พวกเราไปหาหมอกันทั้งนั้น และเราไปหาหมอด้วยความไว้เนื้อเชื่อใจ ว่าหมอจะทำการทดสอบเพื่อวินิจฉัย และจัดยาเพื่อรักษาเรา โดยมีหลักการและหลักฐานอ้างอิง -- หลักฐานที่ออกแบบมาเพื่อช่วยพวกเรา อย่างไรก็ดี ความจริงก็คือว่า มันไม่ได้เป็นอย่างนั้นในทุกกรณี และถ้าหากฉันบอกกับคุณว่า วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ถูกค้นพบ ตลอดศตวรรษที่ผ่านมา อ้างอิงอยู่กับกลุ่มประชากร แค่เพียงครึ่งเดียวล่ะ ฉันเป็นแพทย์ฉุกเฉิน และถูกฝึกมาเพื่อเตรียมให้การรักษา ในสถานการณ์ฉุกเฉิน มันเกี่ยวข้องกับการช่วยชีวิต เจ๋งใช่ไหมล่ะคะ ค่ะ คนไข้ส่วนใหญ่ก็น้ำมูกไหล หรือหัวแม่เท้าโดนอะไรตำมา แต่ไม่ว่าใครก็ตาม ที่ผ่านประตูห้องฉุกเฉินเข้ามา เราก็ทำการทดสอบแบบเดียวกัน เราจัดยาเพื่อการรักษาแบบเดียวกัน โดยไม่เคยนึกถึงเพศหรือเพศสภาพ ของผู้ป่วยเลย ทำไมเราจะต้องไปคำนึงถึงด้วย เราไม่เคยถูกสอนว่า มันมีความแตกต่าง ระหว่างชายหญิง การศึกษาจากสำนักงานบัญชีกลาง เมื่อไม่นานมานี้เปิดเผยว่า 80 เปอร์เซ็นต์ ของยาที่สุ่มจากตลาด มีผลค้างเคียงกับผู้หญิง ฉะนั้น ลองนึกถึงสิ่งนี้กันสักครู่ ทำไมเราถึงพบผลข้างเคียงในผู้หญิง หลังจากที่ยาถูกปล่อยให้ขาย ในท้องตลาดไปแล้ว คุณรู้ไหมคะว่ามันใช้เวลาหลายปี ที่จะเปลี่ยนจากแค่ความคิด ไปเป็นยาที่ถูกทำการทดสอบในเซลล์ ในห้องทดลอง ไปถึงการศึกษาในสัตว์ และจากนั้นการทดสอบทางคลินิคในมนุษย์ และในที่สุดผ่านขั้นตอนกระบวนการ รับรองตามมาตราฐาน เพื่อที่มันจะถูกนำไปใช้ โดยแพทย์ที่จ่ายยาให้กับคุณ นี่ยังไม่รวมถึงเงินมากมายมหาศาล ที่ใช้ในการสนับสนุนวิจัย ที่ต้องใช้ในกระบวนการนี้ แล้วทำไมเราจึงพบผลข้างเคียง ที่ไม่อาจยอมรับได้ กับประชากรครึ่งหนึ่ง หลังจากที่มันผ่านกระบวนการนี้แล้ว เกิดอะไรขึ้น ค่ะ มันเป็นเพราะว่า เซลล์ที่ถูกใช้ในห้องทดลองนั้น เป็นเซลล์ของผู้ชาย และสัตว์ที่ถูกใช้ในการศึกษาก็เป็นตัวผู้ และการทดสอบทางคลินิค ก็ยังถูกศึกษาแทบจะในผู้ชายทั้งหมด แบบจำลองเพศชาย กลายเป็นแกนหลัก สำหรับงานวิจัยทางการแพทย์ได้อย่างไร ลองมาดูตัวอย่างที่เป็นที่นิยมทางสื่อกัน และมันก็เกี่ยวข้องกับ ยาแอมเบียน ที่ช่วยในการนอนหลับ แอมเบียนถูกปล่อยสู่ตลาด มากว่า 20 ปีแล้ว และตั้งแต่นั้น ใบสั่งยามากมาย ก็ได้ถูกออกโดยแพทย์ หลัก ๆ แล้ว เพื่อผู้หญิง เพราะว่าผู้หญิง เป็นโรคนอนไม่หลับมากกว่าผู้ชาย