย่างไรก็ตามเรามาดูที่การแบ่งเดือนของเขาดีกว่า คิดว่าเขาแบ่งเดือนกันยังไงคะ คือเขาแบ่งเดือนจาก ปฏิทินจันทรคติค่ะ คือไปดูที่การขึ้นการลงของพระจันทร์นะคะ ดังนั้น 1 เดือนเนี่ยก็คือ เริ่มจากตอนที่ New Moon New Moon คือเสี้ยวของพระจันทร์เสี้ยวแรกที่เพิ่งจะโผล่มาหลังจากพระจันทร์ดับนะคะ นึกสภาพในคืนจันทร์แรมอะค่ะ ที่แบบไม่มีพระจันทร์เลยอะนะแล้วพระจันทร์เริ่มโผล่มา ฟึบ อันแรกเนี่ยแหละค่ะ เขาเรียกว่า New Moon หลังจากที่พระจันทร์หายไปประมาณนั้น นี่ก็จะเป็นต้นเดือนใช่ไหมคะ หลังจากนั้นก็จะนับเดือนไปเรื่อยๆ จนกระทั่งพระจันทร์เต็มดวง แล้วก็พระจันทร์หายไปอีกรอบ นี่ก็คือ 1 เดือนนะคะ และเป็นที่มาของการเรียกเดือนว่า Month นั่นเอง จะเห็นว่า month กับ moon เนี่ยคล้ายกันมากเลย เพราะว่ามันมีที่มาแบบนี้นี่แหละค่ะ หรือแม้แต่ในประเทศไทยเนี่ย เดือน เดือนก็แปลว่าพระจันทร์ด้วยใช่ไหม? นี่แหละค่ะการนับเดือนทั่วโลกค่อนข้างจะเกี่ยวกับพระจันทร์นะคะ ซึ่งเหล่านี้แปลว่าอะไรคะ? แปลว่าวันปีใหม่ของชาวโรมันโบราณเนี่ย ก็คือวันที่เกิด New Moon ของเดือนมีนาคมนั่นเองค่ะ ก็จะนับว่าอะ ขึ้นปีใหม่แล้ว ฉลองกันได้จ้า แล้วถามว่าปฏิทินแบบนี้มีปัญหาอะไรคะ? ก็ต้องบอกว่าปฏิทินแบบนี้มีปัญหาก็คือ ในช่วงฤดูหนาวค่ะ ช่วงที่เป็นช่วงมืดมนแห่งปีเนี่ย เขาไม่นับอยู่ในปฏิทินนะคะ ถือว่าเป็นช่วงเดือนว่างไปเลย ประมาณว่าไม่มีชื่อเดือน นี่ไม่ได้อยู่ในปฏิทินของฉัน ช่างฤดูหนาวไป เหมือนกับว่าทุกคนไม่ใส่ฤดูหนาวนะคะ ดังนั้นปฏิทินของโรมันโบราณนะคะ ปีนึงก็เลยมีแค่ 304 วันเท่านั้นค่ะ ซึ่งทำให้คนสมัยนั้นเนี่ยสับสนงุนงงกันนิดนึงนะคะ ประมาณว่าฉันจะนับวันนับเดือนในช่วงฤดูหนาวยังไง อยู่ดีๆ ปฏิทินก็หายไป 61 วันในช่วงฤดูหนาวแบบนี้อะ ดังนั้นเมื่อมีคนสับสนงุนงงค่ะก็จะต้องมีการแก้ไขใช่ไหมคะ เราต้องมีพูดถึงกษัตริย์โรมันอีกคนนึงค่ะ คนคนนั้นก็คือกษัตริย์ Numa Pompilius นั่นเองนะคะ ซึ่งกษัตริย์องค์นี้เนี่ย เขาทำคุณประโยชน์ให้กับเราอย่างใหญ่หลวงเลยค่ะ สำหรับโลกใบนี้ เพราะว่าเขาบอกว่า อ้าว ทำไมเราถึงทิ้งให้เดือนนึงมันหายไปตั้ง 61 วัน หายไปเราก็เติมสิ ดังนั้นเขาก็เลยยัดเดือน 2 เดือนเข้าไปในปฏิทินของโรมันโบราณค่ะ ก็คือเดือน January กับ Febuary หรือที่สมัยก่อนเขาเรียกว่า