การพัฒนาแบบอไจล์ สำหรับครอบครัวของคุณ
-
0:01 - 0:05ข่าวดีเกี่ยวกับเรื่องครอบครัวก็คือ
-
0:05 - 0:06ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก
-
0:06 - 0:08ในความหมายของครอบครัว ใน 50 ปีที่ผ่านมา
-
0:08 - 0:11เรามีครอบครัวผสม ครอบครัวบุญธรรม
-
0:11 - 0:14เรามีครอบครัวเดี่ยวที่แยกกันอยู่คนละบ้าน
-
0:14 - 0:16และก็มีครอบครัวที่หย่าร้างกันแล้ว
แต่อยู่รวมกันในบ้านเดียว -
0:16 - 0:19แต่โดยรวมๆ แล้ว สถาบันครอบครัวเข้มแข็งมากขึ้น
-
0:19 - 0:21คน 8 ใน 10 คนบอกว่า ครอบครัวที่มีในวันนี้
-
0:21 - 0:25มีความเข้มแข็งเท่ากัน หรือมากกว่าครอบครัวที่เขาเติบโตมา
-
0:26 - 0:27ทีนี้ก็มาถึงข่าวร้ายบ้าง
-
0:27 - 0:30แทบทุกคนต่างก็เผชิญปัญหามากมาย เกินรับไหว
-
0:30 - 0:33กับความวุ่นวายยุ่งเหยิงในชีวิตครอบครัว
-
0:33 - 0:35ผู้ปกครองทุกคนที่ผมรู้จัก รวมถึงตัวผมเองด้วย
-
0:35 - 0:37รู้สึกว่าเราต้องเล่นเกมรับอยู่ตลอดเวลา
-
0:37 - 0:40พอลูกๆ หมดปัญหาเรื่องฟัน ก็เริ่มมีปัญหาเรื่องเจ้าอารมณ์
-
0:40 - 0:42พอเด็กๆ พอจะช่วยตัวเองได้แล้วเรื่องการอาบน้ำ
-
0:42 - 0:45ก็จะเริ่มต้องการความช่วยเหลือเรื่องการถูกรังแกทางเน็ต
-
0:45 - 0:47และข่าวร้ายที่สุดก็คือ
-
0:47 - 0:51ลูกๆ ของพวกเราก็รับรู้ได้ว่า เราเริ่มคุมเกมไม่อยู่แล้ว
-
0:51 - 0:54เอลเลน กาลินสกี้ แห่งสถาบันครอบครัวและอาชีพ
-
0:54 - 0:57ได้สำรวจเด็กๆ 1,000 คน โดยถามว่า
"ถ้าหนูมีพรวิเศษ -
0:57 - 1:00ขอได้หนึ่งอย่างเกี่ยวกับพ่อแม่ หนูจะขออะไร?"
-
1:00 - 1:02พวกผู้ใหญ่ก็คาดเดากันว่า เด็กๆ น่าจะขอ
-
1:02 - 1:05ให้ผู้ใหญ่ใช้เวลากับพวกเขามากขึ้น
-
1:05 - 1:09ผิดครับ ความปรารถนาอันดับแรกของเด็กๆ ก็คือ
-
1:09 - 1:12ขอให้พ่อแม่ของพวกเขา เหนื่อยและเครียดน้อยกว่านี้
-
1:12 - 1:14แล้วเราจะเปลี่ยนสถานการณ์นี้ได้อย่างไร?
-
1:14 - 1:17มีวิธีไหนที่ได้ผลบ้างไหม ที่เราจะลดความเครียด
-
1:17 - 1:19นำพาให้ครอบครัวใกล้ชิดกันมากขึ้น
-
1:19 - 1:24และยังช่วยเตรียมความพร้อมให้ลูกๆ ของเราที่จะเผชิญโลกต่อไป
-
1:24 - 1:27ผมใช้เวลาในช่วงหลายปีที่ผ่านมา พยายามหาคำตอบ
-
1:27 - 1:31เดินทางพบปะหลากหลายครอบครัว
พูดคุยกับนักวิชาการ -
1:31 - 1:33ผู้เชี่ยวชาญหลายสาขาตั้งแต่ ผู้แทนเจรจาสันติภาพ
-
1:33 - 1:35ไปจนถึงนักธนาคารของวอเร็น บัฟเฟต
รวมไปถึงพวกกรีนแบร์เร่ -
1:35 - 1:41ผมพยายามที่จะค้นหาว่า ครอบครัวที่มีความสุข
ทำกันได้อย่างไร -
1:41 - 1:45และผมสามารถเรียนรู้อะไรบ้าง
เพื่อทำให้ครอบครัวมีความสุขมากขึ้น -
1:45 - 1:48ผมอยากเล่าให้ฟังถึงครอบครัวหนึ่งที่ผมพบ
-
1:48 - 1:50และทำไมผมถึงคิดว่า พวกเขาชี้ทางสว่างให้ได้
-
1:50 - 1:53ในเมืองฮิดเดนสปริงส์ รัฐไอดาโฮ หนึ่งทุ่มวันอาทิตย์
-
1:53 - 1:57สมาชิกทั้งหกคนของครอบครัวสตารร์ นั่งลงพร้อมกัน
-
1:57 - 1:59เข้าสู่ช่วงสำคัญของสัปดาห์ คือการประชุมครอบครัว
-
1:59 - 2:01ครอบครัวสตารร์เป็นครอบครัวอเมริกันธรรมดา
-
2:01 - 2:03และก็มีปัญหาเหมือนๆ กับครอบครัวอเมริกันอื่นๆ
-
2:03 - 2:06เดวิดเป็นวิศวกรซอฟต์แวร์ ส่วนเอเลนอร์ก็ดูแล
-
2:06 - 2:10ลูกๆ ทั้งสี่คน อายุตั้งแต่ 10 ถึง 15 ขวบ
-
2:10 - 2:13เด็กคนหนึ่งต้องกวดวิชาเลข ที่ฝั่งตรงข้ามของเมือง
-
2:13 - 2:15อีกคนหนึ่งต้องซ้อมกีฬาลาครอสที่อีกด้านของเมือง
-
2:15 - 2:18คนหนึ่งมีอาการแอสเพอร์เกอร์ซินโดรม และมีคนหนึ่งเป็นโรคสมาธิสั้น
-
2:18 - 2:21เอเลนอร์บอกว่า "เราเคยมีชีวิตอยู่อย่างวุ่นวายโกลาหล"
-
2:21 - 2:25สิ่งที่ครอบครัวสตาร์ทำต่อจากนั้น เป็นเรื่องน่าแปลกใจ
-