แต่เมื่อปีที่แล้วนี่เอง องค์การอาหารและยาแนะนำว่า ให้ลดโดสลงครึ่งหนึ่ง สำหรับผู้หญิงเท่านั้น เพราะว่าพวกเขาเพิ่งรู้ว่า ผู้หญิงเมตาบอไลซ์ (metabolize) ยา ในอัตราที่ช้ากว่าผู้ชาย ทำให้พวกเขาตื่นขึ้นมาในตอนเช้า และมียาอยู่ในร่างกายมากกว่า และจากนั้น พวกเขาก็จะง่วงนอน พวกเขาไปขับรถ และพวกเขาจะได้รับความเสี่ยง ต่อการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน และฉันไม่อาจหยุดคิดได้ว่า ในฐานะแพทย์ฉุกเฉิน จะมีคนไข้สักกี่คน ที่ฉันได้ดูแลในหลายปีที่ผ่านมา ที่เกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุทางท้องถนน ที่บางทีอาจถูกป้องกันได้ ถ้าการวิเคราะห์แบบนี้ถูกดำเนินการ และมีการปฏิบัติเมื่อ 20 ปีก่อน เมื่อยาตัวนี้ถูกปล่อยออกมาครั้งแรก มีอะไรอีกแค่ไหนที่จะต้องถูกวิเคราะห์ แยกตามเพศ เรายังขาดอะไรไปอีกบ้าง สงครามโลกครั้งที่ 2 เปลี่ยนแปลง อะไรหลายอย่าง และอย่างหนึ่งก็คือ ความต้องการในการปกป้องผู้คน จากการตกเป็นเหยื่อของการวิจัย ทางการแพทย์โดยไม่ได้รับรู้ข้อมูลก่อน แนวทางปฏิบัติหรือกฎที่สำคัญถูกกำหนดขึ้น และส่วนหนึ่งก็คือ ความต้องการ ที่จะปกป้องผู้หญิงในวัยที่อาจมีบุตร จากการเข้าสู่ การศึกษาวิจัยทางการแพทย์ พวกเขากลัว ว่าจะมีอะไรเกิดขึ้น กับตัวอ่อนในครรภ์ระหว่างการศึกษา ถ้าเป็นอย่างนั้นแล้วใครจะรับผิดชอบ ฉะนั้น นักวิทยาศาสตร์ในเวลานี้ จึงคิดว่า นี่มันเป็นเรื่องดีที่แฝงมา เพราะว่า ยอมรับกันเหอะค่ะ -- ร่างกาย ของผู้ชายค่อนข้างที่จะเหมือน ๆ กัน พวกเขาไม่ได้มีระดับฮอร์โมน ที่ขึ้น ๆ ลง ๆ ตลอดเวลา ที่อาจรบกวนผลการทดลอง ถ้าเราทำการทดลองในผู้ชายเท่านั้น มันง่ายกว่า มันถูกกว่า นี่ยังไม่รวมถึง ที่ ณ เวลานี้ มีข้อสรุปโดยทั่วไปว่า ชายและหญิงมีความคล้ายกันทุกอย่าง นอกจากอวัยวะสืบพันธุ์และฮอร์โมนเพศ ฉะนั้น มันจึงถูกตัดสินว่า การวิจัยทางการแพทย์ จะดำเนินการในผู้ชาย และผลลัพท์ต่อมาก็ค่อยเอาไปใช้ กับผู้หญิง สิ่งนี้ส่งผลอย่างไรต่อความเข้าใจ ในสุขภาพของผู้หญิง สุขภาพของผู้หญิง กลายเป็นคำคล้องจอง กับเรื่องของระบบสืบพันธุ์ เต้านม รังไข่ มดลูก การตั้งครรภ์ นี่เป็นคำที่ตอนนี้เราเรียกกันในชื่อว่า "การแพทย์บิกินนี่" และมันก็เป็นอย่างนั้นมา ตั้งแต่ประมาณยุค 1980 เมื่อแนวคิดนี้ถูกท้าทาย โดยวงการแพทย์ และโดยนักนโยบายสาธารณสุข