Return to Video

4 บทเรียนจากหุ่นยนต์ ในเรื่องการเป็นมนุษย์

  • 0:01 - 0:03
    ผมรู้ว่ามันออกจะฟังดูแปลก
  • 0:03 - 0:06
    แต่ผมคิดว่าหุ่นยนต์ สามารถสร้างแรงบันดาลใจ
  • 0:06 - 0:09
    ให้เราเป็นมนุษย์ที่ดีขึ้นได้
  • 0:09 - 0:12
    ผมโตขึ้นในเมืองเบธเลแฮม รัฐเพนซิลวาเนีย
  • 0:12 - 0:15
    แหล่งกำเนิดเหล็กเบธเลแฮม
  • 0:15 - 0:17
    พ่อของผมเป็นวิศวกร
  • 0:17 - 0:20
    ผมเติบโตขึ้นมา โดยมีพ่อคอยสอน
  • 0:20 - 0:21
    ว่าสิ่งต่างๆ ทำงานอย่างไร
  • 0:21 - 0:24
    เราสร้างโปรเจคต่างๆ ด้วยกัน
  • 0:24 - 0:26
    เช่นจรวดของเล่น รถแข่งบังคับในราง
  • 0:26 - 0:30
    นี่คือรถโกคาร์ทที่เราสร้างด้วยกัน
  • 0:30 - 0:32
    และนั่นคือผมที่นั่งหลังพวงมาลัย
  • 0:32 - 0:36
    พร้อมด้วยพี่สาวและเพื่อนรักของผมในตอนนั้น
  • 0:36 - 0:38
    แล้ววันหนึ่ง
  • 0:38 - 0:41
    พ่อกลับบ้าน ตอนนั้นผมอายุ 10 ขวบ
  • 0:41 - 0:43
    และบนโต๊ะอาหาร เขาก็ประกาศขึ้นว่า
  • 0:43 - 0:50
    โครงการต่อไปของเรา คือการสร้างหุ่นยนต์
  • 0:50 - 0:51
    หุ่นยนต์นะครับ
  • 0:51 - 0:53
    ตอนนั้น ผมตื่นเต้นกับมันมาก
  • 0:53 - 0:55
    เพราะที่โรงเรียน
  • 0:55 - 0:57
    มีเด็กเกเรคนหนึ่งชื่อเควิน
  • 0:57 - 0:59
    และเขาชอบแกล้งผม
  • 0:59 - 1:01
    เพียงเพราะผมเป็นเด็กชาวยิวคนเดียวในห้อง
  • 1:01 - 1:04
    ดังนั้นผมจึงแทบรอไม่ได้ที่จะเริ่มโปรเจคนี้
  • 1:04 - 1:08
    เพื่อที่ผมจะให้เควินได้เจอกับเจ้าหุ่นยนต์ของผม
    (เสียงหัวเราะ)
  • 1:08 - 1:19
    (เสียงหุ่นยนต์)
  • 1:19 - 1:24
    แต่นั่นไม่ใช่หุ่นยนต์แบบที่พ่อคิดเอาไว้ในใจ
  • 1:24 - 1:28
    คือ เขาเป็นเจ้าของโรงงานชุบโครเมียม
  • 1:28 - 1:30
    และพวกเขาต้องการเคลื่อนย้าย
  • 1:30 - 1:33
    ชิ้นส่วนเหล็กหนักๆ จากถังน้ำยาเคมีถังหนึ่ง ไปอีกถังหนึ่ง
  • 1:33 - 1:37
    ดังนั้นพ่อจึงต้องการหุ่นยนต์อุตสาหกรรมแบบนี้
  • 1:37 - 1:40
    เพื่อให้มันยกของหนักๆ ได้
  • 1:40 - 1:44
    แต่พ่อผมก็ไม่ได้หุ่นยนต์แบบที่เขาต้องการเช่นกัน
  • 1:44 - 1:46
    พ่อและผมสร้างมันหลายปี
  • 1:46 - 1:48
    แต่นั่นมันเป็นในช่วงปี 1970
  • 1:48 - 1:51
    เทคโนโลยีที่พวกมือสมัครเล่นจะใช้ได้
  • 1:51 - 1:53
    ก็ยังไม่มีในตอนนั้น
  • 1:53 - 1:57
    ดังนั้น พ่อจึงต้องทำงานแบบนี้ด้วยมือต่อไปเรื่อยๆ
  • 1:57 - 2:00
    และ 2-3 ปีหลังจากนั้น
  • 2:00 - 2:04
    เขาถูกตรวจพบว่าเป็นมะเร็ง
  • 2:04 - 2:07
    เห็นไหมครับ สิ่งที่หุ่นยนต์ที่เราพยายามสร้าง
  • 2:07 - 2:10
    ได้บอกแก่พ่อ ไม่ใช่เรื่องเกี่ยวการยกของหนัก
  • 2:10 - 2:15
    แต่มันคือคำเตือนเกี่ยวกับการที่พ่อต้องสัมผัสสารพิษ
  • 2:15 - 2:18
    พ่อไม่ได้ตระหนักในตอนนั้น
  • 2:18 - 2:20
    เขาเป็นลูคิเมีย
  • 2:20 - 2:23
    และตายเมื่ออายุ 45 ปี
  • 2:23 - 2:26
    ผมเสียใจมาก
  • 2:26 - 2:30
    และผมไม่เคยลืมเรื่องหุ่นยนต์ที่พ่อกับผมพยายามสร้าง
  • 2:30 - 2:35
    ตอนผมเข้าเรียนมหาลัย ผมตัดสินใจเลือกเรียนวิศวกรรมศาสตร์ เหมือนพ่อ