ประมาณนี้นะคะ วิวออกเสียงไม่้ได้นั่นเองค่ะ ซึ่งปฏิทินนี้นะคะ เราก็เริ่มใช้กันราวๆ 509 ปีก่อนคริสตศักราช เราเรียกปฏิทินนี้ว่า Republic Calendar นะคะ มีใครสังเกตอะไรจากปฏิทินนี้ไหมคะ? จะเห็นว่ามันยังไม่มีเดือนที่ชื่อว่า July กับ August ค่ะ แต่จะเป็นเดือนที่ชื่อว่า Quintulis กับ Sextilis แทนค่ะ ซึ่งเป็นคำแปลว่า 5 แล้วก็ 6 ในภาษาละตินนะคะ ว่าแต่แล้วเดือน July กับ August เนี่ยมาได้ยังไง? ก็ต้องบอกว่าเป็นการตั้งชื่อตาม บุคคลสำคัญ 2 คนของโรมันนะคะ ก็คือ Julius Caesar แล้วก็ Augustus Caesar นั่นเองค่ะ โดย Julius Caesar ก็คือเดือน July แล้ว Augustus ก็คือเดือน August นั่นเองค่ะ โดยปฏิทินของ Republic เนี่ยตลอดปีก็จะมีทั้งหมด 355 วันค่ะ โดยแต่ละเดือนเนี่ยก็จะมีเดือนที่เป็น Full Month ก็จะมีทั้งหมด 31 วัน ส่วนเดือนที่มีวันน้อยลงมาก็คือHallow Month จะมีทั้งหมด 29 วันนะคะ และเดือนพิเศษเดือนนึงก็คือ Febuary กรือเดือนที่ 2 เนี่ยก็จะมีแค่ทั้งหมด 28 วันเท่านั้นเองค่ะ ถามว่าการเติม 2 เดือนนี้เข้ามาส่งผลกระทบยังไงกับเราคะ? ผลกระทบของการเติม 2 เดือนนั้นเข้ามาก็คือ ทำให้วันปีใหม่เนี่ยนะคะ เลื่อนจากวันที่ 1 มีนาคม ไปที่วันที่ 1 มกราคมแทนค่ะ และนี่ก็คือจุดเริ่มต้นของการเฉลิมฉลองปีใหม่ในเดือนมกราคมนะคะ อย่างไรก็ตาม นี่ไม่ใช่มกราคมแบบที่เราคุ้นเคยกันในทุกวันนี้ค่ะ เพราะว่า ต่อให้มันเฉลิมฉลองวันที่ 1 มกราคมแล้ว แต่วันที่1 มกราคมเนี่ย มันไม่ใช่วันที่ 1 มกราคมแบบเดียวกับเราค่ะ เพราะว่า มันยังเลื่อนไปเลื่อนมาอยู่ มันยังไม่ได้ Fix วันนะคะ ถ้าเราจะ Fix วันเนี่ยเราต้องพูดถึงว่าปัญหาของปฏิทินนี้คืออะไรค่ะ ปัญหาก็คือทุกวันนี้เรารู้กันแล้วใช่ไหมว่าปีนึงมันมี 365 - 366 วัน ดังนั้นการที่ปีของชาวโรมันโบราณมีแค่ 355 วันเกิดอะไรคะ? ผลกระทบก็คือ ในทุกปีเนี่ยวันมันก็จะ เลื่อน เลื่อน เลื่อน เลื่อน คือมันเหมือนมีวันจำนวนนึงอะ ขาดไปใช่ไหมคะ? สุดท้ายฤดูกาลกับปฏิทินมันก็เลยไม่สัมพันธ์กันค่ะ ถามว่าเขามีวิธีแก้ไหม? คนสมัยโบราณไม่ได้คำนวณไม่ได้นะคะทุกคน เขาค่อนข้างจะแม่นเรื่องการคำนวณค่ะ ดังนั้นนะคะเขาเลยมีการเติมเดือนพิเศษเข้าไปในทุกๆ 2-3 ปีค่ะ เพื่อที่เหมือนกับว่าเราสะสมๆ วันที่ขาดไปแล้วประมาณ 3 ปี