hideApril is World Autism Month and we want to bring awareness to the importance of inclusion in the classroom!
💡Learn with Amara.org how Captioning Can Empower Diverse Learners!

< Return to Video

ลอร่า คาร์สเตนเซ่น (Laura Carstensen): ยิ่งสูงอายุ ยิ่งมีความสุข

  • 0:00 - 0:02
    พวกเราอายุยืนมากขึ้น
  • 0:02 - 0:04
    และสังคมก็เริ่มที่จะเต็มไปด้วยคนหัวสีเทาๆ
  • 0:04 - 0:06
    คุณได้ยินมันอยู่ตลอดน่ะแหละ
  • 0:06 - 0:08
    คุณอ่านเจอมันในหนังสือพิมพ์
  • 0:08 - 0:10
    จากโทรทัศน์
  • 0:10 - 0:12
    บางครั้งฉันก็เป็นห่วงนะ
  • 0:12 - 0:14
    ว่าเราได้ยินมันบ่อยมาก
  • 0:14 - 0:17
    ซะจนเรายินดี
  • 0:17 - 0:19
    แล้วก็สบายใจ
  • 0:19 - 0:21
    กับการมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้นนี้
  • 0:21 - 0:24
    แต่อย่าเข้าใจผิดไปนะ
  • 0:24 - 0:26
    การมีชีวิตยืนยาวขึ้น สามารถ
  • 0:26 - 0:28
    และฉันเชื่อว่า มันจะ
  • 0:28 - 0:30
    ข่วยพัฒนาคุณภาพชีวิต
  • 0:30 - 0:32
    ของทุกๆ ช่วงชีวิตได้
  • 0:32 - 0:34
    เอาล่ะและเพื่อให้เราได้เห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้น
  • 0:34 - 0:37
    ขอฉันพูดถึงเรื่องอื่นซักแป๊บนึง
  • 0:37 - 0:40
    จำนวนปีที่ถูกเพิ่ม
  • 0:40 - 0:42
    ในค่าเฉลี่ยอายุขัยของเรา
  • 0:42 - 0:44
    ในศตวรรษที่ 20 นี้
  • 0:44 - 0:47
    ยังมากกว่าจำนวนที่ถูกเพิ่ม
  • 0:47 - 0:51
    ตลอดช่วงพันปีก่อนหน้า
  • 0:51 - 0:54
    ของมนุษย์รวมกันซะอีก
  • 0:54 - 0:56
    ในช่วงเวลาแค่พริบตาเดียว
  • 0:56 - 0:59
    เราเกือบได้เบิ้ลช่วงเวลา
  • 0:59 - 1:01
    ที่เราจะมีชีวิตอยู่ได้เป็น 2 เท่า
  • 1:01 - 1:04
    เพราะฉะนั้นถ้ายังไม่ค่อยเชื่อเรื่องนี้ซักเท่าไหร่
  • 1:04 - 1:06
    อย่าโทษตัวเองไปเลย
  • 1:06 - 1:08
    เพราะมันใหม่มาก
  • 1:08 - 1:10
    และเพราะว่าอัตราการเกิดของเราต่ำลง
  • 1:10 - 1:12
    ในช่วงเวลาเดียวกันกับ
  • 1:12 - 1:16
    ที่อายุขัยของเราสูงขึ้น
  • 1:16 - 1:18
    รูปพีรามิด
  • 1:18 - 1:21
    ที่แสดงถึงการกระจายตัวของกลุ่มอายุต่างๆ ในประชากร
  • 1:21 - 1:24
    ที่มีพวกเด็กๆ อยู่ที่ฐาน
  • 1:24 - 1:27
    ไล่ขึ้นไปจนถึงยอดแหลมๆ ที่แทนด้วยผู้สูงอายุ
  • 1:27 - 1:29
    ที่อยู่ไปได้จนแก่เฒ่านั้น
  • 1:29 - 1:31
    กำลังที่จะถูกเปลี่ยนแปลง
  • 1:31 - 1:34
    ไปเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
  • 1:34 - 1:36
    และตอนนี้ ถ้าคุณประเภทที่
  • 1:36 - 1:40
    จะขนลุกกับสถิติของประชากร
  • 1:40 - 1:42
    เรื่องนี้มันจะทำให้คุณรู้สึกอย่างนั้นได้แน่
  • 1:42 - 1:44
    เพราะนั่นมันหมายความว่า
  • 1:44 - 1:47
    นี่มันเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของเผ่าพันธุ์มนุษย์
  • 1:47 - 1:49
    ทารกส่วนใหญ่ที่เกิด
  • 1:49 - 1:51
    ในประเทศที่พัฒนาแล้ว
  • 1:51 - 1:54
    จะมีโอกาส
  • 1:54 - 1:56
    ที่จะได้แก่เฒ่า
  • 1:56 - 1:59
    สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นได้อย่างไรน่ะเหรอ?
