ร่างกายของเรานำยาไปใช้ได้อย่างไร - เซลีน วาเลรี (Céline Valéry)
-
0:07 - 0:10คุณเคยสงสัยไหมว่าเกิดอะไรขึ้น
กับยาแก้ปวดอย่าง ไอบูโพรเฟน -
0:10 - 0:12หลังจากที่คุณกลืนมันลงไป
-
0:12 - 0:15ยาที่ไหลผ่านคอของคุณลงไป
ช่วยบำบัดอาการปวดหัว -
0:15 - 0:16ปวดหลัง
-
0:16 - 0:18หรืออาการปวดเคล็ดขัดยอกที่ข้อเท้าได้
-
0:18 - 0:21แต่มันไปยังที่เหล่านั้นได้อย่างไร
-
0:21 - 0:25คำตอบก็คือ มันขอติดตามไปกับ
ระบบไหลเวียนโลหิตของคุณ -
0:25 - 0:27ที่หมุนเวียนไปทั่วร่างกาย
เพื่อทำตามหน้าที่ของมัน -
0:27 - 0:31ก่อนที่มันจะถูกจับเอาไว้โดยอวัยวะ
และโมเลกุลที่ถูกออกแบบมา -
0:31 - 0:34เพื่อทำให้สารแปลกปลอมเป็นกลาง
และถูกกำจัดออกไปได้ -
0:34 - 0:37กระบวนการนี้เริ่มขึ้นในระบบย่อยอาหารของคุณ
-
0:37 - 0:41สมมติว่าคุณกลืนเม็ดยาไอบูโพรเฟนลงไป
เพื่อแก้ปวดข้อ -
0:41 - 0:44ภายในไม่กี่นาที เม็ดยาก็เริ่มที่จะละลาย
ในของไหลที่เป็นกรด -
0:44 - 0:46ที่อยู่ในกระเพาะของคุณ
-
0:46 - 0:49ไอบูโพรเฟนที่ละลายแล้ว
จะเดินทางไปยังลำไส้เล็ก -
0:49 - 0:53และจากนั้นก็จะเดินทางผ่านผนังลำไส้
เข้าสู่ระบบเส้นเลือด -
0:53 - 0:56เส้นเลือดเหล่านี้ต่อไปยังเส้นเลือดดำ
-
0:56 - 1:00ซึ่งนำส่งเลือดและอะไรก็ตามในนั้นไปยังตับ
-
1:00 - 1:03ขั้นต่อไปคือการทำให้มันผ่านตับ
-
1:03 - 1:08เมื่อเลือดและโมเลกุลของยา
เดินทางผ่านหลอดเลือดของตับ -
1:08 - 1:11เอนไซม์ต่าง ๆ พยายามที่จะเข้าไปหา
โมเลกุลของไอบูโพรเฟน -
1:11 - 1:13เพื่อทำให้มันเป็นกลาง
-
1:13 - 1:17โมเลกุลของไอบูโพรเฟนที่ได้รับความเสียหาย
ที่เรียกว่า เมตาบอไลท์ -
1:17 - 1:20ไม่อาจทำหน้าที่เป็นยาแก้ปวดได้อีกต่อไป
-
1:20 - 1:24ณ สถานะนี้ ไอบูโพรเฟนส่วนใหญ่
จะผ่านตับออกไปโดยไม่ได้รับความเสียหาย -
1:24 - 1:27มันเดินทางออกจากตับ
-
1:27 - 1:28ผ่านเส้นเลือดดำ
-
1:28 - 1:30เข้าสู่ระบบการไหลเวียนโลหิตของร่างกาย
-
1:30 - 1:32ครึ่งชั่วโมงหลังจากที่คุณกลืนยาลงไป
-
1:32 - 1:37โดสบางส่วนก็ได้ไปถึงระบบไหลเวียนโลหิต
-
1:37 - 1:40เลือดที่เดินทางเป็นวงจรนี้
เดินทางไปยังทุกระยางค์และอวัยวะ -
1:40 - 1:45รวมถึง หัวใจ สมอง ไต
และกลับมายังตับอีกครั้ง -
1:45 - 1:47เมื่อโมเลกุลของไอบูโพรเฟนพบกับตำแหน่ง
-
1:47 - 1:50ที่ความเจ็บปวดของร่างกาย
ตอบสนองถึงขีดสุด -
1:50 - 1:55พวกมันจับกับโมเลกุลเป้าหมายจำเพาะ
ที่เป็นส่วนหนึ่งของปฏิกิริยานั้น -
1:55 - 1:58ยาแก้ปวดอย่างไอบูโพรเฟน
ขัดขวางการผลิตสารประกอบ -
1:58 - 2:01ที่ช่วยให้ร่างกายส่งผ่านสัญญาณความเจ็บปวด
-
2:01 - 2:03เมื่อโมเลกุลยาเข้ามาสะสมมากขึ้น
-
2:03 - 2:05ผลที่ต้านความเจ็บปวดก็เพิ่มขึ้น
-
2:05 - 2:09จนถึงขึดสุดภายในหนึ่งถึงสองชั่วโมง
-
2:09 - 2:12จากนั้น ร่างกายก็เริ่มกำจัดไอบูโพรเฟน
อย่างมีประสิทธิภาพ -
2:12 - 2:16โดยโดสในเลือดจะลดลงโดยเฉลี่ยคิดเป็น
ครึ่งหนึ่งในทุก ๆ สองชั่วโมง -
2:16 - 2:19เมื่อโมเลกุลไอบูโพรเฟนพบกับเป้าหมายของมัน
-
2:19 - 2:23การหมุนเวียนของเลือดที่เป็นระบบ
จะนำมันออกไป -
2:23 - 2:26กลับมายังตับ ส่วนเล็ก ๆ อีกส่วนหนึ่ง
ของปริมาณทั้งหมดของยา -
2:26 - 2:29ถูกเปลี่ยนไปเป็นเมตาบอไลท์
-
2:29 - 2:33ซึ่งสุดท้ายแล้วจะถูกกรอง
ออกไปสู่ปัสสาวะโดยไต -
2:33 - 2:36วงจรจากตับสู่ร่างกายสู่ไต
ดำเนินต่อเนื่องกันไป -
2:36 - 2:38ด้วยอัตราประมาณหนึ่งรอบการไหลเวียนโลหิต
