-
วันนึงมี 25 ชั่วโมงได้หรือเปล่า?
-
สวัสดีค่า วิวจากแชนเนล Point of View ค่ะ
-
เชื่อว่าหลายคนเนี่ย น่าจะเคยเหมือนวิวใช่ไหมคะ?
-
ที่งานยุ่งมากๆ จนรู้สึกว่า
-
"วันนึงเนี่ย มี 24 ชั่วโมงมันไม่พอ!"
-
"ขอเวลาเพิ่มได้ไหม?" นะคะ
-
อยากรู้กันไหมคะว่า
-
วันนึงมี 25 ชั่วโมงได้หรือเปล่า?
-
แหมะ! มันจะเป็นไปได้ได้ยังไง
-
วันนึงก็ต้องมี 24 ชั่วโมงสิ!
-
ขอบอกว่า ได้ค่ะ!
-
และที่สำคัญ
-
ไม่ใช่ว่าเหตุการณ์นี้เป็นเหตุการณ์สมมุตินะคะ
-
แต่ในโลกของเราเนี่ย
-
มีบางคนค่ะ ที่ได้สัมผัสประสบการณ์
-
การที่วันนึงมี 25 ชั่วโมงมาแล้วนะคะ
-
และไม่ใช่แค่คนหรือสองคนนะคะ
-
ที่เคยสัมผัสประสบการณ์นั้น
-
แต่ว่าคนประมาณ 40% ของทั้งโลกนะคะ
-
เคยสัมผัสประสบการณ์นี้มาแล้วค่ะ
-
ประสบการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อมีสิ่งที่เรียกว่า
-
Daylight Saving Time นั่นเองนะคะ
-
อยากรู้กันไหมว่า Daylgiht Saving Time คืออะไร?
-
แล้วมันส่งผลกระทบอะไรกับชีวิตเรา?
-
ทำไมเราถึงไม่เคยเจอมันเลย?
-
หรือบางคนอาจจะเคยเจอมันมาแล้วเล็กๆ น้อยๆ
-
แล้วทำให้ชีวิตของเราเนี่ย ปั่นป่วนนะคะ
-
แต่ว่าก่อนอื่น
-
ก่อนจะไปฟังเรื่องราวของ Daylight Saving Time กันเนี่ย
-
อย่าลืมกดติดตามวิวให้ครบทุกช่องทางนะคะ
-
เพราะว่าแต่ละช่องทางก็มีเนื้อหาไม่เหมือนกันเลยค่ะ
-
สำหรับตอนนี้พร้อมจะไปฟัง
-
เรื่องราวที่ทั้งสนุก แล้วก็ได้สาระกันรึยังคะ?
-
ถ้าพร้อมกันแล้ว ก็ไปฟังกันเลยค่ะ~
-
พูดว่า Daylight Saving เนี่ยนะคะ
-
คนไทยหลายๆ คนน่าจะงงค่ะ
-
ประมาณว่า "เฮ้ย มันคืออะไรอะ?
-
เกิดมาไม่เคยได้ยินเลย" นะคะ
-
แต่ใครที่เคยไปเรียนหรือว่าเคยไปใช้ชีวิต
-
เคยไปเที่ยวแถวยุโรป แถวออสเตรเลีย แถวอเมริกา
-
น่าจะคุ้นเคยกันดีค่ะ
-
Daylight Saving นะคะ คือข้อตกลงค่ะ
-
ที่คนในบางประเทศ บางกลุ่ม บางรัฐเนี่ยนะคะ
-
ตกลงร่วมกันค่ะ ว่าเราจะมาปรับเวลากันเถอะ
-
เพื่อที่ว่าเราจะได้ใช้ชีวิต
-
ท่ามกลางแสงอาทิตย์ยาวนานขึ้นค่ะ
-
ฟังดูตรงนี้อาจจะงงนิดนึงนะ
-
บอกเลยว่าคอนเซ็ปต์เนี้ย
-
เป็นคอนเซ็ปต์ที่จะงงมากๆ นะคะ
-
สำหรับคนที่ไม่เคยเจอเหตุการณ์นี้จริงๆ น่ะนะ
-
ถามว่าปรับนาฬิกาเนี่ย ปรับตอนไหน?
-
ก็ต้องบอกว่าปรับช่วงฤดูร้อนค่ะ
-
คือเขาจะตกลงกันว่า
-
"เอาละ เราจะเริ่มปรับที่วันนี้"
-
เริ่มแรกเราต้องมารู้ก่อนว่า
-
เวลาที่ปกติที่เราใช้อยู่ทุกวันนี้เนี่ยนะคะ
-
เขานับว่าเป็น Standard time ค่ะ
-
ก็คือ เป็นเวลาที่เริ่มไปเรื่อยๆๆ ปกติใช่ไหม?
