-
-
ทุกอย่างที่เราได้เจอในการเดินทาง
-
ในวิชาเคมีนั้นเกี่ยวข้องกับเสถียรภาพของ
-
อิเล็กตรอนและตำแหน่งของอิเล็กตรอน
-
ในชั้นที่เสถียร
-
และเช่นเดียวกับสิ่งต่างๆ ในชีวิต
ถ้าคุณสำรวจอะตอม
-
ลึกลงไป คุณจะพบว่าอิเล็กตรอนไม่ได้
-
เป็นสิ่งเดียวที่อยู่ในอะตอม
-
นิวเคลียสเองมีอันตรกิริยา หรือมี
-
ความไม่เสถียร ที่ต้องถูกปลดปล่อยออกมาสักทาง
-
นั่นคือสิ่งที่เราจะพูดถึงนิดหน่อย
-
ในวิดีโอนี้
-
และกลไกของมันอยู่นอก
-
บทเรียนเคมีปีหนึ่ง แต่อย่างน้อย
-
การรู้ว่ามันเกิดขึ้นนั้นเป็นเรื่องดี
-
และวันหนึ่ง เมื่อเราเรียนเรื่องแรงนิวเคลียร์อย่างเข้ม
-
และควอนตัมฟิสิกส์ อะไรพวกนั้น แล้วเราจะเริ่ม
-
พูดถึงกันว่าทำไมโปรตอนและนิวตรอนเหล่านี้
-
และควาร์กที่เป็นองค์ประกอบของพวกมัน
จึงมีอันตรกิริยา
-
แบบที่เป็นอยู่
-
พูดอย่างนี้แล้ว ลองมาคิดถึง
-
วิธีต่างๆ ที่นิวเคลียสสามารถสลายตัวได้กัน
-
สมมุติว่าผมมีโปรตอนหลายๆ ตัว
-
ผมจะวาดหลายๆ ตัวตรงนี้
-
โปรตอนบางตัวอยู่ตรงนี้ ผมจะวาดนิวตรอนบ้าง
-
และผมจะวาดด้วยสีกลางๆ
-
ขอผมดูหน่อย สีเทาแบบนี้น่าจะดี
-
ขอผมวาดนิวตรอนตรงนี้นะ
-
ผมมีโปรตอนกี่ตัว?
-
ผมมี 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8
-
ผมจะมีนิวตรอน 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9 ตัว
-
สมมุติว่านี่คือนิวเคลียสของอะตอมเรา
-
นึกดู -- นี่คือ ในวิดีโอแรก
-
ที่ผมพูดถึงเรื่องอะตอม -- นิวเคลียส ถ้าคุณ
-
วาดอะตอมจริงๆ -- มันยากที่จะ
-
วาดอะตอม เพราะมันไม่มีขอบเขตที่ชัดเจน
-
คุณก็รู้ ที่ขณะใดๆ อิเล็กตรอนสามารถ
-
อยู่ที่ใดก็ได้
-
แต่ถ้าคุณบอกว่า โอเค อิเล็กตรอน
-
จะอยู่ตรงไหน 90% ของเวลาที่มี?
