ออเร็ต แวน เฮียร์เดน: ทำให้แรงงานโลกยุติธรรม
-
0:00 - 0:03โทรศัพท์มือถือเครื่องนี้
-
0:03 - 0:06เริ่มชีวิตของมัน
-
0:06 - 0:08ในเหมืองพื้นบ้าน
-
0:08 - 0:10ทางภาคตะวันออกของประเทศคองโก
-
0:10 - 0:12แร่ถูกขุดด้วยแก๊งติดอาวุธ
-
0:12 - 0:14ที่ใช้เด็กเป็นทาส
-
0:14 - 0:16เป็นแร่ที่คณะมนตรีความมั่นคงของสหประชาชาติ
-
0:16 - 0:18เรียกว่า "แร่เลือด"
-
0:18 - 0:20ต่อมามันเดินทางมาอยู่ในชิ้นส่วนประกอบ
-
0:20 - 0:22และลงเอยในโรงงานแห่งหนึ่ง
-
0:22 - 0:24ในเมืองเฉินจิ้น ประเทศจีน
-
0:24 - 0:27ลูกจ้างในโรงงานนี้กว่า 12 คนฆ่าตัวตายไปแล้ว
-
0:27 - 0:29เฉพาะปีนี้ปีเดียว
-
0:29 - 0:32ชายคนหนึ่งตายหลังจากทำงานไม่หยุด 36 ชั่วโมง
-
0:33 - 0:35เราทุกคนชอบช็อกโกแลต
-
0:35 - 0:37เราซื้อมันให้ลูกๆ
-
0:37 - 0:40ร้อยละ 80 ของโกโก้ทั่วโลกมาจากโคตดิวัวร์ (Cote d'Ivoire) และกานา
-
0:40 - 0:43เก็บเกี่ยวโดยเด็กๆ
-
0:43 - 0:45โคตดิวัวร์มีปัญหาใช้เด็กเป็นทาสเยอะมาก
-
0:45 - 0:48เด็กๆ มักจะถูกส่งตัวมาจากพื้นที่อื่นที่มีเหตุการณ์ความขัดแย้ง
-
0:48 - 0:51ถูกใช้ทำงานในไร่กาแฟ
-
0:51 - 0:53เฮปาริน (Heparin) น้ำยาเจือจางเลือด
-
0:53 - 0:55ผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมตัวหนึ่ง
-
0:55 - 0:58กำเนิดในร้านช่างท้องถิ่น
-
0:58 - 1:00แบบนี้ในประเทศจีน
-
1:00 - 1:02เพราะส่วนประกอบที่สำคัญ
-
1:02 - 1:05มาจากไส้หมู
-
1:05 - 1:08เพชรของคุณ - ทุกท่านคงเคยได้ยินหรือได้ดูหนังเรื่อง "เพชรเลือด (Blood Diamond)" แล้ว
-
1:08 - 1:10นี่คือเหมืองเพชรในซิมบับเว
-
1:10 - 1:12ตอนนี้
-
1:12 - 1:14ฝ้าย - อุซเบกิสถานคือผู้ส่งออกฝ้าย
-
1:14 - 1:16อันดับสองของโลก
-
1:16 - 1:19ทุกปีเมื่อมาถึงฤดูเก็บเกี่ยวฝ้าย
-
1:19 - 1:21รัฐบาลจะปิดโรงเรียน
-
1:21 - 1:24ไล่เด็กขึ้นรถเมล์ ส่งพวกเขาไปที่ไร่ฝ้าย
-
1:24 - 1:27บังคับให้เก็บฝ้ายตลอดเวลาสามสัปดาห์
-
1:27 - 1:29นี่คือการใช้แรงงานเด็ก
-
1:29 - 1:31ในระดับสถาบัน
-
1:32 - 1:35และผลิตภัณฑ์ทั้งหมดนี้อาจจะจบสิ้นวงจรชีวิต
-
1:35 - 1:37ในกองขยะหน้าตาแบบนี้ในมะนิลา
-
1:37 - 1:40เมืองเหล่านี้ ที่มาทั้งหมดนี้
-
1:40 - 1:42สะท้อนช่องว่างของธรรมาภิบาล
-
1:42 - 1:44นี่คือคำอธิบายที่นิ่มนวลที่สุด
-
1:44 - 1:47ที่ผมคิดได้เกี่ยวกับเรื่องนี้
-
1:47 - 1:49นี่คือทะเลมืด
-
1:49 - 1:52ที่ห่วงโซ่อุปทานโลกเริ่มต้น
-
1:52 - 1:54ห่วงโซ่อุปทานโลก
-
1:54 - 1:57ที่นำส่งสินค้าหลากยี่ห้อที่เราโปรดปราน
-
1:57 - 2:00ช่องว่างธรรมาภิบาลบางช่อง
-
2:00 - 2:03บริหารจัดการโดยรัฐเถื่อน
-
2:03 - 2:05บางรัฐไม่ใช่รัฐอีกต่อไปแล้วด้วย
-
2:05 - 2:07แต่เป็นรัฐล้มเหลว
-
2:07 - 2:09บางประเทศ
-
2:09 - 2:12เป็นแค่ประเทศที่เชื่อว่าการผ่อนปรนกฏเกณฑ์หรือการไร้ซึ่งกฏเกณฑ์ใดๆ
-
2:12 - 2:15คือวิธีที่ดีที่สุดในการดึงดูดเงินลงทุน
-
2:15 - 2:17และส่งเสริมการค้า
-
2:17 - 2:19รัฐทั้งสองแบบนี้ทำให้เราเผชิญกับ
-
2:19 - 2:22ภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออกทางศีลธรรมและจริยธรรมขนาดใหญ่
