< Return to Video

IWOW - Part 3 - The Serpent and the Lotus

  • 0:03 - 0:08
    ก่อนรุ่งอรุณแห่งอารยธรรมแถบตะวันตกและภาษาที่ใช้เขียน
  • 0:08 - 0:14
    วิทยาศาสตร์และจิตวิญญาณไม่ใช่สองสิ่งที่แยกจากกัน
  • 0:14 - 0:17
    ในคำสอนแห่งวัฒนธรรมโบราณอันยิ่งใหญ่
  • 0:17 - 0:20
    การแสวงหาความรู้นอกตัวและความแน่นอน
  • 0:20 - 0:22
    ถูกทำให้สมดุลด้วยความรู้สึกภายในแห่งความไม่แน่นอน
  • 0:22 - 0:27
    และความเข้าใจตามสัญชาตญานในเรื่องวงก้นหอยแห่งการเปลี่ยนแปลง
  • 0:27 - 0:31
    เมื่อความคิดเชิงวิทยาศาสตร์มีบทบาทมากขึ้นและข่าวสารเพิ่มมากขึ้น
  • 0:31 - 0:36
    ความแตกแยกก็เริ่มเกิดขึ้นภายในระบบความรู้ของพวกเรา
  • 0:36 - 0:38
    การมีผู้เชี่ยวชาญเพิ่มขึ้นหมายถึงมีเพียงไม่กี่คนที่สามารถมองเห็นภาพรวม
  • 0:38 - 0:41
    ของความรู้สึกและหยั่งรู้ความงามของระบบโดยรวม
  • 0:41 - 0:45
    ไม่มีใครถามว่า "ความคิดทั้งหมดนี้ดีต่อพวกเราหรือเปล่า ?"
  • 0:45 - 0:52
    ความรู้โบราณอยู่ที่นี่ในแก่นกลางของเรา ซ่อนอยู่ในทัศนียภาพอันเรียบง่าย
  • 0:57 - 1:01
    แต่พวกเราถูกครอบงำไว้ก่อนด้วยความคิดตนเองจนเกินจะตระหนักได้
  • 1:01 - 1:07
    ปัญญาที่ถูกลืมนี้คือหนทางฟื้นฟูสมดุล
  • 1:07 - 1:10
    ระหว่างภายในและภายนอก
  • 1:10 - 1:15
    หยินและหยาง
  • 1:15 - 1:15
    ระหว่างวงก้นหอยแห่งการเปลี่ยนแปลง และความสงบนิ่งที่แก่นกลางของเรา
  • 1:15 - 1:22
    ตอนที่ 3 งูและดอกบัว
  • 1:52 - 1:59
    ในตำนานกรีก แอสคลีพีอัสเป็นบุตรชายของเทพอพลอลโล่ และเป็นเทพแห่งการเยียวยา
  • 2:00 - 2:03
    ปัญญาและทักษะของเขาในการเยียวยานั้นไม่มีผู้ใดเหนือกว่า
  • 2:03 - 2:10
    มีคำบอกเล่าว่าเขาได้ค้นพบความลับของชีวิตและความตาย
  • 2:10 - 2:13
    ในกรีกโบราณ วัดแอสคลีเปียนแห่งการเยียวยา
  • 2:13 - 2:16
    ได้ยอมรับคุณค่าของพลังแห่งวงก้นหอยต้นกำเนิด
  • 2:16 - 2:21
    ดังเห็นได้จากสัญลักษณ์คทาของแอสคลีพีอัสที่ถูกสร้างขึ้นที่นั่น
  • 2:21 - 2:26
    ฮิปพอคราทีส บิดาแห่งการแพทย์
  • 2:26 - 2:28
    ผู้ซึ่งคำปฏิญาณของเขาถูกใช้เป็นจรรยาบรรณวิชาชีพแพทย์
  • 2:28 - 2:31
    ว่ากันว่าเขาก็ได้รับการฝึกฝนมาจากวัดแอสคลีเปียนนี้เช่นกัน
  • 2:31 - 2:34
    จนกระทั่งถึงปัจจุบัน สัญลักษณ์ของพลังงานแห่งวิวัฒนาการของพวกเราอันนี้
  • 2:34 - 2:37
    ยังคงถูกใช้เป็นตราสัญลักษณ์ของสมาคมการแพทย์แห่งอเมริกา
  • 2:37 - 2:40
    และองค์กรทางการแพทย์อื่นๆทั่วโลก
  • 2:40 - 2:47
    ในประติมานวิทยาของอียิปต์ งูและนกเป็นตัวแทนของ
  • 2:49 - 2:52
    ทวิลักษณ์หรือความมีขั้วของธรรมชาติมนุษย์
  • 2:52 - 2:59
    งู ในทิศพุ่งลงล่าง คือปรากฏการณ์ของวงก้นหอย
  • 3:02 - 3:07
    เป็นพลังงานแห่งวิวัฒนาการของโลก
  • 3:07 - 3:14
    นก คือทิศพุ่งขึ้นบน เป็นกระแสสู่เบื้องบน
  • 3:14 - 3:18