  • 1:59 - 2:01
    เราเองก็ไม่ได้มียีนส์ที่แข็งแรงกว่าบรรพบุรุษของเรา
  • 2:01 - 2:03
    เมื่อ 10,000 ปีก่อน
  • 2:03 - 2:05
    อายุขัยที่เพิ่มขึ้นนี้
  • 2:05 - 2:08
    เป็นผลจากความน่าทึ่งทางวัฒนธรรม
  • 2:08 - 2:10
    การหลอมรวมกัน
  • 2:10 - 2:12
    ของวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
  • 2:12 - 2:15
    และการเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรมในวงกว้าง
  • 2:15 - 2:18
    ที่ช่วยดูแลสุขภาพและการเป็นอยู่ให้ดีขึ้นได้
  • 2:18 - 2:20
    ผ่านการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม
  • 2:20 - 2:22
    บรรพบุรุษของเรา
  • 2:22 - 2:25
    จากที่ส่วนใหญ่จะเสียชีวิตในวัยเยาว์
  • 2:25 - 2:28
    ตอนนี้พวกเราสามารถที่จะมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้นอย่างเต็มเปี่ยมได้
  • 2:29 - 2:32
    เอาล่ะ ปัญหาบางอย่างมันก็มาพร้อมกับการสูงวัยขึ้น
  • 2:32 - 2:35
    โรคเอย, ความยากจนเอย, การสูญเสียสถานะทางสังคมเอย
  • 2:35 - 2:37
    และมันก็ยากมากที่จะอยู่แค่กับความสำเร็จในอดีต
  • 2:37 - 2:39
    แต่ยิ่งเราได้ศึกษาเกี่ยวกับการสูงวัยมากขึ้นเท่าไหร่
  • 2:39 - 2:41
    มันก็ยิ่งเด่นชัดขึ้น
  • 2:41 - 2:43
    ว่าเส้นทางดิ่งลงเหวนี้
  • 2:43 - 2:46
    ก็ไม่ได้ถูกต้องไปซะหมด
  • 2:46 - 2:50
    การแก่ตัวลงได้นำสิ่งที่น่าเหลือเชื่อมากมายมาให้เรา
  • 2:50 - 2:53
    ความรู้ ความชำนาญ
  • 2:53 - 2:59
    และการเติบโตขึ้นทางอารมณ์
  • 2:59 - 3:01
    ถูกต้อง
  • 3:01 - 3:04
    ผู้สูงอายุนั้นมีความสุข
  • 3:04 - 3:06
    พวกเค้ามีความสุขมากกว่าพวกวัยกลางคน
  • 3:06 - 3:08
    และพวกเด็กๆ มากนัก
  • 3:08 - 3:10
    การศึกษานับไม่ถ้วน
  • 3:10 - 3:12
    ได้ข้อสรุปเดียวกัน
  • 3:12 - 3:15
    กรมควบคุมโรคติดต่อ (CDC) ได้ทำการทดสอบอย่างหนึ่ง
  • 3:15 - 3:18
    พวกเขาถามผู้ถูกสำรวจ
  • 3:18 - 3:20
    ว่าพวกเค้าได้รับความเครียดทางจิตใจหรือไม่
  • 3:20 - 3:22
    ในอาทิตย์ที่ผ่านมา
  • 3:22 - 3:25
    เราพบว่ากลุ่มคนอายุมากที่ตอบว่ามี มีจำนวนน้อยกว่า
  • 3:25 - 3:27
    กลุ่มตัวอย่างวัยกลางคน
  • 3:27 - 3:29
    และเด็ก
  • 3:29 - 3:31
    การสำรวจโดยแกลลอป (Gallop)
  • 3:31 - 3:33
    ได้ทำการทดสอบผู้ถูกสำรวจ
  • 3:33 - 3:35
