ถึงเวลาเปลี่ยนโลก | ดร.สรยุทธ รัตนพจนารถ | TEDxMahidolU
-
0:16 - 0:20ผมว่าเราสามารถเปลี่ยนแปลงโลกได้
-
0:21 - 0:23ผมเชื่อแบบนั้น
-
0:23 - 0:25และพวกเราล่ะครับ
-
0:25 - 0:27พวกเราเชื่อว่า
เราเปลี่ยนแปลงโลกได้หรือเปล่า -
0:29 - 0:31ผมได้ทุนพสวท.ครับ
-
0:31 - 0:33โครงการพัฒนาและส่งเสริม
-
0:33 - 0:36ผู้มีความสามารถพิเศษ
ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี -
0:37 - 0:40ค้นพบวิทยาศาสตร์ตั้งแต่ตอนนั้นครับ
-
0:40 - 0:41พบความน่าทึ่งของวิทยาศาสตร์
-
0:41 - 0:43แล้วก็คิดว่า
-
0:43 - 0:47"นี่แหละ เดี๋ยวเราจะใช้วิทยาศาสตร์นี่แหละ
ในการเปลี่ยนแปลงโลก" -
0:48 - 0:51ผมเซ็ตแล็บ ทำแล็บฉายรังสี
-
0:51 - 0:54เพาะเชื้อตั้งแต่ม.ปลาย
-
0:54 - 0:59ตอนปี 1 ก็ไปนำเสนอเปเปอร์ที่อังกฤษ
-
1:01 - 1:04ถ้าเข้าใจไม่ผิด จบ 3 ปีครึ่งเป็นคนแรก
ของมหาวิทยาลัยมหิดล -
1:06 - 1:08เสร็จแล้วก็ไปต่อที่เยล (Yale) ครับ
-
1:08 - 1:12ที่ที่เต็มไปด้วยคนที่
อยากจะออกไปเปลี่ยนแปลงโลก -
1:12 - 1:14พอกลับมาเมืองไทย
-
1:14 - 1:19คิดว่าจะเริ่มจากการเปลี่ยนแปลง
ชั้นเรียนของตัวเองก่อน -
1:19 - 1:21ตอนเรียนอยู่ที่เมืองนอก
-
1:21 - 1:23ถ้าลงวิชานึง ก็กะไว้ว่า
เราจะได้อ่านหนังสือ -
1:23 - 1:26ประมาณสักสัปดาห์ละเล่ม
-
1:26 - 1:28หนึ่งเดือนก็ 4 เล่ม
-
1:28 - 1:31กลับมาเมืองไทย เอาละ
เริ่มจากเดือนละเล่มก่อน -
1:31 - 1:34หนึ่งเทอมก็ประมาณสัก 4-5 เล่ม
-
1:35 - 1:37จบเทอมครับ
-
1:38 - 1:41พวกเราคิดว่านักศึกษาอ่านจบสักกี่เล่มครับ
-
1:42 - 1:44หลายคนอาจจะพอเดาออกครับ
-
1:44 - 1:46อ่านไม่จบเลยสักเล่ม
-
1:47 - 1:52ผมก็งงมาก
"เฮ้ย มันเกิดอะไรขึ้นกับชั้นเรียน" -
1:52 - 1:57ค้นไปก็พบว่า
เราไม่ได้รู้จักนักศึกษาสักเท่าไหร่ -
1:57 - 1:59ค้นลึกลงไปอีก
-
1:59 - 2:02พบว่านักศึกษาก็ไม่ได้รู้จักตัวเอง
สักเท่าไหร่เหมือนกัน -
2:03 - 2:05เลยคิดว่า
-
2:05 - 2:10"สงสัยเราจะต้องจัดกระบวนการ
ให้นักศึกษาเค้ารู้จักตัวเองมากขึ้น" -
2:11 - 2:13ก็ทำหลายอย่างครับ
-
2:13 - 2:17แต่ว่า พอจะสรุปได้สัก 3 อย่าง
-
2:18 - 2:21อย่างแรกก็คือฝึกฟังครับ
-
2:21 - 2:26เพราะเชื่อว่าการฟัง
มันเป็นพื้นฐานของการเรียนรู้ -
2:26 - 2:29พื้นฐานของการเข้าใจตนเอง
-
2:29 - 2:32นักศึกษาในชั้นเรียนจะต้องฝึกที่จะฟังด้วยหู
-
2:32 - 2:34ฟังด้วยตา
-
