Return to Video

ลอร่า คาร์สเตนเซ่น (Laura Carstensen): ยิ่งสูงอายุ ยิ่งมีความสุข

  • 0:00 - 0:02
    พวกเราอายุยืนมากขึ้น
  • 0:02 - 0:04
    และสังคมก็เริ่มที่จะเต็มไปด้วยคนหัวสีเทาๆ
  • 0:04 - 0:06
    คุณได้ยินมันอยู่ตลอดน่ะแหละ
  • 0:06 - 0:08
    คุณอ่านเจอมันในหนังสือพิมพ์
  • 0:08 - 0:10
    จากโทรทัศน์
  • 0:10 - 0:12
    บางครั้งฉันก็เป็นห่วงนะ
  • 0:12 - 0:14
    ว่าเราได้ยินมันบ่อยมาก
  • 0:14 - 0:17
    ซะจนเรายินดี
  • 0:17 - 0:19
    แล้วก็สบายใจ
  • 0:19 - 0:21
    กับการมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้นนี้
  • 0:21 - 0:24
    แต่อย่าเข้าใจผิดไปนะ
  • 0:24 - 0:26
    การมีชีวิตยืนยาวขึ้น สามารถ
  • 0:26 - 0:28
    และฉันเชื่อว่า มันจะ
  • 0:28 - 0:30
    ข่วยพัฒนาคุณภาพชีวิต
  • 0:30 - 0:32
    ของทุกๆ ช่วงชีวิตได้
  • 0:32 - 0:34
    เอาล่ะและเพื่อให้เราได้เห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้น
  • 0:34 - 0:37
    ขอฉันพูดถึงเรื่องอื่นซักแป๊บนึง
  • 0:37 - 0:40
    จำนวนปีที่ถูกเพิ่ม
  • 0:40 - 0:42
    ในค่าเฉลี่ยอายุขัยของเรา
  • 0:42 - 0:44
    ในศตวรรษที่ 20 นี้
  • 0:44 - 0:47
    ยังมากกว่าจำนวนที่ถูกเพิ่ม
  • 0:47 - 0:51
    ตลอดช่วงพันปีก่อนหน้า
  • 0:51 - 0:54
    ของมนุษย์รวมกันซะอีก
  • 0:54 - 0:56
    ในช่วงเวลาแค่พริบตาเดียว
  • 0:56 - 0:59
    เราเกือบได้เบิ้ลช่วงเวลา
  • 0:59 - 1:01
    ที่เราจะมีชีวิตอยู่ได้เป็น 2 เท่า
  • 1:01 - 1:04
    เพราะฉะนั้นถ้ายังไม่ค่อยเชื่อเรื่องนี้ซักเท่าไหร่
  • 1:04 - 1:06
    อย่าโทษตัวเองไปเลย
  • 1:06 - 1:08
    เพราะมันใหม่มาก
  • 1:08 - 1:10
    และเพราะว่าอัตราการเกิดของเราต่ำลง
  • 1:10 - 1:12
    ในช่วงเวลาเดียวกันกับ
  • 1:12 - 1:16
    ที่อายุขัยของเราสูงขึ้น
  • 1:16 - 1:18
    รูปพีรามิด
  • 1:18 - 1:21
    ที่แสดงถึงการกระจายตัวของกลุ่มอายุต่างๆ ในประชากร
  • 1:21 - 1:24
    ที่มีพวกเด็กๆ อยู่ที่ฐาน
  • 1:24 - 1:27
    ไล่ขึ้นไปจนถึงยอดแหลมๆ ที่แทนด้วยผู้สูงอายุ
  • 1:27 - 1:29
    ที่อยู่ไปได้จนแก่เฒ่านั้น
  • 1:29 - 1:31
    กำลังที่จะถูกเปลี่ยนแปลง
  • 1:31 - 1:34
    ไปเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
  • 1:34 - 1:36
    และตอนนี้ ถ้าคุณประเภทที่
  • 1:36 - 1:40
    จะขนลุกกับสถิติของประชากร
  • 1:40 - 1:42
    เรื่องนี้มันจะทำให้คุณรู้สึกอย่างนั้นได้แน่
  • 1:42 - 1:44
    เพราะนั่นมันหมายความว่า
  • 1:44 - 1:47
    นี่มันเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของเผ่าพันธุ์มนุษย์
  • 1:47 - 1:49
    ทารกส่วนใหญ่ที่เกิด
  • 1:49 - 1:51
    ในประเทศที่พัฒนาแล้ว
  • 1:51 - 1:54
    จะมีโอกาส
  • 1:54 - 1:56
    ที่จะได้แก่เฒ่า
  • 1:56 - 1:59
    สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นได้อย่างไรน่ะเหรอ?