-
คุณ็บอกว่า นั่นคือรัศมี หรือนั่น
-
คือเส้นผ่านศูนย์กลางของอะตอม
-
เราเรียนไปในวิดีโอแรกๆ ว่านิวเคลียส
-
คือส่วนเล็กสุดๆ ในปริมาตรของ
-
ทรงกลมนี้ที่อิเล็กตรอนอยู่
ประมาณ 90% ของเวลาที่มี
-
และบทเรียนที่เยี่ยมยอดคือว่า สิ่งที่
-
เรามองเห็นในชีวิตแทบทุกอย่างเป็นเพียงที่ว่าง
-
ทั้งหมดนี้เป็นแค่ที่ว่างเปล่า
-
แต่ผมอยากย้ำเรื่องนั้นเพราะจุดเล็ก
-
จิ๋วที่เราพูดถึงไปก่อนหน้านี้
-
ถึงแม้ว่ามันจะเป็นส่วนเล็กมากๆ เทียบกับ
-
ปริมาตรของอะตอม -- มันเกือบเป็น
-
มวลทั้งหมด -- นั่นคือภาพที่ผมขยายจุดตรงนี้
-
พวกนี้ไม่ใช่อะตอม พวกนี้ไม่ใช่อิเล็กตรอน
-
เราได้ขยายเข้าไปข้างในนิวเคลียส
-
และปรากฏว่า บางครั้งนิวเคลียส
-
นั้นไม่เสถียร และมันอยากเปลี่ยนไปมีรูปแบบ
-
ที่เสถียรขึ้น
-
เราจะไม่เรียนกลไกที่กำหนด
-
นิวเคลียสที่ไม่เสถียร อะไรพวกนั้น
-
แต่เพื่อให้ได้นิวเคลียร์ที่เสถียรยิ่งขึ้น
-
บางครั้งมันจะปล่อยสิ่งที่เรียกว่า อนุภาคอัลฟา
-
หรือนี่เรียกว่าสลายตัวอัลฟา
-
การสลายตัวอัลฟา
-
และมันปล่อยอนุภาคอัลฟา
-
ซึ่งฟังดูหรูหรามาก
-
มันก็แค่กลุ่มนิวตรอนกับโปรตอน
-
อนุภาคอัลฟาคือนิวตรอนสองตัว กับโปรตอนสองตัว
-
บางทีพวกนี้ พวกมันไม่รู้สึกว่าพวกมัน
-
เข้าลุ่ม พวกมันจึงจับกลุ่มกันตรงนี้
-
แล้วพวกมันก็ปล่อยตัวออกมา
-
พวกมันออกมาจากนิวเคลียส
-
ลองคิดกันว่าเกิดอะไรขึ้นกับอะตอมเมื่อ
-
อะไรเช่นนั้นเกิดขึ้น
-
สมมุติว่าผมมีธาตุสุ่มมาธาตุหนึ่ง ผมจะเรียก
-
มันว่าธาตุ E
-
สมมุติว่ามันมีโปรตอน p ตัว
-
ที่จริง ขอผมใช้สีนั้นแทนโปรตอนดีกว่า
-
มันมีโปรตอน p ตัว
-
แล้วมันมีเลขมวลอะตอม คือจำนวน
-
โปรตอนบวกจำนวนนิวตรอน
-
และนิวตรอนมีสีเทา จริงไหม?
-
เมื่อมันปล่อยรังสีอัลฟา
-
ธาตุนั้นจะเป็นอย่างไร?
-
โปรตอนของมันจะลดลง 2
-
โปรตอนของมันจะกลายเป็น p ลบ 2
-
แล้วนิวตรอนของมันจะลดลง 2 เช่นกัน
-
มวลของมันจะลดลงไป 4
-
บนนี้ คุณจะได้ p ลบ 2 บวกนิวตรอนลบ 2
-
เราจึงได้ลบ 4
-
มวลของคุณจึงลดลง 4 และคุณ
-
จะได้ธาตุใหม่
-
นึกดู ธาตุของเรากำหนดโดย
-
จำนวนโปรตอน
-
ในการสลายตัวอลัฟา เมื่อคุณเสียนิวตรอนสองตัว
-
และโปรตอนสองตัว โดยเฉพาะโปรตอนจะ
-
ทำให้คุณได้ธาตุอีกธาตุ
-
ถ้าเราเรียกว่าธาตุนี้ว่า 1 ผมจะเรียกมันว่า
-
เราจะได้ธาตุอีกธาตุแล้วตอนนี้ เรียกว่าธาตุ 2
-
และถ้าคุณคิดว่ามันสร้างอะไร เรากำลังปล่อย
-
สิ่งที่มีโปรตอนสองตัว
-
และมันมีนิวตรอนสองตัว
-
มวลของมันจะเท่ากับมวลของโปรตอนสองตัว
-
กับนิวตรอนสองตัว
-
เรากำลังปล่อยอะไร?
