< Return to Video

ทำไมเราไม่ควรใช้ชีวิตในเงื้อมมือการตลาด

  • 0:01 - 0:06
    นี่คือคำถามที่เราต้องมาคิดใหม่ด้วยกันครับ
  • 0:06 - 0:08
    เงินและตลาดควรมีบทบาทอย่างไร
  • 0:08 - 0:12
    ในสังคมของเรา
  • 0:12 - 0:14
    ทุกวันนี้ มีอยู่แค่ไม่กี่อย่างที่
  • 0:14 - 0:17
    เงินซื้อไม่ได้
  • 0:17 - 0:18
    ถ้าคุณต้องเข้าคุก
  • 0:18 - 0:21
    ในซานตาบาร์บาร่า แคลิฟอร์เนีย
  • 0:21 - 0:22
    คุณควรจะรู้ว่า
  • 0:22 - 0:25
    ถ้าคุณไม่ชอบที่พักแบบมาตรฐาน
  • 0:25 - 0:29
    คุณสามารถจ่ายเงินเพื่ออัพเกรดห้องขังได้
  • 0:29 - 0:32
    จริงๆนะครับ เท่าไหร่น่ะเหรอ คุณคิดว่าไงครับ
  • 0:32 - 0:34
    คุณทายว่าเท่าไหร่ครับ
  • 0:34 - 0:36
    500 ดอลลาร์เหรอ
  • 0:36 - 0:39
    มันไม่ใช่โรงแรมริทซ์คาร์ลตัน (Riitz-Carlton)
    นะครับ มันคือคุก
  • 0:39 - 0:41
    คืนละ 82 ดอลลาร์ครับ
  • 0:41 - 0:44
    คืนละ 82 ดอลลาร์
  • 0:44 - 0:46
    ถ้าคุณไปสวนสนุก
  • 0:46 - 0:48
    แล้วไม่อยากยืนรอคิวยาวๆ
  • 0:48 - 0:50
    ในแถวเครื่องเล่นสุดฮิต
  • 0:50 - 0:53
    มีทางออกแล้วครับ ตอนนี้
  • 0:53 - 0:57
    ในสวนสนุกหลายแห่ง คุณจ่ายเพิ่ม
  • 0:57 - 0:59
    เพื่อที่จะโดดไปอยู่หัวแถวได้เลย
  • 0:59 - 1:03
    พวกเขาเรียกมันว่า ทางด่วน (Fast Track)
    หรือตั๋ว VIP
  • 1:03 - 1:07
    และนี่ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในสวนสนุกเท่านั้นนะครับ
  • 1:07 - 1:10
    ในวอชิงตัน ดีซี แถวยาวๆ
  • 1:10 - 1:12
    ที่บางครั้งต่อแถวกัน
  • 1:12 - 1:16
    เพื่อฟังประชุมสภาสำคัญๆ
  • 1:16 - 1:19
    เดี๋ยวนี้ คนจำนวนหนึ่งไม่อยากรอในแถวยาว
  • 1:19 - 1:22
    ข้ามคืนหรือแม้กระทั่งกลางสายฝน
  • 1:22 - 1:24
    ดังนั้น ตอนนี้ สำหรับนักล็อบบี้และคนอื่นๆ
  • 1:24 - 1:26
    ที่ต้องการจะเข้าร่วมงานนี้อย่างมาก
  • 1:26 - 1:28
    แต่ไม่อยากรอ มีบริษัทครับ
  • 1:28 - 1:30
    บริษัทเข้าคิวต่อแถว
  • 1:30 - 1:32
    และคุณไปหาพวกเขาได้
  • 1:32 - 1:34
    คุณจ่ายเงินพวกเขาจำนวนหนึ่ง
  • 1:34 - 1:37
    พวกเขาจ้างคนจรจัดหรือคนที่ว่างงาน
  • 1:37 - 1:41
    ไปยืนต่อแถว นานเท่าไหร่ก็แล้วแต่
  • 1:41 - 1:44
    แล้วนักล็อบบี้ทั้งหลาย ก่อนงานจะเริ่ม
  • 1:44 - 1:46
    ก็สามารถมาเข้าที่ตรงหัวแถว
  • 1:46 - 1:49
    แล้วก็ได้นั่ง ที่นั่งดีๆหน้าห้องไป
  • 1:49 - 1:52
    งานต่อแถวรับจ้าง
  • 1:52 - 1:56
    มันกำลังเกิดขึ้นครับ การพึ่งพากลไกตลาด
  • 1:56 - 1:58
