-
ฝึกตัวเองให้เคยชินให้เป็นนิสัยไว้
-
มีเวลาว่าง 5 นาที 10 นาที อย่าทิ้ง
-
ภาวนาไปเลย
-
เอาให้เคยชิน เก็บเล็กเก็บน้อยไปเรื่อยๆ
-
พอจิตมันคุ้นเคยที่จะปฏิบัติ
-
มันจะขยันภาวนา
-
จิตใจที่ไม่อยากภาวนา ทำบ้างไม่ทำบ้าง
-
จิตมันติดโลก ติดกาม
-
เมื่อเช้ามีทิดเก่าคนหนึ่งมาส่งการบ้าน
-
บอกว่าสังเกตดูว่าเวลาถือศีล 8
-
สติเกิดน้อยกว่าตอนถือศีล 5
-
ฉะนั้นศีล 5 ดีกว่า เขาว่าอย่างนี้
-
บอกไปสังเกตให้ดี จิตมันติดกาม
-
ติดความสุขความสบาย
-
พอไปบังคับตัวเองถือศีล 8 มันก็เครียด
-
พอเครียดสติก็ไม่เกิด
-
ไม่ใช่ว่าศีลไม่ดี
-
แต่ใจตัวเองมันไม่ถึง
-
ใจยังอ่อนแออยู่
-
ถ้าเรารู้จุดอ่อนของตัวเอง
-
ใจมันอ่อนแอมันติดโลก
-
ก็ต้องเข้มแข็งสู้มัน
-
ไม่หาข้ออ้าง
-
ที่จะทำให้การปฏิบัติย่อหย่อนลง
-
อย่างบอกว่า
-
ศีล 5 ดีกว่าศีล 8 อะไรอย่างนี้
-
สำหรับคนนี้ บางคนศีล 5 ดีกว่าจริงๆ
-
ถ้าเอามาเป็นข้ออ้างสนองกิเลสตัวเอง
-
โอกาสพัฒนามันก็ยาก
-
อยากจะพ้นทุกข์อยากข้ามวัฏฏะต้องเข้มแข็ง
-
อ่อนแอไปไม่รอดหรอก
-
ต้องอดทน
-
คนรุ่นหลังๆ นี่ความอดทนน้อยลงไปเยอะเลย
-
เมื่อเช้ายังเล่าให้พวกทิดมาส่งการบ้าน
-
บอกคนรุ่นนี้อ่อนแอลงไปเรื่อยๆ
-
รักสุขรักสบายเหลือเกิน
-
คนรุ่นหลวงพ่อเรียกรุ่นเบบี้บูม
-
บ้านเมืองเพิ่งผ่านสงครามโลกมาใหม่ๆ
-
บอบช้ำ
-
ตอนที่หลวงพ่อเกิด
-
สงครามโลกเพิ่งจบไปไม่ถึง 10 ปี
-
บ้านเมืองทรุดโทรม
-
เศรษฐกิจย่ำแย่ ผู้คนลำบาก
-
เราเกิดในยุคนั้น เราก็ต้องรู้สึก
-
ว่าเราต้องสู้ต้องอดทน
-
ฉะนั้นคนรุ่นนั้นจะอดทน
-
แต่คนรุ่นนั้นเทียบกับรุ่นครูบาอาจารย์
-
ยังเทียบไม่ติด
-
รุ่นครูบาอาจารย์ลำบากมากๆ เลย
-
อย่างไปปฏิบัติอยู่ในป่า
-
เป็นไข้ป่าก็ตายแล้ว
-
รอดบ้างตายบ้าง
-
บางองค์อดอาหารเป็นประจำ
-
อาหารไม่พออะไรอย่างนี้
-
อยู่มาพอพ้นยุคยากลำบาก
-
หลัง 2500 อะไรอย่างนี้
-
ร่างกายท่านทรุดโทรมมาก
-
เพราะช่วงก่อนหน้านั้นสู้หนักมาก
-
ก็สิ้นไปอย่างรวดเร็วก็มี
-
สังเกตดูคนที่เคยผ่านความยากลำบาก
-
ใจมันต่อสู้มากกว่าคนที่เกิดมาก็สบาย
-
รุ่นหลังๆ นี่พ่อแม่เคยลำบากมา
-
ไม่อยากให้ลูกลำบาก
-
เลี้ยงลูกประคบประหงมเอาอกเอาใจ
-
จนกระทั่งอ่อนแอมาก ดูแล้ว
-
หลวงพ่อไม่ได้ดูอื่นดูไกล
-
ดูจากพระนี่ล่ะ
-
พระรุ่นก่อนๆ เข้มแข็ง สู้
-
คนไหนไม่แข็งแรงไม่เข้มแข็งก็ออกไป
-
พวกที่เหลืออยู่นี่แกร่งจริงๆ
-
หลังๆ นี่ดูป้อแป้ๆ กลัวลำบาก
-
จะไปอยู่กับโลกก็กลัวลำบากกลัวเหนื่อย
-
มาบวชจะภาวนาก็กลัวลำบากอีก
-
คนชนิดนี้อยู่ที่ไหนไม่เจริญหรอก ไม่สู้
-
พวกเราอยากได้ดี
-
จิตใจต้องกล้าหาญต้องเข็มแข็งต้องต่อสู้
-
เหยาะแหยะไม่ได้เรื่องหรอก
-
หาข้ออ้างเพื่อปกป้องกิเลส
-
ฉลาดในการหาข้ออ้าง
-
แต่ไม่ฉลาดในจิตของตนเอง
-
ต้องเข็มแข็งจริงๆ
-
เส้นทางนี้ไม่ใช่เส้นทาง
-
ที่โรยด้วยกลีบกุหลาบหรอก
-
เส้นทางแห่งความพ้นทุกข์นี่ต้องสู้จริงๆ
-
ประเภทนั่งสมาธิก็กลัวปวดหลัง กลัวเมื่อย
-
ก็อ้างนั่งสมาธิมากๆ เนิ่นช้า
-
เอาคำหลวงปู่มั่นมาพูดอีก
-
นั่งสมาธิมากเนิ่นช้า
-
ไม่ได้แปลว่านั่งหลายชั่วโมง
แล้วทำให้เนิ่นช้า
-
หมายถึงเอาแต่นั่งสมาธิไม่ยอมเดินปัญญา
-
มันก็เลยเนิ่นช้า
-
ทำสมาธิแล้วก็สงบสบายเพลินๆ ไป
-
ผ่านวันผ่านเวลาไปมากมาย
-
บางทีเอาธรรมะมาอ้าง
-
เพื่อปกป้องความขี้เกียจ
-
วันนี้เจอพวกอ่อนแอหลายคนทั้งพระทั้งโยม
-
ธรรมะก็เลยดุนิดหนึ่ง
-
นี่นิดเดียว
-
ถ้าเจอรุ่นครูบาอาจารย์หนักกว่านี้เยอะเลย
-
ครูบาอาจารย์ของหลวงพ่อยังเหลืออีกองค์
-
หลวงปู่ทองท่านเป็นกรรมวาจาจารย์
-
อยู่ที่ลำปลายมาศ
-
ใครไปถามกรรมฐานท่าน
บอกอยากได้มรรคผลนิพพาน
-
ท่านบอกแค่ศีลเอ็งก็รักษาไม่ได้แล้ว
-
อย่ามาคุยอวดเลยจะไปเอานิพพาน
-
หรือเสียสละอะไรเล็กๆ น้อยๆ
-
ยังทำไม่ได้เลย
-
แล้วจะไปนิพพานได้อย่างไร
-
นิพพานต้องสละโลกได้
-
ท่านใช้วิธีด่าเอา
-
ครูบาอาจารย์บางองค์สมัยก่อนดุจริงๆ
-
แต่ไม่มีประเภทเอากระโถนขว้างอะไร ไม่มี
-
มีแต่นิยายปรัมปราว่า
-
ครูบาอาจารย์โมโหแล้วเอากระโถนขว้าง
-
เมื่อก่อนหลวงพ่อก็เชื่ออย่างนั้น
-
ว่าครูบาอาจารย์กรรมฐานนี่ดุ
-
ถ้าเราไม่ถูกใจเอากระโถนขว้าง
-
ตอนไปหาหลวงปู่ดูลย์ครั้งแรกยังกลัวเลย
-
ไม่รู้จักท่าน
-
ไปถึงก็ไปจดๆ จ้องๆ
-
ไม่กล้าเข้าไปในกุฏิ
-
ไปรอดูหลวงปู่จะออกมาไหม
-
ออกมาเราจะเข้าไปถามกรรมฐาน
-
ทั้งพระทั้งคนในวัดบอกเข้าไปเลย
-
ตอนนี้ท่านกำลังฉันอาหารอยู่
-
บอกท่านฉันให้ท่านฉันไปก่อนเถอะ
-
ที่จริงไม่ใช่อะไร ที่จริงยังกลัวอยู่
-
นั่นเป็นครั้งเดียว
-
ที่หลวงพ่อกลัวครูบาอาจารย์
-
เพราะเราไม่คุ้นกับครูบาอาจารย์กรรมฐาน
-
เลยคิดว่าท่านดุ
-
ได้ยินนิทานเล่าว่าถ้าทำไม่ดี
แล้วเอากระโถนขว้าง
-
อย่างไรท่านก็ไม่ขว้าง ท่านเสียดายของ
-
ขว้างเดี๋ยวกระโถนแตก
-
จดๆ จ้องๆ อยู่ ในที่สุดหลวงปู่ทนไม่ไหว
-
หลวงปู่เดินออกมาหน้ากุฏิเอง
-
เลยเข้าไปกราบท่านได้
-
หลวงปู่ครับผมอยากปฏิบัติ
-
ท่านก็เงียบๆ ไม่พูด
-
เราก็นึกหลวงปู่อายุ 90 กว่า
-
ฉันข้าวเสร็จแล้วนั่งหลับไปแล้ว
