Return to Video

หนูทดลอง เลเซอร์ ความทรงจำที่บิดเบือน

  • 0:00 - 0:02
    สตีฟ รามิเรส: ในช่วงปีแรกของการเรียนระดับบัณฑิตศึกษา
  • 0:02 - 0:04
    ผมใช้เวลาส่วนใหญ่ในห้องนอน
  • 0:04 - 0:06
    กินไอศกรีม (ยี่ห้อ) แบน แอ่น เจอรี่ เยอะเลย
  • 0:06 - 0:08
    ดูรายการโทรทัศน์ไร้สาระ
  • 0:08 - 0:11
    และ บางครั้ง บางครั้งก็ฟังเพลงเทเลอร์ สวิฟท์ (Taylor Swift)
  • 0:11 - 0:13
    ผมกำลังอยู่ในช่วงอกหัก
  • 0:13 - 0:14
    (เสียงหัวเราะ)
  • 0:14 - 0:17
    ตลอดช่วงเวลาอันแสนยาวนาน สิ่งที่ผมทำก็คือ
  • 0:17 - 0:20
    หวนทวนความทรงจำถึง 'คนนั้น' ซ้ำแล้วซ้ำอีก
  • 0:20 - 0:23
    หวังจะหลุดพ้น จากความรู้สึกสะเทือนใจ
  • 0:23 - 0:25
    อารมณ์อ่อนไหว ที่บอกไม่ถูก
  • 0:25 - 0:28
    จนบัดนี้ ผมกลายเป็นนักประสาทวิทยา
  • 0:28 - 0:30
    ผมจึงได้รู้ว่า ความทรงจำเกี่ยวกับ 'คนนั้น'
  • 0:30 - 0:33
    กับ ความรู้สึกเลวร้าย ที่ปรุงแต่งความทรงจำ
  • 0:33 - 0:36
    แท้จริงแล้ว ควบคุมโดยระบบสมองคนละส่วน
  • 0:36 - 0:38
    และผมคิดว่า จะเป็นอย่างไรหากเราสามารถสืบค้นเข้าไปในสมอง
  • 0:38 - 0:40
    แล้ว ตัดความรู้สึกที่ก่อความไม่สบายใจออกเสีย
  • 0:40 - 0:43
    แต่ยังคงเก็บความทรงจำเกี่ยวกับ 'คนนั้น' เอาไว้
  • 0:43 - 0:46
    ผมรู้ว่าตอนนี้ มันอาจฟังดูเลิศหรูเกินไป
  • 0:46 - 0:48
    แต่จะเป็นอย่างไร หากเราเริ่มต้นสืบค้นเข้าไปในสมอง
  • 0:48 - 0:51
    ด้วยการแค่ ค้นหาสักหนึ่งความทรงจำ
  • 0:51 - 0:54
    เราจะดึงความทรงจำนั้นกลับมาอีกครั้งได้ไหม
  • 0:54 - 0:57
    บางที อาจถึงกับปรับแต่งเนื้อหาในความทรงจำนั้นด้วย
  • 0:57 - 1:00
    ที่พูดมาทั้งหมดนี้ มีเพียงคนเดียวในโลก
  • 1:00 - 1:02
    ที่ผมหวังว่าเขาจะไม่ดูผมบรรยายในวันนี้
  • 1:02 - 1:06
    (เสียงหัวเราะ)
  • 1:06 - 1:09
    เอาล่ะครับ ใจความสำคัญก็คือว่า
  • 1:09 - 1:12
    ความคิดนี้ อาจทำให้คุณคิดถึง (หนังเรื่อง) 'ฅนทะลุโลก'
    (Total Recall)
  • 1:12 - 1:14
    (หนังเรื่อง) "ลบเธอให้ไม่ลืม"
    (Eternal Sunshine of the Spotless Mind)
  • 1:14 - 1:15
    หรือ (หนังเรื่อง) "จิตพิฆาตโลก" (Inception)
  • 1:15 - 1:17
    แต่ตัวเอก ที่เราใช้คือ
  • 1:17 - 1:19
    ดารายอดนิยมของห้องปฎิบัติการ
  • 1:19 - 1:20
    เซีย หลิว: หนูทดลองนั่นเอง
  • 1:20 - 1:22
    (เสียงหัวเราะ)
  • 1:22 - 1:25
    นักประสาทวิทยาอย่างเรา ทำงานในห้องทดลองกับหนู
  • 1:25 - 1:28
    พยายามเข้าใจว่า ความทรงจำทำงานอย่างไร
  • 1:28 - 1:31
    วันนี้ เราอยากจะโน้มน้าวให้คุณเชื่อ
  • 1:31 - 1:34
    ว่าจริงๆ แล้วเราสามารถ กระตุ้นความทรงจำในสมอง
  • 1:34 - 1:36
    ด้วยความเร็วเท่าแสง
  • 1:36 - 1:39
    การทำเช่นนี้ ต้องการเพียงสองขั้นตอน
  • 1:39 - 1:43
    หนึ่ง คุณหาและติดฉลากความทรงจำในสมอง
  • 1:43 - 1:46
    จากนั้น ก็เปิดมันด้วยสวิทช์ มัน
  • 1:46 - 1:48
    แค่นั้นแหละ
  • 1:48 - 1:50
    (เสียงหัวเราะ)
  • 1:50 - 1:51
    สตีฟ: คุณเชื่อไหมนี่?