    และการคิดและการแก้ปัญหาด้วยการตลาด
  • 1:58 - 2:01
    ในขอบเขตที่กว้างขึ้น
  • 2:01 - 2:04
    มาดูวิธีการที่เราต่อสู้ในสงครามกันครับ
  • 2:04 - 2:07
    คุณรู้มั้ยครับว่า ในอิรักและอัฟกานิสถาน
  • 2:07 - 2:11
    มีทหารรับจ้างอยู่ในพื้นที่
  • 2:11 - 2:15
    มากกว่าทหารของกองทัพสหรัฐฯ เสียอีก
  • 2:15 - 2:18
    เอาล่ะ นี่ไม่ใช่เพราะว่าเราได้ถกเถียงกัน
  • 2:18 - 2:21
    เรื่องว่าเราอยากจะจ้างบริษัทเอกชน
  • 2:21 - 2:23
    มาทำสงครามหรือไม่
  • 2:23 - 2:26
    แต่นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว
  • 2:26 - 2:28
    ในช่วงสามทศวรรษที่ผ่านมา
  • 2:28 - 2:32
    เราใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางการปฏิวัติเงียบ
  • 2:32 - 2:37
    เราล่องลอยไปโดยแทบจะไม่รู้เลยว่า
  • 2:37 - 2:40
    เราเปลี่ยนจากการมีระบบเศรษฐกิจ
    ที่ใช้การตลาด
  • 2:40 - 2:44
    ได้กลายมาเป็นสังคมการตลาด
  • 2:44 - 2:48
    ความแตกต่างก็คือว่า
    ระบบเศรษฐกิจการตลาดนั้น เป็นเครื่องมือ
  • 2:48 - 2:50
    เครื่องมือที่มีค่าและมีประสิทธิภาพ
  • 2:50 - 2:53
    สำหรับจัดการกับการผลิตที่มากเกินกว่า
    ความต้องการ
  • 2:53 - 2:56
    แต่สังคมแบบการตลาดนั้นคือ
  • 2:56 - 2:59
    ที่ๆ เกือบทุกอย่างนั้นมีไว้เพื่อขาย
  • 2:59 - 3:02
    มันเป็นวิถีชีวิต ที่การคิดแบบการตลาด
  • 3:02 - 3:05
    และค่านิยมแบบกตลาด ได้ครอบงำ
  • 3:05 - 3:08
    ทุกๆด้านของชีวิต
  • 3:08 - 3:13
    ความสัมพันธ์ส่วนตัว ชีวิตครอบครัว
    สุขภาพ การศึกษา
  • 3:13 - 3:16
    การเมือง กฎหมาย ชีวิตพลเมือง
  • 3:16 - 3:22
    เอาล่ะ ทำไมต้องกังวลด้วยล่ะ
    ทำไมต้องกังวลกับการที่เรากลายมาเป็น
  • 3:22 - 3:24
    สังคมการตลาด
  • 3:24 - 3:27
    ผมคิดว่า มันมีสองเหตุผลครับ
  • 3:27 - 3:32
    หนึ่งในนั้นก็คือเรื่องของความไม่เท่าเทียมกัน
  • 3:32 - 3:35
    ยิ่งเงินซื้อของได้มากเท่าไหร่
  • 3:35 - 3:40
    ความมั่งคั่ง หรือการยากไร้
    ก็ยิ่งสำคัญมากขึ้นเท่านั้น
  • 3:40 - 3:43
    ถ้าหากมีเพียงสิ่งเดียวที่เงินเป็นตัวตัดสิน
  • 3:43 - 3:48
    คือการได้มาซึ่งเรือยอช หรือ วันหยุดหรูๆ
    หรือ รถ BMW แล้วล่ะก็
  • 3:48 - 3:53
    ความไม่เท่าเทียมกัน
    ก็คงจะไม่สำคัญเท่าไหร่นัก
  • 3:53 - 3:56
    แต่เมื่อเงินได้ครอบงำ
  • 3:56 - 4:01
    การเข้าถึงสิ่ง ปัจจัยสำคัญในการมีชีวิตที่ดี
    มากขึ้นเรื่อยๆ เช่น
  • 4:01 - 4:05
    การบริการด้านสุขภาพที่ยอดเยี่ยม