  • 2:35 - 2:40
    ผมเรียนที่ คาร์เนกี้ เมลอน (Carnegie Mellon) และได้รับปริญญาเอกในสาขาหุ่นยนต์
  • 2:40 - 2:43
    ผมศึกษาเกี่ยวกับหุ่นยนต์ตั้งแต่นั้นมา
  • 2:43 - 2:44
    ดังนั้น สิ่งที่ผมจะเล่าให้คุณฟัง
  • 2:44 - 2:47
    คือโปรเจคหุ่นยนต์ 4 ตัว
  • 2:47 - 2:54
    และวิธีที่พวกมันสร้างแรงบันดาลใจให้ผม
    เป็นมนุษย์ที่ดีขึ้น
  • 2:54 - 3:00
    เมื่อปี 1993 ผมเป็นศาสตราจารย์หนุ่มอยู่ที่ USC
  • 3:00 - 3:03
    และในตอนนั้นผมเพิ่งสร้างห้องปฏิบัติการ
    หุ่นยนต์ของผมเอง
  • 3:03 - 3:06
    และปีนั้นเป็นปีที่ เวิร์ลไวด์เว็บ เปิดตัว
  • 3:06 - 3:08
    ผมจำได้ว่านักเรียนของผม
  • 3:08 - 3:09
    เป็นคนบอกผมเรื่องนี้
  • 3:09 - 3:12
    และเราต่างก็พากันทึ่ง
  • 3:12 - 3:15
    เราเริ่มเล่นกับมัน และบ่ายวันนั้นเอง
  • 3:15 - 3:19
    เราก็ตระหนักว่าเราสามารถใช้วิธีเชื่อมต่อสากลแบบใหม่นี้
  • 3:19 - 3:22
    เพื่อให้ใครก็ตามบนโลก
  • 3:22 - 3:25
    ควบคุมหุ่นยนต์ในห้องปฏิบัติการของเราได้
  • 3:25 - 3:30
    ดังนั้น แทนที่จะให้พวกมันต่อสู้ หรือทำงานโรงงานหนักๆ
  • 3:30 - 3:33
    เราตัดสินใจสร้างสวนดอกไม้
  • 3:33 - 3:35
    เอาหุ่นยนต์ใส่ไว้ตรงกลาง
  • 3:35 - 3:37
    แล้วเราเรียกมันว่า สวนดอกไม้ทางไกล
  • 3:37 - 3:41
    เราติดกล้องไว้กับที่จับบนมือ
  • 3:41 - 3:44
    ของหุ่นยนต์ และเราเขียนสคริปต์
  • 3:44 - 3:47
    และซอฟท์แวร์พิเศษไว้ ที่ให้ทุกคนบนโลก สามารถเข้ามา
  • 3:47 - 3:49
    และด้วยการคลิ้กบนจอภาพ
  • 3:49 - 3:51
    พวกเขาสามารถสั่งให้หุ่นยนต์เคลื่อนที่ไปรอบๆ
  • 3:51 - 3:54
    และชมสวนดอกไม้ได้
  • 3:54 - 3:57
    เรายัง ติดตั้งซอฟท์แวร์แวร์อื่นๆ
  • 3:57 - 4:01
    ที่ยอมให้คุณเข้าไปมีส่วนร่วม ช่วยเรารดน้ำต้นไม้
  • 4:01 - 4:04
    จากระยะไกล และถ้าคุณรดน้ำมันเพียงไม่กี่ครั้ง
  • 4:04 - 4:07
    เราจะให้เมล็ดพันธุ์กับคุณเพื่อปลูกเอง
  • 4:07 - 4:11
    นี่เป็นโปรเจคหนึ่ง เป็นโปรเจคทางวิศวกรรม
  • 4:11 - 4:13
    และเราตีพิมพ์งานวิจัยเกี่ยวกับการออกแบบ
  • 4:13 - 4:16
    การออกแบบระบบ แต่เราก็คิดว่ามัน
  • 4:16 - 4:19
    เป็นศิลปะชิ้นหนึ่งด้วยเช่นกัน
  • 4:19 - 4:21
    หลังจากถูกสร้างขึ้นเพียงปีเดียว มันได้รับการเชิญ
  • 4:21 - 4:24
    จากพิพิธภัณฑ์ อาร์ส อิเล็คโทรนิคส์ (Ars Electronics Museum) ในออสเตรีย
  • 4:24 - 4:27
    เพื่อนำไปติดตั้งไว้ในล็อบบี้
  • 4:27 - 4:29
    ผมภูมิใจที่จะบอกว่ามันยังคงออนไลน์อยู่ที่นั่น
  • 4:29 - 4:34
    24 ชั่วโมงต่อวัน เป็นเวลาเกือบ 9 ปีมาแล้ว
  • 4:34 - 4:38
    หุ่นตัวนั้นถูกควบคุมโดยคนจำนวนมาก
  • 4:38 - 4:41
    กว่าหุ่นยนต์ตัวไหนๆ ในประวัติศาสตร์
  • 4:41 - 4:43
    ทีนี้ วันหนึ่ง
  • 4:43 - 4:45
    จู่ๆ ผมก็ได้รับโทรศัพท์
  • 4:45 - 4:47
    จากนักเรียนคนหนึ่ง
  • 4:47 - 4:52
    ผู้ซึ่งถามคำถามง่ายๆ แต่ลึกซื้ง
  • 4:52 - 4:56
    เขาถามว่า "หุ่นยนต์ตัวนั้นมันมีอยู่จริงๆ หรือเปล่าครับ?"
