< Return to Video

สร้างโรงเรียนบนก้อนเมฆ

  • 0:01 - 0:07
    การเรียนรู้ในอนาคตจะเป็นอย่างไร?
  • 0:07 - 0:09
    ผมมีแผนสำหรับอนาคตครับ
  • 0:09 - 0:12
    แต่ก่อนที่ผมจะบอกคุณว่าแผนนั้นคืออะไร
  • 0:12 - 0:15
    ผมต้องเล่าเรื่องให้คุณฟังเรื่องหนึ่ง
  • 0:15 - 0:18
    ซึ่งเป็นที่มาของแผนนี้
  • 0:18 - 0:20
    ที่ผ่านมาผมพยายามศึกษาว่า
  • 0:20 - 0:23
    วิธีการเรียนรู้ต่างๆ ที่เราใช้กันในโรงเรียน
  • 0:23 - 0:25
    มันมาจากไหน?
  • 0:25 - 0:28
    เราอาจจะมองย้อนไปในอดีตไกลๆ เลย
  • 0:28 - 0:32
    แต่ถ้าคุณลองดูการเรียนการสอนในโรงเรียนปัจจุบันนี้
  • 0:32 - 0:35
    คุณจะเห็นได้ชัดเลยว่ามันมาจากไหน
  • 0:35 - 0:39
    มันมาจากเมื่อ 300 ปีที่แล้ว
  • 0:39 - 0:41
    จากจักรวรรดิสุดท้ายที่ยิ่งใหญ่ที่สุด
  • 0:41 - 0:44
    บนโลกใบนี้ นั่นคือจักรวรรดิอังกฤษ
  • 0:44 - 0:47
    ลองจินตนาการว่าคุณเป็นผู้ปกครอง
  • 0:47 - 0:49
    ที่พยายามปกครองโลกทั้งใบ
  • 0:49 - 0:53
    โดยไม่มีคอมพิวเตอร์ ไม่มีโทรศัพท์
  • 0:53 - 0:57
    ด้วยข้อมูลที่เขียนด้วยลายมือบนกระดาษ
  • 0:57 - 1:01
    และเดินทางด้วยเรือ
  • 1:01 - 1:03
    ชาววิคตอเรียนทำได้มาแล้วนะครับ
  • 1:03 - 1:06
    วิธีของพวกวิคตอเรียนนั้นน่าทึ่งมาก
  • 1:06 - 1:09
    พวกเขาสร้างคอมพิวเตอร์ระดับโลก
  • 1:09 - 1:12
    โดยมีองค์ประกอบเป็นผู้คน
  • 1:12 - 1:14
    และมันก็ยังอยู่กับเรามาจนวันนี้
  • 1:14 - 1:20
    โดยมีชื่อเรียกว่า
    ระบบการบริหารงานแบบราชการ
  • 1:20 - 1:23
    เครื่องจักรในระบบนี้จะขับเคลื่อนได้
  • 1:23 - 1:27
    คุณต้องอาศัยคนจำนวนมากมายมหาศาล
  • 1:27 - 1:31
    พวกเขาก็เลยสร้างเครื่องจักรอีกตัวหนึ่ง
    มาผลิตคนเหล่านี้
  • 1:31 - 1:34
    นั่นคือโรงเรียน
  • 1:34 - 1:37
    โรงเรียนทำหน้าที่ผลิตคน
  • 1:37 - 1:41
    ที่จะเป็นส่วนหนึ่งในเครื่องจักรกล
  • 1:41 - 1:44
    ของระบบบริหารงานแบบราชการ
  • 1:44 - 1:48
    พวกเขาต้องถูกผลิตออกมาเหมือนกันหมด
  • 1:48 - 1:50
    พวกเขาต้องรู้สามอย่าง
  • 1:50 - 1:54
    ต้องลายมือสวย
    เพราะเขาต้องบันทึกข้อมูลด้วยลายมือ
  • 1:54 - 1:56
    ต้องอ่านหนังสือออก
  • 1:56 - 1:58
    และต้องบวก ลบ
  • 1:58 - 2:02
    คูณ หาร ในใจได้
  • 2:02 - 2:05
    ทุกคนต้องออกมาเหมือนกันมากๆ
    จนคุณเลือกใครก็ได้สักคนจากนิวซีแลนด์
  • 2:05 - 2:07
    ส่งเขาไปแคนาดา
  • 2:07 - 2:12
    แล้วสามารถทำงานได้ทันที
  • 2:12 - 2:14
    ชาววิคตอเรียนเป็นวิศวกรที่เยี่ยมมาก
  • 2:14 - 2:18
    พวกเขาออกแบบระบบที่ทนทานมาก
  • 2:18 - 2:20
    มันจึงยังอยู่กับเราจนวันนี้
  • 2:20 - 2:24
    ยังคงผลิตคนแบบเดิมๆ อย่างต่อเนื่อง
  • 2:24 - 2:29
    เพื่อป้อนเข้าสู่เครื่องจักรที่ไม่มีตัวตนแล้ว
  • 2:29 - 2:32
    ระบบจักรวรรดิล่มสลายไปแล้ว
  • 2:32 - 2:35
    แล้วเรากำลังทำอะไรกับระบบโรงเรียน
  • 2:35 - 2:37
    ที่ผลิตคนให้ออกมาเหมือนๆ กัน
  • 2:37 - 2:40
    แล้วเราจะทำอย่างไรต่อไป
  • 2:40 - 2:44
    ถ้าหากเราอยากเปลี่ยนแปลงมัน
  • 2:44 - 2:46
    "โรงเรียนอย่างที่เราเคยรู้จักนั้น
    มันล้าสมัยแล้ว"
  • 2:46 - 2:48
    นั่นเป็นคำวิจารณ์ที่ค่อนข้างแรง
  • 2:48 - 2:52
    ผมพูดว่า โรงเรียนอย่างที่เราเคยรู้จักนั้น
    มันล้าสมัยไปแล้ว
  • 2:52 - 2:53
    ผมไม่ได้บอกว่ามันพังนะครับ
  • 2:53 - 2:56
    เดี๋ยวนี้ใครๆ ก็พูดว่า
    ระบบการศึกษาพังเสียแล้ว
  • 2:56 - 3:00
    มันไม่ได้พังนะครับ
    มันถูกสร้างมาอย่างยอดเยี่ยม
  • 3:00 - 3:06
    เพียงแต่เราไม่ต้องการมันอีกแล้ว
    เพราะมันเชยไปแล้ว
  • 3:06 - 3:09
    งานที่เราทำกันทุกวันนี้เป็นอย่างไรครับ?