2:25 - 2:28แทนที่จะขอคำปรึกษาจากเพื่อนหรือญาติ
-
2:28 - 2:30พวกเขากลับมองไปที่ที่ทำงานของเดวิด
-
2:30 - 2:34แล้วหันไปใช้วิธีการพัฒนาซอฟต์แวร์แบบใหม่ เรียกว่า อไจล์
-
2:34 - 2:36วิธีการนี้เริ่มมาจากกลุ่มผู้ผลิตในญี่ปุ่น
-
2:36 - 2:39แพร่หลายมาสู่เหล่าบริษัทหน้าใหม่ในซิลิคอนวัลเลย์
-
2:39 - 2:42การทำงานแบบอไจล์ สมาชิกจะแบ่งเป็นกลุ่มย่อยๆ
-
2:42 - 2:44และทำกิจกรรมต่างๆ ด้วยเวลาที่สั้นมากๆ
-
2:44 - 2:47ดังนั้นแทนที่จะต้องมีการสั่งการจากผู้บริหารมาเป็นทางการ
-
2:47 - 2:51แต่จะทีมต่างก็บริหารงานกันเอง
-
2:51 - 2:53มีการให้คำติชมกันเป็นประจำ มีการรายงานความคืบหน้าทุกวัน
-
2:53 - 2:55มีการทบทวนประจำสัปดาห์ มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ
-
2:55 - 3:00เดวิดเล่าว่า เมื่อนำระบบแบบนี้มาใช้ในบ้าน
-
3:00 - 3:04เกิดการสื่อสารกันมากขึ้น โดยเฉพาะในการประชุมครอบครัว
-
3:04 - 3:06ความเครียดลดลง และทำให้ทุกคน
-
3:06 - 3:09มีความสุขมากขึ้น กับการเป็นส่วนหนึ่งของทีมครอบครัว
-
3:09 - 3:12เมื่อผมและภรรยา เริ่มนำการประชุมครอบครัวและเทคนิคอื่นๆ
-
3:12 - 3:16มาลองใช้กับชีวิตเรา ที่มีลูกสาวฝาแฝดอายุตอนนั้น 5 ขวบ
-
3:16 - 3:21มันเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ใหญ่ที่สุด นับตั้งแต่ลูกสาวของพวกเราเกิดมา
-
3:21 - 3:23และการประชุมเหล่านั้นก็สร้างผลกระทบเป็นอย่างมาก
-
3:23 - 3:25ทั้งๆ ที่มันใช้เวลาแต่ละครั้งแค่ 20 นาทีเท่านั้น
-
3:25 - 3:27อไจล์คืออะไร แล้วมันจะมาช่วยอะไร
-
3:27 - 3:29กับบางอย่างที่แตกต่างไปอย่างชีวิตครอบครัวได้
-
3:29 - 3:33ในปี 1983 เจฟฟ์ ซัสเตอแลนด์ เป็นนักเทคโนโลยี
-
3:33 - 3:34ในบริษัทการเงินแห่งหนึ่งในนิวอิงแลนด์
-
3:34 - 3:37เขาหงุดหงิดเป็นอย่างมากกับวิธีการออกแบบซอฟต์แวร์
-
3:37 - 3:41ตอนนี้บริษัทต่างใช้วิธีการแบบน้ำตก
-
3:41 - 3:43ซึ่งผู้บริการออกคำสั่งที่จะถูกส่งผ่านลงมาเป็นขั้นๆ
-
3:43 - 3:45ไหลมาอย่างช้าๆ สู่เหล่าโปรแกรมเมอร์ด้านล่าง
-
3:45 - 3:47และไม่เคยมีใครได้ปรึกษาเหล่าโปรแกรมเมอร์เลย
-
3:47 - 3:50โครงการต่างๆ ล้มเหลวถึง 83 เปอร์เซ็นต์
-
3:50 - 3:52ผลลัพธ์ที่ได้เทอะทะ และล้าสมัย
-
3:52 - 3:54ไปในทันทีที่พัฒนาเสร็จ
-
3:54 - 3:57ซัตเตอแลนด์ต้องการสร้างระบบที่
-
3:57 - 4:01ไอเดียต่างๆ ไม่ได้เพียงมาจากเบื้องบน แต่สามารถมาจากด้านล่างได้ด้วย
-
4:01 - 4:04และสามารถปรับเปลี่ยนได้ในทันทีทันใด
-
4:04 - 4:08เขาอ่านบทความต่างๆ ในฮาร์วาร์ดบิสิเนสรีวิวย้อนหลังไป 30 ปี
-
4:08 - 4:10ก่อนจะสะดุดใจเข้ากับบทความหนึ่งในปี 1986
-
4:10 - 4:12ชื่อ "วิธีการใหม่ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่"
-
4:12 - 4:15บทความกล่าวถึงสภาพธุรกิจที่เร่งเร็วขึ้น
-
4:15 - 4:17นั่นเป็นเรื่องที่พูดกันเมื่อปี 1986 --
-
4:17 - 4:21และบริษัทที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด มีความยืดหยุ่นสูง
-
4:21 - 4:23มีการอ้างถึงโตโยต้าและแคนอน
-
4:23 - 4:26และเปรียบลักษณะทีมงานที่คล่องตัวเหมือนกับทีมสกรัมรักบี้
-
4:26 - 4:30ซัสเตอแลนด์บอกผมว่า พอเราเจอบทความนั่น
-
4:30 - 4:32เรารู้ว่า "นี่แหละ ใช่เลย"
-
4:32 - 4:35ในระบบของซัสเตอแลนด์ บริษัทต่างๆ จะไม่ใช้
-
4:35 - 4:38การทำโครงการขนาดใหญ่ ที่ต้องใช้เวลาถึงสองปี
-
4:38 - 4:40พวกเขาทำสิ่งต่างๆ เป็นงานย่อยๆ
-
4:40 - 4:42ไม่มีงานไหนที่ใช้เวลานานกว่าสองสัปดาห์
-
4:42 - 4:44แทนที่จะบอกว่า "เอาละ คุณไปกักตัวซุ่มพัฒนางานมา
-
4:44 - 4:46แล้วกลับมาพร้อมกับโทรศัพท์หรือเครือข่ายสังคมที่เสร็จสมบูรณ์"
