< Return to Video

ck12.org โจทย์การกระจายตัวแบบปกติ: กฎเชิงประจักษ์

  • 0:01 - 0:04
    ลองทำโจทย์อีกข้อจากเรื่องการกระจายตัว
  • 0:04 - 0:10
    แบบปกติในหนังสือสถิติ AP ของ ck12.org
  • 0:10 - 0:12
    และผมใช้อันนี้เพราะมันฟรี และ
  • 0:12 - 0:14
    เป็นหนังสือที่ดีทีเดียว
  • 0:14 - 0:16
    ปัญหาคือว่า, ผมว่า, เป็นแบบฝึกหัดที่ดีสำหรับเรา
  • 0:16 - 0:19
    ลองดูกัน, ข้อ 3
  • 0:19 - 0:20
    คุณสามารถไปที่เว็บไซต์ และผมว่า
  • 0:20 - 0:22
    คุณสามารถดาวน์โหลดหนังสือได้
  • 0:22 - 0:26
    สมมุติว่าค่าเฉลี่ยน้ำหนักของเด็กหญิงอายุ 1 ขวบ ในอเมริกา
  • 0:26 - 0:29
    กระจายตัวแบบปกติ -- หรือกระจายตัว
  • 0:29 - 0:32
    แบบปกติด้วยค่าเฉลี่ยประมาณ 9.5 กรัม
  • 0:32 - 0:34
    มันน่าจะเป็นกิโลกรัมนะ
  • 0:34 - 0:36
    ผมมีลูกชายอายุ 10 เดือน และเขาหนัก 20 ปอนด์
  • 0:36 - 0:40
    ซึ่งประมาณ 9 กิโลกรัม ไม่ใช่ 9.5 กรัม
  • 0:40 - 0:41
    9.5 กรัมนี่ไม่ใช่แล้ว
  • 0:41 - 0:44
    นี่น่าจะเป็นน้ำหนักหนูหรืออะไรสักอย่าง
  • 0:44 - 0:45
    นี่ต้องเป็นกิโลกรัม
  • 0:45 - 0:47
    แต่ช่างเถอะ, มันคือประมาณ 9.5 กิโลกรัม
  • 0:47 - 0:51
    โดยค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่าประมาณ 1.1 กรัม
  • 0:51 - 0:56
    แล้วค่าเฉลี่ยเท่ากับ 9.5 กิโลกรัม ผมว่านะ และ
  • 0:56 - 1:01
    ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.1 กรัม
  • 1:01 - 1:05
    ถ้าไม่ใช่เครื่องคิดเลข -- นี่เป็นคำใบ้ที่น่าสนใจ --
  • 1:05 - 1:09
    จงประมาณจำนวนของเด็กหญิงอายุ 1 ขวบในอเมริกาเป็นเปอร์เซ็นต์
  • 1:09 - 1:10
    ที่ตรงตามเงื่อนไขต่อไปนี้
  • 1:10 - 1:13
    เวลาเขาบอกว่า ให้กะค่าโดยไม่ต้องใช้เครื่องคิดเลข นั่นเป็น
  • 1:13 - 1:15
    คำใบ้ หรือวิธีการที่บอกเราให้ใช้
  • 1:15 - 1:16
    กฏเชิงประจักษ์ (empirical rule)
  • 1:20 - 1:27
    กฎเชิงประจักษ์บางครั้งเรียกว่ากฎ 68-95-99.7
  • 1:27 - 1:30
    และถ้าคุณจำนี่เป็นชื่อกฎ
  • 1:30 - 1:32
    คุณก็ต้องจำกฎได้
  • 1:32 - 1:34
    สิ่งที่มันบอกเราว่าคือว่า ถ้าเรามีการกระจายตัวแบบปกติ --
  • 1:34 - 1:36
    ผมจะทบทวนตรงนี้ก่อนที่เราจะไป
  • 1:36 - 1:37
    ยังปัญหานี้
  • 1:37 - 1:39
    ถ้าเรามีการกระจายตัวแบบปกติ -- ขอผมเขียน
  • 1:39 - 1:40
    การกระจายตัวแบบปกตินะ
  • 1:40 - 1:43
    มันจะเป็นแบบนั้น
  • 1:43 - 1:44
    นั่นคือการกระจายตัวแบบปกติ
  • 1:44 - 1:46