เมื่อพวกเขาตระหนักว่า เมื่อรวมเอาผู้หญิง จากทุกการวิจัยทางการแพทย์ เราจะไม่ได้ทำงานเพื่อพวกเขาเลย นอกเหนือจากเรื่อง ปัญหาเกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์ ไม่มีอะไรเลย ที่เรารู้เกี่ยวกับความต้องการจำเพาะ ของผู้ป่วยหญิง ตั้งแต่นั้น หลักฐานจำนวนมากมาย ก็ได้ถูกเปิดเผย ซึ่งมันแสดงให้เราได้เห็นถึงความแตกต่าง ระหว่างชายหญิงในทุกแง่มุม เรามีคำพูดในวงการแพทย์ที่ว่า เด็กไม่ได้เป็นแค่ผู้ใหญ่ตัวเล็ก ๆ และเราพูดอย่างนั้นเพื่อย้ำเตือนตัวเราเอง ว่าเด็กมีความแตกต่างทางสรีรวิทยา มากกว่าผู้ใหญ่ปกติทั่วไป และด้วยเหตุนี้เราจึงมีกุมารเวชศาสตร์ และตอนนี้เราก็ทำการวิจัยเพื่อเด็ก เพื่อที่จะทำให้ชีวิตของพวกเขาดีขึ้น และฉันก็รู้ว่าเราสามารถพูดถึงผู้หญิง ได้ในแบบเดียวกัน ผู้หญิงไม่ใช่ผู้ชาย ที่มีหน้าอกแล้วก็มดลูก แต่พวกเขามีกายวิภาคและสรีระ ที่เป็นในแบบของพวกเขา ที่สมควรได้รับการศึกษามากเท่า ๆ กัน ลองมาดูตัวอย่าง ระบบหมุนเวียนโลหิตกัน การแพทย์ในสาขานี้ได้ทำการศึกษามากมาย เพื่อที่จะค้นพบว่า ทำไมชายและหญิงถึงเป็นหัวใจวาย ในแบบที่ต่างกันอย่างสิ้นเชิง โรคหัวใจเป็นนักฆ่าหมายเลขหนึ่ง สำหรับทั้งชายและหญิง แต่มีผู้หญิงเสียชีวิตมากกว่าภายในปีแรก ที่มีอาการหัวในวายมากกว่าผู้ชาย ผู้ชายจะบ่นถึงอาการเจ็บแน่นหน้าอก -- เหมือนกับว่ามีช้างมานั่งอยู่บนอก และเราเรียกว่านั่นเป็นอาการโดยทั่วไป ผู้หญิงก็มีอาการเจ็บแน่นหน้าอกเช่นกัน แต่มีผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ที่จะบอกว่า "มันรู้สึกไม่ปกติ" "เหมือนว่าหายใจเข้าไม่อิ่ม" "ช่วงนี้เหนื่อยมาก" และด้วยเหตุผลบางประการ เราเรียกอาการแบบนี้ว่าไม่เป็นไปตามปกติ อย่างที่ฉันบอก แม้ว่าผู้หญิง จะเป็นประชากรตั้งครึ่งหนึ่ง และหลักฐานอะไรบ้าง ที่จะช่วยอธิบายความแตกต่างนี้ ถ้าหากเรามองดูที่กายวิภาค เส้นเลือดที่อยู่รอบ ๆ หัวใจ ในผู้หญิงมีขนาดเล็กกว่าเมื่อเทียบกับผู้ชาาย และการที่เส้นเลือดเหล่านี้ พัฒนาอาการของโรคก็ต่างกัน ในผู้หญิงมากกว่าในผู้ชาย และการทดสอบที่เราใช้เพื่อกำหนดว่า ใครสักคนจะมีความเสี่ยงเป็นโลกหัวใจ พวกเขาออกแบบ ทดสอบ และทำให้มันเหมาะ กับร่างกายของผู้ชายตั้งแต่แรก และนั่นก็ไม่ได้เป็นการทดสอบที่ดี สำหรับผู้หญิง และจากนั้น ถ้าเราคิดถึงการรักษา -- การรักษาโดยทั่วไปที่เราใช้ อย่างแอสไพริน