< Return to Video

พาราไซต์เปลี่ยนพฤติกรรมของเจ้าบ้านได้อย่างไร - แจ๊ป ดี รูด (Jaap de Roode)

  • 0:06 - 0:09
    สิ่งมีชีวิตใดที่ได้พัฒนาความสามารถ
  • 0:09 - 0:13
    ในการจัดการสัตว์ที่ใหญ่กว่ามันหลายเท่า
  • 0:13 - 0:16
    คำตอบก็คือพวกมันทุกตัว
  • 0:16 - 0:17
    พวกมันคือพาราไซต์
  • 0:17 - 0:22
    สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในสิ่งมีชีวิตเจ้าบ้าน
  • 0:22 - 0:26
    ซึ่งพวกมันทำอันตราย
    หรือบางทีก็ถึงกับฆ่าให้ตาย
  • 0:26 - 0:30
    พาราไซต์มีชีวิตอยู่รอดได้โดยการติดต่อ
    จากเจ้าบ้านหนึ่งไปยังเจ้าบ้านถัดไป
  • 0:30 - 0:34
    บางครั้งผ่านสิ่งมีชีวิต
    ที่เชื่อมต่อระหว่างเจ้าบ้าน
  • 0:34 - 0:39
    พาราไซต์ของเราทำได้โดยปรับเปลี่ยน
    พฤติกรรมของเจ้าบ้าน
  • 0:39 - 0:42
    บางครั้งด้วยการโจรกรรมสมองโดยตรง
  • 0:42 - 0:45
    ยกตัวอย่างเช่น พยาธิขนม้า
  • 0:45 - 0:48
    หนึ่งในเจ้าบ้านของมันคือ จิ้งหรีด
  • 0:48 - 0:52
    พยาธิขนม้าต้องการน้ำเพื่อผสมพันธุ์
    แต่จิ้งหรีดชอบที่แห้ง
  • 0:52 - 0:55
    ฉะนั้นเมื่อมันโตพอที่จะสืบพันธุ์
  • 0:55 - 1:00
    พยาธิจะผลิตโปรตีนที่บิดเบือน
    ระบบประสาทของจิ้งหรีด
  • 1:00 - 1:03
    จิ้งหรีดที่สับสนกระโดดไม่เป็นจังหวะ
  • 1:03 - 1:04
    เข้าใกล้แหล่งน้ำ
  • 1:04 - 1:09
    และสุดท้ายก็กระโดดลงไป
    และผลก็คือมักจะจมน้ำ
  • 1:09 - 1:11
    พยาธิก็จะไชออกมาเพื่อหาคู่
  • 1:11 - 1:13
    และไข่ของมันถูกกิน
    โดยแมลงน้ำเล็กๆ
  • 1:13 - 1:15
    ที่โตเต็มวัย
  • 1:15 - 1:16
    และขึ้นมาบนบก
  • 1:16 - 1:19
    และต่อมา ถูกกินโดยจิ้งหรีดตัวใหม่
  • 1:19 - 1:22
    และดังนั้นพยาธิหางม้าก็จะอยู่ต่อไป
  • 1:22 - 1:26
    และนี่คือไวรัสพิษสุนัขบ้า
    พาราไซต์อีกชนิดที่น่าที่ง
  • 1:26 - 1:29
    ไวรัสนี้ก่อโรคในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
    ส่วนใหญ่คือสุนัข
  • 1:29 - 1:33
    และเดินทางขึ้นไปตามระบบประสาท
    จนถึงสมอง
  • 1:33 - 1:36
    ที่ซึ่งมันทำให้เกิดการอักเสบ
    และสุดท้ายจะฆ่าเจ้าบ้าน
  • 1:36 - 1:40
    แต่ก่อนมันจะทำเช่นนั้น
    มันมักจะเพิ่มความดุร้ายให้กับเจ้าบ้าน
  • 1:40 - 1:45
    และเพิ่มการผลิต
    ของน้ำลายที่มีเชื้อดังกล่าว
  • 1:45 - 1:47
    ในขณะเดียวกันก็ทำให้การกลืนยากลำบาก
  • 1:47 - 1:51
    ด้วยปัจจัยเหล่านี้
    เจ้าบ้านจึงมักจะกัดสัตว์ตัวอื่น
  • 1:51 - 1:55
    และมักจะส่งต่อไวรัส
    เมื่อเกิดเหตุการณ์อย่างนั้น