-
ตอนนั้นโง่มากนึกว่าท่านนั่งหลับ
-
ที่จริงท่านกำลังสอบประวัติเราอยู่
-
ว่าเราเคยภาวนามาแบบไหนอะไรอย่างไร
-
ท่านหลับตาไปสัก 45 นาที 40 นาที
-
ลืมตามาถึงสอน
-
ไม่ใช่เจอหน้าก็สอน
-
หลวงปู่ดูลย์ถ้าใครไปถามอะไรก็ตอบ
-
แต่ถ้าจะเรียนจริงๆ ท่านจะเงียบๆ
-
เราก็ต้องนั่งภาวนาของเราไป
-
รอให้ท่านค่อยพูดเอง
-
นี่กว่าจะได้ธรรมะมาก็ลำบากเหมือนกัน
-
บางทีไปหาที่ภาวนาตามวัด
-
แต่ละวัดก็มีเจ้าพ่อเจ้าแม่ทั้งนั้นล่ะ
-
เรียกผีบ้าน ผีเรือน
-
ผีป่า ผีเขา มีทั้งนั้น
-
ผีนี่หมายถึงคน
-
คนที่ไปตั้งตัวเป็นใหญ่ตามวัด
-
เข้าไปเราไม่รู้จักใครเลย
-
จะไปกินข้าวที่ไหนเราก็ไม่รู้
-
เข้าไปทีแรก
-
ครูบาอาจารย์ท่านตักอาหารเสร็จแล้ว
พระท่านก็ฉันข้าว
-
โยมก็ทำวัตรเช้า สวดมนต์ทำวัตรเช้า
-
เห็นเขาขนอาหารไปวางข้างล่าง
-
มีโต๊ะยาวๆ อยู่ อาหารไปวางไว้เยอะเลย
-
ก็นึกว่าเดี๋ยวสวดมนต์เสร็จคงได้ไปกินข้าว
-
พอสวดมนต์เสร็จลงมา
-
แต่ละคนเขาหายไปหมดเลย พวกที่นั่งสวดมนต์
-
แล้วอาหารที่โต๊ะไม่มีเหลือเลย
-
คือแต่ละคนจะมีพรรคพวก
-
มีลูกน้องมีคนรับใช้
-
ขนเกลี้ยงเลยไม่มีอะไรเหลือเลย
-
เรา เอ เราอยู่วัด เราไม่มีอะไรกินเลย
-
เราจะอยู่อย่างไร ก็ช่างมัน
-
ไม่กินวันสองวันไม่เป็นไรหรอก
-
หลวงพ่อก็เดินกลับขึ้นศาลามา
-
ครูบาอาจารย์ท่านเห็น
-
รู้ว่าเราไม่มีข้าวกิน ท่านกวักมือเรียก
-
เอาบาตรให้ บาตรของท่าน
-
ไม่ได้ให้บาตรอย่างเดียว
ในบาตรมีข้าวมีอะไร
-
เรารู้เลยครูบาอาจารย์ความเมตตาสูงมาก
-
สูง แต่ใจเราต้องเข้มแข็งพอ
-
ประเภทห่วงกินห่วงนอน
-
ไม่ได้กินไม่ได้ปฏิบัติจริง
-
ไปวัดทีแรกบางทีไม่รู้จักใครเลย
-
จะค้างที่วัดไปขอครูบาอาจารย์
-
ขอค้างที่วัด ท่านอนุญาต
-
เราก็ไม่รู้เขาพักกันที่ไหน
-
หาที่พักไม่ได้ ไปอยู่โคนต้นไม้
-
นั่งสมาธิเดินจงกรมไป
-
ผ่านกลางคืนไปมีความสุขมหาศาลเลย
-
ไม่ได้ห่วงเรื่องกินเรื่องนอนอะไรนักหนา
-
อยู่ไปๆ ฝนตก
-
ฝนตกอยู่กลางแจ้งไม่ไหว ฝนแรงแล้วหนาว
-
ก็ไปหลบอยู่ใต้ถุนกุฏิ
-
มีกุฏิของใครก็ไม่รู้เป็นส่วนโยม
-
หลบอยู่ใต้ถุน
-
ไม่บ่นสักคำ สู้เอา
-
ถ้าเรื่องแค่นี้เราสู้ไม่ไหว
-
เราจะสู้มารไหวหรือ สู้กิเลสไหวหรือ
-
ฉะนั้นถ้าพวกเราสังเกตให้ดี
-
มาเรียนกับหลวงพ่อ หลวงพ่อไม่โอ๋
-
ไม่เคยประคบประหงมแบบโอ๋ๆ
-
เอาอกเอาใจอะไร ไม่เคย
-
เพราะหลวงพ่อไม่เคย
ให้ครูบาอาจารย์ต้องมาโอ๋หลวงพ่อ
-
เราสู้เอา
-
พวกชอบโอ๋ส่วนใหญ่ก็มีความต้องการแฝงเร้น
-
โอ๋โยมนี่โอ๋คนรวยๆ เขาจะได้ให้เงินเยอะๆ
-
ครูบาอาจารย์ที่หลวงพ่อเรียนด้วย
-
ท่านไม่ได้ทำอย่างนั้น
-
ตอนนั้นเรารับราชการ
-
ไปอยู่วัดทีหนึ่งหลายวัน
-
ช่วงวันหยุดนี่ ช่วงต้นธันวา
-
มีวันหยุดเยอะ จะลางานบ้างอะไรบ้าง
-
ไปอยู่วัดได้ 10 วัน 11 วัน
-
9 วัน อะไรอย่างนี้ แต่ละปีไม่เท่ากัน
-
ถวายปัจจัยท่านเล็กน้อยเท่านั้นเอง
-
ท่านกลับดูแลเรามาก ดูแลละเอียด
-
เข้าไปกราบ ท่านก็สั่งพระอุปัฏฐาก
-
ให้ไปจัดกุฏิพระให้หลวงพ่ออยู่
ท่านสั่งอย่างนี้
-
บอกคนนี้เขาภาวนาจริง ให้ไปอยู่โซนพระ
-
คนร่ำคนรวยคนใหญ่คนโตไปกราบ ท่านก็ยิ้มๆ
-
ถวายอะไรท่านก็ยิ้มๆ เฉยๆ
-
ตอนเวลาไปเรียนกับครูบาอาจารย์
-
บางทีคนใหญ่คนโตอะไรมากราบท่าน
-
พระอุปัฏฐากก็ให้พวกนี้กราบๆ ไป
แล้วก็ออกไปเลย
-
แล้วก็เปิดโอกาสให้หลวงพ่อส่งการบ้าน
-
นี่เราอยู่ในบรรยากาศที่อบอุ่น
-
แต่ไม่ใช่อบอุ่นแบบลูกแหง่
-
ครูบาอาจารย์ไม่ได้มาประคบประหงมเรา
-
แต่ดูแลให้เราภาวนา
-
ตอนแรกหลวงพ่อก็เลยนึกว่า
โอ้ พระกรรมฐานดีทุกองค์
-
เพราะเราเข้าไปวัดไหนก็เจอครูบาอาจารย์
-
ท่านก็ดีทั้งนั้นเลย
-
เลยนึกว่าพระปฏิบัติจะต้องดีทุกองค์
-
กว่าจะฉลาดก็โง่มาก่อนทั้งนั้นล่ะ
-
ก็มีดีบ้างไม่ดีบ้าง
-
ฉะนั้นอย่างบางทีพวกเรา
-
ร่อนเร่ไปที่โน้นที่นี่
-
มีบุญก็เจอที่ดีๆ
-
อกุศลให้ผลก็เจอที่หลอกๆ ถมเถไป
-
สิ่งที่จะช่วยเราได้มากที่สุด
-
เราแยกแยะยาก
-
ว่าครูบาอาจารย์องค์ไหนดีหรือไม่ดี
-
อย่างจะมาเชื่อว่าหลวงพ่อดีนี่โง่
-
รู้ได้อย่างไรว่าหลวงพ่อดี
-
เป็นแค่ความเชื่อของเรา เชื่อตามๆ กัน
-
นั่นเป็นความไม่ฉลาดเลย
-
ฉะนั้นสิ่งที่จะช่วยเราได้มาก
-
คือการอ่านตำรับตำราไว้บ้าง
-
อ่านพระไตรปิฎกอะไรอย่างนี้
จับหลักการปฏิบัติให้แม่นๆ
-
หรืออย่างฟังหลวงพ่อ
-
จับหลักให้แม่นแล้วไปลงมือทำ
-
ไม่ต้องเชื่อแต่ไม่ได้ปฏิเสธ
-
เวลาเราฟังธรรมะ
-
ถ้าเป็นหลวงพ่อฟัง
-
เราก็จะดูว่าคำสอนนี้
-
สอดคล้องกับพระไตรปิฎกไหม
-
ถ้าไม่สอดคล้อง เราสังเกตต่อ
-
ไม่สอดคล้องที่ Wording ที่คำพูด
-
อย่างครูบาอาจารย์บางองค์
ท่านไม่ได้เรียนปริยัติเลย
-
ท่านก็ใช้ภาษาตามสะดวกของท่าน
-
เราก็ต้องฟังดู
-
ว่าเนื้อหาสาระที่ท่านเทศน์นี่ถูกต้องไหม
-
บางทีโดยพยัญชนะโดยภาษา
โดยตัวหนังสือไม่ถูก
-
แต่โดยเนื้อหาแล้วถูก อย่างนี้ก็มี
-
ฉะนั้นถ้าเราได้ปฏิบัติด้วย
-
ได้อ่านตำราด้วย
-
จะช่วยให้เราคัดกรอง
-
ก็จะได้ไม่หลงตกเป็นเหยื่อ
-
ถ้าเราภาวนาไปถึงช่วงหนึ่ง
-
เราจะเข้าใจอันไหนจริงอันไหนไม่จริง
-