-
4:46 - 4:49เรากลับบอกว่า "ไปพัฒนามาแค่ส่วนเดียวก่อน"
-
4:49 - 4:52แล้วเอากลับมาคุยกัน เราจะปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์
-
4:52 - 4:55คุณจะประสบความสำเร็จหรือล้มเหลวอย่างรวดเร็ว
-
4:55 - 4:58มาถึงวันนี้ แนวทางอไจล์ถูกใช้ในกว่าร้อยประเทศ
-
4:58 - 5:01และเริ่มแพร่หลายเข้าไปสู่กลุ่มผู้บริหารระดับสูง
-
5:01 - 5:04ผู้คนต่างก็เริ่มใช้เทคนิคเหล่านี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
-
5:04 - 5:06และนำมาประยุกต์ใช้ในครอบครัว
-
5:06 - 5:08มีการเขียนบล็อก มีการเขียนคู่มือ
-
5:08 - 5:10ครอบครัวซัสเตอแลนด์ถึงกับมีการ
-
5:10 - 5:12จัดเทศกาลขอบคุณพระเจ้าด้วยเทคนิคอไจล์
-
5:12 - 5:14โดยมีกลุ่มหนึ่งรับผิดชอบเรื่องอาหาร
-
5:14 - 5:17กลุ่มหนึ่งจัดโต๊ะ และอีกพวกคอยต้อนรับแขกหน้าบ้าน
-
5:17 - 5:21ซัสเตอแลนด์เล่าว่า มันเป็นวันขอบคุณพระเจ้าที่ดีที่สุด
-
5:21 - 5:24เอาละ ลองมาดูปัญหาหนึ่งที่หลายครอบครัวมักเจอ
-
5:24 - 5:28คือความโกลาหลในยามเช้า และดูซิว่าอไจล์จะช่วยได้อย่างไร
-
5:28 - 5:30พื้นฐานสำคัญคือความรับผิดชอบ
-
5:30 - 5:32แต่ละทีมต่างก็ใช้บอร์ดแสดงข้อมูล
-
5:32 - 5:34บอร์ดใหญ่เหล่านี้แสดงความรับผิดชอบของแต่ละคน
-
5:34 - 5:37ครอบครัวสตารร์ ก็นำเอาแนวคิดนี้มาใช้ในบ้าน
-
5:37 - 5:39โดยการสร้างรายการที่ต้องทำยามเช้า
-
5:39 - 5:41โดยที่เด็กๆ แต่ละคนถูกคาดหมายให้ทำงานบ้านแต่ละอย่าง
-
5:41 - 5:44เช้าวันที่ผมไปแวะไปเยี่ยม เอเลนอร์ลงบันไดมา
-
5:44 - 5:46รินกาแฟให้ตัวเองแก้วหนึ่ง แล้วนั่งบนเก้าอี้โยก
-
5:46 - 5:49ระหว่างที่นั่งอยู่นั่น
-
5:49 - 5:52เธอก็คุยกับเด็กๆ แต่ละคน
-
5:52 - 5:54ตอนที่เด็กๆ พากันลงบันไดมาทีละคน
-
5:54 - 5:56เช็คที่รายการ ทำอาหารเช้าของตัวเอง
-
5:56 - 5:59ติ๊กรายการอีกที เอาจานไปใส่เครื่องล้างจาน
-
5:59 - 6:02ติ๊กรายการ ให้อาหารสัตว์เลี้ยง หรือทำกิจวัตรอื่นๆ ที่ต้องทำ
-
6:02 - 6:04ติ๊กรายการอีกที เก็บข้าวของเตรียมตัว
-
6:04 - 6:07แล้วก็ออกไปขึ้นรถโรงเรียนที่มารับ
-
6:07 - 6:12มันเป็นฉากครอบครัวยามเช้าที่น่าอัศจรรย์ที่สุดที่ผมเคยเห็นมา
-
6:12 - 6:14และเมื่อผมโต้แย้งว่า แบบนี้คงไม่เวิร์คที่บ้านผมแน่
-
6:14 - 6:17ลูกๆ ของพวกเราต้องคอยกำกับดูแลมากกว่านี้มาก
-
6:17 - 6:18เอเลนอร์มองมาที่ผม
-
6:18 - 6:20เธอว่า "นั่นเป็นสิ่งที่ฉันเคยคิดเหมือนกัน"
-
6:20 - 6:21"ฉันบอกเดวิดว่า 'อย่าเอางานของเธอมาในครัวฉัน'
-
6:21 - 6:23แต่ฉันเป็นฝ่ายผิด"
-
6:23 - 6:25ผมเลยหันไปหาเดวิด "ทำไมมันถึงได้ผล?"
-
6:25 - 6:27เขาบอกว่า "อย่าได้ดูถูกพลังของการทำแบบนี้"
-
6:27 - 6:29แล้วเขาก็เขียนเครื่องหมายถูก
-
6:29 - 6:31เขาบอกว่า "ในที่ทำงาน ผู้ใหญ่ต่างก็ชอบติ๊กถูก"
-
6:31 - 6:33กับเด็กๆ มันเป็นสวรรค์เลยละ
-
6:33 - 6:37สัปดาห์ที่เราเอารายการเช็คลิสต์ตอนเช้ามาใช้ที่บ้าน
-
6:37 - 6:41มันลดการกรีดร้องของผู้ใหญ่ลงไปได้ตั้งครึ่งนึง
(เสียงหัวเราะ) -
6:41 - 6:44แต่การเปลี่ยนแปลงที่แท้จริง ยังไม่เกิดขึ้น
จนเมื่อเรามีการประชุมครอบครัว -
6:44 - 6:47โดยการใช้โมเดลอไจล์ เราถามสามคำถาม
-
6:47 - 6:49อะไรเป็นไปได้ดีในครอบครัวเราสัปดาห์นี้
-
6:49 - 6:54อะไรที่ไปได้ไม่ค่อยสวยนัก และอะไรที่เราตกลงกัน
ว่าจะปรับปรุงในสัปดาห์หน้า -
6:54 - 6:55ทุกคนต่างก็ออกคำแนะนำ
-
6:55 - 6:57แล้วเราก็เลือกมาสองข้อเพื่อเน้นความสำคัญ
-
6:57 - 7:01และทันใดนั้น สิ่งวิเศษหลายอย่างก็เริ่มพรั่งพรู
ออกจากปากลูกสาวเรา -
7:01 - 7:03อะไรที่เป็นไปได้ดีสัปดาห์นี้?
