-
เรามาพิจารณานิดหน่อยเกี่ยวกับ
-
การแจกแจงแมกซ์เวลล์-โบลต์ซมานน์
-
และตรงนี้ เรามี
-
รูปของ เจมส์ คลาร์ก แมกซ์เวลล์
-
และผมชอบรูปนี้มาก เพราะรูปนี้มี
-
ภรรยาของเขา แคเทอรีน แมกซ์เวลล์
และนี่น่าจะเป็นสุนัขของพวกเขา
-
และเจมส์ แมกซ์เวลล์ ถือเป็นเทพเจ้าของฟิสิกส์คนหนึ่ง
-
สมการแมกซ์เวลล์อันโด่งดัง
-
และเขายังได้คิดค้นพื้นฐาน
-
เกี่ยวกับภาพสี และเขาได้ช่วยคิด
-
"โอเค การแจกแจงของ
-
ความเร็วของอนุภาคอากาศเป็นอย่างไร"
-
ของอนุภาคแก๊สอุดมคติล่ะ?
-
ส่วนสุภาพบุรุษตรงนี้ คือ ลุดวิก โบลต์ซมานน์
-
และถือได้ว่าเขาเป็น
-
บิดาคนหนึ่งแห่งกลศาสตร์สถิติ
-
และเมื่อรวมเข้าด้วยกัน การแจกแจงแมกซ์เวลล์-โบลต์ซมานน์
-
พวกเขาไม่ได้ร่วมมือกันหรอกนะ แต่
-
เขาทำงานแยกกันและบังเอิญได้ผลเหมือนกัน
-
เขาสามารถบรรยายว่า "โอเค
-
การแจกแจงความเร็วของอนุภาคอากาศเป็นอย่างไร"
-
เราลองย้อนกลับมาคิดนิดนึง หรือ
-
มาทำการทดลองเชิงความคิดนิดหน่อย
-
สมมุติว่าผมมีภาชนะตรงนี้
-
สมมุติว่าผมมีภาชนะตรงนี้
-
และมันมีอากาศ
-
อากาศมีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นไนโตรเจน
-
สมมุติว่ามันมีแค่ไนโตรเจนละกัน
-
เพื่อทำให้พิจารณาได้ง่าย
-
ขอผมวาดโมเลกุลไนโตรเจนตรงนี้
-
และสมมุติว่าเรามีเทอร์มอมิเตอร์
-
ผมใส่เทอร์มอมิเตอร์ไว้ในนั้น
-
และเทอร์มอมิเตอร์
-
อ่านอุณหภูมิได้ 300 เคลวิน
-
อุณหภูมิ 300 เคลวิน หมายความว่าอย่างไร
-
อืม ในชีวิตประจำวันของเรา เรามี
-
ระบบที่ใช้รับรู้อุณหภูมิ
-
เฮ้ย ผมไม่อยากจับของที่ร้อน
-
เพราะมันจะลวกมือผม
-
หรือของที่เย็น มันจะทำให้ผมหนาว
-
และนี่เป็นวิธีที่สมอง
-
ประมวลผลสิ่งที่เรียกว่าอุณหภูมิ
-
แต่จริงๆ แล้วเกิดอะไรขึ้นในระดับโมเลกุล
-
โอเค อุณหภูมิ เราสามารถคิดแบบหนึ่งได้
-
เกี่ยวกับอุณหภูมิ นี่เป็นวิธีคิด
-
เกี่ยวกับอุณหภูมิที่แม่นยำมาก
-
ก็คืออุณห -
-
ผมสะกดผิด
-
อุณหภูมิแปรผันตรงกับพลังงานจลน์เฉลี่ย
-
ของโมเลกุลในระบบนั้น
-
ขอผมเขียนอย่างนี้
-
อุณหภูมิแปรผันตรงกับพลังงานจลน์เฉลี่ย
-
พลังงาน
-
จลน์
-
เฉลี่ย
-
ในระบบ
-
ผมจะเขียนแค่ว่าพลังงานจลน์เฉลี่ย
-
เรามาทำให้เห็นภาพชัดขึ้น
-
สมมุติว่าผมมีภาชนะสองใบ
-
นี่เป็นใบที่หนึ่ง
-
อุ๊ปส์
-
และนี่คือใบที่สองตรงนี้
-
สมมุติว่ามันมี
-
จำนวนโมเลกุลของแก๊สไนโตรเจนเท่ากัน
-
และผมจะวาด 10 โมเลกุล
-
