< Return to Video

สำเหนียกเสียงแห่งโลกธรรมชาติ

  • 0:02 - 0:08
    (เสียงธรรมชาติ)
  • 0:08 - 0:11
    เมื่อผมทำการบันทึกพื้นเสียง (soundscape)
    จากป่าเป็นครั้งแรก
  • 0:11 - 0:12
    เมื่อ 45 ปีก่อน
  • 0:12 - 0:15
    ผมไม่ทราบเลยว่า มด
  • 0:15 - 0:18
    ตัวอ่อนของแมลง ดอกไม้ทะเล และไวรัส
  • 0:18 - 0:20
    สร้างเสียงที่เป็นเอกลักษณ์ได้
  • 0:20 - 0:22
    แต่พวกมันทำได้
  • 0:22 - 0:25
    และสิ่งมีชีวิตอื่นๆในป่าที่อาศัยอยู่บนโลกนี้ก็ทำได้เช่นกัน
  • 0:25 - 0:29
    ดั่งเช่นเสียงจากป่าฝนแอมะซอนที่คุณได้ยินอยู่ข้างหลังผมนี้
  • 0:29 - 0:32
    ที่จริงแล้ว ป่าฝนในเขตอบอุ่นและเขตร้อน
  • 0:32 - 0:35
    แต่ละชนิดของป่านั้น
    ขับประสานเสียงของบรรดาสรรพสัตว์
  • 0:35 - 0:39
    ที่แสดงถึงสถานภาพ ณ เวลาหนึ่ง และการจัดตัว
  • 0:39 - 0:43
    ของแมลง สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ นก
    และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
  • 0:43 - 0:46
    และทุกๆพื้นเสียงที่ขับออกมาจากป่านั้น
  • 0:46 - 0:50
    ได้สร้างเอกลักษณ์เฉพาะตัวของมันเอง
  • 0:50 - 0:53
    ซึ่งประกอบได้ด้วยข้อมูลปริมาณมหาศาล
  • 0:53 - 0:57
    และนี่ก็เป็นข้อมูลบางส่วน
    ที่ผมอยากจะนำมาแบ่งปันกับพวกคุณในวันนี้
  • 0:57 - 1:00
    พื้นเสียงนั้นประกอบขึ้นจากสามแหล่งสำคัญ
  • 1:00 - 1:03
    ประการแรกคือ เสียงจากแหล่งกายภาพ (genophony)
  • 1:03 - 1:05
    หรือ เรียกได้ว่าเป็นเสียงจากสิ่งที่ไม่ได้เป็นชีวภาพ
  • 1:05 - 1:07
    ที่เกิดในทุกๆแห่งอาศัย
  • 1:07 - 1:10
    เช่นเสียงลมในต้นไม้ น้ำในลำธาร
  • 1:10 - 1:13
    คลื่น ณ ชายฝั่งของมหาสมุทร การเคลื่อนไหวของโลก
  • 1:13 - 1:17
    แหล่งที่สองคือ เสียงจากแหล่งชีวภาพ (biophony)
  • 1:17 - 1:20
    เสียงจากแหล่งชีวภาพคือทุกๆเสียง
  • 1:20 - 1:23
    ที่สร้างมาจากสิ่งมีชีวิตในที่อยู่อาศัยนั้น
  • 1:23 - 1:27
    ณ เวลาหนึ่ง และ ณ สถานที่หนึ่ง
  • 1:27 - 1:31
    และแหล่งที่สามก็คือ เสียงที่สร้างขึ้นโดยมนุษย์เรา
  • 1:31 - 1:33
    ซึ่งเรียกได้ว่า เสียงจากมนุษย์ (anthrophony)
  • 1:33 - 1:36
    บางเสียงนั้นได้รับการควบคุม เช่นเสียงดนตรี หรือละคร
  • 1:36 - 1:40
    แต่ส่วนใหญ่แล้วมักจะเป็นเสียงความโกลาหล
    และเสียงที่ไม่ประสานกัน
  • 1:40 - 1:44
    ซึ่งเราบางคนเรียกมันว่า เสียงรบกวน
  • 1:44 - 1:47
    ผมเคยคิดว่า พื้นเสียงจากป่านั้น
  • 1:47 - 1:48
    ปราศจากสิ่งก่อกวนใดๆ
  • 1:48 - 1:52
    พวกมันมีอยู่ตรงนั้นนั่นแหละ แต่พวกมันไม่ได้เด่นชัดอะไร
  • 1:52 - 1:56
    เอาล่ะ ผมผิดไปครับ