    ผมไม่ได้วาดแบบโดยสมบูรณ์แบบ แต่คุณคงเข้าใจ
  • 1:46 - 1:48
    มันควรสมมาตร
  • 1:48 - 1:50
    นี่คือค่าเฉลี่ยของเราตรงนี้
  • 1:50 - 1:51
    นั่นคือค่าเฉลี่ยของเรา
  • 1:51 - 1:55
    ถ้าเราอยู่เหนือค่าเฉลี่่ย 1 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ
  • 1:55 - 2:00
    ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 1 หน่วยส่วนเบี่ยงบนมาตรฐาน, นี่ก็คือ ค่าเฉลี่ย บวก 1
  • 2:00 - 2:02
    ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
  • 2:02 - 2:06
    นี่คือค่าเฉลี่ยนเรา ลบ 1 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
  • 2:06 - 2:09
    ความน่าจะเป็นที่จะได้ผล ถ้าเรายุ่งกับการกระจายตัว
  • 2:09 - 2:12
    แบบปกติโดยสมบูรณ์, ค่านั้นอยู่ระหว่าง ค่าเฉลี่ยลบ
  • 2:12 - 2:15
    1 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าเฉลี่ยบวก 1 ส่วนเบี่ยงเบน
  • 2:15 - 2:19
    มาตรฐาน -- นั่นก็คือพื้นที่นี้ -- มันจะเป็น,
  • 2:19 - 2:23
    คุณคงเดาได้, คือ 68%
  • 2:23 - 2:26
    มีโอกาส 68% ที่คุณจะได้ค่าอยู่ภายใน 1 ส่วนเบี่ยงเบน
  • 2:26 - 2:28
    มาตรฐานวัดจากค่าเฉลี่ย
  • 2:28 - 2:30
    ไม่ว่าจะอยู่เหนือหรือใต้หรือระหว่าง
  • 2:30 - 2:31
    หนึ่งช่วงเบี่ยงเบนมาตรฐาน
  • 2:31 - 2:34
    ทีนี้, ถ้าเราพูดถึง 2 ช่วงเบี่ยงเบนมาตรฐานรอบ
  • 2:34 - 2:37
    ค่าเฉลี่ย -- ถ้าเราลองไปอีก 1 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน, เราลงไป
  • 2:37 - 2:40
    ยังอีก 1 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ในทิศนั้นและ
  • 2:40 - 2:42
    เหนือค่าเฉลี่ยไปอีก 1 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน -- และเราถาม
  • 2:42 - 2:43
    ตัวเองว่าความน่าจะเป็นในการพบ
  • 2:43 - 2:47
    ค่าอยู่ระหว่างสองช่วงนั้น, มัน
  • 2:47 - 2:51
    ก็คือ, คุณคงเดาได้ว่า, คือ 95%
  • 2:51 - 2:53
    แลนั่นรวมพื้นที่ตรงกลางนี้ด้วย
  • 2:53 - 2:57
    68% นี้คือส่วนหนึ่งของ 95% นี้
  • 2:57 - 2:58
    ผมว่าคุณคงรู้ว่าจะเป็นอย่างไรต่อ
  • 2:58 - 3:01
    ถ้าคุณไปที่ 3 ช่วงเบี่ยงเบนมาตรฐานใต้ค่าเฉลี่ย และ
  • 3:01 - 3:07
    เหนือค่าเฉลี่ย, นั่นคือกฎเชิงประจักษ์หรือกฎ 68-95-99.7
  • 3:07 - 3:16
    มันบอกเราว่ามีโอกาส 99.7% ที่ได้จะผลจาก
  • 3:16 - 3:19
    กระจายตัวแบบปกติที่อยู่ในช่วง 3 เท่าของค่าเบี่ยงเบน
  • 3:19 - 3:20
    มาตรฐานวัดจากค่าเฉลี่ย
  • 3:20 - 3:23