    ว่าพวกเค้าได้รับความเครียด ความกังวลใจ และความโกรธ
  • 3:35 - 3:37
    มากเพียงใดเมื่อวาน
  • 3:37 - 3:41
    และพวกเขาพบว่าความเครียด ความกังวล และความโกรธ
  • 3:41 - 3:44
    ต่างลดลงเมื่อมีอายุมากขึ้น
  • 3:45 - 3:48
    นักสังคมศาสตร์เรียกสิ่งนี้ว่า "ความผิดแผกของการสูงวัย" (Paradox of aging)
  • 3:48 - 3:51
    เพราะยังไงก็ตาม การแก่ตัวลงนี่มันไม่ใช่เรื่องง่าย
  • 3:51 - 3:53
    พวกเราได้ลองตั้งคำถามหลายๆ อย่าง
  • 3:53 - 3:57
    เพื่อดูว่าเราสามารถจะได้ข้อสรุปที่แตกต่างออกไปได้หรือไม่
  • 3:57 - 3:59
    พวกเราคิดว่าบางที
  • 3:59 - 4:02
    ผู้สูงวัยในยุคนี้
  • 4:02 - 4:04
    อาจเป็น
  • 4:04 - 4:06
    ยุคของผู้สูงวัยที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดการณ์
  • 4:06 - 4:08
    และมันทำให้คนในกลุ่มที่อายุน้อยกว่า
  • 4:08 - 4:11
    อาจไม่ได้ประสบกับความรู้สึกเหล่านี้
  • 4:11 - 4:13
    เมื่อพวกเขาแก่ตัวลง
  • 4:13 - 4:15
    เราตั้งคำถามว่าบางที
  • 4:15 - 4:18
    ผู้สูงอายุอาจพยายามพูดในเชิงบวก
  • 4:18 - 4:20
    ทั้งๆ ที่ความจริงอาจกำลังประสบกับความเครียดอยู่ก็ได้
  • 4:20 - 4:22
    (เสียงหัวเราะ)
  • 4:22 - 4:25
    แต่ยิ่งเราหาข้อเท็จจริงมาโต้แย้งมากเท่าไหร่
  • 4:25 - 4:27
    เรากลับยิ่งได้หลักฐานที่มาสนับสนุน
  • 4:27 - 4:29
    มันมากเท่านั้น
  • 4:29 - 4:31
    หลายปีกว่า ฉันและเพื่อนร่วมงานได้ทำการศึกษา
  • 4:31 - 4:34
    ที่เราติดตามคนกลุ่มหนึ่งเป็นระยะเวลา 10 ปี
  • 4:34 - 4:38
    โดยมีกลุ่มตัวอย่างตั้งต้นตั้งแต่ 18 ถึง 94 ปี
  • 4:38 - 4:41
    และเราศึกษาว่าความรู้สึกของพวกเค้าเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร
  • 4:41 - 4:43
    เมื่อพวกเค้าแก่ตัวขึ้น
  • 4:43 - 4:46
    ผู้ถูกสำรวจจะได้รับเครื่องเพจเจอร์
  • 4:46 - 4:48
    ครั้งละ 1 อาทิตย์
  • 4:48 - 4:51
    และเราจะสุ่มการติดต่อกับพวกเค้าทั้งตอนกลางวัน และกลางคืน
  • 4:51 - 4:53
    และทุกๆ ครั้งที่เราติดต่อไป
  • 4:53 - 4:55
    พวกเค้าจะถูกถามคำถามหลายๆ ข้อ
  • 4:55 - 4:58
    เช่นในระดับ 1 ถึง 7 คุณคิดว่าตอนนี้คุณมีความสุขมากแค่ไหน
  • 4:58 - 5:00
    หรือตอนนี้คุณรู้สึกเศร้ามากเพียงใด
  • 5:00 - 5:02
    หรือตอนนี้คุณรู้สึกหงุดหงิดมากเท่าใด
  • 5:02 - 5:04
    พวกเราจะได้รู้ว่า
