ทำไมยามักจะมีผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายต่อผู้หญิง
-
0:01 - 0:03พวกเราไปหาหมอกันทั้งนั้น
-
0:05 - 0:09และเราไปหาหมอด้วยความไว้เนื้อเชื่อใจ
-
0:09 - 0:13ว่าหมอจะทำการทดสอบเพื่อวินิจฉัย
และจัดยาเพื่อรักษาเรา -
0:13 - 0:16โดยมีหลักการและหลักฐานอ้างอิง --
-
0:16 - 0:19หลักฐานที่ออกแบบมาเพื่อช่วยพวกเรา
-
0:20 - 0:26อย่างไรก็ดี ความจริงก็คือว่า
มันไม่ได้เป็นอย่างนั้นในทุกกรณี -
0:27 - 0:28และถ้าหากฉันบอกกับคุณว่า
-
0:28 - 0:32วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ถูกค้นพบ
ตลอดศตวรรษที่ผ่านมา -
0:32 - 0:36อ้างอิงอยู่กับกลุ่มประชากร
แค่เพียงครึ่งเดียวล่ะ -
0:36 - 0:38ฉันเป็นแพทย์ฉุกเฉิน
-
0:39 - 0:42และถูกฝึกมาเพื่อเตรียมให้การรักษา
ในสถานการณ์ฉุกเฉิน -
0:43 - 0:47มันเกี่ยวข้องกับการช่วยชีวิต
เจ๋งใช่ไหมล่ะคะ -
0:48 - 0:52ค่ะ คนไข้ส่วนใหญ่ก็น้ำมูกไหล
หรือหัวแม่เท้าโดนอะไรตำมา -
0:52 - 0:55แต่ไม่ว่าใครก็ตาม
ที่ผ่านประตูห้องฉุกเฉินเข้ามา -
0:55 - 0:58เราก็ทำการทดสอบแบบเดียวกัน
-
0:58 - 1:00เราจัดยาเพื่อการรักษาแบบเดียวกัน
-
1:00 - 1:04โดยไม่เคยนึกถึงเพศหรือเพศสภาพ
ของผู้ป่วยเลย -
1:05 - 1:07ทำไมเราจะต้องไปคำนึงถึงด้วย
-
1:07 - 1:11เราไม่เคยถูกสอนว่า มันมีความแตกต่าง
ระหว่างชายหญิง -
1:11 - 1:15การศึกษาจากสำนักงานบัญชีกลาง
เมื่อไม่นานมานี้เปิดเผยว่า 80 เปอร์เซ็นต์ -
1:15 - 1:18ของยาที่สุ่มจากตลาด
-
1:18 - 1:20มีผลค้างเคียงกับผู้หญิง
-
1:21 - 1:23ฉะนั้น ลองนึกถึงสิ่งนี้กันสักครู่
-
1:23 - 1:27ทำไมเราถึงพบผลข้างเคียงในผู้หญิง
-
1:27 - 1:31หลังจากที่ยาถูกปล่อยให้ขาย
ในท้องตลาดไปแล้ว -
1:31 - 1:37คุณรู้ไหมคะว่ามันใช้เวลาหลายปี
ที่จะเปลี่ยนจากแค่ความคิด -
1:37 - 1:40ไปเป็นยาที่ถูกทำการทดสอบในเซลล์
ในห้องทดลอง -
1:40 - 1:42ไปถึงการศึกษาในสัตว์
-
1:42 - 1:44และจากนั้นการทดสอบทางคลินิคในมนุษย์
-
1:45 - 1:48และในที่สุดผ่านขั้นตอนกระบวนการ
รับรองตามมาตราฐาน -
1:48 - 1:53เพื่อที่มันจะถูกนำไปใช้
โดยแพทย์ที่จ่ายยาให้กับคุณ -
1:54 - 1:58นี่ยังไม่รวมถึงเงินมากมายมหาศาล
ที่ใช้ในการสนับสนุนวิจัย -
1:58 - 2:00ที่ต้องใช้ในกระบวนการนี้
-
2:02 - 2:05แล้วทำไมเราจึงพบผลข้างเคียง
ที่ไม่อาจยอมรับได้ -
2:05 - 2:09กับประชากรครึ่งหนึ่ง
หลังจากที่มันผ่านกระบวนการนี้แล้ว -
2:11 - 2:12เกิดอะไรขึ้น
-
2:13 - 2:17ค่ะ มันเป็นเพราะว่า
เซลล์ที่ถูกใช้ในห้องทดลองนั้น -