-
เรากำลังปล่อยสิ่งที่มีมวลเป็น 4
-
ถ้าคุณดู อะไรมีโปรตอน 2 ตัวกับนิวตรอน 2 ตัว?
-
ผมไม่จำตารางธาตุในหัว
-
-
ผมลืมลอกมันมาในวิดีโอนี้
-
แต่คุณไม่ต้องใช้เวลาหาในตารางธาตุนานนัก
-
ว่าธาตุที่มีโปรตอน 2 ตัวคืออะไร มันคือฮีเลียม
-
มันมีมวลอะตอมเป็น 4
-
นี่คือนิวเคลียสฮีเลียมที่มันปล่อยใน
-
การสลายตัวอัลฟา
-
นี่คือนิวเคลียสฮีเลียม
-
-
และเนื่องจากมันเป็นนิวเคลียสฮีเลียม และมันไม่มี
-
อิเล็กตรอนมากระทับกับโปรตอนสองตัว มันจะเป็น
-
ไอออนฮีเลียม
-
มันไม่มีอิเล็กตรอนเลย
-
มันมีโปรตอน 2 ตัว มันจึงมีประจุเป็นบวก 2
-
-
อนุภาคอัลฟา จริงๆ แล้วก็คือฮีเลียมไอออน ไอออน
-
ฮีเลียมที่มีประจุบวก 2 มันถูกปล่อยมาจาก
-
นิวเคลียสทัทีเพื่อไปยังสถานะที่เสถียรขึ้น
-
นั่นคือการสลายตัวประเภทหนึ่ง
-
ลองสำรวจประเภทอื่นกัน
-
ขอผมวาดนิวเคลียสอีกตัวตรงนี้นะ
-
ผมจะวาดนิวตรอน
-
ผมจะโปรตอนบ้าง
-
-
ปรากฏว่าบางครั้ง นิวตรอนรู้สึกว่า
-
ไม่พอใจในตัวเอง
-
มันดูสิ่งที่โปรตอนทำเป็นประจำ แล้วบอกว่า
-
รู้ไหม?
-
ด้วยเหตุผลบางอย่าง เวลาฉันมองเข้าไปในตัวตน
ฉันรู้สึกว่าฉัน
-
จริงๆ แล้วควรเป็นโปรตอน
-
ถ้าฉันเป็นโปรตอน นิวเคลียสทั้งหมดจะ
-
เสถียรกว่านี้
-
แล้วสิ่งที่มันทำคือ มันกลายเป็นโปรตอน -- นึกดู
-
นิวตรอนมีประจุเป็นกลาง
-
สิ่งที่มันก็คือ มันปล่อยอิเล็กตรอน
-
และผมรู้ คุณจะบอกว่า ซาล มันบ้ามาก ฉัน
-
ไม่รู้เลยว่านิวตรอนมีอิเล็กตรอน
-
ในนั้นด้วย อะไรอย่างนั้น
-
และผมเห็นด้วยกับคุณ
-
มันบ้ามาก
-
และวันหนึ่ง เราจะศึกษาว่ามีอะไร
-
อยู่ในนิวเคลียสบ้าง
-
แต่ลองคิดไปก่อนว่ามันปล่อยอิเล็กตรอนได้
-
ตัวนี้ปล่อยอิเล็กตรอน
-
-
และเราแสดงมันได้ -- มวลของมันประมาณเท่ากับ 0
-
เรารู้ว่าอิเล็กตรอนจริงๆ แล้วไม่ได้มีมวลเป็นศูนย์
-
แต่เรากำลังพูดถึงหน่วยมวลอะตอม
-
ถ้าโปรตอนเป็น 1 อิเล็กตรอนจะเป็น
1/1,836 ของค่านั้น
-
เราจึงปัดมันทิ้ง
-
เราบอกว่ามันมีมวลเป็น 0
-
มวลของมันจริงๆ แล้วไม่ใช่ 0
-
และประจุของมันเป็นลบ 1
-
เลขอะตอม คุณบอกว่าเลข
-
อะตอมเป็นลบ 1 ก็ได้
-
มันปล่อยอิเล็กตรอน
-
และเมื่อปล่อยอิเล็กตรอน
แทนที่จะเป็นนิวตรอน ตอนนี้
-
มันเปลี่ยนเป็นโปรตอนแล้ว
-
-
และนี่เรียกว่าการสลายตัวบีต้า
-
-
และอนุภาคบีต้าจริงๆ
แล้วก็แค่อิเล็กตรอนที่ปล่อยออกมา
-
ลองกลับไปดูธาตุของเรากัน
-
มันมีโปรตอนจำนวนหนึ่ง และมันมี
-
นิวตรอนจำนวนหนึ่ง
-
คุณมีโปรตอนกับนิวตรอน แล้วคุณได้
-
เลขมวลของคุณมา
-
เมื่อมันผ่านการสลายตัวบีต้า จะเกิดอะไรขึ้น?