-
2:23 - 2:25ผมรู้ว่าไม่มีใครหรอกที่อยากเป็นคนสมรู้ร่วมคิด
-
2:25 - 2:28หลังจากที่รู้แล้ว
-
2:28 - 2:30ว่าเกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชน
-
2:30 - 2:32ในห่วงโซ่อุปทานโลก
-
2:32 - 2:34แต่ ณ ขณะนี้
-
2:34 - 2:37บริษัทส่วนใหญ่ที่มีส่วนในห่วงโซ่อุปทานที่ว่า
-
2:37 - 2:39ไม่มีวิธีอะไรเลย
-
2:39 - 2:41ที่จะทำให้เรามั่นใจว่า
-
2:41 - 2:43ไม่มีใครต้องจำนองอนาคตของตัวเอง
-
2:43 - 2:46ไม่มีใครต้องเสียสละสิทธิของพวกเขา
-
2:46 - 2:48ในการนำส่งสินค้า
-
2:48 - 2:50ยี่ห้อต่างๆ ที่เราโปรดปราน
-
2:51 - 2:53ผมไม่ได้มาที่นี่เพื่อทำให้คุณหดหู่
-
2:53 - 2:56เกี่ยวกับสถานการณ์ของห่วงโซ่อุปทานโลก
-
2:56 - 2:58แต่เราต้องเผชิญหน้ากับความจริง
-
2:58 - 3:01เราต้องตระหนักว่านี่คือปัญหาร้ายแรง
-
3:01 - 3:04ปัญหาการด้อยสิทธิ
-
3:04 - 3:06นี่คือสาธารณรัฐที่เป็นอิสระ
-
3:06 - 3:08อาจเข้าข่ายรัฐล้มเหลว
-
3:08 - 3:11ไม่ใช่รัฐประชาธิปไตยแน่ๆ
-
3:12 - 3:14และตอนนี้
-
3:14 - 3:16สาธารณรัฐห่วงโซ่อุปทานที่เป็นอิสระนี้
-
3:16 - 3:18ไม่มีใครกำกับดูแล
-
3:18 - 3:21ในทางที่จะทำให้เรามั่นใจว่า
-
3:21 - 3:24เราจะสามารถค้าขายหรือบริโภคอย่างมีศีลธรรม
-
3:25 - 3:27โอเค เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่
-
3:27 - 3:29คุณเคยเห็นภาพยนตร์สารคดีหลายเรื่อง
-
3:29 - 3:31เกี่ยวกับโรงงานนรกในอุตสาหกรรมสิ่งทอ
-
3:31 - 3:34ทั่วโลก แม้แต่ในประเทศพัฒนาแล้ว
-
3:34 - 3:36ถ้าคุณอยากเห็นโรงงานนรกแบบคลาสสิก
-
3:36 - 3:38ก็ไปเจอผมได้ครับที่ แมดิสัน สแควร์ การ์เด้น (Madison Square Garden)
-
3:38 - 3:41ผมจะพาคุณเดินไปดูโรงงานนรกของคนจีน
-
3:41 - 3:44ลองดูเฮปารินเป็นตัวอย่าง
-
3:44 - 3:46นี่คือผลิตภัณฑ์เภสัชกรรม
-
3:46 - 3:49คุณคงคาดว่าห่วงโซ่อุปทานที่นำส่งมันไปยังโรงพยาบาล
-
3:49 - 3:52จะสะอาดเอี่ยมไร้มลทิน
-
3:53 - 3:55ปัญหาคือส่วนประกอบหลักในผลิตภัณฑ์ตัวนี้
-
3:55 - 3:57อย่างที่ผมพูดไปแล้ว
-
3:57 - 3:59มาจากหมู
-
3:59 - 4:02ผู้ผลิตรายใหญ่ในอเมริกา
-
4:02 - 4:04ที่ทำส่วนประกอบชนิดนี้
-
4:04 - 4:07ตัดสินใจเมื่อไม่กี่ปีก่อนว่าจะย้ายโรงงานไปที่จีน
-
4:07 - 4:10เพราะจีนเป็นประเทศที่เลี้ยงหมูมากที่สุดในโลก
-
4:10 - 4:12ตอนที่โรงงานของพวกเขาในจีน
-
4:12 - 4:15ซึ่งก็คงจะสะอาดมากๆ
-
4:15 - 4:17รับซื้อส่วนประกอบทั้งหมด
-
4:17 - 4:19มาจากโรงฆ่าสัตว์หลังบ้านของคนจีน
-
4:19 - 4:21ที่ครอบครัวเชือดหมู
-
4:21 - 4:24และสกัดเอาส่วนผสมนี้ออกมา
-
4:24 - 4:26เมื่อสองสามปีก่อน เกิดกรณีอื้อฉาว
-
4:26 - 4:28มีคนตายประมาณ 80 คนทั่วโลก
-
4:28 - 4:30จากสารปนเปื้อน
-
4:30 - 4:33ที่ซึมเข้าไปอยู่ในห่วงโซ่อุปทานของเฮปาริน
-
4:33 - 4:35ที่แย่กว่านั้นคือ ซัพพลายเออร์ (supplier) บางราย
-
4:35 - 4:39ตระหนักว่าพวกเขาสามารถทดแทนผลิตภัณฑ์
-
4:39 - 4:42ด้วยตัวอื่นที่สร้างผลเหมือนกับเฮปารินในการทดสอบ
-
4:43 - 4:46ผลิตภัณฑ์ตัวแทนนี้มีราคาเพียง 9 ดอลลาร์ต่อปอนด์ (ประมาณ 600 บาท/ก.ก.)