  • 3:09 - 3:11
    งานเสมียน เราก็มีคอมพิวเตอร์
  • 3:11 - 3:13
    นับเป็นพันๆ เครื่องในทุกที่ทำงาน
  • 3:13 - 3:16
    แล้วคุณก็มีคนที่คอยควบคุม
    เครื่องคอมพิวเตอร์เหล่านี้
  • 3:16 - 3:19
    ให้ทำงานเสมียนต่างๆ
  • 3:19 - 3:22
    คนพวกนี้ไม่จำเป็นต้องลายมือสวย
  • 3:22 - 3:25
    เขาไม่จำเป็นต้องคิดเลขในใจได้
  • 3:25 - 3:27
    เขายังต้องอ่านหนังสือออก
  • 3:27 - 3:32
    ที่จริง เขาต้องอ่านหนังสือออก
    และแยกแยะได้ด้วย
  • 3:32 - 3:35
    นี่ว่ากันเฉพาะปัจจุบันนะ
    เรายังไม่รู้เลยนะครับ
  • 3:35 - 3:37
    ว่างานในอนาคตจะหน้าตาเป็นอย่างไร
  • 3:37 - 3:40
    เรารู้ว่าคนเราจะสามารถทำงานที่ไหนก็ได้
  • 3:40 - 3:43
    เมื่อไหร่ก็ได้ และทำอย่างไรก็ได้
  • 3:43 - 3:47
    แล้วโรงเรียนที่มีอยู่ในปัจจุบัน
    จะเตรียมเด็กๆ ให้พร้อม
  • 3:47 - 3:50
    สำหรับโลกอนาคตอย่างไร?
  • 3:50 - 3:55
    ผมเจอเข้ากับประเด็นเหล่านี้โดยบังเอิญ
  • 3:55 - 3:58
    ผมเคยสอนเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์
  • 3:58 - 4:00
    ที่กรุงนิวเดลี เมื่อ 14 ปีก่อน
  • 4:00 - 4:04
    ติดกับที่ทำงานของผม มีชุมชนแออัดอยู่แห่งหนึ่ง
  • 4:04 - 4:06
    ผมเคยคิดว่า เด็กในสลัมพวกนี้จะมีโอกาส
  • 4:06 - 4:09
    เรียนการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้ไหม?
  • 4:09 - 4:12
    หรือพวกเขาไม่ควรจะได้เรียน?
  • 4:12 - 4:15
    ในขณะเดียวกัน ก็มีผู้ปกครองมากมาย
  • 4:15 - 4:17
    คนรวย ที่มีคอมพิวเตอร์น่ะครับ
  • 4:17 - 4:20
    เขาเคยพูดกับผมว่า "คุณรู้ไหม ลูกชายผมน่ะ
  • 4:20 - 4:22
    เขามีพรสวรรค์นะ
  • 4:22 - 4:25
    เขาทำอะไรเจ๋งๆ ด้วยคอมพิวเตอร์ได้เยอะแยะ
  • 4:25 - 4:29
    ส่วนลูกสาวผมนะ โอ้ เธอฉลาดล้ำเหลือเกิน"
  • 4:29 - 4:31
    อะไรทำนองนี้ ผมเลยสงสัยขึ้นมาทันทีว่า
  • 4:31 - 4:33
    ทำไมคนรวยทุกคนถึงได้มีลูก
  • 4:33 - 4:35
    ที่มีพรสวรรค์เหนือมนุษย์มนากันทั้งนั้น?
  • 4:35 - 4:37
    (เสียงหัวเราะ)
  • 4:37 - 4:40
    คนจนทำอะไรผิดไปเหรอ?
  • 4:40 - 4:43
    ต่อมา ผมเลยเจาะกำแพงรั้ว
  • 4:43 - 4:45
    ของสลัมที่อยู่ติดกับที่ทำงานของผม
  • 4:45 - 4:48
    เอาคอมพิวเตอร์ใส่เข้าไปเครื่องหนึ่ง
    แล้วรอดูว่าจะเกิดอะไรขึ้น
  • 4:48 - 4:51
    ถ้าผมให้คอมพิวเตอร์แก่เด็กที่ไม่เคยมี
  • 4:51 - 4:54
    ไม่รู้ภาษาอังกฤษ ไม่รู้ว่าอินเทอร์เน็ตคืออะไร
  • 4:54 - 4:55
    เด็กๆ วิ่งกรูกันเข้ามา
  • 4:55 - 4:57
    เครื่องคอมพิวเตอร์อยู่สูงจากพื้นสามฟุต
    เด็กๆ ถามว่า "นี่อะไร?"
  • 4:57 - 5:00
    ผมตอบว่า "มันคือ เอ่อ ลุงก็ไม่รู้เหมือนกัน"
  • 5:00 - 5:02
    (เสียงหัวเราะ)
  • 5:02 - 5:05
    เด็กๆ ถามต่อว่า "แล้วลุงเอามาไว้ตรงนี้ทำไม?"
  • 5:05 - 5:06
    ผมบอกว่า "ก็ไว้อย่างงั้นแหละ"
  • 5:06 - 5:09
    เด็กๆ บอกว่า "พวกเราขอเล่นหน่อยได้ไหม?"
    ผมบอกว่า "ก็เอาสิ"
  • 5:09 - 5:12
    แล้วผมก็เดินหนีไป
  • 5:12 - 5:13
    แปดชั่วโมงให้หลัง
  • 5:13 - 5:16
    เราก็พบว่าเด็กๆ กำลังเปิดดูเว็บไซต์ต่างๆ
    และสอนกันและกันว่าทำอย่างไร
  • 5:16 - 5:19
    ผมบอกว่า "เป็นไปไม่ได้อ่ะ
  • 5:19 - 5:22
    มันจะเป็นไปได้ยังไง พวกเขาไม่รู้อะไรเลย"
  • 5:22 - 5:25
    เพื่อนร่วมงานผมบอกว่า "ไม่หรอก มันง่ายนิดเดียว
  • 5:25 - 5:28
    นักเรียนของคุณสักคนหนึ่งคงเดินผ่านไป
  • 5:28 - 5:30
    และบอกเด็กๆ ว่าใช้เมาส์อย่างไร"
  • 5:30 - 5:32
    ผมว่า "เออ นั่นก็เป็นไปได้ "
  • 5:32 - 5:35
    ผมเลยทำการทดลองซ้ำ
    ผมออกจากเมืองเดลีไปทางใต้ 300 ไมล์
  • 5:35 - 5:37
    ในหมู่บ้านห่างไกล
  • 5:37 - 5:40
    ซึ่งโอกาสที่วิศวกรนักพัฒนาซอฟต์แวร์จะผ่านมา
  • 5:40 - 5:45
    มีน้อยมาก (เสียงหัวเราะ)
  • 5:45 - 5:48
    ผมทำงานทดลองซ้ำที่นั่น
  • 5:48 - 5:50
    ผมไม่มีที่พัก ผมเลยติดตั้งคอมพิวเตอร์
  • 5:50 - 5:52
    กลับบ้าน แล้วอีกสองสามเดือนก็กลับมาดู
  • 5:52 - 5:54
    เจอเด็กๆ กำลังเล่นเกมในคอมพิวเตอร์
  • 5:54 - 5:55
    พอพวกเขาเห็นผม ก็พูดว่า
  • 5:55 - 5:57
    "เราอยากได้โปรเซสเซอร์ที่เร็วขึ้น
    กับเมาส์ที่ดีกว่านี้"
  • 5:57 - 6:01
    (เสียงหัวเราะ)
  • 6:01 - 6:05
    ผมพูดว่า "พวกหนูรู้เรื่องพวกนี้ได้ยังไง?"
