< Return to Video

ต้นกำเนิดการละครในฐานะงานวรรณกรรม - มินดี้ โพลเคิลมานน์ (Mindy Ploeckelmann)

  • 0:18 - 0:20
    ในช่วงศตวรรษที่ 11 และ ศตวรรษที่ 12
  • 0:20 - 0:22
    ชาวอังกฤษส่วนมากไม่รู้หนังสือ
  • 0:22 - 0:24
    ทำให้พวกเขาไม่มีหนทาง
    ในการเข้าถึงพระคัมภีร์ไบเบิล
  • 0:24 - 0:27
    นักบวชจึงคิดค้นวิธีแก้ปัญหาดังกล่าว
  • 0:27 - 0:29
    ด้วยการเล่นละครเพื่อแสดงเรื่องราว
    ในคัมภีร์ไบเบิล
  • 0:29 - 0:32
    เพื่อให้ผู้คนที่อ่านหนังสือไม่ออก
    สามารถรับรู้เรื่องราวเหล่านี้ได้
  • 0:32 - 0:33
    ละครในยุคแรกนี้เรียกกันว่า
    ละครศาสนา (ละครปริศนา)
  • 0:33 - 0:36
    เพราะมันช่วยเปิดเผยให้คนรู้จัก
    ความลึกล้ำของพระวาจาของพระเจ้า
  • 0:36 - 0:37
    ในขณะเดียวกัน
  • 0:37 - 0:39
    นักบวชก็พัฒนาการเล่นละครนี้
  • 0:39 - 0:40
    ให้เกี่ยวกับนักบุญท่านต่างๆในศาสนา
  • 0:40 - 0:42
    กลายเป็นละครที่เรียกว่า ละครปาฏิหารย์
  • 0:42 - 0:43
    ในตอนแรก
  • 0:43 - 0:45
    นักบวชก็ร่วมกันแสดงเรื่องจากพระคัมภีร์ไบเบิล
  • 0:45 - 0:47
    บนขั้นบันได บริเวณหน้าโบสถ์
  • 0:47 - 0:49
    แต่ผู้ชมให้การต้อนรับดีมาก
  • 0:49 - 0:51
    จนพวกเขาต้องย้ายออกไปแสดงกลางถนน
  • 0:51 - 0:53
    รอบๆลานกลางเมือง
  • 0:53 - 0:55
    ด้วยการสร้างรถเลื่อนได้
    สำหรับเป็นฉากของละครแต่ละเรื่อง
  • 0:55 - 0:57
    และด้วยการเรียงรถลากเหล่านี้ต่อๆกัน
  • 0:57 - 0:59
    พวกเขาก็สามารถเล่นเรื่องต่างๆ
    ด้วยการวนรถเวียนออกไป
  • 0:59 - 1:00
    และสามารถพาผู้ชม
  • 1:00 - 1:01
    ให้ได้ดูเรื่องราวตั้งแต่บทแรก
    คือบทปฐมกาล (Genesis)
  • 1:01 - 1:02
    ไปจนถึงบทสุดท้ายคือ คัมภีร์วิวรณ์ (Revelation)
  • 1:02 - 1:04
    รถลากเหล่านี้ ที่เรียกว่า รถละครเร่
  • 1:04 - 1:07
    มีลักษณะคล้ายกล่องสี่เหลี่ยมติดล้อ
  • 1:07 - 1:08
    แต่ละคันแบ่งออกเป็นสองชั้น
  • 1:08 - 1:10
    ส่วนตอนล่างถูกบังด้วยผ้าม่าน
  • 1:10 - 1:13
    และใช้สำหรับการเปลี่ยนเครื่องแต่งกาย
    และเก็บอุปกรณ์
  • 1:13 - 1:16
    ชั้นบนที่ยกสูงเป็นส่วนที่เป็นเวทีที่ใช้แสดง
  • 1:16 - 1:19
    ผู้ชมมารวมตัวกันตามจุดต่างๆในเมือง
  • 1:19 - 1:21
    แล้วรถละครเร่เหล่านี้ก็จะขยับไปเรื่อยๆ
    วนเป็นวงกลม
  • 1:21 - 1:24
    จนกระทั่งชาวบ้านได้ดูเรื่องครบทุกตอน
  • 1:24 - 1:26
    ไม่นานนักคณะละครก็ต้องการนักแสดง
    เพิ่มมากขึ้น
  • 1:26 - 1:28
    ซึ่งมากเกินกว่าที่บุคคลากรทางศาสนาจะช่วยได้
