< Return to Video

เออร์เนสโต ซีโรลลิ: หากคุณต้องการช่วยผู้อื่น ก็จงหุบปากแล้วใช้หูฟังซะ!

  • 0:01 - 0:05
    ทุกๆสิ่งที่ผมทำนั้น ทั้งในชีวิตส่วนตัวและหน้าที่การงาน
  • 0:05 - 0:09
    ชีวิตทั้งชีวิตของผม เป็นผลพวงมาจากประสบการณ์
  • 0:09 - 0:15
    ที่ผมได้เรียนรู้จากการทำงานในทวีปแอฟริกาในวัยหนุ่ม
  • 0:15 - 0:18
    ตั้งแต่เมื่อปี ค.ศ. 1971 ถึง 1977 (พ.ศ. 2514 ถึง 2520)
  • 0:18 - 0:22
    ซึ่งตอนนี้ผมอาจดูหนุ่ม แต่ที่จริงผมอายุมากแล้วนะ
    (เสียงหัวเราะ)
  • 0:22 - 0:27
    ผมเคยทำงานในประเทศแซมเบีย, เคนยา, ไอวอรีโคสต์, แอลจีเรีย และโซมาเลีย
  • 0:27 - 0:31
    ในโครงการความร่วมมือด้านเทคโนโลยีกับประเทศในแอฟริกา
  • 0:31 - 0:34
    โดยตัวผมนั้นสังกัดอยู่กับเอ็นจีโอจากประเทศอิตาลี
  • 0:34 - 0:40
    และโครงการทุกๆโครงการที่เราได้จัดตั้งขึ้นนั้น
  • 0:40 - 0:44
    ล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง
  • 0:44 - 0:48
    และนั่นทำให้ผมรู้สึกแย่มาก
  • 0:48 - 0:52
    ความคิดของผมซึ่งอายุ 21 ในขณะนั้น
    ผมคิดว่า คนอิตาเลี่ยนเป็นคนดี
  • 0:52 - 0:56
    และพวกเรากำลังทำสิ่งดีๆให้กับทวีปแอฟริกา
  • 0:56 - 1:03
    แต่ในความเป็นจริง ทุกอย่างที่เราเข้าไปยุ่งนั้นกลับแย่ลงๆ
  • 1:03 - 1:08
    โครงการแรกของเรา ซึ่งเป็นโครงการที่ผลักดันให้ผมเขียนหนังสือเล่มแรกที่มีชื่อว่า
  • 1:08 - 1:11
    "Ripples from the Zambezi"
    (ระลอกคลื่นจากแม่น้ำแซมบีซี) นั้น
  • 1:11 - 1:13
    เป็นโครงการที่ชาวอิตาเลี่ยนตั้งขึ้นเพื่อที่จะ
  • 1:13 - 1:19
    สอนการปลูกพืชผักอาหารให้กับชาวแซมเบียน
  • 1:19 - 1:23
    เรานำเมล็ดพืชจากอิตาลี เดินทางไปยังหุบเขาแห่งหนึ่ง
  • 1:23 - 1:27
    ที่ตั้งอยู่แนวแม่น้ำแซมเบซี
  • 1:27 - 1:30
    ทางตอนใต้ของแซมเบีย
  • 1:30 - 1:34
    แล้วเราก็ลงมือสอนชนท้องถิ่นให้ปลูกมะเขือเทศจากอิตาลี
  • 1:34 - 1:37
    ปลูกแตงกวาจากอิตาลี และ... (พืชผักอื่นๆจากอิตาลี)
  • 1:37 - 1:39
    และแน่นอนว่าชนท้องถิ่นไม่สนใจในโครงการของเราเลย
  • 1:39 - 1:42
    ดังนั้นเราจึงต้องให้เงินเพื่อจ้างให้พวกเขามาปลูกพืช
  • 1:42 - 1:46
    ถ้าเราโชคดี พวกเขาก็จะโผล่หน้ามาบ้างเป็นครั้งคราว
    (เสียงหัวเราะ)
  • 1:46 - 1:49
    ที่นั่นสร้างความประหลาดใจให้กับพวกเราอย่างมาก เพราะคนท้องถิ่น
  • 1:49 - 1:52
    ในหุบเขาที่แสนจะอุดมสมบูรณ์อย่างนี้ กลับไม่ทำการเกษตรเลย
  • 1:52 - 1:55
    แต่แทนที่จะเอ่ยปากถามพวกเขาถึงเหตุผลที่ไม่ปลูกพืชผักอะไรเลย
  • 1:55 - 1:59
    พวกเรากลับพูดว่า "ขอบคุณพระเจ้าที่ส่งพวกเรามาที่แห่งนี้"
    (เสียงหัวเราะ)
  • 1:59 - 2:04
    "ได้ทันเวลาที่จะช่วยเหลือชาวแซมเบียนจากความอดอยากนี้"
  • 2:04 - 2:07
    และแน่นอนว่าการเกษตรในแอฟริกานั้นให้ผลที่น่าพอใจมาก
  • 2:07 - 2:10
    เราปลูกได้มะเขือเทศชั้นยอดจำนวนมาก
    ซึ่งในอิตาลีนั้น มะเขือเทศจะมีขนาด
  • 2:10 - 2:13
    ขนาดประมาณนี้ แต่มะเขือที่เราปลูกในแซมเบียนั้น
    มีขนาดเท่านี้เลยทีเดียว
  • 2:13 - 2:16
    เราดีใจกับผลที่ได้มาก และเราก็บอกชาวแซมเบียนเหล่านั้น
  • 2:16 - 2:19
    ว่า "ดูสิ การเกษตรมันไม่ได้ยากเย็นตรงไหนเลย"
  • 2:19 - 2:22
    จนกระทั่งถึงวันที่มะเขือเทศเหล่านั้นเติบโตจนสุกงอมได้ที่
  • 2:22 - 2:25
    เพียงชั่วข้ามคืน ฝูงฮิปโปกว่า 200 ตัวก็ได้บุกขึ้นมาจากแม่น้ำ
  • 2:25 - 2:29
    แล้วจัดการกินทุกอย่างที่เราปลูกจนราบ
    (เสียงหัวเราะ)
  • 2:29 - 2:34
    เรากรีดร้องว่า "พระเจ้า! นั่นมันฮิปโปนี่!"