2:17 - 2:19เป็นเซลล์ของผู้ชาย
-
2:19 - 2:22และสัตว์ที่ถูกใช้ในการศึกษาก็เป็นตัวผู้
-
2:22 - 2:27และการทดสอบทางคลินิค
ก็ยังถูกศึกษาแทบจะในผู้ชายทั้งหมด -
2:29 - 2:35แบบจำลองเพศชาย กลายเป็นแกนหลัก
สำหรับงานวิจัยทางการแพทย์ได้อย่างไร -
2:35 - 2:39ลองมาดูตัวอย่างที่เป็นที่นิยมทางสื่อกัน
-
2:39 - 2:42และมันก็เกี่ยวข้องกับ
ยาแอมเบียน ที่ช่วยในการนอนหลับ -
2:42 - 2:47แอมเบียนถูกปล่อยสู่ตลาด
มากว่า 20 ปีแล้ว -
2:47 - 2:51และตั้งแต่นั้น ใบสั่งยามากมาย
ก็ได้ถูกออกโดยแพทย์ -
2:52 - 2:56หลัก ๆ แล้ว เพื่อผู้หญิง เพราะว่าผู้หญิง
เป็นโรคนอนไม่หลับมากกว่าผู้ชาย -
2:57 - 2:59แต่เมื่อปีที่แล้วนี่เอง
-
2:59 - 3:03องค์การอาหารและยาแนะนำว่า
ให้ลดโดสลงครึ่งหนึ่ง -
3:03 - 3:06สำหรับผู้หญิงเท่านั้น
-
3:06 - 3:08เพราะว่าพวกเขาเพิ่งรู้ว่า
ผู้หญิงเมตาบอไลซ์ (metabolize) ยา -
3:08 - 3:11ในอัตราที่ช้ากว่าผู้ชาย
-
3:11 - 3:13ทำให้พวกเขาตื่นขึ้นมาในตอนเช้า
-
3:13 - 3:17และมียาอยู่ในร่างกายมากกว่า
-
3:17 - 3:21และจากนั้น พวกเขาก็จะง่วงนอน
พวกเขาไปขับรถ -
3:21 - 3:24และพวกเขาจะได้รับความเสี่ยง
ต่อการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน -
3:25 - 3:29และฉันไม่อาจหยุดคิดได้ว่า
ในฐานะแพทย์ฉุกเฉิน -
3:29 - 3:34จะมีคนไข้สักกี่คน
ที่ฉันได้ดูแลในหลายปีที่ผ่านมา -
3:34 - 3:37ที่เกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุทางท้องถนน
-
3:37 - 3:40ที่บางทีอาจถูกป้องกันได้
-
3:40 - 3:45ถ้าการวิเคราะห์แบบนี้ถูกดำเนินการ
และมีการปฏิบัติเมื่อ 20 ปีก่อน -
3:45 - 3:47เมื่อยาตัวนี้ถูกปล่อยออกมาครั้งแรก
-
3:49 - 3:52มีอะไรอีกแค่ไหนที่จะต้องถูกวิเคราะห์
แยกตามเพศ -
3:53 - 3:55เรายังขาดอะไรไปอีกบ้าง
-
3:58 - 4:01สงครามโลกครั้งที่ 2 เปลี่ยนแปลง
อะไรหลายอย่าง -
4:01 - 4:04และอย่างหนึ่งก็คือ
ความต้องการในการปกป้องผู้คน -
4:04 - 4:08จากการตกเป็นเหยื่อของการวิจัย
ทางการแพทย์โดยไม่ได้รับรู้ข้อมูลก่อน -
4:09 - 4:13แนวทางปฏิบัติหรือกฎที่สำคัญถูกกำหนดขึ้น
-
4:13 - 4:18และส่วนหนึ่งก็คือ ความต้องการ
ที่จะปกป้องผู้หญิงในวัยที่อาจมีบุตร -
4:18 - 4:21จากการเข้าสู่
การศึกษาวิจัยทางการแพทย์ -
4:22 - 4:27พวกเขากลัว ว่าจะมีอะไรเกิดขึ้น
กับตัวอ่อนในครรภ์ระหว่างการศึกษา -
4:27 - 4:29ถ้าเป็นอย่างนั้นแล้วใครจะรับผิดชอบ
-
4:30 - 4:32ฉะนั้น นักวิทยาศาสตร์ในเวลานี้
จึงคิดว่า -
4:33 - 4:35นี่มันเป็นเรื่องดีที่แฝงมา