    สิ่งที่ผมได้เรียนรู้จากการการทำงานนี้ก็คือ
  • 1:56 - 2:01
    การฟังอย่างระมัดระวังตั้งใจนั้น
    ได้มอบเครื่องมืออันมีค่าอัศจรรย์ยิ่งกับเรา
  • 2:01 - 2:03
    ในการใช้มันประเมินความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งที่อาศัย
  • 2:03 - 2:07
    ได้ทั่วทั้งความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต
  • 2:07 - 2:10
    เมื่อผมทำการบันทึกในปลายยุค 60
  • 2:10 - 2:13
    วิธีการในการบันทึกนั้นถูกจำกัด
  • 2:13 - 2:18
    ให้มีลักษณะการแบ่งเป็นส่วนๆ
    ของแต่ละสายพันธ์ุของสิ่งมีชีวิต
  • 2:18 - 2:21
    เช่นส่วนใหญ่ นก ในตอนแรกๆ
  • 2:21 - 2:27
    และต่อมาในสัตว์อื่นๆเช่น
    สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม และสัตว์ครึ่งบอกครึ่งน้ำ
  • 2:27 - 2:30
    สำหรับผม นี่มันเหมือนกับการที่เราพยายามจะเข้าใจ
  • 2:30 - 2:33
    งานประพันธ์ซิมโฟนี่หมายเลข 5 ของบีโทเฟ่น
    ที่สุดแสนอลังการ
  • 2:33 - 2:36
    โดยดึงเอาเสียงของนักไวโอลินคนเดียว
  • 2:36 - 2:39
    ออกมาจากบทประพันธ์ของวงดนตรีทั้งวง
  • 2:39 - 2:42
    และฟังมันแต่เพียงท่อนเดียว
  • 2:42 - 2:45
    โชคดี มีสถาบันต่างๆมากขึ้น
  • 2:45 - 2:47
    จัดตั้งตัวอย่างอุปกรณ์ต่างๆที่สมบูรณ์มากขึ้น
  • 2:47 - 2:49
    ที่ผมและผู้ร่วมงานบางท่านได้รับการแนะนำให้รู้จัก
  • 2:49 - 2:53
    กับสาขาวิชานิเวศวิทยาเชิงพื้นเสียง
    (soundscape ecology)
  • 2:53 - 2:58
    เมื่อผมทำการบันทึกเสียง กว่าสี่ทศวรรษที่แล้ว
  • 2:58 - 3:01
    ผมทำการบันทึกได้เป็น 10 ชั่วโมง
  • 3:01 - 3:03
    เพียงเพื่อได้งานเพียงชั่วโมงเดียวที่มีคุณค่า
  • 3:03 - 3:06
    ดีพอต่อการนำไปใช้สำหรับเป็นอัลบัม
    หรือเสียงสำหรับภาพยนต์
  • 3:06 - 3:09
    หรือเป็นสิ่งจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์
  • 3:09 - 3:12
    ทีนี้ เพราะว่าปรากฎการณ์โลกร้อน
  • 3:12 - 3:13
    การสูญสิ้นไปของทรัพยากร
  • 3:13 - 3:16
    และเสียงรบกวนจากมนุษย์ ซึ่งก็เป็นปัจจัยตัวหนึ่ง
  • 3:16 - 3:19
    มันทำให้ต้องใช้เวลามากถึง 1,000 ชั่วโมงหรือมากกว่านั้น
  • 3:19 - 3:22
    เพื่อเก็บบันทึกในสิ่งเดียวกัน
  • 3:22 - 3:25
    50 เปอร์เซ็นต์เต็มของผลงานที่ได้มาของผม
  • 3:25 - 3:28
    มาจากถิ่นอาศัยที่ถูกเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก
  • 3:28 - 3:31
    จนพวกมัน ถ้าไม่เงียบสงัด
  • 3:31 - 3:36
    ก็ไม่ได้มีเสียงในรูปแบบเดิมที่มันเป็น
  • 3:36 - 3:38
    วิธีปกติในการประเมินถิ่นอาศัย
  • 3:38 - 3:41
    ทำได้โดยนับจำนวนสายพันธ์ุต่างๆ
  • 3:41 - 3:45
    และจำนวนสิ่งมีชีวิตแต่ละสายพันธ์ุในบริเวณหนึ่งๆ