  • 1:55 - 2:01
    และตอนนี้ พบกับ ออพิโอคอร์ดิเซพ
    (Ophiocordyceps) ที่เป็นที่รู้จักกันว่า เห็ดผีดิบ
  • 2:01 - 2:06
    เจ้าบ้านที่เป็นตัวเลือกของมันคือมดในเขตร้อน
    ที่ปกติอาศัยอยู่ที่ยอดไม้
  • 2:06 - 2:11
    หลังจากสปอร์ของออพิโอคอร์ดิเซพ
    แทงผ่านเกราะตัวมดเข้าไป
  • 2:11 - 2:15
    พวกมันทำให้ตัวมดกระตุก
    จนตกลงมาจากต้นไม้
  • 2:15 - 2:20
    ราเปลี่ยนพฤติกรรมของมด
    บังคับให้มันเดินไปอย่างไร้สติ
  • 2:20 - 2:25
    จนกระทั่งเจอเข้ากับใบไม้
    ที่มีความเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของรา
  • 2:25 - 2:27
    ซึ่งมันเข้าไปเกาะ
  • 2:27 - 2:28
    และมดก็ตายหลังจากนั้น
  • 2:28 - 2:35
    และราเข้าไปในตัวของมัน แล้วสร้างเส้นสายใย
    ที่ยาวและบาง จากคอของมัน
  • 2:35 - 2:38
    ภายในไม่กี่สัปดาห์
    เส้นใยนั้นสร้างสปอร์
  • 2:38 - 2:44
    ซึ่งเปลี่ยนมดเป็นผีดิบหกขา
    ที่ออกตามหาใบไม้
  • 2:44 - 2:49
    หนี่งในผู้ร้ายที่เป็นอันตรายต่อมนุษยชาติที่สุด
    คือพาราไซต์ที่เปลี่ยนพฤติกรรมเจ้าบ้าน
  • 2:49 - 2:51
    ถ้าจะพูดให้สบายใจสักหน่อย
  • 2:51 - 2:54
    มันไม่ใช่สมองของเราหรอก
    ที่พวกมันเข้ายึด
  • 2:54 - 2:58
    ผมกำลังพูดถึงพลาสโมเดียม
    สาเหตุของโรคมาลาเรีย
  • 2:58 - 3:02
    พาราไซต์นี้ต้องการยุง
    ให้ส่งมันไประหว่างเจ้าบ้าน
  • 3:02 - 3:06
    ดังนั้นมันทำให้ยุงกัดเจ้าบ้าน
    บ่อยขึ้นและนานขึ้น
  • 3:06 - 3:09
    ยังมีหลักฐานว่า
    คนที่ติดเชื้อมาลาเรีย
  • 3:09 - 3:11
    เป็นผู้ที่ดึงดูดยุงมากกว่า
  • 3:11 - 3:15
    ซึ่งพวกมันจะมากัดพวกเขา
    และส่งต่อพาราไซต์ต่อไป
  • 3:15 - 3:18
    ระบบหลายสายพันธุ์นี้มีประสิทธิภาพมาก
  • 3:18 - 3:22
    ส่งผลให้มีคนเป็นไข้มาลาเรียนับแสนรายต่อปี
  • 3:22 - 3:25
    และท้ายที่สุด มีพวกแมว
  • 3:25 - 3:28
    ไม่ต้องเป็นห่วงไป คงจะไม่ใช่แมวหรอก
    ที่ไปอาศัยอยู่ในร่างกายของคุณ
  • 3:28 - 3:30
    และควบคุมความคิดของคุณ
  • 3:30 - 3:32
    ผมหมายถึง ว่ามันคงจะไม่ใช่อย่างนั้น
  • 3:32 - 3:35
    แต่เป็นจุลชีพที่เรียกว่า ทอกโซพลาสม่า
  • 3:35 - 3:40
    วงชีวิตที่สมบูรณ์ของมัน
    ต้องการทั้งแมวและสัตว์ฟันแทะ
  • 3:40 - 3:43
    เมื่อหนูติดเชื้อ และกินอุจจาระของแมวเข้าไป
  • 3:43 - 3:47
    พาราไซต์เปลี่ยนระดับสารเคมีในสมองของหนู
  • 3:47 - 3:50
    ทำให้มันระแวดระวังตัวต่อแมวผู้หิวโหยน้อยลง
  • 3:50 - 3:53
    บางที แม้กระทั่งเข้าโจมตีแมวด้วย
  • 3:53 - 3:55
