< Return to Video

ทำไมฉันจึงสร้างหุ่นยนต์ขนาดเท่าเมล็ดข้าว

  • 0:01 - 0:04
    ฉันและนักเรียนของฉัน
    ทำงานเกี่ยวกับหุ่นยนต์ตัวเล็กๆ
  • 0:04 - 0:06
    ตอนนี้คุณอาจคิดถึงสิ่งนี้ว่า
    มันเป็นอะไรบางอย่างที่คุณคุ้นเคย
  • 0:06 - 0:10
    ในรูปแบบของหุ่นยนต์
    เช่น มด
  • 0:10 - 0:13
    พวกเราทุกคนรู้ว่ามด
    และแมลงอื่นๆ ที่มีขนาดใกล้เคียงกัน
  • 0:13 - 0:15
    สามารถทำสิ่งที่น่าทึ่งได้
  • 0:15 - 0:18
    เราทุกคนได้เห็นกลุ่มมด
    หรืออะไรพวกนั้น
  • 0:18 - 0:22
    เข็นมันฝรั่งทอดของคุณตอนไปปิ๊กนิ๊ก
    เป็นต้น
  • 0:22 - 0:26
    แต่อะไรที่เป็นความท้าทายที่แท้จริง
    ของการวิศวกรรมมดเหล่านี้
  • 0:26 - 0:30
    อย่างแรกเลย
    เราจะเอาความสามารถของมด
  • 0:30 - 0:32
    ใส่เข้าไปในหุ่นยนต์ขนาดเท่าๆ กับมันได้อย่างไร
  • 0:32 - 0:35
    เอาล่ะ ก่อนอื่น เราต้องหาทางให้ได้ก่อนว่า
    จะทำให้พวกมันเคลื่อนที่อย่างไร
  • 0:35 - 0:36
    เมื่อพวกมันเล็กขนาดนั้น
  • 0:36 - 0:38
    เราต้องการกลไกลเช่นขา
    และการเคลื่อนไหวที่มีประสิทธิภาพ
  • 0:38 - 0:40
    เพื่อที่จะสนับสนุนการขับเคลื่อน
  • 0:40 - 0:43
    และเราต้องการตัวรับ (เซนเซอร์)
    พลังงาน และการควบคุม
  • 0:43 - 0:47
    เพื่อที่จะให้มันทำงานด้วยกัน
    ในหุ่นมดกึ่งอัจฉริยะนี้
  • 0:47 - 0:49
    และสุดท้าย เพื่อสร้างสิ่งเหล่านี้
    ให้ทำงานได้จริงๆ
  • 0:49 - 0:53
    เราต้องการให้พวกมันทำงานด้วยกัน
    เพื่อที่จะทำงานที่ใหญ่กว่า
  • 0:53 - 0:56
    ดังนั้น เราเริ่มจากการเคลื่อนไหว
  • 0:56 - 0:59
    แมลงเคลื่อนไปรอบๆ ได้ค่อนข้างดี
  • 0:59 - 1:01
    วีดีโอนี้
    จากมหาวิทยาลัยเบิร์กลีย์ (UC Berkeley)
  • 1:01 - 1:03
    แสดงการเคลื่อนไหวของแมลงสาป
    บนพื้นที่ตะปุ่มตะปั่ม
  • 1:03 - 1:05
    โดยไม่ล้มได้อย่างน่าทึ่ง
  • 1:05 - 1:09
    และมันสามารถทำสิ่งนี้ได้ เพราะขาของมัน
    เป็นผลรวมจากวัสดุที่แข็งแกร่ง
  • 1:09 - 1:12
    ซึ่งเป็นสิ่งที่เราใช้ในการสร้างหุ่นยนต์อยู่แล้ว
  • 1:12 - 1:13
    และวัสดุอ่อน
  • 1:14 - 1:18
    การกระโดดเป็นอีกอย่างหนึ่งที่น่าสนใจ
    ในการไปไหนมาไหนเมื่อคุณตัวเล็กมาก
  • 1:18 - 1:22
    ดังนั้น แมลงเหล่านี้เก็บพลังงานในรูปของสปริง
    และปลดปล่อยออกมาอย่างรวดเร็ว
  • 1:22 - 1:26
    เพื่อที่จะได้มีพลังงานมากๆ
    ที่จำเป็นต่อการกระโดดขึ้นจากน้ำ เป็นต้น
  • 1:26 - 1:29
    ฉะนั้น หนึ่งในสิ่งที่ห้องทดลองของฉัน
    ได้มีส่วนส่งเสริม
  • 1:29 - 1:32
    ก็คือการรวมวัสดุที่
    แข็งแรงและอ่อนนุ่ม
  • 1:32 - 1:34
    ในหุ่นยนต์ที่เล็กมากๆ
  • 1:34 - 1:38
    ฉะนั้น หุ่นยนต์ที่กระโดดได้นี้
    มีขนาดเพียงสี่มิลลิเมตรในด้านหนึ่ง