อะปีนี้เติมเข้าไป 1 เดือน ปึ้ง ปฏิทินมันก็จะเด้งกลับมาในระยะเวลาปกติใช่ไหมคะ? ซึ่งเดือนนั้นเนี่ยนะคะ เราจะเรียกว่าเดือน Mercedonius นั่นเองค่ะ ทีนี้แล้วจะถามว่าจะเพิ่มตอนไหน เพิ่มเมื่อไหร่ กฎเกณฑ์คือยังไง? ก็ต้องบอกว่า ไม่มี! ไม่มีกฎนะคะ คือเพิ่มที่ประมาณ ทุกๆ 2-3 ปีค่ะ โดยที่ให้ผู้ที่มีอำนาจในยุคนั้นนะคะ เรียกว่า Pontifex Maximus เนี่ย เป็นคนมีอำนาจสั่งว่า เอาล่ะ ปีนี้ข้าขอสั่งให้มีเดือนพิเศษเกิดขึ้น! ผ่าม! แล้วทุกคนในอาณาจักรนะคะ ก็จะใส่เดือนพิเศษเข้าไปในปฏิทิน พึ่บ! เข้าไปอย่างงี้เลย ถามว่าการที่ไม่มีกฎเกณฑ์แน่นอนแล้วให้ผู้มีอำนาจเป็นคนสั่ง ทำให้เกิดอะไรขึ้นคะ? สิ่งนั้นก็คือทำให้เกิดการโกงกันขึ้นค่ะ แล้วคิดว่าเขาเอาวันที่เกินมาไปโกงอะไรคะ? ก็คือโกงเรื่องการปกครองนั่นเองนะคะ เพราะว่าสมมติว่าคนที่มีอำนาจสั่งเนี่ยรู้สึกว่า เห้ย ตอนนี้ฉันกำลังปกครองอยู่แล้วมันกำลังจะหมดวาระของฉันแล้ว ฉันอยากมีวาระการปกครองเพิ่มขึ้นอีก 1 เดือนทำยังไงดีนะ อะ สั่งเพิ่มเดือนพิเศษดีกว่า อะทุกคนปีนี้มีเดือนพิเศษ ผ่าม! ก็ได้ระยะเวลาการปกครองขึ้นมาอีก 1 เฮือกซะอย่างนั้นเลยนะคะ หรือว่าถ้าสมมติว่าแบบ เห้ย ปีนี้ฐานเสียงฉันดี เดี๋ยวปีหน้าเดี๋ยวฉันก็ได้รับเลือกกลับเข้ามาใหม่ อะ อะ ปีนี้ไม่มีเดือนพิเศษดีกว่า ก็ทำได้นะคะ ดังนั้นมันก็เลยเกิดการสับสนงุนงงกันอย่างยิ่งยวดเลยค่ะ สุดท้ายนะคะ ก็มีคนคนนึงทนไม่ได้เลยค่ะ คนคนนั้นก็คือ Julius Caeser นั่นเอง คือ Julius Caeser เนี่ยนะคะ ตอนนั้นขึ้นมาปกครองโรมันค่ะ แล้วก็รู้สึกว่าระบบนี้มันไม่ Okay เลย มันไม่ Make Sense เราควรจะมีวันที่สามารถคำนวณได้สิ ดังนั้น Julius Caeser ก็เลยไปปรึกษานักดาราศาสตร์คนนึงค่ะ ซึ่งเขาชื่อว่าคุณ So ci... So cigi....อะไรประมาณนี้นะคะ ชื่อประมาณนี้แหละ เขาก็ไปปรึกษากันนะคะแล้วก็บอกว่า เอ๊ย ไปคำนวณมาซิปีนึงมันควรจะมีกี่วันกันแน่ เพื่อที่เราจะได้ไม่ต้องมาใส่ไอ้เดือนพิเศษนี้กันค่ะ ซึ่งคุณนักดาราศาสตร์คนนี้เขาก็ไปคำนวณอะไรต่างๆ มาเรียบร้อยนะคะ แล้วเขาก็คำนวณขึ้นมาได้ค่ะว่า เอ๊ย จริงๆ แล้วปีนึงของเราเนี่ยมันไม่ได้มี 355 วัน จริงๆ มันมี 365.25 วันต่างหาก ดังนั้นทุกคน เรามาสร้างปฏิทินใหม่กันดีกว่า ช่างหัวพระจันทร์ ช่างหัวอะไรทั้งสิ้น