วิกฤติผู้ลี้ภัยคือบททดสอบของความเป็นมนุษย์
-
0:01 - 0:04ผมจะพูดกับคุณ
เกี่ยวกับวิกฤติผู้ลี้ภัยทั่วโลก -
0:04 - 0:08เป้าหมายของผมก็คือ
การแสดงให้คุณเห็นว่าวิกฤตินี้ -
0:08 - 0:11สามารถจัดการได้ ไม่ใช่แก้ไขไม่ได้
-
0:12 - 0:17และเพื่อแสดงให้คุณเห็นว่า
มันเป็นเรื่องของเราและเกี่ยวข้องกับเรา -
0:17 - 0:21พอ ๆ กับที่เป็นเรื่องที่เหล่าผู้ลี้ภัย
กำลังเผชิญอยู่โดยตรง -
0:21 - 0:24สำหรับผมแล้ว นี่ไม่ได้เป็นเพียงแค่
ภาระทางหน้าที่การงาน -
0:24 - 0:29เพราะผมดูแลองค์กร NGO
ที่ช่วยเหลือผู้ลี้ภัยและผู้พลัดถิ่นทั่วโลก -
0:29 - 0:30มันเป็นเรื่องในระดับบุคคล
-
0:31 - 0:33ผมชอบภาพนี้
-
0:34 - 0:36ผู้ชายรูปหล่อที่อยู่ด้านขวา
-
0:36 - 0:37นั่นไม่ใช่ผมนะครับ
-
0:38 - 0:41นั่น ราฟ คุณพ่อของผม
ที่ลอนดอน ปี ค.ศ. 1940 -
0:41 - 0:43กับคุณพ่อของเขาชื่อซามูเอล
-
0:44 - 0:46พวกเขาเป็นผู้ลี้ภัยชายยิวจากเบลเยี่ยม
-
0:46 - 0:49พวกเขาหนีภัยสงครามตอนที่กองทัพนาซีบุก
-
0:51 - 0:52ผมชอบรูปนี้เช่นกัน
-
0:52 - 0:55เป็นรูปกลุ่มเด็ก ๆ ผู้ลี้ภัย
-
0:55 - 0:58จากโปแลนด์ที่เพิ่งไปถึงเกาะอังกฤษ
ในปี ค.ศ. 1946 -
0:59 - 1:02คนที่อยู่ตรงกลางนั่นคือแม่ของผม มาเรียน
-
1:03 - 1:06เธอถูกส่งมาเพื่อเริ่มต้นชีวิตใหม่
-
1:06 - 1:07ในประเทศใหม่
-
1:07 - 1:08ด้วยตัวเองของเธอเอง
-
1:08 - 1:10ในตอนที่เธออายุ 12 ปี
-
1:11 - 1:13ผมรู้ว่า
-
1:13 - 1:16หากอังกฤษไม่รับผู้ลี้ภัยเข้าประเทศ
-
1:16 - 1:17ในช่วง 1940
-
1:18 - 1:21ผมคงไม่ได้มายืนอยู่ตรงนี้แน่ ๆ
-
1:22 - 1:26แม้จะล่วงเลยมา 70 ปี
วัฏจักรได้เวียนบรรจบครบวง -
1:27 - 1:30เสียงเกิดก่อเป็นกำแพง
-
1:30 - 1:32วาทะทางการเมืองเต็มไปด้วยความชัง
-
1:32 - 1:36คุณค่าและหลักมนุษยธรรม
ตกเป็นประเด็นร้อน -
1:37 - 1:41ในประเทศต่าง ๆ ที่เมื่อ 70 ปีก่อน
บอกว่า พอเสียที -
1:41 - 1:45กับเหยื่อสงคราม
ผู้ไร้สัญชาติและไร้ความหวัง -
1:47 - 1:49ปีที่แล้ว ทุกนาที
-
1:50 - 1:54คนอีก 24 คน ต้องพลัดถิ่น
จากบ้านของพวกเขา -
1:54 - 1:56เนื่องจากความขัดเเย้ง ความรุนแรง
และการถูกข่มเหง -
1:57 - 2:00การถูกโจมตีด้วยอาวุธเคมีอีกครั้งในซีเรีย
-
2:00 - 2:03การออกอาละวาดของกลุ่มตาลีบันในอัฟกานิสถาน
-
2:03 - 2:09เด็กหญิงถูกขับไล่จากโรงเรียน
ในภาคอีสานของไนจีเรีย โดย โบโก ฮาราม -
2:10 - 2:13พวกเขานี้ไม่ใช่คนที่ย้ายไปต่างประเทศ
-
2:13 - 2:15เพื่อชีวิตที่ดีกว่า
-
2:15 - 2:17แต่พวกเขาหนีเอาชีวิตรอด
-
2:19 - 2:20โศกนาฏกรรมที่แท้จริงก็คือ
-
2:22 - 2:27ผู้ลี้ภัยที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลก
ไม่อาจมาพูดกับคุณที่นี่ในวันนี้ได้ -
2:27 - 2:29พวกคุณหลาย ๆ คนคงรู้จักภาพนี้
-
2:30 - 2:32ที่แสดงให้เห็นถึงร่างไร้วิญญาณ
-
2:32 - 2:35ของอลัน เคอร์ดิ เด็กชายห้าขวบ
-
2:35 - 2:39ผู้ลี้ภัยชาวซีเรียที่เสียชีวิต
ในทะเลเมดิเตอเรเนียน ปี ค.ศ. 2015 -
2:39 - 2:43พร้อมคนอีก 3,700 คน
ที่พยายามจะไปให้ถึงยุโรป -
2:44 - 2:46ถัดมาในปี ค.ศ. 2016
-
2:47 - 2:49คน 5,000 คน เสียชีวิต
-
2:51 - 2:52มันสายเกินไปสำหรับพวกเขา
