< Return to Video

ยานอวกาศในอนาคตจะพอดีกับขนาดกระเป๋าเสื้อของเราได้ไหมนะ - โดแนม เพมบา (Dhonam Pemba)

  • 0:07 - 0:11
    เมื่อคุณนึกถึงยานอวกาศ
    คุณอาจนึกถึงอะไรแบบนี่
  • 0:11 - 0:13
    หรือนี่ หรืออาจจะนี่
  • 0:13 - 0:15
    แล้วพวกมันมีอะไรเหมือนกันบ้าง
  • 0:15 - 0:19
    ในบรรดาหลาย ๆ สิ่ง พวกมันมีขนาดใหญ่
    เพราะพวกมันต้องบรรทุกผู้คน เชื้อเพลิง
  • 0:19 - 0:23
    และเสบียงทุกประเภท
    เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์
  • 0:23 - 0:26
    และในบางกรณี อาจมีเลเซอร์สุดอันตราย
  • 0:26 - 0:31
    แต่ยานอวกาศรุ่นต่อไปที่จะเกิดขึ้นจริงนั้น
    อาจมีขนาดเล็กกว่านี้มาก
  • 0:31 - 0:35
    เรากำลังพูดถึงขนาดเล็กจิ๋ว
    ชนิดที่ใส่ในกระเป๋าเสื้อคุณได้
  • 0:35 - 0:41
    ลองนึกดูถึงการส่งเจ้าพวกยานจิ๋วเหล่านี้
    ท่องไปในกาแล็คซี่
  • 0:41 - 0:43
    พวกมันอาจสำรวจ
    ดาวฤกษ์และดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างไกล
  • 0:43 - 0:46
    โดยบรรจุตัวตรวจจับอิเล็กทรอนิกส์ที่ซับซ้อน
  • 0:46 - 0:50
    ซึ่งจะวัดข้อมูลทุกอย่าง
    ตั้งแต่อุณหภูมิไปจนถึงรังสีคอสมิก
  • 0:50 - 0:52
    คุณสามารถปล่อยยานได้นับพัน
  • 0:52 - 0:55
    ด้วยค่าใช้จ่ายเท่ากับ
    ภารกิจกระสวยอวกาศภารกิจเดียว
  • 0:55 - 0:57
    เป็นการเพิ่มข้อมูลเกี่ยวกับจักรวาล
  • 0:57 - 1:00
    ที่เราจะเก็บได้อีกมากมาย
  • 1:00 - 1:02
    และราคาพวกมันแต่ละตัวก็สมบุกสมบัน
  • 1:02 - 1:05
    นั่นหมายความว่าเราสามารถส่งพวกมัน
    ไปสู่สภาพแวดล้อม
  • 1:05 - 1:08
    ที่เสี่ยงเกินไปสำหรับจรวดหรือยานอวกาศ
    มูลค่าพันล้านดอลลร์
  • 1:08 - 1:13
    ในขณะนี้ ยานอวกาศขนาดเล็กหลายร้อยลำ
    กำลังโคจรรอบโลก
  • 1:13 - 1:15
    กำลังบันทึกภาพอวกาศรอบนอก
  • 1:15 - 1:16
    และเก็บข้อมูลสิ่งต่าง ๆ
  • 1:16 - 1:20
    เช่น พฤติกรรมของแบคทีเรียในชั้นบรรยากาศโลก
  • 1:20 - 1:23
    และสัญญาณแม่เหล็ก
    ที่จะช่วยทำนายการเกิดแผ่นดินไหว
  • 1:23 - 1:28
    แต่นึกดูว่าเราจะเรียนรู้ได้อีกมากแค่ไหน
    ถ้าพวกมันบินออกจากวงโคจรของโลกได้
  • 1:28 - 1:32
    ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่องค์กรอย่างนาซ่า
    อยากจะทำ
  • 1:32 - 1:36
