ทำไมเราจึงฝัน - เอมี แอดกินส์ (Amy Adkins)
-
0:07 - 0:08เมื่อสามพันปีก่อนคริสตกาล
-
0:08 - 0:14พระราชาแห่งเมโสโปเตเมียได้บันทึกและ
แปลความหมายของความฝันลงบนแผ่นไม้เคลือบเงา -
0:14 - 0:15หลายพันปีต่อมา
-
0:15 - 0:17ชาวอียิปต์โบราณได้เขียนหนังสือแห่งความฝัน
-
0:17 - 0:21รวบรวมหลายร้อยความฝันที่พบบ่อย
และความหมายของพวกมัน -
0:21 - 0:22และหลายปีนับแต่นั้นมา
-
0:22 - 0:26เราไม่ได้หยุดการค้นหาของเรา
เพื่อที่จะเข้าใจว่าทำไมเราจึงฝัน -
0:26 - 0:28หลังจากการวิจัยทางวิทยาศาสตร์มากมาย
-
0:28 - 0:30ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
-
0:30 - 0:31และความเพียรพยายาม
-
0:31 - 0:36เรายังคงไม่มีคำตอบใด ๆ ที่ชัดเจน
แต่เรามีทฤษฎีที่น่าสนใจ -
0:36 - 0:41เราฝันเพื่อที่จะเติมเต็มความปรารถนาของเรา
-
0:41 - 0:42ในตอนต้นของยุค 1900
-
0:42 - 0:47ซิกมันด์ ฟรอยด์ กล่าวว่า ในขณะที่
ความฝันทั้งหมดซึ่งรวมถึงฝันร้ายของพวกเรา -
0:47 - 0:50เป็นภาพที่เรารวบรวมไว้
ตอนที่เรามีสติรับรู้สิ่งต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน -
0:50 - 0:52มันยังมีความหมายเชิงสัญลักษณ์อีกด้วย
-
0:52 - 0:55ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเติมเต็มความปรารถนา
ภายใต้จิตสำนึกของพวกเรา -
0:55 - 0:59ทฤษฎีของฟรอยด์กล่าวว่า
ทุกสิ่งที่เราจำได้ตอนที่เราตื่นจากฝัน -
0:59 - 1:01เป็นตัวแทนเชิงสัญลักษณ์
-
1:01 - 1:06ของความคิดพื้นฐานใต้จิตสำนึก
แรงกระตุ้น และความปรารถนาของเรา -
1:06 - 1:08ฟรอยด์เชื่อว่า ถ้าเราวิเคราะห์
องค์ประกอบทั้งหลายที่เราจำได้ -
1:08 - 1:12เนื้อหาจากจิตใต้สำนึกนั้น
จะถูกเปิดเผยสู่จิตสำนึกของเรา -
1:12 - 1:15และปัญหาทางจิต
อันเนื่องมาจากการกลไกทางจิตของมันนั้น -
1:15 - 1:18จะได้รับการบ่งชี้และแก้ไขได้
-
1:18 - 1:21เราฝันเพื่อที่จะจำ
-
1:21 - 1:23เพื่อที่จะเพิ่มประสิทธิภาพ
การทำงานบางอย่างของจิต -
1:23 - 1:25การนอนเป็นสิ่งที่ดี
-
1:25 - 1:27แต่การฝันขณะหลับนั้นดีกว่า
-
1:27 - 1:29ในปี ค.ศ. 2010 นักวิจัยพบว่า
-
1:29 - 1:33กลุ่มตัวอย่างสามารถ
ผ่านวงกตสามมิติที่ซับซ้อนได้ดีกว่า -
1:33 - 1:37ถ้าพวกเขาได้งีบหลับ และฝันถึงวงกตนั้น
ก่อนความพยายามครั้งที่สองของพวกเขา -
1:37 - 1:40จริง ๆ แล้ว พวกเขาสามารถทำได้ดีกว่า
สูงสุดถึงสิบเท่า -
1:40 - 1:44เมื่อเทียบกับกลุ่มที่คิดถึงวงกตแค่ตอนตื่น
ระหว่างความพยายามในแต่ละครั้ง -
1:44 - 1:49และกลุ่มที่งีบหลับแต่ไม่ได้ฝันถึงวงกต
-
1:49 - 1:51นักวิจัยตั้งทฤษฎีว่า
กระบวนการความทรงจำบางอย่าง -
1:51 - 1:53สามารถเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเรานอนหลับ
-
1:53 - 1:58และความฝันของเรานั้น
เป็นสัญญาณว่ากระบวนการนี้กำลังเกิดขึ้น -
1:58 - 2:03เราฝันเพื่อที่จะลืม
-
2:03 - 2:05มีประมาณ 10,000 ล้านล้านการเชื่อมต่อ
ของระบบประสาท -
2:05 - 2:08ภายในโครงสร้างของสมองของคุณ
-
2:08 - 2:12มันเกิดขึ้นมากจากทุกอย่างที่คุณคิด
และทุกอย่างที่คุณทำ -
