[บรรยายกระตุกต่อมคิดจากแดนนี ฮิลส์]
[ถึงเวลาที่จะคุยกันเรื่องของ
วิศวกรรมสภาพอากาศแล้ว]
จะเกิดอะไรขึ้นหากมีวิธีสร้าง
เครื่องควบคุมความร้อน
ที่สามารถปรับลดอุณหภูมิโลกลง
เมื่อใดก็ได้
คุณอาจคิดว่าถ้าใครมีแนวคิด
ถึงวิธีการที่เป็นไปได้
ทุกคนจะต้องตื่นเต้นไปกับมัน
และมันต้องมีงานวิจัยมากมายเพื่อหาวิธีทำ
แต่จริง ๆ แล้วมีหลายคนที่เข้าใจดีว่า
จะต้องทำอย่างไร
แต่การสนับสนุนงานวิจัยในด้านนี้มีน้อยมาก
ผมคิดว่าส่วนหนึ่ง
เป็นเพราะความเข้าใจผิดอย่างมหันต์
เกี่ยวกับเรื่องนี้
ดังนั้นผมจะไม่พยายามโน้มน้าวคุณ
ว่ามันเป็นแนวคิดที่ดี
แต่ผมจะพยายามกระตุ้นให้คุณคิดถึงมัน
และแก้ไขความเข้าใจผิดต่าง ๆ
แนวคิดพื้นฐานของวิศวกรรมแสงอาทิตย์
คือเราสามารถทำให้อากาศเย็นลง
โดยสะท้อนแสงแดดกลับ
ไปยังอวกาศ
แนวคิดดังกล่าวมีวิธีทำมานาน
เป็นทศวรรษแล้ว
เมฆสะท้อนแสงแดดได้ดี
เช่น เมฆที่ลอยต่ำเหล่านี้
ทุกคนรู้ว่าอากาศใต้เมฆจะเย็นกว่า
ผมชอบเมฆเหล่านี้เพราะมันมีปริมาณน้ำ
เท่ากับอากาศรอบ ๆ ตัวมัน
และมันแสดงให้เห็นว่า
อากาศที่ไหลเวียนเปลี่ยนเพียงเล็กน้อย
สามารถทำให้เกิดเมฆได้
เราทำให้เกิดเมฆอยู่ตลอดเวลา
เหล่านี้คือพวยการกลั่นตัว
ซึ่งเป็นเมฆเทียม
ที่เกิดขึ้นจากเครื่องยนต์ไอพ่นที่บินผ่านไป
ดังนั้นเราจึงได้เริ่มเปลี่ยนเมฆกัน
บนโลกแล้ว
โดยไม่ได้ตั้งใจ
หรือ ถ้าคุณอยากเชื่อว่ามันเป็นแผนลับสุดยอด
ของรัฐบาลที่สมคบคิดกันก็ได้
(เสียงหัวเราะ)
เราทำมันอยู่แล้วหลายอย่าง
นี่เป็นรูปเส้นทางเดินเรือขนส่งจากนาซ่า
เรือขนส่งที่ผ่านไปทำให้เกิดเมฆขึ้นจริง ๆ
และมันก็มากพอที่จะเกิดผลกระทบ
ที่ช่วยลดโลกร้อนไปแล้วราว 1 องศา
ดังนั้นนับว่าเราทำวิศวกรรมแสงแดดกันไปแล้ว
มีแนวคิดวิธีทำหลายแบบในการทำเช่นนี้
เราดูความเป็นไปได้แล้วทุกทาง
ตั้งแต่สร้างร่มยักษ์ในอวกาศ
ไปจนถึงทำให้น้ำทะเลซ่า
ซึ่งแนวคิดบางตัวนั้นเป็นไปได้มาก
หนึ่งในแนวคิดที่เพิ่งตีพิมพ์เมื่อไม่นาน
โดย เดวิด คีธ จากฮาวาร์ด
คือการนำฝุ่นชอล์ก
โปรยไปในชั้นสตราโตสเฟียร์
ที่มันจะสามารถสะท้อนแสงได้
นี่เป็นแนวคิดที่ดีมาก
เพราะชอล์กเป็นแร่ชนิดหนึ่ง
ที่มีมากที่สุดในโลก
และมันปลอดภัยมาก--ปลอดภัย
ถึงขนาดที่เรามาใช้ในอาหารทารกได้
และถ้าคุณโปรยชอล์กไปบนชั้นสตราโตสเฟียร์
มันก็จะละลายตกลงมากับฝน
ภายในไม่กี่ปี
ก่อนที่คุณจะเริ่มกังวลเรื่องชอล์ก
ที่ปะปนในน้ำฝน
ผมจะบอกให้ฟังว่ามันต้องใช้น้อยแค่ไหน
ปรากฎว่ามันคำนวณได้ง่ายมาก
ผมคำนวณไว้หลังซองจดหมายไว้แบบนี้
(เสียงหัวเราะ)
(เสียงปรบมือ)