คือแต่เดิมเดือนเนี่ยมันมัวแต่ไปตามพระจันทร์ ตามนู่นตามนี่ อะ เรามาตามพระอาทิตย์กันดีกว่านะ แล้วก็ตั้งเลยว่าปีนึงเนี่ยมี 365 วัน แล้วก็ทุกๆ 4 ปีเนี่ยเราก็จะมี วันพิเศษ 1 วันเพื่อที่วันนั้นเนี่ยนะจะได้ชดเชยของวันอื่นๆ ใน 3 ปีที่ผ่านมา แล้วปีนึงมันจะได้มี 365.25 วันพอดีเป๊ะเลยตกลงไหมนะคะ สุดท้ายถามว่า Julius Caesar ชอบไหมไอเดียนี้ Julius Caesar ชอบนะคะ ดังนั้นนะคะ Julius Caesar ก็เลยสั่งให้ประดิษฐ์ปฏิทินแบบนี้ขึ้นค่ะ และสั่งให้ทุกคนเนี่ยใช้ปฏิทินนี้นะคะ ซึ่งเราเรียกปฏิทินชนิดนี้ว่า Julian Calendar นั่นเองค่ะ แล้วถามว่าวันพิเศษของ Julius Caesar ที่เติมเข้ามาเพื่อให้เต็มวันเนี่ยมันคือวันที่เท่าไหร่ มันคือวันที่ 29 กุมภาพันธ์แบบที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้รึเปล่านะ ก็ต้องบอกว่าไม่ใช่ค่ะ แม้ว่าจะเติมเข้ามาในเดือนกุมภาพันธ์เหมือนกันเนี่ยนะคะ แต่วันที่เติมเข้ามาของสมัย Julius Caesar เนี่ย คือวันที่ 23 กุมภาพันธ์ค่ะ คือปีไหนก็ตามที่เขาถือว่าเป็น Leap Year นะคะ ก็คือปีที่แบบ จะเอามา Adjust ให้ทุกอย่างเข้าที่เนี่ย เขาจะมีวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2 วันค่ะ คือเช้าวันนี้เป็นวันที่ 23 อะนอนไปตื่นขึ้นมาเป็นวันที่ 23 อีกรอบนึงค่ะ และแน่นอนว่าตอนนี้วันที่ของเราเนี่ย Fix แล้วใช่ไหมคะ ก็จะต้องมีการเลือกกันค่ะว่า เอ...แล้วเราจะเริ่มต้น ใช้ปฏิทินนี้วันไหน ปีไหน อะไรยังไงนะคะ แล้วถามว่าคุณ Julius Caesar ของเราเนี่ยเขาเริ่มปักว่าจะใช้ปฏิทินนี้วันแรกในวันไหน เพราะนั่นคือวันที่ 1 มกราแบบที่คล้ายๆ กับที่เราคุ้นเคยกันในปัจจุบันใช่ไหมคะ หลังจากที่ 1 มกราเนี่ยมันเลื่อนไปเลื่อนมามานานจากการตามพระจันทร์ เอาจริงๆ นะคะ บางคนเนี่ยเขาก็บอกกันว่า วันที่ 3 มกราคมในทุกวันนี้ จริงๆ ควรจะเป็นวันปีใหม่มากกว่าวันที่ 1 มกราคมในทุกวันนี้มากกว่าอีกค่ะ เพราะว่าวันนั้นคือวันที่โลกโคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดของปีนะคะ อย่างไรก็ตาม Julius Caesar ของเราก็ดันเลือก 1 มกราคมแบบปัจจุบันเป็นวันแรกของปีค่ะ อยากรู้กันไหมคะว่าทำไม เอาจริงๆ มันก็มีหลายทฤษฎีค่ะ ทฤษฎีนึงเนี่ยบอกไว้ว่า เพราะว่าวันที่ 1 มกราคมแบบทุกวันนี้เนี่ยนะคะ เป็นวันที่เวลากลางวันของซีกโลกเหนือ จะค่อยๆ ยาวขึ้นๆๆตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปค่ะ อย่างไรก็ตามนะคะเราก็ยังไม่ชัวร์ค่ะว่านี่คือเหตุผลที่เขาเลือกวันนี้ เพราะถ้าพูดถึงวันสำคัญเกี่ยวกับพระอาทิตย์ที่ใกล้กว่านั้นเนี่ย มันก็คือวันเหมายันช่วงวันที่ 21 ธันวาคมต่างหาก ชัดกว่าตั้งเยอะนะ คุณ Julius Caesar นะคะ แทนที่เขาจะเลือกว่าเอาล่ะวันที่กลางคืนยาวที่สุดกลางวันสั้นที่สุด เพราะว่ามันเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ อยู่ดีๆ ค่ะแม้ว่าเขาจะบอกว่าเขาเลิกใช้พระจันทร์แล้ว แต่เจาก็ดันไปปัก วันที่ 1 มกราคมนะคะ ตามพระจันทร์ซะอย่างนั้นค่ะ ก็คือเขาไปยึดหลักการเริ่มเดือนแบบโบราณของโรมันนู่นเลย ก็คือเริ่มที่ New Moon นะคะ และในปีที่เขาเริ่มใช้ปฏิทินนี้ค่ะก็คือ 46 ปีก่อนคริสตศักราชนะคะ ดังนั้นนะคะวันที่เกิด New Moon ของ46 ปีก่อนคริสตศักราช ก็เลยเป็นวันที่ Mark วันทีที่ 1 มกราคมตั้งแต่นั้นมาค่ะ อย่างไรก็ตามค่ะ คิดว่าคลิปนี้จบแล้วใช่ไหม ยังๆ ดูข้างล่างเวลายังเหลืออีกเพียบเลย เพราะว่าอะไร? ถามว่าคุณนักดาราศาสตร์สมัยโรมันเนี่ย คำนวณแม่นไหมก็ต้องบอกว่า แม่นมากแล้วเมื่อเทียบกับสมัยโบราณ ทุกคนก็จะแบบ อ้าว! แต่นี่มันปฏิทินแบบที่เราใช้ทุกวันนี้แล้วหนิ ขอบอกว่า ไม่ใช่ค่ะ ทุกคนจำผิดนะคะ แม้ว่าทุกวันนี้เราจะสอนกันเข้าใจง่ายๆ ว่าทุก 4 ปีเนี่ยเราจะมีวันพิเศษขึ้นมาวันนึง แต่ จริงๆ แล้วไม่ใช่นะคะ ปฏิทินที่เราใช้ในทุกวันนี้ ไม่ได้มีวันที่ 29 กุมภาพันธ์ในทุก 4 ปีค่ะ เพราะว่าอะไร? เพราะว่าแม้ว่าคุณนักดาราศาสตร์สมับโรมันจะคำยวณแม่นขนาดไหนก็ตาม แต่มันไม่ได้แม่นขนาดนั้นค่ะ คือ ที่เขาคำยงณไว้ว่า 1 ปีมี 365.25 วันเนี่ย จริงๆ เขาตำนวณเกินไปนิดนึงค่ะ คือปีนึงอะไม่ได้มี 365.25 วันเป๊ะๆหรอก จริงๆ มันเป็น 365.24 แล้วก็ตัวเลขยาวๆ อีกเต็มไปหมดนะคะ คือเขาคำนวณเกินไปเนี่ยนะคะ ปีนึงประมาณ 11 นาทีแล้วก็ 14 วินาทีค่ะ ทุกคนก็จะแบบคำนวณเกินไป 11 นาทีเองไม่มีปัญหาอะไรหรอก แต่จริงๆ แล้วมันก่อให้เกิดปัญหาค่ะ เพราะว่าปฏิทินของจูเลียนเนี่ยนึกสภาพว่าถ้าใช้มาถึงปัจจุบันนี้มันก็เป็นพันปีแล้วใช่ไหมคะ พันปีคูณ 11 นาทีอู้หู หายไปหลายวันพอสมควรเลยนะ ดังนั้นปัญหาของปฏิทินจูเลียนค่ะ ก็เลยเริ่มแสดงออกมาในช่วงประมาณยุคกลางของยุโรปค่ะ ในช่วงนั้นเนี่ยนะคะ คนเริ่มรู้สึกว่าแบบ เอ...