  • 1:59 - 2:01
    เราเองก็ไม่ได้มียีนส์ที่แข็งแรงกว่าบรรพบุรุษของเรา
  • 2:01 - 2:03
    เมื่อ 10,000 ปีก่อน
  • 2:03 - 2:05
    อายุขัยที่เพิ่มขึ้นนี้
  • 2:05 - 2:08
    เป็นผลจากความน่าทึ่งทางวัฒนธรรม
  • 2:08 - 2:10
    การหลอมรวมกัน
  • 2:10 - 2:12
    ของวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
  • 2:12 - 2:15
    และการเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรมในวงกว้าง
  • 2:15 - 2:18
    ที่ช่วยดูแลสุขภาพและการเป็นอยู่ให้ดีขึ้นได้
  • 2:18 - 2:20
    ผ่านการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม
  • 2:20 - 2:22
    บรรพบุรุษของเรา
  • 2:22 - 2:25
    จากที่ส่วนใหญ่จะเสียชีวิตในวัยเยาว์
  • 2:25 - 2:28
    ตอนนี้พวกเราสามารถที่จะมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้นอย่างเต็มเปี่ยมได้
  • 2:29 - 2:32
    เอาล่ะ ปัญหาบางอย่างมันก็มาพร้อมกับการสูงวัยขึ้น
  • 2:32 - 2:35
    โรคเอย, ความยากจนเอย, การสูญเสียสถานะทางสังคมเอย
  • 2:35 - 2:37
    และมันก็ยากมากที่จะอยู่แค่กับความสำเร็จในอดีต
  • 2:37 - 2:39
    แต่ยิ่งเราได้ศึกษาเกี่ยวกับการสูงวัยมากขึ้นเท่าไหร่
  • 2:39 - 2:41
    มันก็ยิ่งเด่นชัดขึ้น
  • 2:41 - 2:43
    ว่าเส้นทางดิ่งลงเหวนี้
  • 2:43 - 2:46
    ก็ไม่ได้ถูกต้องไปซะหมด
  • 2:46 - 2:50
    การแก่ตัวลงได้นำสิ่งที่น่าเหลือเชื่อมากมายมาให้เรา
  • 2:50 - 2:53
    ความรู้ ความชำนาญ
  • 2:53 - 2:59
    และการเติบโตขึ้นทางอารมณ์
  • 2:59 - 3:01
    ถูกต้อง
  • 3:01 - 3:04
    ผู้สูงอายุนั้นมีความสุข
  • 3:04 - 3:06
    พวกเค้ามีความสุขมากกว่าพวกวัยกลางคน
  • 3:06 - 3:08
    และพวกเด็กๆ มากนัก
  • 3:08 - 3:10
    การศึกษานับไม่ถ้วน
  • 3:10 - 3:12
    ได้ข้อสรุปเดียวกัน
  • 3:12 - 3:15
    กรมควบคุมโรคติดต่อ (CDC) ได้ทำการทดสอบอย่างหนึ่ง
  • 3:15 - 3:18
    พวกเขาถามผู้ถูกสำรวจ
  • 3:18 - 3:20
    ว่าพวกเค้าได้รับความเครียดทางจิตใจหรือไม่
  • 3:20 - 3:22
    ในอาทิตย์ที่ผ่านมา
  • 3:22 - 3:25
    เราพบว่ากลุ่มคนอายุมากที่ตอบว่ามี มีจำนวนน้อยกว่า
  • 3:25 - 3:27
    กลุ่มตัวอย่างวัยกลางคน
  • 3:27 - 3:29
    และเด็ก
  • 3:29 - 3:31
    การสำรวจโดยแกลลอป (Gallop)
  • 3:31 - 3:33
    ได้ทำการทดสอบผู้ถูกสำรวจ
  • 3:33 - 3:35
    ว่าพวกเค้าได้รับความเครียด ความกังวลใจ และความโกรธ
  • 3:35 - 3:37
    มากเพียงใดเมื่อวาน
  • 3:37 - 3:41
    และพวกเขาพบว่าความเครียด ความกังวล และความโกรธ
  • 3:41 - 3:44
    ต่างลดลงเมื่อมีอายุมากขึ้น
  • 3:45 - 3:48
    นักสังคมศาสตร์เรียกสิ่งนี้ว่า "ความผิดแผกของการสูงวัย" (Paradox of aging)
  • 3:48 - 3:51
    เพราะยังไงก็ตาม การแก่ตัวลงนี่มันไม่ใช่เรื่องง่าย
  • 3:51 - 3:53
    พวกเราได้ลองตั้งคำถามหลายๆ อย่าง
  • 3:53 - 3:57
    เพื่อดูว่าเราสามารถจะได้ข้อสรุปที่แตกต่างออกไปได้หรือไม่
  • 3:57 - 3:59
    พวกเราคิดว่าบางที
  • 3:59 - 4:02
    ผู้สูงวัยในยุคนี้
  • 4:02 - 4:04
    อาจเป็น
  • 4:04 - 4:06
    ยุคของผู้สูงวัยที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดการณ์
  • 4:06 - 4:08
    และมันทำให้คนในกลุ่มที่อายุน้อยกว่า
  • 4:08 - 4:11
    อาจไม่ได้ประสบกับความรู้สึกเหล่านี้
  • 4:11 - 4:13
    เมื่อพวกเขาแก่ตัวลง
  • 4:13 - 4:15
    เราตั้งคำถามว่าบางที
  • 4:15 - 4:18
    ผู้สูงอายุอาจพยายามพูดในเชิงบวก
  • 4:18 - 4:20
    ทั้งๆ ที่ความจริงอาจกำลังประสบกับความเครียดอยู่ก็ได้
  • 4:20 - 4:22
    (เสียงหัวเราะ)
  • 4:22 - 4:25
    แต่ยิ่งเราหาข้อเท็จจริงมาโต้แย้งมากเท่าไหร่
  • 4:25 - 4:27
    เรากลับยิ่งได้หลักฐานที่มาสนับสนุน
  • 4:27 - 4:29
    มันมากเท่านั้น
  • 4:29 - 4:31
    หลายปีกว่า ฉันและเพื่อนร่วมงานได้ทำการศึกษา
  • 4:31 - 4:34
    ที่เราติดตามคนกลุ่มหนึ่งเป็นระยะเวลา 10 ปี
  • 4:34 - 4:38
    โดยมีกลุ่มตัวอย่างตั้งต้นตั้งแต่ 18 ถึง 94 ปี
  • 4:38 - 4:41
    และเราศึกษาว่าความรู้สึกของพวกเค้าเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร
  • 4:41 - 4:43
    เมื่อพวกเค้าแก่ตัวขึ้น
  • 4:43 - 4:46
    ผู้ถูกสำรวจจะได้รับเครื่องเพจเจอร์
  • 4:46 - 4:48
    ครั้งละ 1 อาทิตย์
  • 4:48 - 4:51
    และเราจะสุ่มการติดต่อกับพวกเค้าทั้งตอนกลางวัน และกลางคืน
  • 4:51 - 4:53
    และทุกๆ ครั้งที่เราติดต่อไป
  • 4:53 - 4:55
    พวกเค้าจะถูกถามคำถามหลายๆ ข้อ
  • 4:55 - 4:58
    เช่นในระดับ 1 ถึง 7 คุณคิดว่าตอนนี้คุณมีความสุขมากแค่ไหน
  • 4:58 - 5:00
    หรือตอนนี้คุณรู้สึกเศร้ามากเพียงใด
  • 5:00 - 5:02
    หรือตอนนี้คุณรู้สึกหงุดหงิดมากเท่าใด