  • 1:51 - 1:55
    แต่กลายเป็นว่า การค้นหาความทรงจำในสมอง
    นัั้นไม่ง่ายเลย
  • 1:55 - 1:58
    เซีย: ความจริง มันยากมาก ลองนึกถึง
  • 1:58 - 2:00
    ค้นหาเข็มในกองฟาง
  • 2:00 - 2:03
    อย่างน้อย คุณก็ยังรู้ว่าเข็มมันมีตัวตน
  • 2:03 - 2:05
    คุณสามารถใช้นิ้วหยิบมันขึ้นมาได้
  • 2:05 - 2:07
    แต่ ความทรงจำไม่ใช่แบบนั้น
  • 2:07 - 2:11
    และยังมีเซลล์ประสาทมากมายในสมอง
  • 2:11 - 2:16
    มากยิ่งกว่าจำนวนปล้องหญ้า ในกองฟาง
  • 2:16 - 2:18
    ดังนั้น งานนี้จึงน่าหวาดหวั่น
  • 2:18 - 2:22
    แต่โชคดี ที่เราได้รับความช่วยเหลือจากสมองเอง
  • 2:22 - 2:25
    กลายเป็นว่า สิ่งที่เราต้องทำคือ เพียงแค่
  • 2:25 - 2:27
    ปล่อยในสมองสร้างความทรงจำ
  • 2:27 - 2:30
    แล้ว สมองจะบอกเราว่าเซลล์ประสาทใดเกี่ยวข้อง
  • 2:30 - 2:32
    กับความทรงจำนั้น
  • 2:32 - 2:35
    สตีฟ: แล้วมันเกิดอะไรขึ้นในสมองของผม
  • 2:35 - 2:37
    เมื่อผม หวนระลึกถึงความทรงจำเรื่องแฟนเก่า
  • 2:37 - 2:39
    ถ้าเรา ไม่ต้องสนใจมนุษยธรรม สักวินาที
  • 2:39 - 2:41
    แล้ว ตัดสมองผมเป็นแผ่นๆ ตอนนี้
  • 2:41 - 2:43
    คุณพบว่า มันมีบริเวณของสมอง มากมายหลายแห่ง
  • 2:43 - 2:46
    ที่ตื่นตัว ในขณะระลึกความทรงจำนั้น
  • 2:46 - 2:49
    บริเวณหนึ่งของสมอง ที่ตื่นตัวเป็นอย่างยิ่ง
  • 2:49 - 2:51
    คือส่วนที่เรียกวา ฮิปโปแคมปัส (hippocampus)
  • 2:51 - 2:53
    ซึ่งเป็นเวลาหลายสิบปี ที่มันถูกเข้าใจว่า
    เชื่อมโยงกับการสร้าง
  • 2:53 - 2:56
    ความทรงจำเกี่ยวกับคนที่เราชื่นชอบ สนิทชิดใกล้
  • 2:56 - 2:58
    ซึ่งทำให้มันเป็น เป้าหมาย การสืบค้น
  • 2:58 - 3:01
    และการพยายามค้นหา กระตุ้นความทรงจำ
  • 3:01 - 3:03
    เซีย: เมื่อเรามองภาพขยาย ของฮิปโปแคมปัส
  • 3:03 - 3:06
    คุณจะเห็นเซลล์จำนวนมหาศาล
  • 3:06 - 3:09
    แต่เราสามารถพบเซลล์ที่เกี่ยวข้อง
  • 3:09 - 3:10
    กับความทรงจำหนึ่งๆได้
  • 3:10 - 3:13
    เพราะ เมื่อไหร่ที่เซลล์ใดตื่นตัว
  • 3:13 - 3:14
    เช่น เมื่อมันสร้างความทรงจำ
  • 3:14 - 3:18
    มันจะเหลือร่องรอย ที่บอกให้เรารู้ภายหลัง
  • 3:18 - 3:21
    ว่าเซลล์นั้นเพิ่ง ตื่นตัวเร็วๆนี้
  • 3:21 - 3:23
    สตีฟ: เหมือนกับ ตอนกลางคืนที่ไฟในตึกเปิดอยู่
  • 3:23 - 3:26
    บอกให้คุณรู้ว่า ตอนนั้นน่าจะมีคนทำงานอยู่ที่นั่น
  • 3:26 - 3:29
    ในความเป็นจริงนั้น มันมีตัวรับสัญญาณทางชีวภาพ
  • 3:29 - 3:31
    ภายในเซลล์ที่มีการเปิดใช้
  • 3:31 - 3:33
    ณ เวลาที่เซลล์นั้นทำงานอยู่เท่านั้น
  • 3:33 - 3:35
    เหมือนกับ หน้าต่างที่มีแสงทางชีวภาพ
  • 3:35 - 3:37
    ที่บอกให้เรารู้ว่า เซลล์เพิ่งตื่นตัว
  • 3:37 - 3:40
    เซีย: ดังนั้น เราตัดเอาส่วนหนึ่งของตัวรับสัญญาณ
  • 3:40 - 3:43
    แล้วติดมันเข้ากับปุ่มเปิดปิดเพื่อควบคุมเซลล์
  • 3:43 - 3:47
    แล้วเราก็ใส่เข้ามันไปในไวรัสที่มีการดัดแปลงทางพันธุกรรม
  • 3:47 - 3:50
    แล้วฉีดไวรัสนี้เข้าไปในสมองหนู
  • 3:50 - 3:52
    เมื่อใดก็ตามที่มีการสร้างความทรงจำ
  • 3:52 - 3:55
    เซลล์ใดก็ตามที่ตื่นตัวต่อความทรงจำนั้น
  • 3:55 - 3:57
    จะมีปุ่มเปิดปิดติดอยู่
  • 3:57 - 3:59
    สตีฟ: นี่คือหน้าตาของสมองส่วน ฮิปโปแคมปัส
  • 3:59 - 4:02
    หลังจากสร้างความทรงจำเกี่ยวกับความกลัว เป็นต้น
  • 4:02 - 4:04
    แถบสีน้ำเงินที่เราเห็น
  • 4:04 - 4:06
    คือ เซลล์สมองที่อัดแน่น
  • 4:06 - 4:07
    แต่ส่วนเซลล์สีเขียว
  • 4:07 - 4:10
    คือเซลล์สมอง ซื่งบันทึก
  • 4:10 - 4:11
    ความทรงจำจำเพาะต่อเรื่องความกลัว
  • 4:11 - 4:13
    คุณเห็นการตกผลึก
  • 4:13 - 4:16
    ของการก่อตัวอย่างฉับพลันของความกลัว
  • 4:16 - 4:19
    คุณกำลังเห็น ภาพตัดขวางของความทรงจำ
  • 4:19 - 4:22
    เซีย: มาที่ปุ่มเปิดปิดที่เราพูดถึง
  • 4:22 - 4:25
    ตามอุดมคติแล้ว สวิทช์ต้องทำงานเร็วมาก
  • 4:25 - 4:27
    มันไม่ควรใช้เวลาเป็นนาทีหรือเป็นชั่วโมงในการทำงาน
  • 4:27 - 4:31
    มันควรใช้เวลาเพียง หนึ่งในพันของวินาที
  • 4:31 - 4:33
    สตีฟ: คุณคิดว่าอย่างไร เซีย?