  • 4:56 - 4:59
    ทุกคนคิดเอาเองว่ามันมีอยู่จริง
  • 4:59 - 5:01
    และเราก็รู้ว่ามันมีอยู่จริงเพราะเราสร้างมันกับมือ
  • 5:01 - 5:03
    แต่ผมเข้าใจสิ่งที่เขาถาม
  • 5:03 - 5:05
    เพราะมันก็เป็นไปได้ที่จะถ่ายรูปจำนวนมาก
  • 5:05 - 5:10
    ของดอกไม้ในสวน แล้วจัดเรียงมัน
  • 5:10 - 5:12
    ในระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อให้มันดูเหมือนว่า
  • 5:12 - 5:15
    มันมีหุ่นยนต์อยู่ ทั้งที่มันไม่มีจริง
  • 5:15 - 5:16
    และยิ่งผมคิดเกี่ยวกับคำถามนี้มากเท่าไหร่
  • 5:16 - 5:20
    ผมก็ไม่สามารถหาคำตอบที่ดี ว่าเขาจะแยกมันออกได้อย่างไร
  • 5:20 - 5:23
    นั่นเป็นตอนช่วงที่ผมได้รับเสนอตำแหน่ง
  • 5:23 - 5:25
    ที่เบิร์กลีย์แห่งนี้
  • 5:25 - 5:28
    เมื่อผมมาถึง ผมพยามหาตัว ฮิวเบิร์ต ดรายฟัส (Hubert Dreyfus)
  • 5:28 - 5:32
    ผู้ซึ่งเป็นศาสตราจารย์ด้านปรัชญาชื่อก้องโลก
  • 5:32 - 5:34
    ผมเล่าให้เขาฟังเกี่ยวกับเรื่องนี้ และเขาพูดว่า
  • 5:34 - 5:38
    "นี่คือหนึ่งในปัญหาหลัก ที่เก่าแก่ที่สุด
  • 5:38 - 5:42
    ในวิชาปรัชญา มันย้อนไปถึงสมัยของกลุ่มวิมตินิยม (Skeptics),
  • 5:42 - 5:44
    จนถึงสมัย เดอคาร์ท (Descartes)
  • 5:44 - 5:47
    นี่คือปัญหาในสาขาญาณวิทยา
  • 5:47 - 5:51
    การศึกษาว่าเราจะรู้ได้อย่างไรว่าบางอย่างมีอยู่จริง"
  • 5:51 - 5:53
    ดังนั้น เขาและผมจึงเริ่มร่วมงานกัน
  • 5:53 - 5:56
    เราตั้งศัพท์ใหม่ โทรญาณวิทยา (telepistemology)
  • 5:56 - 5:59
    การศึกษาของความรู้จากระยะไกล
  • 5:59 - 6:02
    เราได้เชิญศิลปิน วิศวกร
  • 6:02 - 6:05
    และนักปราชญ์ชั้นนำ มาเพื่อเขียนเรียงความเกี่ยวกับสิ่งนี้
  • 6:05 - 6:07
    และผลที่ได้ ถูกรวบรวมไว้ในหนังสือเล่มนี้
  • 6:07 - 6:10
    จากสำนักพิมพ์ MIT
  • 6:10 - 6:12
    ดังนั้น ต้องขอบคุณนักเรียนคนนั้นที่สงสัย
  • 6:12 - 6:15
    ในสิ่งที่คนอื่นๆ ทึกทักเอาเองว่าเป็นจริง
  • 6:15 - 6:19
    โปรเจคนี้สอนผมบทเรียนสำคัญเกี่ยวกับชีวิต
  • 6:19 - 6:23
    ซึ่งก็คือ จงสงสัยสมมุติฐานทั้งหลาย
  • 6:23 - 6:26
    โปรเจคที่สองที่ผมจะเล่าให้คุณฟัง
  • 6:26 - 6:28
    เกิดขึ้นมาจาก สวนดอกไม้ทางไกล
  • 6:28 - 6:31
    ในขณะที่มันกำลังทำงานอยู่ นักเรียนของผมและตัวผมนั้นสนใจ
  • 6:31 - 6:33
    ว่าผู้คนมีปฏิสัมพันธ์กันอย่างไร
  • 6:33 - 6:35
    และพวกเขาทำอะไรกับสวนดอกไม้
  • 6:35 - 6:37
    เราจึงเริ่มคิดว่า ถ้าหุ่นยนต์สามารถออกจาก
  • 6:37 - 6:39
    สวนดอกไม้ แล้วออกไปยัง
  • 6:39 - 6:41
    สภาวะแวดล้อมอื่นๆ ที่น่าสนใจยิ่งขึ้นล่ะ?
