ผึ้งทำให้คนกับช้างอยู่ร่วมกันอย่างสันติได้อย่างไร
-
0:01 - 0:03ตั้งแต่ที่ฉันจำความได้
-
0:03 - 0:07ช้างแอฟริกาเป็นสัตว์ที่ทำให้ฉัน
รู้สึกสะพรึงมาโดยตลอด -
0:08 - 0:11มันเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมบนบก
ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกยุคปัจจุบัน -
0:11 - 0:13มันหนักได้ถึงเจ็ดตัน
-
0:13 - 0:17เมื่อยืน มันจะสูงได้ถึงสามเมตรครึ่ง
-
0:17 - 0:20ในหนึ่งวัน พวกมันกินอาหารมากถึง
400 กิโลกรัม -
0:20 - 0:25และพวกมันยังพาเมล็ดพืชแพร่พันธุ์ไปได้
ไกลหลายพันกิโลเมตร -
0:25 - 0:27ตลอดอายุขัย 50-60 ปีของพวกมัน
-
0:28 - 0:32สังคมของมันเป็นสังคมที่ความซับซ้อน
และเกื้อกูลกัน ซึ่งนำโดยตัวเมีย -
0:32 - 0:36ตัวเมียเหล่านี้ เป็นผู้นำที่แข็งแกร่ง
คอยเลี้ยงดูเหล่าลูกช้าง -
0:36 - 0:39และนำพาฝูงเดินฝ่าดงความท้าทาย
ของทุ่งหญ้าแอฟริกา -
0:39 - 0:41เพื่อหาอาหาร น้ำ
และที่อยู่ที่ปลอดภัย -
0:42 - 0:43สังคมของพวกมันมีความซับซ้อนมาก
-
0:43 - 0:46ซึ่งเรายังไม่สามารถเข้าใจได้ทั้งหมด
-
0:46 - 0:48มันสื่อสารกันอย่างไร
ส่งเสียงเรียกกันได้อย่างไร -
0:48 - 0:50ภาษาของพวกมันเป็นอย่างไร
-
0:50 - 0:54และเรายังไม่เข้าใจจริง ๆ ว่า
พวกมันตามหาแหล่งที่อยู่ -
0:54 - 0:57และจดจำสถานที่ปลอดภัย
ที่ต้องข้ามแม่น้ำไปได้อย่างไร -
0:58 - 0:59ฉันค่อนข้างมั่นใจว่า
-
0:59 - 1:03พวกคุณในห้องนี้ก็คงทึ่ง
หลังจากได้ฟังเรื่องราว -
1:03 - 1:06ของสัตว์ที่น่าตื่นตะลึงนี้ไม่ต่างกับฉัน
-
1:06 - 1:09มันยากมากที่จะหักห้ามไม่ให้ตัวเอง
ไปดูสารคดี -
1:09 - 1:10และเรียนรู้สติปัญญาของพวกมัน
-
1:10 - 1:13หรือถ้าคุณโชคดี
คุณก็อาจจะเคยได้เห็นพวกมัน -
1:13 - 1:14ในสวนสัตว์
-
1:15 - 1:17แต่ฉันสงสัยว่ามีใครบ้าง
-
1:17 - 1:21ที่เคยสัมผัสกับความน่าหวาดกลัว
ของพวกมัน -
1:22 - 1:25โชคดีที่ครั้งหนึ่ง
ฉันเคยถูกพาไปยังแอฟริกาใต้ -
1:25 - 1:26โดยพ่อแม่ที่เป็นครูสองคน
-
1:26 - 1:29เรามีวันหยุดยาวแต่มีงบไม่มาก
-
1:30 - 1:33ก็เลยต้องขับรถ
ฟอร์ดคอร์ตินาเอสเตทเก่า ๆ ไป -
1:33 - 1:35ฉันนั่งอยู่หลังรถกับพี่สาว
-
1:35 - 1:38เอาเต็นท์ไปตั้งแคมป์
ในเขตสงวนพันธุ์สัตว์ป่า -
1:38 - 1:40ในแอฟริกาใต้
-
1:40 - 1:43มันเป็นเหมือนสวรรค์สำหรับ
นักสัตววิทยาตัวน้อยอย่างฉันเลยค่ะ -