    คือมากกว่า ค่าเฉลี่ยลบ 3 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
  • 3:23 - 3:26
    และน้อยกว่า ค่าเฉลี่ยบวก 3 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
  • 3:26 - 3:28
    นั่นคือสิ่งที่กฎเชิงประจักษ์บอกเรา
  • 3:28 - 3:31
    ทีนี้ลองดูว่าเราจะใช้กับปัญหานี้ได้หรือไม่
  • 3:31 - 3:33
    เขาบอกค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมาให้เรา
  • 3:33 - 3:35
    ขอผมวาดมันนะ
  • 3:35 - 3:39
    ขอผมวาดแกนก่อนให้ดีที่สุด
  • 3:39 - 3:40
    นั่นคือแกนของผม
  • 3:40 - 3:41
    ขอผมวาดเส้นโค้งระฆัง
  • 3:46 - 3:49
    นั่นคือเส้นโค้งระฆังที่ดีที่สุด ที่คุณคาดว่า
  • 3:49 - 3:51
    จะได้จากคนวาดมือเปล่าแล้ว
  • 3:51 - 3:54
    ค่าเฉลี่ยตรงนี้คือ 9 -- และนี่ควรสมมาตร
  • 3:54 - 3:56
    ความสูงนี่ควรเท่ากับความสูงตรงนี้
  • 3:56 - 3:58
    ผมว่าคุณคงเข้าใจ
  • 3:58 - 3:59
    ผมไม่ใช่คอมพิวเตอร์
  • 3:59 - 4:02
    9.5 คือค่าเฉลี่ย
  • 4:02 - 4:03
    ผมจะไม่เขียนหน่วยนะ
  • 4:03 - 4:05
    มันเป็นกิโลกรัมหมด
  • 4:05 - 4:11
    1 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเหนือค่าเฉลี่ย เราก็บวก 1.1 เข้าไป
  • 4:11 - 4:14
    เพราะเขาบอกเราว่าค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานคือ 1.1
  • 4:14 - 4:17
    มันจะเป็น 10.6
  • 4:17 - 4:20
    ถ้าเราไป -- ขอผมวาดเส้นประเล็กๆ ตรงนี้นะ -- 1
  • 4:20 - 4:26
    ช่วงเบี่ยงเบนมาตรฐานใต้ค่าเฉลี่ย เราก็ลบ 1.1
  • 4:26 - 4:34
    จาก 9.5 แล้วมันจะเป็น 8.4
  • 4:34 - 4:38
    ถ้าเราไปยัง 2 ช่วงเบี่ยงเบนมาตรฐานเหนือค่าเฉลี่ย
  • 4:38 - 4:40
    เราก็บวกค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานไปอีกทีตรงนี้
  • 4:40 - 4:41
    จริงไหม?
  • 4:41 - 4:42
    เราไปอีก 1 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน, 2
  • 4:42 - 4:43
    ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
  • 4:43 - 4:44
    นั่นพาเรามาที่ 11.7
  • 4:44 - 4:47
    และถ้าเราไปที่ 3 ช่วงเบี่ยงเบนมาตรฐาน
  • 4:47 - 4:49
    เราก็บวก 1.1 อีกที
  • 4:49 - 4:51
    นั่นพาเรามาที่ 12.8
  • 4:51 - 4:54
    ทำแบบเดียวกันอีกด้านหนึ่ง, 1 ช่วงเบี่ยงเบนมาตรฐาน
  • 4:54 - 4:55
    ใต้ค่าเฉลี่ยคือ 8.4
  • 4:55 - 4:58
    2 ช่วงเบี่ยงเบนมาตรฐานใต้ค่าเฉลี่ย -- ลบ 1.1
  • 4:58 - 5:01
    อีกที -- กลายเป็น 7.3
  • 5:01 - 5:03
    แล้ว 3 ช่วงเบี่ยงเบนมาตรฐานใต้ค่าเฉลี่ย --
  • 5:03 - 5:07