-
4:35 - 4:40เพราะว่า ยอมรับกันเหอะค่ะ -- ร่างกาย
ของผู้ชายค่อนข้างที่จะเหมือน ๆ กัน -
4:41 - 4:44พวกเขาไม่ได้มีระดับฮอร์โมน
ที่ขึ้น ๆ ลง ๆ ตลอดเวลา -
4:44 - 4:48ที่อาจรบกวนผลการทดลอง
ถ้าเราทำการทดลองในผู้ชายเท่านั้น -
4:49 - 4:52มันง่ายกว่า มันถูกกว่า
-
4:54 - 4:56นี่ยังไม่รวมถึง ที่ ณ เวลานี้
มีข้อสรุปโดยทั่วไปว่า -
4:57 - 5:01ชายและหญิงมีความคล้ายกันทุกอย่าง
-
5:01 - 5:04นอกจากอวัยวะสืบพันธุ์และฮอร์โมนเพศ
-
5:05 - 5:08ฉะนั้น มันจึงถูกตัดสินว่า
-
5:09 - 5:13การวิจัยทางการแพทย์
จะดำเนินการในผู้ชาย -
5:13 - 5:15และผลลัพท์ต่อมาก็ค่อยเอาไปใช้
กับผู้หญิง -
5:17 - 5:21สิ่งนี้ส่งผลอย่างไรต่อความเข้าใจ
ในสุขภาพของผู้หญิง -
5:21 - 5:25สุขภาพของผู้หญิง กลายเป็นคำคล้องจอง
กับเรื่องของระบบสืบพันธุ์ -
5:25 - 5:30เต้านม รังไข่ มดลูก การตั้งครรภ์
-
5:30 - 5:33นี่เป็นคำที่ตอนนี้เราเรียกกันในชื่อว่า
"การแพทย์บิกินนี่" -
5:34 - 5:37และมันก็เป็นอย่างนั้นมา
ตั้งแต่ประมาณยุค 1980 -
5:37 - 5:41เมื่อแนวคิดนี้ถูกท้าทาย
โดยวงการแพทย์ -
5:41 - 5:45และโดยนักนโยบายสาธารณสุข
เมื่อพวกเขาตระหนักว่า -
5:45 - 5:49เมื่อรวมเอาผู้หญิง
จากทุกการวิจัยทางการแพทย์ -
5:49 - 5:53เราจะไม่ได้ทำงานเพื่อพวกเขาเลย
-
5:53 - 5:55นอกเหนือจากเรื่อง
ปัญหาเกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์ -
5:55 - 5:58ไม่มีอะไรเลย
ที่เรารู้เกี่ยวกับความต้องการจำเพาะ -
5:58 - 5:59ของผู้ป่วยหญิง
-
6:01 - 6:07ตั้งแต่นั้น หลักฐานจำนวนมากมาย
ก็ได้ถูกเปิดเผย -
6:07 - 6:12ซึ่งมันแสดงให้เราได้เห็นถึงความแตกต่าง
ระหว่างชายหญิงในทุกแง่มุม -
6:17 - 6:20เรามีคำพูดในวงการแพทย์ที่ว่า
-
6:20 - 6:23เด็กไม่ได้เป็นแค่ผู้ใหญ่ตัวเล็ก ๆ
-
6:25 - 6:27และเราพูดอย่างนั้นเพื่อย้ำเตือนตัวเราเอง
-
6:27 - 6:31ว่าเด็กมีความแตกต่างทางสรีรวิทยา
มากกว่าผู้ใหญ่ปกติทั่วไป -
6:33 - 6:38และด้วยเหตุนี้เราจึงมีกุมารเวชศาสตร์
-
6:38 - 6:44และตอนนี้เราก็ทำการวิจัยเพื่อเด็ก
เพื่อที่จะทำให้ชีวิตของพวกเขาดีขึ้น -
6:45 - 6:48และฉันก็รู้ว่าเราสามารถพูดถึงผู้หญิง
ได้ในแบบเดียวกัน -
6:48 - 6:53ผู้หญิงไม่ใช่ผู้ชาย
ที่มีหน้าอกแล้วก็มดลูก -
6:55 - 6:58แต่พวกเขามีกายวิภาคและสรีระ
ที่เป็นในแบบของพวกเขา -
6:58 - 7:02ที่สมควรได้รับการศึกษามากเท่า ๆ กัน
-
7:03 - 7:06ลองมาดูตัวอย่าง ระบบหมุนเวียนโลหิตกัน
-
7:07 - 7:11การแพทย์ในสาขานี้ได้ทำการศึกษามากมาย