  • 6:41 - 6:43
    เช่น ถ้ามันเข้าไปในงานเลี้ยงอาหารเย็น
  • 6:43 - 6:49
    ที่ทำเนียบขาวล่ะ? (เสียงหัวเราะ)
  • 6:49 - 6:52
    เพราะตอนนั้นเราสนใจในเรื่องการออกแบบระบบ
  • 6:52 - 6:55
    และการติดต่อกับผู้ใช้มากกว่าในเรื่องฮาร์ดแวร์
  • 6:55 - 6:57
    เราตัดสินใจกันว่า
  • 6:57 - 7:01
    แทนที่จะให้หุ่นยนต์แทนตัวมนุษย์เพื่อไปงานปาร์ตี้
  • 7:01 - 7:03
    เราจะให้มนุษย์ทำหน้าที่แทนหุ่นยนต์
  • 7:03 - 7:06
    เราเรียกมันว่า นักแสดงทางไกล
  • 7:06 - 7:08
    เราให้มนุษย์
  • 7:08 - 7:11
    ใครบางคนที่ชอบสังสรรค์ และชอบเข้าสังคม
  • 7:11 - 7:14
    และเธอถูกให้สวมชุดที่มีหมวก
  • 7:14 - 7:17
    ที่ติดตั้งเครื่องมือหลายชนิด กล้อง ไมโครโฟน
  • 7:17 - 7:20
    และเป้หลังที่มีการเชื่อมต่อสัญญาณอินเตอร์เนตไร้สาย
  • 7:20 - 7:24
    แนวคิดก็คือ เธอจะไปยังสภาพแวดล้อมที่น่าสนใจและห่างไกล
  • 7:24 - 7:28
    และจากนั้น โดยผ่านทางอินเตอร์เนต
  • 7:28 - 7:31
    ผู้คนสามารถได้รับประสบการณ์เช่นเดียวกับที่เธอได้รับ
  • 7:31 - 7:34
    พวกเขาจะได้เห็นสิ่งที่เธอเห็น
  • 7:34 - 7:37
    แต่ที่สำคัญยิ่งกว่านั้น คือ พวกเขาจะได้มีส่วนร่วม
  • 7:37 - 7:40
    โดยการมีปฏิสัมพันธ์กัน
  • 7:40 - 7:44
    และเสนอความเห็นว่าเธอควรจะทำอะไรต่อไป
  • 7:44 - 7:46
    และเธอควรจะไปไหน
  • 7:46 - 7:49
    และสื่อสารสิ่งเหล่านั้นไปยังนักแสดงทางไกล
  • 7:49 - 7:52
    เรามีโอกาสที่จะนำนักแสดงทางไกล
  • 7:52 - 7:55
    ไปยังงานประกาศรางวัลเว็บบี (Webby Awards)
    ในซานฟรานซิสโก
  • 7:55 - 7:59
    และในปีนั้น แซม โดแนลสัน (Sam Donaldson) ได้เป็นพิธีกร
  • 7:59 - 8:03
    ก่อนที่ม่านจะเปิดขึ้น ผมมีเวลา 30 วินาที
  • 8:03 - 8:07
    เพื่ออธิบายให้คุณโดแนลสันฟังว่าเราจะทำอะไร
  • 8:07 - 8:09
    และผมกล่าวว่า " นักแสดงทางไกล
  • 8:09 - 8:12
    กำลังจะเป็นพิธีกรคู่กับคุณบนเวที
  • 8:12 - 8:14
    และนี่เป็นโปรเจคการทดลองใหม่
  • 8:14 - 8:16
    และผู้คนจำนวนมากกำลังดูเธออยู่บนหน้าจอ
  • 8:16 - 8:19
    และเธอมีกล้อง
  • 8:19 - 8:22
    มีไมโครโฟน และหูฟังอยู่ในหู
  • 8:22 - 8:23
    และผู้คนจำนวนมาก จะให้คำแนะนำ
  • 8:23 - 8:25
    ว่าเธอควรทำอะไรต่อไป ผ่านทางระบบเครือข่าย"
  • 8:25 - 8:28
    และเขากล่าวว่า "เดี๋ยวก่อนนะ
  • 8:28 - 8:34
    นั่นเหมือนงานของผมเลยนี่" (เสียงหัวเราะ)
  • 8:34 - 8:36
    เขาชอบแนวคิดนี้
  • 8:36 - 8:38
