< Return to Video

เรามองเห็นสีได้อย่างไร - คอล์ม เคลเลเฮอร์ (Colm Kelleher)

  • 0:15 - 0:17
    คุณอาจเคยได้ยินมาว่า แสงเป็นคลื่นชนิดหนึ่ง
  • 0:17 - 0:19
    และสีของวัตถุหนึ่งๆ
  • 0:19 - 0:22
    มีความสัมพันธ์กับความถี่ของคลื่นแสง
    ที่มันสะท้อนออกมา
  • 0:22 - 0:24
    คลื่นแสงความถี่สูงจะมีสีออกม่วง
  • 0:24 - 0:26
    คลื่นแสงความถี่ต่ำจะมีสีออกแดง
  • 0:26 - 0:28
    แสงความถี่ที่อยู่ตรงกลางจะมีสีออกเหลือง
  • 0:28 - 0:28
    เขียว
  • 0:28 - 0:29
    ส้ม
  • 0:29 - 0:31
    และสีอื่นๆ
  • 0:31 - 0:33
    คุณอาจเรียกแนวคิดนี้ว่าเป็นสีทางกายภาพ
  • 0:33 - 0:37
    เพราะว่าสีคือคุณสมบัติทางกายภาพของแสงนั่นเอง
  • 0:37 - 0:39
    โดยไม่ขึ้นกับการรับรู้ของมนุษย์
  • 0:39 - 0:41
    ถึงแม้ว่าคำกล่าวนี้จะไม่ผิด
  • 0:41 - 0:44
    มันก็ยังไม่ครอบคลุมเรื่องราวทั้งหมดเสียทีเดียว
  • 0:44 - 0:47
    เช่น คุณอาจเคยเห็นภาพนี้มาก่อน
  • 0:47 - 0:52
    จะเห็นว่า บริเวณคาบเกี่ยว
    ระหว่างสีแดงและเขียวนั้นคือ สีเหลือง
  • 0:52 - 0:54
    ลองคิดดูดีๆ นี่มันดูแปลกๆ อยู่นะ
  • 0:54 - 0:57
    เพราะว่า แสงนั้นเป็นคลื่น
    คลื่นแสงสองความถี่ที่ต่างกัน
  • 0:57 - 0:59
    ไม่ควรจะมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันเลย
  • 0:59 - 1:00
    ทั้งคู่ควรจะปรากฏอยู่ร่วมกันมากกว่า
  • 1:00 - 1:02
    เหมือนนักร้องร้องเพลงประสานเสียง
  • 1:02 - 1:05
    ดังนั้นบริเวณดูเป็นสีเหลือง
  • 1:05 - 1:07
    มีคลื่นแสงสองชนิดที่แตกต่างกันนั้นปรากฏ
  • 1:07 - 1:09
    คลื่นนึงมีความถี่ของแสงสีแดง
  • 1:09 - 1:11
    อีกคลื่นหน่งมีความถี่ของแสงสีเขียว
  • 1:11 - 1:13
    มันไม่มีแสงสีเหลืองอยู่เลยซักนิด
  • 1:13 - 1:14
    แล้วทำไม
  • 1:14 - 1:17
    ที่ที่ซึ่งแสงสีแดงและเขียวมาผสมกัน
  • 1:17 - 1:19
    จึงปรากฎเป็นสีเหลืองให้เราเห็นล่ะ?
  • 1:19 - 1:22
    การทำความเข้าใจเรื่องนี้
    ต้องอาศัยความรู้ทางชีววิทยาสักเล็กน้อย
  • 1:22 - 1:25
    โดยเฉพาะเรื่องที่ว่า
    มนุษย์มองเห็นสีได้อย่างไร
  • 1:25 - 1:28
    การรับแสงเกิดขึ้นที่บริเวณชั้นเซลล์บางๆ
  • 1:28 - 1:29
    ที่เรียกว่า เรตินา (retina)
  • 1:29 - 1:32
    ที่บุอยู่ด้านหลังของลูกตา
  • 1:32 - 1:36
    เรตินา ประกอบด้วยเซลล์รับแสง 2 ชนิด
    ที่แตกต่างกัน:
  • 1:36 - 1:38
    เซลล์รูปแท่ง (rod) และเซลล์รูปกรวย (cone)
  • 1:38 - 1:40
    เซลล์รูปแท่งจะใช้ในการมองเห็นในที่ที่มีแสงน้อย
  • 1:40 - 1:43
    และเซลล์ชนิดนี้มีอยู่แบบเดียวเท่านั้น
  • 1:43 - 1:46
    ส่วนเซลล์รูปกรวยจะต่างออกไป
  • 1:46 - 1:48
    มันมีด้วยกัน 3 แบบ
    ซึ่งทำหน้าที่ตอบสนองต่อแสง
  • 1:48 - 1:49
    สีแดง
  • 1:49 - 1:50
    สีเขียว
  • 1:50 - 1:51
    และสีน้ำเงิน
  • 1:51 - 1:53
    เมื่อคุณมองดูสีสีหนึ่ง
  • 1:53 - 1:57
    เซลล์รูปกรวยแต่ละแบบก็จะส่งสัญญาณ
    ที่แตกต่างกันไปยังสมอง
  • 1:57 - 1:59
    เช่น สมมติว่าแสงสีเหลือง
  • 1:59 - 2:02
    แสงสีเหลืองจริงๆ
    ที่มีความถี่แสงสีเหลือง
  • 2:02 - 2:03
    กระทบเข้าตาคุณ
  • 2:03 - 2:06
    คุณไม่มีเซลล์รูปกรวยเฉพาะสำหรับจับแสงสีเหลือง
  • 2:06 - 2:08
    แต่สีเหลืองนั้นถือว่าใกล้เคียงกับสีเขียว
  • 2:08 - 2:10
    และก็ใกล้เคียงกับสีแดงด้วย
