< Return to Video

น้ำตาลที่เคลือบอยู่บนเซลล์ของคุณกำลังพยายามบอกคุณว่าอะไร

  • 0:01 - 0:03
    นี่เป็นการพูดเกี่ยวกับเรื่องน้ำตาลและมะเร็งค่ะ
  • 0:04 - 0:07
    ฉันมาสนใจในเรื่องน้ำตาลตอนเรียนอยู่ในมหาวิทยาลัย
  • 0:07 - 0:09
    ไม่ใช่น้ำตาลประเภทนี้นะคะ
  • 0:09 - 0:14
    มันเป็นน้ำตาลที่ศาสตราจารย์
    ที่สอนวิชาชีววิทยาของเราสอนเรา
  • 0:14 - 0:18
    ในบริบทของสารเคลือบเซลล์ของเรา
  • 0:19 - 0:23
    บางทีคุณอาจไม่ทราบว่าเซลล์ของคุณนั้น
    ถูกเคลือบด้วยน้ำตาล
  • 0:23 - 0:24
    และแต่ก่อนฉันก็ไม่รู้เหมือนกัน
  • 0:24 - 0:27
    จนกระทั่งได้เรียนหลักสูตรเหล่านั้นในมหาวิทยาลัย
  • 0:27 - 0:28
    แต่ก่อนหน้านั้น --
  • 0:28 - 0:32
    เอาเป็นว่าตอนนั้น เรียกได้ว่าเป็นยุค 1980 --
  • 0:33 - 0:37
    ผู้คนไม่รู้กันมากนักว่า
    ทำไมเซลล์ของเราจึงต้องถูกเคลือบด้วยน้ำตาล
  • 0:37 - 0:41
    และเมื่อฉันเจาะลึกลงไปในบันทึกของฉัน
    สิ่งที่ฉันสังเกตเห็นในบันทึกที่ฉันจดเอาไว้
  • 0:41 - 0:45
    ก็คือว่าน้ำตาลที่เคลือบเซลล์ของเราไว้นั้น
    เหมือนกับน้ำตาลที่เคลือบ
  • 0:45 - 0:47
    อยู่บนถั่วช็อกโกแลต M แอนด์ M
  • 0:47 - 0:51
    และในอดีตผู้คนก็คิดกันว่า
    น้ำตาลที่เคลือบอยู้บนเซลล์ของเรานั้น
  • 0:51 - 0:53
    ก็เหมือนกับสารเคลือบป้องกัน
  • 0:53 - 0:56
    ที่ไม่ว่าด้วยอะไรก็ตาม มันทำให้เซลล์ของเรานั้น
    แข็งแรงและทนทานมากขึ้น
  • 0:57 - 0:59
    แต่หลายทศวรรษต่อมาเรารู้แล้วว่า
  • 0:59 - 1:01
    มันซับซ้อนกว่านั้นมาก
  • 1:02 - 1:06
    และน้ำตาลบนเซลล์ของเรานั้น
    จริง ๆ แล้วซับซ้อนมาก
  • 1:07 - 1:13
    และถ้าหากคุณสามารถย่อส่วนตัวคุณเองลง
    จนมีขนาดเท่ากับเครื่องบินลำจิ๋ว
  • 1:13 - 1:17
    แล้วบินไปตามแนวพื้นผิวของเซลล์ของคุณ
  • 1:17 - 1:19
    มันก็อาจจะดูเหมือนอะไรบางอย่างที่มีหน้าตาแบบนี้ --
  • 1:19 - 1:21
    ที่มีลักษณะทางภูมิศาสตร์
  • 1:21 - 1:25
    และขณะนี้ น้ำตาลที่ซับซ้อนนั้น
    ก็คือต้นไม้และพุ่มไม้เหล่านี้ --
  • 1:25 - 1:28
    ต้นหลิวลู่ที่โอนไปตามแรงลม
  • 1:28 - 1:30
    และเคลื่อนตัวไปตามคลื่น
  • 1:30 - 1:34
    และเมื่อตอนที่ฉันเริ่มคิด
    เกี่ยวกับน้ำตาลที่ซับซ้อนพวกนี้
  • 1:34 - 1:37
    ซึ่งเหมือนกับแมกไม้บนเซลล์ของเรา
  • 1:37 - 1:40
    มันก็กลายเป็นปัญหาหนึ่ง
    ที่ฉันพบว่ามันน่าสนใจที่สุด
  • 1:40 - 1:43