    จากการมอง
  • 3:45 - 3:49
    อย่างไรก็ดี จากการเปรียบเทียบข้อมูลที่เชื่อมโยง
  • 3:49 - 3:52
    ทั้งความหนาแน่นและความหลากหลายจากที่เราได้ยิน
  • 3:52 - 3:57
    ผมสามารถที่จะได้ผลลัพธ์ที่มีความแม่นยำมากกว่า
  • 3:57 - 3:59
    และผมอยากที่จะแสดงให้คุณเห็นตัวอย่างบางส่วน
  • 3:59 - 4:02
    ที่เป็นแบบอย่างความเป็นไปได้ ที่ถูกเผย
  • 4:02 - 4:05
    โดยการกระโจนลงไปยังมิตินี้
  • 4:05 - 4:06
    นี่คือ ทุ่งหญ้า ลินคอน (Lincoln Meadow)
  • 4:06 - 4:08
    มันห่างออกไปประมาณสามชั่วโมงครึ่งโดยทางรถยนต์
  • 4:08 - 4:11
    อยู่ทางตะวันออกของซานฟรานซิสโก
    ในภูเขาเซียร์ร่า เนวาดา (Sierra Nevada)
  • 4:11 - 4:14
    ที่ความสูง 2,000 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล
  • 4:14 - 4:16
    และผมได้บันทึก ณ ที่นั่นเป็นเวลาหลายปี
  • 4:16 - 4:20
    ในปี ค.ศ. 1988 บริษัทรับตัดไม้ ได้โน้มน้าวชาวบ้าน
  • 4:20 - 4:23
    ว่ามันจะไม่เกิดผลกระทบใดๆทั้งสิ้นต่อสิ่งแวดล้อม
  • 4:23 - 4:25
    จากวิธีการใหม่ที่พวกเขาใช้
  • 4:25 - 4:27
    ที่เรียกว่า "การตัดไม้แบบเลือก" (selective logging)
  • 4:27 - 4:28
    ที่ตัดต้นไม้เป็นหย่อมๆกระจายกัน
  • 4:28 - 4:32
    แทนที่จะตัดให้โกร๋นไปทั้งพื้นที่
  • 4:32 - 4:33
    จากการได้รับอนุญาตให้ทำการบันทึก
  • 4:33 - 4:35
    ทั้งก่อนและหลังปฎิบัติการนี้
  • 4:35 - 4:40
    ผมติดตั้งอุปกรณ์ของผม
    และทำการจับเสียงประสานในช่วงใกล้รุ่งเป็นจำนวนมาก
  • 4:40 - 4:43
    ด้วยรูปแบบวิธีที่เข้มงวดและปรับมาตราฐานการบันทึก
  • 4:43 - 4:46
    เพราะว่าผมต้องการตัวฐานอ้างอิงที่ดีจริงๆ
  • 4:46 - 4:48
    นี่เป็นตัวอย่างของแถบคลื่นเสียง (spectrogram)
  • 4:48 - 4:50
    มันเป็นภาพกราฟฟิกของเสียง
  • 4:50 - 4:53
    ที่กำกับด้วยเวลาจากทางซ้ายไปขวา
  • 4:53 - 4:56
    ในกรณีนี้ แสดงความยาว 15 วินาที
  • 4:56 - 4:59
    และความถี่จากด้านล่างถึงด้านบนสุด
  • 4:59 - 5:00
    จากต่ำสุดถึงสูงที่สุด
  • 5:00 - 5:03
    และคุณสามารถเห็นได้ถึงลักษณะเฉพาะของกระแส
  • 5:03 - 5:08
    ที่ได้แสดงที่นี่ใน หนึ่งในสามหรือครึ่งหนึ่งของหน้า
  • 5:08 - 5:11
    ในขณะที่นกที่ครั้งหนึ่งเคยอยู่ในทุ่งหญ้านั้น
  • 5:11 - 5:14
    ถูกแสดงให้เห็นเป็นลักษณะเฉพาะทางด้านบน
  • 5:14 - 5:16
    มีพวกมันอยู่เยอะเลยครับ
  • 5:16 - 5:19
    และนี่เป็นเสียงจากทุ่งหญ้าลินคอน ก่อนที่จะมีการตัดไม้
  • 5:19 - 5:34
    (เสียงธรรมชาติ)
  • 5:34 - 5:35
    เอาล่า อีกปีถัดไป ผมกลับไป
  • 5:35 - 5:37
    และใช้รูปแบบวิธีแดิม
  • 5:37 - 5:40