2:34 - 2:36แล้วก็ฟังด้วยใจ
-
2:37 - 2:43เค้าจะต้องฝึกฟังเพื่อนๆ คนอื่น
แล้วก็ฝึกฟังตัวเองด้วย -
2:43 - 2:45อย่างที่ 2 ก็คือ
-
2:45 - 2:49เค้าควรที่จะฝึกที่จะมีเครื่องมือ
ที่จะใช้สะท้อนตนเองครับ -
2:49 - 2:52อาจจะเป็นเจอร์นัลหรือว่าบันทึก
คล้ายๆ กับบันทึกประจำวัน -
2:52 - 2:56ที่เค้าจะต้องเขียนส่งมาทุกสัปดาห์
-
2:56 - 2:59แล้วก้มีกิจกรรมที่เรียกว่า
เช็คอินหรือเช็คเอาท์ -
2:59 - 3:02เป็นกิจกรรมที่ทำให้เค้าได้เช็คสภาวะตนเอง
-
3:02 - 3:05ช่วงก่อนเรียน ระหว่างเรียน แล้วก็หลังเรียน
-
3:06 - 3:11อย่างที่ 3
นักศึกษาจะต้องได้ออกไปทำอะไรบางอย่าง -
3:11 - 3:12ได้ลงมือจริงๆ
-
3:12 - 3:15ทำอะไรบางอย่างที่เชื่อมโยง
ตัวเค้ากับโลกภายนอก -
3:17 - 3:18ผลก็น่าทึ่งครับ
-
3:19 - 3:21ยกตัวอย่างบอส
-
3:21 - 3:26บอสเป็นเด็กหัวดีครับ
-
3:26 - 3:28แต่ว่าอารมณ์ร้อน
-
3:28 - 3:30เป็นเด็กแว้นมาก่อนครับ
-
3:30 - 3:34แล้วเข้ามาเรียนที่คณะวิทยาศาสตร์ก็อกหัก
-
3:35 - 3:38ไม่ได้โดนผู้หญิงหักอกนะครับ
-
3:38 - 3:41แต่ว่าอกหักเพราะว่าเค้ามาเจอว่า
-
3:41 - 3:44วิทยาศาสตร์ที่เค้าเจอ
มันคนละอย่างกัน -
3:44 - 3:49ไม่เหมือนกับวิทยาศาสตร์ที่เค้าคิดอยู่ในใจ
มีภาพเอาไว้ก่อน -
3:50 - 3:54คิดๆ วนไปวนมาว่า
"จะลาออกดีไหม" -
3:54 - 3:58มาร้องไห้แล้วก็มาปรึกษาว่า
จะเรียนต่อดีหรือเปล่า -
3:59 - 4:02พอเค้าได้อยู่ในชั้นเรียนที่ตั้งคำถาม
-
4:02 - 4:04ให้รู้จักตัวเองอย่างแท้จริง
-
4:04 - 4:08ได้รู้จักเชื่อมโยงวิชา กับชีวิต
กับโลกภายนอก -
4:08 - 4:13เค้าก็รู้ว่า เค้าจะเรียนวิทยาศาสตร์
อย่างมีความสุขและมีความหมายอย่างไร -
4:15 - 4:16แต่ก็ไม่ใช่แค่นั้นนะครับ
-
4:16 - 4:20เค้ารู้สึกว่ามันขาดอะไรบางอย่าง
ที่ทำให้ชีวิตของเค้ามันมีพลัง -
4:22 - 4:24พอมาสำรวจตัวเองเยอะๆ
-
4:24 - 4:30ก็พบว่าเค้ามีความสุข
กับการไปดูเว็บไซต์ซื้อขายเครื่องเสียงครับ -
4:30 - 4:36แล้วที่บ้านก็ทำกิจการติดตั้งแสงสี
-
4:36 - 4:41แต่ว่า เค้าก็สับสนว่า
มันจะไปด้วยกันได้หรือเปล่า -
4:41 - 4:42แต่พอเค้ากลับไปสำรวจลึกๆ จริงๆ
-
4:42 - 4:45ก็พบว่าเค้ามีความมั่นใจ
-
4:45 - 4:50ที่จะทำทั้งการเรียนให้ได้ดี
แล้วก็ทำธุรกิจให้ได้ดี -
4:51 - 4:52ตอนกลางวัน
-
4:52 - 4:57บอสก็ทำแล็บใช้เครื่องมือหลายล้าน
ที่แล็บซื้อมา -
4:57 - 5:00ส่วนตอนเย็นหรือว่าสุดสัปดาห์