-
4:46 - 4:49ขณะที่เฮปาริน ส่วนประกอบที่แท้จริง
-
4:49 - 4:52มีราคา 900 ดอลลาร์ต่อปอนด์ (ประมาณ 6 หมื่นบาท/ก.ก.)
-
4:52 - 4:54เรื่องนี้ไม่ต้องคิดเลย
-
4:54 - 4:57ปัญหาคือมันฆ่าคนมากกว่าเดิม
-
4:57 - 4:59ทีนี้คุณจะถามตัวเองว่า
-
4:59 - 5:01"ทำไมองค์การอาหารและยาของสหรัฐฯ (U.S.FDA)
-
5:01 - 5:03ถึงปล่อยให้เกิดเรื่องอย่างนี้?"
-
5:03 - 5:05องค์การอาหารและยาของจีน
-
5:05 - 5:07ปล่อยเรื่องอย่างนี้ได้อย่างไร?"
-
5:07 - 5:10คำตอบนั้นเรียบง่ายมาก
-
5:10 - 5:12จีนได้ระบุประเภทโรงงานที่ผลิต
-
5:12 - 5:15ว่าเป็นโรงงานเคมี ไม่ใช่โรงงานเภสัชกรรม
-
5:15 - 5:17รัฐก็เลยไม่ตรวจสอบโรงงานเหล่านี้
-
5:17 - 5:19ส่วนองค์การอาหารและยาของสหรัฐฯ
-
5:19 - 5:21ก็เจอปัญหาขอบเขตการกำกับดูแล
-
5:21 - 5:23เพราะโรงงานอยู่ในจีน
-
5:23 - 5:25ที่จริง องค์การอาหารและยาของสหรัฐฯ สอบสวนกรณีที่เกิดนอกประเทศ
-
5:25 - 5:28ประมาณ 12 เรื่องต่อปี อาจจะถึง 20 ในปีที่ดี
-
5:28 - 5:30มีโรงงานแบบนี้ 500 แห่ง
-
5:30 - 5:32ที่ผลิตสารทดแทนเฮปาริน
-
5:32 - 5:35เฉพาะในจีนเพียงประเทศเดียว
-
5:35 - 5:38อันที่จริง ประมาณร้อยละ 80
-
5:38 - 5:40ของสารประกอบหลักในยา
-
5:40 - 5:42ตอนนี้มาจากต่างประเทศ
-
5:42 - 5:44โดยเฉพาะจีนและอินเดีย
-
5:44 - 5:47และเราก็ไม่มีระบบธรรมาภิบาล
-
5:47 - 5:49เราไม่มีระบบกำกับดูแล
-
5:49 - 5:51ที่จะทำให้มั่นใจว่า
-
5:51 - 5:53การผลิตยานั้นปลอดภัย
-
5:55 - 5:57เราไม่มีระบบที่จะมั่นใจว่า
-
5:57 - 5:59สิทธิมนุษยชน ศักดิ์ศรีขั้นพื้นฐาน
-
5:59 - 6:01จะได้รับการคุ้มครอง
-
6:02 - 6:05ดังนั้น ในระดับชาติ
-
6:05 - 6:07และเราก็ทำงานในประมาณ 60 ประเทศ
-
6:07 - 6:09ในระดับชาติ
-
6:09 - 6:11เราเห็นการพังทลายย่อยยับของความสามารถของรัฐบาล
-
6:11 - 6:14ที่จะกำกับดูแลการผลิต
-
6:14 - 6:17บนแผ่นดินของตัวเอง
-
6:17 - 6:19ปัญหาที่แท้จริงของห่วงโซ่อุปทานโลก
-
6:19 - 6:21ก็คือมันเป็นห่วงโซ่ข้ามชาติ
-
6:21 - 6:23รัฐบาลที่กำลังเข้าสู่ภาวะล้มเหลว
-
6:23 - 6:25ที่กำลังปล่อยปละละเลย
-
6:25 - 6:27ในระดับประเทศ
-
6:27 - 6:29ยิ่งไม่สามารถรับมือกับปัญหา
-
6:29 - 6:32ระดับนานาชาติได้
-
6:32 - 6:34ดูจากพาดหัวข่าวก็ได้ครับ
-
6:34 - 6:37อย่างที่โคเปนเฮเกน ปีที่แล้ว
-
6:37 - 6:39รัฐบาลต่างๆ ล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง
-
6:39 - 6:41ในการทำสิ่งที่ถูกต้อง
-
6:41 - 6:44เมื่อเผชิญหน้ากับความท้าทายระดับสากล
-
6:44 - 6:47หรือลองดูการประชุมจี 20 (G20) เมื่อสองสัปดาห์ก่อนก็ได้
-
6:47 - 6:50ถดถอยจากพันธกรณีที่ประกาศเพียงเมื่อไม่กี่เดือนก่อน
-
6:52 - 6:54คุณจะเลือกประเด็น
-
6:54 - 6:57ความท้าทายขนาดใหญ่ระดับโลก ประเด็นไหนก็ได้ที่เราคุยกันสัปดาห์นี้
-
6:57 - 7:00และถามตัวเองว่า ไหนล่ะภาวะผู้นำจากรัฐบาล
-
7:00 - 7:03ที่จะก้าวออกมาและประกาศวิธีแก้ไข
-
7:03 - 7:05มาตรการรับมือ
-
7:05 - 7:08กับปัญหาสากลเหล่านี้?