ปฏิทินที่ฉันใช้อยู่เนี่ยมันไม่ตรงกับฤดูกาลปัจจุบันเลยนะ เพราะว่าวันที่เนี่ยนะคะมันเลื่อนไปประมาณ 10 วันด้วยกันแล้วค่ะ ดังนั้นคนก็เริ่มรู้สึกว่า เห้ยปฏิทินมันมั่วรึเปล่า ทำไมวันที่กลางวันกลางคืนมันควรจะเท่ากัน มันก็ไม่เท่า ทำไมอะไรยังไง?นะคะ งงกันไปหมดค่ะ ประกอบกับว่าช่วงนั้นเนี่ย มันมีการฉลองปีใหม่กันมั่วขึ้นมาอีกรอบนึง ไม่ได้ฉลองที่วันที่ 1 มกราคมแล้ว ถามว่าเพราะอะไร? เพราะว่าคนที่กำหนดให้ฉลอง 1 มกราคม คือ ชาวโรมัน และ ชาวยุโรปยุคกลางเนี่ยเป็นยุคที่แบบว่า ค่อนข้างจะนับถือศาสนาคริสต์คากอลืกค่อนข้างโหดใช่ไหม แล้วก็เป็นช่วงที่แบบว่า ถ้าใครไม่เชื่อตามที่บาปหลวงกล่าว มันจะต้องเป็นพ่อมดเป็นพวกนอกรีตเป็นพวกศาสนาเพแกนทำนองนี้ใช่ไหมคะ? ดังนั้นค่ะ การเฉลิมฉลองวันปีใหม่ในช่วงวันที่ 1 มกราคมเนี่ย มันดูจะเป็นของศาสนาของชาวโรมัน ชาวยุโรปยุคกลางก็เลย มั่วกันไปหมดเลยค่ะ แบบฉันจะฉลองวันนี้ละกัน อะฉันจะฉลองวันนั้นละกัน ฉันกลับไปฉลองตอน X'mas แล้วกัน ฉันไปฉลองเดือนมีนาคมแล้วกันค่ะ เรื่องราวของปฏิทินนะคะก็มั่วกันแบบนี้มาเรื่อยๆ ค่ะ จนกระทั่งมาถึงปี 1582 นะคะ ก็เกิดคนคนนึงนะคะที่เกิดการทนไม่ได้อีกแล้วกับการที่ปฏิทินมันมั่วขนาดนี้ แล้ววันกับฤดูกาลเนี่ยมันไม่ตรงกันนะคะ คนคนนั้นเป็น Pope ค่ะ นั่นก็คือสมเด็จพระสันตะปาปาGregory XIIIนะคะ คือท่านเนี่ยรู้สึกว่าแบบ เอ๊ย มันไม่โอเคแล้วที่ปฏิทินเราจะมั่วแบบนี้ ดังนั้นท่านก็เลยไปปรึกษานักดาราศาสตร์ค่ะ ซึ่งนักดาราศาสตร์ที่ท่านไปปรึกษานะคะ ก็ชื่อว่า... ... นี่แหละค่ะ ชื่อนี้แหละ คือวิวอ่านไม่ออกอีกแล้วนะคะทุกคน ซึ่งหลังจากที่ท่านไปปรึกษานักดาราศาสตร์คนนี้นะคะ นักดาราศาสตร์คนนี้ก็บอกว่า เออ มันไม่ Work แล้วแหละ เราจะต้องคำนวณกันใหม่แล้วว่าปีนึงมันมีกี่วัน ดังนั้นนักดาราศาสตร์คนนี้นะคะก็เลยไปคำนวณอะไรต่างๆ มาค่ะ แล้วก็ได้คำตอบเหมือนที่วิวบอกทุกคนไปนี่แหละ ว่าจริงๆ แล้วปีนึงมันไม่ได้มี 365.25 วัน แต่มันเป็น365.24บลาๆๆๆๆยาวเหยียดเลยนะคะ ดังนั้นสมเด็จพระสันตะปาปาGregory นะคะ ก็เลยรู้สึกว่าเราจำเป็นจะต้องออกปฏิทินใหม่อีกอันนึงแล้ว เพื่อที่จะปรับเวลาเนี่ย ให้ตรงกับฤดูกาลนะคะ ก็เลยออกเป็นปฏิทินอันใหม่มาค่ะ ชื่อว่าปฏิทิน Gregorian นั่นเอง ซึ่งปฏิทิน Gregorianเนี่นะคะ ก็เป็นปฏิทินที่เราใช้กันอยู่จนถึงปัจจุบัน ถ้าใครเคยปรับปฏิทินในมือถือของตัวเองจะเห็นว่ามันจะมีให้เลือกว่าแบบ จะมีให้เลือกว่าจะใช้ปฏิทินแบบจีน ปฏิทินแบบGregorian นี่แหละค่ะที่มานะคะ ปัญหาก็คือตอนที่จะเริ่มใช้ปฏิทินแบบ Gregorian เนี่ยนะคะ วันในปีเนี่ยมันเกินมาแล้วทั้งหมด 10 วันใช่ไหม ที่มันไม่ตรงกับฤดูกาล ดังนั้นมันก็ต้องมีการปรับปฏิทินกันอีกรอบนะคะ สมเด็จพระสันตะปาปา Gregory นะคะก็เลย มีการประกาศออกมาในปี 1582 ค่ะว่า เอาล่ะ เราจะลบวันที่ออกจากปฏิทินทั้งหมด 10 วันนะจ๊ะทุกคน เพื่อที่ว่าปฏิทินมันจะได้อยู่ในวันที่ที่ถูกต้องอีกครั้งนึง ในปี 2582 ก็เลยไม่มีวันที่ 5-14 ตุลาคมนะคะ คือพอเวลาเรานอนไปในคืนวันที่ 4 ตุลาคม ตื่นเช้ามาปุ๊บมันจะกลายเป้นวันที่15 ตุลาคมทันทีเลยค่ะ อะ ตอนนี้เราปรับปฏิทินและฤดูกาลให้ตรงกันแล้วเรียบร้อยใช่ไหมคะ? แล้วทำยังไงให้ในอนาคตเนี่ยวันที่มันไม่คลาดเคลื่อนอีก ก็ 365.24...อะไรสักอย่างวันเนี่ยมันจะไปคำนวณยังไง ก็ต้องบอกว่า หลังจากใช้สูตรคณิตศาสตร์อะไรต่างๆ ค่ะ เขาก็เลยคำนวณออกมาได้ว่า อะ เราจะต้องมีปีที่มีวันที่ 29 กุมภาพันธ์นี่แหละ เพื่อที่จะเป็น Leap Year นะคะ คือเป็นปีที่เอาไว้ปรับให้ปฏิทินมันกลับมาตรงอีกครั้งนึง แต่ถามว่ามันจะมีทุกกี่ปี ในเมื่อสูตาทุก 4 ปีเนี่ยมันไม่ Valid แล้วนะคะ เขาก็บอกว่าสูตรคำนวณง่ายมากค่ะ ให้ไปดูที่ 2 กรณีด้วยกัน คือไปดูที่ปี ค.ศ. ว่าปี ค.ศ. นั้นเนี่ยลงท้ายด้วย 00 รึเปล่า สำหรับปีไหนที่ไม่ได้ลงท้ายด้วย 00 เนี่ยนะคะ ให้เอา 4 หารปี ค.ศ. ค่ะ ถ้าสมมติว่า 4 หารลงตัว อะ ปีนั้นจะเรียกว่า Leap Year นะคะ คือปีที่เดือนกุมภาพันธ์เนี่ยมี 29 วันค่ะ ส่วนถ้าปีไหนมันลงท้ายด้วย 00 พอดีเป๊ะเนี่ยนะคะ อย่าหารด้วย 4 ค่ะ ให้หารด้วย 400 ถ้าหารด้วย 400 ลวตัว ปีนั้นคือ LEap Year แต่ถ้าหารด้วย 400 ไม่ลงตัว ปีนั้นก็จะไม่ใช่ Leap Year นะคะ นี่ก็เป็นจุดแต่งต่างระหว่างปฏิทิน Julian กับปฏิทิน Gregorian ค่ะ และทั้งหมดนี้ก็คือปฏิทินที่เราใช้อยู่ในปัจจุบันแบบเป็นสากลนะคะ และก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เรา ฉลองปีใหม่ในวันที่ 1 มกราคม แบบที่เป็น 1 มกราคมในปัจจุบัน