คุณเคยสงสัยไหมว่าเกิดอะไรขึ้น
กับยาแก้ปวดอย่าง ไอบูโพรเฟน
หลังจากที่คุณกลืนมันลงไป
ยาที่ไหลผ่านคอของคุณลงไป
ช่วยบำบัดอาการปวดหัว
ปวดหลัง
หรืออาการปวดเคล็ดขัดยอกที่ข้อเท้าได้
แต่มันไปยังที่เหล่านั้นได้อย่างไร
คำตอบก็คือ มันขอติดตามไปกับ
ระบบไหลเวียนโลหิตของคุณ
ที่หมุนเวียนไปทั่วร่างกาย
เพื่อทำตามหน้าที่ของมัน
ก่อนที่มันจะถูกจับเอาไว้โดยอวัยวะ
และโมเลกุลที่ถูกออกแบบมา
เพื่อทำให้สารแปลกปลอมเป็นกลาง
และถูกกำจัดออกไปได้
กระบวนการนี้เริ่มขึ้นในระบบย่อยอาหารของคุณ
สมมติว่าคุณกลืนเม็ดยาไอบูโพรเฟนลงไป
เพื่อแก้ปวดข้อ
ภายในไม่กี่นาที เม็ดยาก็เริ่มที่จะละลาย
ในของไหลที่เป็นกรด
ที่อยู่ในกระเพาะของคุณ
ไอบูโพรเฟนที่ละลายแล้ว
จะเดินทางไปยังลำไส้เล็ก
และจากนั้นก็จะเดินทางผ่านผนังลำไส้
เข้าสู่ระบบเส้นเลือด
เส้นเลือดเหล่านี้ต่อไปยังเส้นเลือดดำ
ซึ่งนำส่งเลือดและอะไรก็ตามในนั้นไปยังตับ
ขั้นต่อไปคือการทำให้มันผ่านตับ
เมื่อเลือดและโมเลกุลของยา
เดินทางผ่านหลอดเลือดของตับ
เอนไซม์ต่าง ๆ พยายามที่จะเข้าไปหา
โมเลกุลของไอบูโพรเฟน
เพื่อทำให้มันเป็นกลาง
โมเลกุลของไอบูโพรเฟนที่ได้รับความเสียหาย
ที่เรียกว่า เมตาบอไลท์
ไม่อาจทำหน้าที่เป็นยาแก้ปวดได้อีกต่อไป
ณ สถานะนี้ ไอบูโพรเฟนส่วนใหญ่
จะผ่านตับออกไปโดยไม่ได้รับความเสียหาย
มันเดินทางออกจากตับ
ผ่านเส้นเลือดดำ
เข้าสู่ระบบการไหลเวียนโลหิตของร่างกาย
ครึ่งชั่วโมงหลังจากที่คุณกลืนยาลงไป
โดสบางส่วนก็ได้ไปถึงระบบไหลเวียนโลหิต
เลือดที่เดินทางเป็นวงจรนี้
เดินทางไปยังทุกระยางค์และอวัยวะ
รวมถึง หัวใจ สมอง ไต
และกลับมายังตับอีกครั้ง
เมื่อโมเลกุลของไอบูโพรเฟนพบกับตำแหน่ง
ที่ความเจ็บปวดของร่างกาย
ตอบสนองถึงขีดสุด
พวกมันจับกับโมเลกุลเป้าหมายจำเพาะ
ที่เป็นส่วนหนึ่งของปฏิกิริยานั้น
ยาแก้ปวดอย่างไอบูโพรเฟน
ขัดขวางการผลิตสารประกอบ
ที่ช่วยให้ร่างกายส่งผ่านสัญญาณความเจ็บปวด
เมื่อโมเลกุลยาเข้ามาสะสมมากขึ้น
ผลที่ต้านความเจ็บปวดก็เพิ่มขึ้น
จนถึงขึดสุดภายในหนึ่งถึงสองชั่วโมง
จากนั้น ร่างกายก็เริ่มกำจัดไอบูโพรเฟน