-
7:03 - 7:06เอาชนะความกลัวขี่จักรยาน จัดเตียงของตัวเอง
-
7:06 - 7:09อะไรไม่ค่อยดีนัก? การบ้านเลขของพวกเรา
-
7:09 - 7:13หรือการต้อนรับแขกหน้าบ้าน
-
7:13 - 7:16คงไม่ต่างจากพ่อแม่ทั้งหลาย ลูกๆ ของพวกเรา
ก็เหมือนสามเหลี่ยมเบอร์มิวดา -
7:16 - 7:19คือ ความคิดและไอเดียต่างๆ ไหลเข้าไป
แต่ไม่เคยออกมาได้เลย -
7:19 - 7:20ผมหมายถึงอย่างน้อยก็ไม่ค่อยเปิดเผยเท่าไหร่
-
7:20 - 7:23วิธีนี้ช่วยให้เราเข้าถึงความคิดของเด็กๆ ได้อย่างรวดเร็ว
-
7:23 - 7:26แต่ช่วงที่น่าประหลาดใจที่สุดคือตอนที่เราถามว่า
-
7:26 - 7:28เราจะทำอะไรในสัปดาห์ที่จะถึงนี้
-
7:28 - 7:30แนวคิดหลักของอไจล์ก็คือว่า
-
7:30 - 7:33แต่ละทีมต่างก็บริหารจัดการตัวเอง
-
7:33 - 7:35มันได้ผลในการทำซอฟต์แวร์ และปรากฎว่า
มันก็ได้ผลกับพวกเด็กๆ ด้วยเช่นกัน -
7:35 - 7:37ลูกๆ ของพวกเราชอบกระบวนการนี้
-
7:37 - 7:39พวกเขาต่างออกไอเดียต่างๆ มากมาย
-
7:39 - 7:41อย่างเช่น เปิดประตูต้อนรับแขกห้ารายสัปดาห์นี้
-
7:41 - 7:44อ่านหนังสือเพิ่มอีกสิบนาทีก่อนนอน
-
7:44 - 7:47เตะใครบางคน งดของหวานทั้งเดือน
-
7:47 - 7:49กลายเป็นว่า ลูกๆ ของเราเฉียบขาดอย่างกับสตาลิน
-
7:49 - 7:52เราต้องคอยดึงให้เพลาๆ ลงหน่อยอยู่เสมอ
-
7:52 - 7:54ทีนะ เป็นเรื่องปกติที่มักจะมีความแตกต่าง
-
7:54 - 7:57ระหว่างการแสดงออกในการประชุม
กับพฤติกรรมที่เด็กๆ ทำตลอดทั้งสัปดาห์ -
7:57 - 8:00แต่เรื่องนั้นไม่ได้ทำให้เรากังวลใจเลย
-
8:00 - 8:02มันให้ความรู้สึกเหมือนกับว่า เรากำลังวางรากฐานที่สำคัญ
-
8:02 - 8:05ที่จะยังไม่ได้แสดงออกจนกระทั่งในอีกหลายปีต่อมา
-
8:05 - 8:08เวลาผ่านไปสามปี ตอนนี้ลูกของเราเกือบแปดขวบแล้ว
-
8:08 - 8:10เรายังจัดประชุมแบบนี้อยู่
-
8:10 - 8:14ภรรยาผมถือว่าการประชุมเหล่านี้เป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุด
ในฐานะแม่ -
8:14 - 8:17แล้วเราได้เรียนรู้อะไรบ้าง?
-
8:17 - 8:19คำว่า "อไจล์" บรรจุเข้าพจนานุกรมในปี 2001
-
8:19 - 8:22เมื่อเจฟฟ์ ซัสเตอแลนด์และนักออกแบบกลุ่มหนึ่ง
-
8:22 - 8:26พบกันในรัฐยูท่าห์ และเขียนแถลงการอไจล์ 12 ข้อ
-
8:26 - 8:30ผมคิดว่า ตอนนี้เป็นเวลาที่เหมาะ
ที่จะเขียนแถลงการครอบครัวอไจล์ -
8:30 - 8:33ผมรับเอาไอเดียบางอย่างจากสตารร์และครอบครัวอื่นๆ ที่ได้พบ
-
8:33 - 8:36ผมขอเสนอแถลงการ 3 ข้อ
-
8:36 - 8:40ข้อที่หนึ่ง ปรับเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา
-
8:40 - 8:41เมื่อผมกลายเป็นพ่อแม่ ผมได้พบว่า
-
8:41 - 8:44เราจะกำหนดกฎเกณฑ์บางอย่างขึ้นมา แล้วก็ยึดอยู่กับมัน
-
8:44 - 8:48ซึ่งนั่นสมมติเอาว่า ในฐานะพ่อแม่ เราสามารถ
คาดการณ์ปัญหาทุกอย่างที่จะเกิดขึ้นได้ -
8:48 - 8:51แต่เราคาดการณ์ไม่ได้หรอก ข้อดีอย่างยิ่งสำหรับระบบอไจล์คือ
-
8:51 - 8:54คุณจะสร้างระบบที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้
-
8:54 - 8:56ดังนั้นคุณจึงสามารถตอบสนองต่อสถานการณ์ต่างๆ ตอนที่เกิดขึ้นได้
-
8:56 - 8:58เหมือนกับที่ว่ากันไว้ในโลกอินเตอร์เน็ต
-
8:58 - 9:00ถ้าคุณทำอะไรบางอย่างวันนี้เหมือนที่เคยทำมาเมื่อหกเดือนที่แล้ว
-
9:00 - 9:02คุณกำลังทำอะไรบางอย่างผิดๆ อยู่
-
9:02 - 9:04พ่อแม่ทั้งหลายสามารถเรียนรู้จากสิ่งนี้ได้
-
9:04 - 9:08แต่สำหรับผมแล้ว "ปรับเปลี่ยนตลอดเวลา"
มีความหมายมากไปกว่านั้น -
9:08 - 9:11เราต้องปลดปล่อยเหล่าพ่อแม่ออกจากความเชื่อบ้าๆ ที่ว่า
-
9:11 - 9:13ไอเดียต่างๆ ที่เราสามารถลองทำได้ที่บ้านนั้น
-
9:13 - 9:16จะต้องมีที่มาจากจิตแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญการพัฒนาตัวเอง
-
9:16 - 9:18หรือไม่ก็ผู้เชี่ยวชาญด้านครอบครัวเท่านั้น
-