-
7:08 - 7:11คำตอบสั้นๆ คือ พวกเขาทำไม่ได้ พวกเขาอยู่ระดับชาติ
-
7:12 - 7:14ผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งอยู่ในประเทศ
-
7:14 - 7:16พวกเขามีผลประโยชน์เฉพาะเขตแดน
-
7:16 - 7:18พวกเขาตั้งผลประโยชน์เหล่านั้นเป็นรอง
-
7:18 - 7:21เอาสินค้าสาธารณะระดับนานาชาติเป็นหลักไม่ได้
-
7:21 - 7:23ดังนั้น ถ้าเราจะมั่นใจได้ว่าจะมี
-
7:23 - 7:25สินค้าสาธารณะสำคัญๆ
-
7:25 - 7:27ในระดับนานาชาติ
-
7:27 - 7:30ในกรณีนี้คือ ห่วงโซ่อุปทานโลก
-
7:30 - 7:33เราก็จะต้องมองหากลไกอื่น
-
7:33 - 7:35ต้องใช้เครื่องจักรตัวอื่น
-
7:37 - 7:40โชคดีที่เรามีตัวอย่างบางกรณีแล้ว
-
7:41 - 7:43ในทศวรรษ 1990
-
7:43 - 7:45มีเรื่องอื้อฉาวเกิดขึ้นหลายเรื่อง
-
7:45 - 7:47เกี่ยวกับการผลิตสินค้ามียี่ห้อในอเมริกา
-
7:47 - 7:49ประเด็นการใช้แรงงานเด็ก แรงงานบังคับ
-
7:49 - 7:52การบั่นทอนสุขภาพและความปลอดภัยขั้นรุนแรง
-
7:52 - 7:54ในที่สุด ในปี 1996 (พ.ศ.2539) ประธานาธิบดีคลินตัน
-
7:54 - 7:57ก็เรียกประชุมที่ทำเนียบขาว
-
7:57 - 8:00เชิญนักอุตสาหกรรม นักสิทธิมนุษยชน เอ็นจีโอ
-
8:00 - 8:02สหภาพแรงงาน กระทรวงแรงงาน
-
8:02 - 8:04เชิญฝ่ายเหล่านี้มาอยู่ในห้อง
-
8:04 - 8:06แล้วบอกว่า "เอาล่ะ
-
8:06 - 8:08ผมไม่อยากให้โลกาภิวัตน์เป็นการวิ่งแข่งไปสู่จุดเสื่อม
-
8:08 - 8:10ผมไม่รู้ว่าจะป้องกันมันได้อย่างไร
-
8:10 - 8:12แต่อย่างน้อยผมก็จะเปิดห้องทำงานของผม
-
8:12 - 8:14ให้พวกคุณทุกคนมารวมตัวกัน
-
8:14 - 8:17หาหนทางแก้ปัญหา"
-
8:17 - 8:19คนกลุ่มนี้ก็เลยจัดตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจแห่งทำเนียบขาวขึ้นมา
-
8:19 - 8:22ใช้เวลาประมาณสามปีถกเถียงกัน
-
8:22 - 8:25ว่าใครควรจะมีความรับผิดชอบอะไรบ้าง
-
8:25 - 8:28ในห่วงโซ่อุปทานโลก
-
8:28 - 8:31บริษัทไม่รู้สึกว่าเป็นความรับผิดชอบของพวกเขา
-
8:31 - 8:33เพราะพวกเขาไม่ได้เป็นเจ้าของโรงงาน
-
8:33 - 8:35ไม่ได้เป็นนายจ้างของแรงงานเหล่านั้น
-
8:35 - 8:38ไม่มีความรับผิดชอบทางกฎหมาย
-
8:38 - 8:40คนที่เหลือรอบโต๊ะประชุม
-
8:40 - 8:42บอกว่า "โทษนะ พูดอย่างนั้นไม่ได้หรอก
-
8:42 - 8:45คุณมีพันธะที่จะต้องดูแล มีพันธกิจ
-
8:45 - 8:47ที่จะให้เรามั่นใจว่าผลิตภัณฑ์
-
8:47 - 8:50จะเดินทางจากที่ไหนก็แล้วแต่ ไปยังร้านค้า
-
8:50 - 8:53ในทางที่ทำให้เราบริโภคมันได้
-
8:53 - 8:56โดยไม่ต้องห่วงความปลอดภัยของเรา
-
8:56 - 9:00หรือไม่ต้องเสียสละมโนธรรมของเรา
-
9:00 - 9:02เวลาบริโภคสินค้าตัวนั้น"
-
9:02 - 9:05พวกเขาเลยตกลงกันว่า "โอเค สิ่งที่เราจะทำ
-
9:05 - 9:07คือเราจะตกลงร่วมใช้มาตรฐานเดียวกัน
-
9:07 - 9:09ร่วมใช้จรรยาบรรณแบบเดียวกัน
-
9:09 - 9:11และประกาศใช้มันตลอดสาย
-