  • 5:04 - 5:06
    ตอนนี้พวกเค้ากำลังมีความรู้สึกอย่างไรบ้าง
  • 5:06 - 5:08
    ในการใช้ชีวิตประจำวัน
  • 5:08 - 5:10
    และเราทำการศึกษานี้
  • 5:10 - 5:12
    ในระดับบุคคล
  • 5:12 - 5:16
    และเราพบว่าไม่ได้มีแค่ยุคใดยุคหนึ่ง
  • 5:16 - 5:18
    ที่ทำได้ดีกว่ายุคอื่นๆ
  • 5:18 - 5:21
    แต่เป็นคนเดิมๆ
  • 5:21 - 5:23
    ที่รายงานถึงความรู้สึกทางบวก
  • 5:23 - 5:25
    ที่เพิ่มขึ้น
  • 5:25 - 5:28
    ตอนนี้คุณจะเห็นเส้นโค้งพุ่งลงเล็กน้อย
  • 5:28 - 5:30
    เมื่อมีอายุมากขึ้น
  • 5:30 - 5:32
    และเจ้าเส้นโค้งลงนี่
  • 5:32 - 5:34
    มันจะไม่กลับมา
  • 5:34 - 5:36
    อยู่ในระดับ
  • 5:36 - 5:38
    เดียวกับในช่วงต้นของวัยกลางคน
  • 5:38 - 5:42
    เอาล่ะ มันดูง่ายเกินไป
  • 5:42 - 5:46
    ที่จะบอกว่าผู้สูงอายุนั้นมีความสุข
  • 5:46 - 5:49
    ในการศึกษาของเรา พวกเค้ามีความคิดทางบวกมากขึ้น
  • 5:49 - 5:51
    แต่พวกเค้าก็มีสิทธิ์มากกว่า
  • 5:51 - 5:54
    ที่จะรู้สึกถึงความรู้สึกที่ปนเปกัน
  • 5:54 - 5:56
    บางทีก็รู้สึกเศร้า ไปพร้อมๆ กับมีที่ความสุข
  • 5:56 - 5:58
    แบบน้ำตามคลอเบ้า
  • 5:58 - 6:01
    เวลาที่คุณยิ้มให้เพื่อนอะไรอย่างนั้นแหละ
  • 6:01 - 6:03
    และการศึกษาอื่นพบว่า
  • 6:03 - 6:05
    ผู้สูงอายุดูจะมีวิธีรับมือกับความเศร้า
  • 6:05 - 6:07
    ได้ดีกว่า
  • 6:07 - 6:10
    พวกเขายอมรับในความเศร้าได้มากกว่าคนที่อายุยังน้อย
  • 6:10 - 6:13
    และเราคาดว่ามันน่าจะช่วยอธิบาย
  • 6:13 - 6:16
    ว่าทำไมผู้สูงอายุถึงเก่ง
  • 6:16 - 6:21
    ในการแก้ปัญหาเกี่ยวข้องกับความรู้สึกที่รุนแรงได้มากกว่าคนอายุน้อย
  • 6:21 - 6:24
    ผู้สูงอายุสามารถมองความอยุติธรรม
  • 6:24 - 6:26
    ด้วยความเห็นอกเห็นใจ
  • 6:26 - 6:29
    ไม่ใช่ด้วยความโศกเศร้า
  • 6:29 - 6:31
    และสามารถมองเห็นทุกอย่างเท่าเทียมกัน
  • 6:31 - 6:33
    ผู้สูงอายุสามารถตั้งสมาธิ
  • 6:33 - 6:35
    เช่นความสนใจ และความจำ
  • 6:35 - 6:38
    ไปยังข้อมูลด้านบวกได้มากกว่าด้านลบ
  • 6:38 - 6:41
    ถ้าเราให้คนในช่วงวัยต่างๆ กันดูรูป
  • 6:41 - 6:44
    อย่างภาพที่คุณเห็นในจอตอนนี้
  • 6:44 - 6:46
    และเราถามพวกเขาในภายหลัง
  • 6:46 - 6:49
    ว่าพวกเขาจำอะไรได้บ้างจากภาพเหล่านั้น
  • 6:49 - 6:52
    ผู้สูงอายุ
  • 6:52 - 6:54