    และเมื่อนักแสดงระยะไกลเดินขึ้นสู่เวที
  • 8:38 - 8:41
    เธอเดินตรงไปหาเขา และเธอจูบเขานานทีเดียว
  • 8:41 - 8:44
    บนริมฝีปากเสียด้วย (เสียงหัวเราะ)
  • 8:44 - 8:45
    พวกเราประหลาดใจมาก
  • 8:45 - 8:47
    เราไม่คิดว่าสิ่งนี้จะเกิดขึ้น
  • 8:47 - 8:50
    และเขาตอบสนองได้ดีมาก เขากอดเธอครั้งใหญ่เป็นการตอบแทน
  • 8:50 - 8:52
    และมันออกมาดูดีมาก
  • 8:52 - 8:54
    แต่คืนนั้น ระหว่างที่เรากำลังเก็บของกลับ
  • 8:54 - 8:58
    ผมถามนักแสดงทางไกล ว่าเหล่าผู้กำกับทางไกล
  • 8:58 - 9:03
    ตัดสินใจกันอย่างไรว่าจะให้เธอจูบ แซม โดแนลสัน
  • 9:03 - 9:05
    และเธอกล่าวว่า พวกเขาไม่ได้บอกให้ทำ
  • 9:05 - 9:08
    เธอเล่าว่า ตอนที่เธอกำลังจะก้าวขึ้นเวที
  • 9:08 - 9:10
    เหล่าผู้กำกับทางไกลยังมัวแต่เถียงกันอยู่ว่าจะให้ทำอะไร
  • 9:10 - 9:12
    ดังนั้นเธอเลยเดินขึ้นบนเวลาแล้วทำ
  • 9:12 - 9:18
    ในสิ่งที่รู้สึกเป็นธรรมชาติมากที่สุด (เสียงหัวเราะ)
  • 9:18 - 9:22
    ดังนั้น ความสำเร็จของนักแสดงทางไกลคืนนั้น
  • 9:22 - 9:26
    เป็นเพราะเธอเป็นนักแสดงที่ยอดเยี่ยม
  • 9:26 - 9:28
    เธอรู้ว่าเมื่อไหร่ควรเชื่อสัญชาตญาณ
  • 9:28 - 9:32
    และโปรเจคนั้นสอนผมบทเรียนชีวิตอีกบทหนึ่ง
  • 9:32 - 9:39
    ซึ่งก็คือ ถ้าคุณกำลังลังเล ให้ด้นสด (เสียงหัวเราะ)
  • 9:39 - 9:42
    ทีนี้ โปรเจคที่สาม ผุดขึ้นจาก
  • 9:42 - 9:47
    ประสบการณ์ของผม เมื่อตอนที่พ่ออยู่ในโรงพยาบาล
  • 9:47 - 9:49
    เขาได้รับการรักษา
  • 9:49 - 9:53
    โดยเคมีบำบัด และมีการรักษาที่เกี่ยวเนื่องด้วย
  • 9:53 - 9:58
    ซึ่งเรียกว่า การฝังแร่กัมมันตรังสี ซึ่งเม็ดกัมมันตรังสีเล็กๆ
  • 9:58 - 10:02
    จะถูกนำไปฝังไว้ในร่างกายเพื่อรักษาเนื้อร้าย
  • 10:02 - 10:04
    และวิธีทำก็คือ
  • 10:04 - 10:08
    ศัลยแพทย์แทงเข็มหลายๆ เข็มเข้าไปในร่างกาย
  • 10:08 - 10:11
    เพื่อฉีดเม็ดกัมมันตรังสีเข้าไป
  • 10:11 - 10:14
    และเข็มเหล่านี้ แทงเข้าไปในทิศทางขนานกัน
  • 10:14 - 10:17
    ดังนั้น มันเป็นปกติ ถ้าเข็มบางเล่ม
  • 10:17 - 10:22
    จะแทงไปโดนอวัยวะสำคัญ และผลที่ตามมาคือ
  • 10:22 - 10:27
    เข็มทำลายอวัยวะเหล่านั้น ซึ่งสร้างความเสียหาย
  • 10:27 - 10:31
    และนำไปสู่การบาดเจ็บและสร้างผลข้างเคียง
  • 10:31 - 10:33
    ดังนั้น นักเรียนของผมและตัวผม จึงคิดกันว่า
  • 10:33 - 10:37
    ถ้าเราปรับปรุงระบบ
  • 10:37 - 10:40
    เพื่อให้เหล่าเข็มทิ่มมาจากหลายๆ ทิศทางหล่ะ?
