< Return to Video

เราควรสร้างชั้นบังแสงแดดเพื่อทำให้โลกเย็นลงไหม

  • 0:00 - 0:02
    [บรรยายกระตุกต่อมคิดจากแดนนี ฮิลส์]
  • 0:02 - 0:05
    [ถึงเวลาที่จะคุยกันเรื่องของ
    วิศวกรรมสภาพอากาศแล้ว]
  • 0:05 - 0:08
    จะเกิดอะไรขึ้นหากมีวิธีสร้าง
    เครื่องควบคุมความร้อน
  • 0:08 - 0:11
    ที่สามารถปรับลดอุณหภูมิโลกลง
  • 0:11 - 0:12
    เมื่อใดก็ได้
  • 0:14 - 0:18
    คุณอาจคิดว่าถ้าใครมีแนวคิด
    ถึงวิธีการที่เป็นไปได้
  • 0:18 - 0:20
    ทุกคนจะต้องตื่นเต้นไปกับมัน
  • 0:20 - 0:23
    และมันต้องมีงานวิจัยมากมายเพื่อหาวิธีทำ
  • 0:23 - 0:28
    แต่จริง ๆ แล้วมีหลายคนที่เข้าใจดีว่า
    จะต้องทำอย่างไร
  • 0:29 - 0:33
    แต่การสนับสนุนงานวิจัยในด้านนี้มีน้อยมาก
  • 0:33 - 0:36
    ผมคิดว่าส่วนหนึ่ง
  • 0:36 - 0:39
    เป็นเพราะความเข้าใจผิดอย่างมหันต์
    เกี่ยวกับเรื่องนี้
  • 0:39 - 0:43
    ดังนั้นผมจะไม่พยายามโน้มน้าวคุณ
    ว่ามันเป็นแนวคิดที่ดี
  • 0:44 - 0:49
    แต่ผมจะพยายามกระตุ้นให้คุณคิดถึงมัน
  • 0:49 - 0:52
    และแก้ไขความเข้าใจผิดต่าง ๆ
  • 0:52 - 0:56
    แนวคิดพื้นฐานของวิศวกรรมแสงอาทิตย์
  • 0:56 - 0:59
    คือเราสามารถทำให้อากาศเย็นลง
  • 0:59 - 1:02
    โดยสะท้อนแสงแดดกลับ
  • 1:02 - 1:03
    ไปยังอวกาศ
  • 1:04 - 1:09
    แนวคิดดังกล่าวมีวิธีทำมานาน
    เป็นทศวรรษแล้ว
  • 1:10 - 1:14
    เมฆสะท้อนแสงแดดได้ดี
    เช่น เมฆที่ลอยต่ำเหล่านี้
  • 1:15 - 1:17
    ทุกคนรู้ว่าอากาศใต้เมฆจะเย็นกว่า
  • 1:17 - 1:22
    ผมชอบเมฆเหล่านี้เพราะมันมีปริมาณน้ำ
  • 1:22 - 1:24
    เท่ากับอากาศรอบ ๆ ตัวมัน
  • 1:24 - 1:28
    และมันแสดงให้เห็นว่า
    อากาศที่ไหลเวียนเปลี่ยนเพียงเล็กน้อย
  • 1:28 - 1:30
    สามารถทำให้เกิดเมฆได้
  • 1:30 - 1:33
    เราทำให้เกิดเมฆอยู่ตลอดเวลา
  • 1:34 - 1:37
    เหล่านี้คือพวยการกลั่นตัว
    ซึ่งเป็นเมฆเทียม
  • 1:37 - 1:40
    ที่เกิดขึ้นจากเครื่องยนต์ไอพ่นที่บินผ่านไป
  • 1:40 - 1:46
    ดังนั้นเราจึงได้เริ่มเปลี่ยนเมฆกัน
    บนโลกแล้ว
  • 1:46 - 1:47
    โดยไม่ได้ตั้งใจ
  • 1:47 - 1:52
    หรือ ถ้าคุณอยากเชื่อว่ามันเป็นแผนลับสุดยอด
    ของรัฐบาลที่สมคบคิดกันก็ได้
  • 1:52 - 1:54
    (เสียงหัวเราะ)
  • 1:54 - 1:57
    เราทำมันอยู่แล้วหลายอย่าง
  • 1:57 - 2:00
    นี่เป็นรูปเส้นทางเดินเรือขนส่งจากนาซ่า
  • 2:00 - 2:04
    เรือขนส่งที่ผ่านไปทำให้เกิดเมฆขึ้นจริง ๆ
  • 2:04 - 2:06
    และมันก็มากพอที่จะเกิดผลกระทบ
  • 2:06 - 2:11
    ที่ช่วยลดโลกร้อนไปแล้วราว 1 องศา
  • 2:12 - 2:14
    ดังนั้นนับว่าเราทำวิศวกรรมแสงแดดกันไปแล้ว
  • 2:15 - 2:17
    มีแนวคิดวิธีทำหลายแบบในการทำเช่นนี้
  • 2:17 - 2:19