  • 1:38 - 1:39
    ฉะนั้นมันจิ๋วมาก
  • 1:39 - 1:43
    วัสดุแข็งในที่นี้คือ ซิลิคอน
    และวัสุดอ่อนคือ ยางซิลิโคน
  • 1:43 - 1:46
    และความคิดหลักก็คือ
    เรากำลังจะอัดสิ่งนี้
  • 1:46 - 1:49
    เก็บพลังงานในสปริง
    และปล่อยมันให้กระโดด
  • 1:49 - 1:52
    ดังนั้น มันไม่มีการติดตั้งมอเตอร์ตอนนี้
    ไม่มีพลังงาน
  • 1:52 - 1:55
    มันขับเคลื่อนด้วยวิธีการ
    ที่เราเรียกกันในห้องทดลอง
  • 1:55 - 1:57
    "นักเรียนวิทยาลัยกับแหนบ"
    (เสียงหัวเราะ)
  • 1:57 - 1:59
    ดังนั้นสิ่งที่คุณจะได้เห็นในวีดีโอ
  • 1:59 - 2:02
    ก็คือสิ่งนี้ที่กำลังกระโดด
    ได้อย่างน่าทึ่ง
  • 2:02 - 2:06
    นี่คืออารอน นักเรียนวิทยาลัยต้องสงสัย
    กับแหนบ
  • 2:06 - 2:09
    และที่คุณได้เห็นคือหุ่นยนต์สี่มิลลิเมตร
  • 2:09 - 2:11
    กระโดดสูงเกือบ 40 เซนติเมตร
  • 2:11 - 2:13
    มันมากกว่า 100 เท่าของความยาวของมัน
  • 2:13 - 2:15
    และมันยังคงปลอดภัย
    กระโดดไปมาอยู่บนโต๊ะ
  • 2:15 - 2:19
    มันแข็งแรงมาก และแน่นอน
    มันปลอดภัยดี จนกระทั่งเราทำมันหาย
  • 2:19 - 2:21
    เพราะมันเล็กมากๆ
  • 2:21 - 2:24
    อย่างไรก็ดี ที่สุดแล้ว
    เราต้องการเพิ่มมอเตอร์เข้าไปด้วย
  • 2:24 - 2:27
    เรามีนักเรียนในห้องทดลอง
    ทำงานกับหุ่นยนต์ขนาดไม่กี่มิลลิเมตรนี้
  • 2:27 - 2:31
    และในที่สุด ก็ได้ประกอบมันเป็น
    หุ่นยนต์อัตโนมัติขนาดเล็ก
  • 2:31 - 2:34
    แต่เพื่อที่จะพิจารณาในเรื่อง
    การเคลื่อนที่และเคลื่อนไหวของสิ่งที่มีขนาดเท่านั้น
  • 2:34 - 2:36
    เราโกง และใช้แม่เหล็ก
  • 2:36 - 2:39
    ดังนั้น สิ่งนี้แสดงว่าอะไรสุดท้ายแล้วเป็นส่วนหนึ่ง
    ของขาหุ่นยนต์ตัวเล็กจิ๋ว
  • 2:39 - 2:41
    และคุณก็จะเห็นข้อต่อยางซิลิคอน
  • 2:41 - 2:44
    และมันก็มีแม่เหล็กที่ฝังอยู่
    ที่ถูกเคลื่อนไปรอบๆ
  • 2:44 - 2:46
    โดยสนามแม่เหล็กจากภายนอก
  • 2:46 - 2:49
    ดังนั้น สิ่งนี้นำไปสู่หุ่นยนต์
    ที่ฉันแสดงให้ดูก่อนหน้านี้
  • 2:50 - 2:53
    สิ่งที่น่าสนใจจริงๆ
    ก็คือหุ่นยนต์สามารถช่วยให้เรารู้ว่า
  • 2:53 - 2:55
    แมลงเคลื่อนไหวในขนาดเล็กๆ นั้นได้อย่างไร
  • 2:55 - 2:57
    เรามีตัวอย่างที่ดีว่าทุกๆ อย่าง
  • 2:57 - 2:59
    ตั้งแต่แมลงสาบจนถึงช้าง
    ว่าพวกมันเคลื่อนที่อย่างไร
  • 2:59 - 3:02
    เราทุกคนเคลื่อนไหว
    ในลักษณะคล้ายๆ กับการกระโดดเวลาเราวิ่ง
  • 3:02 - 3:07
    แต่เมื่อฉันตัวเล็ก
    แรงระหว่างขากับพื้น
  • 3:07 - 3:09
    จะส่งผลต่อการเคลื่อนไหว
    มากกว่ามวลของฉัน
  • 3:09 - 3:12
    ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดการเคลื่อนที่แบบกระโดด
  • 3:12 - 3:13
    ดังนั้นสิ่งนี้ยังทำงานได้ไม่ค่อยดีนัก