1:43 - 1:46แม้ตอนนั้นจะยังเด็กมาก แต่ฉันจำได้ว่า
-
1:46 - 1:49ฉันไปเจอรั้วไฟฟ้าสูงใหญ่ที่กั้น
เขตสงวนพันธุ์สัตว์ป่าเอาไว้ -
1:49 - 1:51มันแบ่งแยกไปหน่อย
-
1:51 - 1:54แน่นอนว่าพวกเขาทำเพื่อกันพวกช้าง
ให้ออกห่างจากชุมชน -
1:54 - 1:57และขณะเดียวกันพวกเขาก็กันชุมชน
ออกจากพื้นที่ป่า -
1:58 - 2:02มันเป็นเรื่องท้าทายสำหรับฉัน
ในสมัยเด็กเอามาก ๆ -
2:02 - 2:05โดยเฉพาะตอนที่ฉันย้ายไปอยู่ที่เคนยา
ตอนอายุได้ 14 ปี -
2:05 - 2:10เมื่อฉันได้สัมผัสกับป่าเปิดผืนใหญ่
ทางแอฟริกาตะวันออก -
2:10 - 2:14และที่นี่เองที่ทำให้ฉันรู้สึก
จากส่วนลึกของจิตใจ -
2:14 - 2:15ว่าที่นี่คือบ้าน
-
2:16 - 2:20มันเป็นเวลาหลายปีที่มีความสุข
ที่ฉันได้เรียนรู้พฤติกรรมช้างอยู่ในเต็นท์ -
2:20 - 2:22ที่อุทยานแห่งชาติซัมบูรู
-
2:22 - 2:26ภายใต้การนำของศาสตราจารย์
ฟริตซ์ วอลล์รัธและเลียน ดักลาส แฮมิลตัน -
2:26 - 2:31ในการวิจัยปริญญาเอกเพื่อเข้าใจ
ในสังคมที่มีความซับซ้อนของช้าง -
2:32 - 2:36แต่ตอนนี้ฉันเป็นผู้นำโครงการ
การอยู่ร่วมกันของคนกับช้าง -
2:36 - 2:37เพื่ออนุรักษ์ช้าง
-
2:37 - 2:41เราเห็นความเปลี่ยนแปลง
ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว -
2:41 - 2:45ซึ่งกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
บางอย่างในโครงการของพวกเรา -
2:45 - 2:49เราไม่สามารถนั่งอยู่เฉย ๆ
และพยายามเข้าใจสังคมของช้าง -
2:49 - 2:52หรือพยายามหยุดยั้งการล่างาช้า
-
2:52 - 2:54ซึ่งเป็นเรื่องน่ากลัวที่กำลังดำเนินอยู่
-
2:54 - 2:57เราต้องเปลี่ยนเป้าหมาย
ไปอีกทิศทางหนึ่ง -
2:57 - 3:01เพื่อศึกษาปัญหาความขัดแย้ง
ระหว่างคนกับช้างที่กำลังเพิ่มขึ้น -
3:01 - 3:05ในเรื่องของมนุษย์กับสัตว์มีกีบเท้า
ที่กำลังแย่งชิงทรัพยากรและพื้นที่ -
3:06 - 3:08ช่วงปี ค.ศ. 1970
ที่ผ่านมาไม่นานนี้เอง -
3:08 - 3:12เราเคยมีช้างทั่วทั้งแอฟริกา
ประมาณหนึ่งล้านสองแสนตัว -
3:12 - 3:17และทุกวันนี้เราเหลือประมาณ
สี่หมื่นตัวเท่านั้น -
3:17 - 3:21ในขณะเดียวกันประชากรมนุษย์
ก็เพิ่มขึ้นเป็นสี่เท่า -
3:21 - 3:24และที่ดินก็ถูกแบ่งออกเป็นส่วน ๆ
-
3:24 - 3:26ซึ่งยากที่จะรักษาไว้ด้วยกัน
-
3:27 - 3:30บ่อยครั้งที่ช้างอพยพเหล่านี้
สุดท้ายก็เข้ามาติดในพื้นที่ชุมชน -
3:30 - 3:32เพื่อหาน้ำและอาหาร
-
3:32 - 3:34จบลงด้วยการทำลายถังเก็บน้ำ
-
3:34 - 3:35ทำลายท่อ