-
โปรตอนเปลี่ยนไปไหม?
-
แน่นอน เรามีโปรตอนมากกว่าแต่ก่อนอยู่ 1 ตัว
-
เพราะนิวตรอนเปลี่ยนไปเป็นโปรตอน 1 ตัว
-
โปรตอนของเราจึงกลายเป็นบวก 1
-
เลขมวลเปลี่ยนไปหรือไม่?
-
ลองดูกัน
-
นิวตรอนลดลงไป 1 แต่
-
โปรตอนเพิ่มขึ้น 1
-
เลขมวลจึงไม่เปลี่ยนไป
-
มันจะเท่ากับ p บวก N
-
มวลของเรายังเท่าเดิม ไม่เหมือนกับ
-
การสลายตัวอัลฟา แต่ธาตุของคุณเปลี่ยนไป
-
จำนวนโปรตอนของคุณเปลี่ยนไป
-
ทีนี้ เหมือนเดิม คุณจะได้ธาตุใหม่จาก
-
การสลายตัวบีต้า
-
ทีนี้ สมมุติว่าเรามีอีกกรณีหนึ่ง
-
สมมุติว่าเรามีกรณีที่โปรตอนตัวหนึ่งในนี้
-
มองดูนิวตรอน แล้วบอกว่า รู้ไหม?
-
ฉันเห็นนิวตรอนใช้ชีวิตยังไง
-
มันโดนใจฉันมาก
-
ฉันว่าฉันจะรู้สึกเข้ากลุ่มดีกว่านี้ ในสังคมอนุภาค
-
ในนิวเคลียสนั้น มันจะดีกว่าถ้าฉัน
-
เป็นนิวตรอนด้วย
-
เราจะอยู่ในสถานการณ์ที่เสถียรกว่านี้
-
สิ่งที่พวกมันทำคือ โปรตอนที่ค่อนข้างอึดอัดนี้
-
มีโอกาสจะปล่อย -- และตอนนี้นี่คือ
-
แนวคิดใหม่สำหรับคุณ -- โพสิตรอน ไม่ใช่โปรตอน
-
มันปล่อยโพสิตรอนออกมา
-
แล้วโพสิตรอนคืออะไร?