ซึ่งมันก็ไม่เหมือนจริงเท่าไหร่
-
คุณควรจะมีโมเลกุลมากกว่านี้มากๆ
-
1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9, 10
-
1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9, 10
-
และสมมุติเราทรายว่า
-
อุณหภูมิตรงนี้คือ 300 เคลวิน
-
อุณหภูมิของระบบนี้คือ 300 เคลวิน
-
แต่อุณหภูมิของระบบนี้คือ 200 เคลวิน
-
หากผมต้องการแสดงให้เห็นภาพว่า
โมเลกุลเหล่านี้กำลังทำอะไรอยู่
-
มันกำลังเคลื่อนไปมา มันชนกัน
-
มันไม่ได้เคลื่อนที่ไปด้วยกัน
-
พลังงานจลน์เฉลี่ยของโมเลกุล
-
ในระบบนี้ จะสูงกว่า
-
และคุณอาจมี
-
โมเลกุลนี้เคลื่อนไปทางนั้น
-
นั่นคือความเร็ว
-
โมเลกุลนี้มีความเร็วนี้
-
ส่วนโมเลกุลนี้ไปทางนั้น
-
โมเลกุลนี้อาจไม่ไปไหนเลย
-
โมเลกุลนี้อาจเคลื่อนไปทางนั้นเร็วมาก
-
โมเลกุลนี้อาจจะไปเร็วมากๆ ทางนี้
-
โมเลกุลนี้เป็นแบบนี้
-
โมเลกุลนี้เป็นแบบนี้
-
โมเลกุลนี้เป็นแบบนี้
-
ถ้าคุณต้องการจะเปรียบเทียบมันกับระบบนี้
-
ระบบนี้ คุณจะมีโมเลกุล
-
นี้เคลื่อนที่เร็วมาก
-
โมเลกุลนี้อาจเร็วกว่า
-
โมเลกุลอื่นทั้งหมดในนี้
-
แต่โดยเฉลี่ยแล้ว โมเลกุลตรงนี้
-
จะมีพลังงานจลน์ต่ำกว่า
-
ดังนั้นโมเลกุลนี้อาจเป็นแบบนี้
-
มาดูว่าผมจะวาดได้มั้ย
-
โดยเฉลี่ย พวกมันจะมีพลังงานจลน์เฉลี่ยต่ำกว่า
-
มันไม่ได้หมายความว่าโมเลกุลเหล่านี้ทั้งหมด
-
จะเคลื่อนช้ากว่าโมเลกุลตรงนี้ทั้งหมด
-
หรือมีพลังงานจลน์ต่ำกว่าพวกนี้ทั้งหมด
-
แต่โดยเฉลี่ย มันจะมีพลังงานจลน์ต่ำกว่า
-
และจริงๆ แล้วเราสามารถวาดการแจกแจง
-
การแจกแจงนี้
-
เรียกว่าการแจกแจงแมกซ์เวลล์-โบลต์ซมานน์
-
ถ้าเรา
-
ขอผมวาดระนาบพิกัดเล็กๆ ตรงนี้
-
ขอผมวาดระนาบพิกัด
-
ถ้าแกนนี้เป็นอัตราเร็ว
-
ถ้าผมกำหนดให้เป็นอัตราเร็ว
-
และแกนนี้ เป็นจำนวนโมเลกุล
-
จำนวนโมเลกุล
-
ตรงนี้
-
สำหรับระบบนี้ ระบบที่มีอุณหภูมิ 300 เคลวิน
-
การแจกแจงอาจเป็นแบบนี้
-
มันอาจเป็น
-
การแจกแจง
-
ขอผมใช้ปากกาอีกสี
-
การแจกแจง
-
นี่จะเป็นโมเลกุลทั้งหมด
-
การแจกแจงอาจเป็นแบบนี้
-
อาจเป็นแบบนี้
-
และนี่ก็คือการแจกแจงแมกซ์เวลล์-โบลต์ซมานน์
-
สำหรับระบบนี้
-
สำหรับระบบ ให้นี่เป็นระบบ A
-
ระบบ A ตรงนี้
-
และระบบนี้ ที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า
-
ซึ่งหมายความว่ามันมีพลังงานจลน์ต่ำกว่า
-
การแจกแจงสำหรับอนุภาคของระบบนี้
-
ความน่าจะเป็นสูงสุด...