9:11 - 9:13ห่วงโซ่อุปทานโลกของเรา
-
9:13 - 9:15ไม่ว่าใครจะเป็นเจ้าของหรือผู้ควบคุม
-
9:15 - 9:18เราจะทำให้เป็นส่วนหนึ่งของพันธสัญญานี้"
-
9:18 - 9:21นั่นคือวาบแห่งอัจฉริยะ
-
9:21 - 9:23เพราะสิ่งที่พวกเขาทำ
-
9:23 - 9:26คือการใช้พลังของพันธสัญญา
-
9:26 - 9:28พลังของภาคเอกชน
-
9:28 - 9:30ในการนำส่งสินค้าสาธารณะ
-
9:30 - 9:32ความเป็นจริงก็คือ
-
9:32 - 9:34สัญญาจ้างที่บริษัทยี่ห้อชั้นนำข้ามชาติยักษ์ใหญ่แห่งหนึ่ง
-
9:34 - 9:37ทำกับซัพพลายเออร์ในอินเดียหรือจีน
-
9:37 - 9:39มีพลังการหว่านล้อม
-
9:39 - 9:41สูงกว่ากฎหมายแรงงานในประเทศมาก
-
9:41 - 9:43กฏระเบียบด้านสิ่งแวดล้อมในประเทศ
-
9:43 - 9:46มาตรฐานสิทธิมนุษยชนในประเทศ
-
9:46 - 9:49โรงงานเหล่านี้คงไม่มีวันเจอใครไปตรวจสอบเลย
-
9:49 - 9:52และถ้ามีเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบ
-
9:52 - 9:54ก็จะเป็นเรื่องน่าทึ่งมากถ้าเจ้าหน้าที่
-
9:54 - 9:57ปฏิเสธไม่รับสินบน
-
9:58 - 10:00แม้ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ทำงานเต็มที่
-
10:00 - 10:03รายงานว่าโรงงานเหล่านี้ละเมิดกฎระเบียบ
-
10:04 - 10:06ค่าปรับก็จะเล็กน้อยจนน่าขัน
-
10:06 - 10:08แต่ถ้าคุณถูกบอกเลิกสัญญา
-
10:08 - 10:10จากบริษัทยี่ห้อดัง
-
10:10 - 10:12มันจะเป็นความแตกต่าง
-
10:12 - 10:15ระหว่างการอยู่รอดของธุรกิจ หรือล้มละลาย
-
10:15 - 10:17นี่คือความแตกต่าง
-
10:17 - 10:19ดังนั้นสิ่งที่เราทำได้
-
10:19 - 10:21ที่ผ่านมาคือเราได้ใช้
-
10:21 - 10:23พลังและอิทธิพล
-
10:23 - 10:26ของสถาบันเพียงแห่งเดียวที่เป็นสถาบันข้ามชาติ
-
10:26 - 10:28ในห่วงโซ่อุปทานโลก
-
10:28 - 10:31นั่นคือ บริษัทข้ามชาติ
-
10:31 - 10:33ผลักดันให้พวกเขาทำสิ่งที่ถูกต้อง
-
10:33 - 10:36ใช้พลังเพื่อความดี
-
10:36 - 10:39ในการนำส่งสินค้าสาธารณะสำคัญๆ
-
10:40 - 10:42แน่นอน เรื่องนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ
-
10:42 - 10:44ของบริษัทข้ามชาติ
-
10:44 - 10:47องค์กรของพวกเขาไม่ได้ถูกก่อตั้งมาทำเรื่องนี้ แต่ถูกก่อตั้งมาทำกำไร
-
10:47 - 10:50แต่พวกเขาเป็นองค์กรที่มีประสิทธิภาพสูงมาก
-
10:50 - 10:52พวกเขามีทรัพยากร
-
10:52 - 10:55และถ้าเราสามารถเพิ่มเจตจำนง ความทุ่มเท
-
10:55 - 10:58พวกเขาก็รู้ว่าจะต้องนำส่งสินค้าอย่างไร
-
11:00 - 11:03ทีนี้ การจะบรรลุเป้านี้ไม่ใช่เรื่องง่าย
-
11:03 - 11:06ห่วงโซ่อุปทานที่ผมฉายให้ดูก่อนหน้านี้
-
11:06 - 11:08มันไม่มีอยู่จริง
-
11:08 - 11:10คุณต้องมีพื้นที่ปลอดภัย
-
11:10 - 11:13พื้นที่ที่คนจะมารวมตัวกัน
-
11:13 - 11:15นั่งลงโดยไม่ต้องกลัวว่าจะถูกใครตัดสิน
-
11:15 - 11:17ไม่กลัวว่าใครจะกล่าวหา
-
11:17 - 11:19จะได้เผชิญกับปัญหาจริงๆ