-
5:00 - 5:04เค้าก็ไปจัดคอนเสิร์ต
จัดแสงเสียงให้กับคอนเสิร์ต -
5:04 - 5:05หรืองานแต่งงาน
-
5:05 - 5:09ใช้เครื่องมือมูลค่าเป็นล้าน
ที่เค้าซื้อมาด้วยตนเอง -
5:09 - 5:13มูลค่าธุรกิจของเค้าตอนนี้ก็หลายล้าน
-
5:15 - 5:18จากเด็กที่สุ่มเสี่ยง
-
5:18 - 5:22อาจจะเลือกทางเดินในชีวิตที่ไม่ถูกต้อง
-
5:22 - 5:25กลายมาเป็นคนที่ประสบความสำเร็จในการเรียน
-
5:25 - 5:27เป็นว่าที่ด็อกเตอร์
-
5:27 - 5:30แล้วก็ประสบความสำเร็จในธุรกิจ
-
5:30 - 5:33พวกเราคิดว่าชีวิตของบอส
-
5:33 - 5:35เปลี่ยนไปไหมครับ
-
5:37 - 5:41ผมเรียกกระบวนการนี้ว่า
จิตตปัญญาศึกษาครับ -
5:43 - 5:46เป็นกระบวนการที่ทำให้คนเรียน
-
5:46 - 5:48รู้จัก เข้าใจตนเอง
-
5:48 - 5:51แล้วก็มีความสามารถในการเปลี่ยนแปลงตนเอง
-
5:51 - 5:56ผมกับเพื่อนๆ ตั้งศูนย์จิตตปัญญาศึกษา
ที่มหิดลขึ้นมา -
5:56 - 5:59เพื่อจะขับเคลื่อนเรื่องนี้
ในระดับมหาวิทยาลัย -
5:59 - 6:00แล้วก็ในระดับประเทศ
-
6:02 - 6:05เราจัดประชุมวิชาการกันหลายครั้ง
-
6:05 - 6:08มีครั้งหนึ่งเราจัดประชุมวิชาการที่ศิริราช
-
6:09 - 6:14โดยมากคนที่มาประชุมก็จะเป็น
อาจารย์แล้วก็เจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัย -
6:14 - 6:17อาจจะมีมหาวิทยาลัยอื่นมาเพิ่มด้วย
-
6:17 - 6:20พอช่วงที่เปิดให้ถามตอบกัน
-
6:20 - 6:25ปรากฏว่ามีผู้หญิงคนหนึ่งยกมือขึ้น
แล้วก็ขอพูด -
6:26 - 6:29เธอแนะนำตัวเองว่า
-
6:29 - 6:34เธอเป็นคุณแม่ของเด็กในชั้นเรียน
ของผมคนหนึ่ง -
6:36 - 6:40เธอบอกว่าเธอเป็นแม่ของน้องเอม
-
6:41 - 6:44แล้วน้องเอมหนีออกจากบ้านไป
-
6:46 - 6:49เธอเล่าว่าน้องเอมเป็นเด็กน่ารัก
-
6:49 - 6:52สนิทกันมากเลยตอนสมัยที่เอมยังเด็กๆ อยู่
-
6:52 - 6:55คุยกันได้ทุกเรื่อง สนิทสนมกันมาก
-
6:55 - 7:01แต่พอโตขึ้นก็รู้สึกว่า
มันห่างเหินกันออกไปเรื่อยๆ -
7:01 - 7:05พูดจากันทีไรก็เหมือนกับจะทะเลาะกัน
-
7:05 - 7:11เธอรู้สึกว่าลูกห่างออกจากตัวเอง
ไปเรื่อยๆ ไปเรื่อยๆ -
7:11 - 7:16จนกระทั่งเธอรู้สึกว่า
เหมือนกับลูกหนีออกจากบ้านไป -
7:17 - 7:21หนีออกจากบ้านไป
ทั้งๆ ที่ยังอยู่ในบ้านนี่แหละครับ -
7:21 - 7:24แต่ว่าเธอรู้สึกว่าลูกของเธอ
-
7:24 - 7:29ห่างไกลจนกระทั่งเธอเอื้อมมือไปไม่ถึง
-
7:30 - 7:33ถึงขนาดที่เธอตัดใจว่า
-
7:33 - 7:38ชีวิตนี้คงจะไม่ได้ใกล้ชิดกับลูกแบบเดิมอีก