    ไปยังดวงอาทิตย์ หรือจุดความรู้สึกตัวที่ตื่นแล้วจุดเดียวนั้น
  • 3:18 - 3:22
    ความว่างเปล่าแห่งอากาสา (อากาศ)
  • 3:22 - 3:29
    ฟาโรห์และพระเจ้าทั้งหลายถูกวาดภาพโดยมีพลังงานซึ่งตื่นแล้ว
  • 3:34 - 3:37
    ที่ซึ่งงูกุณฑาลินีเลื้อยขึ้นไปตามกระดูกสันหลัง
  • 3:37 - 3:40
    และโผล่ออกมาที่ "จักระอาชณา" ซึ่งอยู่ระหว่างดวงตาทั้งสอง
  • 3:40 - 3:47
    นี่คือสิ่งที่เรียกกันว่า "ดวงตาของฮอรัส"
  • 3:49 - 3:53
    ในประเพณีฮินดูก็ใช้บินดิ (bindi) เป็นสัญลักษณ์แทนดวงตาที่สาม
  • 3:53 - 3:58
    สื่อถึงความเชื่อมโยงอันศักดิ์สิทธิ์สู่จิตวิญญาณ
  • 3:58 - 4:05
    หน้ากากของพระราชาตุตันคาเมนเป็นตัวอย่างคลาสสิกที่มีลักษณะเด่นของทั้งงูและนก
  • 4:08 - 4:11
    ประเพณีของชาวมายันและชาวแอสเท็กส์รวมลักษณะเด่นของงูและนกเข้าด้วยกันเป็นพระเจ้าองค์เดียว
  • 4:11 - 4:18
    เควทซาลโคลท์ หรือ คูคูลคาน
  • 4:19 - 4:25
    งูที่มีขนนกแสดงถึงความรู้สึกตัวที่วิวัฒนาการจนตื่นแล้ว
  • 4:25 - 4:27
    หรือ กุณฑาลินีที่ตื่นแล้ว
  • 4:27 - 4:31
    บุคคลผู้ซึ่งปลุกเควทซาลโคลท์ภายในตนเองจนตื่นแล้ว
  • 4:31 - 4:35
    คือการแสดงออกที่มีชีวิตของสิ่งศักดิ์สิทธิ์
  • 4:35 - 4:38
    ว่ากันว่าเควทซาลโคลท์หรือพลังงู
  • 4:38 - 4:42
    จะกลับคืนสู่ต้นกำเนิดเมื่อสิ้นสุดเวลา
  • 4:42 - 4:46
    สัญลักษณ์งูและนกสามารถพบได้ในคริสต์ศาสนาเช่นกัน
  • 4:46 - 4:53
    ความหมายแท้จริงของมันอาจต้องถอดรหัสอย่างลึกซึ้ง
  • 5:01 - 5:06
    แต่มันก็เหมือนกับที่มีในวัฒนธรรมโบราณอื่นๆ
  • 5:06 - 5:09
    ในคริสต์ศาสนา มักพบนกหรือนกพิราบอยู่เบื้องบนศรีษะของพระคริสต์
  • 5:09 - 5:14
    แสดงถึงจิตวิญญาณอันศักดิ์สิทธิ์ หรือกุณฑาลินีศักติ
  • 5:14 - 5:19
    เมื่อมันขึ้นมาถึงจักระที่หกและเหนือกว่านั้น
  • 5:19 - 5:24
    ความขลังของคริสต์ศาสนาที่เรียกอีกชื่อว่ากุณฑาลินีหรือจิตวิญญาณศักดิ์สิทธิ์
  • 5:24 - 5:29
    ในคัมภีร์ไบเบิล ยอห์น 3:12 กล่าวว่า "และเมื่อโมเสสยกงูขึ้นไปในที่อันไพศาล
  • 5:29 - 5:36
    บุตรชายแห่งมนุษย์ก็จำต้องถูกยกขึ้นด้วย"
  • 5:39 - 5:45
    พระเยซูและโมเสสปลุกพลังกุณฑาลินีของตนเอง ซึ่งนำความรู้สึกตัวที่ตื่นพร้อม
  • 5:45 - 5:51
    ให้เกิดขึ้นบนความไร้สำนึกแห่งพลังสัตว์เลื้อยคลานซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนแรงปรารถนาในมนุษย์
  • 5:51 - 5:56
    ว่ากันว่าพระเยซูใช้เวลา 40 วัน 40 คืนในทะเลทราย
  • 5:56 - 6:03
    ระหว่างที่ท่านถูกทดสอบโดยซาตาน
  • 6:03 - 6:06
    ในทำนองเดียวกัน พระพุทธเจ้าก็ถูกทดสอบโดยพญามาร
  • 6:06 - 6:13
    เมื่อท่านนั่งกำลังจะตรัสรู้อยู่ใต้ต้นโพธิ์หรือต้นไม้แห่งปัญญา
  • 6:13 - 6:18
    ทั้งพระเยซูและพระพุทธเจ้าได้หันหลังให้กับแรงดึงดูดแห่งความรู้สึกพอใจและการยึดมั่นถือมั่นในโลก
  • 6:18 - 6:25