  • 6:05 - 6:07
    เด็กๆ ตอบมาน่าสนใจมากๆ
  • 6:07 - 6:09
    พวกเขาพูดด้วยเสียงหงุดหงิดว่า
  • 6:09 - 6:11
    "ลุงเอาเครื่องที่มีแต่ภาษาอังกฤษมาให้เรา
  • 6:11 - 6:18
    เราเลยต้องสอนภาษาอังกฤษให้ตัวเองก่อน
    ถึงจะใช้มันได้ " (เสียงหัวเราะ)
  • 6:18 - 6:20
    นั่นเป็นครั้งแรกที่ผม ในฐานะคนเป็นครู
  • 6:20 - 6:25
    ได้ยินคนพูดคำว่า "สอนตัวเอง"
    เหมือนเป็นเรื่องง่ายๆ ธรรมดาๆ
  • 6:25 - 6:28
    นี่คือภาพบางส่วนจากการทดลองของผมสมัยนั้น
  • 6:28 - 6:31
    นั่นคือวันแรก ที่ผมติดตั้ง
    "คอมพิวเตอร์ในช่องกำแพง"
  • 6:31 - 6:33
    ทางขวานั่นคือเด็กแปดขวบ
  • 6:33 - 6:39
    ทางซ้ายนั่นคือนักเรียนของเขา
    เด็กผู้หญิงอายุหกขวบ
  • 6:39 - 6:42
    เขากำลังสอนเธอเปิดดูเว็บไซต์ต่างๆ
  • 6:42 - 6:46
    แล้วผมก็ไปยังส่วนต่างๆ ของประเทศ
  • 6:46 - 6:48
    ทำงานทดลองซ้ำแล้วซ้ำเล่า
  • 6:48 - 6:51
    และได้ผลเหมือนเดิมเป๊ะ
  • 6:51 - 6:55
    (คอมพิวเตอร์ในช่องกำแพง - ปี 1999)
  • 6:55 - 7:00
    เด็กแปดขวบคนหนึ่งกำลังบอกพี่สาวว่าต้องทำอะไร
  • 7:04 - 7:10
    และในที่สุดเด็กผู้หญิงก็อธิบาย
    เป็นภาษามาราติว่ามันคืออะไร
  • 7:10 - 7:14
    และบอกว่า "มันมีโปรเซสเซอร์อยู่ข้างใน"
  • 7:14 - 7:17
    แล้วผมก็เลยเริ่มตีพิมพ์ผลการทดลอง
  • 7:17 - 7:19
    ผมส่งงานไปตีพิมพ์ทุกที่ ผมจดและวัดทุกอย่าง
  • 7:19 - 7:22
    และสรุปว่า ภายในเก้าเดือน เด็กกลุ่มหนึ่ง
  • 7:22 - 7:24
    ที่ถูกปล่อยให้อยู่ลำพังกับคอมพิวเตอร์
    ไม่ว่าในภาษาใด
  • 7:24 - 7:29
    จะใช้คอมพิวเตอร์ได้ดีเทียบเท่า
    เลขานุการคนหนึ่งในประเทศตะวันตก
  • 7:29 - 7:33
    ผมเห็นกับตามาแล้วหลายค่อหลายครั้ง
  • 7:33 - 7:36
    แต่ผมก็สงสัยต่อว่า เด็กๆ จะทำอะไรได้อีก
  • 7:36 - 7:38
    ถ้าพวกเขาทำได้ขนาดนี้แล้ว?
  • 7:38 - 7:41
    ผมเริ่มทดลองกับวิชาอื่นๆ
  • 7:41 - 7:44
    ตัวอย่างเช่น การออกเสียง
  • 7:44 - 7:46
    มีเด็กๆ ในชุมชนแห่งหนึ่งทางตอนใต้ของอินเดีย
  • 7:46 - 7:49
    ซึ่งมีสำเนียงภาษาอังกฤษที่แย่มาก
  • 7:49 - 7:53
    พวกเขาต้องฝึกสำเนียงให้ดี
    เพราะมันจะช่วยให้เขาได้งานดีขึ้น
  • 7:53 - 7:57
    ผมลงโปรแกรมแปลงเสียงพูดเป็นตัวหนังสือในคอมพิวเตอร์
  • 7:57 - 8:00
    แล้วบอกเด็กๆ ว่า "พูดเข้าไป
    จนกว่าเครื่องจะพิมพ์คำที่เธอพูด"
  • 8:00 - 8:05
    (เสียงหัวเราะ)
  • 8:05 - 8:10
    เด็กๆ ก็ทำตาม ลองดูวิดีโอนี้สักนิดหนึ่งนะครับ
  • 8:10 - 8:15
    คอมพิวเตอร์: ยินดีที่ได้รู้จัก
    เด็ก: ยินดีที่ได้รู้จัก
  • 8:15 - 8:18
    ซูกาตา มิตรา: เหตุผลที่ผมหยุดภาพที่ใบหน้า
  • 8:18 - 8:21
    ของสาวน้อยคนนี้ เพราะผมว่าพวกคุณหลายคนอาจรู้จักเธอ
  • 8:21 - 8:25
    ตอนนี้เธอเข้าไปทำงานในคอล เซนเตอร์ที่เมืองไฮเดอราบัด
  • 8:25 - 8:30
    และอาจเคยทรมานใจคุณเรื่องใบแจ้งหนี้บัตรเครดิต
  • 8:30 - 8:34
    ด้วยสำเนียงภาษาอังกฤษที่ชัดเจน
  • 8:34 - 8:39
    ทีนี้คนก็ตั้งคำถามว่า แล้วโครงการนี้มันจะไปได้ไกลแค่ไหน?