เราให้แอสไพรินกับชายที่แข็งแรง เพื่อช่วยป้องกันพวกเขาจากอาการหัวใจวาย แต่คุณรู้หรือไม่ว่า ถ้าคุณให้แอสไพรินกับผู้หญิงที่แข็งแรง มันจะเป็นอันตราย สิ่งที่เราทำอยู่นี่เป็นการบอกเราจัง ๆ เลยว่า เรากำลังง่วนอยู่กับแค่เปลือกนอก การแพทย์ฉุกเฉินขึ้นอยู่กับความรวดเร็ว มีสาขาทางการแพทย์ ที่เกี่ยวข้องกับการช่วยชีวิตใดอีก อย่างมะเร็งและ อาการเส้นโลหิตในสมองแตกอย่างเฉียบพลัน ที่มีความแตกต่างสำคัญระหว่างระหว่างชายหญิง ที่เราควรนำมาใช้ หรือแม้แต่ว่า ทำไมบางคนถึงน้ำมูกไหล มากกว่าอีกคนหนึ่ง หรือทำไมการรักษาอาการเจ็บปวด ที่เรากับคนที่นิ้วเท้าถูกทับ ได้ผลกับบางคนและไม่ได้ผลกับบางคน สถาบันทางการแพทย์บอกว่า ทุกเซลล์มีเพศ มันหมายความว่าอย่างไร เพศคือดีเอ็นเอ เพศสภาพคือการที่ใครสักคน แสดงฐานะของตนในสังคม และทั้งสองสิ่งนี้ไม่ได้เหมือนกันเสมอไป อย่างที่เราเห็นได้ ในประชากรข้ามเพศของเรา แต่มันสำคัญที่จะตระหนักว่า ตั้งแต่วินาทีที่มีการปฏิสนธิ ทุก ๆ เซลล์ในร่างกาย -- ผิวหนัง ผม หัวใจ และปอด -- มีดีเอ็นเอเป็นของพวกมันเอง และดีเอ็นเอนั้น มีโครโมโซมที่กำหนด ว่าเราจะกลายเป็นเพศชายหรือหญิง เป็นชายหรือหญิง มันเคยถูกเข้าใจว่า โครโมโซมที่กำหนดเพศ ดังที่เห็นได้ในภาพนี้ -- XY ถ้าคุณเป็นชาย XX ถ้าคุณเป็นหญิง -- บอกเราว่าคุณจะเกิดมา พร้อมกับรังไข่ หรือว่าลูกอัณฑะ และโครโมโซมเพศนี้เอง ที่อยู่ในอวัยวะเหล่านี้ ที่ทำให้เกิดความแตกต่าง ที่เราเห็นในเพศที่ต่างกัน แต่เรารู้แล้วว่าทฤษฎีนั้นผิด -- หรืออย่างน้อยมันก็ไม่สมบูรณ์ และต้องขอขอบคุณนักวิทยาศาสตร์อย่าง ดร. เพจ จากสถาบัน ไวท์เฮด ที่ทำงานวิจัย Y โครโมโซม และ ดร.ยัง จาก UCLA พวกเขาพบหลักฐานที่บอกพวกเรา ว่าโครโมโซมที่กำหนดเพสเหล่านี้ ที่อยู่ในทุก ๆ เซลล์ของร่างกาย ทำงานต่อเนื่องไปตลอดชีวิตของเรา และอาจเป็นตัวทำให้เกิดความแตกต่าง ที่เราเห็นได้ ในการกำหนดโดสของยา หรือเหตุผลว่าทำไม ชายและหญิงถึงแตกต่างกัน ในเรื่องความไวและความรุนแรงต่อโรค ความรู้ใหม่นี้เป็นตัวพลิกเกมส์ และมันขึ้นอยู่กับนักวิทยาศาสตร์เหล่านั้น ที่จะหาหลักฐานต่อไป แต่มันขึ้นอยู่กับแพทย์ด้วย ที่จะเริ่มแปลงข้อมูลนี้ เมื่อพบกับคนไข้ ในวันนี้ ในตอนนี้ และเพื่อที่จะช่วยในเรื่องนี้ ฉันเป็นผู้ร่วมก่อตั้งองค์กรระดับชาติ ที่เรียกว่า ความร่วมมือเพื่อสุขภาพหญิง