-
มันคืออนุภาคที่
-
มีมวลเท่ากับอิเล็กตรอนพอดี
-
มันมีมวล 1/1836 เท่าของโปรตอน
-
แต่เราใส่ 0 ตรงนี้เพราะในหน่วยมวลอะตอม
-
มันใกล้ 0 มาก
-
แต่มันมีประจุบวก
-
และมันน่าสับสนเล็กน้อย เพราะเขายังเขียน
-
e ตรงนี้
-
เมื่อใดก็ตามที่ผมเห็น e ผมจะคิดถึงอิเล็กตรอน
-
แต่ไม่ เขาบอกว่า e เพราะมันเป็นอนุภาค
-
ประเภทเดียวกัน แต่แทนที่จะมีประจุลบ
-
มันมีประจุบวก
-
นี่คือโพสิตรอน
-
-
และตอนนี้ เราเริ่มเจออนุภาค
-
และสิ่งต่างๆ ที่พิเศษขึ้นแล้ว
-
แต่มันเกิดขึ้นจริง
-
และถ้าคุณมีโปรตอนที่ปล่อยอนุภาคนี้
-
มันมีประจุบวกไปกับมันด้วย
-
โปรตอนนี้กลายเป็นนิวตรอน
-
และนั่นเรียกว่าการปล่อยโพสิตรอน
-
การปล่อยโพสิตรอนนั้นจำง่าย
-
เพราะเขาเรียกมันว่าการปล่อยโพสิตรอน
-
ถ้าเราเริ่มต้นด้วย E เดิม มันมีจำนวน
-
โปรตอนค่าหนึ่ง และนิวตรอนค่าหนึ่ง
-
แล้วธาตุใหม่จะเป็นอย่างไร?
-
มันจะเสียโปรตอนไปเป็น p ลบ 1
-
และมันจะกลายเป็นนิวตรอน
-
p จะลดลงไป 1
-
N จะเพิ่มขึ้น 1
-
มวลของอะตอมทั้งหมดจะไม่เปลี่ยนไป
-
มันจะเท่ากับ p บวก N
-
แต่เรายังได้ธาตุคนละตัว จริงไหม?
-
เวลาเรามีการสลายตัวบีต้า เราเพิ่ม
-
จำนวนโปรตอน
-
เราขยับไปทางขวาของตารางธาตุ
-
หรือเราเพิ่ม อืม คุณคงเข้าใจ
-
เมื่อเรามีการปล่อยโพสิตรอน เราลด
-
จำนวนโปรตอนลง
-
และที่จริงผมควรเขียนมันตรงนี้
-
ในปฏิกิริยาทั้งคู่นี้
-
นี่คือการปล่อยโพสิตรอน และผมเหลือ
-
โพสิตรอนหนึ่งตัว
-
และในการสลายตัวบีต้า
ผมเลือกแค่อิเล็กตรอนหนึ่งตัว
-
มันเขียนเหมือนกันเลย
-
คุณรู้ว่านี่คืออิเล็กตรอนเพราะมันมีประจุลบ 1
-
คุณรู้ว่านี่คือโพสิตรอนเพราะมัน
-
มีประจุบวก 1
-
ทีนี้ มันมีการสลายตัวประเภทสุดท้ายที่
-
คุณควรรู้จัก
-
และมันไม่เปลี่ยนจำนวนโปรตอนหรือนิวตรอน
-
ในนิวเคลียส
-
แต่มันปล่อยพลังงานมหาศาล หรือบางครั้งเรียกว่า
-
โฟตอนพลังงานสูงก็ได้
-
และมันเรียกว่าการสลายตัวแกมมา
-
และการสลายตัวแกมมาหมายความว่า
ธาตุเหล่านี้เรียงตัวกันเองใหม่
-
-
บางที มันอาจใกล้กันมากขึ้น
-
และเมื่อทำเช่นนั้น มันจะปล่อยพลังงานในรูป
-
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความยาวคลื่นสั้นมาก
-
ซึ่งก็คือแกมมา คุณเรียกมันว่า
-
อนุภาคหรือรังสีแกมมา
-
และมันมีพลังงานสูงมาก
-
รังสีแกมมาคือสิ่งที่คุณไม่อยากเข้าใกล้
-
มันมีโอกาสฆ่าคุณได้
-
ทุกอย่างที่เราทำ ที่ผมบอก
ค่อนข้างเป็นเรื่องทางทฤษฎี
-
ลองทำโจทย์จริงๆ ลองหาว่า
-
เรากำลังยุ่งกับการสลายตัวแบบใดกัน
-
ตรงนี้เรามีแบริเลียม-7 โดย 7
-
คือมวลอะตอมของมัน
-
และผมได้ว่า มันเปลี่ยนเป็นลิเธียม-7
-
เกิดอะไรขึ้นตรงนี้?