    เราดูความเป็นไปได้แล้วทุกทาง
  • 2:19 - 2:23
    ตั้งแต่สร้างร่มยักษ์ในอวกาศ
  • 2:23 - 2:26
    ไปจนถึงทำให้น้ำทะเลซ่า
  • 2:26 - 2:30
    ซึ่งแนวคิดบางตัวนั้นเป็นไปได้มาก
  • 2:31 - 2:35
    หนึ่งในแนวคิดที่เพิ่งตีพิมพ์เมื่อไม่นาน
    โดย เดวิด คีธ จากฮาวาร์ด
  • 2:35 - 2:39
    คือการนำฝุ่นชอล์ก
    โปรยไปในชั้นสตราโตสเฟียร์
  • 2:39 - 2:41
    ที่มันจะสามารถสะท้อนแสงได้
  • 2:41 - 2:42
    นี่เป็นแนวคิดที่ดีมาก
  • 2:43 - 2:46
    เพราะชอล์กเป็นแร่ชนิดหนึ่ง
    ที่มีมากที่สุดในโลก
  • 2:46 - 2:50
    และมันปลอดภัยมาก--ปลอดภัย
    ถึงขนาดที่เรามาใช้ในอาหารทารกได้
  • 2:51 - 2:55
    และถ้าคุณโปรยชอล์กไปบนชั้นสตราโตสเฟียร์
  • 2:55 - 3:00
    มันก็จะละลายตกลงมากับฝน
    ภายในไม่กี่ปี
  • 3:01 - 3:05
    ก่อนที่คุณจะเริ่มกังวลเรื่องชอล์ก
    ที่ปะปนในน้ำฝน
  • 3:05 - 3:09
    ผมจะบอกให้ฟังว่ามันต้องใช้น้อยแค่ไหน
  • 3:09 - 3:12
    ปรากฎว่ามันคำนวณได้ง่ายมาก
  • 3:13 - 3:16
    ผมคำนวณไว้หลังซองจดหมายไว้แบบนี้
  • 3:16 - 3:17
    (เสียงหัวเราะ)
  • 3:17 - 3:19
    (เสียงปรบมือ)
  • 3:19 - 3:24
    ผมประกันได้เลยว่า
    มีหลายคนที่คำนวณละเอียดกว่านี้
  • 3:24 - 3:26
    แล้วได้ผลลัพธ์เดียวกัน
  • 3:26 - 3:32
    คือคุณต้องโปรยชอล์กขึ้นไปปริมาณ
    10 ล้านล้านกรัมต่อปี
  • 3:32 - 3:35
    เพื่อย้อนผลที่เกิดจาก CO2
    ที่มนุษย์ได้ทำลงไปแล้ว
  • 3:35 - 3:39
    ในแง่ของอุณหภูมิเท่านั้น
    ไม่ใช่ผลกระทบทั้งหมด
  • 3:39 - 3:42
    แล้วมันเป็นยังไง
  • 3:42 - 3:45
    ผมนึกภาพชอล์ก 10 ล้านล้านกรัมต่อปีไม่ออก
  • 3:46 - 3:52
    ผมจึงขอให้แผนกดับเพลิงของแคมบริดจ์
    กับเทเลอร์ มิลซอล
  • 3:52 - 3:53
    ให้ช่วยทดลอง
  • 3:55 - 4:00
    นี่คือภาพสายฉีดน้ำ10 ล้านล้านกรัมต่อปี
  • 4:01 - 4:03
    นี่ไงปริมาณ
  • 4:03 - 4:07
    ที่ต้องปั๊มขึ้นไปบนชั้นสตราโตสเฟียร์
  • 4:07 - 4:11
    เพื่อทำให้โลกเย็นลง
    อยู่ในระดับก่อนยุคอุตสาหกรรม
  • 4:12 - 4:17
    มันน้อยจนเหลือเชื่อ
    มันแค่สายฉีดเดียวสำหรับทั้งโลก
  • 4:17 - 4:19
    แน่นอนว่า คุณใช้สายยางฉีดไม่ได้
  • 4:20 - 4:22
    คุณต้องใช้เครื่องบินหรืออะไรอย่างนั้น
  • 4:22 - 4:28
    แต่มันน้อยมาก พอ ๆ กับโรยชอล์ก 1 กำมือ
  • 4:28 - 4:30
    ลงในสระว่ายน้ำโอลิมปิก
    ที่เต็มไปด้วยน้ำฝน
  • 4:31 - 4:32
    มันแทบไม่มีชอล์กเลย
  • 4:33 - 4:38
    แล้วทำไมไม่มีใครชอบแนวคิดนี้
  • 4:38 - 4:39
    ทำไมไม่มีใครทำเรื่องนี้อย่างจริงจัง
  • 4:39 - 4:42
    มันมีเหตุผลที่ดีอยู่
  • 4:43 - 4:48
    คนจำนวนมากคิดว่า
    เราไม่ควรพูดกันเรื่องนี้เลย
  • 4:48 - 4:53
    และ จริง ๆ เพื่อนสนิทของผมหลายคนที่
    อยู่ในกลุ่มผู้ชม