9:18 - 9:21ความจริงก็คือ แนวคิดเหล่านั้นล้าสมัยไปเสียแล้ว
-
9:21 - 9:24ในแวดวงสังคมอื่นๆ มีความคิดใหม่ๆ ผุดขึ้นมากมาย
-
9:24 - 9:26ที่จะทำให้กลุ่มคนและทีมงานทำงานมีประสิทธิภาพ
-
9:26 - 9:28ลองดูตัวอย่างเหล่านี้ดู
-
9:28 - 9:31ลองดูปัญหาที่ใหญ่ที่สุดดู มื้อค่ำของครอบครัว
-
9:31 - 9:33ใครๆ ต่างก็รู้ว่า การทานอาหารค่ำร่วมกันในครอบครัว
-
9:33 - 9:35พร้อมกับเด็กๆ เป็นเรื่องที่ดีสำหรับเด็ก
-
9:35 - 9:37แต่สำหรับพวกเราหลายคน มันไม่ค่อยได้ผลเท่าไหร่
-
9:37 - 9:40ผมเคยพบกับเชฟชื่อดังในนิวออร์ลีนส์ ผู้ซึ่งบอกว่า
-
9:40 - 9:43"ไม่มีปัญหา ผมแค่เปลี่ยนเวลาทานอาหารร่วมกันของครอบครัว
-
9:43 - 9:45ผมไม่อยู่บ้าน ไม่สามารถกลับมากินข้าวเย็นพร้อมหน้ากันได้หรือ?
-
9:45 - 9:49เราก็กินข้าวเช้าพร้อมกันทั้งครอบครัว
หรือไม่ก็นั่งกินของว่างยามดึกก่อนนอนด้วยกัน -
9:49 - 9:51เราแค่ทำให้มื้ออาหารวันอาทิตย์มีความสำคัญมากยิ่งขึ้น"
-
9:51 - 9:53และความจริงก็คือ มีผลการวิจัยเร็วๆ นี้สนับสนุนเขา
-
9:53 - 9:56กลายเป็นว่า ตลอดช่วงการทานอาหารร่วมกันในครอบครัว
-
9:56 - 9:58มีช่วงเวลาเพียงแค่ 10 นาทีเท่านั้นที่มีความหมาย
-
9:58 - 10:03ส่วนเวลาที่เหลือหมดไปกับเรื่องอย่างเช่น
"เอาศอกลงจากโต๊ะ" หรือ "ส่งซอสมาหน่อย" -
10:03 - 10:05คุณสามารถเอาเวลา 10 นาทีนั้น แล้วย้ายมันไป
-
10:05 - 10:08ยังส่วนใดก็ได้ของวัน แล้วยังคงได้รับประโยชน์เหมือนเดิม
-
10:08 - 10:12แค่ย้ายเวลาทานข้าวร่วมกันของครอบครัว นั่นคือการปรับเปลี่ยน
-
10:12 - 10:14นักจิตวิทยาสิ่งแวดล้อมคนหนึ่ง บอกผมว่า
-
10:14 - 10:16"ถ้าคุณนั่งอยู่บนเก้าอี้หลังตรง บนพื้นแข็ง
-
10:16 - 10:18คุณจะเข้มงวดมากกว่า
-
10:18 - 10:22การที่คุณนั่งอยู่บนเก้าอี้ที่มีนวม คุณจะเปิดกว้างมากกว่า"
-
10:22 - 10:24เธอบอกผมว่า "ถ้าคุณกำลังอบรมวินัยให้กับลูกๆ
-
10:24 - 10:26ให้นั่งบนเก้าอี้หลังตรงที่มีเบาะรอง
-
10:26 - 10:28จะทำให้การสนทนาราบรื่นกว่า"
-
10:28 - 10:32ผมและภรรยาย้ายที่นั่งกัน เมื่อเราต้องพูดคุยเรื่องที่ลำบากใจ
-
10:32 - 10:36เพราะว่า ผมนั่งอยู่ในตำแหน่งที่มีอำนาจ
-
10:36 - 10:39ดังนั้นย้ายตำแหน่งในการนั่ง นั่นก็เป็นการปรับเปลี่ยนเช่นกัน
-
10:39 - 10:42ประเด็นก็คือ แนวคิดใหม่ๆ เหล่านี้เริ่มแพร่หลายมากขึ้น
-
10:42 - 10:44เราจำเป็นต้องให้เหล่าพ่อแม่นำมาใช้บ้าง
-
10:44 - 10:47ดังนั้นข้อแรก ปรับเปลี่ยนตลอดเวลา
-
10:47 - 10:51หยืดหยุ่น เปิดกว้าง แล้วปล่อยให้ความคิดดีๆ
เข้ามามีบทบาท -
10:51 - 10:54ประเด็นที่สอง มอบอำนาจให้เด็กๆ ของคุณ
-
10:54 - 10:58สัญชาตญาณพ่อแม่บอกว่า เราต้องสั่งเด็กๆ เท่านั้น
-
10:58 - 11:00มันง่ายกว่า และเอาจริงๆ นะ เราถูกอยู่เสมอแหละ
-
11:00 - 11:04มันมีเหตุผลอยู่นะ ที่มีเพียงไม่กี่ระบบเท่านั้นที่มีลักษณะ
-
11:04 - 11:05เป็นน้ำตกมากไปกว่า สถาบันครอบครัว
-
11:05 - 11:07แต่บทเรียนสำคัญที่สุดที่เราได้เรียนรู้ก็คือ
-
11:07 - 11:10ให้พยายามกลับทิศทางของน้ำตกให้มากที่สุด
-
11:10 - 11:14ให้เด็กๆ มีส่วนร่วมในการอบรมสั่งสอนพวกเขาเอง
-
11:14 - 11:16เมื่อวานนี้เอง เรากำลังมีการประชุมครอบครัวอยู่
-
11:16 - 11:19และเราโหวตกันว่า เราจะแก้ปัญหา
การแสดงออกที่ "เยอะ" เกินไป -
11:19 - 11:22เราบอกว่า "เอาละ มากำหนดรางวัล
และบทลงโทษกันดีกว่า โอเคมั้ย" -
11:22 - 11:27ลูกสาวเราคนหนึ่งเสนอว่า ให้แต่ละคน
มีเวลาวีนแตกไม่เกินห้านาทีต่อสัปดาห์ -
11:27 - 11:28เราชอบไอเดียนั้น
-
11:28 - 11:31แล้วลูกสาวอีกคนก็เริ่มลองคิดให้ละเอียดขึ้น
-
11:31 - 11:33เธอถามว่า "หนูจะได้วีนแตกหนึ่งครั้ง นานห้านาที
-
11:33 - 11:37หรือจะเป็นวีนแตกได้สิบครั้ง ครั้งละ 30 วินาที?"