มันรู้ด้วยตัวเองได้
-
บางทีรู้แล้วแต่มันไม่สนองกิเลส
-
บางคนอ่อนแอ
-
อยากได้ครูบาอาจารย์ที่คอยโอ๋อย่างนี้ก็มี
-
อยากได้ครูบาอาจารย์ที่คอยโอ๋
-
อยู่กับหลวงพ่อไม่ได้ เพราะหลวงพ่อไม่โอ๋
-
แบบนี้พอเขาทนไม่ไหว
เขาก็ต้องไปหาที่เรียนที่อื่น
-
ที่มีครูบาอาจารย์คอยโอ๋อยู่
-
สิ่งที่หลวงพ่อพยายามสอนพวกเรา
-
คือเรียนให้รู้เรื่องฟังให้รู้เรื่องก่อน
-
รู้แนวแล้วเอาไปลงมือทำ
-
ลงมือทำแล้วก็วัดผลด้วยตัวเอง
-
ที่เราปฏิบัตินี่
-
เกิดความเปลี่ยนแปลงในตัวเองไหม
-
มักน้อยสันโดษบ้างไหม
-
คลุกคลีน้อยลงไหม
-
สังเกตตัวเองไป
-
ใฝ่หาความสงบวิเวกบ้างไหม
-
หรือกระดี๊กระด๊าอยู่ตลอดเวลา
-
วัดใจตัวเองวัดความเปลี่ยนแปลงของตัวเองไป
-
ละเอียดขึ้นมาก็ใจคิดถึงการปฏิบัติบ่อยไหม
-
นานๆ คิดทีอะไรอย่างนี้ไม่ได้กินหรอก
-
ถ้าเราภาวนา
-
อย่างฟังหลวงพ่อไปแล้วเจริญสติรู้กายรู้ใจ
-
ตามความเป็นจริง
-
ด้วยจิตตั้งมั่นและเป็นกลาง
-
ในเวลาไม่นาน
เราจะเห็นความเปลี่ยนแปลงของตัวเอง
-
เคยโกหกหน้าตาย
-
เวลาจะโกหกแล้วคราวนี้ชักละอายใจแล้ว
-
อย่างนี้ถือว่ามีพัฒนาการ
-
เลวแล้วรู้ว่าเลว
-
มุสาวาทไม่ดีหรอก
-
แล้วเรารู้ว่ามันไม่ดี
-
มันเคยชินที่จะพูดไม่ดี
-
ฉะนั้นเวลาพูดไปแล้ว
บางทีมันหลุดปากออกไป มันละอายใจ
-
อย่างนี้ถือว่าก้าวหน้า
-
ชั่วแล้วรู้ว่าชั่ว ก้าวหน้า
-
ก็สังเกตได้ด้วยตัวเอง
-
หรือบางคนบอกทำสมาธิจิตไม่เคยมีสมาธิเลย
-
แต่มามีสติรู้กายรู้ใจ
ตามความเป็นจริงไปเรื่อยๆ
-
อยู่ๆ มันมีความสุขผุดขึ้นมาเอง
-
ความสุขผุดขึ้นมาโดยที่เราไม่ได้ทำอะไร
-
นั่นล่ะจิตมันมีสมาธิ
-
มีสมาธิตามธรรมชาติแล้ว
-
มีความสุขผุดขึ้นมาเป็นระยะๆ
-
คล้ายๆ เป็นรางวัลปลอบใจ
-
ให้เราเข้มแข็งในการปฏิบัติต่อไป
-
อย่างช่วงแรกๆ ที่เราภาวนา
-
เรายังไม่เห็นผลที่สำคัญ
-
อย่างเรายังไม่ถึงมรรคถึงผลอะไรอย่างนี้
-
ยังไม่เห็นความเปลี่ยนแปลง
แบบพลิกฟ้าคว่ำดิน
-
ยังไม่เห็น
-
มันมีความสุขผุดขึ้นมาเป็นระยะๆ
-
บางที 3 วันผุดขึ้นมาทีหนึ่ง
-
อาทิตย์หนึ่งผุดขึ้นมาทีหนึ่ง
-
มันก็มีกำลังใจ
-
มีกำลังใจ ธรรมะนี้ดี
-
ปฏิบัติแล้วอยู่ๆ มีความสุขผุดขึ้นมาได้
-
ก็จะขยันภาวนา
-
เวลาหลวงพ่อภาวนาแต่ก่อน
-
ความสุขมันมีอยู่แล้วล่ะ
เพราะนั่งสมาธิมานาน
-
แต่บางครั้งมันเกิดปัญญา
-
เกิดความรู้ความเข้าใจ
-
บางสิ่งบางอย่างขึ้นมา
-
พอมีความรู้ความเข้าใจผุดขึ้นมาทีหนึ่ง
-
เราก็มีความสุขหลายวัน
-
แต่ก็ไม่เกิน 7 วัน
-
แล้วพอมีความรู้อย่างนี้ผุดขึ้นมา
-
เราก็มีการบ้านไปส่งครูบาอาจารย์แล้ว
-
ก็จะไปเล่าถวายท่าน
-
ว่าผมภาวนาแล้วมันมีอาการอย่างนี้
-
ผมจัดการมันอย่างนี้ๆ ทำอย่างนี้
-
ที่กระผมทำอยู่นี่ถูกหรือไม่ถูก
-
ถ้าไม่ถูกครูบาอาจารย์ช่วยบอกด้วย
-
ถ้าถูกแล้วครูบาอาจารย์ช่วยแนะนำ
-
วิธีปฏิบัติที่ยิ่งๆ กว่านี้
-
ที่ดีกว่านี้อีก
-
ส่วนใหญ่ท่านก็จะบอกว่าที่ทำน่ะถูกแล้ว
ให้ทำต่อไป
-
อันนี้เป็นการวัด
-
ฉะนั้นการวัดมี 2 อัน
-
อันหนึ่งวัดใจตัวเอง
-
สติเกิดบ่อยขึ้นไหม
-
ทำผิดศีลได้หน้าตาเฉย
-
หรือว่าละอายใจบ้างหรือยัง
-
สมาธิเกิดขึ้นบ้างไหม
-
นี้เราวัดใจตัวเอง
-
มีโอกาสเจอครูบาอาจารย์บางทีเราก็ต้องถาม
-
ที่ผมทำอยู่นี่ มันถูกไหม
-
ถ้าถูกแล้วทำอย่างไรมันจะดีกว่านี้อีก
-
ท่านก็จะบอกว่าทำต่อไป
-
ถ้าบอกว่าทำต่อไปแสดงว่าทำถูกแล้ว
-
ถ้าทำไม่ถูกเดี๋ยวท่านก็บอกเองล่ะ
-
เห็นไหมไม่มีไปอ้อนเลย
-
“หลวงปู่ครับหลวงปู่” ต้องทำเสียงอ้อนๆ
-
“หลวงปู่ครับอย่างโน้นอย่างนี้
-
ผมอย่างโน้นผมอย่างนี้
-
ผมอยากปฏิบัติ แต่ๆๆๆๆ”
-
เต็มไปด้วยคำว่าแต่
-
เจอหลวงปู่ปราโมทย์โดนเบิ๊ดกะโหลกเลย
-
เงื่อนไขเยอะ
-
ตั้งใจภาวนา สู้เอา แล้วสังเกตตัวเอง
-
การปฏิบัติมันก็ไม่ได้ยากอะไร
-
ขั้นแรกถือศีล 5 ข้อไว้ก่อน
-
ศีล 8 ถือเป็นครั้งคราว
-
เป็นฆราวาสทำงานหนักๆ
-
อดข้าวเย็นทุกวันเดี๋ยวก็เป็นโรคกระเพาะ
-
ก็ดูสภาวะของตัวเอง
-
ผู้หญิงบางคนมีสามีแล้วก็ปฏิญาณตนถือศีล 8
-
ไม่ให้สามีถูกตัว
-
บอกไม่เอาแล้วฉันจะไปนิพพานแล้ว
-
ลูกผัวฉันไม่เอาแล้ว
-
พอสามีไปมีผู้หญิงอื่น
-
คราวนี้นิพพานไม่เอาแล้ว
-
อาละวาดแล้ว ร้องห่มร้องไห้
-
คุณแม่จะได้ยินเรื่องพวกนี้บ่อย
-
คนชอบมาร้องห่มร้องไห้
-
นี่ถือศีลเกินฐานะ
-
เป็นฆราวาส แหม อยากถือศีล 8 อะไรอย่างนี้
-
พอสามีไม่ยอมด้วย ทนไม่ได้
-
กรรมฐานที่ฝึกไว้ล่มเลย
-
ฉะนั้นถือศีลให้พอดีกับตัว ให้พอดี
-
ถือศีลนี่เอาแบบลำบากนิดๆ
-
ข่มใจนิดๆ ไม่ต้องข่มใจแบบหักดิบ
-
มันจะไม่ไหว
-
พอไม่ไหวนี่ต่อไปใจมันฝ่อ
-
อย่างตั้งใจว่าจะประพฤติพรหมจรรย์
-
แล้วทำไม่ได้ใจมันฝ่อ
-
แต่ตั้งใจว่า
-
ไม่ไปผิดลูกผิดเมียใครเขาอย่างนี้
-
เห็นเมียคนอื่นสวย ข่มใจตัวเองนิดหน่อย
-
อย่างนี้ดี ใจมันจะค่อยๆ เข้มแข็งขึ้น
-
ศีลต้องรักษา
-
สมาธิต้องทำ
-
หลวงพ่อเคยพลาด
-
พลาดหลายครั้งเรื่องไม่อยากทำสมาธิ
-
เพราะทำมาแต่เด็ก
-
ทำแล้วก็รู้สึกมันไม่ได้อะไร
-
ได้แต่ความสงบ ก็ขี้เกียจทำแล้ว
-
มาเจริญปัญญารู้สึก แหม ดีๆ
-
พอสมาธิเรากำลังไม่พอเมื่อไร