อย่างมีประสิทธิภาพ
โดยโดสในเลือดจะลดลงโดยเฉลี่ยคิดเป็น
ครึ่งหนึ่งในทุก ๆ สองชั่วโมง
เมื่อโมเลกุลไอบูโพรเฟนพบกับเป้าหมายของมัน
การหมุนเวียนของเลือดที่เป็นระบบ
จะนำมันออกไป
กลับมายังตับ ส่วนเล็ก ๆ อีกส่วนหนึ่ง
ของปริมาณทั้งหมดของยา
ถูกเปลี่ยนไปเป็นเมตาบอไลท์
ซึ่งสุดท้ายแล้วจะถูกกรอง
ออกไปสู่ปัสสาวะโดยไต
วงจรจากตับสู่ร่างกายสู่ไต
ดำเนินต่อเนื่องกันไป
ด้วยอัตราประมาณหนึ่งรอบการไหลเวียนโลหิต
ต่อหนึ่งนาที
ด้วยยาที่ถูกทำให้เป็นกลางทีละน้อย
และที่ถูกกรองออกไปในแต่ละรอบ
ขั้นตอนที่เรียบง่ายเหล่านี้ก็เหมือน ๆ กัน
สำหรับยาใด ๆ ก็ตามที่ใช้รับประทาน
แต่ความเร็วของกระบวนการ
และปริมาณตัวยาสำคัญ
ที่เข้าสู่ระบบหมุนเวียนโลหิตของคุณนั้น
แตกต่างออกไปขึ้นอยู่กับยา
ตัวบุคคล
และวิถีที่มันเข้าสู่ร่างกาย
คำแนะนำเรื่องปริมาณการให้โดส
บนฉลากยาสามารถช่วยได้
แต่พวกมันเป็นค่าเฉลี่ยตามกลุ่มตัวอย่าง
ที่ไม่ได้เป็นตัวแทนของผู้บริโภคทุกราย
และการให้โดสได้อย่างถูกต้องนั้น
ก็เป็นเรื่องสำคัญ
ถ้าให้น้อยเกินไป
ยานั้นก็อาจไม่ได้ผล
ถ้าให้มากเกินไป
ยาและเมตาบอไลท์ของมันก็อาจเป็นพิษได้
นั่นเป็นข้อเท็จจริงสำหรับยาทุกชนิด
กลุ่มผู้ป่วยที่กำหนดปริมาณโดสให้ยากที่สุด
ก็คือเด็ก ๆ
นั่นเป็นเพราะว่าการตอบสนองต่อยาเปลี่ยนแปลง
ไปอย่างรวดเร็ว เช่นเดียวกับร่างกาย
ยกตัวอย่างเช่น ระดับของเอนไซม์ในตับ
ที่จำให้ตัวยาสำคัญเป็นกลาง
เปลี่ยนแปลงขึ้นลง
ระหว่างช่วงที่เป็นทารกและเด็ก
และนั่นก็เป็นเพียง
หนึ่งในหลาย ๆ ปัจจัยที่ซับซ้อน
พันธุกรรม
อายุ
การบริโภคอาหาร
โรคภัยไข้เจ็บ
และแม้แต่ภาวะตั้งครรภ์
ก็ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการนำยาไปใช้
สักวันหนึ่ง การตรวจดีเอ็นเอที่รวดเร็ว
อาจสามารถปรับโดสยาได้อย่างแม่นยำ
ให้เข้ากับประสิทธิภาพตับ
และปัจจัยอื่น ๆ ของแต่ละบุคคลได้
แต่ระหว่างนี้
สิ่งที่คุณทำได้ดีที่สุดคือการอ่านฉลากยา
หรือปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร
และใช้ยาในปริมาณและระยะเวลา
ที่ได้รับคำแนะนำ