    ในตำนานแต่ละเรื่อง ปีศาจเป็นบุคลาธิษฐานของความยึดติดส่วนตน
  • 6:27 - 6:31
    หากเราอ่านตำนานอดัมและอีฟในมุมมองของวัฒนธรรมพระเวทและอียิปต์
  • 6:31 - 6:38
    เราจะพบว่างูที่เฝ้าต้นไม้แห่งชีวิตคือกุณฑาลินี
  • 6:38 - 6:45
    ลูกแอปเปิ้ลเป็นตัวแทนของแรงดึงดูดใจและการล่อลวงของประสาทสัมผัสแห่งโลกภายนอก
  • 7:01 - 7:06
    ซึ่งแยกพวกเราออกจากความรู้แห่งโลกภายใน
  • 7:06 - 7:11
    ต้นไม้แห่งความรู้ภายใน
  • 7:11 - 7:16
    ต้นไม้ก็คือโครงข่ายของนาดีสหรือเส้นแวงแห่งพลังงานภายในตัวเรา
  • 7:16 - 7:19
    ซึ่งตามที่เขียนไว้กล่าวว่ามีโครงสร้างคล้ายต้นไม้แผ่ไปทั่วร่างกาย
  • 7:19 - 7:26
    ในการค้นหาอย่างเห็นแก่ตัวให้ได้มาซึ่งความพอใจภายนอก
  • 7:34 - 7:39
    เราได้ตัดตนเองออกจากความรู้แห่งโลกภายใน
  • 7:39 - 7:45
    ความเชื่อมโยงของพวกเราที่มีต่ออากาสาและแหล่งปัญญา
  • 7:45 - 7:48
    ตำนานอภินิหารในประวัติศาสตร์จำนวนมากของโลกเกี่ยวกับมังกร
  • 7:48 - 7:53
    สามารถตีความได้ว่าเทียบเท่ากับพลังภายใน
  • 7:53 - 8:00
    ของวัฒนธรรมทั้งหลายที่พวกมันหยั่งรากลงไป
  • 8:07 - 8:10
    ในประเทศจีน มังกรยังคงเป็นสัญลักษณ์ศักดิ์สิทธิ์แทนความสุข
  • 8:10 - 8:12
    เช่นเดียวกับฟาโรห์แห่งอียิปต์ จักพรรดิ์จีนโบราณ
  • 8:12 - 8:16
    ผู้ซึ่งได้ปลุกพลังงานแห่งวิวัฒนาการให้ตื่นแล้ว
  • 8:16 - 8:23
    ถูกแทนด้วยงูมีปีกหรือมังกร
  • 8:24 - 8:28
    รูปสลักบนเสาประจำราชวงศ์เง็กเซียนฮ่องเต้ หรือจักรพรรดิ์แห่งสรวงสวรรค์
  • 8:28 - 8:31
    แสดงถึงสมดุลที่คล้ายกับอิดะและปิงคละ
  • 8:31 - 8:36
    หยินหยางของลัทธิเต๋า, หรือจุดศูนย์กลางต่อมไพเนียลที่ตื่นแล้ว
  • 8:36 - 8:41
    หรือที่เต๋าเรียกกันว่าจุดตันเถียนบน
  • 8:41 - 8:46
    ธรรมชาติเต็มไปด้วยการตรวจจับแสงและกลไกการนำเข้าต่างๆกัน
  • 8:46 - 8:50
    ตัวอย่างเช่น หอยเม่นทะเลมองเห็นได้ด้วยตัวที่เต็มไปด้วยหนามของมัน
  • 8:50 - 8:57
    ซึ่งทำหน้าที่เสมือนดวงตาขนาดใหญ่ดวงหนึ่ง
  • 9:07 - 9:09
    หอยเม่นตรวจจับแสงที่ตกกระทบหนามของมัน
  • 9:09 - 9:11
    และเปรียบเทียบความเข้มของลำแสงเพื่อประเมินสิ่งที่อยู่รอบตัว
  • 9:11 - 9:16
    อีกัวน่าสีเขียวและสัตว์เลื้อยคลานชนิดอื่นๆมีดวงตาซึ่งมีผนังหุ้ม
  • 9:16 - 9:20
    หรือต่อมไพเนียลอยู่ส่วนบนสุดของหัว
  • 9:20 - 9:23
    ซึ่งพวกมันใช้สำหรับตรวจจับนักล่าจากด้านบน
  • 9:23 - 9:30
    ต่อมไพเนียลในคนเป็นต่อมไร้ท่อขนาดเล็ก
  • 9:37 - 9:40
    ซึ่งช่วยวางระเบียบรูปแบบการตื่นและการหลับ
  • 9:40 - 9:44
    แม้ว่ามันจะถูกฝังลึกลงไปข้างในหัว
  • 9:44 - 9:51
    แต่ต่อมไพเนียลนี้ไวต่อแสงมาก
  • 9:57 - 10:00
    นักปรัชญาชื่อ เดการ์ต ยอมรับว่าพื้นที่ตั้งของต่อมไพเนียล
  • 10:00 - 10:04
    หรือดวงตาที่สามนั้นเป็นส่วนต่อประสานระหว่างความรู้สึกตัวกับวัตถุ