-
ทีนี้ในช่วงที่มีสิ่งที่เรียกว่า Daylight Saving นะคะ
-
มันเป็นข้อตกลงค่ะว่า
-
"เอาละทุกคน เรามาปรับเวลาให้เร็วขึ้นกันดีกว่า"
-
ซึ่งส่วนมากนะคะ ก็จะปรับเวลา
-
เป็นระยะเวลาทั้งหมด 1 ชั่วโมงด้วยกันค่ะ
-
เช่น วันนี้เป็นวันที่ตกลงกันแล้วว่า
-
"เอาละ เราจะ Daylight Saving กัน"
-
ตอนนี้ตีสองนะ
-
1 ชั่วโมงหลังจากนี้ มันจะต้องกลายเป็น
-
ตีสามใช่ไหมคะ?
-
แต่ปรากฏว่าวันเนี้ย
-
เป็นวันที่ตกลงกันไว้ว่าจะ Daylight Saving
-
พอตีสองปุ๊บ แทนที่จะตีสาม
-
มันเด้งข้าม ปึ้ง! ไปตีสี่เลย ใช่ไหมคะ?
-
ซึ่งเหตุการณ์นี้จะเกิดแค่วันเดียวเนอะ
-
วันรุ่งขึ้นก็ใช้ชีวิตแบบนี้ไปเรื่อยๆ ค่ะ
-
เวลาในช่วงระยะเวลานั้นนะคะ
-
ก็จะเร็วขึ้น 1 ชั่วโมงจาก Standard time ค่ะ
-
ทีนี้ทุกคนก็จะถามว่า "อ้าว แล้วอยู่ดีๆ
-
เวลาหายไป 1 ชั่วโมงอย่างนี้ได้เหรอ?
-
1 ปี ชั่วโมงก็หายไป 1 ชั่วโมง
-
2 ปีก็ 2 ชั่วโมง
-
3 ปี 3 ชั่วโมง
-
24 ปีนี่หายไป 1 วันเลยนะ
-
มันจะเวิร์กหรือเปล่า?" นะคะ
-
ต้องบอกว่า มันไม่ได้แค่ปรับไปอย่างเดียวค่ะ
-
ช่วงที่หมดฤดูร้อนแล้วเนี่ยนะคะ
-
ช่วงฤดูใบไม้ร่วง ช่วงที่จะเข้าฤดูหนาวเนี่ย
-
เขาก็จะมีการปรับเวลากลับค่ะ
-
ก็คือ ตอนนี้เวลามันเร็วอยู่ 1 ชั่วโมงใช่ไหม?
-
อะ เราปรับเวลา ถอยหลังกลับ 1 ชั่วโมงกันเถอะ ปึ้ง!
-
ทำให้ 1. เวลากลับมาเหมือนเดิม ใช่ไหมคะ?
-
กลับมาที่ Standard time เหมือนเดิม
-
และ 2. วันวันนั้นที่ตกลงกันไว้ว่าจะปรับเนี่ย
-
จะมีเวลาทั้งหมด 25 ชั่วโมงค่ะ
-
เพราะว่าสมมุติว่า
-
เราตกลงกันไว้ว่าจะปรับลงตอนตีสาม
-
พอตีสามไปเรื่อยๆ ปุ๊บ
-
สามๆๆ มันควรจะสี่ใช่ไหม?
-
สามๆๆ เด้งกลับมาสามอีกรอบค่ะ
-
นี่ละค่ะ สาเหตุที่ทำให้วันนึงสามารถมี 25 ชั่วโมงได้
-
ฟังแบบนี้น่าจะงงกันนะคะ ประมาณว่า
-
"เอ้า แล้วอยู่ดีๆ ไม่ว่าดีจะไปปรับนาฬิกาเล่นกันทำไม?"
-
สาเหตุนั้นเนี่ย เราอาจจะไม่ค่อยเก็ตกันค่ะ
-
สาเหตุมันมาจากสภาพอากาศนั่นเอง
-
เราลองนึกสภาพทุกวันนี้นะคะ
-
ช่วงนี้ที่วิวอัดคลิปวิดิโอนี้อยู่เนี่ย
-
เป็นช่วงเดือนธันวาคมใช่ไหมคะ?
-
เอาแค่ในประเทศไทยของเรา เราก็จะรู้สึกว่า
-
"โห ช่วงนี้พระอาทิตย์ตกเร็วจังเลย
-
สักประมาณ 5 โมงกว่า 6 โมงเนี่ย ฟ้าก็มืดแล้ว" นะคะ
-
"ส่วนตอนเช้าเนี่ย ประมาณ 6 โมง 7 โมง
-
ฟ้ายังไม่สว่างเลย นอนสบายมาก
-
ไม่อยากตื่นไปทำงานเลย"
-
ประมาณนั้นใช่ไหม?
-
ต่างจากช่วงตอนเมษายนค่ะ
-
ซึ่งเป็นฤดูร้อนของเราใช่ไหม?
