< Return to Video

มันเป็นโบสถ์ มันเป็นสุเหร่า มันคือ ฮายา โซฟีอา - แคลลี่ วอล (Kelly Wall)

  • 0:06 - 0:11
    เขาบอกว่า ถ้ากำแพงสามารถพูดได้
    ตึกรามบ้านช่องก็คงจะมีเรื่องราวมาบอกเล่า
  • 0:11 - 0:16
    แต่คงจะมีสิ่งปลูกสร้างไม่มาก
    ที่จะบอกเล่าเรื่องราวด้วยเสียงอันหลากหลาย
  • 0:16 - 0:19
    ได้เฉกเช่น ฮายา โซฟีอา (Hagia Sophia)
    หรือ ปัญญาอันศักดิ์สิทธิ์
  • 0:19 - 0:22
    ด้วยเหตุที่มันตั้งอยู่บนเส้นทางเชื่อม
    ระหว่างทวีปและวัฒนธรรม
  • 0:22 - 0:26
    มันได้เห็นความเปลี่ยนแปลงมากมาย
    ตั้งแต่ชื่อของเมืองที่มันตั้งอยู่
  • 0:26 - 0:28
    ไปจนถึงโครงสร้าง
    และจุดประสงค์การใช้งานของมัน
  • 0:28 - 0:31
    และวันนี้ องค์ประกอบจากแต่ละยุคก็พร้อมแล้ว
  • 0:31 - 0:34
    ที่จะบอกเล่าเรื่องราวแก่ผู้มาเยือนที่พร้อมจะรับฟัง
  • 0:34 - 0:38
    ก่อนที่คุณจะย่างเข้ามาใน ฮายา โซฟีอา
    ป้อมปราการโบราณ
  • 0:38 - 0:41
    ก็บอกใบ้ถึงความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์ของรอบๆ เมือง
  • 0:41 - 0:46
    ที่ถูกก่อสร้างขึ้นในยุคไบแซนไทน์
    โดยชาวอาณานิคมกรีก 657 ปีก่อนคริสตกาล
  • 0:46 - 0:51
    และถูกเปลี่ยนชื่อเป็น ออกัสต้า อันโทเนีย
    ในยุคโรมันใหม่ และคอนสเตนติโนเปิล
  • 0:51 - 0:54
    เมื่อมันถูกยึดครอง ยึดคืน ทำลาย และสร้างใหม่
  • 0:54 - 1:00
    โดยผู้ปกครองชาวกรีก เปอร์เซีย และโรมัน
    ตลอดหลายศตวรรษต่อมา
  • 1:00 - 1:04
    และภายในกำแพงเหล่านี้นี่เอง ที่ เมกาลี เอคลีเซีย
    (Megale Ekklesia) หรือโบสถ์ใหญ่ แรก
  • 1:04 - 1:06
    ถูกสร้างขึ้นในศตวรรษที่สี่
  • 1:06 - 1:09
    ถึงแม้ว่ามันจะถูกเผาทำลายจนราบเป็นหน้ากลอง
    ในการก่อจราจลไม่นานหลังจากนั้น
  • 1:09 - 1:12
    มันก็เป็นสถานที่ สำหรับโครงสร้างหลัก
    ทางศาสนาในบริเวณนั้น
  • 1:12 - 1:14
    เป็นเวลาอีกหลายศตวรรษต่อมา
  • 1:14 - 1:16
    ใกล้ทางเข้า หินอ่อนที่กองอยู่
  • 1:16 - 1:19
    เป็นร่องรอยสุดท้ายที่เหลืออยู่จากโบสถ์หลังที่สอง
  • 1:19 - 1:24
    มันถูกสร้างใน ค.ศ. 415 และถูกทำลายลง
    ระหว่างการจลาจลนิกา (Nika riots) ใน ค.ศ. 532
  • 1:24 - 1:26
    เมื่อผู้คนที่โมโหโกรธาที่การแข่งรถม้า
  • 1:26 - 1:30
    เกือบที่จะโค่นอำนาจจักรพรรดิ์จัสติเนียน ที่หนึ่ง
  • 1:30 - 1:32
    แม้ว่าเกือบที่จะประคองอำนาจเอาไว้ไม่ไหว
  • 1:32 - 1:35
    จักรพรรดิ์จัดการสร้างโบสถ์ขึ้นมาใหม่
    ให้ใหญ่กว่าเดิม
  • 1:35 - 1:40
    และอีกห้าปีต่อมา สิ่งปลูกสร้างที่ใหญ่โตที่คุณเห็น
    ก็ถูกสร้างจนเสร็จสมบูรณ์
  • 1:40 - 1:43
    เมื่อคุณย่างเข้าไปข้างใน
    หินที่เป็นโครงสร้างและกำแพง
  • 1:43 - 1:47
    พึมพัมถึงเรื่องราวของบ้านเกิดของพวกมัน
    ในอียิปและซีเรีย
  • 1:47 - 1:52
    ในขณะที่เสาถูกนำมาจากโบสถ์แห่งอาร์ทิมิส
    เรียกความทรงจำจากอดีตที่เก่าแก่กว่า