-
2:53 - 2:56แต่มันยังไม่สายเกินไป
สำหรับคนอีกหลายล้านคน -
2:56 - 2:58มันยังไม่สายเกินไปสำหรับคนอย่างเฟรดริก
-
2:59 - 3:02ผมพบเขาในค่ายผู้ลี้ภัยนารูกูซู
ประเทศแทนซาเนีย -
3:02 - 3:03เขามาจากประเทศบุรุนดี
-
3:04 - 3:06เขาต้องการทราบว่า
จะไปเรียนต่อจนจบหลักสูตรได้ที่ไหน -
3:06 - 3:09เขาเรียนมาแล้ว 11 ปี
ต้องการเรียนปีที่ 12 อีกปีเดียว -
3:09 - 3:14เขาบอกผมว่า
"ผมภาวนาว่าชีวิตของผม -
3:14 - 3:15จะไม่จบลงในค่ายนี้"
-
3:16 - 3:18และมันยังไม่สายเกินไปสำหรับเฮลัด
-
3:19 - 3:22พ่อแม่ของเธอเป็นผู้ลี้ภัยชาวปาเลสไตน์
-
3:22 - 3:25ใช้ชีวิตอยู่ในค่ายยาร์มูค นอกกรุงดามัสกัส
-
3:25 - 3:27เธอคนในครอบครัวผู้ลี้ภัย
-
3:27 - 3:30และตอนนี้เธอเองก็เป็นผู้ลี้ภัย
ในเลบานอน -
3:31 - 3:34เธอทำงานช่วยเหลือผู้ลี้ภัยคนอื่น
ให้คณะกรรมการช่วยเหลือนานาชาติ -
3:35 - 3:38ทว่าเธอไม่มีความมั่นคง
-
3:38 - 3:40เกี่ยวกับอนาคตของเธอเลยสักนิด
-
3:40 - 3:42ว่ามันอยู่ที่ไหนหรือหน้าตาเป็นอย่างไร
-
3:42 - 3:46การบรรยายนี้
เกี่ยวกับเฟรดริก เกี่ยวกับเฮลัด -
3:46 - 3:48และคนอีกหลายล้านที่เหมือนกับพวกเขา
-
3:48 - 3:50ทำไมพวกเขาถึงต้องพลัดถิ่น
-
3:50 - 3:55รอดชีวิตได้อย่างไร ต้องการความช่วยเหลือแบบไหน
และความรับผิดชอบของเราคืออะไร -
3:56 - 3:57ผมเชื่อว่า
-
3:58 - 4:01คำถามที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในศตวรรษที่ 21
-
4:02 - 4:05เกี่ยวข้องกับหน้าที่ของเรา
ที่มีต่อคนที่เราไม่รู้จัก -
4:05 - 4:09"คุณ" ในอนาคตเกี่ยวข้องกับหน้าที่ของคุณ
-
4:09 - 4:10ที่มีต่อคนที่คุณไม่รู้จัก
-
4:10 - 4:12คุณรู้ดีกว่าใคร
-
4:12 - 4:16ว่าโลกนี้เชื่อมต่อกันมากขึ้นกว่าที่เคย
-
4:17 - 4:18ทว่าภัยที่ใหญ่หลวงกว่าเดิม
-
4:18 - 4:21กลับเป็นการแบ่งแยกที่กลืนกินพวกเรา
-
4:22 - 4:24และไม่มีบททดสอบไหนแล้ว
-
4:24 - 4:26ที่จะดีไปกว่าการที่เราปฏิบัติต่อผู้ลี้ภัย
-
4:27 - 4:30นี่คือข้อเท็จจริงครับ คน 65 ล้านคน
-
4:30 - 4:33ต้องพลัดถิ่นออกจากบ้านเนื่องจาก
ความรุนแรงและการถูกข่มเหงเมื่อปีก่อน -
4:33 - 4:35ถ้าหากคิดเป็นประเทศ
-
4:35 - 4:38นั่นคงจะเป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่
เป็นอันดับที่ 21ของโลก -
4:39 - 4:44คนประมาณ 40 ล้านคนเหล่านี้
ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในประเทศบ้านเกิด -
4:44 - 4:45แต่ 25 ล้านคนเป็นผู้ลี้ภัย
-
4:45 - 4:48นั่นหมายความว่า พวกเขาข้ามพรมเเดน
ไปยังประเทศเพื่อนบ้าน -
4:49 - 4:53พวกเขาส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในประเทศที่ยากจน
-
4:53 - 4:56ค่อนข้างยากจน หรือมีรายได้ปานกลางถึงต่ำ
อย่างเช่น เลบานอน -
4:56 - 4:57ที่ซึ่งเป็นที่เฮลัดอาศัยอยู่ในตอนนี้
-
4:59 - 5:03ในประเทศเลบานอน ทุก ๆ สี่คนคือผู้ลี้ภัย
-
5:04 - 5:07คิดเป็นหนึ่งในสี่ของจำนวนประชากรทั้งหมด
-
5:07 - 5:09และผู้ลี้ภัยอาศัยอยู่ที่นั่นเป็นเวลานาน
-
5:09 - 5:11ระยะเวลาเฉลี่ยของการพลัดถิ่น
-
5:11 - 5:12คือ 10 ปี
-
5:13 - 5:18ผมไปยังค่ายผู้อพยพที่ใหญ่ที่สุดในโลก
