ตั้งแต่ที่ฉันจำความได้
ช้างแอฟริกาเป็นสัตว์ที่ทำให้ฉัน
รู้สึกสะพรึงมาโดยตลอด
มันเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมบนบก
ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกยุคปัจจุบัน
มันหนักได้ถึงเจ็ดตัน
เมื่อยืน มันจะสูงได้ถึงสามเมตรครึ่ง
ในหนึ่งวัน พวกมันกินอาหารมากถึง
400 กิโลกรัม
และพวกมันยังพาเมล็ดพืชแพร่พันธุ์ไปได้
ไกลหลายพันกิโลเมตร
ตลอดอายุขัย 50-60 ปีของพวกมัน
สังคมของมันเป็นสังคมที่ความซับซ้อน
และเกื้อกูลกัน ซึ่งนำโดยตัวเมีย
ตัวเมียเหล่านี้ เป็นผู้นำที่แข็งแกร่ง
คอยเลี้ยงดูเหล่าลูกช้าง
และนำพาฝูงเดินฝ่าดงความท้าทาย
ของทุ่งหญ้าแอฟริกา
เพื่อหาอาหาร น้ำ
และที่อยู่ที่ปลอดภัย
สังคมของพวกมันมีความซับซ้อนมาก
ซึ่งเรายังไม่สามารถเข้าใจได้ทั้งหมด
มันสื่อสารกันอย่างไร
ส่งเสียงเรียกกันได้อย่างไร
ภาษาของพวกมันเป็นอย่างไร
และเรายังไม่เข้าใจจริง ๆ ว่า
พวกมันตามหาแหล่งที่อยู่
และจดจำสถานที่ปลอดภัย
ที่ต้องข้ามแม่น้ำไปได้อย่างไร
ฉันค่อนข้างมั่นใจว่า
พวกคุณในห้องนี้ก็คงทึ่ง
หลังจากได้ฟังเรื่องราว
ของสัตว์ที่น่าตื่นตะลึงนี้ไม่ต่างกับฉัน
มันยากมากที่จะหักห้ามไม่ให้ตัวเอง
ไปดูสารคดี
และเรียนรู้สติปัญญาของพวกมัน
หรือถ้าคุณโชคดี
คุณก็อาจจะเคยได้เห็นพวกมัน
ในสวนสัตว์
แต่ฉันสงสัยว่ามีใครบ้าง
ที่เคยสัมผัสกับความน่าหวาดกลัว
ของพวกมัน
โชคดีที่ครั้งหนึ่ง
ฉันเคยถูกพาไปยังแอฟริกาใต้
โดยพ่อแม่ที่เป็นครูสองคน
เรามีวันหยุดยาวแต่มีงบไม่มาก
ก็เลยต้องขับรถ
ฟอร์ดคอร์ตินาเอสเตทเก่า ๆ ไป
ฉันนั่งอยู่หลังรถกับพี่สาว
เอาเต็นท์ไปตั้งแคมป์
ในเขตสงวนพันธุ์สัตว์ป่า
ในแอฟริกาใต้
มันเป็นเหมือนสวรรค์สำหรับ
นักสัตววิทยาตัวน้อยอย่างฉันเลยค่ะ
แม้ตอนนั้นจะยังเด็กมาก แต่ฉันจำได้ว่า
ฉันไปเจอรั้วไฟฟ้าสูงใหญ่ที่กั้น
เขตสงวนพันธุ์สัตว์ป่าเอาไว้
มันแบ่งแยกไปหน่อย
แน่นอนว่าพวกเขาทำเพื่อกันพวกช้าง
ให้ออกห่างจากชุมชน
และขณะเดียวกันพวกเขาก็กันชุมชน
ออกจากพื้นที่ป่า
มันเป็นเรื่องท้าทายสำหรับฉัน
ในสมัยเด็กเอามาก ๆ
โดยเฉพาะตอนที่ฉันย้ายไปอยู่ที่เคนยา
ตอนอายุได้ 14 ปี
เมื่อฉันได้สัมผัสกับป่าเปิดผืนใหญ่
ทางแอฟริกาตะวันออก
และที่นี่เองที่ทำให้ฉันรู้สึก
จากส่วนลึกของจิตใจ
ว่าที่นี่คือบ้าน
มันเป็นเวลาหลายปีที่มีความสุข
ที่ฉันได้เรียนรู้พฤติกรรมช้างอยู่ในเต็นท์
ที่อุทยานแห่งชาติซัมบูรู