-
การเจริญปัญญาจะผิดทันทีเลย
-
วิปัสสนูปกิเลสจะเกิด
-
เคยเกิดวิปัสสนูหลายแบบ
-
ประเภทว่างอย่างนี้ พวกเราจะเจอบ่อย
-
ดูจิตๆ แล้วมันว่างไป
-
แล้วก็ยินดีพอใจในความว่าง
-
แล้วติดอยู่ในความว่าง
-
ตัวนี้ก็ไปไม่รอดก็อยู่แค่นั้น
-
หลวงพ่อเคยเจออีก 2 - 3 แบบ
-
แบบหนึ่งสติเข้มแข็งมากเลย
-
เข้มแข็งถึงขนาดมันแยกสภาวะ
-
แยกรูปธรรมนามธรรมได้ละเอียดยิบเลย
-
มองอากาศข้างหน้าสติมันแข็งแรงมาก
-
เห็นอากาศนี่จริงๆ แล้วเป็นเม็ดๆ
-
เห็นอย่างนั้น
-
หรือบางทีเกิดปัญญามาก
-
ภาวนาแล้วก็เกิดความรู้
ความเข้าใจอะไรขึ้นมา
-
แล้วก็พยายามจำไว้ โอ้ ธรรมะอันนี้ดี
-
พอภาวนาไปอีก อ้าว เกิดความรู้อีกแล้ว
-
ก็จำเอาไว้อีก
-
แค่อาทิตย์เดียวมีสภาวะเหมือนคนบ้า
-
ไม่ได้บ้าจริงหมายถึงเทียบให้ฟัง
-
เหมือนคนบ้าชนิดที่ว่า
-
ไปไหนก็เดินแบกตู้พระไตรปิฎกไป
-
คนดีที่ไหนจะไปทำอย่างนั้น
-
เรา เอ๊ เราต้องผิดที่ไหนสักที่หนึ่ง
-
ทำไมภาวนาแล้วแทนที่ใจจะโปร่งโล่งเบา
-
คลายความยึดถือ
-
นี่เรากลับไปยึดถือปัญญามากมาย
-
เห็นเกิดความรู้ถูกเข้าใจถูก
-
มีปัญญาขึ้นมาแล้วเสียดาย
-
เก็บๆๆ ใส่สมองไว้เต็มไปหมดเลย
-
อันนั้นก็รู้อันนี้ก็รู้
-
นี่ก็เป็นวิปัสนูอย่างหนึ่ง รู้เยอะไป
-
เหมือนปัญญามากมาย ก็ใช้ไม่ได้
-
ภาวนาแล้วก็ยิ่งหนักขึ้นๆ
-
แสดงว่าผิดแล้วล่ะ
-
ภาวนาแล้วมันต้องปล่อยวางได้
-
ไม่ใช่ภาวนาแล้วยิ่งยึดถือ
-
แล้วปล่อยวาง
-
ต้องให้จิตมันปล่อยวางด้วยปัญญา
-
ไม่ใช่แกล้งปล่อย
-
หลวงพ่อเคยอ่านหนังสือของเซน
-
อ่านแล้วใจเราโล่งๆ ว่างๆ
-
รู้สึกอย่างนี้ดี
-
ก็น้อมจิตไปอยู่กับใจที่ว่างๆ โล่ง
-
เห็นโลกนี้ว่างไปหมด
-
อะไรๆ ก็ว่าง คิดว่าดี
-
เสร็จแล้วก็พบว่าไม่ใช่หรอก
-
นี่เราปรุงแต่งขึ้นมา
-
ฉะนั้นเวลาเราภาวนาก็ต้องค่อยสังเกตไป
-
อะไรที่ภาวนาไปแล้ว
-
มันขัดกับคำสอนของพระพุทธเจ้า
-
สภาวะอะไรเกิดขึ้นนี่
-
เป็นไปเพื่อความปล่อยวาง
หรือเพื่อความยึดถือ
-
สภาวะทั้งหลายตกอยู่ใต้ไตรลักษณ์ไหม
-
ถ้าภาวนาแล้วไม่เข้าหลักไตรลักษณ์
-
ผิดแน่นอน
-
หรือที่เราปฏิบัติอยู่นี่
-
เป็นสมถะหรือเป็นวิปัสสนาต้องแยกให้ออก
-
ถ้าแยกไม่ออกเราก็หลงทำสมถะอยู่
-
แล้วเราก็คิดฟุ้งซ่านไป
-
แล้วบอกเราเกิดปัญญา
-
อันนี้ก็ใช้ไม่ได้
-
หรือบางทีเดินปัญญามากสมาธิไม่พอ
-
อันนี้ก็ใช้ไม่ได้
-
ต้องสังเกตตัวเอง
-
ไม่ต้องรอถามครูบาอาจารย์
-
นานๆ จะมีโอกาสถามครูบาอาจารย์
สักครั้งหนึ่ง
-
แต่สติปัญญามันอยู่กับตัวเราทุกวัน
-
อาศัยสิ่งที่อยู่กับตัวเรานี่ล่ะ
-
คอยสังเกตสิ่งที่เราทำอยู่นี่
-
ทำให้อกุศลลดลงไหม
-
ทำให้อกุศลเกิดยากขึ้นไหม
-
ทำให้กุศลเกิดบ่อยไหม
-
เกิดแล้วถี่ขึ้นๆ ไหม หรือนานๆ เกิดที
-
นี่วัดใจตัวเอง สังเกตไป ดูไปเรื่อยๆ
-
การสังเกตกิเลสเป็นเรื่องสำคัญ
-
ภาวนาแล้วสังเกตกิเลสออกนี่ดีมากๆ เลย
-
ในเบื้องต้นจิตใจเรามีกิเลสอะไร เราคอยรู้
-
ก็จะเห็นทุกสิ่งทุกอย่างเกิดแล้วดับ
-
ต่อไปพอเราเข้าใจธรรมะ
-
ตรงที่เราคิดว่าเราบรรลุมรรคผล
-
เราก็จะวัดว่าบรรลุจริงหรือไม่จริง
-
วัดที่ไหน วัดที่กิเลส
-
อย่างเราภาวนาแล้วจิตเรารวมวูบลงไป
-
ถอยออกมา
-
หลายคนรีบสรุปเลย ได้โสดาบัน
-
จะได้หรือไม่ได้ วิญญูชนต้องสังเกตเอา
-
ไม่มีใครเขาบอกกันหรอก
-
เพราะบอกแล้วมันอันตราย
-
บางทีเขาก็หลอกเอา
-
ไปภาวนา เฮ้ย ได้โสดาบันแล้ว
-
เขาให้ตำแหน่งก็ดีใจ
-
มีเงินมีทองก็ยกให้เขาอะไรอย่างนี้
-
หรือเลื่อมใสศรัทธางมงายไปเลย
-
เพราะฉะนั้นถ้าเราภาวนาแล้วเราคิดว่า
เราได้โสดาบัน
-
หรือภาวนาแล้วมีใครมารับรองเรา
ว่าได้โสดาบัน
-
ทั้ง 2 นัยยะ คิดเอง
-
หรือมีใครมาบอกก็ตาม
-
ให้สังเกตที่กิเลส
-
พระโสดาบันละกิเลสบางอย่างได้เด็ดขาดแล้ว
-
ละสักกายทิฏฐิ
-
คือละความเห็นว่าตัวเรามีอยู่จริง
-
มีตัวมีตน
-
แล้วสังเกตลงไปว่ามีไหม
-
อย่างบางทีภาวนาจิตมันว่างๆ ไป
-
แล้วบอกว่าตัวเราไม่มีแล้ว
-
บอกใจเย็นๆ ดูไปหลายๆ วัน
-
ตอนที่สมาธิเสื่อมลง
-
จิตใจเป็นคนธรรมดานั่นล่ะ
-
ดูสิมันจะมีตัวเราอีกไหม
-
บางทีพอจิตมันทรงสมาธิอยู่
-
ก็มองตัวเราไม่เห็น มันสบาย มันว่างๆ
-
พอสมาธิเสื่อมก็ไม่มีตัวเรา มีแต่ตัวกู
-
หนักกว่าตัวเราอีก
-
นี่สังเกตเอามันละได้จริงหรือเปล่า
-
บางคนก็ภาวนาเขานึกว่าได้โสดาบัน
-
หรือมีคนรับรองว่าได้โสดาบัน
-
ก็ดูลงไปที่ตัวเอง
-
ละสักกายทิฏฐิได้ไหม
-
ศีล 5 ของเราดีไหม
-
ถ้าศีล 5 ยังด่างพร้อยอยู่ ยังไม่ใช่หรอก
-
เพราะฉะนั้นวัดตรงนี้
-
วัดที่กิเลสของเรานี่
-
ถ้ากิเลสยังหยาบๆ จนทำผิดศีลได้
-
ไม่ใช่หรอก
-
ค่อยๆ สังเกตเอา
-
พวกที่ชอบพยายามมาถามหลวงพ่อ
-
ว่าได้โสดาบันหรือยัง
-
บางคนหนักกว่านั้น มาบอกว่าได้โสดาบันแล้ว
-
เคยเจอหนักที่สุดเป็นพระ
-
บอกได้พระอรหันต์แล้ว
-
หลวงพ่อบอกยังไม่ได้หรอก
-
จิตใจเศร้าหมองเลย
-
มัว ขุ่นมัว เศร้าหมองไปหมด
-
บอกเห็นไหมจิตมีโทสะแล้ว
-
เห็น ไม่ใช่พระอนาคามีหรอก
-
วัดกันด้วยกิเลสอย่างนี้
-
ไล่ๆๆๆ ต้อนลงไปเรื่อยๆ
-
เพราะฉะนั้นใครบอกเราได้โน้นได้นี่
-
อย่าเพิ่งเชื่อ