ทางตะวันออกของเคนย่า -
5:18 - 5:19ชื่อว่า ดาดับ
-
5:19 - 5:21มันถูกสร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1991 - 92
-
5:21 - 5:25ในฐานะ "ค่ายผู้ลี้ภัยชั่วคราว" สำหรับ
ชาวโซมาลีที่หนีภัยสงครามกลางเมือง -
5:26 - 5:27ผมพบ ซิโล
-
5:28 - 5:31และถามซิโลอย่างซื่อ ๆ ว่า
-
5:31 - 5:33"เคยคิดว่าจะได้กลับไปบ้านที่โซมาลีไหม"
-
5:34 - 5:36แล้วเธอก็บอกว่า "หมายความว่าอย่างไรกัน
กลับบ้านเนี่ยนะ -
5:36 - 5:38ฉันเกิดที่นี่"
-
5:39 - 5:41และเมื่อผมถามฝ่ายบริหารของค่าย
-
5:41 - 5:45ว่าในบรรดาคน 330,000 คนในค่ายนี้
มีคนเกิดที่นี่กี่คน -
5:45 - 5:46พวกเขาให้คำตอบผมว่า
-
5:47 - 5:49100,000 คน
-
5:50 - 5:52นี่แหละครับ ความหมายของคำว่า
การพลัดถิ่นระยะยาว -
5:53 - 5:56ต้นสายปลายเหตุของปัญหา
หยั่งลึกลงไปเกี่ยวกับเรื่อง -
5:56 - 5:58ประเทศอ่อนแอที่ไม่อาจ
ช่วยเหลือประชากรของตัวเองได้ -
5:59 - 6:01ระบบการเมืองระหว่างประเทศ
-
6:01 - 6:04ที่ย่ำแย่ลงกว่าช่วงไหน ๆ
ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1945 -
6:04 - 6:08และความแตกต่างด้านศาสนา การปกครอง
การปฏิสัมพันธ์กับโลกภายนอก -
6:08 - 6:11ในโลกของชาวมุสลิมกลุ่มหลัก
-
6:13 - 6:16นี่คือความท้าทายระยะยาวหลายชั่วอายุคน
-
6:16 - 6:19นี่คือสาเหตุที่ผมบอกว่าวิกฤติผู้ลี้ภัย
เป็นเรื่องต่อเนื่อง ไม่ใช่เรื่องชั่วคราว -
6:20 - 6:25มันซับซ้อน และเมื่อปัญหานั้น
ใหญ่โต กินเวลานาน และซับซ้อน -
6:25 - 6:27คนก็มักคิดกันว่าเราทำอะไรไม่ได้หรอก
-
6:28 - 6:30เมื่อสันตปาปาฟรานซิสเยือนแลมเบอดูซ่า
-
6:31 - 6:33ใกล้กับชายฝั่งอิตาลีในปี ค.ศ. 2014
-
6:33 - 6:36ท่านกล่าวว่าพวกเราทุกคนและประชากรโลก
-
6:36 - 6:40ตกเป็นผู้ต้องหาที่ท่านนิยามว่า
"โลกาภิวัตน์แห่งความนิ่งดูดาย" -
6:41 - 6:42ช่างเป็นวลีที่ตามหลอกหลอน
-
6:42 - 6:45มันสื่อว่า
หัวใจของเราแข็งกระด้างราวกับหิน -
6:47 - 6:48ไม่รู้สิครับ คุณคิดว่าอย่างไรกันบ้าง
-
6:48 - 6:52คุณมีสิทธิเถียงกับสันตปาปาหรือเปล่า
แม้จะเป็นในงานสัมนา TED ก็เหอะ -
6:53 - 6:54แต่ผมคิดว่ามันไม่ถูกต้อง
-
6:54 - 6:56ผมคิดว่าคนต้องการ
ที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง -
6:56 - 7:00พวกเขาแค่ไม่รู้ว่า
มันจะมีทางแก้วิกฤตินี้ได้หรือเปล่า -
7:00 - 7:02และผมอยากจะบอกคุณในวันนี้ว่า
-
7:02 - 7:05ถึงแม้จะมีปัญหาอยู่จริง
ทางแก้ก็มีอยู่จริงได้เช่นกัน -
7:06 - 7:07ทางที่หนึ่ง
-
7:07 - 7:11ผู้ลี้ภัยเหล่านี้จำเป็นต้องทำงาน
ในประเทศที่พวกเขาอาศัยอยู่ -
7:11 - 7:14และประเทศที่พวกเขาอาศัยอยู่นั้น
ต้องการการสนับสนุนทางเศรษฐกิจอย่างมาก -
7:14 - 7:16ในยูกันดาปี ค.ศ. 2014 พวกเขาศึกษาพบว่า
-
7:17 - 7:2080% ของผู้ลี้ภัยในเมืองหลวงแคมปาลา
-
7:20 - 7:22ไม่ต้องรับความช่วยเหลือด้านมนุษยชน
เพราะพวกเขามีงาน -
7:22 - 7:24พวกเขาได้รับการสนับสนุนให้งาน
-
7:24 - 7:26ทางออกที่สอง
-
7:26 - 7:30การศึกษาสำหรับเด็ก
คือสิ่งจำเป็น ไม่ใช่สิ่งฟุ่มเฟือย -
7:30 - 7:32เมื่อคุณต้องพลัดถิ่นเป็นเวลานาน ๆ
-
7:33 - 7:38สถานะของเด็กฟื้นฟูกลับมาได้ หากได้รับ