  • 10:04 - 10:07
    เกือบทุกอย่างในตัวมนุษย์จัดว่ามีความสมมาตร
  • 10:07 - 10:12
    สองตา สองหู สองรูจมูก แม้แต่สมองยังมีสองซีก
  • 10:12 - 10:15
    แต่มีอยู่ที่หนึ่งในสมองที่ไม่มีคู่สะท้อน
  • 10:15 - 10:21
    นั่นก็คือที่ตั้งของต่อมไพเนียลและศูนย์กลางพลังงานซึ่งล้อมรอบมันอยู่
  • 10:21 - 10:23
    ในระดับกายภาพ โมเลกุลพิเศษได้ถูกสร้างขึ้นตามธรรมชาติ
  • 10:23 - 10:30
    โดยต่อมไพเนียลนี้ ตัวอย่างเช่น ดีเอ็มที (DMT)
  • 10:31 - 10:34
    DMT ถูกสร้างขึ้นตามธรรมชาติในขณะที่เกิดและขณะที่ตาย
  • 10:34 - 10:40
    ตามความหมายแล้วทำหน้าที่เป็นสะพานพิเศษเชื่อมระหว่างโลกแห่งสิ่งชีวิตและสิ่งที่ตายแล้ว
  • 10:40 - 10:43
    DMT ยังถูกผลิตขึ้นตามธรรมชาติในสภาวะเข้าฌานลึกและเป็นสมาธิ
  • 10:43 - 10:47
    หรือผ่านพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ
  • 10:47 - 10:53
    ตัวอย่างเช่น ต้นอายาวัสกา (Ayahuasca) ถูกใช้ในพิธีเข้าทรงในอเมริกาใต้
  • 10:53 - 10:59
    เพื่อทำลายม่านกั้นระหว่างโลกภายในและโลกภายนอก
  • 10:59 - 11:05
    คำว่า "ไพเนียล" มีรากศัพท์เดียวกับคำว่า "ไพน์ คอร์น (ลูกสน)"
  • 11:05 - 11:10
    เพราะต่อมไพเนียลแสดงลักษณะของวงก้นหอยที่คล้ายคลึงกับรูปแบบการเรียงใบพืช (phyllotaxis)
  • 11:10 - 11:15
    รูปแบบนี้ เป็นที่รู้จักในอีกชื่อหนึ่งว่า "ดอกไม้แห่งชีวิต"
  • 11:15 - 11:22
    ซึ่งเป็นรูปแบบสามัญในงานศิลปะโบราณใช้อธิบายถึงผู้ตรัสรู้แล้วหรือผู้ที่ตื่นแล้ว
  • 11:23 - 11:27
    เมื่อรูปลูกสนปรากฎในงานศิลปะเพื่อสักการะพระเจ้า
  • 11:27 - 11:33
    มันแสดงถึงดวงตาที่สามที่ตื่นแล้ว ความรู้สึกตัวในจุดเดียว
  • 11:33 - 11:36
    นำกระแสของพลังแห่งวิวัฒนาการ
  • 11:36 - 11:41
    ลูกสนเป็นตัวแทนแห่งการเบ่งบานของจักระส่วนบนทั้งหลาย
  • 11:41 - 11:45
    ซึ่งจะถูกกระตุ้นเมื่อกระแสในสุษุมนาพุ่งขึ้นสู่จักระอาชณาและเหนือจากนั้น
  • 11:45 - 11:50
    ในเทพนิยายกรีก ผู้บูชาเทพไดโอนิซัสถือช่อกระจุกแยกแขนง (thyrsus)
  • 11:50 - 11:55
    หรือไม้เท้ายักษ์ที่มีเถาองุ่นพันเป็นเกลียวบนยอดเป็นลูกสน
  • 11:55 - 11:59
    อีกครั้ง มันเป็นตัวแทนของพลังแห่งไดโอนิซัสหรือกุณฑาลินีศักติ
  • 11:59 - 12:06
    ที่เคลื่อนตัวผ่านกระดูกสันหลังขึ้นสู่ส่วนไพเนียลที่จักระที่หก
  • 12:07 - 12:10
    ที่ใจกลางกรุงวาติกัน เธออาจคาดว่าคงมีรูปปั้นที่ยิ่งใหญ่ของพระเยซูหรือพระแม่มารี
  • 12:10 - 12:16
    แต่แทนที่จะเป็นอย่างนั้น เรากลับพบอนุสาวรีย์ลูกสนยักษ์
  • 12:16 - 12:21
    แสดงให้เห็นว่าในประวัติศาสตร์ของชาวคริสเตียน
  • 12:21 - 12:28
    น่าจะมีความรู้เรื่องจักระและกุณฑาลินี
  • 12:31 - 12:34
    แต่ไม่ทราบว่าด้วยเหตุผลใด มันถูกเก็บงำเอาไว้จากคนหมู่มาก
  • 12:34 - 12:40
    คำอธิบายอย่างเป็นทางการของโบสถ์คือ
  • 12:40 - 12:43