    การส่งยานอวกาศจิ๋วไปสำรวจดาวเคราะห์
    ที่สามารถอยู่อาศัยได้
  • 1:36 - 1:41
    และอธิบายปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์
    ที่เราไม่สามารถศึกษาได้จากโลก
  • 1:41 - 1:46
    แต่สิ่งเล็ก ๆ นี้ไม่อาจบรรจุเครื่องยนต์ใหญ่
    หรือเชื้อเพลิงปริมาณมากได้
  • 1:46 - 1:49
    แล้วยานจะขับเคลื่อนตัวมันเองได้อย่างไรล่ะ
  • 1:49 - 1:54
    สำหรับยานอวกาศจิ๋วแล้ว
    คุณต้องการระบบแรงขับขนาดเล็ก
  • 1:54 - 1:56
    กับสิ่งที่มีขนาดเล็กมาก ๆ
  • 1:56 - 1:59
    กฎทางฟิสิกส์ที่เราคุ้นนเคยบางข้อนั้น
    ไม่สามารถใช้ได้
  • 1:59 - 2:03
    โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
    กลศาสตร์นิวตันนั้นใช้ไม่ได้
  • 2:03 - 2:07
    และแรงซึ่งปกติมีเล็กน้อย
    จนไม่เป็นที่สังเกต กลับมีกำลังมาก
  • 2:07 - 2:11
    แรงเหล่านั้นรวมถึงแรงตึงผิว และการกระทำ
    ผ่านช่องเล็ก ๆ (capillary action)
  • 2:11 - 2:14
    ซึ่งเป็นปรากฎการณ์
    ที่ควบคุมสิ่งที่มีขนาดเล็ก
  • 2:14 - 2:19
    ระบบขับดันขนาดเล็กนี้สามารถนำเอา
    แรงเหล่านี้มาเป็นพลังงานให้ยานอวกาศ
  • 2:19 - 2:22
    ตัวอย่างหนึ่งที่ช่วยอธิบาย
    ว่ามันทำงานอย่างไร
  • 2:22 - 2:26
    เรียกว่า
    ไมโครฟลูดิก อิเล็กโทรสเปรย์ โพรพอลชั่น
  • 2:26 - 2:28
    มันเป็นการผลักของไอออนอย่างหนึ่ง
  • 2:28 - 2:33
    ซึ่งหมายถึงมันยิงอนุภาคมีประจุออกไป
    เพื่อสร้างโมเมนตัม
  • 2:33 - 2:36
    มีตัวอย่างหนึ่งซึ่งถูกพัฒนาขึ้น
    ในห้องทดลองแรงขับเจ็ทของนาซา
  • 2:36 - 2:39
    ในแต่ละข้างมันมีขนาดเพียงสองสามเซนติเมตร
  • 2:39 - 2:41
    หลักการทำงานของมันก็คือ
  • 2:41 - 2:46
    แผ่นโลหะขนาดเท่าแสตมป์
    ที่เต็มไปด้วยเข็มขนาดเล็กจำนวนมาก
  • 2:46 - 2:51
    และถูกปกคลุมด้วยโลหะ
    ที่มีจุดหลอมเหลวต่ำ อย่างเช่น อินเดียม
  • 2:51 - 2:54
    ตะแกรงเหล็กครอบอยู่เหนือเข็ม
  • 2:54 - 2:58
    และสนามไฟฟ้าก็ถูกทำให้เกิดขึ้น
    ระหว่างตะแกรงและแผ่นโลหะ
  • 2:58 - 3:01
    เมื่อแผ่นนั้นถูกทำให้ร้อนขึ้น
    อินเดียมก็เริ่มละลาย
  • 3:01 - 3:05
    และแรงแคพิลารีก็ดึงโลหะเหลวขึ้นมาตามเข็ม
  • 3:05 - 3:08
    สนามไฟฟ้าช่วยดึงโลหะเหลวขึ้นมา
  • 3:08 - 3:11
    ในขณะที่แรงตึงผิวดึงมันกลับ