ความช่วยเหลือทางสังคมและจิตใจ -
7:38 - 7:39ควบคู่ไปกับทักษะ
ในการการอ่านเขียนและคำนวณ -
7:39 - 7:41ผมได้เห็นมาด้วยตาของตัวเอง
-
7:43 - 7:46ทว่าครึ่งหนึ่งของเด็กผู้ลี้ภัยทั้งโลก
ที่อยู่ในวัยประถมศึกษา -
7:46 - 7:48ไม่ได้รับการศึกษาเลยแม้แต่น้อย
-
7:48 - 7:51และสามให้สี่ของเด็กมัธยม
ไม่ได้รับการศึกษาเลยเเม้แต่น้อย -
7:51 - 7:53มันบ้าไปแล้ว
-
7:54 - 7:56ทางออกที่สาม
-
7:56 - 8:00ผู้ลี้ภัยส่วนใหญ่อยู่ในย่านชุมชน
ในตัวเมือง ไม่ใช่ในค่าย -
8:00 - 8:02คุณหรือผมต้องการอะไร
ถ้าหากเราเป็นผู้ลี้ภัยในเมือง -
8:02 - 8:05เราต้องการเงิน
เพื่อจ่ายค่าเช่าบ้านหรือซื้อเสื้อผ้า -
8:05 - 8:08อนาคตของระบบด้านมนุษยธรรม
-
8:09 - 8:10หรือส่วนสำคัญของมัน
-
8:10 - 8:13คือการมอบเม็ดเงินให้พวกเขา
เพื่อให้โอกาสกับผู้ลี้ภัย -
8:13 - 8:15นั่นจะเป็นการช่วยพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น
-
8:15 - 8:17และทางออกที่สี่
-
8:17 - 8:20ซึ่งยังเป็นที่ถกเถียง
แต่เราจำเป็นต้องพูดถึงมัน -
8:20 - 8:23ผู้ลี้ภัยที่ได้รับความเสี่ยงที่สุด
สมควรได้รับการเริ่มต้นใหม่ -
8:23 - 8:25และชีวิตใหม่ในประเทศใหม่
-
8:26 - 8:27รวมถึงในประเทศตะวันตก
-
8:28 - 8:32ตัวเลขหลักแสน ไม่ถึงหลักล้าน
อาจดูไม่ค่อยมากเท่าไร -
8:32 - 8:35แต่มีนัยที่สำคัญมาก
-
8:36 - 8:39ตอนนี้ไม่ใช่เวลาที่เราจะกีดกันผู้ลี้ภัย
-
8:39 - 8:40แบบที่คณะบริหารงานของทรัมป์เสนอ
-
8:40 - 8:44แต่เวลาที่เราต้องโอบกอด
ผู้ที่เป็นเหยื่อของความโหดร้าย -
8:44 - 8:45และจำไว้นะครับว่า
-
8:45 - 8:48(เสียงปรบมือ)
-
8:52 - 8:56หากใครมาถามคุณว่า "พวกเขาถูกตรวจสอบ
มาอย่างเหมาะสมหรือเปล่า" -
8:56 - 8:59นั่นเป็นคำถามที่สมเหตุสมผล
และเป็นคำถามที่ควรถาม -
9:00 - 9:04ความจริงก็คือ ผู้ลี้ภัยที่เดินทางเข้ามา
เพื่อลงหลักปักฐาน -
9:04 - 9:08ถูกตรวจสอบมามากกว่าคนกลุ่มไหน
ที่เดินทางเข้ามาในประเทศของพวกเรา -
9:08 - 9:10ดังนั้น ในขณะที่มันสมเหตุสมผล
ที่จะถามคำถามนั้น -
9:10 - 9:14มันไม่สมเหตุสมผลที่จะบอกว่า
ผู้ลี้ภัยกับผู้ก่อการร้ายคือสิ่งเดียวกัน -
9:15 - 9:16ทีนี้ สิ่งที่เกิด --
-
9:16 - 9:20(เสียงปรบมือ)
-
9:20 - 9:23เมื่อผู้ลี้ภัยไม่มีงานทำก็คือ
-
9:23 - 9:25พวกเขาไม่สามารถส่งลูกเข้าโรงเรียนได้
-
9:25 - 9:28พวกเขาไม่มีเม็ดเงิน พวกเขาไม่อาจ
สร้างโอกาสได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย -
9:28 - 9:30สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือพวกเขาเสี่ยงเดินทาง
-
9:30 - 9:35ผมไปที่เลสบอส เกาะแสนสวยในประเทศกรีก
เมื่อสองปีก่อน -
9:35 - 9:37มันเป็นบ้านของคน 90,000 คน
-
9:37 - 9:41ในหนึ่งปี ผู้ลี้ภัย 500,000 คน
เดินทางผ่านเกาะเเห่งนี้ -
9:41 - 9:43และผมอยากจะให้ได้เห็นสิ่งที่ผมเห็น
-
9:43 - 9:46เมื่อผมขับรถข้ามไปยังตอนเหนือของเกาะ
-
9:46 - 9:50กองเสื้อชูชีพของผู้ที่รอดมาถึงชายฝั่ง
-
9:51 - 9:52และเมื่อผมมองดูให้ละเอียด
-
9:52 - 9:55มันมีเสื้อชูชีพเล็ก ๆ สำหรับเด็กด้วย
-
9:55 - 9:56สีเหลืองนั่น
-
9:56 - 9:58ผมถ่ายภาพนี้มา