เพื่อที่จะค้นพบว่า -
7:11 - 7:15ทำไมชายและหญิงถึงเป็นหัวใจวาย
ในแบบที่ต่างกันอย่างสิ้นเชิง -
7:16 - 7:21โรคหัวใจเป็นนักฆ่าหมายเลขหนึ่ง
สำหรับทั้งชายและหญิง -
7:21 - 7:26แต่มีผู้หญิงเสียชีวิตมากกว่าภายในปีแรก
ที่มีอาการหัวในวายมากกว่าผู้ชาย -
7:27 - 7:31ผู้ชายจะบ่นถึงอาการเจ็บแน่นหน้าอก --
-
7:31 - 7:34เหมือนกับว่ามีช้างมานั่งอยู่บนอก
-
7:34 - 7:36และเราเรียกว่านั่นเป็นอาการโดยทั่วไป
-
7:38 - 7:41ผู้หญิงก็มีอาการเจ็บแน่นหน้าอกเช่นกัน
-
7:41 - 7:47แต่มีผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย
ที่จะบอกว่า "มันรู้สึกไม่ปกติ" -
7:49 - 7:52"เหมือนว่าหายใจเข้าไม่อิ่ม"
-
7:52 - 7:54"ช่วงนี้เหนื่อยมาก"
-
7:55 - 7:58และด้วยเหตุผลบางประการ
เราเรียกอาการแบบนี้ว่าไม่เป็นไปตามปกติ -
7:58 - 8:02อย่างที่ฉันบอก แม้ว่าผู้หญิง
จะเป็นประชากรตั้งครึ่งหนึ่ง -
8:04 - 8:09และหลักฐานอะไรบ้าง
ที่จะช่วยอธิบายความแตกต่างนี้ -
8:10 - 8:13ถ้าหากเรามองดูที่กายวิภาค
-
8:13 - 8:19เส้นเลือดที่อยู่รอบ ๆ หัวใจ
ในผู้หญิงมีขนาดเล็กกว่าเมื่อเทียบกับผู้ชาาย -
8:19 - 8:23และการที่เส้นเลือดเหล่านี้
พัฒนาอาการของโรคก็ต่างกัน -
8:23 - 8:25ในผู้หญิงมากกว่าในผู้ชาย
-
8:26 - 8:31และการทดสอบที่เราใช้เพื่อกำหนดว่า
ใครสักคนจะมีความเสี่ยงเป็นโลกหัวใจ -
8:31 - 8:36พวกเขาออกแบบ ทดสอบ และทำให้มันเหมาะ
กับร่างกายของผู้ชายตั้งแต่แรก -
8:36 - 8:39และนั่นก็ไม่ได้เป็นการทดสอบที่ดี
สำหรับผู้หญิง -
8:40 - 8:43และจากนั้น ถ้าเราคิดถึงการรักษา --
-
8:43 - 8:47การรักษาโดยทั่วไปที่เราใช้
อย่างแอสไพริน -
8:48 - 8:52เราให้แอสไพรินกับชายที่แข็งแรง
เพื่อช่วยป้องกันพวกเขาจากอาการหัวใจวาย -
8:52 - 8:57แต่คุณรู้หรือไม่ว่า
ถ้าคุณให้แอสไพรินกับผู้หญิงที่แข็งแรง -
8:57 - 8:58มันจะเป็นอันตราย
-
9:00 - 9:03สิ่งที่เราทำอยู่นี่เป็นการบอกเราจัง ๆ เลยว่า
-
9:03 - 9:06เรากำลังง่วนอยู่กับแค่เปลือกนอก
-
9:07 - 9:11การแพทย์ฉุกเฉินขึ้นอยู่กับความรวดเร็ว
-
9:12 - 9:15มีสาขาทางการแพทย์
ที่เกี่ยวข้องกับการช่วยชีวิตใดอีก -
9:15 - 9:19อย่างมะเร็งและ
อาการเส้นโลหิตในสมองแตกอย่างเฉียบพลัน -
9:19 - 9:23ที่มีความแตกต่างสำคัญระหว่างระหว่างชายหญิง
ที่เราควรนำมาใช้ -
9:24 - 9:29หรือแม้แต่ว่า ทำไมบางคนถึงน้ำมูกไหล
-
9:29 - 9:31มากกว่าอีกคนหนึ่ง
-
9:31 - 9:35หรือทำไมการรักษาอาการเจ็บปวด
ที่เรากับคนที่นิ้วเท้าถูกทับ -
9:35 - 9:38ได้ผลกับบางคนและไม่ได้ผลกับบางคน