ภายใต้การนำของศาสตราจารย์
ฟริตซ์ วอลล์รัธและเลียน ดักลาส แฮมิลตัน
ในการวิจัยปริญญาเอกเพื่อเข้าใจ
ในสังคมที่มีความซับซ้อนของช้าง
แต่ตอนนี้ฉันเป็นผู้นำโครงการ
การอยู่ร่วมกันของคนกับช้าง
เพื่ออนุรักษ์ช้าง
เราเห็นความเปลี่ยนแปลง
ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว
ซึ่งกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
บางอย่างในโครงการของพวกเรา
เราไม่สามารถนั่งอยู่เฉย ๆ
และพยายามเข้าใจสังคมของช้าง
หรือพยายามหยุดยั้งการล่างาช้า
ซึ่งเป็นเรื่องน่ากลัวที่กำลังดำเนินอยู่
เราต้องเปลี่ยนเป้าหมาย
ไปอีกทิศทางหนึ่ง
เพื่อศึกษาปัญหาความขัดแย้ง
ระหว่างคนกับช้างที่กำลังเพิ่มขึ้น
ในเรื่องของมนุษย์กับสัตว์มีกีบเท้า
ที่กำลังแย่งชิงทรัพยากรและพื้นที่
ช่วงปี ค.ศ. 1970
ที่ผ่านมาไม่นานนี้เอง
เราเคยมีช้างทั่วทั้งแอฟริกา
ประมาณหนึ่งล้านสองแสนตัว
และทุกวันนี้เราเหลือประมาณ
สี่หมื่นตัวเท่านั้น
ในขณะเดียวกันประชากรมนุษย์
ก็เพิ่มขึ้นเป็นสี่เท่า
และที่ดินก็ถูกแบ่งออกเป็นส่วน ๆ
ซึ่งยากที่จะรักษาไว้ด้วยกัน
บ่อยครั้งที่ช้างอพยพเหล่านี้
สุดท้ายก็เข้ามาติดในพื้นที่ชุมชน
เพื่อหาน้ำและอาหาร
จบลงด้วยการทำลายถังเก็บน้ำ
ทำลายท่อ
และแน่นอน ทำลายร้านขายอาหาร
เพื่อหาอาหาร
มันเป็นความท้าทายที่ยิ่งใหญ่
คุณลองนึกภาพความหวาดกลัว
ของการที่ช้างตัวหนึ่งงัดหลังคาที่พัก
ของคุณออก
ในตอนกลางดึก
และคุณก็ต้องอุ้มลูกหนีออกไป
ขณะที่งวงอันใหญ่กำลังควานหาอาหาร
ท่ามกลางความมืดสนิท
นอกจากนี้ ช้างยังเหยียบย่ำและกินพืชผล
และนี่คือการรุกรานแบบดั้งเดิม
เช่นเดียวกับที่มนุษย์เคยทำกับช้าง
และน่าเศร้าที่เราก็กำลัง
สูญเสียเจ้าสัตว์นี้ไปทุก ๆ วัน
หรือทุก ๆ ชั่วโมงในบางประเทศ
ไม่ใช่เพียงลักลอบล่างาช้าง
ความขัดแย้งของช้างกับมนุษย์
เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
ในการแย่งชิงพื้นที่และทรัพยากร
มันเป็นปัญหาที่ยิ่งใหญ่
ฉันหมายถึงว่าคุณจะจัดการ
กับสัตว์มีกีบเท้าที่หนักถึงเจ็ดตัน
และมักจะมาเป็นฝูง
ฝูงละ 10 ถึง 12 ตัว
ให้ออกไปจากฟาร์มในชนบทเล็ก ๆ
และคนพวกนี้
ยังเป็นคนที่ใช้ชีวิต
อยู่กับความยากจน
พวกเขาไม่มีงบประมาณมากมาย
คุณจะแก้ปัญหานี้อย่างไร
ทางออกแรกคือคุณก็แค่สร้างรั้วไฟฟ้า
อย่างที่มีทั่วทั้งทวีปแอฟริกา
เราเห็นกันมามากมาย
แต่มันก็แบ่งแยกพื้นที่
และปิดกั้นทางเดิน
และฉันจะบอกคุณให้ว่า
ช้างมันไม่ได้คิดอย่างนั้น
โดยเฉพาะเมื่อพวกมันถูกกันออกจาก
แหล่งน้ำที่พิเศษจริง ๆ
เมื่อพวกมันต้องการน้ำ
หรือถ้ามีตัวเมียที่แสนดึงดูด
อยู่ที่อีกฟากหนึ่ง
มันใช้เวลาไม่นานหรอกค่ะ
ในการล้มเสาสักต้น
และในที่สุดก็จะเกิดช่องว่างบนรั้ว
มันก็จะกลับไปบอกตัวอื่น ๆ ในฝูง
แล้วก็พากันเดินผ่านมา
และตอนนี้ช้าง 12 ตัวก็ข้ามมาอยู่
ในฝั่งชุมชนของคุณแล้ว
ตอนนี้แหละ คุณกำลังมีปัญหา
ผู้คนก็พยายามที่จะออกแบบ
รั้วไฟฟ้ารูปแบบใหม่
แต่ก็นั่นล่ะค่ะ
ช้างพวกนี้มันก็ไม่คิดอะไรอยู่ดี
(เสียงหัวเราะ)
ดังนั้น แทนที่จะสร้างรั้วไฟฟ้า
ที่ทั้งแข็งแรง แน่นหนา
และกีดกั้นเส้นทางอพยพ
มันต้องมีทางอื่นเพื่อแก้ปัญหานี้สิ
ฉันสนใจในเรื่ององค์รวม
และวิธีการทางธรรมชาติ
เพื่อกันช้างออกจากผู้คนเท่าที่จำเป็น
ฉันก็เลยไปพูดคุยกับชาวบ้าน
คุยกับคนทำฟาร์มในชนบท
ทางตอนเหนือของเคนยา
คนที่มีความรู้เกี่ยวกับป่าไม้
เราเรียนรู้จากพวกเขาว่า
ช้างจะไม่กินต้นไม้ใหญ่
ที่มีรังผึ้งอยู่บนนั้น
มันเป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก
ขณะที่ช้างหาอาหารบนต้นไม้
มันอาจจะไปหักกิ่งไม้เข้า
และทำให้รังผึ้งแตกออก
จากนั้นผึ้งก็จะแตกรัง
เข้าโจมตีช้างตัวนั้น
และเมื่อช้างถูกผึ้งต่อย
มันก็จะจดจำได้ว่า
ต้นไม้ต้นนี้เป็นอันตราย
และมันก็อาจจะไม่กลับมาที่นี่อีก
มันอาจจะฟังดูเหลือเชื่อ
ที่เหล็กในของผึ้งจะแทงทะลุ
ผิวของช้างที่หนาสองเซนติเมตร
แต่ดูเหมือนผึ้งจะไปต่อย
ในบริเวณที่ผิวบาง
อย่างรอบดวงตา หลังใบหู
ในปาก หรือที่งวงช้าง
คุณคงนึกภาพออกว่า
มันจะจดจำได้อย่างรวดเร็ว
และไม่ใช่แค่ผึ้งตัวเดียวที่มันกลัว
ผึ้งแอฟริกามีความสามารถพิเศษ
เมื่อมันต่อยเข้าที่ใดที่หนึ่ง
มันจะปล่อยฟีโรโมน
ที่ไปกระตุ้นผึ้งทั้งรัง
ให้มาโจมตียังจุดเดียวกัน
ฉะนั้นจึงไม่ใช่แค่เหล็กในอันเดียว
ที่พวกมันหวาดกลัว
แต่อาจจะเป็นเหล็กในเป็นพัน ๆ
ที่ต่อยเข้ามายังจุดเดียวกัน
สิ่งนั้นแหละที่มันกลัว
และแน่นอน จ่าฝูงตัวเมียที่ดี
จะต้องพาลูกช้างหลบเลี่ยงอันตรายนี้
เพราะผิวของลูกช้างนั้นบางกว่ามาก
และเป็นไปได้ว่าพวกมันอาจถูกต่อย
ผ่านผิวบาง ๆ แบบนั้น
ในการศึกษาปริญญาเอก
ฉันพบปัญหาที่ไม่ธรรมดานี้
และพยายามจะศึกษาว่า
ช้างแอฟริกากับผึ้งแอฟริกา
จะมีปฏิกิริยาต่อกันอย่างไร
และโดยทฤษฎีแล้ว
พวกมันอาจไม่มีปฏิกิริยาต่อกันเลย
แล้วฉันจะศึกษาอย่างไรล่ะ?