    เราก็เขียนไว้ตรงนี้ -- มันคือ 6.2 กิโลกรัม
  • 5:07 - 5:09
    นั่นก็คือการตั้งโจทย์ตรงนี้
  • 5:09 - 5:12
    แล้วความน่าจะเป็นที่เราพบเด็กหญิงอายุ 1 ขวบ
  • 5:12 - 5:18
    ในอเมริกา ที่หนักน้อยกว่า 8.4 กิโลกรัม
  • 5:18 - 5:19
    หรือบางทีผมควรใช้คำว่ามวลน้อยกว่า
  • 5:19 - 5:22
    8.4 กิโลกรัม
  • 5:22 - 5:25
    ถ้าเราดูตรงนี้, ความน่าจะเป็นที่จะพบเด็ก
  • 5:25 - 5:28
    หรือเด็กผู้หญิงอายุ 1 ขวบ ที่มีมวลหรือน้ำหนัก
  • 5:28 - 5:31
    น้อยกว่า 8.4 นั่นคือพื้นที่
  • 5:31 - 5:32
    ตรงนี้
  • 5:32 - 5:35
    ผมบอกว่า มวล เพราะกิโลกรัมคือหน่วยของมวล
  • 5:35 - 5:37
    หลายคนใช้มันกับน้ำหนักเช่นกัน
  • 5:37 - 5:38
    นั่นก็คือพื้นที่นั่นตรงนั้น
  • 5:38 - 5:41
    แล้วเราจะหาพื้นที่ใต้เส้นโค้งนี้
  • 5:41 - 5:44
    โดยใช้กฎเชิงประจักษ์ได้อย่างไร?
  • 5:44 - 5:47
    ทีนี้, เรารู้ว่าพื้นที่นี้คืออะไร
  • 5:47 - 5:52
    เรารู้ว่าพื้นที่ระหว่างลบ 1 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
  • 5:52 - 5:54
    กับบวก 1 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเป็นเท่าไหร่
  • 5:54 - 5:56
    เรารู้ว่ามันคือ 68%
  • 5:58 - 6:02
    และถ้ามันคือ 68% นั่นหมายความว่า
  • 6:02 - 6:04
    ส่วนที่ไม่ได้อยู่ตรงกลางคือ 32%
  • 6:04 - 6:07
    เพราะพื้นทีใต้การกระจายตัวแบบปกติทั้งหมด
  • 6:07 - 6:11
    คือ 100 หรือ 100% หรือ 1, ขึ้นอยู่กับวิธีที่คุณคิด
  • 6:11 - 6:14
    เพราะคุณไม่มีทาง -- ความเป็นไปได้ทั้งหมด
  • 6:14 - 6:18
    รวมกันได้แค่ 1 เท่านั้น
  • 6:18 - 6:21
    คุณไม่มีทางได้มากกว่า 100% ตรงนี้
  • 6:21 - 6:27
    ดังนั้นถ้าคุณรวมขานี้กับขานี้ -- แล้วนี่บวกค่านั้น
  • 6:27 - 6:29
    จะเท่ากับส่วนที่เลหือ
  • 6:29 - 6:33
    งั้น 100 ลบ 68 นั่นคือ 32
  • 6:33 - 6:34
    32%
  • 6:34 - 6:38
    32% คือถ้าคุณบวกขาซ้ายนี่กับ
  • 6:38 - 6:39
    ขาขวานี่ตรงนี้
  • 6:39 - 6:41
    และนี่คือการกระจายตัวแบบปกติโดยสมบูรณ์
  • 6:41 - 6:43
    เขาบอกเราว่ามันกระจายตัวแบบปกติ
  • 6:43 - 6:45
    มันจะสมมาตรพอดี
  • 6:45 - 6:49
    แล้วถ้าด้านนี่ กับด้านนั้นรวมกันได้ 32 แต่ทั้งคู่
  • 6:49 - 6:52
    สมมาตร, หมายความว่าพวกมันมีพื้นที่เท่ากันเป๊ะ, แล้ว
  • 6:52 - 6:56
    ด้านนี่ตรงนี้ -- ผมจะใช้สีชมพูนะ -- ด้านนี่ตรงนี้ --
  • 6:56 - 7:00
    มันออกมาเป็นสีม่วงมากกว่า -- จะเป็น 16%
  • 7:00 - 7:03
    แล้วด้านนี่ตรงนี้จะเป็น 16%