    นั่นทำให้พวกมันตกเป็นเหยื่อได้ง่าย
  • 3:55 - 3:59
    ดังนั้น หนูที่ติดเชื้อเหล่านี้
    ถูกกินและส่งต่อพาราไซต์
  • 3:59 - 4:02
    การควบคุมสมองเป็นผลสำเร็จ
  • 4:02 - 4:06
    มีหลักฐานแม้กระทั่งว่าพาราไซต์
    ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมของมนุษย์
  • 4:06 - 4:09
    ในกรณีส่วนใหญ่
    เราไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้
  • 4:09 - 4:13
    ว่าพาราไซต์มีความสามารถ
    กระทำการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมได้อย่างไร
  • 4:13 - 4:15
    แต่จากที่เราทราบ
  • 4:15 - 4:17
    เราสามารถบอกได้ว่าพวกมันมีกล่องเครื่องมือ
    ที่ค่อนข้างจะหลากหลาย
  • 4:17 - 4:21
    พยาธิขนม้าน่าจะกระทำ
    ต่อสมองของจิ้งหรีดโดยตรง
  • 4:21 - 4:24
    ที่ต่างออกไป มาลาเรีย พาราไซต์
  • 4:24 - 4:27
    ขัดขวางเอนไซม์ที่ช่วยในการกินอาหารของยุง
  • 4:27 - 4:31
    บังคับให้พวกมันกัดครั้งแล้วครั้งเล่า
  • 4:31 - 4:35
    และไวรัสพิษสุนัขบ้าอาจทำให้
    พฤติกรรมเกรี้ยวกราดน้ำลายไหลนั้นเกิดขึ้น
  • 4:35 - 4:38
    โดยเร่งให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานมากเกินไป
  • 4:38 - 4:39
    แต่ไม่ว่าจะเป็นวิธีการไหน
  • 4:39 - 4:41
    เมื่อคุณคิดถึงว่าพาราไซต์เหล่านี้
  • 4:41 - 4:44
    มีประสิทธิภาพ
    ต่อการควบคุมพฤติกรรมของเจ้าบ้านแค่ไหน
  • 4:44 - 4:51
    คุณอาจสงสัยว่ามีพฤติกรรมของมนุษย์มากน้อยแค่ไหน
    ที่แสดงออกมาเพราะพาราไซต์
  • 4:51 - 4:55
    ในเมื่อมากกว่าครึ่งหนึ่งของสปีชีส์บนโลกนี้
    คือพาราไซต์
  • 4:55 - 4:58
    มันอาจมากกว่าที่เราคิดเอาไว้ก็เป็นได้
Title:
พาราไซต์เปลี่ยนพฤติกรรมของเจ้าบ้านได้อย่างไร - แจ๊ป ดี รูด (Jaap de Roode)
Description:

ชมบทเรียนแบบเต็มได้ที่: http://ed.ted.com/lessons/how-parasites-change-their-host-s-behavior-jaap-de-roode

สิ่งท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในชีวิตของพาราไซต์ คือการย้ายจากเจ้าบ้านหนึ่งไปสู่เจ้าบ้านหนึ่ง เป็นที่น่าทึ่ง ที่พาราไซต์ได้มีวิวัฒนาการความสามารถในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเจ้าบ้านของพวกมัน เพื่อเพิ่มอัตราการอยู่รอดของพวกมันได้ -- บางครั้ง แม้กระทั่งควบคุมสมองโดยตรง แจ๊ป ดี รูด ให้รายละเอียดของพาราไซต์สองสามชนิดที่สามารถปั่นหัวคุณได้

บทเรียนโดย Jaap de Roode, แอนิเมชันโดย Andrew Foerster

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
05:14

Thai subtitles

Revisions