-
7:41 - 7:44แต่พอลูกของเธอได้มาเข้าในชั้นเรียน
-
7:45 - 7:47เรื่องราวก็เปลี่ยนไป
-
7:47 - 7:52เธอว่าลูกของเธอฟังเป็นมากขึ้น
-
7:52 - 7:56กลับมาใกล้ชิดกันในครอบครัวมากขึ้น
-
7:56 - 7:59วันนี้เธอก็เลยลางาน
-
7:59 - 8:02เธอยอมลางานที่งานของเธอ
-
8:02 - 8:05แล้วก็มาประชุมงานนี้
-
8:06 - 8:07เพื่อจะบอกว่า
-
8:07 - 8:09ขอบคุณ
-
8:09 - 8:13ขอบคุณที่พาลูกของเธอกลับบ้าน
-
8:16 - 8:20แม่น้องเอมขอบคุณผม
-
8:20 - 8:23ขอบคุณชั้นเรียน
-
8:23 - 8:28ขอบคุณคณะวิทยาศาสตร์
แล้วก็ขอบคุณมหาวิทยาลัยมหิดลแห่งนี้ -
8:28 - 8:33ที่ทำให้ชีวิตครอบครัวของเธอ
กลับมาสมบูรณ์อีกครั้งหนึ่ง -
8:36 - 8:38พวกเราคิดว่า
-
8:39 - 8:44โลกของน้องเอมกับโลกของคุณแม่
เปลี่ยนไปไหมครับ -
8:46 - 8:49นี่หรือเปล่าการเปลี่ยนแปลงโลกที่แท้จริง
-
8:49 - 8:56การที่ทำให้คนสามารถรู้จัก เข้าใจตนเอง
-
8:56 - 8:59แล้วก็สามารถเปลี่ยนแปลงตนเองได้
-
9:02 - 9:03ผมก็มีฝันครับว่า
-
9:03 - 9:08ทำยังไงเจ้ากระบวนการดีๆ แบบนี้
มันจะเข้าถึงคนเยอะๆ -
9:08 - 9:11ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็น
นักเรียน นิสิต หรือว่านักศึกษา -
9:12 - 9:15ผมพบคำตอบในงานอาสาครับ
-
9:17 - 9:22เพราะว่างานอาสา
มันไม่ใช่แค่ว่าจะต้องเป็นนักเรียนนักศึกษา -
9:22 - 9:27ใครๆ ก็เข้าถึงได้
ทุกเพศ ทุกวัย แล้วก็ทุกสถานภาพด้วย -
9:29 - 9:33เราเริ่มต้นจากการที่ทำรีแบรนด์ครับ
-
9:33 - 9:37เพิ่มคุณค่าแล้วก็ความหมายใหม่ให้กับงานอาสา
-
9:37 - 9:41เมื่อตอนปี 2547
ตอนช่วงเกิดสึนามิ -
9:41 - 9:43ผมกับเพื่อนๆ
เราคิดคำใหม่ขึ้นมา -
9:43 - 9:45คือคำว่า "จิตอาสา"
-
9:45 - 9:49เป็นการเอาคำว่า "จิต" มารวมกับคำว่า "อาสา"
-
9:49 - 9:54เพื่อให้คุณค่า ความหมายใหม่
เพิ่มเติมขึ้นกับงานอาสา -
9:54 - 9:58ว่าเป็นเรื่องของจิตใจ
เป็นเรื่องของการเรียนรู้ -
10:00 - 10:05แล้วพอช่วงปี 2554
ช่วงที่เกิดน้ำท่วมใหญ่ -
10:05 - 10:09ผมกับเพื่อน
แล้วก็ศิษย์เก่าในชั้นเรียน -
10:09 - 10:14เรารวมกันตั้ง "ธนาคารจิตอาสา" ขึ้น
-
10:14 - 10:19เป็นธนาคารที่รับฝากของมีค่าของพวกเราครับ
-
10:19 - 10:23ไม่ใช่เงินทอง
แต่ว่าเป็นของที่มีค่ามากกว่านั้นอีก -
10:23 - 10:27เป็นของที่พวกเราทุกคนได้มาเท่าๆ กัน
-
10:27 - 10:29วันละ 24 ชั่วโมงเท่ากันครับ
-
10:29 - 10:31ก็คือ "เวลา"
-