-
โอ้โห ปกติตอนกลางวันก็ร้อนจะตายอยู่แล้ว
-
ทีเนี้ย ไม่ทันจะ 6 โมงดี พระอาทิตย์ขึ้นละ
-
เริ่มร้อนแล้วนะคะ
-
เท่านั้นยังไม่พอ ในตอนเย็นเนี่ย
-
พระอาทิตย์ก็อยู่กับเราไปจนถึง 6 โมง ทุ่มนึง
-
ก็ยังไม่ยอมตกซะที
-
นี่ละค่ะ แม้ว่าประเทศเราเนี่ย
-
จะเป็นประเทศที่อยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร
-
เรายังเจอเหตุกาณ์แบบนี้เลย
-
แล้วนึกสภาพประเทศที่อยู่ในเขตอบอุ่น เขตหนาวสิคะ
-
อย่างพวกประเทศในยุโรป
-
อย่างพวกแคนาดา พวกอเมริกา
-
ที่อยู่ทางเหนือขึ้นไปเนี่ย
-
ว่าฤดูกาลของเขาแต่ละฤดูเนี่ย
-
จะแตกต่างกันขนาดไหน?
-
นึกสภาพนะคะ ฤดูกาลทางแถบนั้นแบ่งเป็น
-
Winter, Spring, Summer แล้วก็ Fall ใช่ไหมคะ?
-
ถ้าใครเคยไปเที่ยว
-
หรือไปใช้ชีวิตอยู่แถวยุโรปเนี่ยจะเห็นว่า
-
ในช่วงฤดูร้อนเนี่ยนะคะ
-
ตอนเช้าพระอาทิตย์ขึ้นเร็วมากนะคะ
-
ยังไม่ทันเช้าเลย พระอาทิตย์ก็ขึ้นละ
-
เหมือนสว่างเป็นกลางวันเลย
-
เท่านั้นยังไม่พอนะคะ ในช่วงเวลากลางคืน
-
อู้หู สองทุ่ม สามทุ่ม พระอาทิตย์ไม่ยอมตกซะที
-
หรือว่าบางประเทศในบางช่วงเวลาเนี่ย
-
พระอาทิตย์ไม่ยอมตก
-
จนกระทั่งเป็นพระอาทิตย์เที่ยงคืนเลยทีเดียวนะคะ
-
แต่กลับกันนะคะ ในช่วงฤดูหนาว
-
ฟ้าขมุกขมัวทั้งวันเลยค่ะ
-
พระอาทิตย์แทบไม่โผล่มาเลยนะ
-
โดยเฉพาะตอนเย็น ตอนกลางคืนเนี่ย
-
แปปเดียว ฟ้ามืดสนิทแล้วค่ะ
-
สิ่งนี้ก่อให้เกิดผลกระทบทั้งหมด 2 อย่างด้วยกันค่ะ
-
เราลองนึกสภาพ
-
ย้อนกลับไปหลายร้อยปีก่อนนะคะ
-
ตอนที่กิจกรรมในร่ม เรายังไม่ค่อยมีอะไรมากมาย
-
นอกจากจุดเทียน แล้วก็นั่งอยู่ในบ้านน่ะนะ
-
นึกสภาพสมัยก่อนนะคะ
-
ตอนที่ยังใช้เทียนกันอยู่
-
หรือว่าไฟฟ้าเพิ่งประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่ๆ ค่ะ
-
ตอนนั้นเนี่ย ช่วงฤดูร้อนจะเป็นยังไง?
-
ตอนช่วงฤดูร้อน ทุกคนก็จะออกไปใช้ชีวิตกลางแจ้ง
-
มีความสุข เพราะประเทศเขาหนาว
-
การเจอแสงอาทิตย์นี่เป็นอะไรที่แบบ
-
ซึ่งฤดูร้อนค่ะ อากาศดี อากาศแบบ
-
25 องศา มีต้นไม้เขียวขจี
-
อู้หู เหมาะมากกับการออกไปเตะบอล
-
ไปตีกอล์ฟ ไปเล่นเบสบอล ไปทำนู่นทำนี่ ใช่ไหมคะ?
-
คนอยากใช้ชีวิตกลางแจ้งค่ะ
-
คนไม่ค่อยอยากกลับเข้าอาคาร
-
ตัดภาพมาช่วงฤดูหนาว
-
กลางวันกลางคืนเหมือนกันอะ ฉันอยากอยู่แต่ในตึก
-
ประมาณนั้นนะคะ
-
สิ่งนี้ส่งผลกระทบไปยังข้อสองของเราค่ะ
-
เมื่อเราออกไปใช้ชีวิตกลางแจ้งมากขึ้น
-
ในช่วงฤดูร้อนเนี่ย
-
แปลว่าเราประหยัดพลังงานค่ะ
-
เพราะว่าเราใช้พลังงานธรรมชาติใช่ไหม?