  • 5:02 - 5:04
    พวกเราจะได้รู้ว่า
  • 5:04 - 5:06
    ตอนนี้พวกเค้ากำลังมีความรู้สึกอย่างไรบ้าง
  • 5:06 - 5:08
    ในการใช้ชีวิตประจำวัน
  • 5:08 - 5:10
    และเราทำการศึกษานี้
  • 5:10 - 5:12
    ในระดับบุคคล
  • 5:12 - 5:16
    และเราพบว่าไม่ได้มีแค่ยุคใดยุคหนึ่ง
  • 5:16 - 5:18
    ที่ทำได้ดีกว่ายุคอื่นๆ
  • 5:18 - 5:21
    แต่เป็นคนเดิมๆ
  • 5:21 - 5:23
    ที่รายงานถึงความรู้สึกทางบวก
  • 5:23 - 5:25
    ที่เพิ่มขึ้น
  • 5:25 - 5:28
    ตอนนี้คุณจะเห็นเส้นโค้งพุ่งลงเล็กน้อย
  • 5:28 - 5:30
    เมื่อมีอายุมากขึ้น
  • 5:30 - 5:32
    และเจ้าเส้นโค้งลงนี่
  • 5:32 - 5:34
    มันจะไม่กลับมา
  • 5:34 - 5:36
    อยู่ในระดับ
  • 5:36 - 5:38
    เดียวกับในช่วงต้นของวัยกลางคน
  • 5:38 - 5:42
    เอาล่ะ มันดูง่ายเกินไป
  • 5:42 - 5:46
    ที่จะบอกว่าผู้สูงอายุนั้นมีความสุข
  • 5:46 - 5:49
    ในการศึกษาของเรา พวกเค้ามีความคิดทางบวกมากขึ้น
  • 5:49 - 5:51
    แต่พวกเค้าก็มีสิทธิ์มากกว่า
  • 5:51 - 5:54
    ที่จะรู้สึกถึงความรู้สึกที่ปนเปกัน
  • 5:54 - 5:56
    บางทีก็รู้สึกเศร้า ไปพร้อมๆ กับมีที่ความสุข
  • 5:56 - 5:58
    แบบน้ำตามคลอเบ้า
  • 5:58 - 6:01
    เวลาที่คุณยิ้มให้เพื่อนอะไรอย่างนั้นแหละ
  • 6:01 - 6:03
    และการศึกษาอื่นพบว่า
  • 6:03 - 6:05
    ผู้สูงอายุดูจะมีวิธีรับมือกับความเศร้า
  • 6:05 - 6:07
    ได้ดีกว่า
  • 6:07 - 6:10
    พวกเขายอมรับในความเศร้าได้มากกว่าคนที่อายุยังน้อย
  • 6:10 - 6:13
    และเราคาดว่ามันน่าจะช่วยอธิบาย
  • 6:13 - 6:16
    ว่าทำไมผู้สูงอายุถึงเก่ง
  • 6:16 - 6:21
    ในการแก้ปัญหาเกี่ยวข้องกับความรู้สึกที่รุนแรงได้มากกว่าคนอายุน้อย
  • 6:21 - 6:24
    ผู้สูงอายุสามารถมองความอยุติธรรม
  • 6:24 - 6:26
    ด้วยความเห็นอกเห็นใจ
  • 6:26 - 6:29
    ไม่ใช่ด้วยความโศกเศร้า
  • 6:29 - 6:31
    และสามารถมองเห็นทุกอย่างเท่าเทียมกัน
  • 6:31 - 6:33
    ผู้สูงอายุสามารถตั้งสมาธิ
  • 6:33 - 6:35
    เช่นความสนใจ และความจำ
  • 6:35 - 6:38
    ไปยังข้อมูลด้านบวกได้มากกว่าด้านลบ
  • 6:38 - 6:41
    ถ้าเราให้คนในช่วงวัยต่างๆ กันดูรูป
  • 6:41 - 6:44
    อย่างภาพที่คุณเห็นในจอตอนนี้
  • 6:44 - 6:46
    และเราถามพวกเขาในภายหลัง