-
หรือเราภาวนาแล้วเราเชื่อของเราเอง
-
ก็อย่าเชื่อ 100 เปอร์เซ็นต์
-
สังเกตกิเลสไปนานๆ
-
เมื่อก่อนมีครูบาอาจารย์องค์หนึ่ง
ชื่อหลวงพ่อกิม
-
หลวงพ่อกิมนี่ภาษาเขมรไม่ใช่ภาษาจีน
-
เป็นคนสุรินทร์
-
หลวงพ่อกิมบอกว่าไปภาวนานี่
-
ถ้าไม่มีครูบาอาจารย์
-
แล้วคิดว่าบรรลุอะไรแล้วนี่
-
ให้ดู 3 เดือน
-
ดูไปเรื่อยๆ 3 เดือนนี้กิเลสจะกลับมาไหม
-
กระทั่งคิดว่าเป็นพระอรหันต์
-
ดูไป 3 เดือนเดี๋ยวก็เจอ
-
แต่ถ้าตั้งใจว่า
-
เราเป็นไปแล้ว เชื่อไปแล้ว
-
คราวนี้ไม่ยอมดูแล้ว ไม่กล้าดู
-
หลายคนภาวนาได้ใบเซอร์ฯมาจากที่อื่น
-
บอกไม่กล้าดูแล้ว
-
เพราะว่ากลัวจะไม่ได้เป็นโสดาบัน
-
ไปเรียนสะเปะสะปะ อันตราย
-
รู้ปริยัติไว้บ้างก็ดี
-
เอาไว้ตรวจสอบตัวเอง
-
เคยได้ยินคำว่าโยนิโสมนสิการไหม
-
โยนิโสมนสิการ การพิจารณาโดยแยบคาย
-
คำว่าแยบคายไม่ใช่เจ้าเล่ห์แสนกล
-
แยบคายนี่ก็คือดูว่า
-
อันนี้สอดคล้องกับคำสอนของพระพุทธเจ้า
-
และพระอรหันตสาวกทั้งหลายไหม
-
แยบคายตรงนี้คือดูว่ามันสอดคล้องไหม
-
วันนี้สอนวิธีตรวจสอบตัวเอง
-
เราจะได้ไม่งมงาย ไม่ต้องฟังใคร
-
หลวงพ่อภาวนาหลวงพ่อไม่เคยสงสัยตัวเองเลย
-
ภาวนาอย่างไร
-
เพราะเราตรวจสอบตัวเองเสมอ
-
บางทีเข้าไปหาครูบาอาจารย์
-
ก็ไปเล่าให้ท่านฟัง ท่านก็ชมว่าฉลาดๆ
-
คอยรู้ทันจิตใจตัวเอง
-
ถ้าได้โสดาบัน สกทาคามี
-
ศีลของเราต้องบริบูรณ์
-
สมาธิยังเล็กน้อย
-
แต่ว่าละกิเลสไปอีกกลุ่มหนึ่ง
-
ละความเห็นผิด
-
ว่าในขันธ์ 5 นี่มีตัวเราอยู่
-
หรือมีตัวเรานอกเหนือจากขันธ์ 5
-
เป็นอย่างไร ตัวเรานอกขันธ์ 5
-
บางคนนั่งสมาธิ ถอดจิตออกไปอยู่ข้างบน
-
ย้อนมาดู ขันธ์ 5 มันอยู่ข้างล่าง
-
นี่มีตัวเราอยู่นอกขันธ์ 5 อีก
-
มีตัวเรา ขันธ์ 5 เป็นตัวเรา
-
ตัวเราเป็นขันธ์ 5 อะไรอย่างนี้
-
ถ้าได้จริงจะไม่มี
-
มันจะรู้เลยขันธ์ 5 ไม่ใช่ตัวเรา
-
ไม่มีตัวเรานอกเหนือจากขันธ์ 5 ก็ไม่มี
-
ความลังเลสงสัยในพระรัตนตรัยจะไม่มี
-
ถ้าเราได้โสดาบัน
-
เราจะไม่สงสัยว่าพระพุทธเจ้ามีจริงไหม
-
พระพุทธเจ้าตรัสรู้จริงไหม
-
สิ่งที่พระพุทธเจ้าสอนนี่
-
นำเราพ้นทุกข์ได้จริงไหม
-
จะไม่สงสัยในตัวพระพุทธเจ้าเลย
-
เด็กยุคนี้บอกพระพุทธเจ้าไม่มีหรอก
-
คิดอย่างนั้นเลย
-
พูดไปทั้งๆ ที่ไม่ได้พิสูจน์
-
พูดด้วยความเห็น
-
แล้วความเห็นตัวนั้นเป็นความเห็นผิด
-
ความเห็นที่ไม่ทนต่อการพิสูจน์
-
แต่พอถ้าภาวนาได้ธรรมะแล้ว
-
จะรู้พระพุทธเจ้ามีจริง
-
คำสอนของท่านมีจริง พาพ้นทุกข์ได้จริง
-
พระธรรมมีจริงไหม มี
-
พระธรรมนำทางเราไปสู่ความพ้นทุกข์ได้
-
มีจริงๆ
-
พระสงฆ์มีไหม มี
-
เราอาจจะไม่รู้ว่าองค์ไหนเป็นพระสงฆ์
-
แต่ตัวเองเป็นพระสงฆ์ไปเรียบร้อยแล้ว
-
ทั้งๆ ที่ยังนุ่งกางเกง
-
ใส่ผ้านุ่งผ้าถุงอะไรอย่างนี้
-
ก็เป็นพระสงฆ์ไปเรียบร้อยแล้ว
-
มันจะรู้พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มีจริง
-
ไม่สงสัย
-
รู้ว่าการปฏิบัติที่ถูกเป็นอย่างไร
-
ละสีลัพพตปรามาส
-
การถือศีลบำเพ็ญพรตอย่างงมงาย
-
อย่างบางคนบำเพ็ญพรตงมงาย เช่น
-
คิดว่ากินเจแล้วบรรลุได้เร็วกว่า
-
ถ้ากินเจถึงจะบรรลุได้
-
วัวควายกินหญ้ามาตลอดคงบรรลุหมดแล้วล่ะ
-
หรือบางคนคิดว่าต้องอาบน้ำในแม่น้ำคงคา
-
แล้วจะบรรลุเร็ว
-
ถ้าอย่างนั้นปลาในแม่น้ำคงคา
-
ก็บรรลุหมดแล้วล่ะ
-
อย่างนี้ที่เรียกว่าสีลัพพตปรามาส งมงาย
-
เราจะละความงมงาย เราจะรู้เลย
-
สิ่งที่ทำให้เราบรรลุพระโสดาบัน
-
คือไตรสิกขา ศีลสิกขา
-
จิตตสิกขา ปัญญาสิกขา
-
เดินอยู่ในหลักของสติปัฏฐาน
-
ลงมือทำสติปัฏฐาน
-
ในเบื้องต้นทำให้เกิดสติ
-
พอมีสติแล้วศีล สมาธิ ปัญญา
-
ก็จะค่อยๆ แก่รอบขึ้น
-
เราจะรู้ว่าเส้นทาง
-
ที่ไปสู่ความบริสุทธิ์หลุดพ้น
-
สุดท้ายหนีไม่พ้นเรื่องสติปัฏฐานหรอก
-
สติปัฏฐานเป็นทางสายเอก
-
เป็นทางสายเดียวเพื่อความบริสุทธิ์หลุดพ้น
-
ฉะนั้นวัดที่ตัวเอง
-
หลายคนบางทีเขียนจดหมายมา
-
มาเล่าหลวงพ่อบอกว่าได้โสดาบันแล้ว
-
บางคนบอกว่า
-
เห็นจิตกับสภาพธรรมที่แวดล้อมอยู่
-
เป็นสิ่งเดียวกันแล้ว
-
มันเห็นด้วยกำลังสมาธิเป็นครั้งคราวหรอก
-
เดี๋ยวก็ไม่เห็น
-
มันยังไม่ใช่ของแท้
-
ฉะนั้นต้องค่อยๆ สังเกตตัวเองให้ดี
-
อย่าเข้าข้างตัวเอง
-
แล้วเคล็ดลับสำคัญในการสังเกตจิตตนเอง
-
ต้องดูจิตตนเองในภาวะปกติ
-
อย่าไปทรงสมาธิอยู่
-
อย่างถ้าเราไปทรงฌานอยู่
-
แล้วเราบอกว่า
เราไม่มีราคะแล้ว ไม่มีโทสะแล้ว
-
ไม่มีกามราคะ ไม่มีโทสะ
-
เป็นพระอนาคามีแล้ว
-
ออกจากสมาธิมา
-
อ้าว กิเลสกลับมาอีกแล้ว
-
ราคะก็แรงยิ่งกว่าเก่า
-
โทสะก็ยิ่งแรงยิ่งกว่าเก่าอีก
-
พวกนั่งสมาธิ
-
หลุดออกมาจากสมาธิแล้วกิเลสแรง
-
กิเลสมันคิดดอกเบี้ย
-
มันถูกเก็บกดอยู่ช่วงหนึ่ง
-
มีโอกาสมันซัดเราหงายท้องเลย
-
ภาวนาเวลาเราจะสังเกตกิเลสตัวเอง
-
สังเกตในภาวะปกติในใจที่เป็นปกติอย่างนี้
-
ไม่ใช่ใจที่ทรงสมาธิอยู่
-
บางคนเพ่งเอาไว้อย่างนี้
-
แล้วบอกว่าไม่มีกิเลสแล้ว
-
หลวงพ่อพยายามทำหน้าให้ดู
-
จิตก็เป็น ทำทั้งหน้าทั้งใจ
-
เพ่งอยู่อย่างนี้ แล้วบอกไม่มีกิเลส