-
แบริเลียม มวลนิวเคลียร์เท่าเดิม แต่ผม
-
จะเปลี่ยนโปรตอน 4 ตัวเป็นโปรตอน 3 ตัว
-
ผมกำลังลดจำนวนโปรตอน
-
มวลโดยรวมของผมไม่เปลี่ยนไป
-
มันจึงไม่ใช่การสลายตัวอัลฟาแน่นอน
-
การสลายตัวอัลฟา คุณก็รู้ คุณจะปล่อย
-
ฮีเลียมทั้งตัวจากนิวเคลียส
-
แล้วผมกำลังปล่อยอะไร?
-
ผมกำลังปล่อยประจุบวกหนึ่งตัว หรือผม
-
ปล่อยโพสิตรอน
-
และที่จริง ผมมีอันนี้ในสมการนี้
-
นี่คือโพสิตรอน
-
ประเภทการสลายตัว
จากแบริเลียม-7 เป็นลิเธียม-7 ก็คือ
-
การปล่อยโพสิตรอน
-
ใช้ได้
-
ทีนี้ลองดูอันต่อไปบ้าง
-
เรามียูเรเนียม-238 สลายตัวเป็นธอเรียม-234
-
และเราเห็นว่ามวลอะตอมลดลง 4 ลบ
-
4 แล้วเลขอะตอมลดลง หรือ
-
โปรตอนของคุณลดลงไป 2
-
คุณต้องปล่อย สิ่งที่มี
-
มวลอะตอมเป็น 4 และเลขอะตอม
-
เป็น 2 หรือก็คือฮีเลียม
-
นี่จึงเป็นการสลายตัวอัลฟา
-
อันนี้ตรงนี้จึงเป็นอนุภาคอัลฟา
-
และนี่คือตัวอย่างการสลายตัวอัลฟา
-
ทีนี้ คุณอาจบอกว่า เฮ้ ซาล มันมีเรื่องแปลก
-
เกิดขึ้นตรงนี้
-
เนื่องจากฉันไปจากโปรตอน 92 ตัวเป็น 90 ตัว
-
ฉันยังมีอิเล็กตรอน 92 ตัวข้างนอกนั่น
-
ทำไมตอนนี้ฉันจึงไม่มีประจุลบ 2 ล่ะ?
-
ยิ่งกว่านั้น ฮีเลียมที่ฉันกำลังปล่อยไป มันไม่มี
-
อิเล็กตรอนอยู่เลย
-
มันก็แค่นิวเคลียสฮีเลียม
-
มันไม่ได้มีประจุบวก 2 เหรอ?