  • 6:46 - 6:49
    ว่าพวกเขาจำอะไรได้บ้างจากภาพเหล่านั้น
  • 6:49 - 6:52
    ผู้สูงอายุ
  • 6:52 - 6:54
    จะจำภาพในทางบวกได้มากกว่า
  • 6:54 - 6:56
    ภาพในทางลบ เมื่อเทียบกับคนอายุน้อย
  • 6:56 - 6:58
    เราให้คนในช่วงวัยต่างกัน
  • 6:58 - 7:00
    ดูภาพในการทดลองของเรา
  • 7:00 - 7:02
    บ้างก็หน้าบึ้ง บ้างก็ยิ้ม
  • 7:02 - 7:05
    ผู้สูงอายุจะหันมองภาพหน้ายิ้ม
  • 7:05 - 7:08
    และหันหนีจากภาพหน้าบึ้งตึง หรือหน้าโกรธ
  • 7:08 - 7:10
    ในชีวิตประจำวัน
  • 7:10 - 7:12
    นี่มันสามารถแปลงเป็นความรู้สึกสนุก
  • 7:12 - 7:14
    และความพึงพอใจที่มากกว่า
  • 7:16 - 7:18
    แต่ในฐานะของนักสังคมศาสตร์ เราได้ถามต่อไป
  • 7:18 - 7:20
    เกี่ยวกับการทางเลือกอื่นๆ
  • 7:20 - 7:22
    เราพุดว่าบางทีผู้สูงอายุ
  • 7:22 - 7:24
    รายงานถึงความรู้สึกในด้านบวกมากกว่า
  • 7:24 - 7:27
    เพราะพวกเขามีความผิดปกติทางการรับรู้ทางสมอง
  • 7:27 - 7:30
    (เสียงหัวเราะ)
  • 7:30 - 7:32
    มันเป็นไปได้หรือเปล่า
  • 7:32 - 7:35
    ว่าความรู้สึกทางบวกจะทำงานได้ง่ายกว่าในสมอง
  • 7:35 - 7:38
    คุณก็เลยรับความรู้สึกทางบวกมากกว่า
  • 7:38 - 7:40
    บางทีจุดศูนย์รวมประสาทในสมองของเรา
  • 7:40 - 7:42
    ได้ถดถอยขนาดที่ว่า
  • 7:42 - 7:45
    เราไม่สามารถที่จะประมวลผลความรู้สึกทางลบได้อีกแล้ว
  • 7:45 - 7:47
    แต่นั่นก็ยังไม่ใช่
  • 7:47 - 7:50
    ผู้สูงอายุที่มีสติปัญญาเฉียบแหลมที่สุด
  • 7:50 - 7:54
    กลับเป็นคนที่เห็นความรู้สึกด้านบวกได้ดีที่สุดด้วย
  • 7:54 - 7:57
    และภายใต้เงื่อนไขที่จำเป็น
  • 7:57 - 7:59
    ผู้สูงอายุก็สามารถที่จะรับข้อมูลทางด้านลบ
  • 7:59 - 8:02
    ได้ดีพอๆ กับที่รับข้อมูลด้านบวก
  • 8:02 - 8:05
    แล้วมันเป็นไปได้อย่างไร
  • 8:05 - 8:07
    ในการวิจัยของเรา
  • 8:07 - 8:09
    เราพบว่าความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้
  • 8:09 - 8:11
    ได้ถูกกักเก็บอยู่ใน
  • 8:11 - 8:14
    ความสามารถในการรับรู้เวลาของมนุษย์
  • 8:14 - 8:16
    ไม่ใช่เพียงแค่เวลาจากนาฬิกาหรือปฏิทิน
  • 8:16 - 8:19
    แต่เป็นช่วงเวลาของการมีชีวิตอยู่
  • 8:19 - 8:21
    และถ้ามันมี ความผิดแผกของการสูงวัย
  • 8:21 - 8:24
    มันคือการได้รู้ว่าเราไม่สามารถอยู่ได้ตลอดกาล