-
9:58 - 10:02คุณอาจไม่เห็นตัวหนังสือตรงนี้
แต่ผมจะอ่านให้คุณฟังครับ -
10:02 - 10:05"คำเตือน: เสื้อนี้ไม่ป้องกันการจมน้ำ"
-
10:06 - 10:07ในศตวรรษที่ 21
-
10:08 - 10:11เด็ก ๆ ได้รับเสื้อชูชีพ
-
10:11 - 10:13เพื่อเดินทางไปยุโรปอย่างปลอดภัย
-
10:13 - 10:16แม้ว่าเสื้อชูชีพเหล่านั้น
จะไม่ช่วยชีวิตพวกเขาได้ -
10:16 - 10:19หากพวกเขาพลัดตกจากเรือ
ที่พาพวกเขาไปยังที่หมาย -
10:21 - 10:24นี่ไม่เป็นเพียงแค่วิกฤติ มันคือบททดสอบ
-
10:26 - 10:29มันคือบททดสอบที่อารยธรรมทั้งหลาย
ได้เผชิญผ่านมาหลายยุคสมัย -
10:30 - 10:31มันคือบททดสอบความเป็นมนุษย์
-
10:32 - 10:34มันคือบททดสอบพวกเราในโลกตะวันตก
-
10:34 - 10:37ถึงตัวตนและจุดยืนของเรา
-
10:39 - 10:42มันคือบททดสอบนิสัยใจคอของเรา
ไม่ใช่แค่นโยบายของเรา -
10:43 - 10:45และเรื่องผู้ลี้ภัยก็เป็นประเด็นสำคัญ
-
10:45 - 10:47พวกเขาดั้นด้นมาจากเเดนไกล
-
10:48 - 10:50พวกเขาผ่านเรื่องราวน่าหดหู่
-
10:50 - 10:52พวกเขามักนับถือศาสนาที่ต่างจากเรา
-
10:52 - 10:55นั้นคือเหตุผล
ว่าทำไมเราควรให้การช่วยเหลือผู้ลี้ภัย -
10:55 - 10:57ไม่ใช่เหตุผลที่จะปฏิเสธพวกเขา
-
10:57 - 11:01มันคือเหตุผลที่เราช่วยพวกเขา
เพราะมันบ่งบอกความเป็นเรา -
11:02 - 11:04มันเผยให้เห็นคุณค่าของเรา
-
11:05 - 11:10ความรู้สึกเห็นอกเห็นใจกับความเอื้อเฟื้อ
คือเสาหลักของอารยธรรม -
11:11 - 11:14ความรู้สึกเห็นอกเห็นใจนั้นมาเป็นการกระทำ
-
11:14 - 11:16และใช้ชีวิตของเราบนหลักศีลธรรมพื้นฐาน
-
11:17 - 11:19ในสมัยปัจจุบันนี้ เราไม่มีข้ออ้าง
-
11:19 - 11:23เราไม่อาจปฏิเสธได้ว่าพูดว่า
เราไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้นที่จูบา ในซูดานใต้ -
11:23 - 11:25หรืออะเลปโป ประเทศซีเรีย
-
11:25 - 11:28มันอยู่บนหน้าจอโทรศัพท์ของเรา
-
11:28 - 11:29ที่อยู่ในมือของเรา
-
11:29 - 11:32ความไม่รู้ไม่ใช่ข้ออ้างเลย
-
11:32 - 11:36หากเราช่วยเขาไม่ได้ก็แสดงว่า
เราไม่มีหลักนำทางศีลธรรมเลย -
11:37 - 11:40มันยังแสดงให้เห็นอีกว่า
ว่าเราเข้าใจประวัติศาสตร์ของเราหรือไม่ -
11:41 - 11:43สาเหตุที่ผู้ลี้ภัยมีสิทธิทั่วโลก
-
11:43 - 11:46ก็เพราะความเป็นผู้นำที่ไม่ธรรมดา
ของชาวโลกตะวันตก -
11:46 - 11:49ทั้งรัฐบุรุษและสตรี
ยุคภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง -
11:49 - 11:51ที่ทำให้มันกลายเป็นสิทธิสากล
-
11:52 - 11:55การเพิกเฉยต่อการปกป้องผู้ลี้ภัย
ก็เท่ากับเราละทิ้งอดีตของเรา -
11:56 - 11:58นี่ยังเป็น --
-
11:58 - 11:59(เสียงปรบมือ)
-
11:59 - 12:03การเผยถึงพลังของประชาธิปไตย
-
12:03 - 12:06ในฐานะที่พำนักที่ไกลจากเผด็จการ
-
12:06 - 12:08คุณได้ยินนักการเมืองมากี่คนแล้วที่พูดว่า
-
12:09 - 12:13"เราเชื่อในพลังจากสิ่งที่เราทำ
ไม่ใช่พลังของเราที่จะทำการใด ๆ " -
12:14 - 12:17ซึ่งหมายถึงคือจุดยืนของเรา
สำคัญยิ่งกว่าลูกระเบิดที่เราทิ้ง -
12:18 - 12:20ผู้ลี้ภัยแสวงหาที่พึ่งพิง
-
12:21 - 12:25มองว่าโลกตะวันตก
เป็นแดนสวรรค์ที่ให้ความหวัง -
12:27 - 12:29ชาวรัสเซีย ชาวอิหร่าน
-