  • 8:39 - 8:40
    มันจะไปจบตรงไหน?
  • 8:40 - 8:44
    ผมตัดสินใจว่าจะทำลายหลักการที่ผมเสนอไว้
  • 8:44 - 8:46
    โดยสร้างข้อเสนอที่ไร้เหตุผลขึ้นมา
  • 8:46 - 8:50
    ผมสร้างสมมุติฐานที่น่าขำขึ้นมาข้อหนึ่ง
  • 8:50 - 8:52
    ทมิฬ เป็นภาษาอินเดียทางใต้ ผมตั้งคำถามว่า
  • 8:52 - 8:55
    เด็กที่พูดภาษาทมิฬในหมู่บ้านทางใต้ของอินเดีย
  • 8:55 - 8:58
    จะเรียนรู้เรื่องเทคโนโลยีชีวภาพของการทำสำเนาดีเอ็นเอ
    ในภาษาอังกฤษ
  • 8:58 - 9:00
    จากคอมพิวเตอร์ข้างถนนได้ไหม?
  • 9:00 - 9:03
    ผมทดสอบความรู้เด็กๆ พวกแกได้ศูนย์คะแนน
  • 9:03 - 9:06
    ผมตั้งคอมพิวเตอร์ทิ้งไว้สองสามเดือน
  • 9:06 - 9:08
    แล้วกลับไปทดสอบใหม่ เด็กๆ ก็ยังได้ศูนย์คะแนน
  • 9:08 - 9:12
    ผมกลับไปที่แล็บและบอกว่า เราจำเป็นต้องมีครู
  • 9:12 - 9:16
    ผมเลือกหมู่บ้านหนึ่ง ชื่อว่าคัลลิคุปปัม อยู่ทางใต้ของอินเดีย
  • 9:16 - 9:19
    ผมติดตั้งคอมพิวเตอร์ในช่องกำแพง
  • 9:19 - 9:23
    ดาวน์โหลดทุกสิ่งอย่างที่เกี่ยวกับการทำสำเนาดีเอ็นเอ
    มาจากอินเทอร์เน็ต
  • 9:23 - 9:26
    ซึ่งส่วนใหญ่ผมเองยังไม่เข้าใจเลย
  • 9:26 - 9:29
    เด็กๆ วิ่งกรูกันมา ถามว่า "นี่อะไรอ่ะ?"
  • 9:29 - 9:34
    ผมบอกว่า "เป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก สำคัญมาก
    แต่เป็นภาษาอังกฤษหมดเลยนะ"
  • 9:34 - 9:37
    เด็กๆ บอกว่า "แล้วเราจะเข้าใจศัพท์ภาษาอังกฤษยากๆ
  • 9:37 - 9:39
    แผนภูมิ และเรื่องทางเคมีพวกนี้ได้ยังไง?"
  • 9:39 - 9:42
    ถึงจุดนี้ ผมได้สร้างเทคนิควิธีการสอนแบบใหม่ขึ้นมาแล้ว
  • 9:42 - 9:45
    ผมเลยบอกไปว่า "ลุงก็ไม่รู้เหมือนกัน"
  • 9:45 - 9:48
    (เสียงหัวเราะ)
  • 9:48 - 9:51
    "เอาละ ลุงไปละนะ"
  • 9:51 - 9:56
    (เสียงหัวเราะ)
  • 9:56 - 9:59
    ผมปล่อยเด็กๆ ไปสองสามเดือน
  • 9:59 - 10:02
    ผมทดสอบความรู้เด็กๆ พวกแกได้ศูนย์คะแนน
  • 10:02 - 10:03
    ผมกลับมาใหม่สองเดือนให้หลัง
  • 10:03 - 10:06
    เด็กๆ มากันกลุ่มใหญ่และพูดว่า
    "พวกเรายังไม่เข้าใจอะไรเลย"
  • 10:06 - 10:09
    ผมบอก "อืม ลุงก็ไม่ได้คาดหวังอะไรนี่?"
  • 10:09 - 10:13
    แล้วก็พูดว่า "เอาล่ะ ว่าแต่ มันใช้เวลานานแค่ไหนล่ะ
  • 10:13 - 10:15
    หนูถึงสรุปว่าหนูไม่สามารถเข้าใจอะไรได้เลย?"
  • 10:15 - 10:17
    เด็กๆ ตอบว่า "พวกเรายังไม่ยอมแพ้หรอกนะ
  • 10:17 - 10:19
    เรามานั่งดูมันทุกวันเลย"
  • 10:19 - 10:22
    ผมบอก "อะไรนะ พวกหนูไม่เข้าใจอะไรที่อยู่บนจอนี่เลย
  • 10:22 - 10:24
    แต่ก็มานั่งจ้องมันอยู่ตั้งสองเดือนเลยเหรอ? เพื่ออะไรล่ะ?
  • 10:24 - 10:27
    เด็กผู้หญิงตัวเล็กๆ ที่คุณเห็นอยู่ตรงนี้
  • 10:27 - 10:30
    ยกมือขึ้น และพูดกับผมด้วยภาษาทมิฬ
    และอังกฤษกระท่อนกระแท่น
  • 10:30 - 10:32
    เธอบอกว่า "เอ่อ เรารู้แค่ว่า
  • 10:32 - 10:35
    ความผิดพลาดในการทำสำเนา
    โมเลกุลของดีเอ็นเอทำให้เกิดโรค
  • 10:35 - 10:38
    นอกจากนั้นเรายังไม่เข้าใจอะไรเลยค่ะ"
  • 10:38 - 10:43
    (เสียงหัวเราะ) (เสียงปรบมือ)
  • 10:43 - 10:47
    แล้วผมก็เลยทดสอบพวกเขา
  • 10:47 - 10:51
    และได้ผลที่เป็นไปไม่ได้ทางการศึกษา จากศูนย์เพิ่มเป็น 30%
  • 10:51 - 10:53
    ภายใน 2 เดือน
    ในความร้อนของอากาศใกล้เส้นศูนย์สูตร
  • 10:53 - 10:56
    กับคอมพิวเตอร์ตัวหนึ่ง ใต้ต้นไม้ ในภาษาที่เขาไม่รู้
  • 10:56 - 10:59
    ในเรื่องที่ล้ำยุคกว่าความรู้ที่พวกเขามีนับสิบปี
  • 10:59 - 11:05
    น่าตลกสิ้นดี แต่ผมก็ต้องยึดตามเกณฑ์ของพวกวิคตอเรียน
  • 11:05 - 11:08
    30% ก็ยังถือว่าตก
  • 11:08 - 11:11
    ผมจะทำให้เขาผ่านเกณฑ์ได้ยังไง?