  • 1:28 - 1:29
    ดังนั้น ในศตวรรษที่ 13
  • 1:29 - 1:31
    สมาคมอาชีพต่างๆ ก็ถูกขอให้ช่วยรับผิดชอบ
  • 1:31 - 1:34
    ในการแสดงเนื้อเรื่องส่วนต่างๆ ของเรื่องราวทั้งหมด
  • 1:34 - 1:35
    การแบ่งเนื้อเรื่องส่วนต่างๆ
    ก็ตั้งใจจะให้สะท้อนกับ
  • 1:35 - 1:37
    ลักษณะอาชีพของแต่ละสมาคม
  • 1:37 - 1:40
    ยกตัวอย่างเช่น กลุ่มช่างไม้
    อาจจะเป็นคนจัดการแสดง
  • 1:40 - 1:41
    เรื่อง เรือของโนอาห์
  • 1:41 - 1:44
    และ กลุ่มช่างทำขนมปัง อาจจะเป็นคนจัดแสดง
    เรื่อง อาหารมื้อสุดท้าย
  • 1:44 - 1:46
    คุณนึกภาพออกไหมว่าจะเป็นอย่างไร
  • 1:46 - 1:50
    ถ้ากลุ่มพ่อค้าเนื้อเป็นคนจัดการแสดง
    เรื่องการตรึงกางเขนพระเยซูคริสต์
  • 1:50 - 1:51
    ใช่แล้ว เมื่อไม่มีบุคคลากรทางศาสนามาเกี่ยวข้อง
  • 1:51 - 1:53
    เนื้อหาของละครก็ค่อยๆเปลี่ยนแปลงไป
  • 1:53 - 1:55
    จากเรื่องดั้งเดิมตามพระคัมภีร์ไบเบิล
  • 1:55 - 1:58
    พอถึงช่วงปลายศตวรรษที่ 14
    ก็เกิดลักษณะของละครแบบใหม่ขึ้น
  • 1:58 - 2:01
    ชื่อว่า ละครคุณธรรม
  • 2:01 - 2:01
    ความเชื่อ
  • 2:01 - 2:02
    ความจริง
  • 2:02 - 2:02
    การช่วยเหลือผู้อื่น
  • 2:02 - 2:03
    และการกระทำดี
  • 2:03 - 2:05
    กลายเป็นคัวละครที่มาแสดงอยู่บนเวที
  • 2:05 - 2:07
    ในขณะเดียวกัน ลักษณะที่ตรงกันข้ามเช่น
  • 2:07 - 2:08
    ความผิด
  • 2:08 - 2:09
    ความขลาดกลัว
  • 2:09 - 2:10
    เรื่องโลกีย์
  • 2:10 - 2:11
    และซาตาน
  • 2:11 - 2:13
    ก็กลายเป็นตัวร้ายเช่นกัน
  • 2:13 - 2:15
    ละครคุณธรรมเหล่านี้ก็เป็นเรื่องที่แฝงคติธรรม
  • 2:15 - 2:19
    ซึ่งตัวละครที่เป็นนามธรรมเหล่านี้
    ต่อสู้กันเพื่อยึดครองจิตวิญญานของเรา
  • 2:19 - 2:21
    ผู้ชมชื่นขอบตัวละครที่ไร้คุณธรรม
  • 2:21 - 2:23
    และผู้ชมยังได้รับการสนับสนุน
  • 2:23 - 2:25
    ให้โต้ตอบกับนักแสดง
  • 2:25 - 2:26
    เช่น การโยนผลไม้เน่า
  • 2:26 - 2:29
    หรือแม้แต่การถกเถียงกับผู้ชมคนอื่นๆ
  • 2:29 - 2:31
    กลายเป็นเรื่องปกติธรรมดาในการชมละคร
  • 2:31 - 2:32
    โดยเฉพาะอย่างยิ่งตัวละครซาตาน
  • 2:32 - 2:34
    มักจะเดินเข้าไปในกลุ่มผู้ชม
  • 2:34 - 2:36
    และดึงเอาคนที่กำลังไม่ได้ระวังตัว
  • 2:36 - 2:39
    เข้ามาอยู่ในฉากนรก ซึ่งจำลอง
    เป็นปากของมังกร
  • 2:39 - 2:41
    ละครที่เคยเป็นกระบวนการเล่าเรื่องราวในพระคัมภีร์ไบเบิลที่ศักดิ์สิทธ์
    ได้วิวัฒนาการกลายเป็น
  • 2:41 - 2:44
    เรื่องหยาบโลน และเรื่องขำขัน