12:29 - 12:32ชาวจีน ชาวเอริเทรีย ชาวคิวบา
-
12:32 - 12:34พวกเขาเข้ามายังโลกตะวันตก
เพื่อความปลอดภัย -
12:35 - 12:37เรากลับผลักไสเพราะเห็นเขาเป็นภัยคุกคาม
-
12:38 - 12:40และมันได้เผยถึงตัวตนอีกอย่างของเรา
-
12:40 - 12:43ว่าเราจะลดอัตตายอมรับ
ความผิดพลาดของตัวเราเองไหม -
12:43 - 12:45ผมไม่ใช่คนหนึ่ง
-
12:45 - 12:49ที่เชื่อว่าปัญหาทุกอย่างในโลก
มีเกิดจากน้ำมือของชาวโลกตะวันตก -
12:49 - 12:50มันไม่ใช่แบบนั้น
-
12:50 - 12:52แต่เมื่อเราทำผิดพลาด
เราควรรู้ว่าเราทำผิด -
12:53 - 12:55มันไม่ใช่เรื่องบังเอิญ
ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา -
12:55 - 12:58ซึ่งรับผู้ลี้ภัยมากกว่าประเทศอื่น
-
12:58 - 13:01รับผู้ลี้ภัยจากเวียดนาม
มากกว่าประเทศใด ๆ -
13:02 - 13:03มันบอกเล่าประวัติศาสตร์ที่เคยเกิดขึ้น
-
13:04 - 13:07แต่มันยังมีประวัติศาสตร์ที่เพิ่งเกิดขึ้นไม่นาน
ในอิรักและอัฟกานิสถาน -
13:08 - 13:11คุณไม่สามารถชดเชย
นโยบายการต่างประเทศที่ผิดพลาดได้ -
13:11 - 13:13ด้วยวิถีแห่งมนุษยธรรม
-
13:13 - 13:17แต่เมื่อคุณทำบางอย่างเสียหาย
คุณก็มีหน้าที่ต้องให้ความช่วยเหลือซ่อมแซม -
13:17 - 13:19และนั่นเป็นหน้าที่ของพวกเรา ตอนนี้
-
13:22 - 13:24คุณจำตอนต้นของการบรรยายนี้ได้ไหม
-
13:24 - 13:26ผมบอกว่าผมต้องการอธิบายว่า
วิกฤติการณ์ผู้ลี้ภัย -
13:26 - 13:28สามารถจัดการได้ ไม่ใช่แก้ไขไม่ได้
-
13:29 - 13:32จริงอยู่ ผมต้องการให้คุณคิดใหม่
-
13:32 - 13:34แต่ก็อยากให้คุณลงมือทำด้วย
-
13:36 - 13:38หากคุณเป็นนายจ้าง
-
13:38 - 13:39รับผู้ลี้ภัยเข้าทำงาน
-
13:40 - 13:43หากคุณโดนโน้มน้าวจากการโต้เถียง
-
13:43 - 13:45อธิบายชี้แจงความเชื่อเก่า ๆ นั้น
-
13:45 - 13:47ให้ครอบครัว เพื่อนฝูง หรือเพื่อนร่วมงาน
เมื่อพวกเขากล่าวถึงมัน -
13:48 - 13:51หากคุณมีเงิน บริจาคให้กับองค์กร
-
13:51 - 13:53ที่สร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับผู้ลี้ภัยทั่วโลก
-
13:54 - 13:55หากคุณเป็นพลเมือง
-
13:56 - 13:58ให้คะแนนเสียงกับนักการเมือง
-
13:58 - 14:02ที่จะนำแนวทางการแก้ปัญหาที่ผมพูดถึง
มาปฏิบัติให้เกิดผลจริง -
14:02 - 14:06(เสียงปรบมือ)
-
14:06 - 14:08หน้าที่ที่เรามีต่อคนที่ไม่รู้จัก
-
14:08 - 14:10แสดงตัวตนของมันออกมา
-
14:10 - 14:13ในแบบที่ไม่เอิกเริกแต่ยิ่งใหญ่
-
14:13 - 14:15เรียบง่ายแต่น่าเชิดชู
-
14:16 - 14:17ในปี ค.ศ. 1942
-
14:19 - 14:21คุณป้าและคุณยายของผม
อาศัยอยู่ในกรุงบรัสเซล -
14:21 - 14:22ภายใต้การปกครองของเยอรมัน
-
14:24 - 14:26ท่านได้รับคำสั่งจากกองกำลังนาซี
-
14:26 - 14:30ให้ไปรวมตัวกันที่สถานีรถไฟบรัสเซล
-
14:32 - 14:35คุณยายของผมฉุกคิดขึ้นว่า
ต้องมีอะไรไม่ชอบมาพากล -
14:37 - 14:39ท่านร้องขอญาติ ๆ
-
14:39 - 14:41ไม่ให้ไปที่สถานีรถไฟบรัสเซล
-
14:42 - 14:44ญาติของท่านบอกว่า
-
14:45 - 14:48"ถ้าหากเราไม่ไป หากเราไม่ทำตามคำสั่ง
-
14:48 - 14:50เราก็ต้องเดือดร้อนแน่"
-
14:51 - 14:53คุณคงรู้ว่ามันเกิดอะไรขึ้น
-
14:53 - 14:55กับบรรดาญาติที่เดินทาง
ไปที่สถานีรถไฟบรัสเซล -