    การศึกษาที่ดีที่สุด
  • 4:05 - 4:10
    การมีสิทธิทางการเมือง
    และสิทธิในการรณรงค์เรื่องต่างๆ
  • 4:10 - 4:13
    ถ้าเงินครอบงำสิ่งเหล่านั้นได้แล้วล่ะก็
  • 4:13 - 4:16
    ความไม่เท่าเทียม
    ก็มีความสำคัญอย่างมากเลยทีเดียว
  • 4:16 - 4:18
    ดังนั้น การที่ทุกอย่างกลายเป็นสินค้าในตลาด
  • 4:18 - 4:22
    ทำให้ความเหลื่อมล้ำ ด้านสังคม
  • 4:22 - 4:24
    และพลเมือง ขยายวงกว้างขึ้น
  • 4:24 - 4:27
    นั่นเป็นเหตุผลหนึ่งที่ควรค่าแก่การกังวล
  • 4:27 - 4:29
    ยังมีเหตุผลที่สองอยู่นะครับ
  • 4:29 - 4:33
    นอกจากเรื่องความเหลื่อมล้ำ
  • 4:33 - 4:35
    นั่นก็คือ
  • 4:35 - 4:39
    สำหรับสินค้า
    และแนวปฏิบัติทางสังคมบางอย่าง
  • 4:39 - 4:45
    เมื่อวิธีคิดและค่านิยมแบบใช้การตลาด
    ย่างกรายเข้ามา
  • 4:45 - 4:47
    มันอาจเปลี่ยนความหมายของแนวปฏิบัติเหล่านั้น
  • 4:47 - 4:51
    และดึงเอาทัศนคติและบรรทัดฐานต่างๆ
  • 4:51 - 4:53
    ที่เราควรจะให้ความสนใจ ทิ้งไป
  • 4:53 - 4:55
    ผมอยากจะยกตัวอย่าง
  • 4:55 - 4:59
    ของการใช้กลไกตลาดที่เป็นที่โต้แย้งกัน
  • 4:59 - 5:04
    เช่น การจูงใจด้วยเงิน
    แล้วมาดูกันว่าคุณคิดยังไงกับมัน
  • 5:04 - 5:07
    หลายๆ โรงเรียนเผชิญกับข้อท้าทาย
  • 5:07 - 5:10
    ในการจูงใจเด็กๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กๆ
  • 5:10 - 5:14
    ที่มาจากปูมหลังที่ด้อยกว่า
    เพื่อให้พวกเขาขยันเรียน
  • 5:14 - 5:17
    ทำอย่างไรให้พวกเขาตั้งใจเรียนให้เก่ง
  • 5:17 - 5:20
    นักเศรษฐศาสตร์บางคน
    เสนอทางออก โดยใช้กลไกของตลาด
  • 5:20 - 5:24
    เสนอเงินจูงใจให้เด็กๆ เพื่อให้ทำเกรดได้ดีๆ
  • 5:24 - 5:26
    หรือทำคะแนนได้ดีๆ
  • 5:26 - 5:28
    หรืออ่านหนังสือ
  • 5:28 - 5:30
    พวกเขาลองมันแล้วล่ะ จริงๆ แล้ว
  • 5:30 - 5:32
    พวกเขาได้ทำการทดลอง
  • 5:32 - 5:35
    ในเมืองใหญ่หลายเมืองในอเมริกา
  • 5:35 - 5:39
    ในนิวยอร์ก ชิคาโก วอชิงตันดีซี
  • 5:39 - 5:42
    พวกเขาลองแล้ว เสนอเงิน 50 เหรียญ สำหรับเกรดเอ
  • 5:42 - 5:44
    35 เหรียญสำหรับเกรดบี
  • 5:44 - 5:48
    ในดัลลัส เท็กซัส พวกเขามีกิจกรรม
    ที่ให้ข้อเสนอ
  • 5:48 - 5:52
    กับเด็กแปดขวบว่า พวกเขาจะได้สองเหรียญ
    จากหนังสือแต่ละเล่มที่พวกเขาอ่าน
  • 5:52 - 5:55
    ดังนั้น มาดูกัน -- บางคนชอบ
  • 5:55 - 5:58
    บางคนต่อต้านการใช้เจ้าเงินจูงใจนี่
  • 5:58 - 6:00
    เป็นตัวกระตุ้นการบรรลุผลสำเร็จ
  • 6:00 - 6:03