  • 2:34 - 2:39
    แล้วชาวแซมเบียนเหล่านั้นก็ตอบว่า
    "ใช่ และนั่นคือเหตุผลที่พวกเราไม่ทำการเกษตรที่นี่"
    (เสียงหัวเราะ)
  • 2:39 - 2:45
    "แล้วทำไมพวกคุณไม่บอกเรา?"
    "ก็พวกคุณไม่เคยถามนี่"
  • 2:45 - 2:51
    แล้วผมก็คิดว่ามีแต่พวกเราชาวอิตาเลียน
    ที่ทำโครงการผิดพลาดอย่างนี้ในแอฟริกา
  • 2:51 - 2:53
    จนกระทั่งผมได้ไปเห็นโครงการของชาวอเมริกัน
  • 2:53 - 2:56
    โครงการของชาวอังกฤษ ของชาวฝรั่งเศส
  • 2:56 - 2:59
    และหลังจากได้เห็นในสิ่งที่พวกเขาทำแล้ว
  • 2:59 - 3:02
    ผมก็เกิดความภาคภูมิใจขึ้นมาในโครงการของเราที่แซมเบีย
  • 3:02 - 3:07
    เพราะอย่างน้อยเราก็ได้เลี้ยงฝูงฮิปโปฝูงนั้น
  • 3:07 - 3:11
    ผมอยากให้คุณได้ไปเห็นกองขยะ...
    (เสียงปรบมือ)
  • 3:11 - 3:14
    ผมอยากให้คุณได้ไปเห็นกองขยะอันไร้ค่า ที่พวกเรานำไปกอง
  • 3:14 - 3:16
    ทิ้งไว้ให้กับชาวแอฟริกันที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่เหล่านั้น
  • 3:16 - 3:17
    ถ้าคุณต้องการอ่านหนังสือเกี่ยวกับเรื่องแบบนี้
  • 3:17 - 3:22
    ลองอ่าน "Dead Aid" (การช่วยเหลือที่ไร้ค่า)
    เขียนโดยนักเศรษฐศาสตร์หญิง
  • 3:22 - 3:25
    ชาวแซมเบียนที่ชื่อ แดมบีซา โมโย (Dambisa Moyo)
  • 3:25 - 3:27
    หนังสือเล่มนี้ถูกตีพิมพ์เมื่อปี 2009 (พ.ศ. 2552)
  • 3:27 - 3:32
    พวกเราประเทศตะวันตก ได้บริจาคเงินให้กับทวีปแอฟริกา
  • 3:32 - 3:37
    ในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา เป็นจำนวนถึง 2 ล้านล้านเหรียญ
  • 3:37 - 3:41
    แต่ผมจะไม่บอกคุณว่าเงินจำนวนนั้น
    ได้สร้างความเสียหายขนาดไหนแก่แอฟริกา
  • 3:41 - 3:43
    ผมขอให้คุณไปหาหนังสือเล่มนี้มาอ่านเองก็แล้วกัน
  • 3:43 - 3:51
    ไปอ่านสิ่งที่ผู้หญิงชาวแอฟริกันคนหนึ่งเขียน
    เกี่ยวกับความเสียหายที่พวกเราได้ก่อไว้กับพวกเขา
  • 3:51 - 3:57
    พวกเราชาวตะวันตกนั้น เป็นพวกจักรวรรดินิยม
    เป็นพวกล่าอาณานิคม เป็นพวกเผยแพร่ศาสนา
  • 3:57 - 4:01
    และเรารู้จักวิธีสร้างสัมพันธ์กับผู้อื่นเพียงแค่สองวิธีเท่านั้น
  • 4:01 - 4:05
    นั่นคือเราใช้ระบบอุปถัมป์ หรือไม่เราก็ใช้ระบบพ่อปกครองลูก
  • 4:05 - 4:08
    ซึ่งชื่อของระบบทั้งสองนี้ มีรากศัพท์มาจากภาษาละติน "pater"
  • 4:08 - 4:10
    คำนี้มีความหมายแปลว่า "พ่อ"
  • 4:10 - 4:14
    แต่ว่าทั้งสองระบบนี้แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง
  • 4:14 - 4:18
    ระบบพ่อปกครองลูก - ฉันปฏิบัติกับผู้คนต่างวัฒนธรรม
  • 4:18 - 4:23
    เสมือนกับว่าพวกเขาเป็นลูกของฉัน "พ่อรักลูกมาก"
  • 4:23 - 4:28