ต่อหนึ่งนาที -
2:38 - 2:42ด้วยยาที่ถูกทำให้เป็นกลางทีละน้อย
และที่ถูกกรองออกไปในแต่ละรอบ -
2:42 - 2:46ขั้นตอนที่เรียบง่ายเหล่านี้ก็เหมือน ๆ กัน
สำหรับยาใด ๆ ก็ตามที่ใช้รับประทาน -
2:46 - 2:47แต่ความเร็วของกระบวนการ
-
2:47 - 2:50และปริมาณตัวยาสำคัญ
ที่เข้าสู่ระบบหมุนเวียนโลหิตของคุณนั้น -
2:50 - 2:52แตกต่างออกไปขึ้นอยู่กับยา
-
2:52 - 2:52ตัวบุคคล
-
2:52 - 2:55และวิถีที่มันเข้าสู่ร่างกาย
-
2:55 - 2:57คำแนะนำเรื่องปริมาณการให้โดส
บนฉลากยาสามารถช่วยได้ -
2:57 - 3:00แต่พวกมันเป็นค่าเฉลี่ยตามกลุ่มตัวอย่าง
-
3:00 - 3:03ที่ไม่ได้เป็นตัวแทนของผู้บริโภคทุกราย
-
3:03 - 3:05และการให้โดสได้อย่างถูกต้องนั้น
ก็เป็นเรื่องสำคัญ -
3:05 - 3:08ถ้าให้น้อยเกินไป
ยานั้นก็อาจไม่ได้ผล -
3:08 - 3:12ถ้าให้มากเกินไป
ยาและเมตาบอไลท์ของมันก็อาจเป็นพิษได้ -
3:12 - 3:14นั่นเป็นข้อเท็จจริงสำหรับยาทุกชนิด
-
3:14 - 3:18กลุ่มผู้ป่วยที่กำหนดปริมาณโดสให้ยากที่สุด
ก็คือเด็ก ๆ -
3:18 - 3:23นั่นเป็นเพราะว่าการตอบสนองต่อยาเปลี่ยนแปลง
ไปอย่างรวดเร็ว เช่นเดียวกับร่างกาย -
3:23 - 3:27ยกตัวอย่างเช่น ระดับของเอนไซม์ในตับ
ที่จำให้ตัวยาสำคัญเป็นกลาง -
3:27 - 3:30เปลี่ยนแปลงขึ้นลง
ระหว่างช่วงที่เป็นทารกและเด็ก -
3:30 - 3:33และนั่นก็เป็นเพียง
หนึ่งในหลาย ๆ ปัจจัยที่ซับซ้อน -
3:33 - 3:33พันธุกรรม
-
3:33 - 3:34อายุ
-
3:34 - 3:35การบริโภคอาหาร
-
3:35 - 3:36โรคภัยไข้เจ็บ
-
3:36 - 3:41และแม้แต่ภาวะตั้งครรภ์
ก็ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการนำยาไปใช้ -
3:41 - 3:46สักวันหนึ่ง การตรวจดีเอ็นเอที่รวดเร็ว
อาจสามารถปรับโดสยาได้อย่างแม่นยำ -
3:46 - 3:50ให้เข้ากับประสิทธิภาพตับ
และปัจจัยอื่น ๆ ของแต่ละบุคคลได้ -
3:50 - 3:51แต่ระหว่างนี้
-
3:51 - 3:52สิ่งที่คุณทำได้ดีที่สุดคือการอ่านฉลากยา
-
3:52 - 3:54หรือปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร
-
3:54 - 3:58และใช้ยาในปริมาณและระยะเวลา
ที่ได้รับคำแนะนำ
- Title:
- ร่างกายของเรานำยาไปใช้ได้อย่างไร - เซลีน วาเลรี (Céline Valéry)
- Speaker:
- Céline Valéry
- Description:
-
ชมบทเรียนเต็มได้ที่: http://ed.ted.com/lessons/how-does-your-body-process-medicine-celine-valery
คุณเคยสงสัยไหมว่าเกิดอะไรขึ้นกับยาแก้ปวดอย่าง ไอบูโพรเฟน หลังจากที่คุณกลืนมันลงไป ยาที่ไหลผ่านคอของคุณลงไปช่วยบำบัดอาการปวดหัว ปวดหลัง หรืออาการปวดข้อที่เคล็ดได้ แต่มันไปยังที่เหล่านั้นได้อย่างไร เซลีน วาเลรี อธิบายว่าร่างกายของเรานำยาไปใช้ได้อย่างไร
บทเรียนโดย Céline Valéry, แอนิเมชันโดย Daniel Gray
- Video Language:
- English
- Team:
- closed TED
- Project:
- TED-Ed
- Duration:
- 04:13
Kelwalin Dhanasarnsombut approved Thai subtitles for How does your body process medicine? | ||
Rawee Ma accepted Thai subtitles for How does your body process medicine? | ||
Rawee Ma declined Thai subtitles for How does your body process medicine? | ||
Rawee Ma edited Thai subtitles for How does your body process medicine? | ||
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for How does your body process medicine? | ||
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for How does your body process medicine? |