< Return to Video

ANOVA 1 - Calculating SST (Total Sum of Squares)

  • 0:00 - 0:08
    ในวิดีโอนี้ และวิดีโอต่อๆ ไป เราจะทำการคำนวณเกี่ยวกับข้อมูลชุดนี่ตรงนี้
  • 0:08 - 0:13
    และหวังว่าเมื่อผ่านการคำนวณนี้แล้ว คุณจะได้สัญชาตญาณว่า การวิเคราะห์
  • 0:13 - 0:19
    ความแปรปรวนคืออะไร. ทีนี้สิ่งแรกที่ผมอยากทำในวิดีโอนี้ คือคำนวณผลรวมของ
  • 0:19 - 0:27
    กำลังสอง. ผมจะเรียกมันว่า 'SST' ผลบวกของกำลังสองรวม (Sum of squares total). และคุณมองมันเป็นตัวเศษ เวลา
  • 0:27 - 0:32
    คุณคำนวณความแปรปรวนก็ได้. เราจะหาระยะห่างระหว่างจุดข้อมูลพวกนี้แต่ละจุด
  • 0:32 - 0:36
    ไปยังค่าเฉลี่ยของจุดข้อมูลเหล่านั้นทั้งหมด, กำลังสองมันแล้วหาผลรวม, เราจะไม่หารมันด้วย
  • 0:36 - 0:41
    ดีกรีอิสระ, ซึ่งคุณมักทำเวลาคำนวณความแปรปรวนตัวอย่าง
  • 0:41 - 0:45
    ทีนี้ นี่จะเท่ากับอะไร? ทีนี้อย่างแรกที่ะราจะทำ คือหาค่าเฉลี่ย
  • 0:45 - 0:50
    ของเจ้าพวกนี้ทั้งหมดก่อน. และผมจะเรียกมันว่าค่าเฉลี่ยใหญ่
  • 0:50 - 0:53
    ผมจะเรียกมันว่าค่าเฉลี่ยใหญ่, และขอผมแสดงให้ดูว่า มันก็เหมือนกับค่าเฉลี่ยของ
  • 0:53 - 0:59
    ค่าเฉลี่ยแต่ละชุดข้อมูลพวกนี้แต่ละตัว. ลองคำนวณค่าเฉลี่ยใหญ่ก่อน
  • 0:59 - 1:16
    มันจะเป็น 3+2+1. 3+2+1+5+3+4+5+6+7 -- +5+6+7
  • 1:16 - 1:22
    แล้วเรามีจุดข้อมูล 9 จุดตรงนี้, เรามีจุดข้อมู, 9 จุด เราจึงหารมันด้วย 9
  • 1:22 - 1:30
    แล้วมันจะเท่ากับ -- 3 บวก 2 บวก 1 ได้ 6. 6 บวก, ขอผม -- อืม นี่คือ 6. 5 บวก
  • 1:30 - 1:44
    3 บวก 4 เป็น, นั่นคือ 12. แล้ว 5 บวก 6 บวก 7 ได้ 18. แล้ว 6 บวก 12 ได้ 18, บวกอีก 18 เป็น 26
  • 1:44 - 1:50
    หารด้วย 9 ได้ เท่ากับ 4. ขอผมแสดงให้ดูว่ามันเท่ากับค่าเฉลี่ยของค่าเฉลี่ยนะ
  • 1:50 - 1:57
    ตรงนี้, ค่าเฉลี่ยของกลุ่มที่ 1 ตรงนี้, นั่นคือสีเขียว, ค่าเฉลี่ยของกลุ่ม 1 ตรงนี้
  • 1:57 - 2:04
    คือ 3 บวก 2 บวก 1, นั่นคือ 6 ตรงนั้น, หารด้วยจุดข้อมูล 3 จุด, มันจึงเท่ากับ 2
  • 2:04 - 2:13
    ค่าเฉลี่ยของกลุ่ม 2, ผลบวกตรงนี้คือ 12, เราเห็นแล้วตรงนี้: 5 บวก 3 บวก 4 เป็น 12, หารด้วย 3
  • 2:13 - 2:22
    เป็น 4, เพราะเรามีจุดข้อมูล 3 จุด. แล้วค่าเฉลี่ยของกลุ่ม 3, 5 บวก 6 บวก 7
  • 2:22 - 2:27
    ได้ 18 หารด้วย 3 เป็น 6. แล้วถ้าคุณหาค่าเฉลี่ยของค่าเฉลี่ย
  • 2:27 - 2:31
    ซึ่งก็วิธีหาค่าเฉลี่ยใหญ่ตรงนี้, คุณได้ 2 บวก 4 บวก 6
  • 2:31 - 2:36
    ซึ่งเท่ากับ 12 หารด้วยค่าเฉลี่ย 3 ค่าตรงนี้ เหมือนเดิมคุณได้ 4
  • 2:36 - 2:39