สิ่งที่ฉันทำก็คือ
ฉันไปเก็บเสียงหึ่ง ๆ ของผึ้งแอฟริกา
และเปิดมันให้ช้างฟัง
โดยซ่อนเอาไว้ใต้ต้นไม้
โดยผ่านระบบลำโพงไร้สาย
เพื่อที่จะศึกษาว่าพวกมันจะมีปฏิกิริยา
อย่างไรถ้ามีผึ้งป่าอยู่ในบริเวณนั้น
และปรากฏว่ามันมีปฏิกิริยาที่น่าทึ่ง
ต่อเสียงของผึ้งป่าแอฟริกา
ตอนนี้เรากำลังเล่นเสียงผึ้ง
ใส่ช้างฝูงใหญ่นี้
คุณจะเห็นว่าพวกมันกางหูออก
หันหัวไปมา
ช้างตัวหนึ่งสะบัดงวงขึ้น
เพื่อลองดมกลิ่น
และช้างอีกตัวก็เตะลูกช้างตัวหนึ่ง
ที่อยู่บนพื้น
บอกให้ลุกขึ้นเพราะกำลังมีภัย
และช้างหนึ่งตัวก็เริ่มที่จะล่าถอย
จากนั้นช้างทั้งฝูงก็เดินตามมันไป
ข้ามทุ่งหญ้าสะวันนาหายไปในกลุ่มฝุ่น
(เสียงหึ่งของผึ้ง)
(เสียงหึ่งของผึ้งจบลง)
ฉันได้ทำการทดลองนี้ซ้ำหลาย ๆ ครั้ง
และช้างก็มักจะหนีไปแบบนี้เสมอ
ไม่ใช่เพียงแค่หนีไปเท่านั้น
แต่พวกมันยังสะบัดตัว
ขณะกำลังวิ่งหนี
ราวกับกำลังต่อสู้กับผึ้งในอากาศ
และเราติดไมโครโฟนอินฟาเรด
เอาไว้รอบตัวช้าง
ในขณะที่เราทำการทดลองนี้
ผลปรากฏว่าพวกมันสื่อสารกัน
ด้วยเสียงอินฟราเรด
เพื่อเตือนช้างตัวอื่นถึงภัยคุกคามจากผึ้ง
และออกห่างไปจากพื้นที่นี้
การค้นพบพฤติกรรมเหล่านี้
ช่วยให้เราเข้าใจว่า
ช้างมีปฏิกิริยาอย่างไร
เมื่อมันได้ยินเสียงของผึ้ง
สิ่งนี้ทำให้ฉันคิดค้นออกแบบ
รั้วรังผึ้วแบบใหม่
ซึ่งเราจะสร้างขึ้นรอบฟาร์มเล็ก ๆ
ราวหนึ่งถึงสองเอเคอร์
ในบริเวณที่เสี่ยงที่สุด
ของเขตแนวหน้าของแอฟริกา
ที่ซึ่งมนุษย์กับช้าง
กำลังแก่งแย่งชิงพื้นที่กัน
รั้วรังผึ้งเหล่านี้สร้างได้ง่ายมาก ๆ
เราใช้รั้งผึ้งจริง 12 รัง
และรังปลอม 12 รัง
เพื่อปกป้องฟาร์มขนาดหนึ่งเอเคอร์
รังผึ้งปลอมนี้ก็สร้างขึ้นง่าย ๆ
จากชิ้นส่วนไม้อัด
ตัดเป็นกล่องสี่เหลี่ยมแล้วทาสีเหลือง
แขวนเอาไว้ระหว่างรังจริง
เราใช้วิธีการง่าย ๆ ในการหลอกช้าง
ให้คิดว่ามีรังผึ้ง
มากกว่าที่มีอยู่จริง ๆ
แน่นอนว่ามันลดต้นทุน
ในการสร้างรั้วลงครึ่งหนึ่ง
เพราะว่ามีรังจริง แล้วก็รังปลอม