-
เราออกไปอยู่ข้างนอก ก็ไม่จำเป็นต้องเปิดไฟ
-
ไม่จำเป็นต้องจุดเทียน เพราะว่าอะไร?
-
เพราะว่าพระอาทิตย์มันขึ้นอยู่แล้ว
-
เราก็มีแสงสว่างอยู่แล้ว
-
ในขณะที่เวลาเราเข้ามาบ้านเนี่ย
-
เราก็จะต้องเปิดหลอดไฟ จะต้องจุดเทียนอะไรต่างๆ
-
สิ้นเปลืองพลังงานสุดๆ
-
เมื่อฤดูหนาว กลางวันกลางคืนก็เหมือนกันแหละ
-
เราไม่ได้ออกไปไหน
-
เราก็เปิดไฟทั้งวันทั้งคืนอยู่แล้วนะคะ
-
จากเหตุการณ์นี้นะคะ
-
ทำให้ในช่วงปี 1874 เนี่ย มีคนดังคนนึง
-
ชื่อว่านาย Benjamin Franklin เนี่ยนะคะ
-
เขาเกิดไอเดียบรรเจิดขึ้นมา
-
จริงๆ ก็ไม่เรียกว่าไอเดียหรอก เรียกว่ากวนมากกว่า
-
ไม่อยากจะเติมว่ากวนอะไรอะนะ
-
คือประมาณว่ามีคนไปถามอะไรเขาก็ไม่รู้
-
แล้วอยู่ดีๆ เขาก็กวนขึ้นมา บอกว่า
-
"นี่นะ รู้ไหม? จริงๆ พวกเราเนี่ย
-
สามารถประหยัดเทียนกันได้
-
ถ้าเราบังคับให้ทุกคนเนี่ย
-
ตื่นเร็วขึ้น 1 ชั่วโมงในช่วงฤดูร้อน
-
เพราะว่าอะไร? เพราะว่าถ้าเราอยู่ในอาคาร
-
เราต้องจุดเทียนใช่ไหม?
-
แต่ว่าจริงๆ แล้วอะ ปกติเราตื่น 6 โมงเช้า
-
ในช่วงฤดูร้อนเนี่ยนะคะ ตีห้าพระอาทิตย์ขึ้นแล้วค่ะ
-
ถ้าสมมุติว่าทุกๆ คนตื่นมาตั้งแต่ตีห้า
-
ก็จะออกไปใช้ชีวิตนอกบ้านเร็วขึ้น
-
ก็ประหยัดเทียนไปทั้งหมด 1 ชั่วโมง
-
แต่อย่างไรก็ตามค่ะ เขาบอกว่า
-
อันนี้เป็นการพูดเล่นของ Benjamin Franklin เท่านั้นนะคะ
-
หลายๆ คนก็เลยไปยกย่องเขาแหละ
-
ว่าเขาเป็นหนึ่งในบิดาของ Daylight Saving Time อะนะ
-
แต่ว่าจริงๆ แล้วไม่ใช่นะคะ
-
คนที่เป็นคนคิดค้น Daylgiht Saving Time จริงๆ เนี่ยนะคะ
-
เกิดขึ้นในปี 1895 ค่ะ
-
คนๆ นี้ชื่อว่านาย George Vernon Hudson นะคะ
-
ซึ่งคุณ Hudson เนี่ยนะคะ
-
เขาเป็นนักวิทยาศาสตร์ชาวนิวซีแลนด์ค่ะ
-
อยู่ดีๆ วันนึงเนี่ย เขาก็คิดขึ้นมา
-
อารมณ์คล้ายๆ Benjamin Franklin เนี่ยแหละ
-
ประมาณว่า
-
"เอ้ จะเป็นยังไงนะ? ถ้าสมมุติว่าอยู่ดีๆ
-
เราหมุนเวลาให้ทุกคนเนี่ย เร็วขึ้น 2 ชั่วโมงในช่วงฤดูร้อน"
-
อะ อยู่ดีๆ ก็ไปหมุนเวลาเขาได้ด้วยนะคะ
-
ประมาณว่าเร่งเวลาให้เร็วขึ้น
-
นึกสภาพปกติ เราตื่นตอน 6 โมงเช้า
-
แต่พระอาทิตย์มันขึ้นตั้งแต่ตีสี่แล้ว
-
ถ้าสมมุติว่าเราไปตื่นตีสี่แทน
-
ปกติเราไปทำงาน 7 โมงใช่ไหม?
-
เวลาเร็วขึ้น 2 ชั่วโมงแล้ว
-
เราก็ไปทำงานตอนประมาณตีห้าแทนเนี่ยนะ
-
เราก็จะเลิกงานเร็วขึ้น 2 ชั่วโมง
-
เราก็มีเวลาเนี่ย
-
ใช้ชีวิตอยู่ในแสงแดดอันสดใสของฤดูร้อนนานขึ้น
-
ตอนนี้พระอาทิตย์มันก็ขึ้นยาวนานใช่ไหม?