-
ถ้าคุณพูดอย่างนั้น คุณก็พูดถูกแล้ว
-
แต่ความจริงคือวา เมื่อการสลายตัวเช่นนี้เกิดขึ้น
-
ธอเรียม มันไม่มีสาเหตุที่จะดึงอิเล็กตรอนสองตัวนั้น
-
ไว้ อิเล็กตรอนสองตัวนั้นจึงจากไปและ
-
ธอเรียมกลายเป็นกลางเหมือนเดิม
-
และฮีเลียมก็รวดเร็วมากเช่นกัน
-
มันอยากได้อิเล็กตรอนสองตัวเพื่อให้มันเสถียร
-
มันจึงจับอิเล็กตรอนสองตัวที่มันได้
-
เจอ แล้วมันก็เสถียร
-
คุณจึงเขียนแบบไหนก็ได้
-
ทีนี้ ลองทำอีกสมการกัน
-
ตรงนี้ผมมีไอโอดีน
-
-
ลองดูกันว่าเกิดอะไรขึ้น
-
มวลของผมไม่เปลี่ยน
-
ผมจึงต้องมีโปรตอนเปลี่ยนเป็นนิวตรอน
-
หรือนิวตรอนเปลี่ยนเป็นโปรตอน
-
และผมเห็นตรงนี้ว่าผมมีโปรตอน 53 ตัวและ
-
ตอนนี้ผมมีโปรตอน 54 ตัว
-
นิวตรอนจึงต้องเปลี่ยนเป็นโปรตอน
-
นิวตรอนต้องกลายเป็นโปรตอน
-
และวิธีที่นิวตรอนเปลี่ยนเป็นโปรตอน
-
คือการปล่อยอิเล็กตรอน
-
และเราเห็นมันในปฏิกิริยานี่ตรงนี้
-
อิเล็กตรอนถูกปล่อยออกมา
-
และนี่คือการสลายตัวบีต้า
-
นี่คืออนุภาคบีต้า
-
-
และเหตุผลนั้นเป็นจริง
-
คุณอาจจะบอกว่า เฮ้ เดี๋ยวนะ ฉันเปลี่ยนจาก
โปรตอน 53 เป็น 54 ตัว
-
ตอนนี้ฉันมีโปรตอนเกินมา ฉัน
-
ไม่ต้องมีประจุบวกตรงนี้เหรอ?
-
คุณจะมีก็ได้
-
แต่มันอาจ -- อาจไม่ได้อิเล็กตรอน
-
เท่านี้พอดี มันมีอิเล็กตรออยู่ข้างนอกมากมาย --
-
มันจะจับอิเล็กตรอนจากสักแห่งเพื่อให้มันเสถียร
-
แล้วมันจะเสถียรอีกครั้ง
-
แต่คุณคิดถูกแล้วว่า มันจะ
-
ไม่ใช่ไอออนเป็นเวลาสั้นๆ เหรอ?
-
ลองทำอีกกัน
-
เรามี เรดอน-222 -- มันมีเลขอะตอมเป็น 86 --
-
กลายเป็นโพโลเนียม-218 ที่มีเลขอะตอม 84
-
และนี่คือข้อมูลเสริมที่น่าสนใจ
-
โพโลเนียมตั้งชื่อจากโปแลนด์ เพราะมารี คูรี
-
เธอ -- ในเวลานั้น โปแลนด์ นี่คือตอน
-
ปลายศตรวรรษ แถวๆ ปลาศตวรรษปี 1800
โปแลนด์ไม่ได้
-
เป็นประเทศที่แยกออกมา
-
มันถูกแบ่งเป็นของปรัสเซีย รัสเซีย และออสเตรีย
-
แล้วเขาอยากให้คนรู้ว่า เฮ้
-
รู้ไหม เราคิดว่าเราเป็นกลุ่มคน
-
เขาค้นพบว่า เมื่อเรดอนสลายตัว มัน
-
เกิดธาตุนี้ขึ้นมา
-
และเขาตั้งชื่อมันตามบ้านเกิด คือประเทศโปแลนด์
-
นั่นคือสิทธิพิเศษของการค้นพบธาตุใหม่
-
แต่ช่างเถอะ กลับมาที่ปัญหากัน
-
เกิดอะไรขึ้น?
-
มวลอะตอมของเราลดลง 4
-
เลขอะตอมลดลง 2
-
เหมือนเดิม เราต้องปล่อยอนุภาคฮีเลียม
-
นิวเคลียสฮีเลียม สิ่งที่มีมวลอะตอม
-
เป็น 4 และเลขอะตอมเป็น 2
-
แล้วเราก็จบแล้ว
-
นี่คือการสลายตัวอัลฟา
-
เราเขียนอันนี้เป็นนิวเคลียสฮีเลียมได้
-
มันไม่มีอิเล็กตรอน
-
เราบอกได้ทันทีว่าตัวนี้
-
มีประจุลบ แต่มันจะหายไป