-
9:41 - 9:47สถาบันทางการแพทย์บอกว่า
ทุกเซลล์มีเพศ -
9:48 - 9:49มันหมายความว่าอย่างไร
-
9:51 - 9:53เพศคือดีเอ็นเอ
-
9:53 - 9:57เพศสภาพคือการที่ใครสักคน
แสดงฐานะของตนในสังคม -
9:58 - 10:00และทั้งสองสิ่งนี้ไม่ได้เหมือนกันเสมอไป
-
10:00 - 10:04อย่างที่เราเห็นได้
ในประชากรข้ามเพศของเรา -
10:05 - 10:10แต่มันสำคัญที่จะตระหนักว่า
ตั้งแต่วินาทีที่มีการปฏิสนธิ -
10:10 - 10:12ทุก ๆ เซลล์ในร่างกาย --
-
10:12 - 10:15ผิวหนัง ผม หัวใจ และปอด --
-
10:15 - 10:18มีดีเอ็นเอเป็นของพวกมันเอง
-
10:18 - 10:22และดีเอ็นเอนั้น
มีโครโมโซมที่กำหนด -
10:22 - 10:27ว่าเราจะกลายเป็นเพศชายหรือหญิง
เป็นชายหรือหญิง -
10:28 - 10:30มันเคยถูกเข้าใจว่า
-
10:30 - 10:34โครโมโซมที่กำหนดเพศ
ดังที่เห็นได้ในภาพนี้ -- -
10:34 - 10:38XY ถ้าคุณเป็นชาย XX ถ้าคุณเป็นหญิง --
-
10:38 - 10:43บอกเราว่าคุณจะเกิดมา
พร้อมกับรังไข่ หรือว่าลูกอัณฑะ -
10:43 - 10:47และโครโมโซมเพศนี้เอง
ที่อยู่ในอวัยวะเหล่านี้ -
10:47 - 10:51ที่ทำให้เกิดความแตกต่าง
ที่เราเห็นในเพศที่ต่างกัน -
10:53 - 10:58แต่เรารู้แล้วว่าทฤษฎีนั้นผิด --
-
10:58 - 11:00หรืออย่างน้อยมันก็ไม่สมบูรณ์
-
11:00 - 11:05และต้องขอขอบคุณนักวิทยาศาสตร์อย่าง
ดร. เพจ จากสถาบัน ไวท์เฮด -
11:05 - 11:07ที่ทำงานวิจัย Y โครโมโซม
-
11:07 - 11:09และ ดร.ยัง จาก UCLA
-
11:09 - 11:15พวกเขาพบหลักฐานที่บอกพวกเรา
ว่าโครโมโซมที่กำหนดเพสเหล่านี้ -
11:15 - 11:17ที่อยู่ในทุก ๆ เซลล์ของร่างกาย
-
11:17 - 11:23ทำงานต่อเนื่องไปตลอดชีวิตของเรา
-
11:25 - 11:28และอาจเป็นตัวทำให้เกิดความแตกต่าง
ที่เราเห็นได้ -
11:28 - 11:30ในการกำหนดโดสของยา
-
11:30 - 11:33หรือเหตุผลว่าทำไม
ชายและหญิงถึงแตกต่างกัน -
11:33 - 11:37ในเรื่องความไวและความรุนแรงต่อโรค
-
11:39 - 11:42ความรู้ใหม่นี้เป็นตัวพลิกเกมส์
-
11:45 - 11:49และมันขึ้นอยู่กับนักวิทยาศาสตร์เหล่านั้น
ที่จะหาหลักฐานต่อไป -
11:49 - 11:53แต่มันขึ้นอยู่กับแพทย์ด้วย
ที่จะเริ่มแปลงข้อมูลนี้ -
11:53 - 11:56เมื่อพบกับคนไข้ ในวันนี้
-
11:57 - 11:58ในตอนนี้
-
12:01 - 12:04และเพื่อที่จะช่วยในเรื่องนี้
ฉันเป็นผู้ร่วมก่อตั้งองค์กรระดับชาติ -
12:04 - 12:07ที่เรียกว่า ความร่วมมือเพื่อสุขภาพหญิง
ในเรื่องเพศและเพศสภาพ -
12:08 - 12:12และเราเก็บตัวอย่างเหล่านี้
เพื่อที่มันจะได้มีไว้สอน -
12:12 - 12:14และมีไว้สำหรับดูแลผู้ป่วย
-
12:14 - 12:19และเราทำงานเพื่อที่จะรวบรวบนักการศึกษา