    ส่วนระบบอุปถัมป์นั้น - ฉันปฏิบัติกับทุกๆคนที่มีวัฒนธรรมต่างไปจากฉัน
  • 4:28 - 4:30
    เสมือนกับว่าพวกเขาเหล่านั้นเป็นลูกน้อง เป็นทาสรับใช้
  • 4:30 - 4:36
    และนั่นคือเหตุผลที่คนขาวในแอฟริกาถูกเรียกว่า
    "bwana" ซึ่งหมายความว่า "เจ้านาย"
  • 4:36 - 4:40
    ผมรู้สึกเหมือนถูกตบหน้าหลังจากที่ได้อ่านหนังสือที่ชื่อ
  • 4:40 - 4:45
    "Small is Beautiful" (เล็กนั้นงาม) เขียนโดย
    อี เอฟ ชูมาเกอร์ (E.F. Schumacher) ซึ่งได้กล่าวไว้ว่า
  • 4:45 - 4:48
    สิ่งสำคัญที่สุดในการพัฒนาทางเศรษฐกิจใดๆก็ตาม
  • 4:48 - 4:52
    หากผู้คนไม่ต้องการความช่วยเหลือ ก็จงอย่าไปยุ่งกับเขาเลย
  • 4:52 - 4:55
    ซึ่งนี่ควรจะเป็นหลักสำคัญข้อแรกในการให้ความช่วยเหลือ กับใครก็ตาม
  • 4:55 - 4:59
    หลักการข้อแรกของการช่วยเหลือ คือ การเคารพอีกฝ่าย
  • 4:59 - 5:01
    เมื่อเช้านี้ สุภาพบุรุษผู้เปิดการสัมมนา
  • 5:01 - 5:05
    ได้ตั้งคำถามขึ้นมาว่า
  • 5:05 - 5:10
    "พวกคุณนึกภาพของเมือง หรือประเทศ
  • 5:10 - 5:13
    ที่ไม่ถูกกดดันทางเศรษฐกิจและการเมือง
    จากมหาอำนาจออกไหม?"
  • 5:13 - 5:18
    ผมได้ตัดสินใจตั้งแต่ตอนอายุ 27 แล้วว่า
  • 5:18 - 5:22
    ผมจะตอบสนองต่อผู้คนก็ต่อเมื่อพวกเขาร้องขอ
  • 5:22 - 5:26
    และผมก็ได้คิดค้นระบบที่เรียกว่า "การส่งเสริมพัฒนาการของผู้ประกอบการ/บริษัท" (Enterprise Facilitation)
  • 5:26 - 5:30
    ซึ่งคุณจะไม่เป็นผู้ริเริ่มความคิดใดๆ
  • 5:30 - 5:34
    คุณจะไม่พยายามกระตุ้นให้พวกเขาคำตามคุณ
    แต่ในทางกลับกันคุณทำตัวเป็นผู้ช่วย
  • 5:34 - 5:37
    ที่ตอบสนองต่อความต้องการของท้องถิ่นนั้นๆ
    เป็นผู้ช่วยให้กับชนท้องถิ่น
  • 5:37 - 5:42
    ที่มีความฝันว่าพวกเขาจะสามารถพัฒนาเป็นคนที่ดียิ่งขึ้น
  • 5:42 - 5:46
    แล้วสิ่งที่คุณทำก็คือ หุบปาก
  • 5:46 - 5:50
    คุณไม่เดินเข้าไปในชุมชนด้วยความคิดบรรเจิดต่างๆนานา
  • 5:50 - 5:54
    แต่ให้คุณเข้าไปนั่ง ไปใช้ชีวิตร่วมกับคนท้องถิ่นเหล่านั้น
  • 5:54 - 5:57
    เราไม่นั่งทำงานและวางแผนภายในห้องในออฟฟิศ
  • 5:57 - 6:01
    เรานัดประชุมกันตามคาเฟ่ เราพบปะกันตามผับ
  • 6:01 - 6:04
    เราไม่มีโครงสร้างหรือรูปแบบใดๆทั้งสิ้น
  • 6:04 - 6:07
    และสิ่งที่เราทำ?
    เราเปลี่ยนสถานะไปเป็นเพื่อนกับผู้คนเหล่านั้น
  • 6:07 - 6:12
    แล้วเราก็เรียนรู้ว่าอะไรคือสิ่งที่เพื่อนของเราต้องการ
  • 6:12 - 6:14
    สิ่งที่สำคัญที่สุดคือไฟ คือความปรารถนา
  • 6:14 - 6:16
    คุณสามารถเสนอความคิด ไอเดียของคุณให้ใครก็ได้
  • 6:16 - 6:18
    แต่ถ้าหากคนผู้นั้นไม่ได้คิดจะสานต่อแนวคิดของคุณล่ะ?
  • 6:18 - 6:21
    คุณจะทำอย่างไร?