  • 8:24 - 8:26
    มันเปลี่ยนมุมมองต่อชีวิตของเรา
  • 8:26 - 8:29
    ไปในทางบวก
  • 8:29 - 8:32
    เมื่อช่วงเวลาของชีวิตยังคงยืดยาวและดูเหมือนจะไม่มีวันจบ
  • 8:32 - 8:34
    อย่างที่เป็นในช่วงวัยเยาว์
  • 8:34 - 8:37
    ผู้คนจะพยายามเตรียมพร้อม
  • 8:37 - 8:40
    และพยายามรับรู้ข้อมูลให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้
  • 8:40 - 8:42
    ทั้งการลองเสี่ยง ทั้งการสำรวจ
  • 8:42 - 8:45
    เราอาจใช้เวลาไปกับคนที่เราไม่ชอบ
  • 8:45 - 8:48
    เพราะบางทีมันก็ดูน่าสนใจ
  • 8:48 - 8:50
    เราอาจได้เรียนรู้บางอย่างที่ไม่คาดคิด
  • 8:50 - 8:52
    (เสียงหัวเราะ)
  • 8:52 - 8:54
    เราไปนัดบอด
  • 8:54 - 8:56
    (เสียงหัวเราะ)
  • 8:56 - 8:58
    เรารู้ว่า
  • 8:58 - 9:01
    ถ้ามันไม่ได้ผล เราก็ยังมีพรุ่งนี้อยู่
  • 9:01 - 9:03
    คนอายุเกิน 50
  • 9:03 - 9:06
    ไม่ชอบการนัดบอด
  • 9:06 - 9:11
    (เสียงหัวเราะ)
  • 9:11 - 9:13
    เมื่อเราแก่ตัวลง
  • 9:13 - 9:15
    ช่วงเวลาของเราก็ยิ่งสั้นลง
  • 9:15 - 9:18
    เป้าหมายของเราก็เปลี่ยนไป
  • 9:18 - 9:21
    เมื่อได้รู้ว่าเราไม่มีเวลาไปตลอดกาล
  • 9:21 - 9:23
    เราเห็นความสำคัญของสิ่งต่างๆ ชัดเจนขึ้น
  • 9:23 - 9:26
    เราให้ความสำคัญกับสิ่งเล็กๆ น้อยลง
  • 9:26 - 9:28
    เราเทิดทูนชีวิต
  • 9:28 - 9:30
    เราเห็นคุณค่าของชีวิต
  • 9:30 - 9:33
    และเปิดกว้างต่อการให้อภัยมากขึ้น
  • 9:33 - 9:36
    เราใช้เวลากับส่วนที่สำคัญต่อความรู้สึกมากขึ้น
  • 9:36 - 9:39
    ชีวิตก็เลยดียิ่งขึ้น
  • 9:39 - 9:42
    เรามีความสุขมากขึ้นในทุกๆ วัน
  • 9:42 - 9:44
    แต่มุมมองที่เปลี่ยนแปลงไปนั้น
  • 9:44 - 9:47
    ยังทำให้เรามีความอดทนต่อความอยุติธรรม
  • 9:47 - 9:49
    ลดลงด้วย
  • 9:49 - 9:51
    ภายในปี 2015
  • 9:51 - 9:54
    สหรัฐฯ จะมีคนที่อายุ
  • 9:54 - 9:56
    มากกว่า 60 ปี
  • 9:56 - 9:59
    จำนวนมากกว่าเด็กต่ำกว่า 15
  • 9:59 - 10:01
    อะไรจะเกิดขึ้นกับสังคม
  • 10:01 - 10:04
    ที่เต็มไปด้วยผู้สูงอายุ
  • 10:04 - 10:07
    ตัวเลขไม่สามารถบอก
  • 10:07 - 10:09
    ผลลัพธ์ได้
  • 10:09 - 10:12
    วัฒนธรรมต่างหากทำได้
  • 10:12 - 10:15
    ถ้าเราลงทุนกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • 10:15 - 10:17