    จะจำภาพในทางบวกได้มากกว่า
  • 6:54 - 6:56
    ภาพในทางลบ เมื่อเทียบกับคนอายุน้อย
  • 6:56 - 6:58
    เราให้คนในช่วงวัยต่างกัน
  • 6:58 - 7:00
    ดูภาพในการทดลองของเรา
  • 7:00 - 7:02
    บ้างก็หน้าบึ้ง บ้างก็ยิ้ม
  • 7:02 - 7:05
    ผู้สูงอายุจะหันมองภาพหน้ายิ้ม
  • 7:05 - 7:08
    และหันหนีจากภาพหน้าบึ้งตึง หรือหน้าโกรธ
  • 7:08 - 7:10
    ในชีวิตประจำวัน
  • 7:10 - 7:12
    นี่มันสามารถแปลงเป็นความรู้สึกสนุก
  • 7:12 - 7:14
    และความพึงพอใจที่มากกว่า
  • 7:16 - 7:18
    แต่ในฐานะของนักสังคมศาสตร์ เราได้ถามต่อไป
  • 7:18 - 7:20
    เกี่ยวกับการทางเลือกอื่นๆ
  • 7:20 - 7:22
    เราพุดว่าบางทีผู้สูงอายุ
  • 7:22 - 7:24
    รายงานถึงความรู้สึกในด้านบวกมากกว่า
  • 7:24 - 7:27
    เพราะพวกเขามีความผิดปกติทางการรับรู้ทางสมอง
  • 7:27 - 7:30
    (เสียงหัวเราะ)
  • 7:30 - 7:32
    มันเป็นไปได้หรือเปล่า
  • 7:32 - 7:35
    ว่าความรู้สึกทางบวกจะทำงานได้ง่ายกว่าในสมอง
  • 7:35 - 7:38
    คุณก็เลยรับความรู้สึกทางบวกมากกว่า
  • 7:38 - 7:40
    บางทีจุดศูนย์รวมประสาทในสมองของเรา
  • 7:40 - 7:42
    ได้ถดถอยขนาดที่ว่า
  • 7:42 - 7:45
    เราไม่สามารถที่จะประมวลผลความรู้สึกทางลบได้อีกแล้ว
  • 7:45 - 7:47
    แต่นั่นก็ยังไม่ใช่
  • 7:47 - 7:50
    ผู้สูงอายุที่มีสติปัญญาเฉียบแหลมที่สุด
  • 7:50 - 7:54
    กลับเป็นคนที่เห็นความรู้สึกด้านบวกได้ดีที่สุดด้วย
  • 7:54 - 7:57
    และภายใต้เงื่อนไขที่จำเป็น
  • 7:57 - 7:59
    ผู้สูงอายุก็สามารถที่จะรับข้อมูลทางด้านลบ
  • 7:59 - 8:02
    ได้ดีพอๆ กับที่รับข้อมูลด้านบวก
  • 8:02 - 8:05
    แล้วมันเป็นไปได้อย่างไร
  • 8:05 - 8:07
    ในการวิจัยของเรา
  • 8:07 - 8:09
    เราพบว่าความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้
  • 8:09 - 8:11
    ได้ถูกกักเก็บอยู่ใน
  • 8:11 - 8:14
    ความสามารถในการรับรู้เวลาของมนุษย์
  • 8:14 - 8:16
    ไม่ใช่เพียงแค่เวลาจากนาฬิกาหรือปฏิทิน
  • 8:16 - 8:19
    แต่เป็นช่วงเวลาของการมีชีวิตอยู่
  • 8:19 - 8:21
    และถ้ามันมี ความผิดแผกของการสูงวัย
  • 8:21 - 8:24
    มันคือการได้รู้ว่าเราไม่สามารถอยู่ได้ตลอดกาล
  • 8:24 - 8:26
    มันเปลี่ยนมุมมองต่อชีวิตของเรา
  • 8:26 - 8:29
    ไปในทางบวก
  • 8:29 - 8:32