รังจริง แล้วก็รังปลอม
ทุก ๆ สิบเมตรโดยรอบบริเวณ
มันถูกยึดด้วยเสา
ที่มีหลังคาบังแดดเพื่อปกป้องผึ้ง
และเชื่อมต่อกันด้วยวัสดุธรรมดา ๆ
อย่างเช่นเส้นลวด
ล้อมรอบพื้นที่และเชื่อมรังผึ้งไว้ด้วยกัน
ดังนั้นหากมีช้างพยายามจะเข้ามาในฟาร์ม
พวกมันก็จะต้องหลีกเลี่ยงรังผึ้ง
แต่มันอาจจะลองดันเข้ามา
ระหว่างรังจริงกับรังปลอม
แบบนั้นก็จะไปเขย่ารังผึ้ง
และทำให้ฝูงผึ้งบินออกมา
และอย่างที่เรารู้ได้จากงานวิจัย
นั่นจะทำให้ช้างวิ่งหนีออกไป
และหวังว่ามันจะจดจำได้ว่า
จะต้องไม่กลับมายังพื้นที่เสี่ยงตรงนี้อีก
เพราะฝูงผึ้งจะบินออกมาจากรัง
ทำให้ช้างเกิดความหวาดกลัวและหนีไป
รั้วรังผึ้งที่เรากำลังศึกษานี้
เราได้ลองติดตั้งกล้องเอาไว้
เพื่อช่วยให้เข้าใจว่า
ช้างจะมีปฏิกิริยาอย่างไร
ในตอนกลางคืน
ซึ่งเป็นเวลาที่พืชผลจะถูกโจมตี
โดยส่วนใหญ่
และจากฟาร์มที่เราทำการศึกษา
เราก็สามารถกันช้างกว่า 80 เปอร์เซ็น
ให้ออกห่างจากเขตฟาร์มของเราได้
นอกจากนี้ ผึ้งและรั้วรังผึ้ง
ยังมีส่วนช่วยในการผสมเกสร
เราจึงทั้งลดการโจมตีพืชผลในฟาร์มของช้าง
และเร่งการผสมเกสร
จากการที่ผึ้งเข้ามาตอมพืชผลได้ไปพร้อมกัน
นอกจากความแข็งแรงของรั้วรังผึ้ง
จะเป็นเรื่องสำคัญแล้ว
ชุมชนก็ต้องเข้มแข็งด้วย
ฉะนั้นเราจึงช่วยชาวสวนปลูกพืช
ที่เป็นมิตรต่อสัตว์ที่ช่วยผสมเกสร
เพื่อให้มีรังผึ้งมากขึ้น
และสร้างความแข็งแรงให้แก่ผึ้งด้วย
แน่นอนว่ามันช่วยผลิต
น้ำผึ้งคุณภาพดีออกมามากมาย
น้ำผึ้งเหล่านี้จะช่วยเพิ่มมูลค่าและ
สร้างอาชีพใหม่ให้กับชาวสวน
มันเป็นน้ำตาลทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ
และดีต่อชุมชนด้วย
ราวกับของขวัญพิเศษที่มอบให้กับแม่เลี้ยง
ซึ่งประเมินค่าไม่ได้เลย
(เสียงหัวเราะ)
เราเก็บน้ำผึ้งใส่ขวด
และเรียกน้ำผึ้งป่าที่ดีงามนี้ว่า
'น้ำผึ้งมิตรช้าง'
มันเป็นชื่อเรียกตลก ๆ
แต่ก็ทำให้ผลิตภัณฑ์ของเราน่าดึงดูด
และทำให้คนเข้าว่าใจสิ่งที่เราพยายามทำ
ก็คือการอนุรักษ์ช้าง
ตอนนี้เราทำงานร่วมกับผู้หญิงมากมาย