10:31 - 10:34เป็นธนาคารที่รับฝากเวลาครับ
-
10:34 - 10:38แล้วก็พาให้ทุกคนมาเจองานอาสา
ที่ตรงกับโปรไฟล์ -
10:38 - 10:41ตรงกับความสนใจ แล้วก็ความถนัดของตัวเอง
-
10:43 - 10:49มาเจองานอาสาที่ทำให้เรารู้จักตนเอง
แล้วก็ทำให้เราเชื่อมโยงกับโลก -
10:50 - 10:55เวลาพูดถึงธนาคารนะครับ
คนก็มักจะชอบถามถึง พูดถึงตัวเลข -
10:57 - 11:03คนมักจะชอบพูดถึงตัวเลขว่า
ธนาคารมีคนมาฝากเวลาไว้ 2.7 ล้านชั่วโมง -
11:03 - 11:07มีสมาชิกอยู่ข้างในห้าหมื่นกว่าคน
-
11:07 - 11:12แล้วก็มีองค์กรมาเป็นสมาชิก
สองร้อยกว่าองค์กร -
11:12 - 11:15องค์กรเหล่านี้
ปีปีหนึ่งมาเปิดงานอาสา -
11:15 - 11:19ที่ทำให้คนได้มาทำงานอาสา
ประมาณพันงาน -
11:21 - 11:24ตัวเลขพวกนี้มันก็น่าสนใจนะครับ
-
11:24 - 11:30แต่ว่า ผมคิดว่ามีอีกสิ่งหนึ่ง
ที่น่าสนใจไม่แพ้ตัวเลขเหล่านี้ -
11:30 - 11:36ก็คือเรื่องราว ความมหัศจรรย์
ของคนที่อยู่ข้างใน -
11:36 - 11:39ก็คืออาสาสมัครต่างๆ ครับ
-
11:40 - 11:42มันมหัศจรรย์ยังไงครับ
-
11:42 - 11:45มันมหัศจรรย์เหมือนกับที่บอส
-
11:45 - 11:50เคยเป็นนักเรียนที่อยากจะลาออก
-
11:50 - 11:57กลายมาเป็นนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
กลายมาเป็นนักศึกษาที่ประสบความสำเร็จ -
11:57 - 11:59แล้วก็มีความสุข
-
11:59 - 12:03มหัศจรรย์เหมือนกับน้องเอม
-
12:03 - 12:07ที่จากเดิมห่างเหินจากคุณแม่
-
12:07 - 12:11กลายมาเป็นคนที่ใกล้ชิดสนิทสนม
กับคุณแม่อีกครั้งหนึ่ง -
12:12 - 12:14อย่างพี่ต๋อยครับ
-
12:15 - 12:18พี่ต๋อยเป็นชายวัยเกษียณ
-
12:18 - 12:22ที่มักจะนั่งรถจากจังหวัดมุกดาหาร
-
12:22 - 12:26ลงมาทำงานอาสาที่กรุงเทพฯ อยู่เนืองๆ
-
12:26 - 12:31พี่ต๋อยมาทำงานอาสาสมัคร
ที่เรียกว่า "อาสารับฟัง" -
12:32 - 12:38งานอาสารับฟังทำให้พี่ต๋อยได้มีประสบการณ์
ที่เจอการฟังอย่างมีคุณภาพ -
12:38 - 12:41ได้ฝึกที่จะฟังด้วยใจ
-
12:41 - 12:44ฟังเพื่อฟัง ฟังโดยไม่ตัดสิน
-
12:46 - 12:50มีวันหนึ่งพี่ต๋อยมาเล่าให้พวกเราฟังว่า
-
12:50 - 12:53เค้าขอบคุณงานอาสามากมาย
-
12:53 - 12:55พี่ต๋อยเล่าให้ฟังว่า
-
12:55 - 13:00"มีวันหนึ่งผมนั่งทานข้าวอยู่ที่ฟู้ดคอร์ท
แห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ -
13:00 - 13:04แล้วอยู่ๆ ก็มีผู้หญิงคนหนึ่งปรี่เข้ามา
-
13:04 - 13:08เข้ามาถึงก็ทำท่าเหมือนกับจะหาเรื่อง