    ต้องทำให้เขาได้เพิ่มอีก 20 คะแนน
  • 11:11 - 11:16
    ผมหาครูไม่ได้ แต่ผมเจอเพื่อนรุ่นพี่ของเด็กๆ
  • 11:16 - 11:18
    สาวน้อยอายุ 22 ปีซึ่งเป็นนักบัญชี
  • 11:18 - 11:21
    และเล่นกับเด็กๆ พวกนี้ตลอด
  • 11:21 - 11:23
    ผมเลยถามสาวน้อยคนนี้ว่า
    "คุณช่วยเด็กๆ หน่อยได้ไหม?"
  • 11:23 - 11:25
    เธอตอบว่า "ไม่ได้แน่เลยค่ะ
  • 11:25 - 11:28
    หนูไม่ได้เรียนวิทยาศาสตร์มา หนูไม่รู้เลยว่า
  • 11:28 - 11:33
    เด็กๆ ทำอะไรกันใต้ต้นไม้นั่นทั้งวี่ทั้งวัน
    หนูช่วยไม่ได้หรอก"
  • 11:33 - 11:37
    ผมบอกเธอว่า "นี่ จะบอกอะไรให้
    หนูแค่ใช้วิธีของคุณยายเท่านั้นเอง"
  • 11:37 - 11:39
    เธอถามว่า "ทำยังไงเหรอ?"
  • 11:39 - 11:40
    ผมตอบว่า "ก็ยืนข้างหลังเด็กๆ
  • 11:40 - 11:42
    เมื่อไหร่เด็กๆ ทำอะไรก็ตาม หนูก็แค่พูดว่า
  • 11:42 - 11:45
    "โอ้ ว้าว เธอทำอย่างนั้นได้ยังไงน่ะ?
  • 11:45 - 11:48
    แล้วหน้าต่อไปมีอะไรน่ะ?
    ตอนอายุเท่าพวกเธอ ฉันทำแบบนี้ไม่ได้เลยนะเนี่ย
  • 11:48 - 11:51
    หนูนึกออกนะว่าคุณยายทำยังไงน่ะ"
  • 11:51 - 11:53
    แล้วเธอก็ทำอย่างนั้นอยู่สองเดือน
  • 11:53 - 11:56
    คะแนนของเด็กๆ กระโดดไปเป็น 50%
  • 11:56 - 11:57
    เด็กๆ ในคัลลิคุปปัม ตีเสมอเด็กๆ
  • 11:57 - 11:59
    ในโรงเรียนเปรียบเทียบที่นิวเดลีแล้ว
  • 11:59 - 12:03
    โรงเรียนเอกชนแพงๆ โดยครูที่จบมาทางเทคโนโลยีชีวภาพ
  • 12:03 - 12:08
    เมื่อผมเห็นกราฟนั่น ผมรู้เลยว่า
    เรามีทางสร้างความเสมอภาคแล้ว
  • 12:08 - 12:10
    นี่คือคัลลิคุปปัม
  • 12:10 - 12:18
    (เสียงเด็กพูด) เซลล์ประสาท... สื่อสาร
  • 12:18 - 12:22
    ผมวางมุมกล้องผิด ก็ถ่ายแบบมือสมัครเล่นน่ะครับ
  • 12:22 - 12:25
    แต่สิ่งที่เธอพูด คุณคงฟังออก
  • 12:25 - 12:27
    เป็นเรื่องเกี่ยวกับเซลล์ประสาท เธอทำมือแบบนี้
  • 12:27 - 12:31
    และพูดว่าเซลล์ประสาทสื่อสารกัน
  • 12:31 - 12:34
    เธออายุแค่ 12 ขวบ
  • 12:34 - 12:37
    เอาล่ะ แล้วงานในอนาคตจะหน้าตาเป็นอย่างไร?
  • 12:37 - 12:39
    อืม เรารู้ว่าวันนี้มันเป็นอย่างไร
  • 12:39 - 12:42
    แล้วการเรียนรู้ล่ะ จะเป็นอย่างไร?
    เรารู้ว่าวันนี้มันเป็นอย่างไร
  • 12:42 - 12:45
    เด็กๆ นั้น มือหนึ่งก็สาละวนกับโทรศัพท์มือถือ
  • 12:45 - 12:49
    แล้วก็อิดออดไม่อยากไปโรงเรียน
    เพื่อหยิบหนังสือมาอ่านด้วยมืออีกข้างหนึ่ง
  • 12:49 - 12:53
    แล้วพรุ่งนี้ล่ะ มันจะเป็นอย่างไร?
  • 12:53 - 12:57
    เราอาจจะไม่ต้องไปโรงเรียนเลยก็ได้ หรือเปล่า?
  • 12:57 - 13:01
    เป็นไปได้ไหมว่า เมื่อคุณอยากรู้อะไรสักอย่าง
  • 13:01 - 13:04
    คุณก็หาได้ภายในสองนาที?
  • 13:04 - 13:08
    เป็นไปได้ไหมว่า...
    แหม คำถามนี้ทำร้ายจิตใจมาก
  • 13:08 - 13:11
    เป็นคำถามที่นิโคลัส นีโกรปอนติถามผม ว่า
  • 13:11 - 13:14
    เป็นไปได้ไหมว่า เรากำลังมุ่งหน้าไปสู่
  • 13:14 - 13:18
    อนาคตที่การ " รู้ " เป็นเรื่องล้าสมัย?