  • 6:21 - 6:26
    ความปรารถนา ของผู้หญิงคนหนึ่ง
    ที่ต้องการจะเติบโตก้าวหน้านั้น
  • 6:26 - 6:28
    เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดต่างหาก
  • 6:28 - 6:32
    ความปรารถนา ของผู้ชายอีกคนหนึ่ง
    ต่อความสำเร็จของตัวเขาเอง
  • 6:32 - 6:34
    ต่างหากที่สำคัญที่สุด
  • 6:34 - 6:37
    แล้วเราก็ช่วยนำพาคนเหล่านั้นไปสู่ภูมิความรู้
  • 6:37 - 6:42
    เพราะว่าไม่มีใครในโลกหรอก
    ที่จะสามารถประสบความเร็จได้ด้วยตัวคนเดียว
  • 6:42 - 6:45
    คนคนหนึ่งที่มีแนวคิดดีๆ
    อาจจะขาดความรู้สำคัญที่จะใช้สานต่อแนวคิดนั้นๆก็ได้
  • 6:45 - 6:47
    แต่ความรู้เหล่านั้น นั้นมีอยู่และรอการถูกนำไปใช้
  • 6:47 - 6:51
    ดังนั้นเมื่อหลายปีก่อน ผมได้เกิดความคิดที่ว่า
  • 6:51 - 6:55
    ทำไมเราไม่ลองดูสักครั้ง? ว่าเวลาที่เราจะเดินเข้าไปสู่ชุมชน
  • 6:55 - 7:00
    แทนที่จะไปบอกให้พวกเขาทำสิ่งต่างๆนั้น ขอให้ลองดูสักครั้ง
  • 7:00 - 7:05
    ที่จะเข้าไปฟังสิ่งที่พวกเขาต้องการบอก
    แต่ไม่ใช่ในรูปแบบของการประชุมระดับชุมชนหรือหมู่บ้าน
  • 7:05 - 7:10
    ขอให้ผมได้บอกความลับให้คุณฟัง
  • 7:10 - 7:14
    การะประชุมระดับชุมชนนั้นมีปัญหาใหญ่อยู่ข้อหนึ่ง
  • 7:14 - 7:18
    เหล่าผู้ประกอบการนั้นไม่เคยโผล่หน้ามาหรอก
  • 7:18 - 7:21
    และต่อให้มา พวกเขาก็จะไม่บอกพวกคุณในที่สาธารณะหรอก
  • 7:21 - 7:25
    ว่าพวกเขาวางแผนที่จะลงทุนกันอย่างไร
  • 7:25 - 7:28
    หรือพวกเขาเล็งเห็นโอกาสอะไรบ้างในชุมชนนั้นๆ
  • 7:28 - 7:33
    ดังนั้นการประชุมวางแผนรูปแบบนี้มีช่องโหว่
  • 7:33 - 7:38
    มีคนฉลาดในชุมชนของคุณจำนวนมาก แต่คุณไม่เคยรู้
  • 7:38 - 7:45
    เพราะพวกเขาไม่เข้าร่วมการประชุมใดๆที่พวกคุณจัดขึ้นเลย
  • 7:45 - 7:49
    สิ่งที่เราทำ เราทำงานร่วมกับพวกเขาแบบหนึ่งต่อหนึ่ง
  • 7:49 - 7:51
    และในการที่จะร่วมงานกันแบบตัวต่อตัวได้นั้น
    คุณจะต้องสร้าง
  • 7:51 - 7:54
    โครงสร้างทางสังคมแบบใหม่ขึ้นมา
  • 7:54 - 7:56
    คุณจะต้องสร้างอาชีพใหม่ขึ้นมา
  • 7:56 - 8:02
    ซึ่งอาชีพใหม่นี้จะทำหน้าที่เหมือนกับแพทย์ประจำองค์กร
  • 8:02 - 8:05
    เป็นแพทย์ประจำภาคธุรกิจ ซึ่งนั่งคุยกับคุณ
  • 8:05 - 8:09
    ไม่ว่าจะเป็นที่บ้าน ในครัว หรือแม้แต่ในคาเฟ่
  • 8:09 - 8:13
    และช่วยเหลือคุณในการหาทรัพยากรต่างๆ
    ที่จะช่วยเปลี่ยนความปรารถนาของคุณ
  • 8:13 - 8:15
    ให้เป็นหนทางในการหาเลี้ยงชีพ
  • 8:15 - 8:20
    ผมได้เริ่มทดลองระบบนี้ในเมืองเอสเปรานซ์
    ทางตะวันตกของทวีปออสเตรเลีย
  • 8:20 - 8:23
    ขณะนั้นผมซึ่งศึกษาอยู่ในระดับปริญญาเอก
  • 8:23 - 8:27
    พยายามที่จะหลีกหนีจากความไร้สาระของระบบอุปถัมป์
  • 8:27 - 8:31
    ซึ่งเราบุกเข้าไปในชุมชนของคุณ และสั่งคุณว่าจะต้องทำอะไร
  • 8:31 - 8:35
    ดังนั้นสิ่งที่ผมทำที่เอสเปรานซ์ในช่วงปีแรก
  • 8:35 - 8:40
    ก็คือการลงไปเดินตามถนน
    และเพียงแค่สามวันหลังจากที่ผมเริ่มทำเช่นนั้น
  • 8:40 - 8:43
    ผมก็ได้ลูกค้า (ผู้รับความช่วยเหลือ) รายแรก
    ที่ผมได้ลงมือช่วยเหลือ
  • 8:43 - 8:47
    เขาเป็นชาวเมารี ที่มีอาชีพผลิตปลารมควันจากในโรงจอดรถ
  • 8:47 - 8:51
    ผมได้ช่วยเขาหาช่องทางในการส่งปลารมควันของเขา
    ให้กับร้านอาหารในเมืองเพิร์ธ
  • 8:51 - 8:54
    ช่วยให้เขาวางระบบการทำงานให้ดีขึ้น
    หลังจากนั้นมีชาวประมงกลุ่มหนึ่ง มาหาผมแล้วกล่าวว่า
  • 8:54 - 8:57
    "คุณคือคนที่ช่วยชายเมารีคนนั้นใช่ไหม?