ผมประกันได้เลยว่า
มีหลายคนที่คำนวณละเอียดกว่านี้
แล้วได้ผลลัพธ์เดียวกัน
คือคุณต้องโปรยชอล์กขึ้นไปปริมาณ
10 ล้านล้านกรัมต่อปี
เพื่อย้อนผลที่เกิดจาก CO2
ที่มนุษย์ได้ทำลงไปแล้ว
ในแง่ของอุณหภูมิเท่านั้น
ไม่ใช่ผลกระทบทั้งหมด
แล้วมันเป็นยังไง
ผมนึกภาพชอล์ก 10 ล้านล้านกรัมต่อปีไม่ออก
ผมจึงขอให้แผนกดับเพลิงของแคมบริดจ์
กับเทเลอร์ มิลซอล
ให้ช่วยทดลอง
นี่คือภาพสายฉีดน้ำ10 ล้านล้านกรัมต่อปี
นี่ไงปริมาณ
ที่ต้องปั๊มขึ้นไปบนชั้นสตราโตสเฟียร์
เพื่อทำให้โลกเย็นลง
อยู่ในระดับก่อนยุคอุตสาหกรรม
มันน้อยจนเหลือเชื่อ
มันแค่สายฉีดเดียวสำหรับทั้งโลก
แน่นอนว่า คุณใช้สายยางฉีดไม่ได้
คุณต้องใช้เครื่องบินหรืออะไรอย่างนั้น
แต่มันน้อยมาก พอ ๆ กับโรยชอล์ก 1 กำมือ
ลงในสระว่ายน้ำโอลิมปิก
ที่เต็มไปด้วยน้ำฝน
มันแทบไม่มีชอล์กเลย
แล้วทำไมไม่มีใครชอบแนวคิดนี้
ทำไมไม่มีใครทำเรื่องนี้อย่างจริงจัง
มันมีเหตุผลที่ดีอยู่
คนจำนวนมากคิดว่า
เราไม่ควรพูดกันเรื่องนี้เลย
และ จริง ๆ เพื่อนสนิทของผมหลายคนที่
อยู่ในกลุ่มผู้ชม
ผู้ซึ่งเป็นคนที่ผมนับถือมาก
และเขาคิดว่าจริง ๆ แล้ว
ผมไม่ควรขึ้นมาพูดเรื่องนี้
เหตุผลคือพวกเขากังวล
ว่าถ้าเราคิดว่ามีทางแก้ง่าย ๆ
เราก็จะไม่เลิกใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล
และผมก็กังวลเรื่องนี้เช่นกัน
ผมคิดว่ามันเป็นปัญหาใหญ่มากจริง ๆ
แต่ผมคิดว่ามันมีปัญหาลึก ๆ อีก
คือไม่มีใครชอบแนวคิด
เรื่องการยุ่งกับโลกทั้งใบ
ผมก็ไม่ชอบเช่นกัน
ผมรักโลกใบนี้
และผมก็ไม่อยากไปยุ่งกับมัน
แต่เรากำลังเปลี่ยนชั้นบรรยากาศโลกอยู่แล้ว
เรากำลังยุ่งกับมันอยู่แล้ว
และมันก็สมเหตุสมผลที่เราจะมองหาวิธี
ลดผลกระทบนั้น
แล้วเราก็ต้องการงานวิจัยเพื่อทำเช่นนั้น
เราต้องเข้าใจวิทยาศาสตร์เบื้องหลัง
ของเรื่องนี้
ผมสังเกตว่า TED เริ่มมีหัวข้อแบบ
"ความกลัว VS ความหวัง"
หรือ "ความสร้างสรรค์ VS ความรอบคอบ"
แน่นอนว่า เราต้องการทั้งคู่
ดังนั้นมันจึงไม่มีทางออกที่ดีไปหมดทุกอย่าง
และแน่นอนว่าวิธีนี้ก็ไม่ได้ดีไปหมดทุกอย่าง
แต่เราต้องการให้วิทยาศาสตร์
บอกเราว่ามีวิธีใดบ้าง
ที่มีทั้งความสร้างสรรค์และความรอบคอบ
ดังนั้นผมจึงยังมองเห็นแสงสว่าง
สำหรับเราในอนาคต
แต่ผมไม่ได้เห็นแสงสว่าง
เพราะปัญหามันเล็กน้อย
ผมเห็นแสงสว่างเพราะผมคิดว่า
ความสามารถในการแก้ปัญหาของเรา
นั้นสูงกว่าที่เราคิดมาก
ขอบคุณครับ
(เสียงปรบมือ)
มีการถกเถียง
กันมากในหัวข้อนี้ที่ TED 2017
และเราอยากให้คุณออนไลน์ไปดู
มุมมองของคนอื่น