< Return to Video

“ฉันกำลังจะตายใช่ไหม?” คำตอบจากใจจริง

  • 0:01 - 0:05
    ผมทำหน้าที่ผู้รับผิดชอบเคสผู้ป่วยฉุกเฉิน
    มาเป็นเวลา 7 ปี ในนิวยอร์ก
  • 0:05 - 0:06
    ผมเป็นผู้รับผู้ป่วยรายแรก
    ในเหตุการณ์หลายต่อหลายครั้ง
  • 0:06 - 0:10
    ไม่ว่าจะเป็นอุบัติเหตุทางรถยนต์ต่างๆ
    หรือ ผู้บาดเจ็บจากพายุเฮอร์ริเคนแซนดี้
  • 0:10 - 0:11
    ถ้าคุณเป็นเหมือนคนอีกหลายๆคน
  • 0:11 - 0:13
    ความตาย อาจเป็นสิ่งที่น่ากลัวที่สุด
  • 0:13 - 0:15
    บางคนรู้ว่ามันกำลังจะมาถึง
  • 0:15 - 0:17
    บางคนก็ไม่รู้
  • 0:17 - 0:19
    มีเอกสารทางการแพทย์ที่ไม่ค่อยเป็นที่รู้จัก
    ชิ้นหนึ่ง เกี่ยวกับเรื่อง
  • 0:19 - 0:21
    ความตายที่กำลังจะมาถึง
  • 0:21 - 0:22
    เราจะเรียกว่า มันเป็นโรคชนิดหนึ่งก็ได้
  • 0:22 - 0:24
    ในฐานะผู้ให้การรักษา ผมถูกฝึกให้
  • 0:24 - 0:26
    ทำการรักษาโรค หรืออาการเหล่านี้
    เช่นเดียวกับโรคและอาการอื่นๆ
  • 0:26 - 0:27
    ดังนั้น เมื่อคนไข้ที่มีอาการหัวใจวาย
    มองมาที่ผม
  • 0:27 - 0:30
    แล้วถามว่า
    "ตอนนี้ ฉัน/ผม กำลังจะตายใช่ไหม"
  • 0:30 - 0:33
    เราถูกฝึกให้ประเมินสถานการณ์ของคนไข้
  • 0:33 - 0:35
    และตลอดเวลาที่ผมทำอาชีพนี้
    ผมต้องให้คำตอบ
  • 0:35 - 0:37
    กับคนไข้มากมาย ในสถานการณ์
  • 0:37 - 0:39
    ที่ผู้ป่วยเหลือเวลาในชีวิตอีกไม่กี่นาที
  • 0:39 - 0:42
    และผมไม่สามารถที่จะช่วยอะไรพวกเขาได้อีก
  • 0:42 - 0:45
    เมื่อมาถึงจุดนี้ ผมมีอยู่สองทางเลือก
  • 0:45 - 0:49
    ผมจะบอกกับคนไข้ว่าเขากำลังจะตาย
  • 0:49 - 0:52
    หรือผมจะโกหกพวกเขาเพื่อให้พวกเขาสบายใจ
  • 0:52 - 0:54
    ในช่วงแรกที่ผมทำอาชีพนี้
    เมื่อผมเจอกับทางเลือกสองทาง
  • 0:54 - 0:55
    ผมเลือกที่จะโกหก
  • 0:55 - 0:57
    ผมกลัว
  • 0:57 - 1:00
    ผมกลัวว่า ถ้าผมบอกความจริง
  • 1:00 - 1:03
    พวกเขาจะเสียชีวิตไปพร้อมกับความกลัว
  • 1:03 - 1:06
    และพยายามตะเกียกตะกาย
    ในวาระสุดท้ายของชีวิต
  • 1:06 - 1:09
    ความคิดของผมเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง
    เพราะเหตุการณ์หนึ่ง
  • 1:09 - 1:12
    เมื่อห้าปีที่แล้ว ผมได้รับคนไข้ที่ประสบอุบัติเหตุ
    จากรถจักรยานยนต์