    เมื่อช่วงเวลาของชีวิตยังคงยืดยาวและดูเหมือนจะไม่มีวันจบ
  • 8:32 - 8:34
    อย่างที่เป็นในช่วงวัยเยาว์
  • 8:34 - 8:37
    ผู้คนจะพยายามเตรียมพร้อม
  • 8:37 - 8:40
    และพยายามรับรู้ข้อมูลให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้
  • 8:40 - 8:42
    ทั้งการลองเสี่ยง ทั้งการสำรวจ
  • 8:42 - 8:45
    เราอาจใช้เวลาไปกับคนที่เราไม่ชอบ
  • 8:45 - 8:48
    เพราะบางทีมันก็ดูน่าสนใจ
  • 8:48 - 8:50
    เราอาจได้เรียนรู้บางอย่างที่ไม่คาดคิด
  • 8:50 - 8:52
    (เสียงหัวเราะ)
  • 8:52 - 8:54
    เราไปนัดบอด
  • 8:54 - 8:56
    (เสียงหัวเราะ)
  • 8:56 - 8:58
    เรารู้ว่า
  • 8:58 - 9:01
    ถ้ามันไม่ได้ผล เราก็ยังมีพรุ่งนี้อยู่
  • 9:01 - 9:03
    คนอายุเกิน 50
  • 9:03 - 9:06
    ไม่ชอบการนัดบอด
  • 9:06 - 9:11
    (เสียงหัวเราะ)
  • 9:11 - 9:13
    เมื่อเราแก่ตัวลง
  • 9:13 - 9:15
    ช่วงเวลาของเราก็ยิ่งสั้นลง
  • 9:15 - 9:18
    เป้าหมายของเราก็เปลี่ยนไป
  • 9:18 - 9:21
    เมื่อได้รู้ว่าเราไม่มีเวลาไปตลอดกาล
  • 9:21 - 9:23
    เราเห็นความสำคัญของสิ่งต่างๆ ชัดเจนขึ้น
  • 9:23 - 9:26
    เราให้ความสำคัญกับสิ่งเล็กๆ น้อยลง
  • 9:26 - 9:28
    เราเทิดทูนชีวิต
  • 9:28 - 9:30
    เราเห็นคุณค่าของชีวิต
  • 9:30 - 9:33
    และเปิดกว้างต่อการให้อภัยมากขึ้น
  • 9:33 - 9:36
    เราใช้เวลากับส่วนที่สำคัญต่อความรู้สึกมากขึ้น
  • 9:36 - 9:39
    ชีวิตก็เลยดียิ่งขึ้น
  • 9:39 - 9:42
    เรามีความสุขมากขึ้นในทุกๆ วัน
  • 9:42 - 9:44
    แต่มุมมองที่เปลี่ยนแปลงไปนั้น
  • 9:44 - 9:47
    ยังทำให้เรามีความอดทนต่อความอยุติธรรม
  • 9:47 - 9:49
    ลดลงด้วย
  • 9:49 - 9:51
    ภายในปี 2015
  • 9:51 - 9:54
    สหรัฐฯ จะมีคนที่อายุ
  • 9:54 - 9:56
    มากกว่า 60 ปี
  • 9:56 - 9:59
    จำนวนมากกว่าเด็กต่ำกว่า 15
  • 9:59 - 10:01
    อะไรจะเกิดขึ้นกับสังคม
  • 10:01 - 10:04
    ที่เต็มไปด้วยผู้สูงอายุ
  • 10:04 - 10:07
    ตัวเลขไม่สามารถบอก
  • 10:07 - 10:09
    ผลลัพธ์ได้
  • 10:09 - 10:12
    วัฒนธรรมต่างหากทำได้
  • 10:12 - 10:15
    ถ้าเราลงทุนกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • 10:15 - 10:17
    และหาทางแก้ไขของปัญหาที่แท้จริง
  • 10:17 - 10:20
    ที่ผู้สูงอายุเผชิญ
  • 10:20 - 10:22
    และเราใช้ประโยชน์