    ในฐานะที่เป็นนักชีววิทยา
    แล้วก็ยังเป็นนักเคมีอีกด้วย
  • 1:44 - 1:47
    และดังนั้นในปัจจุบัน
    เรามีแนวโน้มที่จะคิดถึงน้ำตาลเหล่านี้
  • 1:47 - 1:50
    ที่อยู่บนพื้นผิวเซลล์ของเรา
  • 1:50 - 1:52
    ว่าเป็นเหมือนกับภาษา
  • 1:52 - 1:56
    พวกมันมีข้อมูลอยู่มากมาย
    ซึ่งถูกเก็บเอาไว้ในโครงสร้างที่ซับซ้อนของมัน
  • 1:57 - 2:00
    แต่พวกมันกำลังพยายามจะบอกอะไรเราอยู่หรือ
  • 2:01 - 2:04
    ฉันสามารถบอกคุณได้ว่าเราทราบถึงข้อมูลบางอย่าง
  • 2:04 - 2:05
    ที่มาจากน้ำตาลเหล่านี้
  • 2:06 - 2:08
    และกลายเป็นว่ามันสำคัญอย่างไม่น่าเชื่อ
  • 2:08 - 2:10
    ในโลกทางการแพทย์ไปแล้ว
  • 2:11 - 2:14
    ตัวอย่างเช่น สิ่งหนึ่งที่น้ำตาลของคุณกำลังบอกเรา
  • 2:14 - 2:16
    คือหมู่เลือดของคุณ
  • 2:17 - 2:21
    ดังนั้น เม็ดเลือดแดงของคุณถูกเคลือบด้วยน้ำตาล
  • 2:21 - 2:26
    และโครงสร้างทางเคมีของน้ำตาลเหล่านั้น
    เป็นตัวกำหนดหมู่เลือดของคุณ
  • 2:26 - 2:30
    ดังนั้น ตัวอย่างเช่น
    เมื่อฉันรู้ว่าฉันมีหมู่เลือดกลุ่มโอ
  • 2:30 - 2:33
    มีกี่คนคะที่มีหมู่เลือดโอ
  • 2:33 - 2:34
    ยกมือขึ้นค่ะ
  • 2:34 - 2:35
    มันค่อนข้างพบได้ทั่วไป
  • 2:35 - 2:38
    ฉะนั้น เมื่อฉันเห็นคนยกมือไม่กี่คน
    มันอาจเป็นไปได้ว่า คุณไม่ได้สนใจฟัง
  • 2:38 - 2:41
    หรือไม่ก็คุณก็ไม่ทราบว่าหมู่เลือดของคุณคือหมู่ใด
    ซึ่งมันก็แย่ทั้งคู่
  • 2:41 - 2:42
    (เสียงหัวเราะ)
  • 2:42 - 2:45
    แต่สำหรับผู้ที่มีหมู่เลือดโอเหมือนกับฉัน
  • 2:45 - 2:48
    สิ่งนี้หมายความว่าเรามีโครงสร้างทางเคมีนี้
  • 2:48 - 2:50
    อยู่บนพื้นผิวของเม็ดเลือดของเรา
  • 2:50 - 2:54
    น้ำตาลที่ไม่ซับซ้อนสามตัว
    เชื่อมต่อกันเป็นน้ำตาลที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น
  • 2:54 - 2:56
    และตามคำจำกัดความนั่นคือหมู่เลือดโอ
  • 2:57 - 2:59
    ค่ะ มีกี่คนคะ ที่มีหมู่เลือดเอ
  • 3:01 - 3:02
    อยู่ตรงนี้เอง
  • 3:02 - 3:05
    นั่นหมายความว่า คุณมีเอนไซม์อยู่ในเซลล์ของคุณ
  • 3:05 - 3:07
    ที่เพิ่มหน่วยโครงสร้างหลักเข้ามาอีกหนึ่งตัว
  • 3:07 - 3:09
    น้ำตาลสีแดงตัวนั้น
  • 3:09 - 3:10
    เพื่อสร้างโครงสร้างที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น
  • 3:11 - 3:14
    ทีนี้ มีกี่คนคะ ที่มีหมู่เลือดบี
  • 3:14 - 3:15
    หลายคนทีเดียว
  • 3:15 - 3:18
    คุณมีตัวเอนไซม์ที่ต่างออกไป