-
3:35 - 3:38และแน่นอน ทำลายร้านขายอาหาร
เพื่อหาอาหาร -
3:38 - 3:40มันเป็นความท้าทายที่ยิ่งใหญ่
-
3:41 - 3:42คุณลองนึกภาพความหวาดกลัว
-
3:42 - 3:46ของการที่ช้างตัวหนึ่งงัดหลังคาที่พัก
ของคุณออก -
3:46 - 3:47ในตอนกลางดึก
-
3:47 - 3:50และคุณก็ต้องอุ้มลูกหนีออกไป
-
3:50 - 3:54ขณะที่งวงอันใหญ่กำลังควานหาอาหาร
ท่ามกลางความมืดสนิท -
3:55 - 3:57นอกจากนี้ ช้างยังเหยียบย่ำและกินพืชผล
-
3:57 - 4:00และนี่คือการรุกรานแบบดั้งเดิม
-
4:00 - 4:03เช่นเดียวกับที่มนุษย์เคยทำกับช้าง
-
4:03 - 4:07และน่าเศร้าที่เราก็กำลัง
สูญเสียเจ้าสัตว์นี้ไปทุก ๆ วัน -
4:07 - 4:10หรือทุก ๆ ชั่วโมงในบางประเทศ
-
4:10 - 4:11ไม่ใช่เพียงลักลอบล่างาช้าง
-
4:11 - 4:14ความขัดแย้งของช้างกับมนุษย์
เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว -
4:14 - 4:17ในการแย่งชิงพื้นที่และทรัพยากร
-
4:17 - 4:18มันเป็นปัญหาที่ยิ่งใหญ่
-
4:18 - 4:21ฉันหมายถึงว่าคุณจะจัดการ
กับสัตว์มีกีบเท้าที่หนักถึงเจ็ดตัน -
4:21 - 4:23และมักจะมาเป็นฝูง
ฝูงละ 10 ถึง 12 ตัว -
4:23 - 4:26ให้ออกไปจากฟาร์มในชนบทเล็ก ๆ
-
4:26 - 4:27และคนพวกนี้
-
4:27 - 4:30ยังเป็นคนที่ใช้ชีวิต
อยู่กับความยากจน -
4:30 - 4:32พวกเขาไม่มีงบประมาณมากมาย
-
4:32 - 4:35คุณจะแก้ปัญหานี้อย่างไร
-
4:35 - 4:39ทางออกแรกคือคุณก็แค่สร้างรั้วไฟฟ้า
-
4:39 - 4:41อย่างที่มีทั่วทั้งทวีปแอฟริกา
-
4:41 - 4:42เราเห็นกันมามากมาย
-
4:42 - 4:46แต่มันก็แบ่งแยกพื้นที่
และปิดกั้นทางเดิน -
4:46 - 4:48และฉันจะบอกคุณให้ว่า
ช้างมันไม่ได้คิดอย่างนั้น -
4:49 - 4:52โดยเฉพาะเมื่อพวกมันถูกกันออกจาก
แหล่งน้ำที่พิเศษจริง ๆ -
4:52 - 4:53เมื่อพวกมันต้องการน้ำ
-
4:53 - 4:56หรือถ้ามีตัวเมียที่แสนดึงดูด
อยู่ที่อีกฟากหนึ่ง -
4:56 - 4:59มันใช้เวลาไม่นานหรอกค่ะ
ในการล้มเสาสักต้น -
4:59 - 5:00และในที่สุดก็จะเกิดช่องว่างบนรั้ว
-
5:01 - 5:02มันก็จะกลับไปบอกตัวอื่น ๆ ในฝูง
-
5:02 - 5:04แล้วก็พากันเดินผ่านมา
-
5:04 - 5:08และตอนนี้ช้าง 12 ตัวก็ข้ามมาอยู่
ในฝั่งชุมชนของคุณแล้ว -
5:08 - 5:09ตอนนี้แหละ คุณกำลังมีปัญหา
-
5:10 - 5:14ผู้คนก็พยายามที่จะออกแบบ
รั้วไฟฟ้ารูปแบบใหม่ -
5:14 - 5:17แต่ก็นั่นล่ะค่ะ
ช้างพวกนี้มันก็ไม่คิดอะไรอยู่ดี -
5:19 - 5:20(เสียงหัวเราะ)
-
5:22 - 5:27ดังนั้น แทนที่จะสร้างรั้วไฟฟ้า