-
ใครด่าก็ไม่โกรธ
-
ใครชมก็เฉยๆ
-
เห็นผู้หญิงสวยๆ เดินโป๊ๆ ก็เฉยๆ
-
ทำไมมันเฉย จิตมันติดสมาธิอยู่
-
มันก็ข่มกามราคะได้
-
มันข่ม มันไม่ได้ละ
-
มันข่มไว้ชั่วคราว
-
เพราะฉะนั้นเวลาที่เราภาวนา
-
แล้วเรานึกว่าเราได้โน้นได้นี้
-
เราวัดกิเลสตัวเอง
-
วัดในภาวะที่จิตใจเป็นปกติ
-
อย่าไปน้อมจิตให้นิ่งๆ ทื่อๆ อยู่
-
แล้วก็มาวัดตอนที่มันนิ่งๆ ทื่อๆ
-
อันนั้นจะวัดไม่ออก
-
ถ้าเป็นคนปกติอย่างเวลานั่งสมาธิ
-
จิตรวมอยู่อย่างนี้ คนมาด่าก็เฉย
-
เวลาออกจากสมาธิคนยังไม่ทันด่า
-
มันมองหน้าโดดถีบมันแล้ว
-
นี่มันจะต่างกัน
-
เพราะฉะนั้นต้องวัดตัวจริง
-
ไม่ถูกฌานสมาบัติอะไรมาห่อหุ้มเอาไว้
-
ฉะนั้นเวลาวัดกิเลส
-
วัดตอนที่ใจเราเป็นปกตินี่ล่ะถึงจะเห็นชัด
-
พอได้หลักไหม
-
ในการที่จะไปตรวจสอบการปฏิบัติของตัวเอง
-
เราตรวจสอบการปฏิบัติของตัวเอง
-
ใช้โยนิโสมนสิการเป็นสำคัญ
-
จะรู้โยนิโสมนสิการได้
-
ต้องมีสุตตะ มีการเรียนรู้
-
สุตตะไม่ใช่พระสูตรเฉยๆ
-
สุตตะ การฟังๆ
-
การอ่านก็ใช้ได้
-
อ่านพระไตรปิฎกอะไรอย่างนี้
-
อ่านให้รอบคอบ
-
อ่านแล้วก็จับประเด็นผิดๆ ถูกๆ
อะไรอย่างนี้
-
อันตรายเหมือนกัน
-
อ่านต้องรอบคอบ
-
อย่างบอกว่าถ้าพระไปรักษาโรคให้คน
-
พระหมอนี่ทำผิดศีล
-
เป็นเดรัจฉานวิชา วิชาแพทย์
-
พระไปทำเดรัจฉานวิชา อาบัติ นี่พูดเอาเอง
-
ที่จริงพระหากินด้วยเดรัจฉานวิชา อาบัติ
-
แต่พระใช้เดรัจฉานวิชา
-
ช่วยเหลือสงเคราะห์โลกอะไรอย่างนี้
-
เป็นความเมตตากรุณาต่างหาก
-
พอตีความผิดก็ใส่ร้ายพระไปทั่ว
-
องค์โน้นผิดองค์นี้ผิด
-
ผิดอะไรนักหนา
-
ต้องเรียนต้องอ่านบ้าง
-
แต่อ่านแล้วก็เอาแขวนขึ้นหิ้งไว้ก่อน
-
ตอนที่ลงมือภาวนา ลืมไปก่อน
-
แล้วภาวนาเสร็จแล้วลองมาเทียบดูกับตำรา
-
ถ้าภาวนาถูกต้องตรงกัน ต้องตรงกัน
-
ฉะนั้นโยนิโสมนสิการไม่ใช่คิดเรื่อยเปื่อย
-
ไม่ใช่คิดตามใจกิเลส
-
แต่คิดโดยดูหลักเกณฑ์
-
พระพุทธเจ้าสอนอย่างไร
-
พระอรหันตสาวกท่านสอนไว้อย่างไร ดูตรงนั้น
-
แล้วก็จุดสำคัญ หัดสังเกตตัวเอง
-
สังเกตใจไว้
-
แล้วก็มีโอกาสถามครูบาอาจารย์
-
ตรงนี้เสี่ยงมากเลย
-
บางทีเราภาวนาดี เราไปเจอครูบาอาจารย์เก๊
-
ไปถามเขาแก้ของเรา
-
เมื่อก่อนมีเรียนกับที่อื่นมา
-
แล้วมาฟังกับหลวงพ่อ เราก็แก้ให้
-
กลับไปหาอาจารย์
-
อาจารย์แก้กลับไปอย่างเดิมอีก
-
อย่างกับตีปิงปอง ตีกลับไปกลับมา
-
สุดท้ายหลวงพ่อตบทีเดียว
-
กระเด็นออกนอกโต๊ะไปเลย ไม่เอาด้วยแล้ว
-
ฉะนั้นวัดใจตัวเองให้ได้ดีที่สุด
-
แล้วเครื่องมือในการวัด โยนิโสมนสิการ
-
วัดด้วยตัวนี้
-
ฉะนั้นอย่าได้โง่งมงาย
-
ทุกวันนี้คนออกมาสอนมากมายเหลือเกิน
-
เราภาวนาชำนิชำนาญ
-
เราฟังปุ๊บเราก็รู้แล้วนี่ธรรมะระดับไหน
-
ธรรมะระดับคิดเอาหรือว่ามีประสบการณ์ตรง
-
ประสบการณ์นั้นตรงถูกหรือไม่ถูก
-
ไปอีกหลายระดับ ค่อยๆ ดูเอา
-
วันนี้เทศน์ให้ฟังเท่านี้
-
ทำไมไม่สอนวิธีปฏิบัติ สอนไปเยอะแล้ว
-
วันนี้สอนการตรวจการบ้านตัวเอง
-
จะได้ไม่ต้องมาถามหลวงพ่อบ่อย
-
เบอร์ 1
-
เบอร์ 1 ต้องตกใจด้วย
-
เรียกเบอร์ 1 ทีเดียว
-
เบอร์ 1: ในรูปแบบ
-
นั่งสมาธิอยู่กับลมหายใจ
-
อยู่กับอารมณ์อันเดียวบ้าง
-
ดูจิตทำงานบ้าง
-
รู้ทันบ้างไม่ทันบ้าง
-
ยังจงใจมากไป
-
เพราะมันยังไม่ยอมรับความจริง
-
และความอยากดี
-
ชีวิตประจำวันคอยมีสติรู้ทันจิตคิด
-
แต่รวมๆ แล้วสติยังช้าและอ่อนอยู่
-
รู้จักกิเลสตัวเองมากขึ้น
-
ทั้งมานะ โทสะ ความอยาก
-
มันวนเวียนกลับมาเรื่อยๆ
-
ขอคำสั่งสอนครับ
-
ที่รู้ที่เห็นถูกแล้ว ดี
-
จุดที่ยังผิดอยู่คือจิต
-
จิตของเราปกติเป็นแบบนี้ไหม
-
พยักหน้าเอาหรือส่ายหน้า
-
ไม่เป็นอย่างนี้
-
ถ้าจิตเป็นอย่างนี้ใช้ไม่ได้
-
ไปล็อกนิ่งๆ เฉยๆ
-
จิตเฉยๆ อย่างนี้ ใครด่าก็เฉย
-
จิตตรงนี้ก็ยังไม่ปกติ ดูออกไหม
-
เออ รู้ทันแล้ว ใช้ได้ ดีที่ทำอยู่
-
หลวงพ่อถึงบอกอย่างไรเวลาวัด
-
ต้องวัดด้วยใจที่ปกติ
-
ถ้าใจไปทรงไว้อย่างนี้
-
มันวัดอะไรไม่ได้หรอก
-
มันเห็นกิเลสก็เห็นไม่จริง
-
เบอร์ 2: ในรูปแบบนั่งสมาธิ
-
หายใจเข้าพุทออกโธ
-
ในชีวิตประจำวัน
-
บริกรรม พุทโธ ธัมโม สังโฆ ในใจ
-
มีเผลอบ้าง
-
ไม่ทราบว่าควรดูกายหรือจิตครับ
-
บริกรรมไปเรื่อยๆ เอาสติ
-
พอเราได้สติ
-
อย่างเราพุทโธๆ ไป
-
เผลอแล้วเรารู้ เผลอแล้วรู้
-
เราได้สติได้สมาธิขึ้นมา
-
แล้วคราวนี้สติระลึกรู้ลงในกาย
-
เราก็ดูเห็นไตรลักษณ์
-
สติไปรู้การทำงานของจิต
-
เราก็เห็นจิตใจแสดงไตรลักษณ์
-
ดูไป สติรู้อะไรก็รู้อันนั้นล่ะ
-
ไม่ต้องบังคับว่าจงรู้เฉพาะร่างกาย
-
หรือจงรู้เฉพาะจิต
-
อย่าไปบังคับมัน จะตึงไป
-
สังเกตไหมใจเราตึงๆ ไปนิดหนึ่ง
-
สบายๆ รู้ไปธรรมดาๆ
-
ใจธรรมดาดีที่สุดเลย
-
ตรงนี้ไม่ธรรมดาแล้วรู้สึกไหม
เมื่อกี้ธรรมดา
-
ตอนนี้ไม่ธรรมดา เพราะเราไปรวบเข้ามา
-
ตัวนี้โมหะแทรกแล้วรู้สึกไหม มันซึมลงไป
-
เพราะฉะนั้นทำสมาธิก็ทำไป
-
จะบริกรรมก็บริกรรมไป
-
แต่ว่าอะไรเกิดขึ้นกับจิตใจ ให้คอยรู้ทัน
-
บริกรรมแล้วโมหะแทรก
-
ชักเคลิ้มชักลืมตัวรู้ทัน
-