    จากคนที่มีหมู่เลือดเอเล็กน้อย
  • 3:18 - 3:20
    คุณจึงสร้างโครงสร้างที่แตกต่างออกไปบ้าง
  • 3:20 - 3:22
    และท่านทั้งหลายที่หมู่เลือดเอบีนั้น
  • 3:23 - 3:26
    มีตัวเอนไซม์ที่มาจากคุณแม่
    และเอนไซม์อีกตัวหนึ่งจากคุณพ่อ
  • 3:26 - 3:30
    และทีนี้คุณก็สร้างโครงสร้างทั้งสองนั้น
    อยู่ในสัดส่วนประมาณเท่า ๆ กัน
  • 3:30 - 3:32
    และเมื่อเรื่องนี้ได้รับการค้นพบ
  • 3:32 - 3:35
    ซึ่งก็คือเมื่อศตวรรษก่อนหน้านี้
  • 3:35 - 3:38
    มันทำให้วิธีการทางการแพทย์
    ที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งในโลกเป็นไปได้
  • 3:38 - 3:41
    แน่นอนค่ะ มันก็คือ การถ่ายเลือด
  • 3:41 - 3:43
    การรู้ว่าหมู่เลือดของคุณคือหมู่ใด
  • 3:43 - 3:45
    เราก็สามารถตรวจสอบให้แน่ใจได้ว่า
    เมื่อคุณจำเป็นต้องได้รับการถ่ายเลือด
  • 3:45 - 3:48
    ผู้บริจาคเลือดให้คุณนั้น
    จะมีหมู่เลือดเดียวกับคุณ
  • 3:48 - 3:51
    เพื่อที่ว่าร่างกายของคุณนั้น
    จะไม่เห็นน้ำตาลแปลกปลอมเข้าไป
  • 3:52 - 3:54
    ซึ่งมันจะไม่ชอบ และก็จะปฏิเสธอย่างแน่นอน
  • 3:56 - 4:00
    มีอะไรอีกที่น้ำตาลบนพื้นผิวของเซลล์
    พยายามจะบอกกับเรา
  • 4:01 - 4:06
    ค่ะ น้ำตาลเหล่านั้นอาจกำลังบอกเราว่า
    คุณเป็นมะเร็ง
  • 4:07 - 4:09
    เมื่อสองสามทศวรรษที่ผ่านมา
  • 4:09 - 4:14
    ความสัมพันธ์เริ่มจะปรากฏขึ้นให้เห็น
    จากการวิเคราะห์เซลล์เนื้องอก
  • 4:14 - 4:19
    และสถานการณ์โดยทั่วไป
    ก็คือคนไข้จะได้รับการตรวจพบว่ามีเนื้องอก
  • 4:19 - 4:23
    และเนื้อเยื่อนั้นก็จะถูกตัดออกมา
    ในกระบวนการตัดชิ้นเนื้อเพื่อตรวจ
  • 4:23 - 4:26
    แล้วจึงนำส่งลงไปยังห้องทดลองทางพยาธิวิทยา
  • 4:26 - 4:30
    ที่ซึ่งเนื้อเยื่อนั้นจะถูกวิเคราะห์
    เพื่อสำรวจหาความเปลี่ยนแปลงทางเคมี
  • 4:30 - 4:34
    ที่อาจจะบอกนักมะเร็งวิทยา
    เกี่ยกับวิธีการรักษาที่ดีที่สุดได้
  • 4:35 - 4:38
    และสิ่งที่ได้ถูกค้นพบจากการศึกษาเช่นนี้
  • 4:38 - 4:41
    ก็คือน้ำตาลนั้นได้เปลี่ยนไป
  • 4:41 - 4:46
    เมื่อเซลล์ที่สุขภาพดี
    เปลี่ยนไปเป็นเซลล์ที่เจ็บป่วย
  • 4:47 - 4:52
    และความสัมพันธ์เหล่านั้น
    ก็แสดงออกมาครั้งแล้วครั้งเล่า
  • 4:52 - 4:57
    แต่ปัญหาใหญ่ในสาขาวิชาดังกล่าว
    ที่มีตลอดมาก็คือ: ทำไมล่ะ
  • 4:57 - 5:01
    ทำไมมะเร็งจึงมีน้ำตาลที่แตกต่างออกไป
    ความสำคัญของสิ่งนั้น คืออะไร