  • 13:18 - 13:20
    นั่นคงแย่มาก เราเป็นมนุษย์โฮโมเซเปียนส์
  • 13:20 - 13:24
    การ " รู้ " เป็นสิ่งที่จำแนกเราจากพวกมนุษย์ลิง
  • 13:24 - 13:26
    แต่ลองมองมุมนี้นะครับ
  • 13:26 - 13:28
    ธรรมชาติใช้เวลา 100 ล้านปี
  • 13:28 - 13:31
    กว่าจะทำให้มนุษย์ลิงยืนขึ้นสองขา
  • 13:31 - 13:33
    และกลายเป็นมนุษย์โฮโมเซเปียนส์
  • 13:33 - 13:36
    แต่พวกเราใช้เวลาแค่ 10,000 ปี
    ทำให้การ " รู้ " เป็นเรื่องล้าสมัย
  • 13:36 - 13:39
    นั่นเป็นความสำเร็จที่น่าทึ่งนะ
  • 13:39 - 13:43
    แต่เราต้องบูรณาการมันเข้ากับอนาคตของเรา
  • 13:43 - 13:46
    ดูเหมือนการให้กำลังใจจะเป็นหัวใจสำคัญ
  • 13:46 - 13:47
    ถ้าคุณดูที่เมืองคุปปัม
  • 13:47 - 13:50
    ถ้าคุณลองดูการทดลองทั้งหมดที่ผมเคยทำ
  • 13:50 - 13:57
    มันก็แค่การพูดว่า "ว้าว" เพื่อสดุดีการเรียนรู้
  • 13:57 - 13:59
    มีหลักฐานทางประสาทวิทยาศาสตร์ว่า
  • 13:59 - 14:02
    ใจกลางของสมองคนเรา
    ส่วนที่เหมือนของสัตว์เลี้อยคลาน
  • 14:02 - 14:06
    เมื่อถูกคุกความ
    มันจะไปหยุดการทำงานของส่วนอื่นๆ หมด
  • 14:06 - 14:10
    มันปิดสวิทช์สมองส่วนหน้า ส่วนที่ใช้ในการเรียนรู้
  • 14:10 - 14:12
    มันหยุดการทำงานของส่วนนั้นหมด
  • 14:12 - 14:17
    การลงโทษและการสอบก็คือภาวะคุกคาม
  • 14:17 - 14:20
    เราปิดสวิทช์สมองของเด็กๆ
  • 14:20 - 14:23
    แล้วก็สั่งให้เขา "ทำงาน"
  • 14:23 - 14:26
    ทำไมเขาถึงสร้างระบบแบบนี้ขึ้นมา?
  • 14:26 - 14:28
    เพราะเมื่อก่อนมันจำเป็น
  • 14:28 - 14:31
    ในยุคจักรวรรดินิยม
  • 14:31 - 14:35
    คุณต้องการคนที่เอาตัวรอดได้ในภาวะถูกคุกคาม
  • 14:35 - 14:37
    เมื่อคุณยืนอยู่ในสนามเพลาะคนเดียว
  • 14:37 - 14:41
    ถ้าคุณรอดมาได้ คุณโอเค คุณผ่าน
  • 14:41 - 14:44
    ถ้าคุณไม่รอด คุณก็ตก
  • 14:44 - 14:47
    แต่ยุคจักรวรรดินิยมนั้นผ่านไปแล้ว
  • 14:47 - 14:50
    เกิดอะไรขึ้นกับความคิดสร้างสรรค์ในยุคของเรา?
  • 14:50 - 14:54
    เราต้องปรับเปลี่ยนสมดุล
  • 14:54 - 14:57
    จากการคุกคามกลับไปสู่ความพึงพอใจ
  • 14:57 - 15:01
    ผมกลับมาที่อังกฤษเพื่อตามหาคุณยายชาวอังกฤษ
  • 15:01 - 15:04
    ผมเขียนประกาศในกระดาษว่า
  • 15:04 - 15:07
    ถ้าคุณเป็นคุณยายชาวอังกฤษ
    มีอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง และกล้องเว็บแคม
  • 15:07 - 15:11
    คุณจะสละเวลาให้ผมสัปดาห์ละหนึ่งชั่วโมงได้ไหม?
  • 15:11 - 15:13
    ผมหาคุณยายได้ 200 คนภายในสองสัปดาห์แรก
  • 15:13 - 15:18
    ตอนนี้ผมรู้จักคุณยายชาวอังกฤษมากกว่าใครในจักรวาลแล้ว
    (เสียงหัวเราะ)
  • 15:18 - 15:21
    เราเรียกคุณยายเหล่านี้ว่า คุณยายบนก้อนเมฆ
  • 15:21 - 15:23
    คุณยายบนก้อนเมฆนั่งอยู่ในอินเทอร์เน็ต
  • 15:23 - 15:27
    เมื่อเด็กๆ มีปัญหา เราก็ส่งสัญญาณไปหาคุณยาย
  • 15:27 - 15:31
    คุณยายจะมาจัดการ ผ่านทางสไกป์
  • 15:31 - 15:35
    ผมเคยเห็นเขาทำแบบนี้ในหมู่บ้านชื่อดิกเกิลส์
  • 15:35 - 15:37
    ทางตะวันตกเฉียงเหนือของอังกฤษ
  • 15:37 - 15:40
    ลึกเข้าไปในหมู่บ้านในรัฐทมิฬนาดู อินเดีย
  • 15:40 - 15:42
    ห่างออกไป 6,000 ไมล์
  • 15:42 - 15:46
    เธอทำได้ด้วยท่าทางเก่าแก่ที่คุ้นเคย
  • 15:46 - 15:48
    "ชู่..."
  • 15:48 - 15:50
    โอเค
  • 15:50 - 15:52
    ลองดูนี่
  • 15:52 - 15:56
    คุณยาย: เธอจับฉันไม่ได้หรอก ไหนพูดซิ
  • 15:56 - 16:00
    เธอจับฉันไม่ได้หรอก
  • 16:00 - 16:03
    เด็กๆ: เธอจับฉันไม่ได้หรอก
  • 16:03 - 16:08
    คุณยาย: ฉันคือมนุษย์ขนมปังขิง
    เด็กๆ: ฉันคือมนุษย์ขนมปังขิง
  • 16:08 - 16:13
    คุณยาย: ถูกต้อง! ดีมาก
  • 16:13 - 16:15
    ซูกาตา: เกิดอะไรขึ้นครับ?
  • 16:15 - 16:17
    ผมว่าสิ่งที่เราต้องมาดูกันคือ
  • 16:17 - 16:20
    เราต้องมองว่าการเรียนรู้
  • 16:20 - 16:24
    เป็นผลผลิตของการจัดการเรียนรู้ด้วยตัวเอง
  • 16:24 - 16:27
    ถ้าคุณยอมปล่อยให้กระบวนการศึกษาจัดระบบตัวมันเอง
  • 16:27 - 16:30
    การเรียนรู้ก็จะเกิดขึ้น
  • 16:30 - 16:32
    มันไม่ใช่การ "ทำ" ให้เกิดการเรียนรู้ขึ้น
  • 16:32 - 16:34
    แต่เป็นการ "ปล่อย" ให้เกิดการเรียนรู้ขึ้น
  • 16:34 - 16:37
    ครูทำหน้าที่ผลักดันให้กระบวนการนี้เริ่มต้น
  • 16:37 - 16:40
    แล้วถอยไปยืนอยู่เบื้องหลังด้วยความทึ่ง
  • 16:40 - 16:43
    เมื่อมองเห็นการเรียนรู้เกิดขึ้น
  • 16:43 - 16:45
    ผมคิดว่านั่นแหละคือแนวโน้มที่จะเกิดขึ้น
  • 16:45 - 16:48
    แต่เราจะรู้แน่ได้อย่างไร?