-
เราก็มีเวลาอยู่นอกบ้านนานขึ้นไง
-
แล้วพอเข้าบ้าน 6 โมง ซึ่งจริงๆ แล้วคือสองทุ่มแล้วเนี่ย
-
เราก็มีเวลาอยู่ในบ้านอีกแป๊บเดียวเท่านั้นแหละ
-
เราก็ง่วง เราก็เข้านอนแล้ว
-
อืมๆๆ เป็นเหตุการณ์ที่น่าสนใจ
-
ดังนั้นนะคะ นาย Hudson เนี่ย
-
ก็เลยจัดการไปนำเสนอให้กับองค์กรนึงค่ะ
-
ที่ชื่อว่า Wellington Philosophical Society นะคะ
-
บอกว่า "เฮ้ย ทุกคน เรามาปรับเวลาในช่วงฤดูร้อนกันดีกว่า
-
ในช่วงเดือนมีนาคมเนี่ยนะ
-
ให้มันเร็วขึ้น 2 ชั่วโมง ปึ้กๆ
-
แล้วเราก็ใช้ชีวิตแบบนี้ไปเรื่อยๆๆ
-
จนกระทั่งถึงฤดูหนาวเมื่อไรเนี่ย
-
เราไม่จำเป็นต้องใช้เวลาแบบเดิมแล้วใช่ไหม?
-
ถึงเดือนตุลาคมเมื่อไร เราค่อยปรับเวลากลับ
-
ปึ้กๆ 2 ชั่วโมง
-
ซึ่งถามว่า
-
Wellington Philosophical Society เนี่ยสนใจไหม?
-
ก็รู้สึกว่าสนใจนะ ก็แบบ
-
"เออ มันก็เป็นไอเดียที่น่าสนใจนะ
-
มันทำให้เราประหยัดไฟได้ด้วย
-
เพราะว่าเราใช้ไฟฟ้าในการเปดิหลอดไฟน้อยลง
-
ที่สำคัญนะ เราก็เริ่มงานเร็ว แล้วก็เลิกงานเร็ว
-
เราก็มีเวลา Work-life balance หลังเลิกงานนานขึ้นไง
-
เพราะว่ากว่าเราจะเลิกงานเนี่ยนะ
-
ปกติเราก็มีเวลาประมาณสัก 2-3 ชั่วโมงก่อนพระอาทิตย์ตก
-
กินข้าวเย็น ทำอะไรกุ๊กๆ กิ๊กๆ ก็นอนแล้ว
-
แต่ถ้าเราเลิกงานเร็วขึ้น 2 ชั่วโมง
-
เราก็มีเวลาประมาณ 5 ชั่วโมงไง
-
เราก็ไปทำนู่น ทำนี่ ทำนั่น ใต้แสงอาทิตย์อันงดงามได้
-
น่าสนใจ น่าสนใจ"
-
แต่อย่างไรก็ตามค่ะ
-
ไอเดียของการหมุนเวลาเนี่ย
-
มันอาจจะ Advance เกินไปนิดนึง
-
ทำให้สุดท้ายแล้วไอเดียนี้ก็ตกไปนะคะ
-
ตัดภาพมาค่ะ ในปี 1905
-
ประมาณสิบปีหลังจากนั้นเนี่ยนะคะ
-
ก็มีคนคนนึงในประเทศอังกฤษค่ะ
-
ซึ่งไม่เกี่ยวข้องอะไรกับคุณ Hudson คนแรกเลยเนี่ยนะ
-
เขาก็คิดไอเดียแบบเดียวกันขึ้นมาค่ะ
-
คนๆ นั้นก็คือคนที่ชื่อว่า William Willett นั่นเองค่ะ
-
เขาเนี่ยคิดเหมือนคุณ Hudson ทุกประการเลย
-
แต่แตกต่างกันนิดนึง
-
คือคุณ Hudson เนี่ย เขาบอกว่าให้ปรับ 2 ชั่วโมง
-
ตอนต้นเดือนมีนาคมใช่ไหม?
-
แล้วก็ปรับกลับอีกครั้งเดียวตอนเดือนตุลาคม
-
ในขณะที่คุณ William Willett เนี่ย เขาบอกว่า
-
"ไม่เอาๆ ฉันไม่ได้อยากตื่นเช้าไปทำงาน"
-
ฉันแค่อยากมีเวลามากขึ้นในวันอาทิตย์เท่านั้นแหละ
-
เพราะว่ามันเป็นวันหยุดของฉัน
-
ดังนั้นเราตกลงกันแบบนี้ดีไหม?