    และบันทึกในข้อกำหนดเดิม
  • 5:40 - 5:42
    ผมบันทึกตัวอย่างจำนวนมาก
  • 5:42 - 5:44
    ของเสียงประสานเดิมตอนใกล้รุ่ง
  • 5:44 - 5:46
    และทีนี้ นี่เป็นสิ่งที่เราได้
  • 5:46 - 5:48
    นี่เป็นตอนหลังจากเกิดการตัดไม้แบบเลือก
  • 5:48 - 5:50
    คุณเห็นได้ว่ากระแสนั้นยังคงแสดงอยู่ให้เห็น
  • 5:50 - 5:52
    ในส่วนล่าง หนึ่งในสามส่วนของหน้า
  • 5:52 - 5:56
    แต่สังเกตดูว่าอะไรหายไปจากสองในสามส่วนทางด้านบน
  • 5:56 - 6:02
    (เสียงธรรมชาติ)
  • 6:02 - 6:11
    ที่กำลังจะมาคือเสียงของนกหัวขวาน
  • 6:11 - 6:14
    เอาล่ะ ผมได้กลับไปยังทุ่งหญ้าลินคอนถึง 15 ครั้ง
  • 6:14 - 6:15
    ในรอบ 25 ปี
  • 6:15 - 6:19
    และผมสามารถบอกคุณได้ว่าเสียงจากแหล่งชีวภาพ
  • 6:19 - 6:22
    ความหนาแน่นและความหลากหลาย
    ของเสียงจากแหล่งชีวภาพ
  • 6:22 - 6:24
    ยังไม่ได้กลับมาสู่รูปแบบเดิมที่มันเคยเป็น
  • 6:24 - 6:27
    ก่อนที่จะเกิดปฎิบัติการ
  • 6:27 - 6:30
    แต่นี่เป็นภาพของทุ่งหญ้าลินคอน ที่ถ่ายทีหลัง
  • 6:30 - 6:33
    และคุณสามารถเห็นได้ผ่านมุมกล้อง
  • 6:33 - 6:34
    หรือจากทัศนะของมนุษย์
  • 6:34 - 6:37
    ว่าแทบจะไม่มีกิ่งไม้หรือต้นไม้ระเกะระกะเลย
  • 6:37 - 6:40
    ซึ่งยืนยันข้อโต้แย้งของบริษัทที่รับตัดไม้
  • 6:40 - 6:42
    ว่ามันจะไม่เกิดผลกระทบใดๆต่อสิ่งแวดล้อม
  • 6:42 - 6:49
    อย่างไรก็ดี หูของเราบอกเรื่องราวที่ต่างออกไป
  • 6:49 - 6:51
    นักเรียนรุ่นเยาว์ถามผมเสมอๆ
  • 6:51 - 6:52
    ว่าสัตว์เหล่านี้พูดอะไรกัน
  • 6:52 - 6:57
    และอันที่จริง ผมก็ไม่ทราบหรอกครับ
  • 6:57 - 7:02
    แต่ผมสามารถบอกคุณได้ว่า
    พวกมันแสดงออกถึงตัวตนของมัน
  • 7:02 - 7:05
    ส่วนที่ว่าเราจะเข้าใจหรือไม่นั้น เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
  • 7:05 - 7:08
    ผมเดินเลาะไปตามชายฝั่งในอะลาสก้า
  • 7:08 - 7:10
    และผมได้พบกับแอ่งน้ำริมฝั่งนี้
  • 7:10 - 7:13
    ที่เต็มไปด้วยกลุ่มของดอกไม้ทะเล
  • 7:13 - 7:15
    เจ้าเครื่องจักรนักกินที่แสนวิเศษ
  • 7:15 - 7:18
    ที่เป็นญาติกับปะการังและแมงกะพรุน
  • 7:18 - 7:20
    และพอเกิดความสงสัยว่าพวกมันจะทำเสียงอะไรบ้างไหม
  • 7:20 - 7:21
    ผมก็หย่อนไฮโดรโฟน (hydrophone)
  • 7:21 - 7:24
    ซึ่งมันก็คือไมโครโฟนใต้น้ำที่หุ้มด้วยยาง
  • 7:24 - 7:26
    ลงไปยังส่วนปากของมัน
  • 7:26 - 7:27
    และในทันใดนั้น เจ้าสิ่งมีชีวิตนี้
  • 7:27 - 7:30
    ก็เริ่มที่จะดูดไมโครโฟนเข้าไปในท้องของมัน
  • 7:30 - 7:32
    และหนวดทั้งหลายก็เข้าค้นหาส่วนพื้นผิว
  • 7:32 - 7:35
    เพื่อหาอะไรก็ตามที่มีคุณค่าทางอาหาร