-
12:20 - 12:21มันเป็นงานที่สำคัญ
-
12:22 - 12:27มันเปลี่ยนแปลงวิธีการฝึกทางการแพทย์
ที่เราทำต่อ ๆ กันมา -
12:29 - 12:31แต่ฉันเชื่อในตัวพวกเขา
-
12:32 - 12:37ฉันรู้ว่าพวกเขากำลังเห็นคุณค่า
ของการนำเอาการพิจารณาเพศ -
12:38 - 12:39เข้าไปในหลักสูตรในปัจจุบัน
-
12:41 - 12:45มันเกี่ยวกับการฝึกฝน
อนาคตบุคลากรทางการแพทย์อย่างถูกต้อง -
12:48 - 12:50และถูกเป้า
-
12:50 - 12:53ฉันเป็นผู้ร่วมสร้างของหน่วยภายใน
ภาควิชาการแพทย์ฉุกเฉิน -
12:53 - 12:55ที่มหาวิทยาลัยบราวน์
-
12:55 - 12:58ที่เรียกว่า เพศและเพศสภาพ
ต่อการแพทย์ฉุกเฉิน -
12:58 - 13:03และเราทำการวิจัยเพื่อกำหนด
ความแตกต่างระหว่างชายหญิง -
13:03 - 13:05ในสภาวะฉุกเฉิน
-
13:05 - 13:10อย่างโรคหัวใจและอาการเส้นเลือดสมองแตก
และการติดเชื้อ และการได้รับสารพิษ -
13:10 - 13:14แต่เรายังเชื่อว่าการให้การศึกษา
เป็นสิ่งที่สำคัญมากที่สุด -
13:15 - 13:19เราสร้างแบบจำลองการศึกษา 360 องศา
-
13:19 - 13:25เรามีโครงการสำหรับแพทย์
สำหรับพยาบาล สำหรับนักเรียน -
13:25 - 13:27และสำหรับผู้ป่วย
-
13:28 - 13:32เพราะว่านี่ไม่สามารถถูกปล่อยไว้
ให้เป็นภาระของผู้นำด้านการแพทย์ได้ -
13:32 - 13:36เราทุกคนมีบทบาทที่จำทำให้เกิดความแตกต่าง
-
13:37 - 13:41แต่ฉันต้องเตือนคุณ ว่ามันไม่ง่ายเลย
-
13:42 - 13:43อันที่จริง มันยากมาก
-
13:45 - 13:50มันเป็นการเปลี่ยนวิธีที่เราคิด
เกี่ยวกับการแพทย์ -
13:50 - 13:53และสุขภาพ และงานวิจัย จริง ๆ
-
13:54 - 13:57มันเปลี่ยนความสัมพันธ์ของเรา
กับระบบการดูแลสุขภาพ -
13:58 - 14:01แต่มันไม่มีทางเดินกลับไป
-
14:01 - 14:05ตอนนี้เรารู้พอแล้วว่า
-
14:05 - 14:07เรากำลังจะทำมันให้ถูกต้อง
-
14:10 - 14:12มาติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ กล่าวว่า
-
14:12 - 14:17"การเปลี่ยนแปลงไม่ได้เข้ามา
บนล้อที่ไม่สามารถหยุดยั้งได้ -
14:17 - 14:19แต่มันผ่านฝ่าความยากลำบากเข้ามา"
-
14:20 - 14:23และขั้นตอนแแรกที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
ก็คือการสร้างความตระหนัก -
14:24 - 14:28มันไม่ใช่แค่การพัฒนาการแพทย์
สำหรับผู้หญิง -
14:29 - 14:34นี่มันเกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพส่วนบุคคล
ของแต่ละคน ในทุก ๆ คน -
14:35 - 14:41การตระหนักนี้มีพลังที่จะเปลี่ยน
การดูแลสุขภาพของชายและหญิง -
14:43 - 14:49และจากนี้ไป เราอยากให้คุณถามหมอของคุณ
-
14:49 - 14:53ว่าการรักษาที่คุณกำลังได้รับนี้