  • 5:01 - 5:05
    ทำไมมันจึงเกิดขึ้น และเราจะทำอะไร
    เกี่ยวกับมันได้บ้างถ้าปรากฏว่า
  • 5:05 - 5:08
    มันสัมพันธ์กันกับกระบวนการการเกิดโรค
  • 5:10 - 5:13
    ค่ะ ความเปลี่ยนแปลงอย่างหนึ่งที่เราศึกษา
  • 5:13 - 5:19
    ก็คือ การเพิ่มขึ้นในของความหนาแน่น
    ของน้ำตาลจำเพาะ
  • 5:19 - 5:21
    ที่เรียกว่า กรดไซแอลิก
  • 5:22 - 5:26
    และฉันคิดว่า มันจะเป็นน้ำตาลที่สำคัญที่สุดตัวหนึ่ง
  • 5:26 - 5:27
    แห่งยุคของเรา
  • 5:27 - 5:31
    ฉันจึงอยากจะกระตุ้นให้ทุก ๆ คนคุ้นเคยกับคำ ๆ นี้
  • 5:32 - 5:34
    กรดไซแอลิกไม่ได้เป็นน้ำตาลชนิดที่เรากินกัน
  • 5:34 - 5:36
    น้ำตาลพวกนั้นแตกต่างออกไป
  • 5:37 - 5:40
    นี่เป็นน้ำตาลประเภทที่พบได้
  • 5:40 - 5:43
    ที่ระดับหนึ่งบนเซลล์ทั้งหมดในร่างกาย
  • 5:43 - 5:46
    จริง ๆ แล้วมันถูกพบได้ทั่วไปบนเซลล์ของคุณ
  • 5:46 - 5:48
    แต่ด้วยเหตุผลบางอย่าง
  • 5:48 - 5:54
    เซลล์มะเร็ง อย่างน้อยที่สุด
    ก็ในโรคที่ลุกลามไปอย่างมาก
  • 5:54 - 5:57
    มีแนวโน้มที่จะมีกรดไซแอลิก
  • 5:57 - 5:59
    มากกว่าเซลล์ปกติที่สุขภาพดีแข็งแรงจะมี
  • 5:59 - 6:01
    ทำไมหรือคะ
  • 6:01 - 6:02
    นั่นหมายความว่าอย่างไร
  • 6:03 - 6:05
    สิ่งที่เราได้เรียนรู้
  • 6:05 - 6:08
    ก็คือ มันจะต้องเกี่ยวข้อง
    กับระบบภูมิคุ้มกันของคุณ
  • 6:09 - 6:13
    ค่ะ ขออนุญาตเล่าสักนิด
    เกี่ยวกับความสำคัญของระบบภูมิคุ้มกัน
  • 6:13 - 6:14
    ในเรื่องโรคมะเร็ง
  • 6:14 - 6:17
    และนี้เป็นสิ่งที่ฉันคิดว่า
    มันถูกพบได้บ่อย ๆ ในข่าวเดี๋ยวนี้
  • 6:17 - 6:20
    แบบว่า ผู้คนกำลังเริ่มคุ้นเคยกับคำว่า
  • 6:20 - 6:23
    "การรักษามะเร็งด้วยการบำบัดทางภูมิคุ้มกัน
  • 6:23 - 6:25
    และบางท่านก็อาจแม้กระทั่งรู้จัก
  • 6:25 - 6:29
    คนที่กำลังได้ประโยชน์
    จากวิธีการรักษามะเร็งแบบที่ใหม่มาก ๆ นี้
  • 6:30 - 6:33
    ที่เรารู้ในตอนนี้ก็คือ
    เซลล์ภูมิคุ้มกันของคุณ
  • 6:33 - 6:37
    ซึ่งคือเซลล์เม็ดเลือดขาวที่เคลื่อนไปอย่างรวดเร็ว
    ทั่วทั้งกระแสเลือดของคุณนั้น
  • 6:37 - 6:42
    ปกป้องคุณจากสิ่งที่จะเลวร้ายทุกเมื่อเชื่อวัน --
  • 6:42 - 6:43
    ที่รวมถึงโรคมะเร็ง
  • 6:44 - 6:46
    ดังนั้นในรูปนี้
  • 6:46 - 6:49
    ลูกบอลสีเขียวเหล่านั้น
    คือ เซลล์ภูมิคุ้มกันของคุณ
  • 6:49 - 6:52
    และเซลล์ใหญ่สีชมพูนั่นคือ เซลล์มะเร็ง