ที่ทั้งแข็งแรง แน่นหนา -
5:27 - 5:31และกีดกั้นเส้นทางอพยพ
-
5:31 - 5:34มันต้องมีทางอื่นเพื่อแก้ปัญหานี้สิ
-
5:34 - 5:37ฉันสนใจในเรื่ององค์รวม
และวิธีการทางธรรมชาติ -
5:37 - 5:39เพื่อกันช้างออกจากผู้คนเท่าที่จำเป็น
-
5:40 - 5:42ฉันก็เลยไปพูดคุยกับชาวบ้าน
-
5:42 - 5:44คุยกับคนทำฟาร์มในชนบท
ทางตอนเหนือของเคนยา -
5:44 - 5:47คนที่มีความรู้เกี่ยวกับป่าไม้
-
5:47 - 5:51เราเรียนรู้จากพวกเขาว่า
ช้างจะไม่กินต้นไม้ใหญ่ -
5:51 - 5:53ที่มีรังผึ้งอยู่บนนั้น
-
5:53 - 5:55มันเป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก
-
5:55 - 5:57ขณะที่ช้างหาอาหารบนต้นไม้
-
5:57 - 6:00มันอาจจะไปหักกิ่งไม้เข้า
และทำให้รังผึ้งแตกออก -
6:00 - 6:04จากนั้นผึ้งก็จะแตกรัง
-
6:04 - 6:06เข้าโจมตีช้างตัวนั้น
-
6:06 - 6:07และเมื่อช้างถูกผึ้งต่อย
-
6:07 - 6:09มันก็จะจดจำได้ว่า
ต้นไม้ต้นนี้เป็นอันตราย -
6:09 - 6:12และมันก็อาจจะไม่กลับมาที่นี่อีก
-
6:12 - 6:15มันอาจจะฟังดูเหลือเชื่อ
ที่เหล็กในของผึ้งจะแทงทะลุ -
6:15 - 6:18ผิวของช้างที่หนาสองเซนติเมตร
-
6:18 - 6:20แต่ดูเหมือนผึ้งจะไปต่อย
ในบริเวณที่ผิวบาง -
6:20 - 6:25อย่างรอบดวงตา หลังใบหู
ในปาก หรือที่งวงช้าง -
6:25 - 6:28คุณคงนึกภาพออกว่า
มันจะจดจำได้อย่างรวดเร็ว -
6:28 - 6:31และไม่ใช่แค่ผึ้งตัวเดียวที่มันกลัว
-
6:31 - 6:34ผึ้งแอฟริกามีความสามารถพิเศษ
-
6:34 - 6:37เมื่อมันต่อยเข้าที่ใดที่หนึ่ง
มันจะปล่อยฟีโรโมน -
6:37 - 6:40ที่ไปกระตุ้นผึ้งทั้งรัง
ให้มาโจมตียังจุดเดียวกัน -
6:40 - 6:43ฉะนั้นจึงไม่ใช่แค่เหล็กในอันเดียว
ที่พวกมันหวาดกลัว -
6:43 - 6:44แต่อาจจะเป็นเหล็กในเป็นพัน ๆ
-
6:44 - 6:47ที่ต่อยเข้ามายังจุดเดียวกัน
สิ่งนั้นแหละที่มันกลัว -
6:48 - 6:50และแน่นอน จ่าฝูงตัวเมียที่ดี
-
6:50 - 6:53จะต้องพาลูกช้างหลบเลี่ยงอันตรายนี้
-
6:53 - 6:55เพราะผิวของลูกช้างนั้นบางกว่ามาก
-
6:55 - 6:57และเป็นไปได้ว่าพวกมันอาจถูกต่อย
-
6:57 - 6:59ผ่านผิวบาง ๆ แบบนั้น
-
6:59 - 7:02ในการศึกษาปริญญาเอก
ฉันพบปัญหาที่ไม่ธรรมดานี้ -
7:02 - 7:04และพยายามจะศึกษาว่า
-
7:04 - 7:08ช้างแอฟริกากับผึ้งแอฟริกา
จะมีปฏิกิริยาต่อกันอย่างไร -
7:08 - 7:11และโดยทฤษฎีแล้ว
พวกมันอาจไม่มีปฏิกิริยาต่อกันเลย -
7:11 - 7:13แล้วฉันจะศึกษาอย่างไรล่ะ?