  • 4:33 - 4:36
    ถ้าเราจะใช้ยา
  • 4:36 - 4:37
    ในการกระตุ้นหรือยับยั้งเซลล์สมองล่ะ ?
  • 4:37 - 4:41
    เซีย: ไม่ดีมั้ง ยามันค่อนข้างจะยุ่งเหยิง
    พวกมันกระจายทั่วตัวไปหมด
  • 4:41 - 4:44
    และมันยังใช้เวลา กว่าจะออกฤทธิ์กับเซลล์
  • 4:44 - 4:48
    ดังนั้น มันไม่อนุญาตให้เราควบคุมความทรงจำ
    ในแบบติดตามได้จริง
  • 4:48 - 4:52
    สตีฟ ถ้างั้นเราใช้ไฟฟ้าช๊อตเลยดีไหม
  • 4:52 - 4:55
    สตีฟ: ไฟฟ้าก็เร็วดี
  • 4:55 - 4:56
    แต่บางทีเราไม่สามารถที่จะชี้เป้าได้
  • 4:56 - 4:59
    ในการบ่งชี้เซลล์เฉพาะที่เก็บความทรงจำ
  • 4:59 - 5:01
    และเราอาจจะย่างสมอง
  • 5:01 - 5:04
    เซีย: เออจริง ฉะนั้นมันจะเป็นอย่างนั้น
  • 5:04 - 5:06
    เอาล่า เราจึงต้องมองหาทางอื่น
  • 5:06 - 5:10
    ที่จะส่งผลกระทบต่อสมองด้วยความเร็วแสง
  • 5:10 - 5:15
    สตีฟ: กลายเป็นว่า แสงนั้นเดินทางเร็วเท่าแสง
  • 5:15 - 5:18
    ดังนั้นเราอาจกระตุ้นหรือระงับความทรงจำได้
  • 5:18 - 5:20
    เพียงแค่ใช้แสง
  • 5:20 - 5:21
    เซีย: มันก็เร็วดี
  • 5:21 - 5:23
    และเพราะเซลล์สมองธรรมดา
  • 5:23 - 5:25
    ไม่สนองต่อจังหวะกระพริบไฟ
  • 5:25 - 5:27
    ดังนั้นสมองส่วนที่จะตอบสนอง
  • 5:27 - 5:29
    ต้องมีสวิทช์ติดอยู่
  • 5:29 - 5:31
    สิ่งแรกคือ การปรับเซลล์สมอง
  • 5:31 - 5:32
    ให้ตอบสนอต่อแสงเลเซอร์
  • 5:32 - 5:34
    เซีย: ฟังดูดี
  • 5:34 - 5:36
    เราจึงลองฉายเลเซอร์ที่สมอง
  • 5:36 - 5:37
    หัวเราะ
  • 5:37 - 5:41
    เราจึงใช้เทคนิคเรียกว่า ออพโตเจเนทิคส์ (optogenetics)
  • 5:41 - 5:44
    ออพโตเจเนทิคส์ นี้ทำให้เรามีสวิตช์
  • 5:44 - 5:46
    เพื่อเปิด ปิด เซลล์สมอง
  • 5:46 - 5:48
    และปุ่มที่ว่าก็มีชื่อคือ แชนเนลโรดอปซิน (channelrhodopsin)
  • 5:48 - 5:51
    เห็นจุดสีเขียวที่ติดกับสมองไหมครับ
  • 5:51 - 5:54
    คุณลองคิดว่า แชนเนลโรดอปซิน เป็นปุ่มเปิดปิดไฟที่ไวต่อแสง
  • 5:54 - 5:57
    ที่เราสามารถติดตั้งในเซลล์สมองได้
  • 5:57 - 5:58
    ทีนี้เราก็ใช้สวิตช์ได้แล้ว
  • 5:58 - 6:01
    ในการกระตุ้นหรือยังยั้งการทำงานของสมอง โดยแค่คลิกมัน
  • 6:01 - 6:04
    ในที่นี้ เราคลิกด้วยจังหวะความเร็วแสง
  • 6:04 - 6:08
    เซีย: เราติดตั้ง สวิตช์ที่ไวต่อแสง ของแชนเนลโรดอปซิน
  • 6:08 - 6:10
    ไว้กับตัวจับความเปลี่ยนแปลง ที่เราถึงพูดกัน