  • 10:40 - 10:43
    ดังนั้น เราจำลองสิ่งนี้ และพัฒนา
  • 10:43 - 10:46
    ระเบียบวิธีคิดที่หาทางที่ให้ผลดีที่สุด และเราจำลองมัน
  • 10:46 - 10:48
    เราสามารถแสดงให้เห็นได้ว่า เราสามารถเลี่ยง
  • 10:48 - 10:52
    อวัยวะที่ละเอียดอ่อน และยังครอบคลุม
  • 10:52 - 10:55
    เนื้องอกไว้ด้วยรังสีได้ครบถ้วน
  • 10:55 - 10:59
    ดังนั้น เราจึงทำงานร่วมกับเหล่าแพทย์ที่ UCSF
  • 10:59 - 11:02
    และวิศวกรที่ จอห์น ฮอปกินส์ (John Hopkins)
  • 11:02 - 11:05
    เรากำลังสร้างหุ่นยนต์ที่
  • 11:05 - 11:08
    ออกแบบมาเป็นพิเศษ และมีข้อต่อจำนวนมาก ที่ทำให้
  • 11:08 - 11:13
    เข็มสามารถแทงเข้าไปในแง่มุมต่างๆ กันไม่จำกัด
  • 11:13 - 11:16
    และคุณจะเห็นได้ว่า เหล่าเข็มสามารถเลี่ยงอวัยวะสำคัญ
  • 11:16 - 11:20
    และยังไปถึงจุดหมายที่ต้องการไปได้
  • 11:20 - 11:23
    ดังนั้น โดยการตั้งข้อสงสัยสมมุติฐานที่ว่า เข็มทั้งหมด
  • 11:23 - 11:26
    ต้องขนานกัน โปรเจคนี้สอนผม
  • 11:26 - 11:29
    ถึงบทเรียนสำคัญว่า
  • 11:29 - 11:34
    เมื่อเส้นทางของคุณถูกขวางกั้น จงหักมุม
  • 11:34 - 11:38
    และโปรเจคสุดท้ายก็เกี่ยวกับหุ่นยนต์ด้านการแพทย์เช่นกันครับ
  • 11:38 - 11:42
    นี่คือสิ่งที่ต่อยอดมาจากระบบที่มีชื่อว่า
  • 11:42 - 11:46
    หุ่นยนต์ผ่าตัด ดาวินชี
  • 11:46 - 11:48
    และนี่เป็นอุปกรณ์ที่จำหน่ายเชิงพาณิชย์แล้ว
  • 11:48 - 11:52
    มันถูกใช้ในโรงพยาบาลกว่า 2000 แห่งทั่วโลก
  • 11:52 - 11:54
    แนวคิดคือมันสามารถให้ศัลยแพทย์
  • 11:54 - 11:58
    ผ่าตัดอย่างสบายในสภาพแวดล้อมของเขา
  • 11:58 - 12:03
    แต่หน้าที่ย่อยๆ อื่นๆ ในการผ่าตัด
  • 12:03 - 12:06
    เป็นหน้าที่ซ้ำๆ ที่น่าเบื่อ เช่น การเย็บแผล
  • 12:06 - 12:09
    และในปัจจุบันนี้ ทุกอย่างถูกทำ
  • 12:09 - 12:13
    ภายใต้การควบคุมอย่างใกล้ชิดของศัลยแพทย์
  • 12:13 - 12:16
    ดังนั้นศัลยแพทย์จึงเกิดความล้าในระยะยาว
  • 12:16 - 12:17
    เราจึงคิดว่า
  • 12:17 - 12:19
    ถ้าเราตั้งโปรแกรมให้หุ่นยนต์
  • 12:19 - 12:22
    ทำงานยิบย่อยเหล่านี้แทนหล่ะ
  • 12:22 - 12:24
    และนั่นจะช่วยให้ศัลยแพทย์สามารถมีสมาธิ
  • 12:24 - 12:26
    กับงานที่ซับซ้อนมากขึ้นในการผ่าตัดได้
  • 12:26 - 12:30
    และจะช่วยร่นเวลาการผ่าตัดให้สั้นลง
  • 12:30 - 12:33
    ถ้าเราทำให้หุ่นยนต์ทำงานเหล่านี้ให้เร็วยิ่งขึ้น
  • 12:33 - 12:35
    ทีนี้ มันยากที่จะโปรแกรมหุ่นยนต์ให้ทำงานละเอียดแบบนี้
  • 12:35 - 12:39
    แต่เพื่อนร่วมงานของผม ปีเตอร์ แอบบีล (Pieter Abbeel)
  • 12:39 - 12:42
    ซึ่งอยู่ที่เบิร์กลีย์ ได้พัฒนา
  • 12:42 - 12:47
    เทคนิคใหม่สำหรับสอนหุ่นยนต์ให้เรียนตามตัวอย่าง
  • 12:47 - 12:50
    เขาสอนหุ่นยนต์ให้ขับเฮลิคอปเตอร์
  • 12:50 - 12:53
    และทำท่าผาดแผลงได้อย่างงดงาม และน่าเหลือเชื่อ
  • 12:53 - 12:56
    โดยการดูการบินของคนเก่งๆ
  • 12:56 - 12:58
    ดังนั้น เราจึงเอาหุ่นยนต์แบบนี้มาตัวหนึ่ง
  • 12:58 - 13:01
    เราร่วมงานกับปีเตอร์และนักเรียนของเขา
  • 13:01 - 13:03
    และเราขอให้ศัลยแพทย์
  • 13:03 - 13:08