  • 6:52 - 6:57
    และเซลล์ภูมิคุ้มกันพวกนี้ก็เคลื่อนไปทั่ว
    และชิมรสทุก ๆ เซลล์ในร่างกายของคุณ
  • 6:57 - 6:58
    นั่นแหละคือหน้าที่ของมัน
  • 6:59 - 7:02
    และส่วนใหญ่
    เซลล์พวกนั้นก็มีรสชาดดีใช้ได้
  • 7:02 - 7:04
    แต่บางครั้งเซลล์อาจจะรสชาดไม่ดีเลย
  • 7:05 - 7:07
    หวังว่า นั่นจะเป็นเซลล์มะเร็ง
  • 7:07 - 7:09
    และเมื่อเซลล์ภูมิคุ้มกันเหล่านั้น
    สัมผัสกับรสชาดที่ไม่ดี
  • 7:09 - 7:12
    มันก็จะเริ่มโจมตีและฆ่าเซลล์เหล่านั้นเสีย
  • 7:13 - 7:14
    ค่ะ เราเรื่องนั้น
  • 7:14 - 7:18
    เรายังรู้อีกว่า หากคุณสามารถ
    เสริมศักยภาพให้กับการชิมรสนั้น
  • 7:18 - 7:22
    หากคุณสามารถส่งเสริม
    เซลล์ภูมิคุ้มกันให้กำจัด
  • 7:22 - 7:23
    เซลล์มะเร็งได้อย่างแท้จริง
  • 7:23 - 7:27
    คุณจะปกป้องตัวเองจากมะเร็ง
    ได้ดียิ่งขึ้นในทุก ๆ วัน
  • 7:27 - 7:29
    และบางทีอาจทำให้หายจากโรคมะเร็งได้
  • 7:30 - 7:32
    และตอนนี้เรามียาอยู่สองตัวในท้องตลาด
  • 7:32 - 7:34
    ที่ใช้สำหรับรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็ง
  • 7:34 - 7:37
    ซึ่งทำงานแบบเดียวกับกระบวนการนี้
  • 7:38 - 7:39
    พวกมันไปกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน
  • 7:39 - 7:42
    เพื่อให้ระบบภูมิคุ้มกันนั้นมีพลังแข็งขันยิ่งขึ้น
  • 7:42 - 7:44
    ในการปกป้องเราจากโรคมะเร็ง
  • 7:44 - 7:46
    อันจริง หนึ่งในตัวยาที่ว่านี้
  • 7:46 - 7:49
    อาจได้ช่วยรักษาชีวิต
    ประธานาธิบดี จิมมี่ คาร์เตอร์ เอาไว้
  • 7:50 - 7:54
    จำได้ไหมคะ ประธานาธิบดี คาร์เตอร์
    เป็นโรคมะเร็งเมลาโนมาชนิดลุกลาม
  • 7:54 - 7:57
    ที่ได้แพร่กระจายไปถึงสมองของเขา
  • 7:57 - 8:00
    และการวินิจฉัยพบโรคอะไรแบบนั้น
    ปกติแล้วจะมาพร้อมกับตัวเลข
  • 8:00 - 8:02
    เช่น "จะมีชีวิตอยู่ได้อีกกี่เดือน"
  • 8:03 - 8:07
    แต่เขาได้รับการรักษาด้วยยาใหม่
    ที่ไปกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันพวกนี้
  • 8:08 - 8:11
    และตอนนี้ โรคมะเร็งเมลาโนมาของเขา
    ก็อยู่ในระยะที่โรคสงบไม่มีอาการใด ๆ
  • 8:11 - 8:13
    ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าที่ง
  • 8:13 - 8:16
    เมื่อพิจารณาถึงสถานการณ์แค่เมื่อไม่กี่ปีก่อน
  • 8:16 - 8:18
    จริง ๆ แล้มันน่าทึ่งมากเสียจน
  • 8:18 - 8:21
    ข้อความที่เร้าใจอย่างเช่น
  • 8:21 - 8:24