  • 6:10 - 6:12
    แล้วฉีดเข้าสมอง
  • 6:12 - 6:16
    ดังนั้น เมื่อความทรงจำถูกสร้างขึ้น
  • 6:16 - 6:18
    เซลล์ใดก็ตามที่ตื่นตัวต่อความทรงจำนั้นๆ
  • 6:18 - 6:21
    ก็จะมีสวิตช์ที่ไวต่อแสง ติดตั้งอยู่
  • 6:21 - 6:24
    เราจึงสามารถควบคุมเซลล์เหล่านั้นได้
  • 6:24 - 6:28
    โดยการกระพริบของเลเซอร์ อย่างที่เห็น
  • 6:28 - 6:31
    สตีฟ: เอาล่ะ ลองมาทดลองกันเลยดีกว่า
  • 6:31 - 6:33
    ที่เราทำได้คือ เรานำหนูทดลองมา
  • 6:33 - 6:36
    จากนั้น เราเอามันใส่ไว้ในกล่องที่มีหน้าตาแบบนี้
  • 6:36 - 6:38
    และเราก็ปล่อยกระแสไฟฟ้าอ่อนๆ ที่เท้า
  • 6:38 - 6:40
    ทำให้มันเกิดความทรงจำที่กลัวกล่องนี้
  • 6:40 - 6:42
    มันเรียนรู้ ว่ามีสิ่งเลวร้ายบางอย่าง เกิดขึ้นที่นี่
  • 6:42 - 6:45
    ในระบบของเรา เซลล์สมองที่ตื่นตัว
  • 6:45 - 6:47
    ในฮิปโปแคมปัสที่ทำหน้าที่สร้างความทรงจำ
  • 6:47 - 6:50
    แค่เฉพาะเซลล์เหล่านี้เท่านั้น ที่จะมี แชนเนลโรดอปซิน
  • 6:50 - 6:53
    เซีย: เมื่อเราตัวเล็กเท่าหนู
  • 6:53 - 6:57
    เราจะรู้สึก เหมือนทั้งโลกกำลังไล่ล่าคุณ
  • 6:57 - 6:59
    ฉะนั้นการตอบสนองเพื่อป้องกันตัวที่ดีที่สุด
  • 6:59 - 7:01
    ก็คือการพยายามซ่่อนตัว
  • 7:01 - 7:03
    เมื่อไหร่หนูกลัว
  • 7:03 - 7:05
    มันจะแสดงพฤติกรรมที่เป็นไปตามแบบฉบับนี้
  • 7:05 - 7:07
    ด้วยการยืนนิ่งๆ ที่มุมของกล่อง
  • 7:07 - 7:10
    ไม่ขยับส่วนไหนของร่างกาย
  • 7:10 - 7:13
    ซึ่งเรียกท่าทางนี้ว่า การหยุดชะงัก (freezing)
  • 7:13 - 7:17
    ดังนั้นเมื่อหนู จจดำเรื่องเลวร้ายในกล่องนี้ได้
  • 7:17 - 7:20
    และเมื่อเราเอามันกลับในกล่องเดิม
  • 7:20 - 7:22
    มันก็แสดงอาการนิ่งแบบนั้น เช่นกัน
  • 7:22 - 7:24
    เพราะมันกลัวถูกจับได้
  • 7:24 - 7:27
    จากสิ่งที่อาจเป็นอันตราย ในกล่องนี้
  • 7:27 - 7:28
    สตีฟ: คุณสามารถคิดถึงอาการชะงักแบบนี้
  • 7:28 - 7:30
    ว่าเป็นเหมือนเมื่อคุณเดินไปบนถนน สนใจแต่เรื่องคุณเอง
  • 7:30 - 7:32
    และโดยไม่ทันตั้งตัว คุณได้เจอกับ
  • 7:32 - 7:34
    แฟนเก่า
  • 7:34 - 7:36
    ในช่วงเวลา 2 วินาที แห่งความน่าสะพรึงกลัว
  • 7:36 - 7:38
    ที่คุณเริ่มคิดว่า "ทำอย่างไรดี? ทักทายดีไหม?"
  • 7:38 - 7:40
    จะจับมือทัก? หรือกลับหลังหันวิ่งหนี?
  • 7:40 - 7:42
    อยู่ตรงนี้แต่แกล้งทำเป็นว่าฉันไร้ตัวตน?