  • 1:52 - 1:55
    ร่องรอยจารึกที่ถูกสลักไว้โดยชาวไวกิง
    สุดยอดองครักษ์ของจักรพรรดิ์
  • 1:55 - 1:58
    เต็มไปด้วยเรื่องราว
    จากเกาะทางตอนเหนือที่ห่างไกล
  • 1:58 - 2:03
    แต่ความสนใจของคุณจะตกอยู่ที่โดมยักษ์
    ที่เป็นตัวแทนสรวงสวรรค์
  • 2:03 - 2:07
    ด้วยความสูงกว่า 50 เมตร
    และเส้นผ่าศูนย์กลาง 30 เมตร
  • 2:07 - 2:10
    และรายล้อมด้วยหน้าต่างรอบๆ ฐานของมัน
  • 2:10 - 2:12
    โดมสีทองเป็นดั่งระย้าจากสวรรค์
  • 2:12 - 2:15
    แสงส่องสะท้อนผ่านเข้ามาทางข้างใน
  • 2:15 - 2:19
    ภายใต้สัญลักษณ์อันสง่าหรู
    และเสาโครินเทียที่แข็งแรงมั่นคง
  • 2:19 - 2:23
    ที่นำมาจากเลบานอน
    หลังจากโดมแรกถูกทำลายลงบางส่วน
  • 2:23 - 2:26
    เนื่องจากแผ่นดินไหวใน ค.ศ. 558
  • 2:26 - 2:28
    ย้ำเตือนเบาๆ ให้คุณนึกถึงความเปราะบางของมัน
  • 2:28 - 2:31
    และความชำนาญเชิงวิศวกรรมที่แสนจะน่าทึ่ง
  • 2:31 - 2:34
    ถ้าภาพเดียวแทนคำพูดได้นับพันคำ
  • 2:34 - 2:37
    กระเบื้องโมเสกจากสองสามศตวรรษต่อมา
    บอกเรื่องราวไว้มากกว่าใคร
  • 2:37 - 2:40
    ไม่เพียงแต่เป็นเรื่องเกี่ยวกับ
    พระคัมภีร์ศาสนาคริสต์เท่านั้น
  • 2:40 - 2:43
    แต่ยังเกี่ยวกับจักรพรรดิ์ไบแซนไทน์
    ผู้ที่มอบหน้าที่ให้กับพวกมัน
  • 2:43 - 2:45
    ที่มักถูกพรรณาบรรยายไปพร้อมๆ กับพระคริสต์
  • 2:45 - 2:47
    แต่ภายใต้เสียงที่ดังและชัดเจน
  • 2:47 - 2:52
    เราสามารถได้ยินเสียงก้องโหยหวนของ
    ความเสียหายและโมเสกและสัญลักษณ์ที่หายไป
  • 2:52 - 2:56
    มันถูกดูหมิ่นและปล้นระหว่างการยึดครองโดยละติน
    ในสงครามครูเสตครั้งที่สี่
  • 2:56 - 3:00
    ภายในพื้นนี้ รอยสลักสุสานของเอนริโก ดันโดโล
  • 3:00 - 3:02
    ผู้ปกครองเวเนเชียนผู้บัญชาการรบ
  • 3:02 - 3:08
    เป็นสิ่งย้ำเตือนถาวรของ 57 ปี
    ที่ ฮายา โซฟีอา เป็นโบสถ์โรมันคาธอลิก
  • 3:08 - 3:13
    ก่อนที่จะกลับไปยังรากเหง้าออโธดอกซ์ของมัน
    เมื่อไบเซนไทน์เข้ามายึดครองอีกครั้ง
  • 3:13 - 3:15
    แต่มันก็เป็นโบสถ์อยู่ไม่นาน
  • 3:15 - 3:20
    เมื่อครูเสตทำให้อาณาจักรเสื่อมถอย ใน ค.ศ. 1453
    คอนสเตนติโนเปิลก็ตกเป็นของออโตมัน
  • 3:20 - 3:22
    และต่อมาเป็นที่รู้จักกันในชื่อ อิสตัลบูล
  • 3:22 - 3:25
    หลังจากยอมให้ทหารของพระองค์
    ทำการปล้นสะดมอยู่สามวัน
  • 3:25 - 3:27
    สุลต่านเมห์เหม็ดที่สอง ได้เข้าไปยังตัวอาคาร
  • 3:27 - 3:31
    แม้ว่ามันจะถูกทำลายอย่างหนัก
    ความสง่างามของมันก็หาได้สูญหายไปไม่
  • 3:31 - 3:34
    ในสายตาของสุลต่านหนุ่ม
    ผู้ที่อุทิศมันให้กับพระอัลเลาะห์ในทันที
  • 3:34 - 3:37
    โดยมีโองการว่ามันจะเป็นสุเหร่าหลวง
  • 3:37 - 3:39
    หออะซานทั้งสี่ที่ถูกสร้างขึ้นในศตวรรษต่อมา
  • 3:39 - 3:42
    เป็นสัญลักษณ์ที่เด่นชัดที่สุดของยุคนี้
  • 3:42 - 3:46