    ลูกสนเป็นสัญลักษณ์ของการฟื้นฟูใหม่และแสดงถึงชีวิตใหม่ในตัวพระคริสต์
  • 12:43 - 12:46
    นักปรัชญาและจอมขมังเวทย์ในศตวรรษที่ 13 ชื่อ ไมสเตอร์ เอคคาร์ท กล่าวว่า
  • 12:46 - 12:48
    "ดวงตาที่พระเจ้าเห็นฉัน และดวงตาที่ฉันเห็นพระเจ้า
  • 12:48 - 12:51
    คือหนึ่งเดียวและเหมือนกัน"
  • 12:51 - 12:58
    ในคัมภีร์ไบเบิ้ลฉบับคิงส์เจมส์ พระเยซูกล่าวว่า "แสงแห่งกายคือดวงตา
  • 13:03 - 13:10
    ดังนั้นหากตาเธอเป็นเอก ทั่วกายของเธอย่อมเต็มไปด้วยแสง"
  • 13:15 - 13:21
    โรงเรียนสอนศาสนาพุทธบางแห่งกล่าวว่า "กายก็คือดวงตา"
  • 13:21 - 13:26
    ในสภาวะแห่งสมาธิ เราเป็นทั้งผู้ดูและผู้ถูกดู
  • 13:26 - 13:31
    เราคือจักรวาลที่ตระหนักรู้ตัวมันเอง
  • 13:31 - 13:38
    เมื่อกุณฑาลินีถูกกระตุ้น มันจะปลุกเร้าจักระที่หกและศูนย์กลางไพเนียล
  • 13:47 - 13:52
    แล้วพื้นที่บริเวณนั้นจะเริ่มฟื้นคืนสู่หน้าที่บางอย่างที่มันมีเกี่ยวกับวิวัฒนาการ
  • 13:52 - 13:58
    การเข้าฌานในความมืดถูกใช้มานับเป็นพันๆปีแล้ว
  • 13:58 - 14:05
    ในฐานะที่เป็นวิธีกระตุ้นจักระที่หกที่อยู่ในบริเวณต่อมไพเนียล
  • 14:14 - 14:18
    การกระตุ้นศูนย์กลางดังกล่าวทำให้บุคคลสามารถมองเห็นแสงภายในตัวเขาได้
  • 14:18 - 14:21
    ไม่ว่าจะเป็นโยคีผู้เลื่องชื่อ หรือหมอผีผู้ปลีกวิเวกอยู่ในถ้ำ
  • 14:21 - 14:27
    หรือนักพรตเต๋า หรือผู้ก่อตั้งเผ่ามายา หรือพระทิเบต
  • 14:27 - 14:29
    ในทุกประเพณีปฏิบัติมีช่วงเวลาที่ผู้บำเพ็ญต้องเข้าไปอยู่ในความมืดเพียงลำพัง
  • 14:29 - 14:36
    ต่อมไพเนียลคือทางเข้าสู่การรับประสบการณ์แห่งพลังลึกลับของบุคคลโดยตรง
  • 14:36 - 14:42
    นักปรัชญาชื่อ นิตเช่ กล่าวว่า "หากคุณจ้องเข้าไปในหุบเหวจนนานพอ
  • 14:42 - 14:46
    ในที่สุดคุณจะพบว่าหุบเหวจ้องกลับมาที่คุณ"
  • 14:46 - 14:52
    เพิงหินหรือที่เก็บศพโบราณจัดเป็นสิ่งก่อสร้างเก่าแก่ที่สุดที่ยังคงเหลืออยู่ในโลก
  • 14:52 - 14:57
    ส่วนใหญ่สร้างขึ้นในยุคหินใหม่คือ 3000-4000 ปีก่อนคริสต์ศักราช
  • 14:57 - 15:04
    และมีบางส่วนอยู่ในยุโรปตะวันตกซึ่งมีอายุกว่า 7000 ปี
  • 15:05 - 15:10
    เพิงหินถูกใช้เพื่อเข้าฌานแบบต่อเนื่อง
  • 15:10 - 15:17
    ซึ่งเป็นวิธีหนึ่งสำหรับมนุษย์ที่จะสร้างสะพานเชื่อมระหว่างโลกภายในและโลกภายนอก
  • 15:18 - 15:25
    เมื่อบุคคลเข้าฌานท่ามกลางความมืดสนิทอย่างต่อเนื่อง
  • 15:26 - 15:32
    ในที่สุดเขาก็จะเริ่มสังเกตเห็นพลังภายในหรือแสงเมื่อดวงตาที่สามใช้งานได้
  • 15:32 - 15:36
    จังหวะวงจรชีวิต (circadian rhythm) ซึ่งถูกควบคุมโดยการโคจรของดวงอาทิตย์และดวงจันทร์
  • 15:36 - 15:40
    ไม่ได้ควบคุมการทำงานของร่างกายอีกต่อไป
  • 15:40 - 15:47
    และจังหวะใหม่ได้ถูกสร้างขึ้นแล้ว
  • 15:47 - 15:51
    จักระที่เจ็ด เมื่อหลายพันปีก่อน
  • 15:51 - 15:58