  • 7:03 - 7:06
    ดังนั้นความน่าจะเป็นที่ได้ผลมากกว่า 1 ส่วนเบี่ยงเบน
  • 7:06 - 7:08
    มาตรฐานเหนือค่เาฉลี่ย -- นั่นคือด้านขวามือนี่
  • 7:08 - 7:10
    , จะเป็น 16%
  • 7:10 - 7:13
    หรือความน่าจะเป็นที่ได้ผลน้อยกว่า 1 ส่วนเบี่ยงเบน
  • 7:13 - 7:17
    มาตรฐานใต้ค่าเฉลี่ย, นั่นคือตรงนี้, 16%
  • 7:17 - 7:19
    แล้วเขาอยากรู้ความน่าจะเป็นที่ได้
  • 7:19 - 7:23
    เด็กอายุ 1 ปีหนักน้อยว่า 8.4 กิโลกรัม
  • 7:23 - 7:28
    น้อยกว่า 8.4 กิโลกรัม คือพื้นที่นี่ตรงนี้
  • 7:28 - 7:30
    และนั่นคือ 16%
  • 7:30 - 7:33
    มันก็คือ 16% จากข้อ a
  • 7:33 - 7:38
    ลองดูข้อ b กัน: ระหว่าง 7.9 กับ 11.7 จุด 7 กิโลกรัม
  • 7:38 - 7:41
    ระหว่าง 7.3 -- นั่นคือตรงนั้น
  • 7:41 - 7:47
    มันคือ 2 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานใต้ค่าเฉลี่ย -- และ 11.7, หนึ่ง,
  • 7:47 - 7:49
    สองส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเหนือค่าเฉลี่ย
  • 7:49 - 7:51
    มันก็เหมือนถามเราว่า ความน่าจะเป็นที่ได้ผล
  • 7:51 - 7:54
    อยู่ระหว่าง 2 ช่วงเบี่ยงเบนมาตรฐานวัดจาก
  • 7:54 - 7:55
    ค่เาฉลี่ยเป็นเท่าไหร่, จริงไหม?
  • 7:55 - 7:57
    นี่คือค่าเฉลี่ยตรงนี้
  • 7:57 - 8:00
    นี่คืออยู่ใต้ 2 ช่วงเบี่ยงเบนมาตรฐาน
  • 8:00 - 8:03
    นี่คืออยู่เหนือ 2 ช่วงเบี่ยงเบนมาตรฐาน
  • 8:03 - 8:04
    ทีนี้ มันก็ตรงไปตรงมา
  • 8:04 - 8:07
    กฎเชิงประจักษ์บอกเราว่า ระหว่าง 2 ช่วงเบี่ยงเบนมาตรฐาน
  • 8:07 - 8:14
    คุณมีโอกาส 95% ที่จะได้ผลอยู่ภายใน
  • 8:14 - 8:15
    2 ช่วงเบี่ยงเบนมาตรฐาน
  • 8:15 - 8:18
    กฎเชิงประจักษ์ให้คำตอบเราได้เลย
  • 8:18 - 8:21
    แล้วสุดท้าย, ข้อ c: ความน่าจะเป็นที่ได้
  • 8:21 - 8:26
    เด็กผู้หญิงอเมริกัน 1 ขวบ หนักกว่า 12.8 กิลโลกรัม
  • 8:26 - 8:28
    12.8 กิโลกรัม คือมากกว่าค่าเฉลี่ยอยู่
  • 8:28 - 8:30
    3 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
  • 8:30 - 8:34
    เราอยากรู้ว่าความน่าจะเป็นที่จะได้ผล
  • 8:34 - 8:36
    เหนือค่าเฉลี่ยอยู่ 3 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
  • 8:36 - 8:42
    นั่นก็คือพื้นที่นี่ตรงนี้ ที่ผมวาดด้วยสีส้ม
  • 8:42 - 8:44
    บางทีผมควรใช้สีอื่น เพื่อให้มัน
  • 8:44 - 8:45
    ต่างกันหน่อย
  • 8:45 - 8:49
    มันเป็นหางยาวมากตรงนี้, เป็นพื้นที่เล็กๆ นี่
  • 8:49 - 8:51
    แล้วความน่าจะเป็นนั้นเป็นเท่าไหร่?