2:12 - 2:16ทฤษฎีเกี่ยวกับความฝันเชิงประสาทวิทยา
จากปี ค.ศ. 1983 ชื่อว่า การเรียนรู้แบบย้อนกลับ -
2:16 - 2:19กล่าวว่าขณะหลับ และโดยเฉพาะ
การหลับในช่วง REM -
2:19 - 2:23สมองชั้นนอก (neocortex) ของคุณ
ทบทวนการเชื่อมประสาทเหล่านี้ -
2:23 - 2:25และเอาส่วนที่ไม่จำเป็นออกไป
-
2:25 - 2:27ถ้าปราศจากกระบวนการการลืมนี้
-
2:27 - 2:29ซึ่งส่งผลให้เกิดความฝัน
-
2:29 - 2:32สมองของคุณอาจจะเต็มไปด้วย
การเชื่อมต่อที่ไร้ประโยชน์ -
2:32 - 2:35และความคิดที่เป็นกาฝากพวกนี้
อาจรบกวนความคิดที่จำเป็น -
2:35 - 2:37ที่คุณต้องการจะทำเวลาที่คุณตื่น
-
2:37 - 2:43เราฝันเพื่อให้สมองของเราทำงาน
-
2:43 - 2:46ทฤษฏีการกระตุ้นต่อเนื่อง (continual activation) คาดว่าความฝันของคุณเป็นผลมาจาก
-
2:46 - 2:52สมองของคุณต้องการที่จะรวบรวม
และสร้างความจำระยะยาวอย่างต่อเนื่อง -
2:52 - 2:53เพื่อที่จะทำงานได้อย่างเหมาะสม
-
2:53 - 2:56ดังนั้น เมื่อข้อมูลจากภายนอก
ลดลงต่ำกว่าระดับหนึ่ง -
2:56 - 2:57อย่างเช่น ตอนที่คุณหลับ
-
2:57 - 2:59สมองของคุณจะกระตุ้น
-
2:59 - 3:02การสร้างข้อมูลจากหน่วยความจำ
โดยอัตโนมัติ -
3:02 - 3:04ซึ่งปรากฏแก่คุณในรูปแบบของความคิด
และความรู้สึก -
3:04 - 3:07ที่คุณได้รับรู้ในความฝันของคุณ
-
3:07 - 3:08หรือพูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ
-
3:08 - 3:11ความฝันของคุณอาจจะเป็น
ภาพพักหน้าจอที่สมองของคุณเปิดขึ้นมา -
3:11 - 3:14เพื่อที่มันจะไม่ได้ปิดตัวลงอย่างสมบูรณ์
-
3:14 - 3:18เราฝันเพื่อฝึกซ้อม
-
3:18 - 3:22ฝันที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ที่คุกคาม
และเป็นอันตรายนั้นพบได้บ่อยมาก -
3:22 - 3:24และทฤษฏีการซ้อมสัญชาตญาณพื้นฐาน
(primitive instinct rehearsal) -
3:24 - 3:28กล่าวว่า เนื้อหาของความฝัน
มีนัยสำคัญต่อจุดประสงค์ของมัน -
3:28 - 3:32ไม่ว่าจะเป็นคืนที่เต็มไปด้วยความเครียด
แห่งการถูกไล่ล่าในป่าโดยหมี -
3:32 - 3:34หรือการต่อสู้กับนินจาในซอยมืด
-
3:34 - 3:38ความฝันเหล่านี้ให้โอกาสคุณฝึกสัญชาตญาณ
การหนีหรือการต่อสู้ (fight or flight instinct) -
3:38 - 3:42และเป็นการลับคมทำให้มันพร้อมใช้
และพึ่งพาได้ เผื่อว่าคุณจะต้องใช้มันในจริง ๆ -
3:42 - 3:44แต่มันก็ไม่จำเป็น
ที่จะต้องไม่น่าพึงประสงค์ทุกครั้ง -
3:44 - 3:46เช่น ความฝันเกี่ยวกับ
เพื่อนบ้านหน้าตาดีของคุณ -
3:46 - 3:51สามารถฝึกสัญชาตญาณการสืบพันธ์ุของคุณ
ได้เช่นกัน -
3:51 - 3:55เราฝันเพื่อรักษา
-
3:55 - 3:58สารสื่อประสาทความเครียดในสมองนั้น
ทำงานได้น้อยลงมาก -
3:58 - 4:00ในช่วงของการนอนหลับระยะ REM
-
4:00 - 4:02แม้แต่ในช่วงของการฝัน
ที่เกี่ยวกับบาดแผลทางจิตใจ -
4:02 - 4:04ทำให้นักวิจัยตั้งทฤษฏีที่ว่า
-
4:04 - 4:09เป้าหมายหนึ่งของการฝันก็คือ
การทำให้ประสบการณ์ที่เจ็บปวดนั้นทุเลาลง -
4:09 - 4:11เพื่อให้เกิดการรักษาทางด้านจิตใจ
-
4:11 - 4:14การทบทวนเหตุการณ์ที่เจ็บปวดในความฝัน
ด้วยความเครียดทางจิตใจที่น้อยนั้น -
4:14 - 4:16อาจทำให้คุณมีมุมมองที่ชัดเจนขึ้น