-
7:13 - 7:17สิ่งที่ฉันทำก็คือ
ฉันไปเก็บเสียงหึ่ง ๆ ของผึ้งแอฟริกา -
7:17 - 7:20และเปิดมันให้ช้างฟัง
โดยซ่อนเอาไว้ใต้ต้นไม้ -
7:20 - 7:22โดยผ่านระบบลำโพงไร้สาย
-
7:22 - 7:27เพื่อที่จะศึกษาว่าพวกมันจะมีปฏิกิริยา
อย่างไรถ้ามีผึ้งป่าอยู่ในบริเวณนั้น -
7:27 - 7:30และปรากฏว่ามันมีปฏิกิริยาที่น่าทึ่ง
-
7:30 - 7:32ต่อเสียงของผึ้งป่าแอฟริกา
-
7:33 - 7:37ตอนนี้เรากำลังเล่นเสียงผึ้ง
ใส่ช้างฝูงใหญ่นี้ -
7:37 - 7:39คุณจะเห็นว่าพวกมันกางหูออก
-
7:39 - 7:42หันหัวไปมา
-
7:42 - 7:45ช้างตัวหนึ่งสะบัดงวงขึ้น
เพื่อลองดมกลิ่น -
7:45 - 7:48และช้างอีกตัวก็เตะลูกช้างตัวหนึ่ง
ที่อยู่บนพื้น -
7:48 - 7:51บอกให้ลุกขึ้นเพราะกำลังมีภัย
-
7:51 - 7:54และช้างหนึ่งตัวก็เริ่มที่จะล่าถอย
-
7:54 - 7:58จากนั้นช้างทั้งฝูงก็เดินตามมันไป
-
7:58 - 8:02ข้ามทุ่งหญ้าสะวันนาหายไปในกลุ่มฝุ่น
-
8:02 - 8:04(เสียงหึ่งของผึ้ง)
-
8:08 - 8:10(เสียงหึ่งของผึ้งจบลง)
-
8:10 - 8:14ฉันได้ทำการทดลองนี้ซ้ำหลาย ๆ ครั้ง
-
8:14 - 8:17และช้างก็มักจะหนีไปแบบนี้เสมอ
-
8:17 - 8:19ไม่ใช่เพียงแค่หนีไปเท่านั้น
-
8:19 - 8:21แต่พวกมันยังสะบัดตัว
ขณะกำลังวิ่งหนี -
8:21 - 8:23ราวกับกำลังต่อสู้กับผึ้งในอากาศ
-
8:24 - 8:27และเราติดไมโครโฟนอินฟาเรด
เอาไว้รอบตัวช้าง -
8:27 - 8:29ในขณะที่เราทำการทดลองนี้
-
8:29 - 8:32ผลปรากฏว่าพวกมันสื่อสารกัน
ด้วยเสียงอินฟราเรด -
8:32 - 8:34เพื่อเตือนช้างตัวอื่นถึงภัยคุกคามจากผึ้ง
-
8:34 - 8:36และออกห่างไปจากพื้นที่นี้
-
8:37 - 8:39การค้นพบพฤติกรรมเหล่านี้
-
8:39 - 8:41ช่วยให้เราเข้าใจว่า
ช้างมีปฏิกิริยาอย่างไร -
8:41 - 8:44เมื่อมันได้ยินเสียงของผึ้ง
-
8:44 - 8:48สิ่งนี้ทำให้ฉันคิดค้นออกแบบ
รั้วรังผึ้วแบบใหม่ -
8:48 - 8:51ซึ่งเราจะสร้างขึ้นรอบฟาร์มเล็ก ๆ
ราวหนึ่งถึงสองเอเคอร์ -
8:51 - 8:54ในบริเวณที่เสี่ยงที่สุด
ของเขตแนวหน้าของแอฟริกา -
8:54 - 8:57ที่ซึ่งมนุษย์กับช้าง
กำลังแก่งแย่งชิงพื้นที่กัน -
8:57 - 8:59รั้วรังผึ้งเหล่านี้สร้างได้ง่ายมาก ๆ
-
8:59 - 9:03เราใช้รั้งผึ้งจริง 12 รัง
และรังปลอม 12 รัง -
9:03 - 9:05เพื่อปกป้องฟาร์มขนาดหนึ่งเอเคอร์
-
9:05 - 9:07รังผึ้งปลอมนี้ก็สร้างขึ้นง่าย ๆ
จากชิ้นส่วนไม้อัด -
9:07 - 9:10ตัดเป็นกล่องสี่เหลี่ยมแล้วทาสีเหลือง
-
9:10 - 9:11แขวนเอาไว้ระหว่างรังจริง
-
9:11 - 9:13เราใช้วิธีการง่าย ๆ ในการหลอกช้าง
-
9:13 - 9:16ให้คิดว่ามีรังผึ้ง
มากกว่าที่มีอยู่จริง ๆ -