-
13:08 - 13:10แล้วก็ตะคอกว่า
-
13:10 - 13:12'นี่ เสื้อเหลืองใช่มั้ย' "
-
13:13 - 13:14พี่ต๋อยก็งง
-
13:14 - 13:19ก้มลงไปดู
เธอคงเห็นสายนกหวีดที่พี่ต๋อยห้อยอยู่ -
13:21 - 13:26ตอนแรกก็กะว่าจะลุกและตวาดกลับไป
-
13:26 - 13:30แต่พอนึกถึงงานอาสาที่ตัวเองไปฝึกมา
-
13:30 - 13:34พี่ต๋อยก็ใจเย็นแล้วค่อยๆ ฟัง
-
13:34 - 13:39พอผู้หญิงเห็นว่าไม่ได้มีทีท่ารุนแรงกลับไป
เธอก็เริ่มเย็นลงครับ -
13:39 - 13:42สุดท้ายก็ค่อยๆ คุยกัน
-
13:43 - 13:49จากเดิมที่ตั้งท่าว่าจะทะเลาะกัน
กลายเป็นนั่งคุยกันที่ฟู้ดคอร์ทเป็นชั่วโมง -
13:49 - 13:53ได้ถาม รู้จักกันเพิ่มเติมมากขึ้น
-
13:53 - 13:59ถามทั้งความเชื่อเรื่องการเมือง
แล้วก็ยาวไปถึงชีวิตส่วนตัว -
13:59 - 14:04พี่ต๋อยเล่าให้ฟังว่า
ปกติทำอาชีพอะไร แล้วสนใจเรื่องอะไร -
14:04 - 14:07เธอก็เล่าให้ฟังครับว่า
-
14:07 - 14:10เธอเป็นนักแปลนิยาย
-
14:10 - 14:15คุยกันสนิทสนมถึงขนาดเธอบอกว่า
จะมากรุงเทพฯ อีกเมื่อไหร่ -
14:15 - 14:18เธอจะเตรียมนิยายที่เธอแปลให้
-
14:19 - 14:23สุดท้าย
ผู้หญิงคนนั้นบอกว่า -
14:23 - 14:28"แหม ถ้าพวกเสื้อเหลือง
เป็นอย่างคุณเยอะๆ ก็ดีสิ" -
14:30 - 14:35พวกเราคิดว่าโลกของพี่ต๋อยเปลี่ยนไปไหมครับ
-
14:38 - 14:41นี่แหละครับ มหัศจรรย์ของงานอาสา
-
14:41 - 14:46งานอาสาที่ทำให้เรารู้จักตนเอง
-
14:46 - 14:49แล้วก็ทำให้เราเชื่อมโยงกับโลกด้วย
-
14:50 - 14:54เพราะว่าพอเรารู้จักตนเองและเชื่อมโยงกับโลก
-
14:54 - 15:00เราก็จะเห็นว่าโลก
มันไม่ได้มีแต่โลกที่เราอาศัยอยู่ -
15:00 - 15:05แต่ว่ามันมีโลกภายในที่เราสร้างขึ้นด้วย
-
15:05 - 15:11และเราก็อาศัยอยู่ทั้งโลกที่เราสร้างอยู่
แล้วก็โลกที่เราอาศัยอยู่ภายนอก -
15:13 - 15:18แล้วเมื่อใดก็ตามที่โลกภายในของเราเปลี่ยน
-
15:18 - 15:20โลกภายนอกก็เปลี่ยนไปด้วย
-
15:22 - 15:24เรื่องแบบนี้ครับ
-
15:24 - 15:27ถ้าฟังด้วยหัวก็เข้าหัว
-
15:27 - 15:32แต่ถ้าเกิดว่าเราฟังด้วยใจเราก็จะเข้าใจ
-
15:34 - 15:35เชิญนะครับ
-
15:35 - 15:37มาเจอกับงานอาสาครับ
-
15:37 - 15:41งานอาสาที่ทำให้เรารู้จักทั้งตนเอง
-
15:41 - 15:44แล้วก็ทำให้เราเชื่อมโยงกับโลกภายนอกด้วย
-
15:46 - 15:49แล้วพวกเราก็จะพบคำตอบด้วยตัวเองครับ
-
15:49 - 15:52ว่าเราสามารถเปลี่ยนแปลงโลก
-
15:52 - 15:58ผ่านการรู้จัก
แล้วก็เปลี่ยนแปลงตนเองได้อย่างไร -