    มาดูกันว่า คนที่นี่คิดยังไงกับมันครับ
  • 6:03 - 6:07
    นึกภาพว่า คุณเป็นหัวหน้าของระบบโรงเรียนขนาดใหญ่
  • 6:07 - 6:10
    แล้วใครบางคนก็มาหาคุณ
    พร้อมกับข้อเสนอนี้
  • 6:10 - 6:13
    สมมติว่า เป็นมูลนิธิแห่งหนึ่ง
    พวกเขาจะให้เงินทุนด้วย
  • 6:13 - 6:15
    คุณไม่ต้องดึงเอางบอะไรของคุณออกมาเลย
  • 6:15 - 6:16
    มีกี่คนที่เห็นด้วย
  • 6:16 - 6:20
    และกี่คนที่ไม่เห็นด้วย
    กับการทดลองนี้ครับ
  • 6:20 - 6:21
    มาดูผลกัน ด้วยการยกมือครับ
  • 6:21 - 6:25
    อันดับแรก มีกี่คนที่คิดว่า
    มันก็น่าลองดู
  • 6:25 - 6:29
    ว่ามันจะใช้ได้ผลมั้ย ยกมือครับ
  • 6:29 - 6:31
    และมีกี่คนที่ไม่เห็นด้วยครับ มีกี่คนที่ --
  • 6:31 - 6:34
    เอาล่ะ ส่วนใหญ่ของคนที่นี่ไม่เห็นด้วย
  • 6:34 - 6:37
    แต่ส่วนน้อยจำนวนหนึ่งเห็นด้วย
  • 6:37 - 6:39
    เรามาคุยกันดีกว่าครับ
  • 6:39 - 6:42
    เรามาเริ่มด้วยคุณๆ ที่ไม่เห็นด้วย
  • 6:42 - 6:45
    เราตัดวิธีนี้ทิ้ง ถึงแม้ว่าจะยังไม่ได้ทดลอง
  • 6:45 - 6:46
    เหตุผลของคุณคืออะไร
  • 6:46 - 6:50
    ใครจะเป็นคนเริ่มการสนทนาของเราครับ ครับ
  • 6:50 - 6:52
    ไฮเกอะ โมเสส (Heike Moses):
    สวัสดีค่ะทุกคน ฉันชื่อไฮเกอะ
  • 6:52 - 6:55
    และฉันแค่คิดว่า
    มันจะทำลายแรงจูงใจภายใน
  • 6:55 - 7:00
    ไม่ว่าเด็กๆ จะอยากอ่านหนังสือหรือไม่
  • 7:00 - 7:02
    วิธีนี้ ทำให้คุณเอาแรงจูงใจภายในโยนทิ้งไป
  • 7:02 - 7:06
    ด้วยการแค่จ่ายเงินพวกเขา
    มันก็เปลี่ยนพฤติกรรมของพวกเขาได้แล้ว
  • 7:06 - 7:09
    ไมเคิล แซนเดล (Michael Sandel):
    ดึงเอาแรงจูงใจภายในออกไป
  • 7:09 - 7:13
    แล้วอะไรล่ะที่เป็น หรือควรเป็น
    แรงจูงใจภายใน
  • 7:13 - 7:15
    ไฮเกอะ : คือ แรงจูงใจภายใน
  • 7:15 - 7:17
    ควรจะเป็นความอยากที่จะเรียนรู้
  • 7:17 - 7:20
    ไมเคิล: ความอยากที่จะเรียนรู้
    ไฮเกอะ: ความอยากที่จะรู้จักโลก
  • 7:20 - 7:23
    แล้ว ถ้าคุณหยุดจ่ายเงินพวกเขา
    อะไรจะเกิดขึ้น
  • 7:23 - 7:24
    แล้วพวกเขาก็จะหยุดอ่านงั้นหรือ
  • 7:24 - 7:27
    ไมเคิล: เอาล่ะ มาดูซิว่ามีใครเห็นด้วย
    กับการจ่ายเงินบ้าง
  • 7:27 - 7:30
    ใครคิดว่ามันน่าลอง
  • 7:30 - 7:32
    เอลิซาเบ็ธ ลอฟทัส (Elizabeth Loftus):
    ฉันชือเอลิซาเบ็ธ ลอฟทัสค่ะ
  • 7:32 - 7:36
    และคุณพูดว่า น่าลอง
    ดังนั้น ทำไมไม่ลองดูล่ะ
  • 7:36 - 7:40
    และทำการทดลอง แล้ววัดผลมันซะ
  • 7:40 - 7:42
    ไมเคิล: แล้ววัดผลมัน อะไรที่คุณจะใช้วัดล่ะ