-
คุณกำลังจะมีจำนวนโมเลกุลที่มากที่สุด
-
ที่อัตราเร็วต่ำกว่า
-
สมมุติให้เป็นอัตราเร็วนี้
-
ที่ตรงนี้ละกัน
-
การแจกแจงของมันอาจเป็นแบบนี้
-
มันอาจดูคล้ายแบบนี้
-
โอเค แล้วทำไมอันนี้
-
มันน่าจะสมเหตุสมผลสำหรับคุณว่า
-
โอเค อัตราเร็วที่มีจำนวนโมเลกุล
-
สูงสุด ซึ่งก็คือความเร็วที่มีจำนวนโมเลกุลมากที่สุด
-
ผมทราบว่ามันจะต่ำกว่า ความเร็ว
-
ที่มีจำนวนโมเลกุลมากที่สุดในระบบ A
-
เนื่องจากโดยเฉลี่ย
-
สิ่งในระบบนี้จะมีพลังงานจลน์ต่ำกว่า
-
พวกมันจะมีอัตราเร็วต่ำกว่า
-
แต่ทำไมพีคนี้ถึงสูงกว่าล่ะ
-
โอเค คุณน่าจะจำไดว่า เรากำลังพูดถึง
-
ระบบที่จำนวนโมเลกุลเท่ากัน
-
ดังนั้นถ้าเรามีจำนวนโมเลกุลเท่ากัน
-
มันหมายความว่าพื้นที่ใต้เส้นโค้งทั้งสองจะต้องเท่ากัน
-
ดังนั้นถ้ากราฟนี้แคบกว่า มันก็เลยจะสูงกว่า
-
และถ้าผมสามารถ
-
เพิ่มอุณหภูมิของระบบนี้ให้สูงขึ้นอีก
-
สมมุติว่าผมสร้างระบบที่สาม
-
หรือผมให้ความร้อนระบบนี้จนถึง 400 เคลวิน
-
การแจกแจงของระบบนั้น
-
น่าจะเป็นแบบนี้
-
ถ้าผมให้ความร้อนต่อระบบ
-
ถ้าผมให้ความร้อนต่อระบบ
-
และนี่คือทั้งหมดเกี่ยวกับการแจกแจงแมกซ์เวลล์-โบลต์ซมานน์
-
ผมจะไม่พูดถึงสมการซับซ้อนของมัน
-
แต่จะพูดถึงแค่แนวคิดของมัน
-
เป็นแนวคิดที่ประณีต
-
และจริงๆ แล้วหากคุณคิดถึงเกี่ยวกับ
-
อัตราเร็วของอนุภาคเหล่านี้ แม้กระทั่งอากาศรอบตัวคุณ
-
คุณคงคิดว่า "มันก็ดูอยู่นิ่งนี่นา"
-
แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือ อากาศรอบตัวคุณ
ซึ่งประกอบด้วยไนโตรเจนเป็นส่วนใหญ่
-
อัตราเร็วที่มีจำนวนโมเลกุลสูงสุด
-
หากคุณสุ่มเลือกโมเลกุล
-
ไนโตรเจนรอบตัวคุณมาหนึ่งโมเลกุล
-
อัตราเร็วที่มีจำนวนโมเลกุลสูงสุด
-
ผมจะเขียนมันลงไป
-
เพราะมันอาจทำให้ตะลึง
-
อัตราเร็วที่มีจำนวนโมเลกุลสูงสุด ที่อุณหภูมิห้อง
-
อัตราเร็วที่มีจำนวนโมเลกุลสูงสุด
-
ของแก๊สไนโตรเจนที่อุณหภูมิห้อง
-
อุณหภูมิห้อง
-
หากเราให้มันมีการแจกแจงแมกซ์เวลล์-โบลต์ซมานน์