  • 3:13 - 3:16
    แต่เรามีรุ่นใหญ่กว่าที่สามารถวิ่งไปมาได้
  • 3:16 - 3:20
    สิ่งนี้มันมีขนาดหนึ่งลูกบาศก์เซนติเมตรทางด้านข้าง
    มันเล็กมากๆ เลย
  • 3:20 - 3:23
    และเราให้มันวิ่งเร็วประมาณ
    10 เท่าของความยาวตัวมันต่อวินาที
  • 3:23 - 3:25
    ดังนั้น 10 เซนติเมตรต่อวินาที
  • 3:25 - 3:27
    มันค่อนข้างเร็วสำหรับเจ้าตัวเล็กนี่
  • 3:27 - 3:29
    และมันถูกจำกัดด้วยแบบทดลองของเราด้วย
  • 3:29 - 3:32
    แต่มันบอกแนวให้คุณว่ามันทำงานอย่างไร
  • 3:32 - 3:36
    เราทำรูปแบบที่เป็นแบบพิมพ์สามมิติ
    ของสิ่งนี้ที่เดินข้ามสิ่งกีดขวางได้
  • 3:36 - 3:39
    เหมือนกับแมลงสาบที่คุณเห็นก่อนหน้านี้
  • 3:39 - 3:42
    แต่ที่สุดแล้ว เราต้องการเติมทุกอย่างในหุ่นยนต์ลงไป
  • 3:42 - 3:46
    เราต้องการการตรวจจับ พลังงาน การควบคุม
    การกระตุ้น ทั้งหมดด้วยกันนี้
  • 3:46 - 3:49
    และไม่ใช่ทุกอย่างที่ต้องเป็น
    อะไรที่ได้แรงบันดาลใจจากธรรมชาติ
  • 3:49 - 3:52
    ดังนั้น หุ่นยนต์นี้มีขนาดเท่ากับทิก แท๊ก
    (ลูกอม)
  • 3:52 - 3:56
    และในที่นี้ แทนที่จะเป็นแม่เหล็กหรือกล้ามเนื้อ
    ที่เคลื่อนไปมา
  • 3:56 - 3:58
    เราใช้จรวด
  • 3:58 - 4:01
    ดังนั้นนี่คือวัสดุขนาดเล็ก
    ที่สอดผสานด้วยกัน
  • 4:01 - 4:04
    และเราสามารถสร้างพิกเซลเล็กๆ
  • 4:04 - 4:07
    และเราสามารถนำมันปะไว้ที่พุงของหุ่นยนต์
  • 4:07 - 4:12
    และหุ่นยนต์นี้ก็จะกระโดด
    เมื่อมันสัมผัสแสงที่เพิ่มขึ้น
  • 4:13 - 4:15
    วีดีโอถัดไปเป็นวีดีโอโปรดของฉัน
  • 4:15 - 4:18
    คุณมีหุ่น 300 มิลลิกรัม
  • 4:18 - 4:20
    กระโดดประมาณแปดเซนติเมตร
    ขึ้นไปในอากาศ
  • 4:20 - 4:23
    มันมีขนาดเพียงสี่คูณสี่มิลลิเมตร
  • 4:23 - 4:25
    และคุณจะเห็นแสงกระพริบในตอนต้น
  • 4:25 - 4:27
    เมื่อเครื่องยนต์ติดขึ้น
  • 4:27 - 4:29
    และหุ่นก็สั่นๆ ผ่านขึ้นไปในอากาศ
  • 4:29 - 4:30
    มันมีแสงกระพริบ
  • 4:30 - 4:33
    และคุณสามารถเห็นหุ่น
    โยนตัวขึ้นไปในอากาศ
  • 4:33 - 4:36
    มันไม่มีโซ่ล่าม
    ไม่มีสายต่อเชื่อม
  • 4:36 - 4:39
    ทุกอย่างอยู่บนนั้น
    และมันเข้าตอบสนอง
  • 4:39 - 4:43
    ต่อนักเรียนที่เปิดโคมไฟข้างๆ มัน
  • 4:43 - 4:47
    ฉันคิดว่าคุณสามารถจินตนาการได้
    ถึงสิ่งเจ๋งๆ ที่เราจะทำได้
  • 4:47 - 4:52
    ด้วยหุ่นเล็กๆ ที่สามารถวิ่งและคลาน
    และกระโดดและหมุน
  • 4:52 - 4:55
    ลองนึกถึงซากปรักหักพัง
    หลังจากเหตุการณ์อย่างแผ่นดินไหว
  • 4:55 - 4:58
    ลองนึกถึงหุ่นยนต์เล็กๆ
    วิ่งผ่านซากเหล่านั้น
  • 4:58 - 5:00
    เพื่อหาผู้รอดชีวิต
  • 5:00 - 5:03
    หรือลองนึกถึงหุ่นเล็กๆ มากมาย
    ที่วิ่งไปรอบๆ สะพาน
  • 5:03 - 5:05