    ถ้าอย่างนั้น คุณมาช่วยพวกเราหน่อยได้ไหม?"
  • 8:57 - 9:00
    แล้วผมก็ลงไปช่วยชาวประมงห้าคนนี้ ให้ทำงานร่วมกัน
  • 9:00 - 9:04
    และนำปลาทูน่าที่พวกเขาจับได้ไปขาย
    ซึ่งเราไม่ได้ขายให้กับโรงงานทูน่ากระป๋องในอัลแบนี
  • 9:04 - 9:08
    ที่ให้ราคาเพียง 60 เซนต์ต่อกิโล แต่เราพบช่องทาง
  • 9:08 - 9:13
    ที่จะส่งออกทูน่าเหล่านั้นไปยังญี่ปุ่น ซึ่งให้ราคา
    ถึง 15 เหรียญต่อกิโลเลยทีเดียว
  • 9:13 - 9:15
    หลังจากนั้นก็มีชาวนามาหาผมแล้วถามแบบเดียวกันอีก
  • 9:15 - 9:17
    "คุณช่วยพวกเขาสำเร็จ คุณมาช่วยเราหน่อยได้ไหม?"
  • 9:17 - 9:20
    ภายในปีเดียว ผมมีโครงการถึง 27 โครงการด้วยกัน
  • 9:20 - 9:22
    แล้วรัฐบาลก็ส่งคนมาหาผม เพื่อที่จะถามว่า
  • 9:22 - 9:24
    "คุณทำมันได้อย่างไร?
  • 9:24 - 9:28
    แล้วผมก็ตอบว่า "ผมทำสิ่งที่ยาก ยาก ยากมากๆ"
  • 9:28 - 9:33
    "ผมหุบปาก แล้วก็ฟังพวกเขาพูด"
    (เสียงหัวเราะ)
  • 9:33 - 9:42
    ซึ่ง... (เสียงปรบมือ)
  • 9:42 - 9:46
    ซึ่งเจ้าหน้าที่รัฐก็ได้บอกผมว่า "คุณทำมันอีกสิ"
    (เสียงหัวเราะ)
  • 9:46 - 9:49
    เราได้ใช้วิธีดังกล่าวในกว่า 300 ชุมชนทั่วโลก
  • 9:49 - 9:53
    เราได้ช่วยสร้างธุรกิจกว่า 40,000 เจ้า
  • 9:53 - 9:55
    ขณะนี้มีผู้ประกอบการรุ่นใหม่
  • 9:55 - 9:57
    ที่ไม่มีโอกาสเติบโต เพราะถูกมองข้ามไป
  • 9:57 - 10:03
    Peter Drucker, ที่ปรึกษาเรื่องการจัดการที่ยิ่งใหญ่ที่สุด
    ท่านหนึ่งในประวัตืศาสตร์
  • 10:03 - 10:08
    ได้เสียชีวิตเมื่อไม่กี่ปีก่อนหน้านี้ไปด้วยวัย 96 ปี
  • 10:08 - 10:10
    Peter Drucker เคยเป็นศาสตราจารย์วิชาปรัชญา
  • 10:10 - 10:12
    ก่อนที่จะมีบทบาทสำคัญในด้านธุรกิจ
  • 10:12 - 10:15
    และนี่คือสิ่งที่ท่านเคยกล่าวไว้
  • 10:15 - 10:20
    "การวางแผนนั้น ที่แท้จริงแล้วเข้ากันไม่ได้เลย
  • 10:20 - 10:24
    กับสังคมและเศรษฐกิจแบบผู้ประกอบการ"
  • 10:24 - 10:31
    การวางแผน เปรียบเสมือนจูบแห่งความตาย สำหรับผู้ประกอบการ
  • 10:31 - 10:33
    และตอนนี้พวกคุณก็กำลังบูรณะเมืองไครสต์เชิร์ช
    (จากแผ่นดินไหว ในปี พ.ศ. 2554)
  • 10:33 - 10:37
    โดยที่คุณไม่ได้เรียนรู้เลยว่าเหล่าผู้คนที่ฉลาด
    และมีความสามารถในไครสต์เชิร์ชนั้น
  • 10:37 - 10:42
    ต้องการที่จะลงทุนและลงแรงอย่างไรบ้าง
    ในการฟื้นฟูเมืองของพวกเขาเลย
  • 10:42 - 10:45
    คุณจะต้องเรียนรู้วิธีที่จะทำให้คนเหล่านี้
  • 10:45 - 10:48
    ออกมาแสดงความคิดเห็นและพูดคุยกับคุณ
  • 10:48 - 10:53
    คุณจะต้องให้ความมั่นใจในเรื่องความเป็นส่วนตัว
    และการรักษาความลับในข้อมูลหลายๆประเภท
  • 10:53 - 10:56
    คุณต้องแสดงให้พวกเขาเห็นถึงความพยายาม
    ในการช่วยเหลือของพวกคุณ
  • 10:56 - 11:00
    แล้วพวกเขาจะออกมาหาคุณ
    และจะออกมาเป็นกองทัพเลยด้วย
  • 11:00 - 11:03
    ในชุมชนที่มีประชากร 10,000 คน เรามีลูกค้า 200 ราย
  • 11:03 - 11:06
    คุณจินตนาการออกไหมว่าในชุมชนขนาด 400,000 คน
  • 11:06 - 11:08
    คุณจะพบกับผู้ประกอบการ
    ที่มีแนวคิดและมีไฟจำนวนมากขนาดไหน?