-
ในช่วงฤดูร้อนเนี่ยนะ เป็นระยะเวลา 1 เดือน
-
ทุกๆ วันอาทิตย์ของเดือนนี้ ทั้งหมด 4 วันเนี่ยนะ
-
เราจะปรับเวลาให้เร็วขึ้นครึ่งชั่วโมงนะ
-
เราจะได้มีเวลามากขึ้นครึ่งชั่วโมง
-
แล้วในช่วงฤดูหนาวเนี่ยนะ เราก็เลือกมาเดือนนึง
-
ทุกๆ วันอาทิตย์เราก็จะปรับเวลาให้ช้าลง 4 ชั่วโมง
-
เพื่อปรับคืนนะคะ
-
ซึ่งถามว่าไอเดียนี้มีคนสนใจไหม?
-
แน่นอนว่ามีค่ะ
-
คนๆ นั้นเนี่ย บังเอิญว่าอยู่ในรัฐสภาอังกฤษด้วย
-
ก็เลยมีการเสนอเข้าไปในรัฐสภาอะไรต่างๆ นะคะ
-
แต่ว่าสุดท้ายค่ะ คนก็แบบ ต่อต้านกันมากมาย
-
ประมาณว่า "ไม่เอา จะบ้าเหรอ
-
ใครจะมาปรับเวลาปีนึง 8 ครั้ง
-
ปวดหัวตายพอดี"
-
โดยเฉพาะพวก Farmer นะคะ ก็แบบ
-
"อือหื้ม ปกติฉันก็ตื่นเช้ามารดน้ำผัก
-
จะให้ฉันตื่นเช้ากว่านี้อีกเหรอ?"
-
อะไรอย่างนี้นะคะ
-
ก็มีการเถียงๆๆ ค่ะ จนสุดท้ายเนี่ย
-
กฎหมายนี้ก็ตกไปนะคะ
-
อะ กฎหมายตกไปขนาดนี้
-
แล้วถามว่า Daylight Saving Time เนี่ยเกิดขึ้นได้ยังไง?
-
ก็ต้องบอกว่า แม้ว่าไอเดียเนี้ย
-
ชาวอังกฤษจะไม่ซื้อ ชาวนิวซีแลนด์จะไม่ซื้อ
-
แต่มีหมู่บ้านนึงซื้อค่ะ
-
หมู่บ้านนั้นเนี่ยนะคะ
-
เป็นหมู่บ้านที่อยู่ในแคนาดาค่ะ
-
ในวันที่ 1 กรกฎาคม ปี 1908 นะคะ
-
มีหมู่บ้านนึงในแคนาดาค่ะ
-
ชื่อว่า Thunder Bay เนี่ย
-
เขาตกลงกันว่า "โอเค ไอเดียนี้น่าสนใจ
-
เรามาทำ Daylight Saving Time กันเถอะ"
-
คนอื่นว่ายังไงเราไม่สนใจ
-
แต่ในบริเวณหมู่บ้านเราเนี่ย
-
เราจะปรับเวลาให้เร็วขึ้น 1 ชั่วโมงในช่วงฤดูร้อน
-
แล้วในช่วงฤดูหนาว เราก็จะปรับคืน
-
เราจะได้มีระยะเวลาในการใช้ชีวิตยาวนานขึ้น" นะคะ
-
หลังจากที่หมู่บ้านนี้เริ่มใช้นะคะ หลังจากนั้นอีกไม่นาน
-
ไอเดียนี้ก็เริ่มแพร่กระจายไปทั่วแคนาดาค่ะ
-
ก็จะมีหมู่บ้านนั้น หมู่บ้านนี้ หมู่บ้านโน้น
-
เริ่มทำตามมาเรื่อยๆๆๆ นะคะ
-
เพราะว่าแคนาดาเนี่ย มันอยู่สูงมาก นึกออกปะ?