-
11:19 - 11:22ตกลงกันว่าปัญหาคืออะไร และร่วมกันหาวิธีแก้ไข
-
11:22 - 11:25เราทำเรื่องนี้ได้ วิธีแก้ไขทางเทคนิคมีอยู่แล้ว
-
11:25 - 11:28ปัญหาอยู่ที่การขาดความไว้วางใจกัน ขาดความมั่นใจ
-
11:28 - 11:30ขาดความเป็นแนวร่วม
-
11:30 - 11:32ระหว่างเอ็นจีโอ กลุ่มรณรงค์
-
11:32 - 11:35องค์กรภาคประชาสังคม
-
11:35 - 11:38และบริษัทข้ามชาติ
-
11:38 - 11:41ถ้าเราสามารถนำกลุ่มทั้งสองฝั่งนี้มาอยู่ในพื้นที่ปลอดภัย
-
11:41 - 11:43ทำให้พวกเขาทำงานร่วมกัน
-
11:43 - 11:46เราก็จะสามารถนำส่งสินค้าสาธารณะได้เลย
-
11:46 - 11:49หรือภายในเวลาไม่นาน
-
11:49 - 11:51นี่คือข้อเสนอที่สุดโต่ง
-
11:51 - 11:53และก็บ้ามากถ้าคิดว่า
-
11:53 - 11:56ถ้าคุณเป็นเด็กสาวอายุ 15 ชาวบังกลาเทศ
-
11:56 - 11:59ออกจากหมู่บ้านในชนบท
-
11:59 - 12:02ไปทำงานในโรงงานในเมืองดาก้า
-
12:02 - 12:05และค่าแรง 22, 23, 24 ดอลลาร์ต่อเดือน (ประมาณ 700 บาท)
-
12:07 - 12:10โอกาสที่ดีที่สุดของคุณที่จะมีสิทธิในที่ทำงาน
-
12:10 - 12:12คือถ้าโรงงานนั้นกำลังผลิต
-
12:12 - 12:14ให้กับบริษัทยี่ห้อดัง
-
12:14 - 12:16ที่มีจรรยาบรรณเป็นลายลักษณ์อักษร
-
12:16 - 12:19และบรรจุจรรยาบรรณนั้นเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาจ้างกับโรงงาน
-
12:20 - 12:22เป็นเรื่องบ้า
-
12:22 - 12:24ที่คิดว่าบริษัทข้ามชาติกำลังพิทักษ์สิทธิมนุษยชน
-
12:24 - 12:26ผมรู้ว่าคุณคงไม่เชื่อหูตัวเอง
-
12:26 - 12:28คุณจะบอกว่า "เราจะไว้ใจพวกเขาได้ยังไง?"
-
12:28 - 12:30ที่จริงเราไม่ไว้ใจครับ
-
12:30 - 12:32เราใช้กฏจากยุคควบคุมขีปนาวุธ
-
12:32 - 12:34"ไว้ใจ แต่ตรวจสอบ"
-
12:34 - 12:36เราจึงไปตรวจสอบ
-
12:36 - 12:39เราหาข้อมูลเรื่องห่วงโซ่อุปทาน จดชื่อโรงงานทั้งหมด
-
12:39 - 12:41เราสุ่มเลือกบางโรงงาน
-
12:41 - 12:44ส่งนักตรวจสอบเข้าไป โดยไม่แจ้งก่อนล่วงหน้า
-
12:44 - 12:46เพื่อตรวจสอบสถานการณ์ในโรงงาน
-
12:46 - 12:48เสร็จแล้วเราก็ตีพิมพ์ผลการตรวจสอบ
-
12:48 - 12:51ความโปร่งใสคือหัวใจของเรื่องนี้
-
12:52 - 12:55คุณอ้างได้ว่าคุณรับผิดชอบ
-
12:55 - 12:58แต่ความรับผิดชอบที่ปราศจากการตรวจสอบ
-
12:58 - 13:00มักจะใช้ไม่ได้
-
13:00 - 13:03ดังนั้นสิ่งที่เรากำลังทำคือ ไม่เพียงแต่ชักจูงบริษัทข้ามชาติ
-
13:03 - 13:06แต่เรากำลังมอบเครื่องมือให้พวกเขานำส่งสินค้าสาธารณะ
-
13:06 - 13:08ที่เรียกว่า ความเคารพในสิทธิมนุษยชน
-
13:08 - 13:10และเราก็กำลังตรวจสอบ
-
13:10 - 13:12คุณไม่ต้องเชื่อผมนะครับ และคุณก็ไม่ควรเชื่อผมด้วย
-
13:12 - 13:15แต่ไปที่เว็บไซต์ ดูผลการตรวจสอบ
-
13:15 - 13:17และถามตัวเองว่า บริษัทนี้กำลังทำตัว
-
13:17 - 13:20ในทางที่รับผิดชอบต่อสังคมหรือเปล่า?