  • 1:12 - 1:15
    ผู้ขับขี่บาดเจ็บสาหัสมาก สาหัสมากจริงๆ
  • 1:15 - 1:17
    แล้วในขณะที่ผมทำการตรวจ ผมก็พบว่า
    ผมทำอะไรไม่ได้แล้ว
  • 1:17 - 1:19
    ไม่มีอะไรจะช่วยเขาได้
  • 1:19 - 1:23
    และเช่นเดียวกับในกรณีอื่นๆอีกมากมาย
    เขามองตาผม
  • 1:23 - 1:27
    และถามคำถามนั้น
    "ผมกำลังจะตายใช่มั้ย"
  • 1:27 - 1:31
    ในขณะนั้นเอง ผมตัดสินใจต่างออกไป
  • 1:31 - 1:33
    ผมตัดสินใจบอกความจริงกับเขา
  • 1:33 - 1:37
    ผมตัดสินใจบอกกับเขาว่า ใช่ เขากำลังจะตาย
  • 1:37 - 1:40
    และผมไม่สามารถช่วยอะไรเขาได้
  • 1:40 - 1:44
    ปฏิกริยาของเขา ทำให้ผมประหลาดใจ
    มาจนถึงทุกวันนี้
  • 1:44 - 1:46
    เขาเอนตัวลง และมีสีหน้า
  • 1:46 - 1:48
    ที่แสดงถึงการยอมรับชะตากรรม
  • 1:48 - 1:50
    เขาไม่ได้หวาดกลัว
    หรือหวาดหวั่นต่อความตาย
  • 1:50 - 1:52
    อย่างที่ผมกลัวว่าเขาจะเป็น
  • 1:52 - 1:55
    เขานอนอยู่อย่างนั้น และเมื่อผมมองตาเขา
  • 1:55 - 1:58
    ผมมองเห็นการยอมรับอย่างสงบ
  • 1:58 - 2:00
    ตั้งแต่ตอนนั้นเป็นต้นมา ผมก็ตัดสินใจ
  • 2:00 - 2:04
    ว่ามันไม่ใช่หน้าที่ของผม ที่จะทำให้
    ผู้ที่กำลังจะเสียชีวิตสบายใจ ด้วยคำโกหก
  • 2:04 - 2:07
    หลังจากนั้นผมได้รับผิดชอบคนไข้อีกหลายราย
  • 2:07 - 2:10
    ซึ่งอยู่ในวาระสุดท้าย
  • 2:10 - 2:12
    และผมไม่สามารถช่วยอะไรพวกเขาได้อีกแล้ว
  • 2:12 - 2:13
    คนไข้ส่วนใหญ่ เกือบทุกราย
  • 2:13 - 2:16
    มีปฏิกริยาต่อความเป็นจริงคล้ายๆกัน
  • 2:16 - 2:19
    คือพวกเขายอมรับความจริงอย่างสงบ
  • 2:19 - 2:21
    แต่ที่จริงแล้ว มีลักษณะที่เหมือนกัน
    อยู่สามแบบ
  • 2:21 - 2:25
    ที่ผมสังเกตได้จากเกือบทุกคน
  • 2:25 - 2:29
    ลักษณะแรกที่มักจะทำให้ผมประหลาดใจ
  • 2:29 - 2:33
    ไม่ว่าคนไข้จะมีความเชื่อทางศาสนา
    หรือมาจากวัฒนธรรมใด
  • 2:33 - 2:36
    พวกเขาล้วนต้องการการให้อภัย
  • 2:36 - 2:37
    ไม่ว่าเราจะเรียกสิ่งเหล่านั้นว่า บาป
  • 2:37 - 2:40
    หรืออาจเรียกว่าเป็นความรู้สึกเสียใจ เสียดาย
  • 2:40 - 2:43
    ความรู้สึกผิด เป็นอะไรที่สากล
  • 2:43 - 2:44
    ผมเคยได้ดูแลสุภาพบุรุษสูงวัยท่านหนึ่ง
  • 2:44 - 2:46
    ซึ่งมีอาการหัวใจวายอย่างเฉียบพลัน