    ถูกแทนด้วยสัญลักษณ์ "โอม"
  • 16:00 - 16:04
    ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่ถูกสร้างขึ้นด้วยเครื่องหมายในภาษาสันสกฤตแสดงถึงธาตุองค์ประกอบต่างๆ
  • 16:04 - 16:11
    เมื่อกุณฑาลินีขึ้นมาจนอยู่เหนือจักระที่หก
  • 16:17 - 16:19
    มันเริ่มสร้างรัศมีแห่งพลังงาน (energy halo)
  • 16:19 - 16:22
    รัศมีปรากฎอย่างสม่ำเสมอในงานวาดรูปทางศาสนาของหลายวัฒนธรรมในทุกที่ทั่วโลก
  • 16:22 - 16:28
    รัศมี หรือการแสดงออกถึงสัญลักษณ์แห่งพลังงานรอบๆผู้ที่ตื่นแล้ว
  • 16:28 - 16:32
    เป็นสิ่งสามัญที่พบเห็นได้ในทุกศาสนาและทุกส่วนของโลก
  • 16:32 - 16:35
    กระบวนวิวัฒนาการแห่งการตื่นของจักระทั้งหลาย
  • 16:35 - 16:37
    ไม่ใช่กรรมสิทธ์ของคนกลุ่มหนึ่งหรือศาสนาหนึ่ง
  • 16:37 - 16:44
    มันเป็นสิทธิโดยกำเนิดของมนุษยชาติทุกคนบนดาวดวงนี้
  • 17:31 - 17:34
    จักระกระหม่อมเป็นที่เชื่อมต่อกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์
  • 17:34 - 17:38
    ซึ่งอยู่เหนือทวิลักษณ์
  • 17:38 - 17:43
    เหนือชื่อเรียกและรูปแบบ
  • 17:43 - 17:46
    อเคนาเทนคือฟาโรห์ ผู้ซึ่งมีพระมเหสีชื่อเนเฟอร์ตีติ
  • 17:46 - 17:50
    เขาถูกกล่าวถึงในนามของบุตรแห่งดวงอาทิตย์
  • 17:50 - 17:57
    เขาค้นพบ "อเทน" หรือคำแห่งพระเจ้าภายในตัวเขา
  • 18:08 - 18:12
    ซึ่งผสานกุณฑาลินีและความรู้สึกตัวเข้าด้วยกัน
  • 18:12 - 18:15
    ในประติมานวิทยาของอียิปต์
  • 18:15 - 18:22
    อีกครั้งหนึ่ง ที่ความรู้สึกตัวอันถูกปลุกจนตื่นแล้วถูกแสดงด้วยดวงอาทิตย์
  • 18:22 - 18:28
    ที่เห็นบนศรีษะของพระเจ้าหรือผู้ที่ตื่นรู้แล้ว
  • 18:28 - 18:32
    ในประเพณีของชาวฮินดูและโยคีทั้งหลาย รัศมีนี้เรียกว่า
  • 18:32 - 18:37
    "สหัสราระ", ดอกบัวพันกลีบ
  • 18:37 - 18:44
    พระพุทธเจ้าถูกเชื่อมโยงเข้ากับสัญลักษณ์แห่งดอกบัว
  • 18:47 - 18:51
    รูปแบบการเรียงกลีบในสหัสราระ
  • 18:51 - 18:55
    เป็นรูปแบบเดียวกับที่พบในดอกบัวบาน
  • 18:55 - 19:02
    มันคือรูปแบบของดอกไม้แห่งชีวิต
  • 19:04 - 19:07
    เมล็ดพันธุ์แห่งชีวิต
  • 19:07 - 19:14
    มันเป็นรูปแบบพื้นฐานซึ่งนำไปสู่ความลงตัวของทุกรูปแบบ
  • 19:18 - 19:23
    มันเป็นรูปร่างของอวกาศ หรือคุณสมบัติโดยกำเนิดของอากาสา
  • 19:23 - 19:27
    มีครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ที่สัญลักษณ์ดอกไม้แห่งชีวิตถูกเผยแพร่ไปทั่วโลก
  • 19:27 - 19:29
    พบว่าดอกไม้แห่งชีวิตถูกคุ้มครองไว้โดยสิงโตทั้งหลาย
  • 19:29 - 19:31
    ในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์เกือบทั้งหมดในประเทศจีนและสถานที่อื่นๆในเอเชีย
  • 19:31 - 19:33
    เฮกซาแกรม (hexagrams) จำนวน 64 รูปของอี้จิงที่อยู่รอบๆสัญลักษณ์หยินหยาง
  • 19:33 - 19:37
    ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่แสดงถึงดอกไม้แห่งชีวิต
  • 19:37 - 19:44
    ภายในดอกไม้แห่งชีวิต ก็คือพื้นฐานทางเรขาคณิต
  • 19:54 - 20:01
    สำหรับทุกทรงตันเพลโต (platonic solids)
  • 20:03 - 20:06
    ซึ่งโดยพื้นฐานแล้วทุกรูปทรงสามารถเกิดขึ้นได้
  • 20:06 - 20:13
    ดอกไม้แห่งชีวิตโบราณเริ่มด้วยทรงเรขาคณิต
  • 20:17 - 20:22
    ของดวงดาวแห่งเดวิด หรือรูปสามเหลี่ยมหงายขึ้นและหงายลงประกบกัน
  • 20:22 - 20:27
    หรือในรูปทรงสามมิติ สิ่งเหล่านี้จัดอยู่ในโครงสร้างแบบเตตระฮีดรอน (ปิรามิดฐานสามเหลี่ยมสี่หน้า)
  • 20:27 - 20:30
    สัญลักษณ์นี้คือยันตระ ซึ่งเป็นโปรแกรมชนิดหนึ่งที่ดำรงอยู่ในจักรวาล
  • 20:30 - 20:33
    เป็นเครื่องจักรที่สร้างโลกแห่งแฟร็คทัลของพวกเรา
  • 20:33 - 20:37
    ยันตระถูกใช้เป็นเครื่องมือสำหรับปลุกความรู้สึกตัวมาได้กว่าพันปีแล้ว
  • 20:37 - 20:40
    รูปแบบที่เห็นได้ด้วยตาของยันตระคือการแสดงออกภายนอก
  • 20:40 - 20:45
    ของกระบวนการภายในแห่งการเผยตัวทางจิตวิญญาณ
  • 20:45 - 20:49
    มันเป็นเพลงซ่อนเร้นแห่งจักรวาลที่ถูกทำให้มองเห็นได้
  • 20:49 - 20:56
    ประกอบด้วยรูปทรงเรขาคณิตที่ตัดกันและรูปแบบการแทรกซ้อนต่างๆ
  • 20:56 - 21:01
    แต่ละจักระคือดอกบัว ยันตระ ศูนย์กลางแห่งจิตและกาย
  • 21:01 - 21:04
    ที่ซึ่งได้รับประสบการณ์ของโลกทั้งโลกผ่านมัน
  • 21:04 - 21:06
    ยันตระตามประเพณี เช่นแบบที่พบในประเพณีทิเบต
  • 21:06 - 21:11
    ได้ถูกสวมไว้ด้วยหลากชั้นแห่งความหมายอันอุดม
  • 21:11 - 21:18
    ซึ่งบางครั้งก็รวมเข้าไว้ในวิสัยทัศน์แห่งจักรวาลและโลกอย่างสมบูรณ์แบบ
  • 21:18 - 21:22
    ยันตระคือรูปแบบของการพัฒนาอย่างคงที่
  • 21:22 - 21:29
    ซึ่งทำงานผ่านพลังแห่งการเกิดซ้ำ หรือการทำซ้ำของวัฏจักร
  • 21:39 - 21:45
    พลังของยันตระคือทุกอย่างแต่มันได้สูญหายไปแล้วในโลกปัจจุบัน
  • 21:45 - 21:52
    เพราะพวกเราค้นหาความหมายเพียงในรูปแบบภายนอก
  • 21:55 - 22:02
    และพวกเราก็ไม่ได้เชื่อมต่อกับพลังภายในของเราผ่านเจตนา
  • 22:21 - 22:25
    มันมีเหตุผลทีเดียวที่นักบวช พระ และโยคี
  • 22:25 - 22:30
    ตามประเพณีแล้วต้องอยู่เป็นโสด
  • 22:30 - 22:33
    ทุกวันนี้ก็เป็นอย่างนั้นแต่มีเพียงจำนวนน้อยที่รู้ว่าทำไมพวกเขาต้องฝึกละเว้นการมีเพศสัมพันธ์
  • 22:33 - 22:35
    เพราะจุดประสงค์ที่แท้จริงได้สูญหายไปแล้ว
  • 22:35 - 22:38
    อธิบายง่ายๆ หากพลังงานของเธอถูกใช้ไปในการผลิตตัวอสุจิหรือไข่เสียแล้ว
  • 22:38 - 22:42
    กรณีอย่างนี้ย่อมมีเชื้อเพลิงเหลือไม่มากที่จะส่งกุณฑาลินีให้พุ่งขึ้น
  • 22:42 - 22:45
    เพื่อไปกระตุ้นจักระต่างๆที่อยู่สูงขึ้นไป
  • 22:45 - 22:52
    กุณฑาลินีคือพลังชีวิต ซึ่งก็คือพลังทางเพศด้วย
  • 22:59 - 23:02
    เมื่อความตระหนักรู้มุ่งไปที่แรงเร้าแห่งสัตว์น้อยลง
  • 23:02 - 23:05