ในพื้นที่ที่มีความขัดแย้งของคนกับช้าง
กว่า 60 แห่ง
ใน 19 ประเทศทั้งในแอฟริกาและเอเชีย
เพื่อสร้างรั้วรังผึ้ง
เราทำงานใกล้ชิดกับชาวสวนมากมาย
และส่วนใหญ่ก็เป็นชาวสวนหญิง
เพื่อให้พวกเธอสามารถอยู่ร่วมกับช้าง
ได้อย่างกลมเกลียวมากขึ้น
สิ่งหนึ่งที่เราพยายามทำ
ก็คือการสร้างเครื่องมือทางเลือก
ที่ช่วยลดความขัดแย้ง
กับเจ้าสัตว์มีกีบเท้าขนาดมหึมานี้
แต่อีกสิ่งหนึ่งคือการพยายามช่วยชาวสวน
ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง
ให้เปลี่ยนความคิดเกี่ยวกับการปลูกพืช
ในฟาร์มของพวกเธอ
เราจึงมองหาพืชผลอื่น ๆ
ที่ช้างมักจะไม่กิน อย่างเช่นพริก
ขิง มะรุม หรือดอกทานตะวัน
แน่นอนว่าพวกผึ้งเองก็ชอบพืชชนิดนั้น
เพราะมันมีดอกสวย ๆ
พืชอีกหนึ่งชนิดที่มีใบแหลมคม
มันชื่อว่าป่านศรนารายณ์
คุณอาจจะรู้จักในชื่อต้นปอกระเจา
มันเป็นพืชชนิดที่สามารถไปเก็บเอามา
ทำเป็นเครื่องจักรสานได้
เราทำงานร่วมกับผู้หญิงเก่ง ๆ เหล่านี้
ที่ต้องเผชิญกับช้างอยู่ทุกวัน
ให้พวกเธอไปเก็บมาสานตะกร้า
เพื่อสร้างรายได้อีกทางหนึ่งให้ครอบครัว
เราเริ่มโครงการนี้เมื่อสามสัปดาห์ก่อน
ร่วมกับองค์กรส่งเสริมอาชีพสตรี
ที่ซึ่งเราจะได้ทำงานกับพวกผู้หญิง
ที่ไม่ใช่เพียงนักเก็บรังผึ้งมืออาชีพ
แต่ยังเป็นนักสานตะกร้าอันน่าทึ่ง
พวกเธอยังสามารถผลิต
น้ำมันจากพริก น้ำมันดอกทานตะวัน
ลิปบาล์ม และน้ำผึ้ง
และเรายังช่วยพวกให้ชาวสวน
ได้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
สามารถอยู่ร่วมกับช้างได้
ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นผู้ชาย
เป็นแม่ หรือนักวิจัยอย่างฉัน
ฉันได้เห็นผู้หญิงมากมาย
เข้ามามีบทบาทในแนวหน้า
เพื่อคิดอย่างแตกต่างและหนักแน่น
เกี่ยวกับปัญหาที่ต้องเผชิญ
ด้วยนวัตกรรมใหม่ ๆ
หรือบางทีอาจจะด้วยความเห็นอกเห็นใจ
ที่มีต่อกัน
ฉันเชื่อว่าเราจะก้าวผ่าน
ความขัดแย้งที่มีต่อช้าง
และอยู่ร่วมกันได้อย่างแท้จริง
ขอบคุณค่ะ
(เสียงปรบมือ)