สตีฟ รามิเรส: ในช่วงปีแรกของการเรียนระดับบัณฑิตศึกษา
ผมใช้เวลาส่วนใหญ่ในห้องนอน
กินไอศกรีม (ยี่ห้อ) แบน แอ่น เจอรี่ เยอะเลย
ดูรายการโทรทัศน์ไร้สาระ
และ บางครั้ง บางครั้งก็ฟังเพลงเทเลอร์ สวิฟท์ (Taylor Swift)
ผมกำลังอยู่ในช่วงอกหัก
(เสียงหัวเราะ)
ตลอดช่วงเวลาอันแสนยาวนาน สิ่งที่ผมทำก็คือ
หวนทวนความทรงจำถึง 'คนนั้น' ซ้ำแล้วซ้ำอีก
หวังจะหลุดพ้น จากความรู้สึกสะเทือนใจ
อารมณ์อ่อนไหว ที่บอกไม่ถูก
จนบัดนี้ ผมกลายเป็นนักประสาทวิทยา
ผมจึงได้รู้ว่า ความทรงจำเกี่ยวกับ 'คนนั้น'
กับ ความรู้สึกเลวร้าย ที่ปรุงแต่งความทรงจำ
แท้จริงแล้ว ควบคุมโดยระบบสมองคนละส่วน
และผมคิดว่า จะเป็นอย่างไรหากเราสามารถสืบค้นเข้าไปในสมอง
แล้ว ตัดความรู้สึกที่ก่อความไม่สบายใจออกเสีย
แต่ยังคงเก็บความทรงจำเกี่ยวกับ 'คนนั้น' เอาไว้
ผมรู้ว่าตอนนี้ มันอาจฟังดูเลิศหรูเกินไป
แต่จะเป็นอย่างไร หากเราเริ่มต้นสืบค้นเข้าไปในสมอง
ด้วยการแค่ ค้นหาสักหนึ่งความทรงจำ
เราจะดึงความทรงจำนั้นกลับมาอีกครั้งได้ไหม
บางที อาจถึงกับปรับแต่งเนื้อหาในความทรงจำนั้นด้วย
ที่พูดมาทั้งหมดนี้ มีเพียงคนเดียวในโลก
ที่ผมหวังว่าเขาจะไม่ดูผมบรรยายในวันนี้
(เสียงหัวเราะ)
เอาล่ะครับ ใจความสำคัญก็คือว่า
ความคิดนี้ อาจทำให้คุณคิดถึง (หนังเรื่อง) 'ฅนทะลุโลก'
(Total Recall)
(หนังเรื่อง) "ลบเธอให้ไม่ลืม"
(Eternal Sunshine of the Spotless Mind)
หรือ (หนังเรื่อง) "จิตพิฆาตโลก" (Inception)
แต่ตัวเอก ที่เราใช้คือ
ดารายอดนิยมของห้องปฎิบัติการ
เซีย หลิว: หนูทดลองนั่นเอง
(เสียงหัวเราะ)
นักประสาทวิทยาอย่างเรา ทำงานในห้องทดลองกับหนู
พยายามเข้าใจว่า ความทรงจำทำงานอย่างไร
วันนี้ เราอยากจะโน้มน้าวให้คุณเชื่อ
ว่าจริงๆ แล้วเราสามารถ กระตุ้นความทรงจำในสมอง
ด้วยความเร็วเท่าแสง
การทำเช่นนี้ ต้องการเพียงสองขั้นตอน
หนึ่ง คุณหาและติดฉลากความทรงจำในสมอง
จากนั้น ก็เปิดมันด้วยสวิทช์ มัน
แค่นั้นแหละ
(เสียงหัวเราะ)
สตีฟ: คุณเชื่อไหมนี่?