  • 2:46 - 2:48
    ในขณะที่ผมกำลังเตรียมตัว และเตรียมอุปกรณ์
  • 2:48 - 2:51
    สำหรับการบีบตัวของหัวใจของเขา
  • 2:51 - 2:56
    ผมเริ่มเกริ่นให้เขาทราบถึง
    อนาคตที่อาจหลีกเลี่ยงไม่ได้ของเขา
  • 2:56 - 2:59
    เขาทราบได้จากน้ำเสียง
    และลักษณะท่าทางของผม
  • 2:59 - 3:01
    และในขณะที่ผมกำลังติดแผ่นวัดคลื่นหัวใจ
    ลงบนหน้าอกของเขา
  • 3:01 - 3:03
    เพื่อเตรียมรับมือกับสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้น
  • 3:03 - 3:06
    เขามองตาผม แล้วพูดว่า
  • 3:06 - 3:09
    "ผมน่าจะใช้เวลา กับลูกหลานให้มากกว่านี้"
  • 3:09 - 3:12
    "ผมไม่น่าจะเห็นแก่ตัว
    เอาเวลาไว้ทำอะไรเป็นส่วนตัวเลย"
  • 3:12 - 3:14
    เมื่อพวกเขาเผชิญกับความตาย
  • 3:14 - 3:17
    สิ่งที่พวกเขาต้องการคือการให้อภัย
  • 3:17 - 3:19
    ลักษณะประการที่สอง ที่ผมสังเกตพบ
  • 3:19 - 3:21
    คือความต้องการเป็นที่จดจำ
  • 3:21 - 3:23
    ไม่ว่าจะโดยผม
  • 3:23 - 3:25
    หรือผู้คนที่พวกเขารัก พวกเขาต้องการทราบว่า
  • 3:25 - 3:27
    พวกเขาจะมีชีวิตอยู่ต่อไปในความทรงจำ
  • 3:27 - 3:29
    พวกเราทุกคน มีความต้องการที่จะเป็นอมตะ
  • 3:29 - 3:32
    พวกเขาต้องการอยู่ในหัวใจ
    และในความคิดของคนที่พวกเขารัก
  • 3:32 - 3:35
    หรือในความทรงจำของผม ลูกทีมของผม
    หรือใครก็ตามที่อยู่รายล้อม
  • 3:35 - 3:38
    นับครั้งไม่ถ้วนครับ ที่คนไข้มองตาผม
  • 3:38 - 3:42
    แล้วถามว่า "คุณจะจำผมได้ไหม"
  • 3:42 - 3:45
    และลักษณะประการสุดท้าย ที่ผมสังเกตพบ
  • 3:45 - 3:48
    ซึ่งสะเทือนใจ และสั่นคลอนผมได้มากที่สุด
  • 3:48 - 3:51
    คือการที่ผู้ที่กำลังจะเสียชีวิต ต้องการคำยืนยันว่า
    พวกเขาได้ใช้ชีวิตอย่างมีความหมาย
  • 3:51 - 3:54
    พวกเขาต้องการทราบว่า พวกเขาไม่ได้ใช้ชีวิตไป
    อย่างเปล่าประโยชน์
  • 3:54 - 3:57
    เพื่อทำเรื่องไร้สาระต่างๆ
  • 3:57 - 4:00
    นี่เป็นเหตุการณ์ที่ผมพบเจอ
    ในช่วงต้นๆ ของการทำอาชีพนี้
  • 4:00 - 4:02
    ผมถูกเรียกให้ออกไปปฏิบัติหน้าที่
  • 4:02 - 4:04
    คนไข้เป็นผู้หญิงในวัย 50 ปลายๆ
  • 4:04 - 4:06
    เธอถูกอัดอยู่ในรถ ซึ่งถูกชนอย่างแรง
  • 4:06 - 4:10
    จากทั้งสองข้างหลังจากหมุน