  • 16:48 - 16:50
    ผมตั้งใจจะสร้าง
  • 16:50 - 16:53
    สภาพแวดล้อมเพื่อการจัดการเรียนรู้ด้วยตนเอง
    (Self-Organized Learning Environments - SOLE)
  • 16:53 - 16:57
    ซึ่งก็คืออินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ การร่วมมือกัน
  • 16:57 - 16:59
    และการให้กำลังใจประกอบกัน
  • 16:59 - 17:01
    ผมทดลองสูตรนี้ในหลายต่อหลายโรงเรียน
  • 17:01 - 17:04
    ในประเทศต่างๆ ทั่วโลก โดยคุณครูหลายคน
  • 17:04 - 17:07
    ยืนดูแล้วบอกว่า "แล้วการเรียนรู้จะเกิดขึ้นเองเหรอ?"
  • 17:07 - 17:10
    ผมบอกว่า "ใช่ มันจะเกิดขึ้นเอง"
    "รู้ได้ยังไงล่ะ?"
  • 17:10 - 17:14
    ผมตอบว่า "คุณคงไม่เชื่อที่เด็กๆ บอกผม
  • 17:14 - 17:17
    และคงไม่เชื่อด้วยว่าเขามาจากไหน"
  • 17:17 - 17:19
    ลองดูนี่ นี่คือห้องเรียนแบบ SOLE
  • 17:19 - 17:26
    (เสียงเด็กคุยกัน)
  • 17:26 - 17:32
    อันนี้ที่อังกฤษ
  • 17:32 - 17:36
    เขารักษากฎระเบียบในห้องเรียน
  • 17:36 - 17:44
    เพราะ จำได้ใช่ไหมครับ ว่าไม่มีครูอยู่ด้วย
  • 17:46 - 17:50
    เด็กผู้หญิง: จำนวนรวมของอิเล็กตรอนไม่เท่ากับจำนวนโปรตอน
    ซูกาตา: นี่ที่ออสเตรเลีย
  • 17:50 - 17:57
    เด็กผู้หญิง: ทำให้ไอออนมีประจุไฟฟ้าบวกหรือลบ
  • 17:57 - 18:00
    ระดับประจุของไอออนตัวหนึ่ง
    เท่ากับจำนวนโปรตอนในไอออน
  • 18:00 - 18:04
    ลบด้วยจำนวนอิเล็กตรอน
  • 18:04 - 18:07
    ซูกาตา: ความรู้ที่เกินอายุของเธอเป็นสิบปี
  • 18:07 - 18:10
    ดังนั้น สำหรับ SOLE ผมว่าเราต้องการคำถามสำคัญที่น่าสนใจ
  • 18:10 - 18:12
    คุณคงเคยได้ยินคำถามแบบนี้ คุณรู้ว่ามันหมายถึงอะไร
  • 18:12 - 18:16
    สมัยก่อนนี้ หนุ่มสาวยุคหิน
  • 18:16 - 18:18
    เคยนั่งมองขึ้นไปบนฟ้า แล้วถามว่า
  • 18:18 - 18:20
    "แสงวิบวับพวกนั้นคืออะไร?"
  • 18:20 - 18:25
    แล้วเขาก็สร้างหลักสูตรขึ้นเป็นครั้งแรก
    แต่เราลืมคำถามน่าพิศวงพวกนี้ไปหมด
  • 18:25 - 18:29
    แล้วย่อมันลงจนเหลือแค่ด้านของสามเหลี่ยม
  • 18:29 - 18:33
    แต่มันไม่น่าสนใจพอ
  • 18:33 - 18:36
    ถ้าคุณจะสอนเด็กเก้าขวบ คุณต้องบอกว่า
  • 18:36 - 18:39
    "ถ้ามีอุกาบาตกำลังพุ่งมาทางโลก
  • 18:39 - 18:43
    หนูจะรู้ได้ยังไงว่ามันจะชนโลกหรือเปล่า?"
  • 18:43 - 18:45
    ถ้าเขาถามว่า "อะไรนะครับ? ทำยังไงล่ะครับ?"
  • 18:45 - 18:48
    คุณก็บอกไปว่า "มีคำวิเศษคำหนึ่ง
    คำว่าด้านของสามเหลี่ยม"
  • 18:48 - 18:51
    แล้วปล่อยเขาอยู่คนเดียว เขาจะหาคำตอบได้เอง
  • 18:51 - 18:55
    นี่เป็นภาพบางส่วนจากโครงการ SOLE
  • 18:55 - 19:01
    ผมลองตั้งคำถามยากๆ เช่น
  • 19:01 - 19:05
    "โลกเกิดขึ้นมาได้อย่างไร? แล้วมันจะสิ้นสุดอย่างไร?"
  • 19:05 - 19:07
    ถามเด็กอายุเก้าขวบ
  • 19:07 - 19:10
    อันนี้ถามว่าเกิดอะไรขึ้นกับอากาศที่เราหายใจเข้าไป
  • 19:10 - 19:15
    เด็กๆ เขียนออกมาเองโดยครูไม่ต้องช่วยเลย
  • 19:15 - 19:18
    ครูเพียงแค่ตั้งคำถาม
  • 19:18 - 19:21
    แล้วถอยไปข้างหลัง และชื่นชมคำตอบของเด็กๆ
  • 19:21 - 19:25
    ดังนั้น พรที่ผมจะขอคืออะไร?
  • 19:25 - 19:27
    พรที่ผมอยากขอคือ
  • 19:27 - 19:32
    อยากให้เราออกแบบอนาคตของการเรียนรู้
  • 19:32 - 19:34
    เราไม่อยากเป็นแค่ชิ้นส่วนอะไหล่
  • 19:34 - 19:36
    ของเครื่องคอมพิวเตอร์มนุษย์ ใช่ไหมครับ?