มีความจำเพาะต่อเพศและเพศสภาพหรือไม่ -
14:54 - 14:57พวกเขาอาจไม่รู้คำตอบ --
-
14:57 - 14:58ในตอนนี้
-
14:59 - 15:03แต่การพูดคุณได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว
และเราจะเรียนมันไปด้วยกัน -
15:04 - 15:08จำไว้นะคะว่า สำหรับฉัน
และเพื่อนร่วมงานในสาขานี้ -
15:08 - 15:10เพศและเพศสภาพของคุณมีความสำคัญ
-
15:11 - 15:13ขอบคุณค่ะ
-
15:13 - 15:17(เสียงปรบมือ)
- Title:
- ทำไมยามักจะมีผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายต่อผู้หญิง
- Speaker:
- อลีสัน แม็กเกรเกอร์ (Alyson McGregor)
- Description:
-
เกือบจะตลอดศตวรรษที่ผ่านมา ยาที่ถูกรับรองและปล่อยสู่ตลาดได้ถูกทดสอบกับผู้ป่วยชายเพียงเท่านั้น ซึ่งมันนำไปสู่การให้โดสที่ไม่เหมาะสมและผลข้างเคียงที่ไม่ดีสำหรับผู้หญิง ความแตกต่างทางสรีระวิทยาที่สำคัญระหว่างชายและหญิงได้เพิ่งถูกนำขึ้นมาพิจารณาเมื่อไม่นานมานี้ในการวิจัยทางการแพทย์ แพทย์ฉุกเฉิน อลีสัน แม็กเกรเกอร์ ศึกษาความแตกต่างเหล่านี้ และในการบรรยายที่น่าทึ่งนี้ เธอได้อภิปรายประวัติศาสตร์ที่เป็นเบื้อหลังว่าแบบจำลองชายกลายเป็นหลักของการวิจัยทางการแพทย์ได้อย่างไร และการทำความเข้าใจความแตกต่างระหว่างชายและหญิงสามารถนำไปสู่การรักษาที่มีประสิทธิภาพมากกว่าสำหรับทั้งสองเพศได้อย่างไร
- Video Language:
- English
- Team:
- closed TED
- Project:
- TEDTalks
- Duration:
- 15:29
Kelwalin Dhanasarnsombut approved Thai subtitles for Why medicine often has dangerous side effects for women | ||
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Why medicine often has dangerous side effects for women | ||
Rawee Ma accepted Thai subtitles for Why medicine often has dangerous side effects for women | ||
Rawee Ma edited Thai subtitles for Why medicine often has dangerous side effects for women | ||
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Why medicine often has dangerous side effects for women | ||
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Why medicine often has dangerous side effects for women | ||
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Why medicine often has dangerous side effects for women | ||
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Why medicine often has dangerous side effects for women |