    เนื่องจากลื่นไถล ที่ความเร็วสูง
  • 4:10 - 4:12
    เธออาการสาหัส สาหัสมากๆ
  • 4:12 - 4:15
    ในขณะที่พนักงานดับเพลิงกำลังพยายาม
    เคลื่อนย้ายเธอออกจากรถ
  • 4:15 - 4:18
    ผมก็ปีนลงไปเพื่อเริ่มให้การดูแลเธอ
  • 4:18 - 4:21
    ในขณะที่ผมกำลังพูดคุยกับเธออยู่
    เธอพูดกับผมว่า
  • 4:21 - 4:24
    "ยังมีอะไรอีกมากมาย ที่ฉันอยากทำในชีวิต"
  • 4:24 - 4:28
    เธอรู้สึกว่า เธอยังไม่ได้ทำอะไรบางอย่าง
    ให้โลกจดจำ
  • 4:28 - 4:30
    หลังจากที่เราคุยกันต่อไป ผมได้ทราบว่า
  • 4:30 - 4:32
    เธอเป็นคุณแม่ ที่อุปการะเด็กกำพร้าสองคน
  • 4:32 - 4:35
    ซึ่งกำลังจะเข้าเรียนเพื่อเป็นแพทย์
  • 4:35 - 4:37
    เธอทำให้ เด็กสองคน
  • 4:37 - 4:40
    ได้รับโอกาสในชีวิต ที่พวกเขาอาจจะไม่ได้รับ
  • 4:40 - 4:42
    และพวกเขาก็จะมีอนาคต ที่จะได้ช่วยเหลือ
    ชีวิตของคนอื่นๆต่อไป
  • 4:42 - 4:45
    ในฐานะแพทย์
  • 4:45 - 4:46
    สุดท้ายแล้วเราใช้เวลาถึง 45 นาที
  • 4:46 - 4:48
    ในการเคลื่อนย้ายเธอออกจากซากรถ
  • 4:48 - 4:53
    และเธอสิ้นใจ
    ก่อนที่เราจะสามารถพาเธอออกมาได้
  • 4:53 - 4:55
    ผมเชื่อว่า สิ่งที่เรามักจะเห็นในภาพยนตร์
  • 4:55 - 4:56
    เมื่อเราต้องเผชิญกับวาระสุดท้ายของชีวิต
  • 4:56 - 4:59
    ความหวาดกลัว ความน่าหวั่นวิตกเหล่านั้น
  • 4:59 - 5:02
    ผมได้พบความเป็นจริงที่ว่า
    ไม่ว่าสถานการณ์จะเป็นอย่างไร
  • 5:02 - 5:04
    ในท้ายที่สุุด ทุกคนจะยอมรับได้อย่างสงบ
  • 5:04 - 5:08
    และผมพบว่า สิ่งที่ดูเหมือนจะเป็นสิ่งเล็กน้อย
  • 5:08 - 5:12
    แม้แต่สิ่งเล็กน้อยที่สุด ที่คุณได้ทำให้แก่โลก
  • 5:12 - 5:15
    ก็อาจเป็นสิ่งที่ทำให้คุณรู้สึกเป็นสุขสงบได้
    ในวาระสุดท้ายของชีวิต
  • 5:15 - 5:17
    ขอบคุณครับ
  • 5:17 - 5:20
    (เสียงปรบมือ)
Title:
“ฉันกำลังจะตายใช่ไหม?” คำตอบจากใจจริง
Speaker:
มัทธิว โอเรลลี่
Description:

มัทธิว โอเรลลี่ เป็นเจ้าหน้าที่เทคนิคการแพทย์ฉุกเฉินในลองไอร์แลนด์ นิวยอร์ก ในการพูดครั้งนี้ โอเรลลี่ ได้บรรยายถึงสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อผู้ประสบเหตุถามเขาว่า "ฉันกำลังจะตายใช่ไหม?"

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
05:33

Thai subtitles

Revisions