  • 7:42 - 7:45
    ความคิดที่จะเผ่นแว๊บเหล่านี้ ทำให้คุณไม่สามารถขยับได้
  • 7:45 - 7:47
    ทำให้คุณตกอยู่ในสภาพเหมือน กวางที่เจอไฟหน้ารถส่อง
  • 7:47 - 7:51
    เซีย: อย่างไรก็ดีเมื่อเรา นำหนูใส่ในกล่องอันถัดไป
  • 7:51 - 7:54
    ที่แตกต่างอย่างสิ้นเชิง
  • 7:54 - 7:56
    มันจะไม่กลัวกล่องนี้
  • 7:56 - 8:01
    เพราะมันไม่มีเหตุให้ต้องกลัวสิ่งแวดล้อมใหม่
  • 8:01 - 8:04
    แล้วจะเป็นอย่างไร หากเราเอาหนูใส่ในกล่องใหม่นี้
  • 8:04 - 8:08
    แต่ในเวลาเดียวกันเรากระตุ้นความทรงจำที่น่ากลัว
  • 8:08 - 8:10
    โดยใช้เลเซอร์เหมือนที่เราทำก่อนหน้านี้
  • 8:10 - 8:13
    เราจะดึงความทรงจำที่น่ากลัวจากในกล่องแรก
  • 8:13 - 8:17
    มายังที่ซึ่งเป็นสิ่งแวดล้อมใหม่อย่างสมบูรณ์ได้หรือไม่
  • 8:17 - 8:20
    สตีฟ: เอาละ และนี่คืองานวิจัยล้านดอลลาร์
  • 8:20 - 8:23
    เพื่อที่จะปลุกเอาความทรงจำวันนั้นกลับมาอีกครั้ง
  • 8:23 - 8:25
    ผมจำได้ ตอนนั้นทีม เรดซอกซ์ (Red Sox) เพิ่งชนะการแข่งขัน
  • 8:25 - 8:27
    มันเป็นวันในฤดูใบไม้ผลิอันเขียวชะอุ่ม
  • 8:27 - 8:29
    เหมาะต่อการล่องไปตามแม่น้ำ
  • 8:29 - 8:31
    และบางทีอาจะไปต่อทางทิศเหนือ
  • 8:31 - 8:33
    เพื่อลิ้มรส ขนมแคโนลิ อะไรทำนองนั้น
  • 8:33 - 8:36
    กลายเป็นว่าตอนนี้ เซีย และผม
  • 8:36 - 8:39
    กลับอยู่ในห้องมืดสนิท ไร้หน้าต่าง
  • 8:39 - 8:43
    ไม่ขยับตาหรือแม้แต่กระพริบตา
  • 8:43 - 8:45
    เพราะตาเรา จ้องแต่จอคอมพิวเตอร์
  • 8:45 - 8:48
    พวกเราดูหนูที่จะเราพยายามกระตุ้นความทรงจำ
  • 8:48 - 8:50
    เป็นครั้งแรกโดยเทคนิคนี้ของเรา
  • 8:50 - 8:52
    เซีย: และนี่คือสิ่งที่เราเห็น
  • 8:52 - 8:55
    เมื่อเราใส่หนูในกล่องนี้
  • 8:55 - 8:58
    มันวิ่งสำรวจ, ดมกลิ่น, เดินรอบๆ
  • 8:58 - 8:59
    วุ่นวายกับเรื่องของตัวเอง
  • 8:59 - 9:01
    เพราะอันที่จริงแล้ว โดยธรรมชาติ
  • 9:01 - 9:03
    หนูเป็นสัตว์ขี้สงสัย
  • 9:03 - 9:06
    มันอยากรู่วามีอะไรเกิดขึ้น ในกล่องใหม่นี้
  • 9:06 - 9:07
    มันช่างน่าสนใจ
  • 9:07 - 9:11
    แต่เมื่อเราใส่เลเซอร์
  • 9:11 - 9:14
    ทันใดนั้น หนูเข้าสู่อาการหยุดชะงัก
  • 9:14 - 9:18
    มันอยู่นิ่งตรงนั้น พยายามไม่ขยับร่างกาย
  • 9:18 - 9:20
    ชัดเจน ว่ามันหยุดนิ่งจังงัง
  • 9:20 - 9:22
    ครับ มันดูเหมือนว่าเราสามารถ
  • 9:22 - 9:24
    นำความทรงจำน่ากลัวจากกล่องแรกนั่นกลับมาได้
  • 9:24 - 9:28
    เมื่อหนูอยู่ในสิ่่งแวดล้อมใหม่โดยสิ้นเชิง
  • 9:28 - 9:30
    เมื่อเราเห็นสิ่งนี้ สตีฟกับผม
  • 9:30 - 9:32
    ตะลึงเหมือนหนูทดลองเสียเอง
  • 9:32 - 9:33
    (เสียงหัวเราะ)
  • 9:33 - 9:37
    หลังการทดลอง เราออกจากห้อง
  • 9:37 - 9:38
    โดยไม่พูดอะไรเลย
  • 9:38 - 9:42
    หลังจากช่วงเวลาที่เราทำตัวเก้ๆกังๆอยู่นาน
  • 9:42 - 9:44
    สตีฟจึงเอ่ยขึ้นว่า
  • 9:44 - 9:46
    สตีฟ "มันสำเร็จใช่ไหม"
  • 9:46 - 9:49
    เซีย: "ใช่" ผมตอบ "มันใช่ได้จริงๆ"
  • 9:49 - 9:51
    เราตื่นเต้นมาก
  • 9:51 - 9:54
    และเมื่อเราตีพิมพ์ผลการค้นพบ
  • 9:54 - 9:56
    ในวารสาร เนเจอร์ (Nature)
  • 9:56 - 9:58
    ตั้งแต่ตีพิมพ์ผลงานของเรา
  • 9:58 - 10:01
    เราได้รับความเห็นมากมาย
  • 10:01 - 10:03
    จากอินเทอร์เน็ตทุกสารทิศ
  • 10:03 - 10:06
    เราขอคัดมาเพื่อดูเป็นบางส่วนนะครับ
  • 10:06 - 10:09
    คุณพระ!!!!..ในที่สุด เราก็มาถึง ความจริงเสมือน, การปรับแต่งประสาท, การเลียนแบบความฝัน..การใส่รหัสทางประสาท, 'เขียนและเปลี่ยนแปลงความทรงจำ', ความผิดปกติทางจิต. อาาา อนาคตเนี่ยโคตรเจ๋ง
  • 10:09 - 10:11
    สตีฟ: สิ่งแรกที่เราสังเกตก็คือผู้คน
  • 10:11 - 10:14
    ผู้คนมีความเห็นที่เข้มข้นจริงจังต่องานประเภทนี้
  • 10:14 - 10:16
    ตอนนี้ผมเห็นด้วยเต็มที่เลยกับพวกที่มองโลกในแง่ดี
  • 10:16 - 10:17
    ของความเห็นแรก
  • 10:17 - 10:20
    เพราะจากเสียงระดับศูนย์ ถึงระดับ [ของนักแสดง]
    มอร์แกน ฟรีแมน (Morgan Freeman)
  • 10:20 - 10:22
    นับว่ามันเป็นรางวัลเกียรติยศที่น่าย้อนระลึกถึงมากที่สุด
  • 10:22 - 10:24
    ที่ผมเคยได้ยินมา
  • 10:24 - 10:26
    (เสียงหัวเราะ)
  • 10:26 - 10:28
    แต่คุณจะเห็นว่า นั่นไม่ใช่แค่ความเห็นเดียว
  • 10:28 - 10:29
    นี่มันขนหัวลุกจริงๆ ถ้าทำแบบนี้กับคนได้ง่ายๆในอีกสักสองสามปีหน้าล่ะ โอ พระเจ้า แย่แล้วๆ
  • 10:29 - 10:31
    เซีย: ครับ ถ้าเราดูความเห็นที่สอง
  • 10:31 - 10:33
    ผมคิดว่าเราอาจเห็นตรงกันว่า แหม..