  • 8:51 - 8:53
    ลองกลับมาดูที่กฎเชิงประจักษ์ของเรา
  • 8:53 - 8:56
    เรารู้ว่า ความน่าจะเป็น -- เรารู้พื้นที่นี้
  • 8:56 - 9:00
    เรารู้พื้นที่ระวห่าง ลบ 3 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน กับ
  • 9:00 - 9:02
    บวก 3 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
  • 9:02 - 9:04
    เรารู้ค่านี้ - เนื่องจากนี่คือส่วนสุดท้าย ข้อสุดท้าย
  • 9:04 - 9:08
    ผมสามารถระบายสีทั้งหมดนี่ได้ -- เรารู้ว่าพื้นที่นี่ตรงนี้
  • 9:08 - 9:14
    ระหว่างลบ 3 กับ บวก 3, นี่คือ 99.7%
  • 9:14 - 9:17
    ผลส่วนใหญ่อยู่ตรงนี้
  • 9:17 - 9:18
    ผมหมายความว่า, เกือบทั้งหมดเลย
  • 9:18 - 9:20
    แล้วเราเหลืออะไรไว้ให้หางสองอันบ้าง?
  • 9:20 - 9:21
    จำไว้, มันมีหาง 2 อัน
  • 9:21 - 9:22
    นี่คืออันหนึ่ง
  • 9:22 - 9:25
    แล้วคุณได้ผลที่น้อยกว่า ค่าเฉลี่ยลบ 3
  • 9:25 - 9:26
    ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
  • 9:26 - 9:27
    หางนี่ตรงนี้
  • 9:27 - 9:32
    นั่นบอกเราว่านี่, น้อยกว่าค่าเฉลี่ยลบ 3
  • 9:32 - 9:35
    ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และมากกว่า ค่าเฉลี่ยบวก
  • 9:35 - 9:39
    3 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน รวมกันต้องเท่ากับที่เหลือ
  • 9:39 - 9:47
    ทีนี้ที่เหลือ, มันเหลืออยู่แค่ 0.3%
  • 9:47 - 9:48
    แล้วสองอันนี้ต้องสมมาตร
  • 9:48 - 9:50
    พวกมันจะต้องเท่ากัน
  • 9:50 - 9:55
    ดังนั้นเจ้านี่ตรงนี้ ต้องเป็นครึ่งหนึ่งของอันนี้ หรือ 0.15% และ
  • 9:55 - 9:59
    เจ้านี่ตรงนี้ต้องเป็น 0.15%
  • 9:59 - 10:04
    ดังนั้นความน่าจะเป็นที่ได้เด็กหญิงอายุ 1 ขวบในอเมริกา
  • 10:04 - 10:07
    ที่หนักกว่า 12.8 เปอร์เซ็นต์ ถ้าคุณสมมุติว่า
  • 10:07 - 10:10
    การกระจายตัวแบบปกติโดยสมบูรณ์คือพื้นที่ใต้โค้งนี้
  • 10:10 - 10:13
    พื้นที่ใต้โค้งที่มากกว่าค่าเฉลี่ยบวก 3 ส่วน
  • 10:13 - 10:14
    เบี่ยงเบนมาตรฐาน
  • 10:14 - 10:22
    มันคือ 0.15%
  • 10:22 - 10:24
    เอาล่ะ, หวังว่าคุณคงได้ประโยชน์ไปนะ
Title:
ck12.org โจทย์การกระจายตัวแบบปกติ: กฎเชิงประจักษ์
Description:

กฏเชิงประจักษ์ (หรือกฏ 68-95-99.7) ในการประมาณค่าความน่าจะเป็นของการกระจายตัวแบบปกติ

more » « less
Video Language:
English
Duration:
10:25

Thai subtitles

Revisions