    เพื่อตรวจตราความปลอดภัย
  • 5:05 - 5:07
    เพื่อจะได้ไม่เกิดเหตุการณ์สะพานพังแบบนี้
  • 5:07 - 5:11
    ซึ่งมันเกิดขึ้นนอกมินเนียโพลิสในปี ค.ศ. 2007
  • 5:11 - 5:13
    หรือลองคิดว่า คุณจะทำอะไรได้
  • 5:13 - 5:16
    ถ้าคุณมีหุ่นที่ว่ายเข้าไปในกระแสเลือด
  • 5:16 - 5:18
    อย่างในเรื่องท่องทะเลเลือด (Fantastic Voyage)
    ของไอแซค อาซิมอฟ (Isaac Asimov)
  • 5:18 - 5:22
    หรือพวกมันอาจผ่าตัดคุณ
    โดยไม่ต้องผ่าเปิดตัวคุณแต่แรก
  • 5:22 - 5:25
    หรือพวกเราอาจเปลี่ยนวิธีการสร้างสิ่งต่างๆ
  • 5:25 - 5:28
    ถ้าเรามีหุ่นตัวเล็กๆ ทำงานในแบบที่ปลวกทำ
  • 5:28 - 5:31
    และพวกมันก็สร้างจอมปลวกสูงแปดเมตรอันน่าทึ่ง
  • 5:31 - 5:35
    ที่ระบายอากาศได้ดี
    เป็นที่อยู่ที่ดีสำหรับปลวก
  • 5:35 - 5:37
    ในแอฟริกา และออสเตรเรีย
  • 5:37 - 5:40
    ฉันคิดว่าฉันให้ความคิดกับคุณ
  • 5:40 - 5:42
    ว่าเราน่าจะทำอะไรได้บ้างกับหุ่นเล็กๆ เหล่านี้
  • 5:42 - 5:47
    และเราได้สร้างความก้าวหน้า
    แต่ก็ยังมีอะไรมากมายที่เราต้องทำ
  • 5:47 - 5:49
    และหวังว่า คุณบางคน
    จะสามารถเข้ามาช่วยให้เราไปถึงเป้าหมายนั้น
  • 5:49 - 5:51
    ขอบคุณมากค่ะ
  • 5:51 - 5:53
    (เสียบปรบมือ)
Title:
ทำไมฉันจึงสร้างหุ่นยนต์ขนาดเท่าเมล็ดข้าว
Speaker:
ซาราห์ เบอร์กบรีเทอร์ (Sarah Bergbreiter)
Description:

โดยการศึกษาการเคลื่อนไหวร่างกายของแมลง เช่น มด ซาราห์ เบอร์กบีเทอร์ และคณะ สร้างเจ้าตัวคืบคลานน่ารังเกียจในรูปแบบกลไก ขนาดจิ๋ว สุดแข็งแกร่งนี้... และจากนั้นพวกเขาก็ใส่จรวดลงไปซะด้วย ชมการพัฒนาหุ่นยนต์จิ๋วของพวกเขาที่จะต้องทำให้คุณตาค้าง และฟังเกี่ยวกับสามวิธีที่เราอาจใช้ผู้ช่วยตัวจ้อยเหล่านี้ในอนาคต

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
06:06
Kelwalin Dhanasarnsombut approved Thai subtitles for Why I make robots the size of a grain of rice
Pattapon Kasemtanakul accepted Thai subtitles for Why I make robots the size of a grain of rice
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Why I make robots the size of a grain of rice
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Why I make robots the size of a grain of rice
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Why I make robots the size of a grain of rice
Pattapon Kasemtanakul edited Thai subtitles for Why I make robots the size of a grain of rice
Pattapon Kasemtanakul edited Thai subtitles for Why I make robots the size of a grain of rice
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Why I make robots the size of a grain of rice
Show all

Thai subtitles

Revisions