  • 10:33 - 10:36
    มันอาจไม่เป็นไปในเชิงบวกเท่าไร
  • 10:36 - 10:38
    แต่มันก็เตือนเราว่า
  • 10:38 - 10:40
    แม้เรายังคงทดลองแค่ในหนู
  • 10:40 - 10:44
    บางทีมันเป็นเรื่องดี ที่เราจะเริ่มคิดและอภิปราย
  • 10:44 - 10:47
    ถึงเป็นไปได้ในความเห็นต่างเรื่องจริยธรรม
  • 10:47 - 10:49
    ของการควบคุมความจำ
  • 10:49 - 10:51
    สตีฟ: จากแรงบันดาลใจ จากความเห็นที่สาม
  • 10:51 - 10:53
    เราอยากบอกคุณ ถึงงานชิ้นล่าสุดที่เรากำลังทำการทดลองอยู่
  • 10:53 - 10:55
    ซึ่งเรียกว่า โครงการแห่งความริเริ่ม (Project Inception)
  • 10:55 - 10:58
    "พวกเขาควรสร้างหนังเกี่ยวกับสิ่งนี้ ซึ่งเกี่ยวกับการใส่ความคิดในจิตใจผู้คน เพื่อที่จะให้เขาสามารถควบคุมตัวเองเพื่อประโยชน์ของพวกเขาเอง เราเรียกมันว่า ความริเริ่ม"
  • 10:58 - 11:02
    ด้วยเหตุผลที่ ว่าตอนนี้เราสามารถเรียกคืนความทรงจำได้
  • 11:02 - 11:05
    จะเป็นอย่างไรถ้าหากเราทำอย่างนั้น
    และเริ่มที่จะเชื่อมต่อความทรงจำ
  • 11:05 - 11:08
    เราอาจเปลี่ยนมันเป็นความทรงจำที่ผิดเพี้ยนได้หรือไม่
  • 11:08 - 11:12
    เซีย: ความทรงจำ มีความซับซ้อนและเปลี่ยนแปลงได้ตลอด
  • 11:12 - 11:15
    แต่หากคิดง่ายๆ ลองนึกถึง
  • 11:15 - 11:17
    คลิปวีดีโอ
  • 11:17 - 11:19
    ถึงตอนนี้เราบอกคุณว่า เราสามารถควบคุมมันได้ง่ายๆ โดย
  • 11:19 - 11:21
    กดปุ่ม "เล่น"
  • 11:21 - 11:26
    แล้วเราก็สามารถเล่นวีดีโอได้ทุกที่ ทุกเวลา
  • 11:26 - 11:28
    แต่จะเป็นไปได้ไหมว่าเราอาจจะ
  • 11:28 - 11:31
    เข้าไปในสมอง แล้วตัดต่อคลิปหนังนี้
  • 11:31 - 11:34
    ทำให้มันแตกต่างไปจากของเดิม
  • 11:34 - 11:36
    ใช่ เราทำได้
  • 11:36 - 11:38
    กลายเป็นว่า สิ่งที่เราต้องทำ ง่ายๆก็คือ
  • 11:38 - 11:43
    เรียกคืนความทรงจำด้วยเลเซอร์ เหมือนที่เราทำในงานก่อน
  • 11:43 - 11:46
    แต่ในเวลาเดียวกัน เรามีข้อมูลใหม่ใส่เข้าไปด้วย
  • 11:46 - 11:50
    และให้ข้อมูลใหม่นี้ประสานเข้าไปในข้อมูลเก่า
  • 11:50 - 11:53
    นั่นมันจะเปลี่ยนความทรงจำ
  • 11:53 - 11:56
    มันเหมือนกับการทำ เทปรีมิกซ์
  • 11:56 - 11:59
    สตีฟ: แล้วเราทำได้อย่างไร
  • 11:59 - 12:01
    แทนที่จะค้นหาความทรงจำที่น่ากลัวในสมอง
  • 12:01 - 12:03
    เราเริ่มโดยนำสัตว์ทดลอง
  • 12:03 - 12:06
    ใส่ในกล่องสีน้ำเงินแบบนี้
  • 12:06 - 12:08
    และค้นหาเซลล์สมองส่วนรับรู้เกี่ยวกับกล่องสีน้ำเงิน
  • 12:08 - 12:10
    จากนั้นเรา ทำให้เซลล์นั้นตอบสนองต่อแสง
  • 12:10 - 12:12
    อย่างที่เราพูดก่อนหน้านี้
  • 12:12 - 12:14
    วันต่อมา เรานำหนูทดลอง มาวาง
  • 12:14 - 12:17
    ในกล่องแดงที่มันไม่เคยอยู่มาก่อน
  • 12:17 - 12:19
    เราใช้เลเซอร์ยิงเข้าไปกระตุ้นสมอง
  • 12:19 - 12:21
    เพื่อเรียกคืนความทรงจำกล่องน้ำเงิน
  • 12:21 - 12:23
    จะเกิดอะไรขึ้น หากขณะที่หนูทดลอง
  • 12:23 - 12:25
    กำลังเรียกคืนความทรงจำกล่องน้ำเงิน
  • 12:25 - 12:28
    เราก็ให้กระแสไฟอ่อนช็อคที่เท้ามันด้วย
  • 12:28 - 12:30
    ณ ตรงนี้ เราพยายามสร้าง ความเชื่อมโยงแบบจำแลง
  • 12:30 - 12:32
    ระหว่างความทรงจำกับกล่องน้ำเงิน
  • 12:32 - 12:34
    กับ การช็อคที่เท้า
  • 12:34 - 12:35
    เราพยายามเชื่อมสองสิ่งนั้น
  • 12:35 - 12:37
    เพื่อทดสอบว่าเราทำได้จริงๆ
  • 12:37 - 12:38
    เรานำหนูทดลอง
  • 12:38 - 12:40
    ใส่ในกล่องน้ำเงินอีกครั้ง