  • 3:11 - 3:14
    ทำให้อินเดียมบิดเป็นรูปเป็นกรวย
  • 3:14 - 3:16
    ด้วยรัศมีเล็ก ๆ ของปลายเข็ม
  • 3:16 - 3:21
    ทำให้มันเป็นไปได้สำหรับสนามไฟฟ้า
    ที่จะเอาชนะแรงตึงผิว
  • 3:21 - 3:23
    และเมื่อมันเกิดขึ้น
  • 3:23 - 3:29
    ประจุบวกจะถูกยิงออกมา
    ด้วยความเร็วที่สิบกิโลเมตรต่อวินาที
  • 3:29 - 3:34
    กระแสของประจุผลักให้ยานพุ่งไปยังทิศตรงข้าม
  • 3:34 - 3:36
    ต้องขอบคุณกฎข้อสามของนิวตัน
  • 3:36 - 3:39
    และในที่แต่ละประจุเป็นอนุภาคที่เล็กมาก ๆ
  • 3:39 - 3:43
    แรงที่ถูกรวมกันของพวกมันจำนวนมาก
    ที่ผลักออกจากยาน
  • 3:43 - 3:46
    มีมากพอที่จะก่อให้เกิด
    ความเร่งที่มีนัยสำคัญ
  • 3:46 - 3:49
    และไม่เหมือนกับเครื่องยนต์ไอพ่น
    ที่ใช้เชื้อเพลิงมากมายจากจรวด
  • 3:49 - 3:53
    กระแสประจุนี้เล็กกว่า
    และมีประสิทธิภาพมากกว่า
  • 3:53 - 3:58
    ซึ่งทำให้มันเหมาะสม
    กับภารกิจในอวกาศที่ห่างไกล
  • 3:58 - 4:01
    ระบบขับดันขนาดเล็กนี้
    ยังไม่ได้รับการทดสอบอย่างสมบูรณ์
  • 4:01 - 4:05
    แต่นักวิทยาศาสตร์บางคนคิดว่า
    พวกมันให้ความเชื่อมั่น
  • 4:05 - 4:08
    ในการปล่อยยานเล็ก
    ออกจากวงโครจรของโลก
  • 4:08 - 4:12
    จริง ๆ แล้ว พวกเขาคาดว่า
    ยานจิ๋วเป็นพัน ๆ ลำ
  • 4:12 - 4:14
    จะถูกปล่อยออกไปในอีกสิบปี
  • 4:14 - 4:18
    เพื่อเก็บข้อมูล
    ซึ่งในปัจจุบันนี้เราได้แค่ฝันถึง
  • 4:18 - 4:21
    และนี่ก็คือวิทยาศาตร์ยานอวกาศจิ๋ว
Title:
ยานอวกาศในอนาคตจะพอดีกับขนาดกระเป๋าเสื้อของเราได้ไหมนะ - โดแนม เพมบา (Dhonam Pemba)
Description:

ดูบทเรียนเต็มได้ที่: http://ed.ted.com/lessons/will-future-spaceships-fit-in-our-pockets-dhonam-pemba

เมื่อเรานึกภาพจรวด เรามักจะนึกถึงยานขนาดใหญ่ที่บรรทุกเชื้อเพลิง และอุปกรณ์จำนวนมาก แต่จะเป็นอย่างไรถ้ายานอวกาศในรุ่นถัดไป จะมีขนาดเล็กพอที่จะใส่ในกระเป๋าเสื้อคุณได้ โดแนม เพมบา อธิบายถึงอนาคตของยานอวกาศ และเหตุผลว่าทำไมนักวิทยาศาสตร์ที่นาซ่าหวังว่า ระบบแรงขับขนาดเล็กเหล่านี้จะช่วยส่งยานอวกาศ ออกจากวงโครจรของโลก

บทเรียนโดย โดแนม เพมบา แอนิเมชั่นโดย ควาเอ็ด มัย

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
04:37

Thai subtitles

Revisions