-
13:20 - 13:22ฉันจะซื้อผลิตภัณฑ์นี้ได้หรือไม่
-
13:22 - 13:25โดยไม่ต้องอ่อนข้อจุดยืนทางศีลธรรม?
-
13:25 - 13:28นี่คือวิธีที่ระบบนี้ทำงาน
-
13:30 - 13:32ผมเกลียดความคิด
-
13:32 - 13:35ที่ว่ารัฐบาลไม่ได้ปกป้องสิทธิมนุษยชนทั่วโลก
-
13:35 - 13:37ผมเกลียดความคิด
-
13:37 - 13:39ที่ว่ารัฐบาลได้ปล่อยปละละเลย
-
13:39 - 13:42และผมก็ทำใจยอมรับไม่ได้
-
13:42 - 13:45กับความคิดที่่ว่าเราทำให้รัฐบาลทำหน้าที่ไม่ได้
-
13:45 - 13:47ผมทำเรื่องนี้มา 30 ปีแล้ว
-
13:47 - 13:49ตลอดเวลานั้นผมได้เห็น
-
13:49 - 13:52ความสามารถ ความทุ่มเท และเจตจำนงของรัฐบาล
-
13:52 - 13:54ที่ทำให้เรื่องนี้เสื่อมถอย
-
13:54 - 13:57และผมก็ไม่เห็นว่าพวกเขาจะทำตัวดีขึ้น
-
13:57 - 13:59ตอนนั้นเราเริ่มจากความคิด
-
13:59 - 14:01ที่ว่านี่คือมาตรการชั่วคราว
-
14:01 - 14:04แต่ตอนนี้เรากำลังคิดว่า ที่จริงแล้ว
-
14:04 - 14:06นี่น่าจะเป็นจุดเริ่มต้น
-
14:06 - 14:09ของการกำกับดูแลแบบใหม่ และการรับมือ
-
14:09 - 14:11กับความท้าทายสากล
-
14:11 - 14:14คุณอาจเรียกมันว่า ธรรมาภิบาลแบบเครือข่าย เรียกว่าอะไรก็ได้
-
14:14 - 14:17ผู้มีส่วนร่วมจากภาคเอกชน
-
14:17 - 14:19บริษัทและเอ็นจีโอทั้งหลาย
-
14:19 - 14:21จะต้องมาช่วยกันคิด
-
14:21 - 14:23เพื่อรับมือกับความท้าทายหลักๆ ที่เรากำลังจะเผชิญ
-
14:23 - 14:25แค่ดูเรื่องโรคระบาดก็ได้
-
14:25 - 14:28โรคไข้หวัดหมู ไข้หวัดนก H1N1
-
14:28 - 14:30ดูระบบสุขภาพในหลายๆประเทศ
-
14:30 - 14:32พวกเขามีทรัพยากรพอไหม
-
14:32 - 14:35ที่จะรับมือกับโรคระบาดรุนแรง?
-
14:35 - 14:37ไม่เลย
-
14:37 - 14:40ภาคเอกชนกับเอ็นจีโอ
-
14:40 - 14:42จะมาร่วมกันแก้ไขได้หรือเปล่า?
-
14:42 - 14:44ได้แน่นอน
-
14:44 - 14:46สิ่งที่พวกเขาขาด คือพื้นที่ปลอดภัย
-
14:46 - 14:48ที่จะมาร่วมกันหาข้อตกลง
-
14:48 - 14:50และลงมือปฏิบัติ
-
14:50 - 14:53นี่คือสิ่งที่เราพยายามจะสร้าง
-
14:54 - 14:56ผมรู้ดีว่า
-
14:56 - 14:58เรื่องนี้มักจะดูเหมือน
-
14:58 - 15:00ความรับผิดชอบที่ใหญ่โตเกินไป
-
15:00 - 15:02สำหรับบริษัทใดบริษัทหนึ่ง
-
15:02 - 15:04"คุณอยากให้ผมคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
-
15:04 - 15:06ตลอดห่วงโซ่อุปทานโลกของผม
-
15:06 - 15:09ที่มีซัพพลายเออร์หลายพันเจ้า
-
15:09 - 15:12มันดูยากเกินไป อันตรายเกินไป
-
15:12 - 15:14สำหรับบริษัทใดบริษัทหนึ่ง"
-
15:14 - 15:16แต่แล้วเราก็มีสมาชิก
-
15:16 - 15:19มีบริษัท 4,000 แห่งมาเป็นสมาชิกเรา
-
15:19 - 15:21บางแห่งเป็นบริษัทใหญ่ยักษ์มาก
-
15:21 - 15:23โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเครื่องกีฬา
-
15:23 - 15:26พวกเขาตอบรับความท้าทายและทำสำเร็จ
-
15:26 - 15:29เรามีตัวอย่าง มีต้นแบบ
-
15:30 - 15:32และเมื่อไรก็ตามที่เราถกเถียง
-
15:32 - 15:34ปัญหาหนึ่งที่เราต้องรับมือ
-
15:34 - 15:37นั่นคือ แรงงานเด็กในไร่เมล็ดฝ้ายในอินเดีย
-
15:37 - 15:40ปีนี้เราจะติดตามสถานการณ์ในไร่เมล็ดฝ้าย 50,000 แห่งในอินเดีย
-
15:41 - 15:43เป็นตัวเลขที่ดูเยอะมาก
-
15:43 - 15:46ตัวเลขขนาดนี้ทำให้คุณอยากปิดหูไม่รับรู้
-
15:46 - 15:49แต่เราย่อยมันลงถึงระดับความเป็นจริงพื้นฐาน
-
15:49 - 15:51และที่จริง สิทธิมนุษยชน
-
15:51 - 15:54ก็ย่อยลงมาเหลือเพียงคำถามเดียว
-
15:54 - 15:57คือ เราจะมอบศักดิ์ศรีคืนให้แก่คนคนนี้หรือเปล่า?