  • 12:40 - 12:43
    และเป็นอีกครัง ที่เราเรียกความทรงจำ ตอนที่มันอยู่ในกล่องน้ำเงิน
  • 12:43 - 12:45
    และโดนช็อคเท้าในกล่องแดง
  • 12:45 - 12:48
    ปรากฎว่า หนูมีอาการหยุดนิ่ง
  • 12:48 - 12:51
    เป็นไปดังคาด มันเรียกคืนควาทรงจำที่โดนช็อคในสิ่งแวดล้อมนี้
  • 12:51 - 12:54
    แม้มันไม่เคยเกิดมาก่อนในที่แห่งนี้
  • 12:54 - 12:56
    มันสร้างความทรงจำที่ผิด
  • 12:56 - 12:58
    เพราะมันกลัวในนสิ่งแวดล้อมผิด
  • 12:58 - 12:59
    ซึ่งทางเทคนิค เรากล่าวได้ว่า
  • 12:59 - 13:01
    ไม่มีอะไรเลวร้ายเกิดที่นี่จริงๆ
  • 13:01 - 13:04
    เซีย: ถึงตอนี้ เราแค่กำลังพูดถึง
  • 13:04 - 13:06
    การใช้แสง เป็นปุ่ม "เปิด"
  • 13:06 - 13:09
    จริงๆ แล้ว เราสามารถใช้แสง เป็นปุ่ม "ปิด" ได้ด้วย
  • 13:09 - 13:11
    และคิดง่ายๆ ก็คือ
  • 13:11 - 13:14
    โดยการติดตั้ง ปุ่มปิด ที่ใช้แสงควบคุม
  • 13:14 - 13:20
    เราสามารถปิด ความทรงจำ ที่ไหน เมื่อไหร่ก็ได้
  • 13:20 - 13:22
    ครับ ทุกอย่างที่เราพูดถึงในวันนี้
  • 13:22 - 13:26
    ตั้งอยู่บนการเปลี่ยนแปลงทางปรัชญาของประสาทวิทยาพื้นฐาน
  • 13:26 - 13:31
    ที่ว่าจิตใจ ที่มันเหมือนจะมีคุณสมบัติอันลึกลับ
  • 13:31 - 13:34
    แท้จริงแล้ว มันทำขึ้นจากสิ่งที่จับต้องได้
    และเราสามารถเชื่อมต่อมันได้
  • 13:34 - 13:36
    สตีฟ: โดยส่วนตัวแล้ว
  • 13:36 - 13:37
    ผมเห็นโลก ที่เราสามารถกระตุ้นเรียกคืน
  • 13:37 - 13:39
    ความทรงจำใดก็ได้ที่เราต้องการ
  • 13:39 - 13:43
    และผมยังเห็นโลกที่เราสามารถลบความทรงจำที่ไม่ต้องการได้
  • 13:43 - 13:45
    ตอนนี้ ผมเห็นแม้กระทั่งโลก ที่การถปรับแต่งความทรงจำ
  • 13:45 - 13:46
    ใกล้ความเป็นจริง
  • 13:46 - 13:48
    เพราะเรากำลังอยู่ในช่วงเวลาแห่งความเป็นไปได้
  • 13:48 - 13:50
    ที่จะดึงคำถามจากต้นไม้แห่งนิยายวิทยาศาสตร์
  • 13:50 - 13:52
    และปลูกมันในการทดลองจริง
  • 13:52 - 13:54
    เซีย: ทุกวันนี้ คนในห้องทดลอง
  • 13:54 - 13:57
    และคนกลุ่มอื่นๆทั่วโลก
  • 13:57 - 14:01
    กำลังใช้วิธีเดียวกันนี้กระตุ้นหรือปรับแต่งความทรงจำ
  • 14:01 - 14:04
    ไม่ว่าจะเป็นสิ่ง ใหม่ เก่า บวกหรือลบ
  • 14:04 - 14:07
    ทุกประเภทของความทรงจำ เพื่อที่เราจะสามารถเข้าใจ
  • 14:07 - 14:09
    ว่าความทรงจำทำงานอย่างไร
  • 14:09 - 14:11
    สตีฟ: ตัวอย่างเช่น คนในกลุ่มเรา
  • 14:11 - 14:13
    สามารถพบเซลล์สมองที่สร้างความทรงจำน่ากลัว
  • 14:13 - 14:16
    แล้วปรับเปลี่ยนเป็นความทรงจำที่สวยงามน่าพิศมัย
  • 14:16 - 14:19
    นั่นคือสิ่งที่ผมหมายถึง เกี่ยวกับการปรับแต่งกระบวนการเหล่านี้
  • 14:19 - 14:21
    ตอนนี้คนหนึ่งในทีม ทำได้กระทั่ง
  • 14:21 - 14:24
    เรียกคืนความทรงจำเกี่ยวกับหนูตัวเมีย ในหนูตัวผู้
  • 14:24 - 14:26
    ซึ่งลือกันว่ามันเป็นประสบการณ์ที่น่าพิศมัยเชียว
  • 14:26 - 14:31
    เซีย: แน่นอน เราอยู่ในช่วงเวลาแห่งความตื่นเต้น
  • 14:31 - 14:34
    เมื่อวิทยาศาสตร์ สามารถก้าวหน้าได้อย่างไร้ขอบเขต
  • 14:34 - 14:38
    มันถูกจำกัดเพียงแค่จินตนาการของเรา
  • 14:38 - 14:40
    สตีฟ: สุดท้าย เราได้อะไรจากทั้งหมดนี้
  • 14:40 - 14:42
    เราจะผลักดันเทคโนโลยีนี้ไปข้างหน้าได้อย่างไร
  • 14:42 - 14:44
    นี่ยังคงมีคำถามที่ไม่ควรเก็บไว้
  • 14:44 - 14:45
    เพียงแต่ในห้องทดลอง
  • 14:45 - 14:48