    และหาทางแก้ไขของปัญหาที่แท้จริง
  • 10:17 - 10:20
    ที่ผู้สูงอายุเผชิญ
  • 10:20 - 10:22
    และเราใช้ประโยชน์
  • 10:22 - 10:24
    จากส่วนที่แข็งแกร่งของ
  • 10:24 - 10:26
    ของผู้สูงอายุ
  • 10:26 - 10:28
    การเพิ่มอายุขัย
  • 10:28 - 10:31
    สามารถเพิ่มคุณภาพชีวิต
  • 10:31 - 10:33
    ในทุกๆ ช่วงวัยได้
  • 10:33 - 10:36
    สังคมที่เต็มไปด้วย
  • 10:36 - 10:38
    คนที่มีพรสวรรค์ และประชาชนทั่วๆ ไปนับล้านๆ
  • 10:38 - 10:41
    ที่แข็งแรงและมีการศึกษา
  • 10:41 - 10:43
    กว่าทุกๆ ยุคสมัยก่อนหน้า
  • 10:43 - 10:45
    ใช้ความรู้เป็นอาวุธ
  • 10:45 - 10:47
    เพื่อแก้ปัญหาที่แท้จริงในชีวิต
  • 10:47 - 10:49
    และมีแรงบันดาลใจ
  • 10:49 - 10:51
    ในการแก้ไขปัญหาใหญ่ๆ
  • 10:51 - 10:54
    สังคมก็จะดีขึ้นได้
  • 10:54 - 10:58
    กว่าที่เราเคยรู้จัก
  • 10:58 - 11:01
    พ่อของฉัน อายุ 92
  • 11:01 - 11:03
    ชอบพูดว่า
  • 11:03 - 11:05
    "เรามาหยุดพูดว่า
  • 11:05 - 11:07
    เราจะช่วยผู้สูงอายุได้อย่างไร
  • 11:07 - 11:09
    และมาเริ่มพูดว่า
  • 11:09 - 11:13
    จะให้พวกเขามาช่วยเราอย่างไร"
  • 11:13 - 11:15
    ขอบคุณค่ะ
  • 11:15 - 11:17
    (เสียงปรบมือ)
Title:
ลอร่า คาร์สเตนเซ่น (Laura Carstensen): ยิ่งสูงอายุ ยิ่งมีความสุข
Speaker:
Laura Carstensen
Description:

ในศตวรรษที่ 20 เรามีอายุขัยที่ยืนยาวขึ้นมาก แต่คุณภาพชีวิตนั้นได้ดีมากขึ้นตามหรือไม่? น่าแปลกที่คำตอบคือใช่ ที่ TEDxWoman นักจิตวิทยา ลอร่า คาร์สเตนเซ่น ได้แสดงผลวิจัยที่แสดงให้เห็นว่ายิ่งเราสูงอายุขึ้น เรายิ่งมีความสุข ยิ่งพึงพอใจ และสามารถมองโลกในทางบวกได้มากยิ่งขึ้น

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
11:18
Unnawut Leepaisalsuwanna approved Thai subtitles for Older people are happier
Unnawut Leepaisalsuwanna edited Thai subtitles for Older people are happier
Pana Stitsart accepted Thai subtitles for Older people are happier
Pana Stitsart commented on Thai subtitles for Older people are happier
Pattapon Kasemtanakul edited Thai subtitles for Older people are happier
Pattapon Kasemtanakul added a translation

Thai subtitles

Revisions