-
ดังนั้นแสงอาทิตย์เนี่ย
-
ก็เป็นอะไรที่สำคัญกับเขามากจริงๆ
-
ก็เลยไม่แปลกเลยค่ะ ที่มันจะไปเริ่มที่แคนาดาเนอะ
-
แต่อย่างไรก็ดีค่ะ มันก็ยังฮิตแค่ในแคนาดาเท่านั้น
-
ถามว่าใครเป็นคนที่ทำให้
-
Daylight Saving Time เนี่ย ฮิตไปทั่วโลกนะคะ
-
ประเทศนั้นก็คือ จักรวรรดิเยอรมันนั่นเอง
-
ในช่วงปี 1916 นะคะ
-
จักรวรรดิเยอรมัน แล้วก็ออสเตรีย
-
ซึ่งเป็นพันธมิตรกันตอนนั้นเนี่ย รู้สึกว่า
-
"เออ Daylgiht Saving Time มันเป็นอะไรที่น่าสนใจนะ"
-
ก็เลยเอาไอเดียนี้มาใช้กันจักรวรรดิตัวเองค่ะ
-
เพราะว่าอะไร? เพราะว่าช่วงนั้นเนี่ยนะคะ
-
ใกล้จะเริ่มสงครามโลกครั้งที่ 1 แล้วค่ะ
-
ไม่ใช่แค่การใช้ชีวิตนอกบ้านเนี่ย เป็นอะไรที่ดีนะคะ
-
การประหยัดพลังงาน การให้คนใช้ไฟฟ้าน้อยลง
-
เพื่อเตรียมตัวรับสงครามเนี่ย
-
ก็เป็นอะไรที่เวิร์กมากๆ ค่ะ
-
ดังนั้นจักรวรรดิเยอรมันเนี่ย
-
ก็เลยนำสิ่งนี้มาใช้กับจักรวรรดิของตัวเองนะคะ
-
แน่นอนว่าจักรวรรดิเยอรมันเนี่ย
-
เป็นอะไรที่ใหญ่มากๆ
-
และเป็นการใช้ในระดับประเทศเป็นครั้งแรก
-
ดังนั้นภายในเวลาไม่นานนะคะ
-
ฝรั่งเศส อังกฤษ ประเทศอะไรต่างๆ ในยุโรปเนี่ย
-
ก็เริ่มเห็นว่าไอเดียนี้ดีจริงๆ ด้วย
-
ก็เลยใช้ตามกันไปทั่วเลยค่ะ
-
แต่อย่างไรก็ตามนะคะ
-
Daylight Saving Time เนี่ย ก็ใช้กันมาเรื่อยๆ
-
จนประทั่งสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1 ค่ะ
-
หลายๆ ประเทศก็เปลี่ยนกลับกันหมด
-
ประมาณว่า "ฉันไม่เอาละ
-
ฉันไม่ใช้ Daylight Saving Time แล้วจ้า"
-
แล้วทีท่าไหนก็ไม่รู้นะคะ
-
พอช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เนี่ย
-
น่าจะอยากประหยัดพลังงานขึ้นมาอีกรอบ
-
ก็เลยกลับมาใช้กันอีกรอบนึง
-
แล้วก็ใช้กันมา จนกระทั่งถึงปัจจุบันนี้เนี่ยละค่ะ
-
ปัจจุบันเนี่ยนะคะ
-
มีประเทศประมาณ 70 ประเทศทั่วโลกนะคะ
-
ที่ใช้สิ่งที่เรียกว่า Daylight Saving Time
-
คือมีการปรับเวลาในช่วงฤดูร้อนให้เร็วขึ้น
-
และมีการปรับเวลาในช่วงฤดูหนาวให้กลับมาเป็นปกติ
-
ผลกระทบจาก Daylight Saving Time นะคะ
-
ก็เลยจะทำให้มีอยู่สองวันในหนึ่งปีค่ะ
-
ที่จะมีชั่วโมงแปลกๆ นะคะ
-
ก็คือวันแรกที่เริ่มใช้ Daylight Saving Time เนี่ย
-
จะมีแค่ทั้งหมด 23 ชั่วโมงในหนึ่งวันนะคะ
-
เพราะว่าพอถึงตีสองปุ๊บ ทุกคนก็จะหยิบนาฬิกาขึ้นมา
-
แล้วก็บิดไปตีสาม ปึ่ง!
-
ดังนั้นระยะเวลาระหว่างตีสองกับตีสาม
-
ก็จะหายไปค่ะ
-
และอีกวันนึงที่จะมีเวลาแปลกๆ นะคะ
-
ก็คือในช่วงเริ่มฤดูหนาวนั่นเองค่ะ
-
เป็นวันที่ทุกคนตกลงกันไว้ว่า
-
"โอเค ตอนนี้นะคะ ให้ทุกคนหยิบนาฬิกาขึ้นมา
-
ตอนนี้ตีสองใช่ไหม? หมุนกลับไปค่ะทุกคน ปึ่ง!
-
กลายเป็นตีหนึ่งนะคะ
-
ทำให้วันนั้นเนี่ย เหมือนจะมีตีหนึ่งสองรอบ
-
ประมาณนั้นค่ะ
-
ก็เลยกลายเป็นว่าวันนั้นเนี่ย
-
มีทั้งหมด 25 ชั่วโมงนั่นเองค่ะ
-
ดังนั้นนะคะ คลิปวิดิโอนี้ไม่อยากจะบอกอะไรหรอกค่ะ
-
นอกจากจะบอกว่า
-
ใครก็ตามที่ไปท่องเที่ยวต่างประเทศนะคะ
-
อย่าลืมเช็คกันดีๆ ค่ะ ว่าประเทศที่ตัวเองไปเนี่ย
-
มี Daylight Saving Time หรือเปล่า?
-
และเขาประกาศในวันไหน?