    ที่ทำหน้าที่เป็นตัวสนับสนุนทางสถาปัตยกรรม
    เพิ่มเติมจากภารกิจทางศาสนาของมัน
  • 3:46 - 3:47
    แต่ยังมีอะไรอย่างอื่นอีก
  • 3:47 - 3:51
    เชิงเทียนหรูหราเกี่ยวข้องกับการยึดครองฮังการี
    โดยสุไลมาน
  • 3:51 - 3:53
    ในขณะที่แผ่นอักษรประดิษฐ์ขนาดยักษ์
    ที่ห้อยลงมาจากฝ้าเพดาน
  • 3:53 - 3:58
    ย้ำเตือนผู้มาเยี่ยมชมให้นึกถึงกาหลีบสี่ท่านแรก
    ที่ติดตามโมฮัมหมัด
  • 3:58 - 4:03
    แม้ว่าตัวอาคารที่คุณเห็นในปัจจุบัน
    จะดูเหมือนสุเหร่า ตอนนี้มันเป็นพิพิธภัณฑ์
  • 4:03 - 4:07
    ได้มีการตัดสินใจในปี ค.ศ. 1935 โดย
    คามาล อะทาเทิร์ค (Kemal Ataturk)
  • 4:07 - 4:09
    ประธานาธิบดีคนแรกของตุรกียุคใหม่
  • 4:09 - 4:12
    หลังจากการล่มสลายของอาณาจักรออโตมัน
  • 4:12 - 4:15
    การแยกมันออกจากทางศาสนานี้เอง
  • 4:15 - 4:18
    ที่ทำให้มีการรื้อพรมที่ซ่อนงานตกแต่งพื้นหินอ่อน
  • 4:18 - 4:21
    และปูนขาวที่บดบังโมเสกคริสเตียนออกไป
  • 4:21 - 4:25
    งานบูรณะที่ยังดำเนินการอยู่
    ได้ทำให้เสียงต่างๆ มากมาย
  • 4:25 - 4:26
    ในประวัติศาสตร์อันยาวนาวของ ฮายา โซฟีอา
  • 4:26 - 4:29
    เป็นที่ได้ยินอีกครั้งหลังจากเงียบหายไปหลายศตวรรษ
  • 4:29 - 4:31
    แต่ความขัดแย้งก็ยังคงอยู่
  • 4:31 - 4:34
    โมเสกที่ถูกซ่อนไว้ร้องออกมา
    จากตัวอักษรประดิษฐ์อิสลามที่อยู่เบื้องล่าง
  • 4:34 - 4:39
    ชิ้นส่วนอันทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์
    ที่ไม่สามารถเปิดเผยได้โดยไม่ทำลายส่วนอื่นๆ
  • 4:39 - 4:43
    ในขณะเดียวกัน ก็มีเสียงร่ำร้อง
    จากทั้งสังคมชาวมุสลิมและคริสต์
  • 4:43 - 4:46
    ให้ตัวอาคารกลับคืนสู่วัตถุประสงค์
    ตามเดิมของศาสนาครั้งก่อน
  • 4:46 - 4:49
    เรื่องราวของปรัชญาจากทวยเทพ
    อาจยังไม่เป็นที่สิ้นสุด
  • 4:49 - 4:53
    แต่เราก็ได้แต่เพียงหวังว่า
    เสียงทั้งหลายที่สถิตย์อยู่ที่นั่น
  • 4:53 - 4:56
    จะยังสามารถบอกเล่าเรื่องราวในส่วนของพวกมัน
    ไปตราบนานเท่านาน
Title:
มันเป็นโบสถ์ มันเป็นสุเหร่า มันคือ ฮายา โซฟีอา - แคลลี่ วอล (Kelly Wall)
Description:

ชมบทเรียนแบบเต็มได้ที่: http://ed.ted.com/lessons/it-s-a-church-it-s-a-mosque-it-s-hagia-sophia-kelly-wall

ถ้ากำแพงสามารถพูดได้ ฮายา โซฟีอา ของตุรกี ก็คงจะมีเรื่องราวมากมายที่จะเล่าให้ฟัง ครั้งหนึ่งเป็นโบสถ์ ต่อมาเป็นสุเหร่า และตอนนี้เป็นพิพิธภัณฑ์ สิ่งมหัศจรรย์ของโลกนี้ยืนตระหง่านผ่านการทดสอบของกาลเวลาและสงคราม อยู่รอดมาหลายศตวรรษแห่งการแย่งชิงโดยจักรวรรดิ์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ แคลลี่ วอล นำเราสู่ประวัติศาสตร์ในแต่ละชั้นของอัญมณีแห่งความปรารถนาของมนุษย์ที่ยิ่งใหญ่

บทเรียนโดย Kelly Wall, แอนิเมชั่นโดย Andrew Foerster

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
05:12

Thai subtitles

Revisions