    คุณสามารถมองนี่เป็นค่าเฉลี่ยของข้อมูลทั้งหมดทุกกลุ่ม
  • 2:39 - 2:44
    หรือค่าเฉลี่ยของค่าเฉลี่ยในแต่ละกลุ่มก็ได้. แต่ไม่ว่าวิธีไหน เราสามารถหาได้
  • 2:44 - 2:49
    เราสามารถหาผลบวกกำลังสองรวมได้แล้ว. ลองทำกันดู
  • 2:49 - 2:58
    มันจะเท่ากับ 3 ลบ 4, 4 คือ 4 นี่ตรงนี้, กำลังสอง บวก
  • 2:58 - 3:06
    2 ลบ 4 กำลังสอง บวก 1 ลบ 4 กำลังสอง, ตอนนี้ผมจะทำเจ้านี่ตรงนี้ด้วยสีม่วง,
  • 3:06 - 3:16
    บวก 5 ลบ 4 กำลังสอง บวก 3 ลบ 4 กำลังสอง บวก 4 ลบ 4 กำลังสอง
  • 3:16 - 3:21
    ผมจะเลื่อนมาตรงนี้หน่อยนะ, บวก 4 ลบ 4 กำลังสอง. ตอนนี้เราเหลืออีกแค่สามตัวเท่านั้น
  • 3:21 - 3:33
    บวก 5 ลบ 4 กำลังสอง บวก 6 ลบ 4 กำลังสอง บวก 7 ลบ 4 กำลังสอง. แล้วนี่ได้เท่ากับอะไร?
  • 3:33 - 3:38
    บนนี้อันแรกจะเท่ากับ, 3 ลบ 4 ผลต่างคือ 1, คุณกำลังสองมัน,
  • 3:38 - 3:42
    คุณจะได้, เอ่อ, มันก็คือลบ 1, คุณกำลังสองมันได้ 1
  • 3:42 - 3:51
    บวก, คุณได้ ลบ 2 กำลังสอง เป็น 4 บวกลบ 3 กำลังสอง. ลบ 3 กำลังสองเป็น 9
  • 3:51 - 3:58
    แล้วเรามีตรงนี้สีบานเย็นคือ 5 ลบ 4 เป็น 1, กำลังสองก็ยังได้ 1. 3 ลบ 4 กำลังสองเป็น 1 คุณ
  • 3:58 - 4:03
    กำลังสองมันอีกที คุณก็ยังได้ 1 และ 4 ลบ 4 ก็แค่ 0. เราก็สามารถ -- ขอผมเขียน 0 ตรงนี้นะ
  • 4:03 - 4:07
    เพื่อให้คุณเห็นว่าเราคิดไปแล้ว. แล้วเรามีจุดข้อมูล 3 จุดสุดท้าย
  • 4:07 - 4:17
    5 ลบ 4 กำลังสอง, นั่นคือ 1. 6 ลบ 4 กำลังสอง, นั่นคือ 4, มันคือ 2 กำลังสอง. แล้ว บวก 7 ลบ 4 ได้ 3
  • 4:17 - 4:25
    กำลังสองเป็น 9. แล้วนี่จะเท่ากับอะไร. ผมก็ได้ 1 บวก 4 บวก 9
  • 4:26 - 4:33
    1 บวก 4 บวก 9 ตรงนี้, นั่นคือ 5 บวก 9. เจ้านี่ตรงนี้คือ 14, จริงไหม?
  • 4:33 - 4:40
    5 บวก -- ใช่แล้ว, 14. แล้วเรามี 14 อีกตัวตรงนี้เพราะเรามี 1 บวก 4 บวก 9
  • 4:40 - 4:44
    แล้วนั่นตรงนี้ก็คือ 14 ด้วย. แล้วเราได้ 2 ตรงนี้. มันจะ
  • 4:44 - 4:55
    เป็น 28, 14 คูณ 2, 14 บวก 14 ได้ 28, บวก 2 เป็น 30. เท่ากับ 30. ดังนั้นผลบวกกำลังสองรวม
  • 4:55 - 5:00
    และที่จริงถ้าเราอยากได้ความแปรปรวนตรงนี้ เราก็หารมันด้วยดีกรีอิสระ
  • 5:00 - 5:06
    และพวกนี้มีดีกรีอิสระหลายตัวอยู่. สมมุติ, สมมุติว่าเรามี
  • 5:06 - 5:11
    เรารู้ว่าเรามีกลุ่ม m กลุ่มตรงนี้, ขอผมเขียนนี่ว่า m นะ. และผมจะ
  • 5:11 - 5:14
    ไม่พิสูจน์มันอย่างรัดกุมตรงนี้ แต่ผมอยากแสดงให้คุณเห็น, ผมอยาก
  • 5:14 - 5:19
    แสดงให้คุณเห็นว่าสูตรประหลาดเหล่านี้ในสถิติ มันมาจากไหน
  • 5:19 - 5:26
    โดยไม่ได้พิสูจร์อย่างรัดกุม, ให้คุณได้สัญชาตญาณมากกว่า. เรามีกลุ่ม m กลุ่มตรงนี้