  • 7:42 - 7:44
    คุณจะวัดว่ามีกี่ --
  • 7:44 - 7:46
    เอลิซาเบ็ธ : พวกเขาอ่านหนังสือกี่เล่ม
  • 7:46 - 7:48
    และมีหนังสือกี่เล่มที่พวกเขาอ่านต่อ
  • 7:48 - 7:50
    หลังจากที่คุณหยุดจ่ายพวกเขา
  • 7:50 - 7:52
    ไมเคิล: โอ้ หลังจากที่คุณหยุดจ่าย
  • 7:52 - 7:54
    เอาล่ะ ถ้าเป็นอย่างนั้นล่ะ
  • 7:54 - 7:56
    ไฮเกอะ: บอกตามตรงนะคะ ฉันแค่คิดว่า
  • 7:56 - 8:00
    ไม่ได้จะว่าใครเลยนะคะ
    นี่เป็นวิธีคิดแบบอเมริกัน
  • 8:00 - 8:07
    (เสียงหัวเราะ) (เสียงปรบมือ)
  • 8:07 - 8:09
    ไมเคิล: เอาล่ะ สิ่งที่เกิดขึ้นจากการสนทนานี้
  • 8:09 - 8:11
    คือคำถามต่อมาที่ว่า
  • 8:11 - 8:15
    เงินจูงใจจะผลักดัน หรือบิดเบือน
  • 8:15 - 8:19
    หรือดึงออกมา ซึ่งแรงจูงใจที่มีคุณค่าสูงกว่า
  • 8:19 - 8:23
    แรงจูงใจภายในที่เราหวังอยากให้มี
  • 8:23 - 8:28
    ซึ่งคือการเรียนรู้ที่จะรักการอ่าน
    และรักที่จะเรียนรู้
  • 8:28 - 8:30
    เพื่อตัวของพวกเขาเอง
  • 8:30 - 8:34
    และถึงคนส่วนใหญ่จะเห็นไม่ตรงกัน
    ว่าผลกระทบจากการทำเช่นนั้นจะเป็นอย่างไร
  • 8:34 - 8:36
    แต่นั่นดูจะเป็นคำถามที่สำคัญ
  • 8:36 - 8:38
    ในทางใดทางหนึ่ง กลไกการตลาด
  • 8:38 - 8:43
    หรือเงินจูงใจ ให้บทเรียนแบบผิดๆ
  • 8:43 - 8:47
    และถ้าเป็นอย่างนั้น เด็กๆ เหล่านั้น
    จะเป็นอย่างไรในอนาคต
  • 8:47 - 8:50
    ผมควรจะบอกคุณว่า
    มันเกิดอะไรขึ้นบ้างในการทดลองเหล่านี้
  • 8:50 - 8:55
    การใช้เงินเพื่อให้ได้มาซึ่งเกรดดีๆ
    มีผลลัพธ์ที่หลากหลายมาก
  • 8:55 - 8:58
    ส่วนใหญ่ไม่ได้ส่งผลให้เด็กๆ มีเกรดที่ดีขึ้น
  • 8:58 - 9:00
    เงินสองเหรียญ
    สำหรับการอ่านหนังสือแต่ละเล่ม
  • 9:00 - 9:04
    ทำให้เด็กๆ อ่านหนังสือมากขึ้นจริงๆ
  • 9:04 - 9:06
    แต่มันยังทำให้เด็กๆ อ่านหนังสือที่สั้นลงด้วย
  • 9:06 - 9:10
    (เสียงหัวเราะ)
  • 9:10 - 9:12
    แต่คำถามที่แท้จริงคือว่า
  • 9:12 - 9:15
    แล้วในอนาคตเด็กๆ เหล่านี้จะเป็นอย่างไร
  • 9:15 - 9:17
    สิ่งที่น่ากังวลคือพวกเขาจะได้เรียนรู้ว่า
    การอ่านเป็นเรื่องน่าเบื่อ
  • 9:17 - 9:20
    เป็นงานประเภทที่ต้องได้ค่าจ้างถึงจะทำ
  • 9:20 - 9:24
    หรือมันอาจจะทำให้พวกเขาอ่าน
    ด้วยเหตุผลแบบผิดๆ ในเบื้องต้น
  • 9:24 - 9:29
    แต่ก็ทำให้พวกเขาตกหลุมรักการอ่าน
    ในภายหลัง รึเปล่า
  • 9:29 - 9:34
    ตอนนี้ สิ่งที่เรื่องนี้
    หรือการถกเถียงแบบสั้นๆ ครั้งนี้
  • 9:34 - 9:38
    ได้นำออกมา ก็คือ