-
การแจกแจงของไนโตรเจนที่อุณหภูมิห้อง
-
เราสมมุติให้
-
อุณหภูมิห้องคือ 300 เคลวิน
-
อัตราเร็วที่มีจำนวนโมเลกุลสูงสุดตรงนี้
-
คือจุดที่เรามีจำนวนโมเลกุลมากที่สุด
-
จุดที่มีจำนวนโมเลกุลมากที่สุด
-
ที่มีอัตราเร็วนี้
-
จริงๆ แล้วลองเดาดูว่าจะเป็นยังไง
-
เพราะมันอาจจะเหลือเชื่อ
-
จริงๆ แล้วมันมีค่าประมาณ
-
400 และที่ 300 เคลวิน
-
จะมีค่าประมาณ 422 เมตรต่อวินาที
-
422 เมตรต่อวินาที
-
ลองคิดว่ามีวัตถุเคลื่อนด้วยความเร็ว 422 เมตรต่อวินาที
-
และถ้าแปลงเป็นไมล์ต่อชั่วโมง
-
ก็คือ 944
-
ไมล์ต่อชั่วโมง
-
ดังนั้น ตอนนี้
-
รอบตัวคุณจะมี
-
จำนวนโมเลกุลมากที่สุด
-
ของแก๊สไนโตรเจนรอบตัวคุณ
-
ที่เคลื่อนด้วยอัตราเร็วนี้
-
และมันกำลังชนกระแทกคุณ
-
นี่คือสิ่งที่ทำให้เกิดความดันอากาศ
-
และไม่ได้มีแค่อัตราเร็วนี้เพียงค่าเดียว
-
มันยังมีแก๊สที่เคลื่อนได้เร็วกว่านี้
-
เร็วกว่า 422 เมตรต่อวินาที
-
เร็วไปอีก
-
มันมีอนุภาครอบตัวคุณเคลื่อนที่เร็วกว่า
-
พันไมล์ต่อชั่วโมง
-
และมันกำลังชนกระแทกคุณในขณะทีเรากำลังคุยกันอยู่
-
และคุณอาจสงสัยว่า "อ้าว แล้วทำไมเราไม่เจ็บล่ะ"
-
โอเค นี่ทำให้คุณมีความรู้สึกว่ามวลของ
-
แก๊สไนโตรเจนเล็กขนาดไหน
-
ที่ทำให้มันชนคุณหนึ่งพันไมล์ต่อชั่วโมง
-
แล้วคุณไม่รู้สึกเลย
-
มันแค่รู้สึกเหมือนความดันอากาศปกติ
-
นอกจากนี้หากคุณดูที่ตัวเลข
-
422 เมตรต่อวินาที
-
นั่นเร็วกว่าความเร็วเสียงอีก
-
ความเร็วเสียงมีค่าประมาณ 340 เมตรต่อวินาที
-
มันเป็นไปได้อย่างไร
-
ลองคิดดู
-
เสียงถูกส่งผ่านอากาศ
-
ผ่านการชนกับอนุภาค
-
ดังนั้นอนุภาคจะต้องเคลื่อนที่
-
หรืออย่างน้อยบางส่วนจะต้องเคลื่อนที่
-
เร็วกว่าความเร็วเสียง
-
ดังนั้น ไม่ใช่ทั้งหมด
-
ที่เคลื่อนที่เร็วขนาดนี้ และพวกมัน
-
เคลื่อนในทิศทางที่ต่างกัน
-
บางส่วนอาจไม่เคลื่อนเลย
-
แต่บางส่วนจะเคลื่อนเร็วอย่างยิ่ง
-
ผมก็ไม่รู้เหมือนกัน มันเหลือเชื่ออยู่นะ