9:16 - 9:19แน่นอนว่ามันลดต้นทุน
ในการสร้างรั้วลงครึ่งหนึ่ง -
9:19 - 9:21เพราะว่ามีรังจริง แล้วก็รังปลอม
-
9:21 - 9:22รังจริง แล้วก็รังปลอม
-
9:22 - 9:25ทุก ๆ สิบเมตรโดยรอบบริเวณ
-
9:25 - 9:27มันถูกยึดด้วยเสา
-
9:27 - 9:29ที่มีหลังคาบังแดดเพื่อปกป้องผึ้ง
-
9:29 - 9:32และเชื่อมต่อกันด้วยวัสดุธรรมดา ๆ
อย่างเช่นเส้นลวด -
9:32 - 9:34ล้อมรอบพื้นที่และเชื่อมรังผึ้งไว้ด้วยกัน
-
9:34 - 9:37ดังนั้นหากมีช้างพยายามจะเข้ามาในฟาร์ม
-
9:37 - 9:39พวกมันก็จะต้องหลีกเลี่ยงรังผึ้ง
-
9:39 - 9:42แต่มันอาจจะลองดันเข้ามา
ระหว่างรังจริงกับรังปลอม -
9:42 - 9:45แบบนั้นก็จะไปเขย่ารังผึ้ง
และทำให้ฝูงผึ้งบินออกมา -
9:45 - 9:47และอย่างที่เรารู้ได้จากงานวิจัย
-
9:47 - 9:50นั่นจะทำให้ช้างวิ่งหนีออกไป
-
9:50 - 9:54และหวังว่ามันจะจดจำได้ว่า
จะต้องไม่กลับมายังพื้นที่เสี่ยงตรงนี้อีก -
9:54 - 9:56เพราะฝูงผึ้งจะบินออกมาจากรัง
-
9:56 - 9:58ทำให้ช้างเกิดความหวาดกลัวและหนีไป
-
9:58 - 10:02รั้วรังผึ้งที่เรากำลังศึกษานี้
เราได้ลองติดตั้งกล้องเอาไว้ -
10:02 - 10:04เพื่อช่วยให้เข้าใจว่า
ช้างจะมีปฏิกิริยาอย่างไร -
10:04 - 10:05ในตอนกลางคืน
-
10:05 - 10:08ซึ่งเป็นเวลาที่พืชผลจะถูกโจมตี
โดยส่วนใหญ่ -
10:08 - 10:10และจากฟาร์มที่เราทำการศึกษา
-
10:10 - 10:13เราก็สามารถกันช้างกว่า 80 เปอร์เซ็น
-
10:13 - 10:15ให้ออกห่างจากเขตฟาร์มของเราได้
-
10:16 - 10:21นอกจากนี้ ผึ้งและรั้วรังผึ้ง
ยังมีส่วนช่วยในการผสมเกสร -
10:21 - 10:24เราจึงทั้งลดการโจมตีพืชผลในฟาร์มของช้าง
-
10:24 - 10:27และเร่งการผสมเกสร
-
10:27 - 10:30จากการที่ผึ้งเข้ามาตอมพืชผลได้ไปพร้อมกัน
-
10:31 - 10:33นอกจากความแข็งแรงของรั้วรังผึ้ง
จะเป็นเรื่องสำคัญแล้ว -
10:33 - 10:35ชุมชนก็ต้องเข้มแข็งด้วย
-
10:35 - 10:38ฉะนั้นเราจึงช่วยชาวสวนปลูกพืช
ที่เป็นมิตรต่อสัตว์ที่ช่วยผสมเกสร -
10:38 - 10:40เพื่อให้มีรังผึ้งมากขึ้น
-
10:40 - 10:42และสร้างความแข็งแรงให้แก่ผึ้งด้วย
-
10:42 - 10:45แน่นอนว่ามันช่วยผลิต
น้ำผึ้งคุณภาพดีออกมามากมาย -
10:45 - 10:49น้ำผึ้งเหล่านี้จะช่วยเพิ่มมูลค่าและ
สร้างอาชีพใหม่ให้กับชาวสวน -
10:49 - 10:51มันเป็นน้ำตาลทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ
-
10:51 - 10:53และดีต่อชุมชนด้วย
-
10:53 - 10:55ราวกับของขวัญพิเศษที่มอบให้กับแม่เลี้ยง
-
10:55 - 10:58ซึ่งประเมินค่าไม่ได้เลย
-
10:58 - 10:59(เสียงหัวเราะ)
-
11:00 - 11:02เราเก็บน้ำผึ้งใส่ขวด