  • 11:08 - 11:12
    การนำเสนอแบบไหนที่พวกคุณปรบมือชื่นชมดังสนั่นที่สุด
    ในการสัมมนาวันนี้
  • 11:12 - 11:18
    คนธรรมดาๆ ที่มีไฟ มีความปรารถนาที่จะพัฒนาขึ้นไป
    คนเหล่านั้นแหล่ะคือคนที่คุณชื่นชม
  • 11:18 - 11:23
    สิ่งที่ผมอยากจะพูดก็คือ
  • 11:23 - 11:25
    การมีความเป็นผู้ประกอบการนั้นเป็นสิ่งที่จำเป็น
  • 11:25 - 11:28
    เรามาถึงช่วงท้ายของการปฏิวัติอุตสาหกรรมเก่า
  • 11:28 - 11:32
    การใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล การผลิตต่างๆนานา
  • 11:32 - 11:36
    แล้วเราก็เพิ่งจะรู้ตัวว่า
    ระบบที่เราใช้กันมานานนั้นไม่มีความยั่งยืน
  • 11:36 - 11:39
    เครื่องยนต์สันดาปภายใน ที่เราใช้กันอยู่นั้นไม่ยั่งยืน
  • 11:39 - 11:42
    การใช้สารจำพวกฟรีออน (Freon)
    ของเรานั้นก่อให้เกิดความไม่ยั่งยืน
  • 11:42 - 11:45
    สิ่งที่เราต้องให้ความสนใจในขณะนี้ คือ
    วิธีการที่เราจะทำอย่างไรเพื่อให้
  • 11:45 - 11:51
    การใช้ชีวิตในแต่ละวัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอาหาร เวชภัณฑ์
    การศึกษา การขนส่ง การสื่อสาร ฯลฯ
  • 11:51 - 11:55
    สำหรับผู้คนจำนวนเจ็ดล้านล้านคนบนโลกนั้น
    เป็นไปอย่างยั่งยืน
  • 11:55 - 11:59
    ขณะนี้เราไม่มีเทคโนโลยีที่จะทำเช่นนั้นได้
  • 11:59 - 12:02
    ใครที่จะเป็นผู้คิดค้นเทคโนโลยีใหม่ๆ
  • 12:02 - 12:09
    สำหรับการปฏิวัติเขียว? มหาวิทยาลัยหรือ? ลืมมันไปได้เลย!
  • 12:09 - 12:11
    รัฐบาลหรือ? อย่าคาดหวังเลย!
  • 12:11 - 12:17
    ผู้คิดค้นใหม่ๆก็มาจากผู้ประกอบการทั้งหลายนั่นเอง
    และพวกเขาก็กำลังดำเนินการทางความคิดใหม่ๆกันแล้ว
  • 12:17 - 12:20
    ผมได้อ่านเรื่องราวดีๆเรื่องหนึ่งจากนิตยาสาร Futurist
  • 12:20 - 12:21
    เมื่อหลายปีมาแล้ว
  • 12:21 - 12:23
    มีผู้ชำนาญการกลุ่มหนึ่ง ได้รับคำเชิญ
  • 12:23 - 12:28
    ให้ไปร่วมสนทนาเกี่ยวกับอนาคตของนครนิวยอร์ก
    ในปี ค.ศ. 1860 (พ.ศ. 2403)
  • 12:28 - 12:31
    และพวกเขาได้มารวมตัวกัน
  • 12:31 - 12:34
    แล้วก็เริ่มคาดการณ์ถึงอนาคตที่จะเกิดขึ้น
  • 12:34 - 12:35
    กับนิวยอร์กในอีก 100 ปีข้างหน้า
  • 12:35 - 12:37
    บทสรุปที่ได้นั้นเป็นเอกฉันท์
  • 12:37 - 12:41
    นครนิวยอร์กนั้นจะไม่มีอยู่อีกแล้วในอีก 100 ปีข้างหน้า
  • 12:41 - 12:43
    ทำไมน่ะหรือ? พวกเขาดูข้อมูลกราฟประชากรแล้วกล่าวว่า
  • 12:43 - 12:46
    ถ้าประชากรยังคงเพิ่มขึ้นด้วยอัตราเช่นนี้แล้วล่ะก็
  • 12:46 - 12:50
    ในการที่ประชาชนจะคมนาคม เดินทางไปมานั้น
  • 12:50 - 12:53
    พวกเขาจะต้องใช้ม้าถึง 6 ล้านตัว
  • 12:53 - 12:56
    และมันเป็นไปไม่ได้เลยที่จะจัดการกับ
  • 12:56 - 12:59
    ปริมาณมูลสัตว์ที่เกิดจากม้าจำนวน 6 ล้านตัวนั่นเอง
  • 12:59 - 13:04
    พวกเขาคงต้องจมกองอุจจาระม้าตายอย่างแน่นอน
    (เสียงหัวเราะ)
  • 13:04 - 13:09
    ดังนั้น ในปี 1860 นั่นเอง พวกเขาก็ได้มองเห็นข้อเสีย
    ของเทคโนโลยีที่มีอยู่
  • 13:09 - 13:14
    ที่จะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของชาวนิวยอร์กในระยะยาว
  • 13:14 - 13:19
    แล้วเกิดอะไรขึ้นต่อ? ภายใน 40 ปีหลังจากนั้น
    ซึ่งก็คือปี ค.ศ. 1900 (พ.ศ. 2443)
  • 13:19 - 13:24
    ในสหรัฐอเมริกา มีบริษัทผลิตรถยนต์
  • 13:24 - 13:30
    รวมกันถึง 1001 รายด้วยกัน
  • 13:30 - 13:34
    แนวความคิดที่จะมองหา หรือคิดค้นเทคโนโลยีใหม่ๆนั้น
  • 13:34 - 13:36
    ได้ถูกผู้ประกอบการนำไปสานต่ออย่างจริงจัง
  • 13:36 - 13:41