    ทำงานสักอย่าง ด้วยหุ่นยนต์
  • 13:08 - 13:10
    สิ่งที่เราทำคือ เราขอให้ศัลยแพทย์
  • 13:10 - 13:11
    ทำงานสักอย่าง ด้วยหุ่นยนต์
  • 13:11 - 13:13
    แล้วเราก็บันทึกการเคลื่อนไหวของหุ่นยนต์
  • 13:13 - 13:15
    นี่เป็นตัวอย่างครับ ผมจะใช้รูปเลขแปด
  • 13:15 - 13:18
    การเขียนเส้นทางเป็นรูปเลขแปด เป็นตัวอย่าง
  • 13:18 - 13:21
    มันออกหน้าตาเป็นอย่างนี้ครับ เมื่อหุ่นยนต์
  • 13:21 - 13:24
    นี่คือหน้าตาเส้นทางของหุ่นยนต์
  • 13:24 - 13:25
    สามตัวอย่างนั่น
  • 13:25 - 13:27
    นี่มันดีกว่าการให้มือใหม่
  • 13:27 - 13:32
    อย่างผมทำ แต่มันยังสั่น และไม่แม่น
  • 13:32 - 13:34
    ดังนั้นเราจึงบันทึกข้อมูลตัวอย่างเหล่านี้
  • 13:34 - 13:38
    แล้วก็ค่อยๆ ดูในแต่ละขั้นตอน
  • 13:38 - 13:41
    ขั้นแรก เราใช้เทคนิคที่เรียกว่า ไดนามิกไทม์วอร์ปปิง
  • 13:41 - 13:43
    จากสาขาด้านการรู้จำเสียงพูด และนี่ทำให้เรา
  • 13:43 - 13:46
    สามารถจัดเรียงทุกตัวอย่างได้
  • 13:46 - 13:49
    และจากนั้นเราใช้ตัวกรองคาลแมน (Kalman filter)
  • 13:49 - 13:52
    เทคนิคจากทฤษฎีการควบคุม ที่ทำให้
  • 13:52 - 13:55
    เราวิเคราะห์สัญญาณรบกวนได้ในทางสถิติ
  • 13:55 - 14:01
    และคัดเอาเฉพาะทางเดินที่ต้องการที่รวมอยู่ในนั้นออกมา
  • 14:01 - 14:03
    ทีนี้ สิ่งที่เราทำคือ เราเอา
  • 14:03 - 14:05
    การสาธิตจากมนุษย์หลายๆ ครั้ง ซึ่งเต็มไปด้วยสัญญาณรบกวน และความไม่สมบูรณ์
  • 14:05 - 14:08
    เราดึงเฉพาะส่วนที่เป็นทางเดินที่เราต้องการ
  • 14:08 - 14:11
    และส่วนที่ใช้ในการควบคุม สำหรับหุ่นยนต์
  • 14:11 - 14:13
    และเราสั่งให้หุ่นยนต์ทำงาน
  • 14:13 - 14:16
    เราสังเกตสิ่งที่เกิดขึ้น
  • 14:16 - 14:18
    จากนั้นก็ปรับตัวควบคุมต่างๆ ด้วยเทคนิค
  • 14:18 - 14:21
    ที่เรียกว่าการควบคุมแบบเรียนรู้ซ้ำ
  • 14:21 - 14:25
    จากนั้น เราเพิ่มความเร็วขึ้นอีกเล็กน้อย
  • 14:25 - 14:29
    เราสังเกตผล และปรับแต่งตัวควบคุมอีกที
  • 14:29 - 14:31
    แล้วก็สังเกตสิ่งที่เกิดขึ้น
  • 14:31 - 14:33
    เราทำแบบนี้หลายๆ รอบ
  • 14:33 - 14:35
    และนี่คือผลที่ได้
  • 14:35 - 14:37
    นั่นคือเส้นทางเดินที่ต้องการ
  • 14:37 - 14:40
    นี่คือหุ่นยนต์กำลังเคลื่อนไหวด้วยความเร็วของมนุษย์
  • 14:40 - 14:42
    และนี่คือที่ความเร็ว 4 เท่าของมนุษย์
  • 14:42 - 14:45
    นี่คือ ที่ความเร็ว 7 เท่า
  • 14:45 - 14:49
    และนี่ คือหุ่นยนต์ทำงานที่ความเร็ว 10 เท่า
  • 14:49 - 14:51
    ของมนุษย์
  • 14:51 - 14:54
    เราสามารถทำให้หุ่นยนต์ทำงานละเอียดอ่อน
  • 14:54 - 14:57
    ดังเช่นงานย่อยๆ ในการผ่าตัด
  • 14:57 - 15:00
    ที่ความเร็ว 10 เท่าของมนุษย์
  • 15:00 - 15:04
    โปรเจคนี้ เนื่องจากมันเกี่ยวข้องกับการฝึกฝน
  • 15:04 - 15:07
    และเรียนรู้ ที่จะทำบางอย่าง ครั้งแล้วครั้งเล่า
  • 15:07 - 15:09
    โปรเจคนี้ก็ให้บทเรียนบทหนึ่ง นั่นก็คือ
  • 15:09 - 15:13
    ถ้าคุณอยากทำอะไรให้เก่งๆ
  • 15:13 - 15:20
    ไม่มีอะไรดีกว่าการฝึก ฝึก และฝึก
  • 15:21 - 15:24
    นี่คือสี่บทเรียนที่ผมได้เรียนรู้
  • 15:24 - 15:27