    สิ่งที่นักเศรษฐศาสตร์หลายคนมองข้ามไป
  • 9:38 - 9:40
    นักเศรษฐศาสตร์มักจะคาดเดาว่า
  • 9:40 - 9:42
    ตลาดนั้นเฉื่อย
  • 9:42 - 9:47
    มันจะไม่แตะต้อง
    หรือทำให้สินค้าที่มันแลกเปลี่ยนแปดเปื้อน
  • 9:47 - 9:50
    พวกเขาคาดว่า การแลกเปลี่ยนในตลาด
  • 9:50 - 9:52
    ไม่ได้เปลี่ยนแปลงความหมายหรือคุณค่า
  • 9:52 - 9:54
    ของสินค้าที่ถูกแลกเปลี่ยน
  • 9:54 - 9:55
    นี่จะอาจจะจริงก็ได้
  • 9:55 - 9:58
    ถ้าเรากำลังพูดถึงสินค้าที่เป็นวัตถุ
  • 9:58 - 10:00
    ถ้าคุณขายทีวีจอแบนให้ผม
  • 10:00 - 10:02
    หรือให้ผมเครื่องหนึ่งเป็นของขวัญ
  • 10:02 - 10:04
    มันก็จะมีผลแบบเดียวกัน
  • 10:04 - 10:06
    มันให้ผลแบบเดียวกันไม่ว่าทางใด
  • 10:06 - 10:09
    แต่มันอาจไม่เป็นเช่นนั้น
  • 10:09 - 10:11
    ถ้าเรากำลังพูดถึงสินค้าที่ไม่ใช่วัตถุ
  • 10:11 - 10:15
    อย่างแนวปฏิบัติทางสังคม เช่น
    การสอนและการเรียน
  • 10:15 - 10:19
    หรือการมีส่วนร่วมในวิถีชีวิตของพลเมือง
  • 10:19 - 10:22
    ในเรื่องเหล่านี้ การนำเอากลไกตลาด
  • 10:22 - 10:26
    และเงินจูงใจมาใช้ อาจกัดกร่อน
  • 10:26 - 10:31
    หรือเบียดบังคุณค่าและทัศนคติ
    ที่ไม่เกี่ยวข้องกับตลาด
  • 10:31 - 10:33
    แต่เป็นสิ่งที่มีความสำคัญ
    และควรให้ความสนใจ
  • 10:33 - 10:35
    แล้วเมื่อเราได้เห็นว่า
  • 10:35 - 10:39
    ตลาดและการค้า
  • 10:39 - 10:43
    ที่ขยายตัวออกนอกขอบเขตทางวัตถุ
  • 10:43 - 10:48
    สามารถเปลี่ยนคุณลักษณะของสินค้า
  • 10:48 - 10:51
    สามารถเปลี่ยนความหมายของ
    แนวปฏิบัติทางสังคมต่างๆ
  • 10:51 - 10:54
    อย่างที่เห็นในตัวอย่าง เรื่องการเรียนการสอน
  • 10:54 - 10:59
    เราต้องถามว่า การตลาดควรจะอยู่ที่ตรงไหน
  • 10:59 - 11:01
    และไม่ควรจะอยู่ที่ตรงไหน
  • 11:01 - 11:03
    ตรงไหนที่มันลดทอน
  • 11:03 - 11:06
    คุณค่าและทัศนคติที่พึงมี
  • 11:06 - 11:09
    แต่ในการถกเถียงเรื่องนี้
  • 11:09 - 11:13
    เราต้องทำในสิ่งที่เราทำได้ไม่ดีนัก
  • 11:13 - 11:16
    และนั่นก็คือการให้เหตุผลร่วมกัน
  • 11:16 - 11:19
    เกี่ยวกับคุณค่าและความหมาย
  • 11:19 - 11:23
    ของแนวปฏิบัติทางสังคมที่เราให้ความสำคัญ
  • 11:23 - 11:26
    ตั้งแต่ร่างกายของเรา
    จนถึงชีวิตครอบครัวของเรา
  • 11:26 - 11:28
    รวมถึงความสัมพันธ์ส่วนตัว สุขภาพ
  • 11:28 - 11:32
    การเรียนการสอน ชีวิตพลเมือง
  • 11:32 - 11:35
    สิ่งเหล่านี้คือ คำถามสำคัญ
  • 11:35 - 11:37