ในเรื่องเพศและเพศสภาพ และเราเก็บตัวอย่างเหล่านี้ เพื่อที่มันจะได้มีไว้สอน และมีไว้สำหรับดูแลผู้ป่วย และเราทำงานเพื่อที่จะรวบรวบนักการศึกษา มันเป็นงานที่สำคัญ มันเปลี่ยนแปลงวิธีการฝึกทางการแพทย์ ที่เราทำต่อ ๆ กันมา แต่ฉันเชื่อในตัวพวกเขา ฉันรู้ว่าพวกเขากำลังเห็นคุณค่า ของการนำเอาการพิจารณาเพศ เข้าไปในหลักสูตรในปัจจุบัน มันเกี่ยวกับการฝึกฝน อนาคตบุคลากรทางการแพทย์อย่างถูกต้อง และถูกเป้า ฉันเป็นผู้ร่วมสร้างของหน่วยภายใน ภาควิชาการแพทย์ฉุกเฉิน ที่มหาวิทยาลัยบราวน์ ที่เรียกว่า เพศและเพศสภาพ ต่อการแพทย์ฉุกเฉิน และเราทำการวิจัยเพื่อกำหนด ความแตกต่างระหว่างชายหญิง ในสภาวะฉุกเฉิน อย่างโรคหัวใจและอาการเส้นเลือดสมองแตก และการติดเชื้อ และการได้รับสารพิษ แต่เรายังเชื่อว่าการให้การศึกษา เป็นสิ่งที่สำคัญมากที่สุด เราสร้างแบบจำลองการศึกษา 360 องศา เรามีโครงการสำหรับแพทย์ สำหรับพยาบาล สำหรับนักเรียน และสำหรับผู้ป่วย เพราะว่านี่ไม่สามารถถูกปล่อยไว้ ให้เป็นภาระของผู้นำด้านการแพทย์ได้ เราทุกคนมีบทบาทที่จำทำให้เกิดความแตกต่าง แต่ฉันต้องเตือนคุณ ว่ามันไม่ง่ายเลย อันที่จริง มันยากมาก มันเป็นการเปลี่ยนวิธีที่เราคิด เกี่ยวกับการแพทย์ และสุขภาพ และงานวิจัย จริง ๆ มันเปลี่ยนความสัมพันธ์ของเรา กับระบบการดูแลสุขภาพ แต่มันไม่มีทางเดินกลับไป ตอนนี้เรารู้พอแล้วว่า เรากำลังจะทำมันให้ถูกต้อง มาติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ กล่าวว่า "การเปลี่ยนแปลงไม่ได้เข้ามา บนล้อที่ไม่สามารถหยุดยั้งได้ แต่มันผ่านฝ่าความยากลำบากเข้ามา" และขั้นตอนแแรกที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ก็คือการสร้างความตระหนัก มันไม่ใช่แค่การพัฒนาการแพทย์ สำหรับผู้หญิง นี่มันเกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพส่วนบุคคล ของแต่ละคน ในทุก ๆ คน การตระหนักนี้มีพลังที่จะเปลี่ยน การดูแลสุขภาพของชายและหญิง และจากนี้ไป เราอยากให้คุณถามหมอของคุณ ว่าการรักษาที่คุณกำลังได้รับนี้ มีความจำเพาะต่อเพศและเพศสภาพหรือไม่ พวกเขาอาจไม่รู้คำตอบ -- ในตอนนี้ แต่การพูดคุณได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว และเราจะเรียนมันไปด้วยกัน จำไว้นะคะว่า สำหรับฉัน และเพื่อนร่วมงานในสาขานี้ เพศและเพศสภาพของคุณมีความสำคัญ ขอบคุณค่ะ (เสียงปรบมือ)