    จากหุ่นยนต์ ตลอดหลายปีที่ผ่านมา
  • 15:27 - 15:32
    และสาขาด้านหุ่นยนต์ ได้พัฒนามาขึ้นมาก
  • 15:32 - 15:34
    ตลอดเวลาที่ผ่านมา
  • 15:34 - 15:36
    ทุกวันนี้ นักเรียนม.ปลาย สามารถสร้างหุ่นยนต์
  • 15:36 - 15:40
    เช่นเดียวกับหุ่นต์ในอุตสาหกรรมที่พ่อและผมพยายามจะสร้าง
  • 15:40 - 15:47
    และตอนนี้ ผมมีลูกสาวคนหนึ่ง
  • 15:47 - 15:50
    ชื่อ โอเดสซา
  • 15:50 - 15:52
    เธออายุ 8 ขวบแล้ว
  • 15:52 - 15:54
    และเธอชอบหุ่นยนต์เสียด้วย
  • 15:54 - 15:57
    บางทีมันอาจเป็นพันธุกรรมนะครับ (เสียงหัวเราะ)
  • 15:57 - 16:00
    ผมอยากให้เธอได้เจอกับพ่อของผม
  • 16:00 - 16:03
    ตอนนี้ผมมีโอกาสสอนให้เธอรู้ว่าสิ่งต่างๆ ทำงานอย่างไร
  • 16:03 - 16:06
    เราได้ทำโปรเจคต่างๆ ร่วมกัน และผมก็อยากรู้ว่า
  • 16:06 - 16:10
    เธอจะได้บทเรียนอะไรจากโปรเจคเหล่านี้บ้าง
  • 16:10 - 16:13
    หุ่นยนต์ คือสิ่งที่ใกล้เคียงมนุษย์มากที่สุด
  • 16:13 - 16:15
    ท่ามกลางเครื่องจักรที่เราสร้างขึ้น
  • 16:15 - 16:18
    มันไม่สามารถแก้ปัญหาทุกอย่างบนโลกนี้
  • 16:18 - 16:22
    แต่ผมคิดว่ามันมีบางสิ่งที่สำคัญที่สอนเรา
  • 16:22 - 16:26
    ผมขอเชิญทุกท่านให้ลองคิดเกี่ยวกับนวัตกรรมต่างๆ
  • 16:26 - 16:28
    ที่คุณสนใจ
  • 16:28 - 16:32
    จักรกลที่คุณอยากได้
  • 16:32 - 16:35
    และลองคิดว่ามันจะสอนอะไรแก่คุณ
  • 16:35 - 16:37
    เพราะผมมีลางสังหรณ์ว่า
  • 16:37 - 16:39
    หลายนวัตกรรมด้านเทคโนโลยี
  • 16:39 - 16:42
    อุปกรณ์ที่เราฝันถึง
  • 16:42 - 16:46
    จะสร้างแรงบันดาลใจให้เราเป็นมนุษย์ที่ดีขึ้นได้
  • 16:46 - 16:49
    ขอบคุณครับ (เสียงปรบมือ)
Title:
4 บทเรียนจากหุ่นยนต์ ในเรื่องการเป็นมนุษย์
Speaker:
เคน โกลด์เบิร์ก (Ken Goldberg)
Description:

ยิ่งหุ่นยนต์เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของเรา เราควรต้องย้อนกลับมามองตัวเองในฐานะมนุษย์ด้วย ที่ TEDxBerkeley เคน โกลด์เบิร์ก แบ่งปันบทเรียน 4 ข้อที่เขาได้เรียนรู้จากการทำงานด้านหุ่นยนต์ (บันทึกจาก TEDxBerkeley)

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
17:09
Unnawut Leepaisalsuwanna approved Thai subtitles for 4 lessons from robots about being human
Unnawut Leepaisalsuwanna edited Thai subtitles for 4 lessons from robots about being human
Unnawut Leepaisalsuwanna edited Thai subtitles for 4 lessons from robots about being human
PanaEk Warawit accepted Thai subtitles for 4 lessons from robots about being human
PanaEk Warawit commented on Thai subtitles for 4 lessons from robots about being human
PanaEk Warawit edited Thai subtitles for 4 lessons from robots about being human
Kanawat Senanan edited Thai subtitles for 4 lessons from robots about being human
Kanawat Senanan edited Thai subtitles for 4 lessons from robots about being human
Show all
  • แปลได้ดีมากครับ ผมแก้ไขคำผิดเล็กๆ น้อยๆ เพียงบางจุดเท่านั้น

Thai subtitles

Revisions

  • Revision 10 Edited (legacy editor)
    Unnawut Leepaisalsuwanna