    และเรามีแนวโน้มที่จะหลีกเลี่ยง ที่จะตอบ
  • 11:37 - 11:40
    ที่จริง ในช่วงสามทศวรรษที่ผ่านมา
  • 11:40 - 11:43
    ในเวลาที่การให้เหตุผลแบบการตลาด
    และการคิดแบบการตลาด
  • 11:43 - 11:46
    มีพลังและได้รับสิทธิพิเศษ
  • 11:46 - 11:50
    การถกเถียงสาธารณะของเราในช่วงเวลานั้น
  • 11:50 - 11:52
    กลับกลวงโบ๋
  • 11:52 - 11:56
    ปราศจากความหมายทางศีลธรรมที่กว้างขวาง
  • 11:56 - 11:59
    ด้วยความกลัวที่จะคิดต่าง
    เราหลีกเลี่ยงคำถามเหล่านี้
  • 11:59 - 12:02
    แต่เมื่อเราได้เห็นว่า การตลาด
  • 12:02 - 12:05
    เปลี่ยนแปลงคุณลักษณะของสินค้า
  • 12:05 - 12:09
    เราต้องถกเถียงกันเอง
  • 12:09 - 12:11
    เกี่ยวกับคำถามที่ใหญ่กว่าเหล่านี้
  • 12:11 - 12:13
    ที่เกี่ยวกับการให้คุณค่าสินค้า
  • 12:13 - 12:16
    หนึ่งในผลลัพธ์ที่อันตรายที่สุด
  • 12:16 - 12:19
    ของการให้ราคากับทุกอย่าง
  • 12:19 - 12:22
    จะเกิดขึ้นกับ การแบ่งปันร่วม
  • 12:22 - 12:25
    ความรู้สึกที่ว่า
    เราทุกคนล้วนเป็นส่วนหนึ่งของปรากฏการณ์นี้
  • 12:25 - 12:29
    ที่จะต้องร่วมกันมองเบื้องหลังของ
    ความเหลื่อมล้ำที่กำลังเพิ่มขึ้น
  • 12:29 - 12:33
    ของการให้ราคากับทุกเรื่องในชีวิต
  • 12:33 - 12:39
    ซึ่งนำไปสู่สภาวะที่คนที่มั่งคั่ง
  • 12:39 - 12:41
    และคนที่มีชีวิตสมถะ
  • 12:41 - 12:45
    ใช้ชีวิตที่แยกห่างออกจากกันมากขึ้นเรื่อยๆ
  • 12:45 - 12:48
    เราใช้ชีวิต ทำงาน ซื้อของ พักผ่อน
  • 12:48 - 12:50
    ในสถานที่ๆ แตกต่างกัน
  • 12:50 - 12:53
    ลูกของเราเรียนคนละโรงเรียน
  • 12:53 - 12:56
    นี่ไม่ดีเลยกับประชาธิปไตย
  • 12:56 - 12:59
    และก็ไม่ได้เป็นวิถีชีวิตที่น่าพึงใจเลย
  • 12:59 - 13:02
    ไม่ดี แม้แต่กับพวกเราบางคนที่สามารถ
  • 13:02 - 13:05
    จ่ายเงินเพื่อให้ได้ไปอยู่หัวแถวได้
  • 13:05 - 13:06
    นี่คือเหตุผล
  • 13:06 - 13:11
    ประชาธิปไตย
    ไม่ได้ต้องการความเท่าเทียมอย่างสมบูรณ์แบบ
  • 13:11 - 13:13
    แต่สิ่งที่มันต้องการคือ
  • 13:13 - 13:17
    การที่พลเมืองใช้ชีวิตร่วมกันได้
  • 13:17 - 13:19
    สิ่งที่สำคัญก็คือ
  • 13:19 - 13:21
    คนที่มาจากปูมหลังทางสังคมที่แตกต่างกัน
  • 13:21 - 13:23
    และมาจากวิถีชีวิตที่แตกต่างกัน
  • 13:23 - 13:25
    ได้พบเจอกัน
  • 13:25 - 13:27
    ปะทะกัน
  • 13:27 - 13:31
    ในวิถีชีวิตปกติธรรมดา
  • 13:31 - 13:33
    เพราะสิ่งเหล่านี้ จะสอนเรา
  • 13:33 - 13:37
    ให้ต่อรอง
    และยอมรับความแตกต่างระหว่างเรา