    รวมไปถึงเจ้าของโรงงานเล็กๆในเมืองเดียร์บอน รัฐมิชิแกน
  • 13:41 - 13:47
    เฮนรี่ ฟอร์ด
  • 13:47 - 13:51
    อย่างไรก็ตาม ผมมีเคล็ดลับในการร่วมงาน
    กับผู้ประกอบการจะมาบอก
  • 13:51 - 13:55
    เริ่มแรกนั้น คุณจะต้องให้ความมั่นใจเรื่อง
    การเก็บความลับกับพวกเขา
  • 13:55 - 13:57
    ไม่เช่นนั้น พวกเขาก็จะไม่แสดงตัวออกมาพูดคุยกับคุณ
  • 13:57 - 14:01
    จากนั้นคุณก็ต้องแสดงให้เห็นถึงความตั้งใจอันแรงกล้า
  • 14:01 - 14:05
    และความปรารถนาที่จะช่วยเหลืออย่างจริงใจของคุณ
  • 14:05 - 14:08
    หลังจากนั้นคุณจะต้องบอกพวกเขาเกี่ยวกับความจริง
    ของการเป็นผู้ประกอบการ
  • 14:08 - 14:11
    ไม่ว่าจะเป็นบริษัทเล็ก หรือบริษัทยักษ์ใหญ่ก็ตาม
  • 14:11 - 14:15
    จะต้องมีความสามารถในการปฏิบัติ 3 สิ่งนี้อย่างไม่มีที่ติ
  • 14:15 - 14:19
    หนึ่ง ผลิตภัณฑ์หรือสินค้าของคุณจะต้องมีคุณภาพดีเยี่ยม
  • 14:19 - 14:23
    สอง คุณจะต้องมีการตลาดที่มีประสิทธิภาพ
  • 14:23 - 14:26
    และสาม คุณจะต้องมีการจัดการด้านการเงินที่รัดกุมและ
    ได้รับการปฏิบัติอย่างเคร่งครัด
  • 14:26 - 14:29
    แล้วคุณเชื่อไหม?
  • 14:29 - 14:31
    เราไม่สามารถหามนุษย์คนใดคนหนึ่งในโลกนี้
  • 14:31 - 14:37
    ที่มีความสามารถในการผลิต ในการตลาด
    อีกทั้งยังสามารถดูแลการเงินได้หมดภายในคนคนเดียว
  • 14:37 - 14:40
    คนคนนั้นไม่มีอยู่จริง
  • 14:40 - 14:42
    หรือต่อให้มี เขาคนนั้นก็คงยังไม่เกิด
  • 14:42 - 14:45
    เราได้ทำการวิจัย และเราก็ได้สำรวจ
  • 14:45 - 14:49
    องค์กรชั้นนำของโลกเป็นจำนวน 100 แห่ง
  • 14:49 - 14:53
    ไม่ว่าจะเป็นคาร์เนกี, เวสติงเฮาส์, เอดิสัน, ฟอร์ด
  • 14:53 - 14:56
    หรือแม้แต่องค์กรชั้นนำยุคใหม่อย่างกูเกิ้ล หรือยาฮู
  • 14:56 - 14:59
    มีอยู่ปัจจัยเดียวที่องค์กรที่ประสบความสำเร็จทั้งหลายเหล่านี้
  • 14:59 - 15:02
    ทุกองค์กรมีเหมือนกัน ร่วมกันเพียงแค่ปัจจัยเดียว
  • 15:02 - 15:07
    นั่นก็คือ พวกมันไม่ได้ถูกสร้างมาด้วยคนคนเดียว
  • 15:07 - 15:11
    เราได้สอนเรื่องความเป็นผู้ประกอบการให้กับเด็กอายุ 16 ปี
    (เทียบเท่ามัธยม 4)
  • 15:11 - 15:15
    ในนอร์ทธัมเบอร์แลนด์ และเราเริ่มต้นวิชาดังกล่าว
  • 15:15 - 15:19
    โดยการให้พวกเขาอ่านสองหน้าแรกของอัตชีวประวัติของ
    ริชาร์ด แบรนสัน (Richard Branson ผู้ก่อตั้งบริษัทเวอร์จิ้น)
  • 15:19 - 15:23
    และมอบหมายให้เด็กเหล่านั้นขีดเส้นใต้
  • 15:23 - 15:27
    บนสองหน้าแรกของอัตชีวประวัติที่อ่านไปดูว่า
  • 15:27 - 15:30
    ริชาร์ดใช้คำว่า "ฉัน" เป็นจำนวนกี่หน
  • 15:30 - 15:32
    และมีจำนวนกี่หนที่เขาใช้คำว่า "เรา"
  • 15:32 - 15:37
    ผลคือ ไม่มีการใช้คำว่า "ฉัน" เลยแม่แต่หนเดียว
    และเขาใช้คำว่า "เรา" ถึง 32 หนด้วยกัน
  • 15:37 - 15:40
    เพราะเขาไม่ได้อยู่ตัวคนเดียวตอนที่ริเริ่มก่อตั้งบริษัทขึ้นมา
  • 15:40 - 15:45
    ไม่มีใครในโลกที่ก่อตั้งบริษัท
    หรือองค์กรขึ้นมาได้ด้วยตัวคนเดียว
  • 15:45 - 15:49
    เราสามารถที่จะสร้างชุมชน
  • 15:49 - 15:52
    ที่จะมีผู้ช่วยเหลือประสานงานที่มีประสบการณ์
    มาจากภาคธุรกิจ
  • 15:52 - 15:59
    ซึ่งคุณสามารถหาพวกเขาได้ตามคาเฟ่ ตามบาร์
    และพวกเขาจะเป็นเพื่อนใหม่ของคุณ
  • 15:59 - 16:03
    ผู้ซึ่งจะมาช่วยเหลือคุณ อย่างที่พวกเขาได้ช่วยเหลือ
  • 16:03 - 16:06
    สุภาพบุรุษท่านนี้ที่ได้มาเล่าถึงประสบการณ์ของเขา
  • 16:06 - 16:09
    ผู้ซึ่งจะถามคุณว่า "คุณต้องการให้ช่วยอะไร?"