แต่กลายเป็นว่า การค้นหาความทรงจำในสมอง
นัั้นไม่ง่ายเลย
เซีย: ความจริง มันยากมาก ลองนึกถึง
ค้นหาเข็มในกองฟาง
อย่างน้อย คุณก็ยังรู้ว่าเข็มมันมีตัวตน
คุณสามารถใช้นิ้วหยิบมันขึ้นมาได้
แต่ ความทรงจำไม่ใช่แบบนั้น
และยังมีเซลล์ประสาทมากมายในสมอง
มากยิ่งกว่าจำนวนปล้องหญ้า ในกองฟาง
ดังนั้น งานนี้จึงน่าหวาดหวั่น
แต่โชคดี ที่เราได้รับความช่วยเหลือจากสมองเอง
กลายเป็นว่า สิ่งที่เราต้องทำคือ เพียงแค่
ปล่อยในสมองสร้างความทรงจำ
แล้ว สมองจะบอกเราว่าเซลล์ประสาทใดเกี่ยวข้อง
กับความทรงจำนั้น
สตีฟ: แล้วมันเกิดอะไรขึ้นในสมองของผม
เมื่อผม หวนระลึกถึงความทรงจำเรื่องแฟนเก่า
ถ้าเรา ไม่ต้องสนใจมนุษยธรรม สักวินาที
แล้ว ตัดสมองผมเป็นแผ่นๆ ตอนนี้
คุณพบว่า มันมีบริเวณของสมอง มากมายหลายแห่ง
ที่ตื่นตัว ในขณะระลึกความทรงจำนั้น
บริเวณหนึ่งของสมอง ที่ตื่นตัวเป็นอย่างยิ่ง
คือส่วนที่เรียกวา ฮิปโปแคมปัส (hippocampus)
ซึ่งเป็นเวลาหลายสิบปี ที่มันถูกเข้าใจว่า
เชื่อมโยงกับการสร้าง
ความทรงจำเกี่ยวกับคนที่เราชื่นชอบ สนิทชิดใกล้
ซึ่งทำให้มันเป็น เป้าหมาย การสืบค้น
และการพยายามค้นหา กระตุ้นความทรงจำ
เซีย: เมื่อเรามองภาพขยาย ของฮิปโปแคมปัส
คุณจะเห็นเซลล์จำนวนมหาศาล
แต่เราสามารถพบเซลล์ที่เกี่ยวข้อง
กับความทรงจำหนึ่งๆได้
เพราะ เมื่อไหร่ที่เซลล์ใดตื่นตัว
เช่น เมื่อมันสร้างความทรงจำ
มันจะเหลือร่องรอย ที่บอกให้เรารู้ภายหลัง
ว่าเซลล์นั้นเพิ่ง ตื่นตัวเร็วๆนี้
สตีฟ: เหมือนกับ ตอนกลางคืนที่ไฟในตึกเปิดอยู่
บอกให้คุณรู้ว่า ตอนนั้นน่าจะมีคนทำงานอยู่ที่นั่น
ในความเป็นจริงนั้น มันมีตัวรับสัญญาณทางชีวภาพ
ภายในเซลล์ที่มีการเปิดใช้
ณ เวลาที่เซลล์นั้นทำงานอยู่เท่านั้น
เหมือนกับ หน้าต่างที่มีแสงทางชีวภาพ
ที่บอกให้เรารู้ว่า เซลล์เพิ่งตื่นตัว
เซีย: ดังนั้น เราตัดเอาส่วนหนึ่งของตัวรับสัญญาณ
แล้วติดมันเข้ากับปุ่มเปิดปิดเพื่อควบคุมเซลล์
แล้วเราก็ใส่เข้ามันไปในไวรัสที่มีการดัดแปลงทางพันธุกรรม
แล้วฉีดไวรัสนี้เข้าไปในสมองหนู
เมื่อใดก็ตามที่มีการสร้างความทรงจำ
เซลล์ใดก็ตามที่ตื่นตัวต่อความทรงจำนั้น
จะมีปุ่มเปิดปิดติดอยู่
สตีฟ: นี่คือหน้าตาของสมองส่วน ฮิปโปแคมปัส
หลังจากสร้างความทรงจำเกี่ยวกับความกลัว เป็นต้น
แถบสีน้ำเงินที่เราเห็น
คือ เซลล์สมองที่อัดแน่น
แต่ส่วนเซลล์สีเขียว
คือเซลล์สมอง ซื่งบันทึก
ความทรงจำจำเพาะต่อเรื่องความกลัว
คุณเห็นการตกผลึก
ของการก่อตัวอย่างฉับพลันของความกลัว
คุณกำลังเห็น ภาพตัดขวางของความทรงจำ
เซีย: มาที่ปุ่มเปิดปิดที่เราพูดถึง
ตามอุดมคติแล้ว สวิทช์ต้องทำงานเร็วมาก
มันไม่ควรใช้เวลาเป็นนาทีหรือเป็นชั่วโมงในการทำงาน
มันควรใช้เวลาเพียง หนึ่งในพันของวินาที
สตีฟ: คุณคิดว่าอย่างไร เซีย?