  • 2:10 - 2:12
    ดังนั้นเซลล์รูปกรวยสำหรับสีแดงและเขียว
    จึงถูกกระตุ้น
  • 2:12 - 2:16
    ต่างส่งสัญญาณไปยังสมอง
  • 2:16 - 2:18
    แน่นอนว่า มันมีวิธีอื่นเช่นกันที่จะกระตุ้นการทำงาน
  • 2:18 - 2:21
    ของเซลล์รูปกรวยสำหรับแสงสีแดงและเขียว
    พร้อมๆ กัน
  • 2:21 - 2:25
    ถ้ามีแสงสีแดงและแสงสีเขียว
    ปรากฏอยู่ในเวลาเดียวกัน
  • 2:25 - 2:28
    ประเด็นคือ สมองคุณได้รับสัญญาณไม่ต่างกัน
  • 2:28 - 2:32
    ไม่ว่าคุณจะมองแสงที่มีความถี่ของแสงสีเหลือง
  • 2:32 - 2:35
    หรือ แสงผสมที่มีความถี่ของแสงสีแดงและสีเขียว
  • 2:35 - 2:39
    นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไม
    สีแดง บวก สีเขียว ได้ สีเหลือง
  • 2:39 - 2:43
    แล้วทำไมคุณถึงมองไม่เห็นสีในที่มืด?
  • 2:43 - 2:45
    นั่นก็เพราะ เซลล์รูปแท่งจะทำงานแทน
  • 2:45 - 2:47
    ในที่ที่มีแสงน้อย
  • 2:47 - 2:49
    คุณมีเซลล์รูปแท่งอยู่แบบเดียว
  • 2:49 - 2:51
    ดังนั้นจึงมีสัญญาณแบบเดียว
  • 2:51 - 2:53
    ที่ส่งไปยังสมอง
  • 2:53 - 2:55
    คือ มีแสง กับ ไม่มีแสง
  • 2:55 - 2:57
    การที่มีเซลล์รับแสงเพียงแบบเดียว
  • 2:57 - 3:00
    ทำให้หมดโอกาสในการมองเห็นสี
  • 3:00 - 3:02
    สีทางกายภายมีมากมายนับไม่ถ้วน
  • 3:02 - 3:05
    แต่เพราะเรามีเซลล์รูปกรวยเพียง 3 แบบ
  • 3:05 - 3:08
    สมองจึงถูกลวงให้คิดไปว่า
    มันสามารถเห็นสีอะไรก็ได้
  • 3:08 - 3:11
    โดยการผสมผสานอย่างละเอียดลงตัว
  • 3:11 - 3:12
    ของสีเพียงแค่สามสี
  • 3:12 - 3:14
    แดง เขียว น้ำเงิน
  • 3:14 - 3:18
    คุณสมบัติการมองเห็นของมนุษย์นี้
    เป็นประโยชน์ในชีวิตจริง
  • 3:18 - 3:20
    เช่น การผลิตทีวี
  • 3:20 - 3:23
    แทนที่จะใช้สีจำนวนนับไม่ถ้วนในการสร้างทีวี
  • 3:23 - 3:25
    เพื่อให้ได้ภาพที่สมจริง
  • 3:25 - 3:27
    ผู้ผลิตทีวีกลับใช้สีเพียงแค่ 3 สี
  • 3:27 - 3:29
    แดง เขียว น้ำเงิน
  • 3:29 - 3:32
    ถือว่าพวกเขาโชคดีจริงๆ
Title:
เรามองเห็นสีได้อย่างไร - คอล์ม เคลเลเฮอร์ (Colm Kelleher)
Speaker:
Colm Kelleher
Description:

ชมบทเรียนเต็มได้ที่: http://ed.ted.com/lessons/how-we-see-color-colm-kelleher

มีตัวรับสีเพียง 3 ชนิดในตาของคุณ คือ สีแดง สีเขียว และสีน้ำเงิน แต่ทำไมเราจึงสามารถมองเห็นแสงสีต่างๆ มากมายในโลกรอบตัวเราได้
คอล์ม เคลเลเฮอร์ อธิบายว่ามนุษย์เราสามารถมองเห็นสีต่างๆ ตั้งแต่ สีน้ำตาลแดงไปจนถึงสีเขียวน้ำเงินได้อย่างไร

บทเรียนโดย Colm Kelleher, แอนิเมชั่นโดย TED-Ed

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
03:45
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for How we see color
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for How we see color
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for How we see color
Kelwalin Dhanasarnsombut approved Thai subtitles for How we see color
Kelwalin Dhanasarnsombut accepted Thai subtitles for How we see color
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for How we see color
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for How we see color
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for How we see color
Show all

Thai subtitles

Revisions