14:56 - 14:57พวกเขาไม่ได้เจอกันอีกเลย
-
14:58 - 15:00แต่คุณยายและป้าของผม
-
15:01 - 15:03พวกท่านไปยังหมู่บ้านเล็ก ๆ
-
15:03 - 15:05ตอนใต้ของบรัสเซล
-
15:06 - 15:09ที่ซึ่งพวกเขาเคยไปพักผ่อนเมื่อสิบปีที่แล้ว
-
15:09 - 15:13พวกเขาไปที่บ้านของชาวนาคาธอลิก
ในพื้นที่คนหนึ่ง -
15:13 - 15:15ชื่อ เมอซิเออร์ มัวริส
-
15:16 - 15:18และขอร้องให้เขารับพวกท่านไว้
-
15:19 - 15:21ชาวนาคนนั้นตกลง
-
15:21 - 15:22และเมื่อสงครามสิ้นสุด
-
15:23 - 15:27ชาวยิว 17 คน อาศัยอยู่ในหมู่บ้านนั้น
-
15:28 - 15:30ตอนที่ผมเป็นวัยรุ่น ผมขอป้าของผมว่า
-
15:30 - 15:32"ป้าพาผมไปพบกับ เมอซิเออร์ มัวริส ได้ไหม"
-
15:33 - 15:37ท่านตอบว่า "ได้สิ
เขายังมีชีวิตอยู่ ไปเยี่ยมเขากัน" -
15:37 - 15:38มันคงเป็นช่วงราว ๆ ยุค 83 หรือ 84
-
15:39 - 15:41เราเดินทางไปพบเขา
-
15:41 - 15:44และตามประสาเด็กวัยรุ่น
-
15:44 - 15:45เมื่อผมพบเขา
-
15:45 - 15:48สุภาพบุรุษผมสีดอกเลาคนนั้น
-
15:48 - 15:50ผมพูดกับเขาว่า
-
15:51 - 15:52"ทำไมคุณถึงทำแบบนั้นล่ะ
-
15:53 - 15:56ทำไมคุณถึงยอมเสี่ยง"
-
15:57 - 15:59เขามองผมแล้วก็ยักไหล่
-
15:59 - 16:01และตอบเป็นภาษาฝรั่งเศสว่า
-
16:01 - 16:03"On doit"
-
16:03 - 16:04"เราต้องทำ"
-
16:04 - 16:07มันอยู่ในจิตวิญญาณของเขา
-
16:07 - 16:08มันเป็นไปตามธรรมชาติ
-
16:08 - 16:13ประเด็นที่ผมอยากจะบอกก็คือ มันควร
เป็นธรรมชาติและจิตวิญญาณของเราเช่นกัน -
16:13 - 16:14บอกตัวเองครับ
-
16:15 - 16:18วิกฤติผู้ลี้ภัยนี้จัดการได้
-
16:18 - 16:19ไม่ใช่เรื่องที่เเก้ไขไม่ได้
-
16:19 - 16:21เราทุก ๆ คน
-
16:21 - 16:25มีส่วนต้องช่วยรับผิดชอบ
-
16:25 - 16:29เพราะนี่คือการกู้ตัวตนและคุณค่าของเรา
-
16:29 - 16:32เช่นเดียวกับการกู้ชีวิตของเหล่าผู้ลี้ภัย
-
16:32 - 16:34ขอบคุณมากครับ
-
16:34 - 16:37(เสียงปรบมือ)
-
16:45 - 16:48บรูโน กิอัสซานิ: ขอบคุณครับ เดวิด
เดวิด มิลิแบนด์: ขอบคุณครับ -
16:48 - 16:50บรูโน: เป็นคำแนะนำที่หนักแน่นมากครับ
-
16:50 - 16:53การเรียกร้องให้ทุกคนมีส่วนรับผิดชอบ
ก็หนักแน่นมาก ๆ เช่นกัน -
16:53 - 16:55แต่ผมรู้สึกไม่สบายใจกับแนวคิดหนึ่ง
-
16:55 - 16:59จากคำพูดของคุณที่ว่า "ความเป็นผู้นำ
ที่ไม่ธรรมดาของชาวโลกตะวันตก" -
16:59 - 17:01ซึ่งเมื่อประมาณ 60 กว่าปีก่อน
-
17:01 - 17:03นำมาซึ่งการสนทนาเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
-
17:03 - 17:06และข้อกำหนดต่าง ๆ เกี่ยวกับผู้ลี้ภัย ฯลฯ
-
17:07 - 17:10ความเป็นผู้นำนั้น
เกิดขึ้นหลังจากเหตุการณ์ร้าย -
17:10 - 17:14และเกิดขึ้นในกรอบการตกลงทางการเมือง
-
17:14 - 17:16ตอนนี้เรามีความเห็นทางการเมือง
ที่แตกต่างกัน -
17:16 - 17:19เรามีความคิดที่ต่างกันมาก
ในเรื่องปัญหาผู้ลี้ภัย -
17:19 - 17:21ทีนี้ ความเป็นผู้นำในปัจจุบันควรมาจากไหน
-
17:21 - 17:24เดวิด: ครับ คุณมีสิทธิ์ที่จะพูดว่า
-
17:24 - 17:26ความเป็นผู้นำที่ก่อกำเนิดขึ้นในยามสงคราม
-
17:27 - 17:29มีอารมณ์ จังหวะจะโคน
-
17:29 - 17:30และทัศนคติ
-
17:30 - 17:33ที่ต่างไปจากความเป็นผู้นำ