  • 7:35 - 7:37
    เสียงแบบนิ่งๆนั้นเบามากๆ
  • 7:37 - 7:39
    และคุณกำลังที่จะได้ยินครับ
  • 7:39 - 7:44
    (เสียงเบาๆ)
  • 7:44 - 7:46
    ครับ แต่เดี๋ยวนะครับ เมื่อมันไม่เจออะไรที่กินได้
  • 7:46 - 7:48
    (เสียงดังปู๊ด)
  • 7:48 - 7:50
    (เสียงหัวเราะ)
  • 7:50 - 7:53
    ผมคิดว่าการแสดงออกนั้นเป็นที่เข้าใจได้
  • 7:53 - 7:54
    ไม่ว่าในภาษาใดๆ
  • 7:54 - 7:59
    (เสียงหัวเราะ)
  • 7:59 - 8:01
    ในช่วงท้ายของวงจรสืบพันธ์ุ
  • 8:01 - 8:03
    คางคกเท้าพลั่ว เกรทเบซิน
    (the Great Basin Spadefoot toad)
  • 8:03 - 8:05
    ขุดหลุมลึกลงไปประมาณหนึ่งเมตร
  • 8:05 - 8:08
    ใต้ดินทะเลทรายที่แน่นแข็งของอเมริกาตะวันตก
  • 8:08 - 8:10
    ซึ่งมันจะสามารถอยู่ได้หลายฤดู
  • 8:10 - 8:14
    จนกว่าปัจจัยต่างๆจะเหมาะสมต่อปรากฎกายของมันอีกครั้ง
  • 8:14 - 8:15
    และเมื่อมีความชื้นในดินเพียงพอ
  • 8:15 - 8:18
    ในฤดูใบไม้ผลิ บรรดากบจะตะกายออกมาบนพื้นผิว
  • 8:18 - 8:23
    และมาชุมนุมกันรอบแอ่งน้ำขนาดใหญ่ที่เกิดขึ้นในฤดูใบไม้ผลิ
  • 8:23 - 8:25
    เป็นจำนวนมาก
  • 8:25 - 8:28
    และพวกมันขับเสียงร้องประสาน
  • 8:28 - 8:31
    ที่เข้ากันกับตัวอื่นๆได้อย่างลงตัว
  • 8:31 - 8:33
    และพวกมันทำเช่นนั้นด้วยเหตุสองประการ
  • 8:33 - 8:36
    อย่างแรกเพื่อการแข่งขัน เพราะพวกมันกำลังมองหาคู่
  • 8:36 - 8:38
    และประการที่สองเพื่อความร่วมมือ
  • 8:38 - 8:40
    เพราะถ้าพวกมันร้องเสียงออกมาประสานกันแล้ว
  • 8:40 - 8:44
    มันจะเป็นอะไรที่ยากสำหรับนักล่าอย่างหมาป่า
  • 8:44 - 8:49
    หมาจิ้งจอก และนกฮูก ที่จะจับแยกพวกมัน มากินเป็นอาหาร
  • 8:49 - 8:52
    นี่เป็นหน้าตาของแถบคลื่นเสียงจากเสียงประสานของกบ
  • 8:52 - 8:54
    เมื่อมันมีรูปแบบที่สมบูรณ์ดีมากๆ
  • 8:54 - 9:04
    (เสียงกบร้อง)
  • 9:04 - 9:08
    ทะเลสาปโมโน (Mono Lake) อยู่ถัดไปทางตะวันออก
    ของอุทยานแห่งชาติโยซาเมติ (Yosemate National Park)
  • 9:08 - 9:10
    ในแคลิฟอเนีย
  • 9:10 - 9:13
    และมันเป็นแหล่งอาศัยอันโปรดปรานของคางคก
  • 9:13 - 9:16
    และมันยังเป็นที่นิยมสำหรับนักบินของทัพเรือสหรัฐฯ
  • 9:16 - 9:19
    ผู้ที่ซ้อมขับเครื่องบินรบที่ความเร็ว
  • 9:19 - 9:21
    เกินกว่า 1,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
  • 9:21 - 9:24
    และอยู่ในระดับความสูง เพียงไม่กี่ร้อยเมตร
  • 9:24 - 9:27
    เหนือระดับพื้นดินของอ่างเก็บน้ำโมโน (Mono Basin)
  • 9:27 - 9:30
    เร็วมาก ต่ำมาก และเสียงดังมากๆ
  • 9:30 - 9:33
    แหล่งเสียงจากมนุษย์นี้
  • 9:33 - 9:35
    แม้ว่ามันจะห่างไป หกกิโลเมตรครึ่ง