-
4:16 - 4:20และเพิ่มความสามารถในการประมวล
เหตุการณ์เหล่านั้นในทางที่ดีต่อจิตใจ -
4:20 - 4:25คนที่มีความผิดปกติทางอารมณ์ และเป็นโรค
เครียดจากเหตุการณ์ร้ายแรง (PTSD) -
4:25 - 4:28มักมีปัญหาในการนอน
ทำให้นักวิทยาศาสตร์บางคนเชื่อว่า -
4:28 - 4:33การไม่ฝันนั้นอาจเป็นปัจจัย
ที่ส่งผลความความเจ็บป่วยของพวกเขา -
4:33 - 4:37เราฝันเพื่อที่จะแก้ปัญหา
-
4:37 - 4:40เมื่อไม่ถูกผูกมัดโดยความเป็นจริง
และกฎเกณท์ของตรรกะที่มีรูปแบบ -
4:40 - 4:43จิตของคุณสามารถสร้างสถานการณ์
ที่ไร้ขีดจำกัดได้ในความฝันของคุณ -
4:43 - 4:45เพื่อช่วยให้คุณเข้าใจปัญหา
-
4:45 - 4:49และหาวิธีการแก้ไข
ที่คุณอาจจะไม่ได้นึกถึงเวลาที่ตื่น -
4:49 - 4:52จอห์น สเตน์เบค เรียกมันว่า
"คณะกรรมการแห่งฝัน" -
4:52 - 4:53และนักวิจัยได้แสดงให้เห็น
-
4:53 - 4:57ถึงประสิทธิภาพของการฝันในการแก้ปัญหา
-
4:57 - 4:59มันยังเป็นวิธีการของนักเคมีที่มีชื่อเสียง
ออกัส เคคูเล -
4:59 - 5:02ที่ใช้เพื่อการค้นพบ
โครงสร้างโมเลกุลของเบนซีน -
5:02 - 5:05และมันเป็นเหตุผลที่ว่า
บางครั้งการแก้ปัญหาที่ดีที่สุด -
5:05 - 5:07คือการ "นอนฝันถึงมัน"
-
5:07 - 5:10และทั้งหมดนี้เป็นแค่ส่วนหนึ่ง
ของทฤษฏีต่าง ๆ ที่มีชื่อเสียง -
5:10 - 5:14เมื่อเทคโนโลยีมีขีดความสามารถเพิ่มขึ้น
ในการทำความเข้าใจสมอง -
5:14 - 5:15มันเป็นไปได้ว่าวันหนึ่ง
-
5:15 - 5:18พวกเราจะค้นพบเหตุผลที่ชัดเจน
สำหรับพวกมัน -
5:18 - 5:22แต่ก่อนที่เวลานั้นจะมาถึง
พวกเราก็คงต้องฝันกันต่อไปก่อน
- Title:
- ทำไมเราจึงฝัน - เอมี แอดกินส์ (Amy Adkins)
- Speaker:
- Amy Adkins
- Description:
-
ดูบทเรียนแบบเต็ม: http://ed.ted.com/lessons/why-do-we-dream-amy-adkins
เมื่อสามพันปีก่อนคริสตกาล พระราชาแห่งเมโสโปเตเมียได้บันทึกและแปลความหมายของความฝันของพวกเขาลงบนแผ่นไม้เคลือบเงา หลายปีนับแต่นั้นมา เราไม่ได้หยุดการค้นหาของเราเพื่อที่จะเข้าใจว่าทำไมเราจึงฝัน ถึงแม้ว่าเรายังคงไม่มีคำตอบใด ๆ ที่ชัดเจน แต่เรามีหลายทฤษฎี เอมี แอดกินส์ เผยถึงเจ็ดเหตุผลยอดนิยมว่าทำไมเราถึงฝัน
บทเรียนโดย Amy Adkins, แอนิเมชันโดย Clamanne Studio
- Video Language:
- English
- Team:
closed TED
- Project:
- TED-Ed
- Duration:
- 05:38
![]() |
Kelwalin Dhanasarnsombut approved Thai subtitles for Why do we dream? | |
![]() |
Kelwalin Dhanasarnsombut accepted Thai subtitles for Why do we dream? | |
![]() |
Pitipa Chongwatpol edited Thai subtitles for Why do we dream? | |
![]() |
Pitipa Chongwatpol edited Thai subtitles for Why do we dream? | |
![]() |
Pitipa Chongwatpol edited Thai subtitles for Why do we dream? | |
![]() |
Kelwalin Dhanasarnsombut declined Thai subtitles for Why do we dream? | |
![]() |
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Why do we dream? | |
![]() |
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Why do we dream? |