ที่ก่อกำเนิดขึ้นในยามสันติ -
17:34 - 17:37ฉะนั้น คำตอบของผมก็คือ
ความเป็นผู้นำต้องมาจากระดับพื้นฐาน -
17:37 - 17:39ไม่ใช่จากส่วนบน
-
17:39 - 17:42ผมต้องการบอกว่า หัวข้อหลัก ๆ
ในงานสัมนาสัปดาห์นี้ -
17:42 - 17:46เป็นเรื่องเกี่ยวกับการทำให้อำนาจ
มีความเป็นประชาธิปไตย -
17:46 - 17:48เราก็ต้องรักษา
ความเป็นประชาธิปไตยของเรา -
17:48 - 17:51แต่เราก็ต้องนำความเป็น
ประชาธิปไตยของเราออกมาใช้งาน -
17:51 - 17:53และเมื่อคนพูดกับผมว่า
-
17:53 - 17:54"มีคนที่ต่อต้านแนวคิดเรื่องผู้ลี้ภัย"
-
17:54 - 17:56สิ่งที่ผมตอบกลับไปหาก็คือ
-
17:56 - 17:58"ไม่ครับ นั่นเป็นขั้วความเห็น
-
17:58 - 17:59และในตอนนี้
-
17:59 - 18:01ผู้ที่หวาดกลัวกำลังเสียงดัง
-
18:01 - 18:03กว่าคนที่เห็นด้วย"
-
18:03 - 18:07ฉะนั้นคำตอบของผมก็คือ
เราจะสนับสนุน กระตุ้น -
18:07 - 18:08และให้ความมั่นใจกับความเป็นผู้นำ
-
18:08 - 18:10เมื่อเราเดินหน้าไปด้วยกัน
-
18:10 - 18:14ผมคิดว่าเมื่อคุณมีหน้าที่
มองหาความเป็นผู้นำ -
18:14 - 18:15คุณต้องมองลึกลงไปข้างใน
-
18:15 - 18:17ผลักดันคนในสังคมของคุณ
-
18:17 - 18:20เพื่อพยายามสร้างเงื่อนไข
เพื่อการลงหลักปักฐานในหลาย ๆ รูปแบบ -
18:20 - 18:22บรูโน: ขอบคุณครับ เดวิด
ขอบคุณที่มาที่ TED นะครับ -
18:22 - 18:26(เสียงปรบมือ)
- Title:
- วิกฤติผู้ลี้ภัยคือบททดสอบของความเป็นมนุษย์
- Speaker:
- เดวิด มิลิแบนด์ (David Miliband)
- Description:
-
คนหกสิบห้าล้านคนต้องพลัดถิ่นจากบ้านของพวกเขาเนื่องจากความขัดแย้งและภัยพิบัติ ในปี ค.ศ. 2016 มันไม่ได้เป็นเพียงวิกฤติ แต่เป็นบททดสอบตัวตนและจุดยืนของเรา เดวิด มิลิแบนด์ กล่าว และเราทุกคนก็มีส่วนที่จะต้องร่วมรับผิดชอบและหาทางช่วยเหลือในการแก้ปัญหานี้ ในการบรรยายที่พลาดไม่ได้ มิลิแบนด์เสนอวิธีการที่เจาะจงและเป็นรูปธรรมสำหรับการช่วยเหลือผู้ลี้ภัยและเปลี่ยนความรู้สึกเห็นอกเห็นใจกับความเอื้อเฟื้อให้เกิดเป็นการกระทำ
- Video Language:
- English
- Team:
closed TED
- Project:
- TEDTalks
- Duration:
- 18:38
![]() |
Kelwalin Dhanasarnsombut approved Thai subtitles for The refugee crisis is a test of our character | |
![]() |
Kelwalin Dhanasarnsombut accepted Thai subtitles for The refugee crisis is a test of our character | |
![]() |
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for The refugee crisis is a test of our character | |
![]() |
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for The refugee crisis is a test of our character | |
![]() |
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for The refugee crisis is a test of our character | |
![]() |
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for The refugee crisis is a test of our character | |
![]() |
Sam Nathapong edited Thai subtitles for The refugee crisis is a test of our character | |
![]() |
Sam Nathapong edited Thai subtitles for The refugee crisis is a test of our character |