  • 2:44 - 2:47
    จากละครที่กลุ่มศาสนาอยากจะใช้สอนศีลธรรม
  • 2:47 - 2:50
    แต่เป็นเรื่องตลกร้ายที่สุดท้ายแล้ว ละครคุณธรรม
  • 2:50 - 2:54
    ก็กลับกลายเป็นละครที่ได้รับความนิยม
    จากเนื้อหาที่ไม่ได้สื่อถึงคุณธรรม
  • 2:54 - 2:56
    พอถึงช่วงกลางศตวรรษที่ 15
  • 2:56 - 2:58
    โบสถ์ก็แบนการจัดการแสดงละครประเภทนี้
  • 2:58 - 3:00
    เทศบาลเมืองออกข้อกำหนดให้โรงละคร
  • 3:00 - 3:03
    ต้องถูกสร้างขึ้นนอกเขตกำแพงเมือง
  • 3:03 - 3:04
    และหนึ่งในโรงละครแห่งแรกๆ
  • 3:04 - 3:06
    ก็ถูกสร้างขึ้นในรูปของแท่นที่ใช้ในงานฉลอง
  • 3:06 - 3:08
    มีที่นั่งที่ลดหลั่นกัน
  • 3:08 - 3:11
    ซึ่งล้อมรอบบริเวณที่เป็นพื้นหญ้าเล็กๆที่อยู่หน้าเวที
  • 3:11 - 3:12
    ฟังดูคุ้นๆไหม?
  • 3:12 - 3:14
    ตอนที่เขายังเด็ก วิลเลียม เชคสเปียร์
    (William Shakespeare)
  • 3:14 - 3:16
    ก็ฝึกฝนฝีมือของเขาที่โรงละครแห่งนี้
  • 3:16 - 3:19
    โรงละครซึ่งในตอนท้ายถูกตั้งชื่อใหม่ว่า
    เดอะโกลบ (The Globe)
  • 3:19 - 3:22
    สิ่งที่พัฒนาจากละครเรื่องศีลธรรมในยุคกลาง
    ก็คือบทละครยุคฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมที่โด่งดัง
  • 3:22 - 3:23
    ละครซึ่งได้แรงบันดาลใจมาจากแรงผลักดันภายในจิตใจ
  • 3:23 - 3:25
    และจิตสำนึกของมนุษย์
  • 3:25 - 3:28
    และนี่แหละคือบทสรุปต้นกำเนิดของการละคร
  • 3:28 - 3:30
    ในฐานะที่เป็นศิลปะ และวรรณกรรม
Title:
ต้นกำเนิดการละครในฐานะงานวรรณกรรม - มินดี้ โพลเคิลมานน์ (Mindy Ploeckelmann)
Description:

ชมบทเรียนเต็มได้ที่: http://ed.ted.com/lessons/the-emergence-of-drama-as-a-literary-art-mindy-ploeckelmann

เมื่อประสบกับปัญหาคนไม่รู้หนังสือ นักบวชชาวอังกฤษ ในศตวรรษที่ 11 เล่นละครเพื่อบอกเล่าเรื่องราวในพระคัมภีร์ไบเบิล ไม่นานต่อมาการละครก็เริ่มขยับออกจากในโบสถ์มาอยู่บนท้องถนน มินดี้ โพลเคิลมานน์ (Mindy Ploeckelmann) เล่าเส้นทาง และพัฒนาการของการละคร ตั้งแต่ยังเป็นละครเล่าเรื่องลึกลัย จนกลายมาเป็นละครสอนศีลธรรม จนกระทั่ง กลายมาเป็นบทละครในยุค เชคเสปียร์

บทเรียน โดย Mindy Ploeckelmann, อนิเมชั่น โดย Johnny Chew.

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
03:47
  • Nice work krab. Only minor corrections @2:18 "immoral" (vs immortal)and @2:10. antagonist (vs. protagonist). If you agree to these changes, please allow me to submit it for approval krab.

Thai subtitles

Revisions