  • 9:35 - 9:38
    จากบ่อน้ำที่กบอาศัยอยู่ ที่คุณเพิ่งจะได้ยินไปตะกี้
  • 9:38 - 9:41
    มันกลบเสียงประสานของบรรดาคางคก
  • 9:41 - 9:45
    คุณสามารถเห็นได้จากแถบคลื่นเสียงว่า พลังงานทั้งหมด
  • 9:45 - 9:48
    ที่เคยอยู่ในแถบคลื่นเสียงแรกนั้นหายไป
  • 9:48 - 9:49
    จากส่วนบนของแถบคลื่นเสียง
  • 9:49 - 9:52
    และมันมีช่วงหยุดของเสียงประสาน ตรงวินาทีที่สองครึ่ง
  • 9:52 - 9:54
    สี่ครึ่ง และหกครึ่ง
  • 9:54 - 9:57
    และต่อจากนั้นก็เป็นเสียงของเครื่องบินไอพ่น
    ที่เป็นเอกลักษณ์
  • 9:57 - 10:00
    ซึ่งเป็นสีเหลือและอยู่ในบริเวณส่วนล่างของหน้าจอ
  • 10:00 - 10:10
    (เสียงกบร้อง)
  • 10:10 - 10:12
    ทีนี้ ในตอนท้ายที่เครื่องบินผ่านไป
  • 10:12 - 10:15
    มันใช้เวลา 45 นาทีเต็มๆ
  • 10:15 - 10:18
    กว่ากบจะกลับมาร้องประสานเสียงกันอีกครั้ง
  • 10:18 - 10:21
    ภายใต้พระจันทร์เต็มดวง ระหว่างช่วงเวลานั้น
  • 10:21 - 10:24
    เราเฝ้าจับตา หมาป่าสองตัว และนกฮูก (Horned owl)
  • 10:24 - 10:27
    เข้ามาจับกบไปนิดหน่อย
  • 10:27 - 10:30
    ข่าวดีก็คือว่า จากการฟื้นฟูสภาพแหล่งอาศัย
  • 10:30 - 10:33
    และการบินที่น้อยลง ประชากรของกบ
  • 10:33 - 10:37
    ที่ครั้งหนึ่งลดหายไปใจช่วงยุค 1980 และช่วงแรกของยุค 90
  • 10:37 - 10:40
    ได้กลับมาเกือบจะเป็นปกติดังเดิม
  • 10:40 - 10:43
    ผมอยากที่จะจบด้วยเรื่องที่บอกเล่าโดยบีเวอร์
  • 10:43 - 10:45
    มันเป็นเรื่องที่น่าเศร้ามากครับ
  • 10:45 - 10:48
    แต่มันแสดงให้เห็นภาพจริงๆว่า สรรพสัตว์
  • 10:48 - 10:50
    บางครั้ง สามารถแสดงอารมณ์ได้
  • 10:50 - 10:55
    ซึ่งมันเป็น หัวข้อที่เป็นที่ขัดแย้งอย่างมาก
    ในบรรดานักชีววิทยารุ่นเก่า
  • 10:55 - 10:58
    เพื่อนร่วมงานของผม ตอนนั้นกำลังทำการบันทึก
    อยู่ในตอนกลางค่อนไปทางตะวันตกของสหรัฐอเมริกา
  • 10:58 - 11:01
    ในระแวกแหล่งน้ำที่เกิดขึ้นมา
  • 11:01 - 11:05
    บางทีอาจจะ 16,000 ปีก่อน
    ในช่วงท้ายของยุคน้ำแข็งสุดท้าย
  • 11:05 - 11:07
    อีกส่วนหนึ่ง มันเป็นเช่นนี้ได้เพราะเขื่อนของบีเวอร์
  • 11:07 - 11:10
    ที่ด้านหนึ่ง ซึ่งมันยึดเหนี่ยวระบบนิเวศทั้งหมดเอาไว้ด้วยกัน
  • 11:10 - 11:13
    ในสมดุลที่ช่างเปราะบาง
  • 11:13 - 11:16
    ในบ่ายวันหนึ่ง ระหว่างที่เขากำลังทำการบันทึก
  • 11:16 - 11:20
    ทันใดนั้นเอง เจ้าหน้าที่พิทักษ์สัตว์คู่หนึ่ง
  • 11:20 - 11:23
    ก็ปรากฎตัวออกมาจากไหนก็ไม่รู้
  • 11:23 - 11:24
    และไม่รู้ด้วยเหตุผลกลใด
  • 11:24 - 11:26
    พวกเขาเดินไปบนเขื่อนของบีเวอร์
  • 11:26 - 11:29
    ทิ้งแท่งดินระเบิดลงไป ระเบิดมันทิ้ง