-
เพื่อที่ว่าเราจะได้ไม่ตกใจนะคะ
-
แม้ว่าปัจจุบันเนี่ย มือถือจะปรับให้เราอัตโนมัติ
-
Daylight Saving Time ไม่ค่อยมีผลต่อเราหรอก
-
แต่ถ้าบังเอิญว่าเราไปประเทศนั้น
-
ตรงกับวันที่เขาปรับนาฬิกากันพอดี
-
สมมุติว่าเราจะต้องขึ้นเครื่องบินตอนตีสอง
-
11 โมง ชิลละ ออกจากบ้าน
-
"เดี๋ยวเที่ยงคืนนะ ออกเดินทาง
-
ไปถึงสนามบินสักตีหนึ่ง
-
นั่งเล่นชิลๆ หนึ่งชั่วโมง ขึ้นเครื่องบินตอนตีสอง
-
ปรากฏว่า เราชิลอยู่นะคะ
-
ไปถึงสนามบิน 00:59 น.
-
มีความสุข กำลังจะไปเช็คอิน
-
ตีหนึ่งปุ๊บ ทุกคนหยิบนาฬิกาขึ้นมาปรับ ปึ้ก! เป็นตีสอง
-
อ้าว ตกเครื่องซะอย่างนั้นนะคะ
-
นี่ละค่ะ สาเหตุที่วิวอยากมาเตือน
-
ก็คืออยากให้ทุกคนเช็คดีๆ ว่าประเทศที่ตัวเองไป
-
1. มี Daylight Saving Time ไหม?
-
2. มันมีในวันที่เท่าไร?
-
เขาปรับนาฬิกาให้เร็วขึ้นในวันที่เท่าไร?
-
และปรับให้นาฬิกาช้าลงในวันที่เท่าไร?
-
ที่สำคัญนะคะ ขอบอกเลยว่าแต่ละประเทศเนี่ย
-
Daylight Saving Time ไม่เหมือนกันด้วยนะคะ
-
มีบางประเทศค่ะ ที่เขาไม่ได้ปรับเวลากัน 1 ชั่วโมงนะ
-
เขาปรับเวลาแค่ครึ่งชั่วโมงก็มีเหมือนกัน
-
อย่างเช่นบางที่ในออสเตรเลียเป็นต้นค่ะ
-
ดังนั้นเช็คกันดีๆ นะจ้ะทุกคน
-
หวังว่าคลิปวิดีโอนี้จะเป็นประโยชน์กับทุกคนนะคะ
-
ถ้าใครชื่นชอบให้วิว
-
เอาเกร็ดความรู้เล็กๆ น้อยๆ แบบนี้มาเล่าให้ฟังอีก
-
ก็อย่าลืมกดไลก์เป็นกำลังใจให้วิว
-
แล้วก็กดแชร์เพื่อชวนเพื่อนๆ มาดูด้วยกันค่ะ
-
อยากรู้เรื่องอะไรอีก คอมเมนต์มาด้านล่างนะคะ
-
ถ้าหาคำตอบได้ จะพยายามหามาตอบทุกคนค่ะ
-
สำหรับวันนี้ลาไปก่อนนะคะทุกคน บ๊ายบาย~
-
สวัสดีค่ะ
-
เอาจริงๆ Daylight Saving Time นี่
-
เป็นเรื่องที่มึนมากๆ นะคะ
-
สำหรับคนไทย รวมถึงชาวเอเชีย อย่างพวกเรา
-
เพราะว่าพวกเราไม่มีไง
-
แต่อย่างไรก็ตาม คิดง่ายๆ ค่ะ
-
ช่วงฤดูร้อน เวลาจะหายไป 1 ชั่วโมง
-
และช่วงฤดูหนาว เวลาจะเพิ่มขึ้นมา 1 ชั่วโมง
-
เท่านั้นค่ะ
-
ซึ่งมันก็จะแค่เกิดขึ้นแค่สองวันเท่านั้นแหละ
-
ที่มันจะสับสนน่ะนะ ส่วนวันอื่นเราก็
-
ปล่อยให้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนอันแสนฉลาดของเรา
-
ทำหน้าที่ของมันไป
-
เพราะทันทีที่เราเหยียบประเทศนั้น แตะอินเตอร์เน็ต ปึ้ง!
-
มันก็จะปรับเวลาให้อัตโนมัติแล้วค่ะ
-
แค่ต้องระวังนิดนึง
-
ช่วงฤดูหนาวไม่ค่อยต้องระวังเท่าไรหรอก
-
เพราะเวลามันเกินมา 1 ชั่วโมงไง
-
เราก็แค่รอนานขึ้นชั่วโมงนึง
-
แต่ถ้าเป็นช่วงฤดูร้อนแล้วละก็
-
เวลาหายไปชั่วโมงนึงนี่น่ากลัวจริงๆ นะคะ
-
ระวังกันให้ดีค่ะ
-
วันนี้ลาไปก่อนนะคะทุกคน บ๊ายบาย~
-
สวัสดีค่ะ