ไม่ใช่ 1 มกราคมที่ลอยไปลอยมา ไปอยู่ที่วันนั้นวันนี้วันนู้น นั่นเองค่ะ โอ๊ะ เป็นไงคลิปนี้ยากมาก มึนมาก งงมากนะคะ ตอนแรกคิดว่าจะทำคลิปปีใหม่ขำๆ สนุกๆ แบบ เออ ตอบคำถามง่ายๆ แค่ปฏิทิน Julian นู่นนี่นั่น พอไปค้นข้อมูลเข้าไปแบบ โอ้โห! ทุกคน ความคณิตศาสตร์นี้มึนไหมคะ อย่างไรก็ตามเพื่อเพิ่มความมึนให้กับทุกคนเพิ่มไปอีกนะคะ ก็ต้องบอกว่าถามว่าเราเริ่มใช้ปฏิทิน Gregorian เมื่อไหร่ ก็ต้องบอกว่า เมื่อ Pope ประกาศมาแล้วเนี่ยนะคะ แต่ละประเทศก็ค่อนๆ เปลี่ยนตามไปเรื่อยๆ ก็เปลี่ยนไม่พร้อมกันนะคะ และในคนบางกลุ่มเนี่ยก็ยังมีคนที่ใช้ปฏิทิน Julian อยู่จนถึงปัจจุบันนี้เหมือนกันนะคะ ก็คือศาสนาคริสต์นิกายกรีกออร์ทอดอกซ์นะคะ ทางนั้นเนี่ยเขาจะใช้ปฏิทิน Julian ในการคำนวณพวกวันพิเศษที่เขาจะต้องเฉลิมฉลองต่างๆ เช่น วันอีสเตอร์อะไรแบบนี้ ซึ่งในปัจจุบันนี้วันของเขาก็จะห่างกับเราทั้งหมด 11วันด้วยกันค่ะ แตกต่างจากสมัยยุคกลางที่ห่างกัน 10 วันเนอะ อะเพื่อไม่เพิ่มความงงให้ทุกคนไปมากกว่านี้ วิวคิดว่าคลิปสุดท้ายของปี 2562ของเราเนี่ย ยาวพอสมควรแล้วค่ะ ก็ วิวขอขอบคุณทุกคนนะคะที่ติดตามวิวมาตลอดปีนี้ แล้วก็ขอ สวัสดีปีใหม่ค่ะทุกคน ขอให้ทุกคนมีความสุขในปี 2563 ที่กำลังจะมาถึงนี้ค่ะ สำหรับใครที่ชื่นชอบคลิปนี้นะคะ อย่าลืมกด Like เพื่อเป็นกำลังใจให้วิว แล้วก็กด Share เพื่อชวนเพื่อนๆ มาดูด้วยกันค่ะ ก่อนจะจากกันไปขออนุญาต สวัสดีปีใหม่ 2563 ทุกคน แล้วก็ขอให้ปี 2563 เป็นปีที่มีความสุขสำหรับทุกคนค่ะ โอยยยย ทุกคน เอาจริงๆ คลิปนี้เป็นคลิปที่เหนื่อยมากเลยนะคะทุกคน วิวไม่รู้ว่าทุกคนเข้าใจแบบนัน้รึเปล่า แต่สำหรับตัววิวเนี่ย ก่อนที่จะทำคลิปนี้นะ ส่วนตัวยังเข้าใจอยู่เลยว่า เอ๊ย เรามีวันที่ 29 กุมภา ทุกๆ 4 ปี ซึ่งจริงๆ แล้วไม่ใช่ ถ้าสมมติว่าเราไปใช้สูตรใหม่เนี่ย บางปีผ่านไป 4 ปีแล้วก็ไม่มี 29 กุมภาฯ เหมือนกันนะคะ ดังนั้น นี่แหละ ใครเพิ่งจะรู้แบบนี้เหมือนวิวบ้าง ใครที่ไม่เคยรู้เรื่องปฏิทิน Gregorian กับปฏิทิน Julian มาก่อนเลย ก็ Comment มาคุยกันด้านล่างได้นะคะ ส่วนใครมีคำถามอะไรน่าสนใจอยากให้วิวทำคลิปอะไรในปีหน้า อยากเห็นคลิปในช่องเราเป็นรูปแบบไหนในปีหน้า Comment มาคุยกันด้านล่างได้ค่ะ วันนี้ลาไปก่อนนะคะทุกคน สวัสดีปีใหม่ค่ะ