-
11:37 - 11:39ผมชอบมาก ใช้เวลายังไงก็ได้ตามที่เธอต้องการ
-
11:39 - 11:41เอาละ เราจะลงโทษกันยังไงดี
-
11:41 - 11:47ถ้าเรากำหนดให้ลิมิตอยู่ที่ 15 นาทีของการออกอาการวีนแตก
-
11:47 - 11:50ทุกนาทีที่วีนเกิน เราต้องวิดพื้นหนึ่งที
-
11:50 - 11:53คุณจะเห็นได้ว่า มันได้ผล ระบบแบบนี้ไม่ได้หย่อนยานนะครับ
-
11:53 - 11:56ผู้ปกครองยังคงมีอำนาจในการชี้นำอยู่
-
11:56 - 11:59แต่เราให้โอกาสเด็กๆ ได้ฝึกการดูแลตัวเองเป็นอิสระ
-
11:59 - 12:01ซึ่งแน่นอนว่าเป็นเป้าหมายสูงสุดของพวกเรา
-
12:01 - 12:03ก่อนที่ผมจะออกมาพูดที่นี่ค่ำนี้เอง
-
12:03 - 12:05ลูกสาวของเราคนหนึ่งเริ่มส่งเสียงกรีดร้อง
-
12:05 - 12:08อีกคนหนึ่งก็พูดเลยว่า "วีนแตกแล้ว! วีนแตกแล้ว!"
-
12:08 - 12:11แล้วเริ่มต้นนับ ภายในแค่ 10 วินาที มันก็หยุดลง
-
12:11 - 12:17สำหรับผมแล้ว นี่คือมหัศจรรย์ของอไจย์ที่ผ่านการรับรองแล้ว
-
12:17 - 12:18(หัวเราะ) (ปรบมือ)
-
12:18 - 12:21แล้วก็นะ มีผลวิจัยรองรับด้วย
-
12:21 - 12:25เด็กๆ ที่่มีการวางแผนเป้าหมายของตัวเอง
กำหนดตารางสัปดาห์เอง -
12:25 - 12:29ประเมินผลงานของตัวเอง จะมีการพัฒนาสมองส่วนหน้ามากกว่า
-
12:29 - 12:33และสามารถควบคุมชีวิตของตัวเองได้ดีกว่า
-
12:33 - 12:36ประเด็นก็คือ เราต้องปล่อยให้เด็กๆ ของเรา
ประสบความสำเร็จในแบบของเขาเอง -
12:36 - 12:39และใช่ครับ ในบางครั้ง ก็ปล่อยให้ล้มเหลวเองด้วยเช่นกัน
-
12:39 - 12:41ผมเคยพูดคุยกับนักธนาคารของวอร์เรน บัฟเฟ็ตต์
-
12:41 - 12:43เขาต่อว่าผม เรื่องที่ไม่ยอมให้ลูกๆ
-
12:43 - 12:45ได้ทำอะไรผิดพลาดเสียบ้างกับการใช้จ่ายเงินค่าขนม
-
12:45 - 12:48ผมก็บอกว่า "แล้วถ้าพวกเขาทำพลาดแบบดิ่งเหวไปเลยละ?"
-
12:48 - 12:49เขาว่า "มันดีกว่านะ ที่จะปล่อยให้เขาพลาดกับ
-
12:49 - 12:53เงินเบี้ยเลี้ยง 6 เหรียญ ดีกว่าผิดพลาด
กับเงินเดือนปีละ 60,000 เหรียญ -
12:53 - 12:56หรือกับมรดกมูลค่า หกล้าน เหรียญ"
-
12:56 - 12:59ดังนั้น ประเด็นสำคัญคือ การให้อำนาจเด็กๆ ของพวกคุณ
-
12:59 - 13:03ข้อที่สาม เล่าเรื่องราวของคุณ
-
13:03 - 13:06ความหยืดหยุ่นปรับตัวได้เป็นเรื่องดี
แต่เราก็จำเป็นต้องมีรากฐานที่ดีด้วย -
13:06 - 13:09จิม คอลลินส์ ผู้แต่งหนังสือ "Good To Great"
-
13:09 - 13:12บอกผมว่า องค์กรของมนุษย์ ไม่ว่าแบบใดก็ตาม ที่ประสบความสำเร็จ
-
13:12 - 13:13มีสองสิ่งที่เหมือนกัน
-
13:13 - 13:16คือพวกเรารักษาแก่นแท้ไว้ และพวกเขากระตุ้นให้เกิดความก้าวหน้า
-
13:16 - 13:19ดังนั้นอไจล์เป็นวิธีการที่ดีที่กระตุ้นให้เกิดความก้าวหน้า
-
13:19 - 13:22แต่ผมมักจะได้ยินอยู่เสมอว่า เราจำเป็นต้องรักษาแก่นแท้เอาไว้
-
13:22 - 13:24แล้วคุณจะทำอย่างนั้นได้อย่างไรละ
-
13:24 - 13:26คอลลินส์แนะนำให้พวกเราทำบางอย่างเหมือนกับ
-
13:26 - 13:29ที่องค์กรธุรกิจทำ นั่นคือการกำหนดพันธกิจ
-
13:29 - 13:32และนิยามแก่นคุณค่าขององค์กร
-
13:32 - 13:35เขาสอนเราถึงกระบวนการสร้างพันธกิจของครอบครัว
-
13:35 - 13:38เราสร้างกระบวนการคล้ายการออกไปสัมนาของบริษัท
-
13:38 - 13:39แต่ในครอบครัว เรามีปาร์ตี้ชุดนอนกัน
-
13:39 - 13:43ผมทำข้าวโพดคั่ว ความจริงแล้ว
ทำไหม้ไปอันหนึ่ง เลยทำสองอัน -
13:43 - 13:45ภรรยาผมเอากระดานฟลิปชาร์ทออกมาวาง
-
13:45 - 13:47แล้วเราก็นั่งสนทนากัน ในเรื่องอย่างเช่น
อะไรเป็นสิ่งสำคัญสำหรับเรา? -
13:47 - 13:49ค่านิยมอะไร ที่เรายึดถือมากที่สุด?