    และถูกวางไว้ในวัตถุที่สะท้อนถึงจักระต่างๆที่อยู่สูงกว่า
  • 23:05 - 23:08
    พลังจะไหลผ่านกระดูกสันหลังขึ้นไปสู่จักระทั้งหลายเหล่านั้น
  • 23:08 - 23:12
    แบบฝึกหัดตันตระจำนวนมากสอนวิธีควบคุมพลังเพศ
  • 23:12 - 23:16
    ดังนั้นมันจึงสามารถใช้เพื่อวิวัฒนาการทางจิตวิญญาณในระดับสูงกว่า
  • 23:16 - 23:19
    สภาวะแห่งการรู้สึกตัวของเธอสร้างเงื่อนไขที่เหมาะสม
  • 23:19 - 23:24
    สำหรับพลังงานของเธอให้มีความสามารถในการเติบโต
  • 23:24 - 23:31
    การเข้าสู่ภาวะแห่งการรู้สึกตัวใช้เวลาไม่นาน
  • 23:34 - 23:38
    อย่างที่ เอกฮาร์ต โทลเล่ กล่าวว่า "ความตระหนักรู้และการดำรงอยู่เกิดขึ้นในปัจจุบันขณะเสมอ"
  • 23:38 - 23:42
    หากเธอกำลังพยายามกระทำบางสิ่งให้เกิดขึ้น
  • 23:42 - 23:49
    นั่นคือเธอกำลังสร้างแรงต้านทานสิ่งที่กำลังเป็นอยู่
  • 23:50 - 23:55
    มันคือการกำจัดแรงต้านทั้งหมด
  • 23:55 - 24:02
    ที่ยอมให้พลังแห่งวิวัฒนาการเผยตัวออกมา
  • 24:07 - 24:10
    ในวัฒนธรรมโยคะโบราณ ท่าร่างต่างๆของโยคะถูกใช้
  • 24:10 - 24:13
    เพื่อเตรียมร่างกายให้พร้อมสำหรับเข้าฌาน
  • 24:13 - 24:16
    หฐโยคะไม่ได้เจตนาให้เป็นการออกกำลังกายเสียทั้งหมด
  • 24:16 - 24:21
    แต่เป็นวิธีเชื่อมโลกภายในและโลกภายนอกของบุคคล
  • 24:21 - 24:24
    คำสันสกฤตว่า "หฐ" หมายถึงดวงอาทิตย์ "ห" และดวงจันทร์ "ฐ"
  • 24:24 - 24:28
    ในโยคะดั้งเดิมพระสูตรของปตัญชลี
  • 24:28 - 24:31
    มีองค์แปดแห่งโยคะ
  • 24:31 - 24:38
    ซึ่งมีผู้นำมาเทียบเคียงกับมรรคแปดแห่งพระพุทธเจ้า
  • 24:38 - 24:42
    ในแง่ของความเป็นอิสระจากความทุกข์ทรมาน
  • 24:42 - 24:45
    เมื่อขั้วทั้งสองของโลกแห่งทวิลักษณ์อยู่ในสมดุล
  • 24:45 - 24:50
    สิ่งที่สามได้ถือกำเนิดขึ้น
  • 24:50 - 24:54
    เราพบกุญแจทองอันลึกลับที่ไข
  • 24:54 - 25:01
    พลังแห่งวิวัฒนาการของธรรมชาติ
  • 25:02 - 25:05
    การสังเคราะห์กันของดวงอาทิตย์และดวงจันทร์เช่นนี้ คือพลังแห่งวิวัฒนาการของพวกเรา
  • 25:05 - 25:07
    เพราะมนุษย์ในปัจจุบันถูกนิยามอย่างผูกขาด
  • 25:07 - 25:11
    ด้วยความคิดของพวกเขาและโลกภายนอก
  • 25:11 - 25:15
    น้อยนักที่บุคคลจะเข้าถึงสมดุลของแรงภายในและภายนอก
  • 25:15 - 25:18
    ซึ่งจะยอมให้กุณฑาลินีตื่นขึ้นเองตามธรรมชาติ
  • 25:18 - 25:21
    สำหรับผู้ซึ่งให้นิยามโดยใช้เฉพาะสิ่งลวงตา
  • 25:21 - 25:24
    กุณฑาลินีย่อมเป็นเพียงการอุปมา
  • 25:24 - 25:28
    ความคิดเห็น
  • 25:28 - 25:35
    มากกว่าที่จะเป็นประสบการณ์ตรงแห่งพลังงานและความรู้สึกตัวของบุคคล
Title:
IWOW - Part 3 - The Serpent and the Lotus
Description:

more » « less
Video Language:
English
Team:
Awaken the World
Project:
Inner Worlds, Outer Worlds
Duration:
26:30

Thai subtitles

Revisions Compare revisions