-
15:57 - 15:59คนจน
-
15:59 - 16:01คนที่สิทธิมนุษยชนถูกละเมิด
-
16:01 - 16:03แก่นสารของปัญหานี้
-
16:03 - 16:05คือการสูญเสียศักดิ์ศรี
-
16:05 - 16:07การขาดศักดิ์ศรี
-
16:07 - 16:10เรื่องนี้เริ่มจากการคืนศักดิ์ศรีให้กับผู้คน แค่นั้นเอง
-
16:10 - 16:13ผมเคยไปเยือนสลัมนอกเมืองเกอร์กาอัน (Gurgaon)
-
16:13 - 16:15ติดกับเดลี
-
16:15 - 16:18เมืองใหม่เมืองหนึ่งที่กำลังพุ่งแรง
-
16:18 - 16:21ในอินเดียตอนนี้
-
16:21 - 16:23ผมไปคุยกับคนงาน
-
16:23 - 16:25ที่ทำงานในโรงงานสิ่งทอ
-
16:25 - 16:28ผมถามว่า พวกเขาอยากส่งสารอะไรไปถึงบริษัทยี่ห้อดัง
-
16:29 - 16:32พวกเขาไม่ได้ตอบว่าเงิน
-
16:32 - 16:35พวกเขาตอบว่า "คนที่จ้างพวกเรา
-
16:35 - 16:38ทำกับเรายังกับไม่ใช่มนุษย์
-
16:38 - 16:40ราวกับว่าเราไม่มีตัวตน
-
16:40 - 16:43ขอให้ไปบอกพวกเขาว่า ช่วยทำกับเราเหมือนเป็นมนุษย์ด้วย"
-
16:44 - 16:46นี่คือความเข้าใจพื้นๆ ของผมเรื่องสิทธิมนุษยชน
-
16:46 - 16:49นี่คือข้อเสนอง่ายๆ ของผมต่อคุณ
-
16:49 - 16:52ข้อเสนอง่ายๆ ต่อผู้มีอำนาจตัดสินใจ
-
16:52 - 16:54ทุกคนในห้องนี้ และทุกคนนอกห้อง
-
16:54 - 16:56พวกเราสามารถตัดสินใจได้
-
16:56 - 16:58ว่าจะมารวมตัวกัน
-
16:58 - 17:01รับมือกับปัญหา หยิบยกมันขึ้นมา
-
17:01 - 17:03ปัญหาที่รัฐบาลปล่อยมือไปแล้ว
-
17:03 - 17:05ถ้าเราไม่ทำ
-
17:05 - 17:07ก็เท่ากับว่าเราละทิ้งความหวัง
-
17:07 - 17:10ละทิ้งความเป็นมนุษย์ขั้นพื้นฐานของเรา
-
17:10 - 17:12ซึ่งผมก็รู้ว่าไม่ใช่จุดที่เราอยากยืน
-
17:12 - 17:14และเราก็ไม่จำเป็นต้องยืน
-
17:14 - 17:16ผมจึงขอวิงวอนตรงนี้
-
17:16 - 17:18ขอเชิญให้มาร่วมกับเรา เข้ามาอยู่ในพื้นที่ปลอดภัย
-
17:18 - 17:20และเริ่มลงมือให้เกิดผล
-
17:20 - 17:22ขอบคุณมากครับ
-
17:22 - 17:25(เสียงปรบมือ)
- Title:
- ออเร็ต แวน เฮียร์เดน: ทำให้แรงงานโลกยุติธรรม
- Speaker:
- Auret van Heerden
- Description:
-
นักเคลื่อนไหวด้านแรงงาน ออเร็ต แวน เฮียร์เดน (Auret van Heerden) พูดถึงพรมแดนหน้าของสิทธิแรงงาน - อุตสาหกรรมโลภาภิวัตน์ที่ไม่มีรัฐบาลประเทศใดพิทักษ์ความปลอดภัยและคุ้มครองสิทธิของแรงงานได้ เราจะทำให้ห่วงโซ่อุปทานโลกซื่อสัตย์ได้อย่างไร? แวน เฮียร์เดน ยกเหตุผลทางธุรกิจของแรงงานที่เป็นธรรม
- Video Language:
- English
- Team:
- closed TED
- Project:
- TEDTalks
- Duration:
- 17:25