ถ้าเราจะใช้ยา
ในการกระตุ้นหรือยับยั้งเซลล์สมองล่ะ ?
เซีย: ไม่ดีมั้ง ยามันค่อนข้างจะยุ่งเหยิง
พวกมันกระจายทั่วตัวไปหมด
และมันยังใช้เวลา กว่าจะออกฤทธิ์กับเซลล์
ดังนั้น มันไม่อนุญาตให้เราควบคุมความทรงจำ
ในแบบติดตามได้จริง
สตีฟ ถ้างั้นเราใช้ไฟฟ้าช๊อตเลยดีไหม
สตีฟ: ไฟฟ้าก็เร็วดี
แต่บางทีเราไม่สามารถที่จะชี้เป้าได้
ในการบ่งชี้เซลล์เฉพาะที่เก็บความทรงจำ
และเราอาจจะย่างสมอง
เซีย: เออจริง ฉะนั้นมันจะเป็นอย่างนั้น
เอาล่า เราจึงต้องมองหาทางอื่น
ที่จะส่งผลกระทบต่อสมองด้วยความเร็วแสง
สตีฟ: กลายเป็นว่า แสงนั้นเดินทางเร็วเท่าแสง
ดังนั้นเราอาจกระตุ้นหรือระงับความทรงจำได้
เพียงแค่ใช้แสง
เซีย: มันก็เร็วดี
และเพราะเซลล์สมองธรรมดา
ไม่สนองต่อจังหวะกระพริบไฟ
ดังนั้นสมองส่วนที่จะตอบสนอง
ต้องมีสวิทช์ติดอยู่
สิ่งแรกคือ การปรับเซลล์สมอง
ให้ตอบสนอต่อแสงเลเซอร์
เซีย: ฟังดูดี
เราจึงลองฉายเลเซอร์ที่สมอง
หัวเราะ
เราจึงใช้เทคนิคเรียกว่า ออพโตเจเนทิคส์ (optogenetics)
ออพโตเจเนทิคส์ นี้ทำให้เรามีสวิตช์
เพื่อเปิด ปิด เซลล์สมอง
และปุ่มที่ว่าก็มีชื่อคือ แชนเนลโรดอปซิน (channelrhodopsin)
เห็นจุดสีเขียวที่ติดกับสมองไหมครับ
คุณลองคิดว่า แชนเนลโรดอปซิน เป็นปุ่มเปิดปิดไฟที่ไวต่อแสง
ที่เราสามารถติดตั้งในเซลล์สมองได้
ทีนี้เราก็ใช้สวิตช์ได้แล้ว
ในการกระตุ้นหรือยังยั้งการทำงานของสมอง โดยแค่คลิกมัน
ในที่นี้ เราคลิกด้วยจังหวะความเร็วแสง
เซีย: เราติดตั้ง สวิตช์ที่ไวต่อแสง ของแชนเนลโรดอปซิน
ไว้กับตัวจับความเปลี่ยนแปลง ที่เราถึงพูดกัน
แล้วฉีดเข้าสมอง
ดังนั้น เมื่อความทรงจำถูกสร้างขึ้น
เซลล์ใดก็ตามที่ตื่นตัวต่อความทรงจำนั้นๆ
ก็จะมีสวิตช์ที่ไวต่อแสง ติดตั้งอยู่
เราจึงสามารถควบคุมเซลล์เหล่านั้นได้
โดยการกระพริบของเลเซอร์ อย่างที่เห็น
สตีฟ: เอาล่ะ ลองมาทดลองกันเลยดีกว่า
ที่เราทำได้คือ เรานำหนูทดลองมา
จากนั้น เราเอามันใส่ไว้ในกล่องที่มีหน้าตาแบบนี้
และเราก็ปล่อยกระแสไฟฟ้าอ่อนๆ ที่เท้า
ทำให้มันเกิดความทรงจำที่กลัวกล่องนี้