  • 13:37 - 13:41
    และนี่คือวิถีทางที่จะนำเรา
    มาสู่การใส่ใจกับประโยชน์สาธารณะ
  • 13:41 - 13:45
    ดังนั้น ในท้ายที่สุด คำถามเกี่ยวกับการตลาด
  • 13:45 - 13:49
    ไม่ได้เป็นเพียงคำถาม
    ทางด้านเศรษฐศาสตร์เท่านั้น
  • 13:49 - 13:53
    จริงๆ แล้ว มันเป็นคำถามที่ว่า
    เราอยากจะอยู่ร่วมกันอย่างไร
  • 13:53 - 13:57
    เราต้องการสังคมที่ทุกอย่างมีไว้ซื้อขาย
  • 13:57 - 14:01
    หรือว่า มันมีสินค้าทางจริยธรรม
    และวิถีพลเมืองบางอย่าง
  • 14:01 - 14:03
    ที่การตลาดไม่ได้ให้ความสำคัญ
  • 14:03 - 14:06
    และเงินซื้อไม่ได้ บ้างหรือไม่
  • 14:06 - 14:07
    ขอบคุณมากครับ
  • 14:07 - 14:12
    (เสียงปรบมือ)
Title:
ทำไมเราไม่ควรใช้ชีวิตในเงื้อมมือการตลาด
Speaker:
ไมเคิล แซนเดล
Description:

ในช่วงสามทศวรรษที่ผ่านมา ไมเคิล แซนเดล กล่าวว่า สหรัฐฯ ได้เคลื่อนไปจากระบบเศรษฐกิจแบบตลาดสู่สังคมแบบตลาด มันสมเหตุสมผลที่จะพูดว่า ประสบการณ์ของคนอเมริกันเกี่ยวกับการใช้ชีวิตพลเมืองร่วมกันขึ้นอยู่กับว่าพวกเขามีเงินมากเท่าไหร่ (สามตัวอย่างสำคัญ: การเข้าถึงการศึกษา การเข้าถึงความยุติธรรม การมีอิทธิพลทางการเมือง) ในทอล์กและการสนทนาระหว่างผู้ฟัง แซนเดลขอให้เราคิดถึงคำถามนี้อย่างตรงไปตรงมา: ในระบอบประชาธิปไตยปัจจุบันของเรา สิ่งที่ขายได้มีมากไปรึเปล่า

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
14:37
  • เรื่องนี้ดีัมากเลยค่ะ ขออนุญาตแก้ไขนะคะ ส่วนใหญ่เป็นเรื่องการตัดบรรทัดและตัดทอนคำบางคำออกเพื่อความกระชับ

    ไม่ได้ลิสท์มาทั้งหมดแต่แก้ใหญ่ๆตามนี้นะคะ

    เสนอชื่อเรื่องค่ะ ทำไมเราไม่ควรใช้ชีวิตในเงื้อมมือการตลาด

    ตลาด เปลี่ยนเป็น การตลาด หรือ กลไกการตลาด

  • ขอบคุณที่ช่วยรีวิวนะคะ :)

    เรื่องแก้ไขชื่อเรื่อง ถ้าคำว่าตลาดที่แปลตรงตัวมาจาก Market ฟังดูห้วนไป ขอเลือกคำว่า กลไกตลาด แทนได้มั้ยคะ เพราะว่าคำว่า การตลาด มันฟังดูเหมือนเรื่องการตลาดแบบ Marketing ที่อยู่ในข่ายวิชาด้านบริหารธุรกิจ มากกว่าที่จะเป็น Market ภายใต้แนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ ซึ่งดูเหมือนไมเคิล แซนเดล (ผู้พูด) จะอิงอยู่กับหลักทางด้านนี้น่ะค่ะ คำว่า กลไกตลาด ถึงจะชวนให้คิดถึง Market mechanism แต่ก็เป็น concept ที่สืบเนื่องมาจาก Market ในทอล์คนี้ได้น่ะค่ะ

    ยังไงฝาก LC ช่วยพิจารณาก่อน approve อีกทีด้วยนะคะ

  • พยายามอย่าให้เกินบรรทัดละ 48-50 ตัวอักษรนะคะ

    ขอบคุณทั้งสองคนค่ะ งานนี้ออกมาได้สักที เยๆๆๆ ^^ โน้ต

Thai subtitles

Revisions