-
13:49 - 13:51ท้ายที่สุด เราสร้างคำแถลงการณ์ 10 ข้อ
-
13:51 - 13:52เราเป็นนักเดินทาง ไม่ใช่นักท่องเที่ยว
-
13:52 - 13:56เราไม่ชอบภาวะยุ่งยากใจ เราชอบทางแก้ปัญหา
-
13:56 - 13:59อีกครั้งที่มีผลวิจัย แสดงว่าพ่อแม่ควรใช้เวลาให้น้อยลง
-
13:59 - 14:02ในการมัวกังวลว่าทำอะไรผิดไปบ้าง
-
14:02 - 14:05และใช้เวลามากขึ้น ในการเน้นว่า ทำอะไรถูกต้องบ้าง
-
14:05 - 14:09วิตกกังวลเกี่ยวกับช่วงเวลาแย่ๆ ให้น้อยลง
และสร้างช่วงเวลาดีๆ ให้มากขึ้น -
14:09 - 14:11คำแถลงพันธกิจครอบครัวนี้เป็นวิธีที่ดีเยี่ยมในการ
-
14:11 - 14:14ระบุว่า อะไรบ้างที่เราทำได้ถูกต้อง
-
14:14 - 14:17ไม่กี่สัปดาห์ต่อมา เราได้รับโทรศัพท์จากโรงเรียน
-
14:17 - 14:19ลูกสาวเราคนหนึ่ง มีเรื่องทะเลาะวิวาทในโรงเรียน
-
14:19 - 14:21ทันใดนั้นเราก็เริ่มกังวล หรือว่าลูกเรา
จะกลายเป็นเด็กเกเรขึ้นมาแล้ว? -
14:21 - 14:23และเราก็ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรดี
-
14:23 - 14:25เราเลยเรียกลูกสาวเข้าไปผมในห้องทำงานผม
-
14:25 - 14:26คำแถลงพันธกิจครอบครัวติดอยู่บนผนัง
-
14:26 - 14:29ภรรยาผมพูดว่า "มีอะไรบ้างบนนี้ที่ดูเหมือนจะใช้ได้"
-
14:29 - 14:30เธอมองดูรายการ แล้วก็บอกว่า
-
14:30 - 14:33"ให้ทุกคนมีส่วนร่วม?"
-
14:33 - 14:36ทันใดนั้น เราก็มีหนทางที่จะเริ่มการสนทนาได้
-
14:36 - 14:38วิธียอดเยี่ยมอีกอย่างหนึ่งในการเล่าเรื่อง
-
14:38 - 14:41คือการบอกเด็กๆ ว่า พวกเขามาจากที่ไหนบ้าง
-
14:41 - 14:43นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยอีมอรี่ ให้เด็กๆ
-
14:43 - 14:45ทำการทดสอบง่ายๆ ชื่อ "เธอรู้ไหม"
-
14:45 - 14:48รู้หรือไม่ว่าปู่ย่าตายายเกิดที่ไหน?
-
14:48 - 14:51รู้หรือไม่ว่าพ่อแม่เรียนมัธยมที่ไหน?
-
14:51 - 14:52เธอรู้จักใครในครอบครัวบ้างไหม
-
14:52 - 14:56ที่ตกอยู่ในสภาพแย่ เช่นป่วยหนัก
แล้วก็สามารถเอาชนะมันมาได้? -
14:56 - 15:00เด็กๆ ที่ได้คะแนนสูงที่สุดในแบบทดสอบ "เธอรู้ไหม" นี้
-
15:00 - 15:05เป็นเด็กที่มีความภูมิใจในตัวเองสูง และตระหนักว่า
พวกเขาสามารถควบคุมชีวิตตัวเองได้ -
15:05 - 15:08แบบทดสอบ "เธอรู้ไหม" กลายเป็นตัวชี้วัดสำคัญที่สุด
-
15:08 - 15:11ของสุขภาพจิตและความสุขของเด็กๆ
-
15:11 - 15:12ผู้เขียนแบบทดสอบบอกผมว่า
-
15:12 - 15:16เด็กๆ ที่รู้สึกว่า พวกเขาเป็นส่วนหนึ่งของเรื่องเล่าอันยาวนาน
-
15:16 - 15:20จะมีความเชื่อมั่นในตัวเองสูงกว่าเด็กอื่น
-
15:20 - 15:22ดังนั้นประเด็นสุดท้ายของผมก็คือ เล่าเรื่องของคุณ
-
15:22 - 15:26ใช้เวลาเล่าซ้ำแล้วซ้ำอีก
เกี่ยวกับช่วงเวลาดีๆ ของครอบครัว -
15:26 - 15:29และวิธีการที่จะผ่านพ้นปัญหาและอุปสรรคในช่วงเวลาแย่ๆ
-
15:29 - 15:31ถ้าคุณเล่าเรื่องที่มีความสุขให้เด็กๆ ฟัง
-
15:31 - 15:36คุณกำลังให้เครื่องมือที่จะทำให้พวกเขา
มีความสุขมากยิ่งขึ้น -
15:36 - 15:41ผมอ่านนิยายเรื่อง "คาเรนิน่า" ครั้งแรก
เมื่อครั้งยังเป็นวัยรุ่น -
15:41 - 15:42และประโยคเปิดที่มีชื่อเสียงก็คือ
-
15:42 - 15:44"ครอบครัวแสนสุขทั้งหลายต่างคล้ายคลึงกัน
-
15:44 - 15:47แต่ละครอบครัวทุกข์ยาก ล้วนลำเค็ญในแบบของตัวเอง"
-
15:47 - 15:51ผมอ่านครั้งแรก ผมก็คิดว่า "ประโยคนี้ช่างโง่จริงๆ"
-
15:51 - 15:54แน่นอนอยู่แล้วว่า ครอบครัวทั้งหลาย
ที่มีความสุข แตกต่างกัน" -
15:54 - 15:57แต่เมื่อผมเริ่มต้นทำงานในโครงการนี้
-
15:57 - 15:59ผมเริ่มเปลี่ยนความคิดไป
-
15:59 - 16:02ผลงานวิชาการเร็วๆ นี้ ช่วยให้เราสามารถ
-
16:02 - 16:04เข้าใจถึงปัจจัยพื้นฐาน
-
16:04 - 16:07ที่ครอบครัวต่างๆ ที่ประสบความสำเร็จมีร่วมกัน