มันเรียนรู้ ว่ามีสิ่งเลวร้ายบางอย่าง เกิดขึ้นที่นี่
ในระบบของเรา เซลล์สมองที่ตื่นตัว
ในฮิปโปแคมปัสที่ทำหน้าที่สร้างความทรงจำ
แค่เฉพาะเซลล์เหล่านี้เท่านั้น ที่จะมี แชนเนลโรดอปซิน
เซีย: เมื่อเราตัวเล็กเท่าหนู
เราจะรู้สึก เหมือนทั้งโลกกำลังไล่ล่าคุณ
ฉะนั้นการตอบสนองเพื่อป้องกันตัวที่ดีที่สุด
ก็คือการพยายามซ่่อนตัว
เมื่อไหร่หนูกลัว
มันจะแสดงพฤติกรรมที่เป็นไปตามแบบฉบับนี้
ด้วยการยืนนิ่งๆ ที่มุมของกล่อง
ไม่ขยับส่วนไหนของร่างกาย
ซึ่งเรียกท่าทางนี้ว่า การหยุดชะงัก (freezing)
ดังนั้นเมื่อหนู จจดำเรื่องเลวร้ายในกล่องนี้ได้
และเมื่อเราเอามันกลับในกล่องเดิม
มันก็แสดงอาการนิ่งแบบนั้น เช่นกัน
เพราะมันกลัวถูกจับได้
จากสิ่งที่อาจเป็นอันตราย ในกล่องนี้
สตีฟ: คุณสามารถคิดถึงอาการชะงักแบบนี้
ว่าเป็นเหมือนเมื่อคุณเดินไปบนถนน สนใจแต่เรื่องคุณเอง
และโดยไม่ทันตั้งตัว คุณได้เจอกับ
แฟนเก่า
ในช่วงเวลา 2 วินาที แห่งความน่าสะพรึงกลัว
ที่คุณเริ่มคิดว่า "ทำอย่างไรดี? ทักทายดีไหม?"
จะจับมือทัก? หรือกลับหลังหันวิ่งหนี?
อยู่ตรงนี้แต่แกล้งทำเป็นว่าฉันไร้ตัวตน?
ความคิดที่จะเผ่นแว๊บเหล่านี้ ทำให้คุณไม่สามารถขยับได้
ทำให้คุณตกอยู่ในสภาพเหมือน กวางที่เจอไฟหน้ารถส่อง
เซีย: อย่างไรก็ดีเมื่อเรา นำหนูใส่ในกล่องอันถัดไป
ที่แตกต่างอย่างสิ้นเชิง
มันจะไม่กลัวกล่องนี้
เพราะมันไม่มีเหตุให้ต้องกลัวสิ่งแวดล้อมใหม่
แล้วจะเป็นอย่างไร หากเราเอาหนูใส่ในกล่องใหม่นี้
แต่ในเวลาเดียวกันเรากระตุ้นความทรงจำที่น่ากลัว
โดยใช้เลเซอร์เหมือนที่เราทำก่อนหน้านี้
เราจะดึงความทรงจำที่น่ากลัวจากในกล่องแรก
มายังที่ซึ่งเป็นสิ่งแวดล้อมใหม่อย่างสมบูรณ์ได้หรือไม่
สตีฟ: เอาละ และนี่คืองานวิจัยล้านดอลลาร์
เพื่อที่จะปลุกเอาความทรงจำวันนั้นกลับมาอีกครั้ง
ผมจำได้ ตอนนั้นทีม เรดซอกซ์ (Red Sox) เพิ่งชนะการแข่งขัน
มันเป็นวันในฤดูใบไม้ผลิอันเขียวชะอุ่ม
เหมาะต่อการล่องไปตามแม่น้ำ
และบางทีอาจะไปต่อทางทิศเหนือ
เพื่อลิ้มรส ขนมแคโนลิ อะไรทำนองนั้น
กลายเป็นว่าตอนนี้ เซีย และผม
กลับอยู่ในห้องมืดสนิท ไร้หน้าต่าง