  • 4:53 - 4:54
    ผู้ซึ่งเป็นคนที่ผมนับถือมาก
  • 4:55 - 4:58
    และเขาคิดว่าจริง ๆ แล้ว
    ผมไม่ควรขึ้นมาพูดเรื่องนี้
  • 4:59 - 5:02
    เหตุผลคือพวกเขากังวล
  • 5:02 - 5:05
    ว่าถ้าเราคิดว่ามีทางแก้ง่าย ๆ
  • 5:05 - 5:09
    เราก็จะไม่เลิกใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล
  • 5:10 - 5:11
    และผมก็กังวลเรื่องนี้เช่นกัน
  • 5:12 - 5:14
    ผมคิดว่ามันเป็นปัญหาใหญ่มากจริง ๆ
  • 5:15 - 5:20
    แต่ผมคิดว่ามันมีปัญหาลึก ๆ อีก
  • 5:21 - 5:26
    คือไม่มีใครชอบแนวคิด
    เรื่องการยุ่งกับโลกทั้งใบ
  • 5:26 - 5:27
    ผมก็ไม่ชอบเช่นกัน
  • 5:28 - 5:30
    ผมรักโลกใบนี้
  • 5:30 - 5:32
    และผมก็ไม่อยากไปยุ่งกับมัน
  • 5:33 - 5:36
    แต่เรากำลังเปลี่ยนชั้นบรรยากาศโลกอยู่แล้ว
  • 5:36 - 5:38
    เรากำลังยุ่งกับมันอยู่แล้ว
  • 5:39 - 5:45
    และมันก็สมเหตุสมผลที่เราจะมองหาวิธี
  • 5:45 - 5:47
    ลดผลกระทบนั้น
  • 5:48 - 5:49
    แล้วเราก็ต้องการงานวิจัยเพื่อทำเช่นนั้น
  • 5:49 - 5:52
    เราต้องเข้าใจวิทยาศาสตร์เบื้องหลัง
    ของเรื่องนี้
  • 5:53 - 5:58
    ผมสังเกตว่า TED เริ่มมีหัวข้อแบบ
  • 5:58 - 6:03
    "ความกลัว VS ความหวัง"
  • 6:03 - 6:06
    หรือ "ความสร้างสรรค์ VS ความรอบคอบ"
  • 6:07 - 6:09
    แน่นอนว่า เราต้องการทั้งคู่
  • 6:10 - 6:12
    ดังนั้นมันจึงไม่มีทางออกที่ดีไปหมดทุกอย่าง
  • 6:12 - 6:15
    และแน่นอนว่าวิธีนี้ก็ไม่ได้ดีไปหมดทุกอย่าง
  • 6:16 - 6:20
    แต่เราต้องการให้วิทยาศาสตร์
    บอกเราว่ามีวิธีใดบ้าง
  • 6:20 - 6:24
    ที่มีทั้งความสร้างสรรค์และความรอบคอบ
  • 6:25 - 6:30
    ดังนั้นผมจึงยังมองเห็นแสงสว่าง
    สำหรับเราในอนาคต
  • 6:30 - 6:34
    แต่ผมไม่ได้เห็นแสงสว่าง
    เพราะปัญหามันเล็กน้อย
  • 6:35 - 6:41
    ผมเห็นแสงสว่างเพราะผมคิดว่า
    ความสามารถในการแก้ปัญหาของเรา
  • 6:41 - 6:43
    นั้นสูงกว่าที่เราคิดมาก
  • 6:44 - 6:45
    ขอบคุณครับ
  • 6:45 - 6:46
    (เสียงปรบมือ)
  • 6:46 - 6:48
    มีการถกเถียง
    กันมากในหัวข้อนี้ที่ TED 2017
  • 6:48 - 6:50
    และเราอยากให้คุณออนไลน์ไปดู
  • 6:50 - 6:52
    มุมมองของคนอื่น
Title:
เราควรสร้างชั้นบังแสงแดดเพื่อทำให้โลกเย็นลงไหม
Speaker:
แดนนี่ ฮิลลิส
Description:

การบรรยายโดย แดนนี่ ฮิลลิส ที่จะเปลี่ยนมุมมองของคุณและกระตุ้นให้เราใช้วิทยาศาสตร์อย่างสร้างสรรค์เพื่อหาทางออกให้กับปัญหาระดับโลกอย่างภาวะการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ แดนนี่สนับสนุนวิศวกรรมแสงอาทิตย์และเขาก็กำลังมองทางแก้ปัญหาที่กำลังเป็นที่ถกเถียงกันนี้ด้วยใจที่เปิดกว้าง

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
09:49

Thai subtitles

Revisions