    และเป้าหมายหนึ่งของการบรรยายของเราในวันนี้ คือการนำทุกคน
  • 14:48 - 14:50
    ทันกับสิ่งเหล่านี้ที่เป็นไปได้
  • 14:50 - 14:52
    ในประสาทวิทยาสมัยใหม่
  • 14:52 - 14:53
    แต่ตอนนี้ สิ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน
  • 14:53 - 14:56
    ก็คือ เพื่อให้ทุกท่านมีส่วนร่วมคิดในบทสนทนานี้
  • 14:56 - 14:59
    ลองช่วยกันคิดด้วยกัน ว่าทั้งหมดนี้มันคืออะไร
  • 14:59 - 15:01
    เราจะสามารถทำสิ่งใดได้ และควรดำเนินไปในลู่ทางใด
  • 15:01 - 15:03
    เพราะ เซียและผมคิดว่า เราทุกคน
  • 15:03 - 15:06
    มีการตัดสินใจครั้งใหญ่ รอเราอยู่ข้างหน้า
  • 15:06 - 15:07
    ขอบคุณครับ
  • 15:07 - 15:09
    (เสียงปรบมือ)
Title:
หนูทดลอง เลเซอร์ ความทรงจำที่บิดเบือน
Speaker:
สตีฟ รามิเรส (Steve Ramirez) และ เซีย หลิว (Xu Liu)
Description:

เราสามารถปรับแต่งความทรงจำได้ไหม? โจทย์จากเรื่องราวในภาพยนต์วิทยาศาสตร์ ที่ทำให้ สตีฟ รามิเรส และเซีย หลู นักวิทยาศาสตร์แห่ง MIT นำไปขมคิด. โดยย่อ มันคือการยิงแสงเลเซอร์สู่สมองของหนูทดลองที่มีชีวิต เพื่อเรียกคืนและปรับแต่งความทรงจำ พวกเขา นำผลงานมาเล่าอย่างสนุกสนาน น่าตื่นเต้น พวกเขาแบ่งปันเรื่องให้เราฟัง ไม่เพียงแค่ "อย่างไร" แต่ทีสำคัญ คือ "ทำไม" พวกเขาจึงทำมัน (ถ่ายทำที่ TEDxBoston)

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
15:25
Kelwalin Dhanasarnsombut approved Thai subtitles for A mouse. A laser beam. A manipulated memory.
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for A mouse. A laser beam. A manipulated memory.
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for A mouse. A laser beam. A manipulated memory.
Kelwalin Dhanasarnsombut accepted Thai subtitles for A mouse. A laser beam. A manipulated memory.
Kelwalin Dhanasarnsombut commented on Thai subtitles for A mouse. A laser beam. A manipulated memory.
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for A mouse. A laser beam. A manipulated memory.
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for A mouse. A laser beam. A manipulated memory.
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for A mouse. A laser beam. A manipulated memory.
Show all
  • Nice translation so far ka. Have edited few places here and there, please let me know what do you think na ka.
    Will continue with it soon ka :)

  • เติมคำเข้าไปเยอะเหมือนกันค่ะ เพราะบางข้อความพอคำตกหล่นไปแล้ว ความหมายเปลี่ยนไปเยอะพอสมควร บางทีประโยคก็ไม่สมบูรณ์อ่านแล้วอาจติดๆขัดๆน่ะค่ะ ต้องขออภัยด้วยถ้าเปลี่ยนน้ำเสียงในการแปลของคุณไปนะคะ
    ยังไงช่วยศึกษาตรวจทานอีกทีนะคะ แล้วเทียบกับกฎคราวๆของการแปลค่ะ (เช่นการแปลคำว่า laughter ในวงเล็บว่า เสียงหัวเราะ แทนที่จะเป็น หัวเราะ) ถ้าใช้ google translate หรือโปรแกรมช่วยแปลต้องระวังนิดนึง แต่ที่เหลือดีมากค่ะ ทั้งการใช้คำและแบ่งวรรคตอน ไม่ค่อยมีคำผิด ดีเลยค่ะ การแปลให้คงโทนของผู้แปลต้องค่อยๆฝึกกัน มันท้าทายพอสมควรเลยค่ะ และอีกอย่างทอล์คนี้ท้าทายเรื่องคำศัพท์ด้วย ทำได้แค่นี้สำหรับงานแรกๆก็เก่งแล้วค่ะ พยายามต่อไปนะคะ ถ้าอยากแก้ บอกให้ทราบด้วยนะคะ จะยินดีมากค่ะ

    ขอบคุณสำหรับงานแปลค่ะ

Thai subtitles

Revisions

  • Revision 11 Edited (legacy editor)
    Kelwalin Dhanasarnsombut