  • 16:09 - 16:11
    คุณทำอะไรได้บ้างล่ะ? คุณทำอย่างนี้ได้ไหม?
  • 16:11 - 16:13
    คุณมีประสบการณ์ขายไหม? คุณดูแลการเงินของฉันได้ไหม?
  • 16:13 - 16:17
    "โอ้ เราไม่มีประสบการณ์ในด้านนี้"
    "คุณต้องการให้เราหาคนที่จะมาช่วยคุณได้ไหมล่ะ?"
  • 16:17 - 16:19
    เรากระตุ้นให้ผู้คนในชุมชนเคลื่อนไหวด้วยความตั้งใจ
    ของพวกเขาเอง
  • 16:19 - 16:23
    เรามีกลุ่มอาสาสมัครที่จะคอยสนับสนุน
    เหล่าผู้ส่งเสริมพัฒนาการของผู้ประกอบการ/บริษัท เหล่านี้
  • 16:23 - 16:26
    ในการช่วยคุณเฟ้นหาทรัพยากรและบุคคลากรที่จำเป็น
  • 16:26 - 16:29
    และเราก็ได้ค้นพบความมหัศจรรย์
  • 16:29 - 16:31
    ของปัญญาและแนวคิดที่เกิดขึ้นในชุมชนท้องถิ่น
  • 16:31 - 16:35
    ที่จะสามารถเปลี่ยนแปลงและพัฒนาวัฒนธรรม
    และเศรษฐกิจของแต่ละท้องถิ่น
  • 16:35 - 16:39
    ให้ก้าวไปข้างหน้าได้ เพียงแค่คุณจุดไฟให้กับความปรารถนา
  • 16:39 - 16:43
    ให้กับพลังสร้างสรรค์และจิตนาการ
    ของคนในชุมชนของคุณเท่านั้นเอง
  • 16:43 - 16:48
    ขอบคุณครับ
    (เสียงปรบมือ)
Title:
เออร์เนสโต ซีโรลลิ: หากคุณต้องการช่วยผู้อื่น ก็จงหุบปากแล้วใช้หูฟังซะ!
Speaker:
Ernesto Sirolli
Description:

เออร์เนสโต ซีโรลลิ มองเห็นว่าการที่เจ้าหน้าที่/อาสาสมัครด้านความช่วยเหลือจำนวนมากเลือกที่จะแก้ไขปัญหาโดยการยัดเยียดแนวคิด และแนวทางของพวกเขาเองให้กับผู้อื่นนั้น ช่างเป็นวิธีการที่ไร้เดียงสาและไม่มีประสิทธิภาพเอาเสียเลย

ในการปราศัยที่ฟังสนุกอีกทั้งยังกระตุ้นให้เกิดความกระตือรือร้นนี้ เขาเสนอว่าขั้นตอนแรกสุดของการช่วยเหลือผู้อื่นนั้น คือการรับฟังเรื่องราวจากผู้คนที่คุณต้องการจะช่วยเหลือ จากนั้นจึงกระตุ้นไฟในการริเริ่มของพวกเขาเองให้ลุกโชนขึ้นมา เป็นคำแนะนำที่มีประโยชน์สำหรับผู้ริเริ่ม/ผู้ประกอบการ ทุกคน ทุกระดับ

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
17:09
Dimitra Papageorgiou approved Thai subtitles for Want to help someone? Shut up and listen!
Sitthichok Khunthaveelab commented on Thai subtitles for Want to help someone? Shut up and listen!
Chatthip Chaichakan accepted Thai subtitles for Want to help someone? Shut up and listen!
Chatthip Chaichakan commented on Thai subtitles for Want to help someone? Shut up and listen!
Chatthip Chaichakan edited Thai subtitles for Want to help someone? Shut up and listen!
Chatthip Chaichakan edited Thai subtitles for Want to help someone? Shut up and listen!
Chatthip Chaichakan edited Thai subtitles for Want to help someone? Shut up and listen!
Chatthip Chaichakan edited Thai subtitles for Want to help someone? Shut up and listen!
Show all

Thai subtitles

Revisions