  • 5:26 - 5:34
    และแต่ละกลุ่มตรงนี้มีสมาชิก n ตัว. แล้วเรามีจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าไหร่?
  • 5:34 - 5:41
    เรามี m คูณ n หรือ 9, จริงไหม? จำนวนสมาชิกเท่ากับ 3 คูณ 3. ดังนั้นดีกรีอิสระ, เราจำได้, คุณ
  • 5:41 - 5:48
    มีเท่านี้, ดีกรีอิสระคือจำนวนข้อมูลที่คุณมีลบ 1. เพราะถ้าคุณรู้
  • 5:48 - 5:53
    ถ้าคุณรู้ค่าเฉลี่ยของค่าเฉลี่ย, ถ้าคุณรู้ค่าเฉลี่ยของค่าเฉลี่ย, ถ้าคุณถือว่าคุณรู้ค่านั้น
  • 5:53 - 5:59
    คุณก็, คุณก็ใช้, n แค่นี้ เอ่อ. 9 ลบ 1, มีแค่ 8 ตัวนี้ที่ให้ข้อมูล
  • 5:59 - 6:04
    ใหม่คุณ เพราะถ้าคุณรู้แล้ว คุณสามารถหาตัวสุดท้ายได้, หรือมันไม่จำเป็นต้องเป็นตัวสุดท้ายก็ได้
  • 6:04 - 6:10
    ถ้าคุณมี 8 ตัวอยู๋แล้ว คุณสามารถหาอันนี้ได้. ถ้าคุณรู้ค่า 8 ค่า คุณสามารถคำนวณ
  • 6:10 - 6:17
    ตัวที่ 9 ได้โดยใช้ค่าเฉลี่ยของค่าเฉลี่ย. วิธีคิดอย่างหนึ่งคือว่า มันมีค่าที่วัดได้ซึ่งอิสระจากกัน
  • 6:17 - 6:23
    อยู่ 8 ค่าตรงนี้. หรือถ้าคุณอยากพูดถึงโดยทั่วไป, คุณอยากพูดถึงกรณีทั่วไป, มันมี
  • 6:23 - 6:30
    m คูณ n, นั่นคือจำนวนตัวอย่างทั้งหมด, ลบ 1 เป็นดีกรีอิสระ
  • 6:34 - 6:42
    แลถ้าคุณอยากคำนวณความแปรปรวนตรงนี้ เราก็แค่หาร 30 ด้วย m คูณ n ลบ 1
  • 6:42 - 6:47
    หรือนี่คือวิธีหนึ่งในการบอกว่าดีกรีอิสระของตัวอย่างนี่คือ 8 พอดี. คุณเอา 30
  • 6:47 - 6:53
    มาหารด้วย 8 แล้วคุณก็สามารถหาความแปรปรวนของกลุ่มทั้งหมดได้. กลุ่มขนาด 9
  • 6:53 - 6:59
    ผมจะปล่อยคุณไปในวิดีโอนี้แล้วกัน. ในวิดีโอหน้า เราจะพยายามหาความแปรผันรวมนี้มีเท่าไหร่
  • 6:59 - 7:08
    ผลบวกกำลังสองรวมนี้, ความแปรผันทั้งหมดนี้, มีเท่าไหร่ที่มาจากความแปรผัน
  • 7:08 - 7:14
    ภายในแต่ละกลุ่ม เทียบกับความแปรผันระหว่างกลุ่ม. และผมว่าคุณจะเริ่ม
  • 7:14 - 7:20
    เข้าใจแล้วว่าการวิเคราะห์ความแปรปรวนทั้งหมดนี่มาจากไหน. ลองดู มันมีความแปรปรวน
  • 7:20 - 7:25
    ของตัวอย่างขนาด 9 คือทั้งหมดนี้ แต่ความแปรปรวนบางตัว, ในแต่ละกลุ่มมันต่างกัน
  • 7:25 - 7:31
    มันอาจมากจากความแปรปรวนจากการอยู่ต่างกลุ่มกัน กับการแปรปรวนจาก
  • 7:31 - 7:35
    การอยู่ในกลุ่มเดียวกัน. เราจะคำนวณสองอย่างนั้น และเราจะเห็นว่ามัน
  • 7:35 - 6000:00
    รวมกันได้เท่ากับความแปรผันรวมกำลังสองต่อไป
Title:
ANOVA 1 - Calculating SST (Total Sum of Squares)
Description:

more » « less
Video Language:
English
Team:
Khan Academy
Duration:
07:39

Thai subtitles

Revisions