-
11:02 - 11:06และเรียกน้ำผึ้งป่าที่ดีงามนี้ว่า
'น้ำผึ้งมิตรช้าง' -
11:06 - 11:07มันเป็นชื่อเรียกตลก ๆ
-
11:07 - 11:09แต่ก็ทำให้ผลิตภัณฑ์ของเราน่าดึงดูด
-
11:09 - 11:11และทำให้คนเข้าว่าใจสิ่งที่เราพยายามทำ
-
11:11 - 11:12ก็คือการอนุรักษ์ช้าง
-
11:12 - 11:14ตอนนี้เราทำงานร่วมกับผู้หญิงมากมาย
-
11:14 - 11:17ในพื้นที่ที่มีความขัดแย้งของคนกับช้าง
กว่า 60 แห่ง -
11:17 - 11:20ใน 19 ประเทศทั้งในแอฟริกาและเอเชีย
-
11:20 - 11:22เพื่อสร้างรั้วรังผึ้ง
-
11:22 - 11:24เราทำงานใกล้ชิดกับชาวสวนมากมาย
-
11:24 - 11:26และส่วนใหญ่ก็เป็นชาวสวนหญิง
-
11:26 - 11:30เพื่อให้พวกเธอสามารถอยู่ร่วมกับช้าง
ได้อย่างกลมเกลียวมากขึ้น -
11:30 - 11:33สิ่งหนึ่งที่เราพยายามทำ
ก็คือการสร้างเครื่องมือทางเลือก -
11:33 - 11:36ที่ช่วยลดความขัดแย้ง
กับเจ้าสัตว์มีกีบเท้าขนาดมหึมานี้ -
11:36 - 11:38แต่อีกสิ่งหนึ่งคือการพยายามช่วยชาวสวน
-
11:38 - 11:39ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง
-
11:39 - 11:41ให้เปลี่ยนความคิดเกี่ยวกับการปลูกพืช
-
11:41 - 11:43ในฟาร์มของพวกเธอ
-
11:43 - 11:45เราจึงมองหาพืชผลอื่น ๆ
-
11:45 - 11:47ที่ช้างมักจะไม่กิน อย่างเช่นพริก
-
11:47 - 11:50ขิง มะรุม หรือดอกทานตะวัน
-
11:50 - 11:53แน่นอนว่าพวกผึ้งเองก็ชอบพืชชนิดนั้น
-
11:53 - 11:54เพราะมันมีดอกสวย ๆ
-
11:55 - 11:58พืชอีกหนึ่งชนิดที่มีใบแหลมคม
มันชื่อว่าป่านศรนารายณ์ -
11:58 - 12:00คุณอาจจะรู้จักในชื่อต้นปอกระเจา
-
12:00 - 12:03มันเป็นพืชชนิดที่สามารถไปเก็บเอามา
-
12:03 - 12:05ทำเป็นเครื่องจักรสานได้
-
12:05 - 12:07เราทำงานร่วมกับผู้หญิงเก่ง ๆ เหล่านี้
-
12:07 - 12:10ที่ต้องเผชิญกับช้างอยู่ทุกวัน
-
12:10 - 12:13ให้พวกเธอไปเก็บมาสานตะกร้า
-
12:13 - 12:16เพื่อสร้างรายได้อีกทางหนึ่งให้ครอบครัว
-
12:16 - 12:18เราเริ่มโครงการนี้เมื่อสามสัปดาห์ก่อน
-
12:18 - 12:20ร่วมกับองค์กรส่งเสริมอาชีพสตรี
-
12:20 - 12:22ที่ซึ่งเราจะได้ทำงานกับพวกผู้หญิง
-
12:22 - 12:24ที่ไม่ใช่เพียงนักเก็บรังผึ้งมืออาชีพ
-
12:24 - 12:26แต่ยังเป็นนักสานตะกร้าอันน่าทึ่ง
-
12:26 - 12:29พวกเธอยังสามารถผลิต
น้ำมันจากพริก น้ำมันดอกทานตะวัน -
12:29 - 12:31ลิปบาล์ม และน้ำผึ้ง
-
12:31 - 12:34และเรายังช่วยพวกให้ชาวสวน
-
12:34 - 12:39ได้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม -
12:39 - 12:41สามารถอยู่ร่วมกับช้างได้
-