  • 19:36 - 19:40
    เราจึงต้องออกแบบอนาคตการเรียนรู้
  • 19:40 - 19:41
    และเราจะต้อง... เดี๋ยวนะครับ
  • 19:41 - 19:44
    ผมต้องพูดให้ถูกต้องครบถ้วน
  • 19:44 - 19:47
    เพราะ คุณรู้ใช่ไหม มันสำคัญมาก
  • 19:47 - 19:49
    พรที่ผมอยากขอ คือ
    การสร้างอนาคตของการเรียนรู้
  • 19:49 - 19:51
    โดยสนับสนุนเด็กๆ ทั่วโลก
  • 19:51 - 19:54
    ให้นำความรู้สึกพิศวงและสามารถของเขา
    ออกมาทำงานด้วยกัน
  • 19:54 - 19:56
    โปรดช่วยผมสร้างโรงเรียนแห่งนี้
  • 19:56 - 20:00
    ผมจะเรียกมันว่า โรงเรียนบนก้อนเมฆ
    (School in the Cloud)
  • 20:00 - 20:05
    เป็นโรงเรียนที่เด็กๆ จะได้ผจญภัยทางความคิด
  • 20:05 - 20:09
    โดยแรงผลักดันจากคำถามสำคัญที่ครูหยอดมาให้
  • 20:09 - 20:11
    สิ่งที่ผมจะทำ คือ
  • 20:11 - 20:15
    สร้างโครงสร้างพื้นฐานที่ผมสามารถศึกษากระบวนการนี้ได้
  • 20:15 - 20:18
    เป็นที่ที่ไม่ต้องมีคนมาอยู่ประจำ
  • 20:18 - 20:20
    แค่มีคุณยายคนหนึ่ง
  • 20:20 - 20:22
    คอยจัดการเรื่องสุขภาพและความปลอดภัย
  • 20:22 - 20:24
    อย่างอื่นที่เหลือหาได้จากอินเทอร์เน็ต
  • 20:24 - 20:26
    แสงไฟเปิดปิดตามโปรแกรมในอินเทอร์เน็ต
  • 20:26 - 20:28
    เป็นต้น ทุกอย่างทำผ่านอินเทอร์เน็ตหมด
  • 20:28 - 20:31
    แต่ผมอยากขอความช่วยเหลือจากคุณเรื่องหนึ่ง
  • 20:31 - 20:34
    คุณสร้างสภาพแวดล้อมเพื่อการจัดการเรียนรู้ด้วยตนเองได้
  • 20:34 - 20:39
    ที่บ้าน ที่โรงเรียน นอกโรงเรียน ในคลับ
  • 20:39 - 20:41
    ทำง่ายมาก เรามีเอกสารที่เยี่ยมมาก
  • 20:41 - 20:43
    ที่ TED จัดทำขึ้น ซึ่งบอกคุณหมดเลยว่าจะทำอย่างไร
  • 20:43 - 20:46
    ผมขอร้องให้คุณลองทำดู
  • 20:46 - 20:48
    ทั่วทวีปทั้งห้า
  • 20:48 - 20:51
    แล้วส่งข้อมูลมาให้ผม
  • 20:51 - 20:54
    ผมจะเอาข้อมูลมารวมกัน และใส่เข้าไปในโรงเรียนบนก้อนเมฆ
  • 20:54 - 20:57
    และสร้างอนาคตของการเรียนรู้
  • 20:57 - 20:59
    นั่นคือพรที่ผมขอ
  • 20:59 - 21:01
    และท้ายสุดนี้
  • 21:01 - 21:03
    ผมจะพาคุณขึ้นไปบนยอดเขาหิมาลัย
  • 21:03 - 21:06
    ที่ความสูง 12,000 ฟุต อากาศเบาบาง
  • 21:06 - 21:09
    ผมเคยติดตั้งคอมพิวเตอร์ในช่องกำแพงสองเครื่อง
  • 21:09 - 21:11
    และเด็กๆ ก็มาจับกลุ่มกันที่นั่น
  • 21:11 - 21:14
    มีเด็กผู้หญิงคนหนึ่งที่คอยเดินตามผมไปทั่ว
  • 21:14 - 21:19
    ผมบอกเธอว่า "หนูรู้ไหม ลุงอยากหาคอมพิวเตอร์
    ให้ทุกคน ให้เด็กทุกคนเลย
  • 21:19 - 21:21
    แต่ลุงไม่รู้ว่าจะทำยังไงดี?"
  • 21:21 - 21:25
    และขณะที่ผมกำลังพยายามถ่ายรูปเธอเงียบๆ
  • 21:25 - 21:29
    ทันใดนั้น เธอก็ยกมือขึ้นมาแบบนี้ และบอกผมว่า
  • 21:29 - 21:31
    "เลิกพูด แล้วลงมือทำสิ"
  • 21:31 - 21:43
    (เสียงหัวเราะ) (เสียงปรบมือ)
  • 21:43 - 21:45
    ผมว่านั่นเป็นคำแนะนำที่ดีนะ
  • 21:45 - 21:47
    ผมจะทำตามคำแนะนำของเธอ ผมจะหยุดพูดละ
  • 21:47 - 21:51
    ขอบคุณครับ ขอบคุณมากครับ
  • 21:51 - 21:54
    (เสียงปรบมือ)
  • 21:54 - 22:03
    ขอบคุณครับ ขอบคุณ (เสียงปรบมือ)
  • 22:03 - 22:09
    ขอบคุณมากครับ ว้าว (เสียงปรบมือ)
Title:
สร้างโรงเรียนบนก้อนเมฆ
Speaker:
ซูกาตา มิตรา (Sugata Mitra)
Description:

บนเวที TED2013 ซูกาตา มิตรา ขอพรที่ยิ่งใหญ่จากรางวัล TED Prize: โปรดช่วยเขาออกแบบโรงเรียนบนก้อนเมฆ ห้องทดลองการเรียนรู้ในอินเดีย ที่เด็กๆ สามารถสำรวจและเรียนรู้จากกันและกัน โดยใช้ทรัพยากรและพี่เลี้ยงจากอินเทอร์เน็ต มาฟังวิสัยทัศน์ที่เปี่ยมแรงบันดาลใจของเขา เกี่ยวกับการสร้างสภาพแวดล้อมเพื่อการจัดการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-Organized Learning Environments - SOLE) และดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ tedprize.org

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
22:31
Kelwalin Dhanasarnsombut approved Thai subtitles for Build a School in the Cloud
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Build a School in the Cloud
Kelwalin Dhanasarnsombut commented on Thai subtitles for Build a School in the Cloud
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Build a School in the Cloud
PanaEk Warawit accepted Thai subtitles for Build a School in the Cloud
PanaEk Warawit commented on Thai subtitles for Build a School in the Cloud
PanaEk Warawit edited Thai subtitles for Build a School in the Cloud
Thipnapa Huansuriya edited Thai subtitles for Build a School in the Cloud
Show all
  • เป็นการแปลที่ยอดเยี่ยมมากครับ ได้อารมณ์ และสะท้อนตัวตนผู้พูดมาก ผมแก้ไขเล็กน้อยเรื่องช่องว่าง เพราะมันทำให้ไม้โทหลังเครื่องหมายคำพูดเพี้ยนไป ขอบคุณสำหรับคำแปลดีๆ ครับ

  • Thanks for this translation

Thai subtitles

Revisions

  • Revision 6 Edited (legacy editor)
    Kelwalin Dhanasarnsombut