    ผู้คนกำลังพูดกันว่า
    "เรากำลังอยู่ในช่วงพบยาปฏิชีวนะสำหรับมะเร็ง"
  • 8:24 - 8:26
    ด้วยตัวยาการรักษาด้ยภูมิคุ้มกันใหม่ ๆ เหล่านี้
  • 8:26 - 8:29
    มันเป็นสิ่งที่ห้าวหาญที่จะพูดถึงโรคภัย
  • 8:29 - 8:32
    ซึ่งเราได้ต่อสู้กับมันมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน
  • 8:32 - 8:34
    และส่วนใหญ่แล้วเราเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ให้กับมัน
  • 8:35 - 8:36
    ฉะนั้น เรื่องนี้จึงน่าตื่นเต้นมาก
  • 8:37 - 8:39
    แล้วเรื่องนี้มาเกี่ยวอะไรกับเรื่องน้ำตาลล่ะ
  • 8:39 - 8:42
    ค่ะ ฉันจะบอกคุณว่า
    เราได้เรียนรู้อะไรไปแล้วบ้าง
  • 8:43 - 8:49
    เมื่อเซลล์ภูมิคุ้มกันแนบชิดกับเซลล์มะเร็ง
    เพื่อลิ้มรสอยู่นั้น
  • 8:49 - 8:52
    มันกำลังมองหาสัญญาณของโรคภัย
  • 8:52 - 8:54
    และถ้ามันพบสัญญาณเหล่านั้น
  • 8:54 - 8:58
    เซลล์ภูมิคุ้มกันจะถูกกระตุ้น
    และส่งขีปนาวุธเข้าจู่โจม และก็ฆ่าเซลล์นั้นเสีย
  • 8:59 - 9:05
    แต่ถ้าเซลล์มะเร็งตัวนั้น มีน้ำตาล หรือกรดไซแอลิก
    อยู่อย่างหนาทึบ
  • 9:06 - 9:09
    ค่ะ มันก็เริ่มจะมีรสชาดดีมาก
  • 9:10 - 9:14
    และมันก็มีโปรตีนบนเซลล์ภูมิคุ้มกัน
    ที่คอยจับกรดไซแอลิก
  • 9:14 - 9:18
    และถ้าหากตัวโปรตีนนั้นจับอยู่ระหว่าง
    ไซแนปส์ (synapse)
  • 9:18 - 9:20
    ของเซลล์ภูมิคุ้มและเซลล์มะเร็งแล้ว
  • 9:21 - 9:23
    มันก็จะทำให้การกระตุ้นเซลล์ภูมิคุ้มหยุดชะงัก
  • 9:24 - 9:27
    กรดไซอแอลิกกำลังบอกเซลล์ภูมิคุ้มกันว่า
  • 9:27 - 9:30
    "นี่ เซลล์ตัวนี้น่ะสบายดี
    ไม่มีอะไรต้องดูตรงนี้แล้ว ไปต่อเถอะ
  • 9:30 - 9:32
    ไปมองหาที่อื่นเถอะ"
  • 9:33 - 9:34
    พูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ
  • 9:34 - 9:39
    ตราบใดที่เซลล์ของเรานั้น
    มีกรดไซแอลิกเคลือบอยู่หนา
  • 9:39 - 9:41
    พวกมันก็จะดูดี ใช่ไหมคะ
  • 9:42 - 9:43
    มันน่าที่ง
  • 9:45 - 9:48
    และสมมุติว่าถ้าคุณเอาสารที่เคลือบอยู่นั้นออกไปได้
  • 9:48 - 9:50
    และเอาน้ำตาลนั้นออกไปได้ล่ะ
  • 9:50 - 9:53
    ค่ะ ระบบภูมิคุ้มกันของคุณ
  • 9:53 - 9:57
    ก็อาจมองเห็นเซลล์มะเร็งตัวนั้น
    ว่าตัวตนของมันจริง ๆ เป็นเช่นอะไร
  • 9:57 - 9:59
    คือ มันเป็นสิ่งที่จำเป็นจะต้องถูกทำลาย
  • 10:01 - 10:03
    เรื่องนี้จึงเป็นสิ่งที่เรากำลังทำอยู่ในห้องทดลอง
  • 10:04 - 10:06