12:41 - 12:42ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นผู้ชาย
-
12:42 - 12:45เป็นแม่ หรือนักวิจัยอย่างฉัน
-
12:45 - 12:48ฉันได้เห็นผู้หญิงมากมาย
เข้ามามีบทบาทในแนวหน้า -
12:48 - 12:52เพื่อคิดอย่างแตกต่างและหนักแน่น
เกี่ยวกับปัญหาที่ต้องเผชิญ -
12:53 - 12:54ด้วยนวัตกรรมใหม่ ๆ
-
12:54 - 12:58หรือบางทีอาจจะด้วยความเห็นอกเห็นใจ
ที่มีต่อกัน -
12:58 - 13:01ฉันเชื่อว่าเราจะก้าวผ่าน
ความขัดแย้งที่มีต่อช้าง -
13:01 - 13:03และอยู่ร่วมกันได้อย่างแท้จริง
-
13:03 - 13:05ขอบคุณค่ะ
-
13:05 - 13:07(เสียงปรบมือ)
- Title:
- ผึ้งทำให้คนกับช้างอยู่ร่วมกันอย่างสันติได้อย่างไร
- Speaker:
- ลูซี่ คิง
- Description:
-
ลองนึกภาพว่าคุณตื่นขึ้นมากลางดึกและพบว่ามีช้างตัวหนึ่งกำลังงัดหลังคาบ้านของคุณเพื่อหาอาหาร นี่คือเรื่องราวที่เกิดขึ้นจริงในชนบทของแอฟริกา เมื่อพื้นที่ป่าลดลง คนกับช้างจึงต้องสู้กันเพื่อแย่งชิงพื้นที่และทรัพยากรอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน ในการบรรยายที่ดึงดูดใจนี้ นักสัตววิทยา ลูซี่ คิง ได้มาแบ่งปันวิธีแก้ปัญหาความขัดแย้งที่เพิ่มขึ้นทุกวัน: รั้วที่สร้างจากรังผึ้งมากมายจะช่วยป้องกันไม่ให้ช้างเข้ามาในที่ชุมชน อีกทั้งยังพัฒนาคุณภาพชีวิตของชาวสวนในบริเวณนั้นได้อีกด้วย
- Video Language:
- English
- Team:
closed TED
- Project:
- TEDTalks
- Duration:
- 13:10
![]() |
Unnawut Leepaisalsuwanna approved Thai subtitles for How bees can keep the peace between elephants and humans | |
![]() |
Unnawut Leepaisalsuwanna edited Thai subtitles for How bees can keep the peace between elephants and humans | |
![]() |
Patipon Tantisirivattana accepted Thai subtitles for How bees can keep the peace between elephants and humans | |
![]() |
Patipon Tantisirivattana edited Thai subtitles for How bees can keep the peace between elephants and humans | |
![]() |
Monsicha Suajorn edited Thai subtitles for How bees can keep the peace between elephants and humans | |
![]() |
Monsicha Suajorn edited Thai subtitles for How bees can keep the peace between elephants and humans | |
![]() |
Monsicha Suajorn edited Thai subtitles for How bees can keep the peace between elephants and humans | |
![]() |
Monsicha Suajorn edited Thai subtitles for How bees can keep the peace between elephants and humans |