-
16:07 - 16:09ผมแค่พูดถึงปัจจัยเหล่านั้นแค่สามประเด็นเท่านั้นในวันนี้
-
16:09 - 16:15ปรับเปลี่ยนตลอดเวลา ให้อำนาจแก่เด็กๆ
และเล่าเรื่องราวของคุณ -
16:15 - 16:19เป็นไปได้ไหมว่า ในช่วงเวลาที่ผ่านมา
ทอลสตอยเป็นฝ่ายถูกมาตลอด? -
16:19 - 16:23ผมเชื่อว่า คำตอบคือ ใช่
-
16:23 - 16:25เมื่อลีโอ ทอลสตอยมีอายุห้าขวบ
-
16:25 - 16:27พี่ชายของเขา นิโคเลย์ มาหา
-
16:27 - 16:30แล้วก็บอกว่า เขาได้สลักความลับ
ของความสุขครอบจักรวาล -
16:30 - 16:32ลงในแท่งไม้สีเขียวเล็ก ซึ่งเขาเอาไปซ่อนไว้
-
16:32 - 16:36ในหุบเขาแห่งหนึ่งที่เป็นที่ของครอบครัวในรัสเซีย
-
16:36 - 16:40ถ้าแท่งไม้นี้ถูกค้นพบ มนุษยชาติทั้งหมดจะมีความสุข
-
16:40 - 16:46ทอลสตอยหมกหมุ่นอยู่กับไม้แท่งนี้ แต่เขาก็ไม่เคยหามันพบ
-
16:46 - 16:50เขาถึงกับขอให้ฝังร่างของเขาไว้ในหุบเขา
ที่เขาเชื่อว่าแท่งไม้นี้ถูกซ่อนอยู่ -
16:50 - 16:55ร่างของเขายังอยู่ที่นั่นทุกวันนี้ ปกคลุมด้วยหญ้าเขียว
-
16:55 - 16:58เรื่องนั้นเป็นเรื่องที่เหมาะมากสำหรับผม
-
16:58 - 17:00บทเรียนสุดท้ายที่ผมได้เรียนรู้
-
17:00 - 17:03ความสุขไม่ใช่เป็นอะไรที่เราค้นหา
-
17:03 - 17:04มันเป็นสิ่งที่เราต้องสร้างขึ้น
-
17:04 - 17:07แทบทุกคนที่พิจารณาดูองค์กรที่ทำงานได้ดี
-
17:07 - 17:11ต่างก็ได้ข้อสรุปคล้ายๆ กัน
-
17:11 - 17:13ความยิ่งใหญ่ไม่ได้เกิดขึ้นมาเพราะโชคช่วย
-
17:13 - 17:16แต่มันเป็นเรื่องของการเลือก
-
17:16 - 17:20คุณไม่จำเป็นต้องมีแผนการที่ยิ่งใหญ่
คุณไม่ต้องมีสายบังคับบัญชา -
17:20 - 17:22คุณเพียงแค่ต้องก้าวไปทีละก้าวเล็กๆ
-
17:22 - 17:24เก็บสะสมชัยชนะเล็กๆ ไปเรื่อยๆ
-
17:24 - 17:26คอยมองหาแท่งไม้สีเขียวแท่งนั้นไว้
-
17:26 - 17:29ท้ายที่สุดแล้ว นี่อาจจะเป็นบทเรียนสำคัญที่สุดก็ได้
-
17:29 - 17:35อะไรคือความลับสู่ครอบครัวที่มีความสุขน่ะหรือ?
ความพยายามไง -
17:35 - 17:39(เสียงปรบมือ)
- Title:
- การพัฒนาแบบอไจล์ สำหรับครอบครัวของคุณ
- Speaker:
- บรูซ เฟเลอร์ (Bruce Feiler)
- Description:
-
บรูซ เฟเลอร์มีไอเดียแหวกแนว เพื่อรับมือกับความเครียดในครอบครัวสมัยใหม่ ใช้อไจล์ ได้แรงบันดาลใจจากการพัฒนาซอฟต์แวร์ เฟเลอร์แนะนำเทคนิคในครอบครัวที่ส่งเสริมความยืดหยุ่น เปิดรับไอเดียรอบด้าน และการให้คำติชมและความรับผิดชอบสม่ำเสมอ แถมเซอร์ไพรส์ เด็กๆ เลือกการลงโทษได้เองด้วย
- Video Language:
- English
- Team:
closed TED
- Project:
- TEDTalks
- Duration:
- 18:00
![]() |
Kelwalin Dhanasarnsombut approved Thai subtitles for Agile programming -- for your family | |
![]() |
Kelwalin Dhanasarnsombut commented on Thai subtitles for Agile programming -- for your family | |
![]() |
Kelwalin Dhanasarnsombut accepted Thai subtitles for Agile programming -- for your family | |
![]() |
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Agile programming -- for your family | |
![]() |
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Agile programming -- for your family | |
![]() |
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Agile programming -- for your family | |
![]() |
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Agile programming -- for your family | |
![]() |
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Agile programming -- for your family |
Kelwalin Dhanasarnsombut
Thanks for your nice translation na ka :)