ไม่ขยับตาหรือแม้แต่กระพริบตา
เพราะตาเรา จ้องแต่จอคอมพิวเตอร์
พวกเราดูหนูที่จะเราพยายามกระตุ้นความทรงจำ
เป็นครั้งแรกโดยเทคนิคนี้ของเรา
เซีย: และนี่คือสิ่งที่เราเห็น
เมื่อเราใส่หนูในกล่องนี้
มันวิ่งสำรวจ, ดมกลิ่น, เดินรอบๆ
วุ่นวายกับเรื่องของตัวเอง
เพราะอันที่จริงแล้ว โดยธรรมชาติ
หนูเป็นสัตว์ขี้สงสัย
มันอยากรู่วามีอะไรเกิดขึ้น ในกล่องใหม่นี้
มันช่างน่าสนใจ
แต่เมื่อเราใส่เลเซอร์
ทันใดนั้น หนูเข้าสู่อาการหยุดชะงัก
มันอยู่นิ่งตรงนั้น พยายามไม่ขยับร่างกาย
ชัดเจน ว่ามันหยุดนิ่งจังงัง
ครับ มันดูเหมือนว่าเราสามารถ
นำความทรงจำน่ากลัวจากกล่องแรกนั่นกลับมาได้
เมื่อหนูอยู่ในสิ่่งแวดล้อมใหม่โดยสิ้นเชิง
เมื่อเราเห็นสิ่งนี้ สตีฟกับผม
ตะลึงเหมือนหนูทดลองเสียเอง
(เสียงหัวเราะ)
หลังการทดลอง เราออกจากห้อง
โดยไม่พูดอะไรเลย
หลังจากช่วงเวลาที่เราทำตัวเก้ๆกังๆอยู่นาน
สตีฟจึงเอ่ยขึ้นว่า
สตีฟ "มันสำเร็จใช่ไหม"
เซีย: "ใช่" ผมตอบ "มันใช่ได้จริงๆ"
เราตื่นเต้นมาก
และเมื่อเราตีพิมพ์ผลการค้นพบ
ในวารสาร เนเจอร์ (Nature)
ตั้งแต่ตีพิมพ์ผลงานของเรา
เราได้รับความเห็นมากมาย
จากอินเทอร์เน็ตทุกสารทิศ
เราขอคัดมาเพื่อดูเป็นบางส่วนนะครับ
คุณพระ!!!!..ในที่สุด เราก็มาถึง ความจริงเสมือน, การปรับแต่งประสาท, การเลียนแบบความฝัน..การใส่รหัสทางประสาท, 'เขียนและเปลี่ยนแปลงความทรงจำ', ความผิดปกติทางจิต. อาาา อนาคตเนี่ยโคตรเจ๋ง
สตีฟ: สิ่งแรกที่เราสังเกตก็คือผู้คน
ผู้คนมีความเห็นที่เข้มข้นจริงจังต่องานประเภทนี้
ตอนนี้ผมเห็นด้วยเต็มที่เลยกับพวกที่มองโลกในแง่ดี
ของความเห็นแรก
เพราะจากเสียงระดับศูนย์ ถึงระดับ [ของนักแสดง]
มอร์แกน ฟรีแมน (Morgan Freeman)
นับว่ามันเป็นรางวัลเกียรติยศที่น่าย้อนระลึกถึงมากที่สุด
ที่ผมเคยได้ยินมา
(เสียงหัวเราะ)
แต่คุณจะเห็นว่า นั่นไม่ใช่แค่ความเห็นเดียว
นี่มันขนหัวลุกจริงๆ ถ้าทำแบบนี้กับคนได้ง่ายๆในอีกสักสองสามปีหน้าล่ะ โอ พระเจ้า แย่แล้วๆ
เซีย: ครับ ถ้าเราดูความเห็นที่สอง
ผมคิดว่าเราอาจเห็นตรงกันว่า แหม..