ถ้ารู้ทันแล้วก็
-
หายใจให้แรงขึ้นนิดหนึ่งก็ได้
-
กระตุ้นความรู้สึกตัว
-
ไม่ให้มันหย่อนเคลิ้มลงไป
-
รู้สึกตัวไปแต่อย่าไปกระตุ้นมาก
-
มันจะแข็งไป
-
เอาแค่ไม่หลงไม่เคลิ้มไม่ถูกโมหะครอบ
-
รู้เนื้อรู้ตัวด้วยใจปกติ
-
โมหะแทรกตรงนี้
-
เราน้อมใจให้เคลิ้ม
-
อย่าน้อมใจให้เคลิ้ม
-
รู้ตัวไว้ หายใจออกรู้สึก หายใจเข้ารู้สึก
-
หรือจะพุทโธด้วยก็ได้ รู้สึก
-
อย่าไปดัดแปลงจิต
-
เบอร์ 2 ยังชินที่จะดัดแปลงจิต
-
ให้มันนิ่งๆ
-
รู้สึก ความรู้สึก
-
สำคัญยิ่งกว่าการบังคับให้นิ่ง
-
เออ ตรงนี้ถูก
-
เวลาถูกมันถูกแวบเดียวล่ะ
-
แล้วจิตมันก็ไปปรุงต่อ
-
หายใจไป พุทโธไปเรื่อยๆ ใจเคลิ้มให้รู้
-
หายใจไป พุทโธไป
-
ใจหนีไปคิดเรื่องอื่นให้รู้
-
เพราะฉะนั้นหายใจไปพุทโธไปแล้วรู้ทันใจไว้
-
เคลิ้มก็รู้ หลงไปก็รู้
-
ฝึกบ่อยๆ แล้วสติจะแข็งแรง สมาธิจะดีขึ้น
-
เบอร์ 3: ฟังธรรมตอนขับรถ
-
อ่านหนังสือธรรมะบ้าง
-
ในรูปแบบนั่งสมาธิเช้าเย็น
-
ครั้งละ 30 นาที
-
หายใจเข้าพุทออกโธ
-
ดูร่างกายหายใจ
-
มักฟุ้งซ่าน ยังติดเพ่ง
-
บางครั้งรู้สึกสว่างขึ้นคล้ายเปิดสวิตช์ไฟ
-
รู้สึกชอบ แต่ไม่นานก็เผลอไปคิดเรื่องอื่น
-
ระหว่างวันดูร่างกายหายใจพร้อมพุทโธ
-
คอยรู้ทันโทสะและเผลอคิด
-
ดูร่างกายเคลื่อนไหวบ้าง ขอคำสั่งสอนค่ะ
-
ดูอย่างนั้นล่ะ
-
หายใจไปหรือเคลื่อนไหวไป
-
ก็ไม่ได้ไปบังคับจิตให้นิ่ง
-
หายใจไปเคลื่อนไหวจิตหลงไปก็รู้
-
พยายามไปดึงจิตคืนมาก็รู้
-
รู้ทันจิตตัวเองบ่อยๆ
-
ใช้กรรมฐานจะหายใจก็ได้เคลื่อนไหวก็ได้
-
แนะนำอันหนึ่งก็คือดูกายให้เยอะขึ้น
-
ใช้สติใช้ปัญญาสอดส่องเข้าไปในร่างกาย
-
ร่างกายนี้มันสวยอยู่ที่เปลือกนอก
-
สวยอยู่ที่ขนผมเล็บฟันหนังเท่านั้นเอง
-
เรากำหนดจิตมองเข้าไปภายใน
-
เห็นของไม่สวยไม่งามอยู่ภายในเยอะแยะ
-
ฝึกตัวนี้บ้าง มันถูกกับจริต
-
เพราะเราเป็นพวกรักสุขรักสบายรักสวยรักงาม
-
น้อมกลับเข้ามาดูตัวนี้จะดี
-
เบอร์ 1 ติดสมาธิ
-
จิตคงที่อยู่ตรงนี้ทั้งๆ ที่เผลอ
-
ตัวนี้ต้องไปดูให้ดี
-
ถ้ามันค้างกลางอากาศอยู่อย่างนี้
-
มันไม่เดินปัญญาจริง
-
เบอร์ 4: ปฏิบัติในรูปแบบทุกวัน
-
มีอาการตึงๆ หน่วงๆ ตรงกลางศีรษะ
-
จนถึงปลายจมูก
-
มีความรู้สึกคล้ายการเข้าไปในสมาธิที่ลึก
-
เวลาทำงานจะทำความรู้สึกตัวทุกครั้ง
-
เมื่อมีทุกข์เข้ามา
-
จะรู้สึกไม่ทุกข์มากเหมือนแต่ก่อน
-
รู้สึกอยู่เหนือทุกข์
-
มองทุกอย่างเป็นสมมุติมากขึ้น
-
ขอการบ้านค่ะ
-
เวลาที่ใจเราทรงสมาธิอยู่มัน
-
จะรู้สึกอย่างที่เล่า
-
ถ้าอยากเห็นของจริง
-
อย่าค้างอยู่กลางอากาศแบบนี้
-
ถ้าเราน้อมจิตให้ทรงสมาธิอยู่อย่างนี้
-
อะไรๆ ก็เฉยๆ หมดล่ะ
-
ถ้าหลุดจากตรงนี้เมื่อไรมันร้ายเลย
-
ถอยออกมาสิ อย่าค้างอยู่อย่างนั้น
-
ถอยออกมา เออ อยู่ข้างนอกอย่างนี้
-
กิเลสไม่ได้อยู่ข้างในอย่างนั้น
-
อย่าหลุดเข้าไปค้างกลางอากาศอยู่
-
ถ้าอย่างนั้นจะไม่เดินปัญญาจริง
-
เพราะจะไม่เห็นกิเลสหรอก
-
จะรู้สึกเฉยๆ อะไรเกิดขึ้นก็เฉยๆ
-
จะรู้สึกไปทางนั้น
-
แต่ถ้าใจเราไม่ไปทรงค้างอยู่
-
กับสมาธิข้างในอย่างนั้น
-
คราวนี้กระทบอารมณ์มันจะเกิดปฏิกิริยา
-
ตามธรรมชาติธรรมดาล่ะ
-
เราก็จะเห็นปฏิกิริยาทั้งหลาย
-
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป
-
ควบคุมไม่ได้ บังคับไม่ได้
-
ปัญญามันอยู่ตรงนี้ไม่ได้อยู่ตรงเฉย
-
เบอร์ 5: ทำกรรมฐานใช้คำบริกรรมพุทโธ
-
ระหว่างวันพยายามคิดพุทโธแล้วสังเกตว่า
-
ยังคิดพุทโธอยู่หรือไม่มีพุทโธ
-
ทำในรูปแบบ
-
ด้วยการนั่งบริกรรมพุทโธก่อนนอน
-
และหลังตื่นนอน
-
ใช้การตั้งใจหายใจ
-
เพื่อช่วยในเวลาที่ง่วง เคลิ้ม
-
หรือคิดพุทโธไม่ค่อยได้
-
ขอคำชี้แนะการปฏิบัติต่อไปครับ
-
ถูกแล้วไปพุทโธต่อ
-
ทำได้ ทำวิธีนี้ก็ทำได้ ทำอีก
-
เบอร์ 5 ตรงนี้เราน้อมจิตเข้าไปรู้สึกไหม
-
น้อมเข้าไปรู้ว่าน้อม รู้ทันจิตตัวเอง
-
จิตตรงนี้ดี ตรงนี้จิตธรรมดา
-
รู้สึกไหม มันรู้ มันตื่น มันเบิกบาน
-
ส่วนที่น้อมเข้าไป มันก็ได้ซึมๆ
-
ตรงนี้ดี
-
จิตที่จะเดินปัญญา
-
หรือเจริญสติในชีวิตประจำวัน
-
ใช้จิตอย่างตรงนี้
-
ส่วนต้องการพักผ่อนก็เข้าสมาธิลึกลงไป
-
ไม่เป็นไร
-
แต่พอออกจากสมาธิมาอยู่ข้างนอกนี้
-
แล้วกระทบอารมณ์แล้ว
เห็นความเปลี่ยนแปลงของจิตได้
-
จะเดินปัญญาได้คล่องตัว
-
ถ้านิ่งไปตลอดมันไม่เดินปัญญาจริงหรอก ดี
-
เบอร์ 6: ในรูปแบบดูลมหายใจ มีพุทโธกำกับ
-
ในชีวิตประจำวันดูอารมณ์ที่มากระทบบ้าง
-
อยู่กับลมหายใจบ้าง
-
เห็นโทสะเล็กๆ
-
และเบื้องหลังการกระทำบ่อยขึ้น
-
หลวงพ่อเคยให้ไปดูตัวนิ่งๆ
-
ที่เป็นโมหะสมาธิ
-
เห็นว่ามีการคุมและมีความหนักกลางอก
-
เวลาทำในรูปแบบรู้สึกว่ายังติดการคุม
-
และมีความหนัก
เมื่อมารู้ตัวในชีวิตประจำวัน
-
ขอคำชี้แนะค่ะ
-
เวลาเราจะทำสมาธิ
-
เบื้องต้นก็ต้องจงใจไว้ก่อน
-
มันก็คุมนิดหน่อย
-
ถ้าคุมมากสมาธิไม่ดีหรอก แน่นๆ อึดอัด
-
แต่ถ้าเราทำสมาธิแล้วเราออกมาอยู่ข้างนอก
-
เรายังรู้สึกว่ามีการคุมอยู่
-
แสดงว่าเราติด
-
เรายังไม่ได้ออกจากสมาธิอย่างแท้จริง
-