    เรากำลังพัฒนาตัวยาใหม่ ๆ ขึ้นมา
  • 10:06 - 10:09
    ซึ่งโดยหลักการแล้ว มันเป็นเสมือน
    เครื่องตัดหญ้าบนพื้นผิวของเซลล์ --
  • 10:10 - 10:14
    โมเลกุลที่ลงไปเกาะอยู่บนพื้นผิว
    ของเซลล์มะเร็งเหล่านี้
  • 10:14 - 10:16
    และตัดไซแอลิกเหล่านั้นออกไป
  • 10:16 - 10:21
    เพื่อที่ว่าระบบภูมิคุ้มกัน
    จะได้สามารถทำงานได้เต็มศักยภาพของมัน
  • 10:21 - 10:23
    ในการกำจัดเซลล์มะเร็งเหล่านั้น
    ออกไปจากร่างกายเรา
  • 10:25 - 10:27
    ในตอนจบของการบรรยายนี้
  • 10:28 - 10:30
    ให้ฉันได้ย้ำเตือนคุณอีกครั้งว่า
  • 10:30 - 10:32
    เซลล์ของคุณนั้นถูกเคลือบไว้ด้วยน้ำตาล
  • 10:33 - 10:38
    น้ำตาลซึ่งกำลังบอกเซลล์ที่อยู่รอบ ๆ เซลล์นั้นว่า
  • 10:38 - 10:40
    เซลล์ตัวนั้นดีหรือไม่ดี
  • 10:41 - 10:42
    และนั่นเป็นเรื่องสำคัญ
  • 10:42 - 10:45
    เพราะว่าระบบภูมิคุ้มกันของเรานั้น
    จำเป็นต้องเก็บเซลล์ที่ดีเอาไว้
  • 10:45 - 10:47
    มิฉะนั้น เราก็จะเป็นโรคแพ้ภูมิคุ้มตัวเอง
  • 10:48 - 10:51
    แต่บางครั้ง มะเร็งก็มีความสามารถ
  • 10:51 - 10:53
    ที่จะสร้างน้ำตาลใหม่ ๆ เหล่านี้ได้
  • 10:53 - 10:54
    ในตอนนี้เราเข้าใจ
  • 10:54 - 10:58
    ว่าน้ำตาลพวกนั้นสะกดระบบภูมิคุ้มกันของเรา
    ให้งงงันได้อย่างไร
  • 10:58 - 11:02
    เราสามารถสร้างยาใหม่
    ที่จะปลุกเซลล์ภูมิคุ้มกันเหล่านั้น
  • 11:02 - 11:05
    และบอกพวกมันว่า "อย่าไปสนใจน้ำตาลพวกนั้น
    กินเซลล์นั่นซะ
  • 11:05 - 11:08
    และขอให้อร่อยกับมะเร็งนะ"
  • 11:09 - 11:10
    ขอบคุณค่ะ
  • 11:10 - 11:12
    (เสียงปรบมือ)
Title:
น้ำตาลที่เคลือบอยู่บนเซลล์ของคุณกำลังพยายามบอกคุณว่าอะไร
Speaker:
แคโรลีน เบอร์ทอซซี (Carolyn Bertozzi)
Description:

เซลล์ของคุณถูกเคลือบไว้ด้วยน้ำตาลซึ่งเก็บข้อมูลต่าง ๆ ไว้และก็พูดกันด้วยภาษาลับ ๆ พวกมันกำลังพยายามจะบอกอะไรกับคุณหรือ หมู่เลือดของคุณล่ะอย่างหนึ่ง -- แล้วก็ เป็นไปได้ว่า มันบอกกับคุณว่าคุณเป็นมะเร็ง แคโรลีน เบอร์ทอซซี นักชีววิทยาเคมีทำวิจัยว่าน้ำตาลที่อยู่บนเซลล์มะเร็งมีปฏิสัมพันธ์กับ (และในบางครั้งก็หลอก) ระบบภูมิคุ้มกันของคุณอย่างไร มารู้กันให้มากขึ้น่าร่างกายของคุณตรวจจับมะเร็งได้อย่างไรและการแพทย์ล่าสุดที่สู้กับมะเร็งจะสามารถช่วยระบบภูมิคุ้มกันของคุณให้เอาชนะโรคนี้ได้อย่างไร

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
11:25

Thai subtitles

Revisions