15:58 - 16:00ขอบคุณครับ
- Title:
- ถึงเวลาเปลี่ยนโลก | ดร.สรยุทธ รัตนพจนารถ | TEDxMahidolU
- Description:
-
ดร.สรยุทธ รัตนพจนารถ (เอเชีย) เชื่อเราทุกสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นบนโลกใบนี้ได้ เขาพบว่าการเปลี่ยนแปลงนั้นเริ่มต้นจากก้าวเล็ก ๆ ด้วยการค้นพบคุณค่าและศักยภาพภายในของตัวเองผ่านการทำกิจกรรมจิตอาสา ดร.สรยุทธได้เปลี่ยนแปลงกระบวนการเรียนรู้โดยหลอมรวมมันเข้ากับงานจิตอาสา ด้วยหวังว่ามันจะช่วยเปลี่ยนแปลงสังคมไทยด้วยเช่นกัน
ดร.สรยุทธได้รับทุนการศึกษาจากรัฐบาลไทยจนสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาเอก ณ มหาวิทยาลัยเยลในสาขาวนศาสตร์และสิ่งแวดล้อม ดร.สรยุทธเคยเป็นอาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยมหิดลและนำจิตตปัญญาศึกษาใช้ในชั้นเรียน ต่อมาได้ร่วมก่อตั้งธนาคารจิตอาสาที่สนับสนุนให้ผู้คนพัฒนาตนเองผ่านงานจิตอาสา
This talk was given at a TEDx event using the TED conference format but independently organized by a local community. Learn more at https://www.ted.com/tedx
- Video Language:
- Thai
- Team:
closed TED
- Project:
- TEDxTalks
- Duration:
- 16:12
![]() |
Sakunphat Jirawuthitanant approved Thai subtitles for ถึงเวลาเปลี่ยนโลก | ดร.สรยุทธ รัตนพจนารถ | TEDxMahidolU | |
![]() |
Sakunphat Jirawuthitanant accepted Thai subtitles for ถึงเวลาเปลี่ยนโลก | ดร.สรยุทธ รัตนพจนารถ | TEDxMahidolU | |
![]() |
Supakij Patthanapitoon edited Thai subtitles for ถึงเวลาเปลี่ยนโลก | ดร.สรยุทธ รัตนพจนารถ | TEDxMahidolU | |
![]() |
Supakij Patthanapitoon edited Thai subtitles for ถึงเวลาเปลี่ยนโลก | ดร.สรยุทธ รัตนพจนารถ | TEDxMahidolU | |
![]() |
Supakij Patthanapitoon edited Thai subtitles for ถึงเวลาเปลี่ยนโลก | ดร.สรยุทธ รัตนพจนารถ | TEDxMahidolU | |
![]() |
Supakij Patthanapitoon edited Thai subtitles for ถึงเวลาเปลี่ยนโลก | ดร.สรยุทธ รัตนพจนารถ | TEDxMahidolU | |
![]() |
Supakij Patthanapitoon edited Thai subtitles for ถึงเวลาเปลี่ยนโลก | ดร.สรยุทธ รัตนพจนารถ | TEDxMahidolU | |
![]() |
Suppadej Mahapokai declined Thai subtitles for ถึงเวลาเปลี่ยนโลก | ดร.สรยุทธ รัตนพจนารถ | TEDxMahidolU |