  • 10:22 - 10:24
    จากส่วนที่แข็งแกร่งของ
  • 10:24 - 10:26
    ของผู้สูงอายุ
  • 10:26 - 10:28
    การเพิ่มอายุขัย
  • 10:28 - 10:31
    สามารถเพิ่มคุณภาพชีวิต
  • 10:31 - 10:33
    ในทุกๆ ช่วงวัยได้
  • 10:33 - 10:36
    สังคมที่เต็มไปด้วย
  • 10:36 - 10:38
    คนที่มีพรสวรรค์ และประชาชนทั่วๆ ไปนับล้านๆ
  • 10:38 - 10:41
    ที่แข็งแรงและมีการศึกษา
  • 10:41 - 10:43
    กว่าทุกๆ ยุคสมัยก่อนหน้า
  • 10:43 - 10:45
    ใช้ความรู้เป็นอาวุธ
  • 10:45 - 10:47
    เพื่อแก้ปัญหาที่แท้จริงในชีวิต
  • 10:47 - 10:49
    และมีแรงบันดาลใจ
  • 10:49 - 10:51
    ในการแก้ไขปัญหาใหญ่ๆ
  • 10:51 - 10:54
    สังคมก็จะดีขึ้นได้
  • 10:54 - 10:58
    กว่าที่เราเคยรู้จัก
  • 10:58 - 11:01
    พ่อของฉัน อายุ 92
  • 11:01 - 11:03
    ชอบพูดว่า
  • 11:03 - 11:05
    "เรามาหยุดพูดว่า
  • 11:05 - 11:07
    เราจะช่วยผู้สูงอายุได้อย่างไร
  • 11:07 - 11:09
    และมาเริ่มพูดว่า
  • 11:09 - 11:13
    จะให้พวกเขามาช่วยเราอย่างไร"
  • 11:13 - 11:15
    ขอบคุณค่ะ
  • 11:15 - 11:17
    (เสียงปรบมือ)
Title:
ลอร่า คาร์สเตนเซ่น (Laura Carstensen): ยิ่งสูงอายุ ยิ่งมีความสุข
Speaker:
Laura Carstensen
Description:

ในศตวรรษที่ 20 เรามีอายุขัยที่ยืนยาวขึ้นมาก แต่คุณภาพชีวิตนั้นได้ดีมากขึ้นตามหรือไม่? น่าแปลกที่คำตอบคือใช่ ที่ TEDxWoman นักจิตวิทยา ลอร่า คาร์สเตนเซ่น ได้แสดงผลวิจัยที่แสดงให้เห็นว่ายิ่งเราสูงอายุขึ้น เรายิ่งมีความสุข ยิ่งพึงพอใจ และสามารถมองโลกในทางบวกได้มากยิ่งขึ้น

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
11:18
Unnawut Leepaisalsuwanna approved Thai subtitles for Older people are happier May 29, 2012, 3:58 PM
Unnawut Leepaisalsuwanna edited Thai subtitles for Older people are happier May 29, 2012, 3:54 PM
Pana Stitsart accepted Thai subtitles for Older people are happier May 29, 2012, 4:00 AM
Pana Stitsart commented on Thai subtitles for Older people are happier May 29, 2012, 4:00 AM
Pattapon Kasemtanakul edited Thai subtitles for Older people are happier May 27, 2012, 5:14 AM
Pattapon Kasemtanakul added a translation May 19, 2012, 4:49 PM

Thai subtitles

Revisions

  • Unnawut Leepaisalsuwanna May 29, 2012, 3:54 PM