  • 11:29 - 11:33
    ฆ่าบีเวอร์ตัวเมียและลูกเล็กๆของมัน
  • 11:33 - 11:36
    ด้วยความกลัว เพื่อนร่วมงานของผมหยุดอยู่ตรงนั้น
  • 11:36 - 11:38
    เพื่อจะรวบรวมความคิด
  • 11:38 - 11:42
    และทำการบันทึกอะไรก็ตามแต่ที่เขาทำได้
    ทั้งบ่ายวันนั้น
  • 11:42 - 11:46
    และในช่วงเย็นวันนั้น เขาได้บันทึกสถานการณ์ที่พิเศษ
  • 11:46 - 11:51
    บีเบอร์ตัวผู้ที่รอดชีวิตเพียงตัวเดียว ว่ายน้ำเป็นวงกลมช้าๆ
  • 11:51 - 11:56
    ครวญเสียงแสนเศร้า ต่อการสูญเสียคู่และลูกๆของมัน
  • 11:56 - 11:59
    บางที นี่อาจเป็นเสียงที่เศร้าที่สุด
  • 11:59 - 12:02
    ที่ผมเคยได้ฟังไม่ว่าจะมาจากสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์ไหน
  • 12:02 - 12:05
    ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์หรือสิ่งมีชีวิตอื่น
  • 12:07 - 12:22
    (เสียงบีเวอร์ร้อง)
  • 12:22 - 12:24
    ครับ
  • 12:24 - 12:27
    เรื่องของพื้นเสียงนั้น มันมีหลายแง่มุม
  • 12:27 - 12:30
    หนึ่งในนั้นคือ รูปแบบที่สรรพสัตว์สอนเราให้ร้องรำ
  • 12:30 - 12:32
    ซึ่งผมจะขอเก็บไว้เล่าในคราวอื่น
  • 12:32 - 12:35
    แต่ตอนนี้คุณก็ได้รับฟังแล้วว่า เสียงจากแหล่งชีวภาพ
  • 12:35 - 12:39
    ช่วยให้ความกระจ่างต่อความเข้าใจของเรา
    ที่มีต่อโลกธรรมชาติได้อย่างไร
  • 12:39 - 12:42
    คุณได้ยินแล้ว ถึงผลกระทบของการดึงทรัพยากรณ์มาใช้
  • 12:42 - 12:45
    เสียงรบกวนจากมนุษย์ และการทำลายแหล่งอาศัย
  • 12:45 - 12:47
    และในขณะที่วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ตามแบบฉบับแล้ว
  • 12:47 - 12:50
    ได้พยายามทำความเข้าใจโลกของเราผ่านสิ่งที่เราเห็น
  • 12:50 - 12:55
    ความเข้าใจที่สมบูรณ์มากกว่านั้น
    สามารถเข้าถึงได้จากสิ่งที่เราได้ยิน
  • 12:55 - 12:58
    เสียงจากแหล่งชีวภาพและจากแหล่งกายภาพ
    เป็นเสียงของโลกธรรมชาติ
  • 12:58 - 13:00
    ที่เป็นเอกลักษณ์ดุจลายเซ็น
  • 13:00 - 13:02
    และในขณะที่เรารับฟังมัน
  • 13:02 - 13:04
    เราได้รับการประสิทธิ์ประสาทถึงสัมผัสของสถานที่
  • 13:04 - 13:08
    เรื่องราวชีวิตแห่งโลกที่เราอาศัย
  • 13:08 - 13:10
    ในชั่ววินาที
  • 13:10 - 13:13
    การบันทึกพื้นเสียงนั้น เปิดเผยข้อมูลมากมายกว่า
  • 13:13 - 13:14
    จากหลากหลายทัศนมิติ
  • 13:14 - 13:19
    จากข้อมูลเชิงปริมาณ จนถึงแรงบันดาลใจต่อวัฒนธรรม
  • 13:19 - 13:22
    การมองเห็นนั้น โดยนัยแล้วจับกรอบภาพ
  • 13:22 - 13:26
    ทัศนวิศัยส่วนหน้าที่จำกัด ของบริบทเชิงภูมิทัศน์
  • 13:26 - 13:28
    ในขณะที่การบันทึกพื้นเสียงทำให้ขอบเขตนั้นกว้างขึ้น