มันอาจไม่เป็นไปในเชิงบวกเท่าไร
แต่มันก็เตือนเราว่า
แม้เรายังคงทดลองแค่ในหนู
บางทีมันเป็นเรื่องดี ที่เราจะเริ่มคิดและอภิปราย
ถึงเป็นไปได้ในความเห็นต่างเรื่องจริยธรรม
ของการควบคุมความจำ
สตีฟ: จากแรงบันดาลใจ จากความเห็นที่สาม
เราอยากบอกคุณ ถึงงานชิ้นล่าสุดที่เรากำลังทำการทดลองอยู่
ซึ่งเรียกว่า โครงการแห่งความริเริ่ม (Project Inception)
"พวกเขาควรสร้างหนังเกี่ยวกับสิ่งนี้ ซึ่งเกี่ยวกับการใส่ความคิดในจิตใจผู้คน เพื่อที่จะให้เขาสามารถควบคุมตัวเองเพื่อประโยชน์ของพวกเขาเอง เราเรียกมันว่า ความริเริ่ม"
ด้วยเหตุผลที่ ว่าตอนนี้เราสามารถเรียกคืนความทรงจำได้
จะเป็นอย่างไรถ้าหากเราทำอย่างนั้น
และเริ่มที่จะเชื่อมต่อความทรงจำ
เราอาจเปลี่ยนมันเป็นความทรงจำที่ผิดเพี้ยนได้หรือไม่
เซีย: ความทรงจำ มีความซับซ้อนและเปลี่ยนแปลงได้ตลอด
แต่หากคิดง่ายๆ ลองนึกถึง
คลิปวีดีโอ
ถึงตอนนี้เราบอกคุณว่า เราสามารถควบคุมมันได้ง่ายๆ โดย
กดปุ่ม "เล่น"
แล้วเราก็สามารถเล่นวีดีโอได้ทุกที่ ทุกเวลา
แต่จะเป็นไปได้ไหมว่าเราอาจจะ
เข้าไปในสมอง แล้วตัดต่อคลิปหนังนี้
ทำให้มันแตกต่างไปจากของเดิม
ใช่ เราทำได้
กลายเป็นว่า สิ่งที่เราต้องทำ ง่ายๆก็คือ
เรียกคืนความทรงจำด้วยเลเซอร์ เหมือนที่เราทำในงานก่อน
แต่ในเวลาเดียวกัน เรามีข้อมูลใหม่ใส่เข้าไปด้วย
และให้ข้อมูลใหม่นี้ประสานเข้าไปในข้อมูลเก่า
นั่นมันจะเปลี่ยนความทรงจำ
มันเหมือนกับการทำ เทปรีมิกซ์
สตีฟ: แล้วเราทำได้อย่างไร
แทนที่จะค้นหาความทรงจำที่น่ากลัวในสมอง
เราเริ่มโดยนำสัตว์ทดลอง
ใส่ในกล่องสีน้ำเงินแบบนี้
และค้นหาเซลล์สมองส่วนรับรู้เกี่ยวกับกล่องสีน้ำเงิน
จากนั้นเรา ทำให้เซลล์นั้นตอบสนองต่อแสง
อย่างที่เราพูดก่อนหน้านี้
วันต่อมา เรานำหนูทดลอง มาวาง
ในกล่องแดงที่มันไม่เคยอยู่มาก่อน
เราใช้เลเซอร์ยิงเข้าไปกระตุ้นสมอง
เพื่อเรียกคืนความทรงจำกล่องน้ำเงิน
จะเกิดอะไรขึ้น หากขณะที่หนูทดลอง
กำลังเรียกคืนความทรงจำกล่องน้ำเงิน
เราก็ให้กระแสไฟอ่อนช็อคที่เท้ามันด้วย
ณ ตรงนี้ เราพยายามสร้าง ความเชื่อมโยงแบบจำแลง
ระหว่างความทรงจำกับกล่องน้ำเงิน
กับ การช็อคที่เท้า
เราพยายามเชื่อมสองสิ่งนั้น
เพื่อทดสอบว่าเราทำได้จริงๆ
เรานำหนูทดลอง
ใส่ในกล่องน้ำเงินอีกครั้ง
และเป็นอีกครัง ที่เราเรียกความทรงจำ ตอนที่มันอยู่ในกล่องน้ำเงิน
และโดนช็อคเท้าในกล่องแดง
ปรากฎว่า หนูมีอาการหยุดนิ่ง
เป็นไปดังคาด มันเรียกคืนควาทรงจำที่โดนช็อคในสิ่งแวดล้อมนี้
แม้มันไม่เคยเกิดมาก่อนในที่แห่งนี้