จิตติดซึมออกมาด้วย ตัวนี้ไม่ดี
-
เพราะฉะนั้นเวลาเรานั่งสมาธิ
อย่าให้ขาดสติ อย่าให้สติอ่อนเกินไป
-
ถ้าสติอ่อนเกินไปแล้วโมหะมันครอบ
-
แล้วพอเราถอยออกมาอยู่กับโลกข้างนอกนี่
-
โมหะมันติดออกมาด้วย
-
เพิ่มความรู้สึกตัวขึ้นนิดหนึ่ง
-
เวลานั่งสมาธิ อย่าให้เคลิ้มลงไป
-
แล้วเวลาอยู่ข้างนอก
สติจะทำงานได้คล่องแคล่ว
-
จิตไม่ติดโมหะ
-
นี่ตรงนี้น้อมแล้ว รู้สึกไหม
-
ใจเริ่มน้อมเข้าไปจะให้มันซึม
-
สมาธิไม่ได้แปลว่าสงบ
-
สมาธิคือความตั้งมั่นของจิต
-
ฉะนั้นไม่ได้ไปฝึกน้อมให้ซึมลงไป
-
เพื่อจะได้สงบ
-
อันนั้นเป็นมิจฉาสมาธิ
-
ฉะนั้นต้องมีสติกำกับ
-
ถ้าขาดสติเมื่อไรก็เกิดมิจฉาสมาธิทันทีเลย
-
รู้สึกๆๆ มันจะเคลิ้มอยู่เรื่อย มันเคยชิน
-
ตอนนี้นั่งน้อยๆ ก็ได้
-
ออกมาทำงาน
-
เคลื่อนไหวทำงานบ้านแล้วรู้สึกตัวไป
-
ไปทำงานแล้วรู้สึกตัวที่มันทำงานไป
-
ดีกว่าไปนั่งสมาธิ มันติด มันติดโมหะ
-
เอาอยู่ข้างนอกนี่ล่ะ แล้วรู้สึกเอา
-
เบอร์ 7: ในรูปแบบ สวดมนต์ เดินจงกรม
-
ดูร่างกายหายใจ
-
วันละ 30 นาที - 2 ชั่วโมง
-
เวลาฟุ้งมาก จะฟังเทศน์หลวงพ่อ
-
สวดมนต์จนมีแรง แล้วกลับมาดูกายใจทำงาน
-
ระหว่างวันรู้กายเคลื่อนไหว ใจเปลี่ยน
-
เห็นโทสะ มานะ
-
ขอการบ้านค่ะ
-
ดี ไปทำอีก
-
ฝึกไปเรื่อยๆ
-
เบอร์ 7 อันนี้เราส่งจิตไปดู
-
สังเกตไหมจิตมันเคลื่อนออกไปดู
-
มันไปดูอะไรไม่สำคัญ
-
ที่สำคัญคือรู้จิตมันเคลื่อนไปดู
-
รู้ทันจิตที่เคลื่อน
-
แล้วก็ไม่ได้รักษาว่าห้ามเคลื่อน
-
เคลื่อนแล้วรู้ เคลื่อนแล้วรู้
-
เบอร์ 8: ภาวนาในรูปแบบทุกวัน
-
โดยการสวดมนต์ นั่งสมาธิ
-
ดูลมหายใจเข้าออก
-
ทำอานาปานสติ
-
และเดินจงกรมประมาณ 30 นาที - 1 ชั่วโมง
-
ชีวิตประจำวัน
-
ดูกาย เห็นกายที่ขยับเคลื่อนไหว
-
ดูจิตเปลี่ยนไปเมื่อเจอผัสสะกระทบอารมณ์
-
มีลมหายใจและกายเป็นเครื่องอยู่
-
ช่วงหลังเห็นกิเลสบ่อยขึ้น ขอคำชี้แนะค่ะ
-
ดีขึ้นเยอะเลย ใช้ได้
-
ระวังอันเดียวอย่าน้อมจิตไปให้มันไปนิ่งๆ
-
มันยังเคยชินที่จะทำจิต รู้สึกไหม
-
ไปแต่งจิตให้มันนิ่งๆ อยู่นิดหนึ่ง
-
ไม่มากหรอกแต่ว่ามี
-
อย่าไปปรุงแต่งจิต
-
แต่ถ้าจิตจะปรุงแต่งอะไร เราคอยรู้ทัน
-
ไม่ห้าม
-
แต่เราอย่าไปปรุงแต่งจิต
-
ให้มันนิ่งๆ เฉยๆ เสียเอง
-
ให้จิตทำงานตามธรรมชาติธรรมดา
-
วันนี้ 8 คนเป็นเรื่องของสมาธิเสียเยอะเลย
-
เบอร์ 4 ใจฟุ้งซ่าน
-
วันนี้เท่านี้
-
ต้องอดทน หลวงพ่อแถมนิดหนึ่ง
-
มีผู้หญิงอยู่คนเป็นคนฟุ้งซ่านมากๆๆๆ
-
ไม่ใช่มากอย่างเดียว มากๆๆ หลายตัว
-
แล้วชอบวุ่นวาย ชอบกิจกรรม
-
แต่ว่าอยากดี
-
งานอดิเรกคือเล่นตุ๊กตา
-
ทีนี้หลวงพ่อก็นวดหนักๆ เลย
-
บังคับให้ภาวนา
-
ภาวนาทีแรกจะร้องห่มร้องไห้
-
โอ้ย มันทุกข์ทรมาน
-
นั่งแล้วทรมานมากเลย
-
แล้วเผลอเมื่อไรก็จะออกไปซนแล้วโดนดุทุกที
-
อดทน ถูกดุก็ทน
-
ภาวนาจนกระทั่งเมื่อวันศุกร์มาส่งการบ้าน
-
ภาวนาแล้วจิตมันรวมลง
-
ร่างกายหายไป
-
โลกทั้งโลกก็หายไป
-
เหลือแต่จิตดวงเดียวมีสติกำกับอยู่
-
เห็นการทำงานภายในอยู่
-
แล้วก็มาบอกหลวงพ่อว่า
-
นี่เขาจะมีคอร์ส จะไปเข้าคอร์สดีไหม
-
บอกไปเข้าทำไมล่ะ
-
เราภาวนาของเราก็ดีๆ อยู่แล้ว
-
การปฏิบัติมันเรื่องเฉพาะตัว
-
ไปรวมกลุ่ม
-
ถ้าเราเจอคนซึ่งภาวนาดีกว่าเรา
-
หรือเสมอเรา เราก็ได้ดี
-
ถ้าเจอคนฟุ้งซ่าน
-
ธาตุสันดานเดิมพื้นฐานเดิมของเราฟุ้งซ่าน
-
มันก็จะดึงดูดเราฟุ้งซ่าน
-
กรรมฐานที่อุตส่าห์ฝึกมาอย่างยากลำบาก
-
เสียหมด
-
เพราะฉะนั้นทางที่ดีไม่คลุกคลี
-
เล่าให้พวกเราฟังว่า
-
กระทั่งคนที่ฟุ้งสุดยอด
-
แต่อดทนมันก็ยังทำได้
-
ขอให้อดทนเถอะ
-
ทนต้องทนจริงๆ ทนเจ็บ ทนปวด
-
นั่งแล้วจะตายเอา เจ็บไปทั้งตัวเลย
-
ต้องอดทน ทนได้ก็ได้แก่นสารสาระ
-
อย่างน้อยชาตินี้ก็รู้แล้วว่า
-
จิตจริงๆ เป็นอย่างไร
-
มันเพิกโลกออกไป เพิกถอนโลก
-
เพิกถอนร่างกายออกไป
-
เหลือแต่จิตดวงเดียว
-
การปฏิบัติทีนี้ก็สามารถ
-
เจริญปัญญาอยู่ตรงนี้ได้เลย
-
แต่ถ้าย่อหย่อนเมื่อไรก็ฟุ้งซ่าน
-
ความเพียรที่ทำมาก็ล้มเหลว
-
ต้องเริ่มต้นไหม
-
เริ่มหลายๆ ทีก็ไม่มีแรงจะเริ่ม
-
คนนี้พื้นฐานแย่กว่าพวกเรา
-
ฉะนั้นพวกเราพื้นฐานยังดีกว่าเขาส่วนใหญ่
-
เขาฟุ้งมาก โมหะเยอะ
-
ราคะ หมายถึงชอบของสวยของงามเยอะ
-
เขายังสู้ได้เลย
-
เราก็ต้องสู้ ทำให้ได้
-
มักน้อย สันโดษ ฝักใฝ่ในความสงบ
-
ไม่คลุกคลี ปรารภความเพียร
-
นานๆ เพียรทีไม่ได้กินหรอก
-
5 ข้อนี้พื้นฐานจะต้องมี
-
แล้วเราถึงจะเจริญ
-
ถัดจากนั้นก็รักษาศีล
-
ฝึกจิตให้ตั้งมั่น
-
เจริญปัญญา แยกธาตุแยกขันธ์
-
เห็นธาตุขันธ์แต่ละตัวแสดงไตรลักษณ์ไป
-
ถัดจากนั้นเป็นของที่เกิดเอง
-
เกิดมรรคผล เกิดวิมุตติ
-
แล้วก็เกิดวิมุตติญาณทัสสนะ
-
รู้ว่ากิเลสอะไรละแล้ว กิเลสอะไรยังไม่ละ
-
เดินแนวนี้ถึงจะเอาตัวรอด
-
ถ้าเริ่มต้นก็มักมาก อยากไปหมด
-
เห็นใครเขามีอะไรก็อยากไปหมด
-
ไม่เคยคิดจะทำความสงบเลย
-
ชอบคลุกคลี
-
นานๆ คิดถึงการปฏิบัติทีหนึ่ง
-
มันก็ได้เท่าที่ควรจะได้นั่นล่ะ
-
ก็ได้นิดๆ หน่อยๆ
-
วันนี้สอนเท่านี้ อดทน