  • 13:28 - 13:33
    จนเต็มระดับ 360 องศา ครอบคลุมเราอย่างสมบูรณ์
  • 13:33 - 13:37
    และในขณะที่ภาพหนึ่งๆ อาจมีค่าเทียบคำเป็นพัน
  • 13:37 - 13:41
    การบันทึกพื้นเสียงนั้น มีค่าเทียบได้กับภาพเป็นพันภาพ
  • 13:41 - 13:43
    และหูของเราบอกเราว่า
  • 13:43 - 13:47
    เสียงกระซิบของทุกใบไม้และสรรพสัตว์
  • 13:47 - 13:50
    พูดกับแหล่งกำเนิดทางธรรมชาติของชีวิตเรา
  • 13:50 - 13:55
    ซึ่งแน่นอนมันอาจกุมความลับแห่งรักต่อสิ่งทั้งผอง
  • 13:55 - 13:57
    โดยเฉพาะความเห็นมนุษย์ของเรา
  • 13:57 - 14:03
    และสุดท้ายนี้เป็นเสียงของจาร์กัวแห่งป่าแอมะซอน
  • 14:03 - 14:17
    (เสียงคำรามในคอ)
  • 14:17 - 14:19
    ขอบคุณที่รับฟังครับ
  • 14:19 - 14:25
    (เสียงปรบมือ)
Title:
สำเหนียกเสียงแห่งโลกธรรมชาติ
Speaker:
เบอร์นี่ คราอัส (Bernie Krause)
Description:

เบอร์นี่ คราอัส ได้ทำการบันทึกพื้นเสียงจากป่า --ที่ประกอบไปด้วย เสียงลมพัดผ่านต้นไม้ เสียงร้องเซ็งแซ่ของเหล่านก เสียงเบาบางจากตัวอ่อนแมลง-- กว่า 45 ปี ในเวลานั้น เขาได้เห็นสิ่งแวดล้อมมากมายที่ถูกเปลี่ยนไปอย่างสุดขั้วด้วยน้ำมือมนุษย์ บางครั้งแม้กระทั่งกิจกรรมที่คาดคิดว่าปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม
เชิญยลโฉมสิ่งน่าทึ่งที่เราสามารถเรียนรู้ผ่านเสียงประสานแห่งธรรมชาติ จากเสียงร้องครางของดอกไม้ทะเลไปจนถึงเสียงโหยหวนแสนเศร้าจากบีเวอร์

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
14:48
Kelwalin Dhanasarnsombut approved Thai subtitles for The voice of the natural world
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for The voice of the natural world
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for The voice of the natural world
Kelwalin Dhanasarnsombut commented on Thai subtitles for The voice of the natural world
Jennifer accepted Thai subtitles for The voice of the natural world
Jennifer commented on Thai subtitles for The voice of the natural world
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for The voice of the natural world
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for The voice of the natural world
Show all
  • เรื่องสะกดคำนิดหน่อยค่ะ ^^
    3.11 คำว่าทรัพยากร
    4.47 คำว่ากราฟิก (graphic)
    12.58 คำว่าลายเซ็น

  • ขอบคุณมากค่ะ กดส่งหรือยังคะ ถ้ายังฝากแก้ชื่อ เป็นสำเหนียกได้ไหมคะ ตก ห.หีบ ล่ะค่ะ ><
    ถ้าไม่ไ้ดเดี๋ยวแก้ตอบ approve ขอบคุณนะคะ :))))

Thai subtitles

Revisions

  • Revision 10 Edited (legacy editor)
    Kelwalin Dhanasarnsombut