มันสร้างความทรงจำที่ผิด
เพราะมันกลัวในนสิ่งแวดล้อมผิด
ซึ่งทางเทคนิค เรากล่าวได้ว่า
ไม่มีอะไรเลวร้ายเกิดที่นี่จริงๆ
เซีย: ถึงตอนี้ เราแค่กำลังพูดถึง
การใช้แสง เป็นปุ่ม "เปิด"
จริงๆ แล้ว เราสามารถใช้แสง เป็นปุ่ม "ปิด" ได้ด้วย
และคิดง่ายๆ ก็คือ
โดยการติดตั้ง ปุ่มปิด ที่ใช้แสงควบคุม
เราสามารถปิด ความทรงจำ ที่ไหน เมื่อไหร่ก็ได้
ครับ ทุกอย่างที่เราพูดถึงในวันนี้
ตั้งอยู่บนการเปลี่ยนแปลงทางปรัชญาของประสาทวิทยาพื้นฐาน
ที่ว่าจิตใจ ที่มันเหมือนจะมีคุณสมบัติอันลึกลับ
แท้จริงแล้ว มันทำขึ้นจากสิ่งที่จับต้องได้
และเราสามารถเชื่อมต่อมันได้
สตีฟ: โดยส่วนตัวแล้ว
ผมเห็นโลก ที่เราสามารถกระตุ้นเรียกคืน
ความทรงจำใดก็ได้ที่เราต้องการ
และผมยังเห็นโลกที่เราสามารถลบความทรงจำที่ไม่ต้องการได้
ตอนนี้ ผมเห็นแม้กระทั่งโลก ที่การถปรับแต่งความทรงจำ
ใกล้ความเป็นจริง
เพราะเรากำลังอยู่ในช่วงเวลาแห่งความเป็นไปได้
ที่จะดึงคำถามจากต้นไม้แห่งนิยายวิทยาศาสตร์
และปลูกมันในการทดลองจริง
เซีย: ทุกวันนี้ คนในห้องทดลอง
และคนกลุ่มอื่นๆทั่วโลก
กำลังใช้วิธีเดียวกันนี้กระตุ้นหรือปรับแต่งความทรงจำ
ไม่ว่าจะเป็นสิ่ง ใหม่ เก่า บวกหรือลบ
ทุกประเภทของความทรงจำ เพื่อที่เราจะสามารถเข้าใจ
ว่าความทรงจำทำงานอย่างไร
สตีฟ: ตัวอย่างเช่น คนในกลุ่มเรา
สามารถพบเซลล์สมองที่สร้างความทรงจำน่ากลัว
แล้วปรับเปลี่ยนเป็นความทรงจำที่สวยงามน่าพิศมัย
นั่นคือสิ่งที่ผมหมายถึง เกี่ยวกับการปรับแต่งกระบวนการเหล่านี้
ตอนนี้คนหนึ่งในทีม ทำได้กระทั่ง
เรียกคืนความทรงจำเกี่ยวกับหนูตัวเมีย ในหนูตัวผู้
ซึ่งลือกันว่ามันเป็นประสบการณ์ที่น่าพิศมัยเชียว
เซีย: แน่นอน เราอยู่ในช่วงเวลาแห่งความตื่นเต้น
เมื่อวิทยาศาสตร์ สามารถก้าวหน้าได้อย่างไร้ขอบเขต
มันถูกจำกัดเพียงแค่จินตนาการของเรา
สตีฟ: สุดท้าย เราได้อะไรจากทั้งหมดนี้
เราจะผลักดันเทคโนโลยีนี้ไปข้างหน้าได้อย่างไร
นี่ยังคงมีคำถามที่ไม่ควรเก็บไว้
เพียงแต่ในห้องทดลอง
และเป้าหมายหนึ่งของการบรรยายของเราในวันนี้ คือการนำทุกคน
ทันกับสิ่งเหล่านี้ที่เป็นไปได้
ในประสาทวิทยาสมัยใหม่
แต่ตอนนี้ สิ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน
ก็คือ เพื่อให้ทุกท่านมีส่วนร่วมคิดในบทสนทนานี้
ลองช่วยกันคิดด้วยกัน ว่าทั้งหมดนี้มันคืออะไร
เราจะสามารถทำสิ่งใดได้ และควรดำเนินไปในลู่ทางใด
เพราะ เซียและผมคิดว่า เราทุกคน
มีการตัดสินใจครั้งใหญ่ รอเราอยู่ข้างหน้า
ขอบคุณครับ
(เสียงปรบมือ)